ก่อนอื่น ต้องขอสวัสดี ท่านผู้อ่านกรุงเทพธุรกิจทุกๆ ท่าน ผมขออนุญาตฝากเนื้อฝากตัว ในฐานะคอลัมนิสต์หน้าใหม่ ที่จะมาประจำการในหน้า BizWeek นี้ทุกวันอาทิตย์ เว้นอาทิตย์ ครับ
อันที่จริง จะว่าเป็นหน้าใหม่ ก็ไม่ตรงซะทีเดียว เพราะผมได้เคยเขียนบทความรับใช้ท่านผู้อ่านทางกรุงเทพธุรกิจ ในชื่อว่า หน้าต่าง CSR นับตั้งแต่ปี 2552 (ไม่ย้อนไปก่อนหน้านั้น เพราะมันรู้สึกแก่ขึ้นมาหน่อยๆ) หรือเป็นเวลาร่วม 7 ปี ก่อนที่จะพักสายตาเถอะนะ คนดี.. เอ๊ย เว้นไประยะหนึ่ง จนกระทั่ง ได้หวนกลับมาพบกับท่านผู้อ่านในวันนี้อีกครั้ง
และก็ต้องขอบคุณทีมงาน BizWeek ที่เปิดโอกาสให้ผมได้มาพบปะกับท่านผู้อ่าน ในคราวนี้ อะแฮ่ม .. ต้องบอกว่า มันมากกว่าเรื่อง CSR (Corporate Social Responsibility) แบบเดิมๆ โว้ว โว้ว (เขียนเอง น่าสนใจเอง ฮา)
จึงเป็นที่มาของชื่อคอลัมน์ ซึ่งมาจากคำว่า Sustainable (ยั่งยืน) + Entrepreneur (ผู้ประกอบการ) ย่นเข้าให้เหลือเป็น “SUSTAINPRENEUR” กลายเป็นคำเฉพาะที่มุ่งหมายใช้สื่อถึงความเป็นผู้ประกอบการในวิถียั่งยืนนั่นเอง
ผู้ประกอบการในวิถียั่งยืน มีหลายรูปแบบ ทั้งที่เป็นองค์กรธุรกิจแบบทั่วไป แต่ใส่ใจในเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ SD (Sustainable Development) โดยใช้ CSR เป็นตัวขับเคลื่อน แบบหนึ่ง
เป็นธุรกิจในแบบที่คำนึงถึงการสร้างคุณค่าร่วมระหว่างธุรกิจกับสังคมไปพร้อมกัน หรือ CSV (Creating Shared Value) แบบหนึ่ง
เป็นธุรกิจในแบบที่ตั้งขึ้นใหม่โดยมีความมุ่งประสงค์ทางสังคมเป็นหลัก และมีกำไรเป็นเรื่องรอง หรือ SE (Social Enterprise) แบบหนึ่ง
เป็นธุรกิจในแบบที่ตั้งขึ้นเพื่อแก้ปัญหาสังคมโดยเฉพาะ และไม่เอาปันผลจากกำไรที่ได้ หรือ SB (Social Business) ก็แบบหนึ่ง
และพัฒนาการล่าสุด กำลังจะมีธุรกิจที่นำเอาเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ SDG (Sustainable Development Goals) มาแปลงเป็นโอกาสในการขับเคลื่อนธุรกิจในแบบที่เครื่องมือบริหารจัดการ (Management Tools) ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน อาจตกยุคไปเลยทีเดียว
เรื่องจริงครับ เครื่องมือบริหารจัดการอย่าง Balanced Scorecard หรือ BSC อันเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวาง ได้สิ้นอายุขัยไปเรียบร้อยโรงเรียนแคปแลนและนอร์ตัน (ผู้พัฒนาเครื่องมือ BSC)
ผมเป็นผู้หนึ่งที่ติดตามหนังสือเล่มแรกที่ทั้งสองท่านเขียนออกมา ในปี 1996 จนถึงเล่มล่าสุด (เล่มที่ 5) ในปี 2008 หลังจากนั้นก็ไม่มีผลงานร่วมของทั้งสองท่านออกมาอีกเลย ร่วม 9 ปี
สาเหตุเป็นเพราะอะไรหรือครับ เพราะเครื่องมือไม่สามารถตอบโจทย์การบริหารองค์กรได้อีกแล้วครับ เนื่องจากข้อจำกัดของมุมมองในเครื่องมือที่ไม่สามารถรองรับความเป็นไปขององค์กรในปัจจุบัน เลยทำให้เครื่องมือนี้ ไม่ได้ไปต่อครับ (แม้จะมีผู้พยายามดัดแปลงมุมมองในเครื่องมือให้รองรับกับปัจจัยที่เปลี่ยนแปลงไป แต่เจ้าตำรับไม่เห็นชอบครับ จบข่าว)
ขยายความให้เห็นภาพนะครับ มุมมองแรก เป็นเรื่อง การเงิน หรือ Financial วิถีของผู้ประกอบการยั่งยืนนั้น ไม่ได้วัดความสำเร็จแค่ตัวเลขทางการเงินอย่างเดียวแล้วครับ เหลียวไปดูตลาดทุนในวันนี้ พูดกันถึงเรื่องสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล หรือ ESG (Environmental, Social and Governance) ซึ่งต้องใช้ตัววัดประเภทที่มิใช่ตัวเลขทางการเงิน หรือ Non-Financial มุมมองแรกของ BSC ก็ไม่รองรับแล้วครับ
มุมมองต่อมา เป็นเรื่อง ลูกค้า หรือ Customer ผู้ประกอบการยั่งยืน ไม่ได้มีแค่ลูกค้าที่ต้องให้การดูแลนะครับ แต่เป็นผู้มีส่วนได้เสีย หรือ Stakeholder ที่ประกอบไปด้วยพนักงาน ลูกค้า คู่ค้า ผู้ส่งมอบ ชุมชน องค์กรกำกับดูแล ฯลฯ ถ้วนหน้าเลยครับ แผนที่ยุทธศาสตร์ หรือ Strategy Map ที่องค์กรธุรกิจทำใช้อยู่ในทุกวันนี้ บอกได้เลยว่า อีหลักอีเหลื่อครับ ไม่รู้จะบรรจุยุทธศาสตร์ที่ตอบสนองต่อผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มอื่นไว้ตรงไหนในแผนที่ฯ เอ.. หรือว่ายุทธศาสตร์ผิด ไม่มีที่ลง เอ้า .. เป็นงั้นไป
มุมมองต่อมา เป็นเรื่อง กระบวนการภายใน หรือ Internal Process ผู้ประกอบการยั่งยืน ถ้ามัวแต่บริหารกระบวนการภายใน เจ๊งแน่นอนครับ มีจอมยุทธ์พกบิตคอยน์ยุคบล็อกเชนกล่าวไว้ว่า วันนี้ธุรกิจไม่ได้แข่งขันด้วยกิจการหรือบริษัท (Company) ที่ท่านเป็นเจ้าของอยู่ แต่แข่งขันกันด้วยโซ่คุณค่า (Value Chain) ที่ท่านอาศัยอยู่ เห็นมั้ยครับว่า เรื่องที่ต้องบริหารเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันยุคนี้ เป็นกระบวนการที่อยู่ภายนอกกิจการแทบทั้งนั้นครับ
มุมมองสุดท้าย เป็นเรื่อง การเรียนรู้และการเติบโต หรือ Learning and Growth ผู้ประกอบการยั่งยืน เอ่อ.. คือ ชื่อก็บอกอยู่แล้วครับว่า ต้องยั่งยืน ไม่ใช่แค่ เติบโตอย่างเดียว เหมือนคนเรา โตได้เรื่อยๆ แต่พอใกล้อายุ 25 ก็ไม่โตแล้วครับ จากนี้ เค้าเรียกว่า แก่ไปเรื่อยๆ ครับ อาหารการกินตอนเลี้ยงให้โตก็แบบหนึ่ง อาหารการกินตอนเลี้ยงไม่โตแล้วก็แบบหนึ่ง อุปมาเหมือนธุรกิจที่ต้องการโต ต้องใช้อินพุตหรือปัจจัยนำเข้าแบบหนึ่ง ส่วนธุรกิจที่ต้องการยั่งยืน ก็จะมีอินพุตหรือปัจจัยนำเข้าอีกชุดหนึ่งที่ต่างออกไป มุมมองการเรียนรู้และการเติบโตในกรณีนี้ เลยไม่ค่อย Applicable น่ะครับ
คือ ถ้าท่านยังอ่านบทความของกระผมอยู่ ณ บรรทัดนี้ และดื่มด่ำกับมัน ก็แปลว่า เราทั้งคู่แก่แล้ว นั่นเองครับ
เลยต้องมาหาเครื่องมือใหม่ๆ แนวคิดใหม่ๆ วิธีการบริหารใหม่ๆ เพื่อทำให้ธุรกิจของเรา ยั่งยืนไงครับ
คอลัมน์ SUSTAINPRENEUR จะเริ่มทำหน้าที่ดังว่า นับจากนี้เป็นต้นไปครับ
จากบทความ 'Sustainpreneur' ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ [Archived]
Sunday, June 18, 2017
รวมบทความ Sustainpreneur
1. ปฐมบทแห่งผู้ประกอบการยั่งยืน
2. มีที่ไหนกลยุทธ์ความยั่งยืน
3. SROI เครื่องมือวัดผล หรือ มโนผล (1)
4. SROI เครื่องมือวัดผล หรือ มโนผล (2)
5. SVOI เครื่องมือค้นหา “คุณค่าร่วม”
6. SME ที่ยั่งยืน เกิดจากลูก 3 คน
7. สัญญาณ CSR ในห่วงโซ่อุปทาน
8. SDGs ใน 3 มิติ
9. ทำ SE ไม่ต้องรอกฎหมาย
10. เศรษฐกิจพอเพียง : จากปรัชญา สู่ทฤษฎี (ใหม่) ทางธุรกิจ
11. Invention is not Innovation
12. CSR ในสามเวอร์ชัน
13. โค้งสุดท้าย ประชารัฐ
14. ผลิตภัณฑ์ 4.0
15. ความยั่งยืนใน 3 ประเด็นสำคัญ ปี 61
16. ธุรกิจในแบบ SDG-Friendly
17. มาแล้ว ประชารัฐ 2.0 (เวอร์ชัน ไทยนิยม)
18. เปลี่ยนจาก เก่งกว่า ให้เป็น เก่งแก่ผู้อื่น
19. มณฑลแห่งความยั่งยืน
20. 6 ทิศทาง CSR ปี 61
21. เปิดร้านค้าความยั่งยืน ตอบโจทย์ธุรกิจ
22. แผนที่กลยุทธ์คุณค่าร่วม
23. เศรษฐกิจกับความยั่งยืน
24. ธุรกิจที่สังคมต้องการ
25. หุ้นยั่งยืน ESG100
26. GDP ที่เรา (ไม่) ต้องการ
27. มาสร้าง GDP ชุมชนกันเถอะ
28. ยุบทิ้ง Business School
29. เราจะรับมือ “อุบัติภัย” ได้อย่างไร
30. คุยอะไรกันในฟอรั่ม SDG ที่นิวยอร์ก
31. สร้างแต้มต่อธุรกิจด้วย CSR
32. CSR ทำเพราะชอบ หรือทำเพราะใช่
33. CSR ควรสังกัดอยู่กับฝ่ายใด
34. ทำ CSR อย่างไร ไม่ให้โดนเท
35. ทำ CSR ไปทำไม
36. ดัชนีหุ้นน้ำดี ESG
37. ทำดีแล้ว ต้องรายงาน
38. ทำ CSR เมื่อไรดี
39. CSR เรื่องไหนที่ควรทำ
40. 51 รายงานความยั่งยืนที่น่าศึกษา
41. เหลียวหลัง แลหน้า ความยั่งยืนของกิจการ
42. ปีหมูที่ (ไม่) ปลอดภัย
43. Value x Impact แนวทาง CSR ปี 62
44. ดิจิทัศน์องค์กร ของที่กิจการยุคใหม่ต้องมี
45. เล่าเรื่อง Social Business
46. 6 ทิศทาง CSR ปี 62
47. การลงทุนเพื่อผลลัพธ์ทางสังคม
48. ผลกระทบกับความยั่งยืน
49. “คุณค่า” กับ “ความยั่งยืน”
50. การลงทุนเพื่อเปลี่ยนแปลงโลก
51. การวัดผลตอบแทนจากความยั่งยืน
52. CSR ระหว่างได้ภาพ กับได้ผล
53. หุ้น ESG100 ปี 62
54. งาน Social Business Day ที่ไม่ควรพลาด
55. ไทยติดอันดับโลกด้านความยั่งยืน
56. ESG กับการลงทุนในกองทุนรวม
57. ธนาคาร ยุค ESG เริ่มแล้ว
58. ตลาดทุน 4.0
59. การลงทุนด้วยปัจจัย ESG
60. สานสัมพันธ์อย่างไร ให้เวิร์ก
61. SDC: ประชาคมธุรกิจเพื่อความยั่งยืน
62. คนบนฟ้า
63. การสร้างตัวแบบธุรกิจเพื่อสังคม
64. Big (Sustainability) Data
65. ธรรมาภิบาลในทศวรรษ 2020
66. Social Business ธุรกิจในทศวรรษ 2020
67. 84 องค์กรร่วมขับเคลื่อน SDGs เป้าที่ 12.6
68. 2020 : ปีแห่งการเป็นผู้ประกอบความยั่งยืน
69. 3 ธีมความยั่งยืน ปี 63
70. วาระใหม่แห่งความยั่งยืน
71. ธุรกิจในโหมดตั้งรับและปรับตัว
72. 6 ทิศทาง CSR ปี 63
73. Checklist ธุรกิจ รับมือ COVID-19
74. โควิด 19: ESG กระทบโลก กระเทือนธุรกิจ
75. 7 บทบาทผู้ลงทุนในยุคโควิดระบาด
76. 15 Checklists แนวปฏิบัติผู้ลงทุนในสถานการณ์โควิด
77. กลยุทธ์ภาคธุรกิจเพื่อต่อกรกับโควิด
78. ธุรกิจกับการมีส่วนร่วมในสถานการณ์โควิด
79. SDG Impact Company: บริษัทผลัดเปลี่ยนโลก
80. ธุรกิจเข้าสู่โหมด Recovery จากโควิด
81. โฉมหน้า CSR หลังโควิด
82. โควิดกับการพัฒนาที่ยั่งยืน
83. บริษัทวิถียั่งยืนที่น่าลงทุน
84. CSR : สิ่งที่เห็น กับ สิ่งที่เป็น
85. CSR ไม่ได้เริ่มที่บรรทัดสุดท้าย ของงบกำไรขาดทุน
86. ทำธุรกิจให้รอดในภาวะปกติใหม่
87. ข้อมูล ESG สำคัญไฉน
88. การเติบโตของตลาดข้อมูล ESG
89. ทำไมต้องใช้ข้อมูล ESG ในการลงทุน
90. ชนะการลงทุนช่วงโควิด ด้วย ESG
91. หุ้น DJSI ยั่งยืนจริงหรือ?
92. 6 ปี การเดินทางของหุ้น ESG100
93. ความยั่งยืนของกิจการในรอบปี 2563
94. 2021: ปีแห่งวัฒนธรรมสุขภาพองค์กร
95. ปีแห่งเศรษฐกิจสร้างสรรค์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
96. กิจการสื่อสารความยั่งยืนกันอย่างไร
97. COVID Effect ยังอยู่ (ยาว)
98. 6 ทิศทาง CSR ปี 64
99. 4C : ส่วนประสมการแข่งขันข้ามสนาม
100. Regenerative Business : ธุรกิจเกื้อโลก
101. โควิดมาใหม่ ธุรกิจจะไปทางไหน
102. ธุรกิจเตรียมรับแรงกระแทกใหญ่ !
103. สร้างภาวะพร้อมผันให้องค์กร
104. 24 หุ้นน่าลงทุนกลุ่ม ESG Emerging
105. จะ ‘หยุด’ หรือ ‘อยู่’ กับโควิด
106. 120 วัน ธุรกิจต้องเตรียมอะไร
107. ผลตอบแทนหุ้น ESG ครึ่งปีแรก
108. โฉมหน้าสำนักงานหลังโควิด
109. การลงทุน ESG เติบโตต่อเนื่อง
110. ค้าขายออนไลน์ ต้องใช้แบรนด์แข่งขัน
111. ทำ CSR ที่ไหนดี !
112. โควิด-19 !! พลิกโฉม ภาพ CSR แบบถาวร...
113. Natural Asset Companies (NAC) : บริษัทกู้โลก
114. "4 มิติ" ที่ธุรกิจต้องปรับตัว (ไปแล้ว)
115. หลักการ ESG ในภาคการเงิน
116. ปรับองค์กร - เปลี่ยนโลก
117. การประเมินลงทุนธีม "ESG" มีความสำคัญไฉน ?
118. จับตา “5 ธุรกิจ” น่าลงทุนแห่งอนาคต
119. 105 กิจการตัวอย่างข้อมูลความยั่งยืน
120. เปิดผลสำรวจ ESG ธุรกิจไทย ปี 64
121. ESG... ย่างก้าวสู่ "ความยั่งยืน" ปี 2565
122. การประเมิน ESG ทำอย่างไร
123. เมตาเวิร์สเพื่อสังคม
124. Social Positive Business : ธุรกิจที่เป็นบวกต่อสังคม
125. CSR เป็นขององค์กร แล้วความยั่งยืนเป็นของใคร
126. พิสูจน์ "ความยั่งยืน" ผ่านข้อมูล "ESG"
127. บอกผู้คนและโลกอย่างไร ว่าองค์กรเรายั่งยืน
128. การสื่อสารเรื่องก๊าซเรือนกระจก สำคัญต่อธุรกิจวิถียั่งยืน
129. 8 ตัววัดด้านเศรษฐกิจที่กิจการมีข้อมูลและตอบโจทย์ SDG
130. 11 ตัววัดด้านสิ่งแวดล้อมที่กิจการมีข้อมูลและตอบโจทย์ SDG
131. เปิดโผ... หุ้น "ESG Emerging" ปี 2565
132. 7 ตัววัดด้านสังคมที่กิจการมีข้อมูลและตอบโจทย์ SDG
133. ESG เครดิต: หมุดหมายใหม่แห่งความยั่งยืน
134. 7 ตัววัดด้านธรรมาภิบาล ที่กิจการมีข้อมูลและตอบโจทย์ SDG
135. ธุรกิจบริการข้อมูล ESG โต สวนกระแสเศรษฐกิจ
136. มรรค 8 CSR : ทางสายกิจการสู่ความยั่งยืน
137. ECO3 : ธีมเศรษฐกิจยุคใหม่ ใส่ใจโลก
138. มาตรฐาน GRI กับความเข้าใจผิดเรื่องความยั่งยืน
139. ผลสำรวจความเชื่อมโยงระหว่าง ESG กับ Bottom Line ของกิจการ
140. การวางตำแหน่ง "ESG" กับ โอกาสทางธุรกิจ
141. "ไทย" ติดกลุ่มประเทศที่มีการเปิดเผยรายงานความยั่งยืนสูงสุด
142. การส่งเสริมธุรกิจประกันภัยให้ยั่งยืน ด้วยปัจจัย ESG
143. COP 27 กับการหารือกลไกตลาดคาร์บอนเครดิต
144. 10 ข้อควรรู้ เกี่ยวกับที่มาและตลาดคาร์บอนเครดิต
145. 3 ธีม ขับเคลื่อน ESG ประเทศไทย ปี 2566 (1)
146. 3 ธีม ขับเคลื่อน ESG ประเทศไทย ปี 2566 (2)
147. 3 ธีม ขับเคลื่อน ESG ประเทศไทย ปี 2566 (จบ)
148. ความยั่งยืนของกิจการในรอบปี 2565
149. จะขับเคลื่อน ESG แบบ ‘ห่วงเรา’ หรือ ‘ห่วงโลก’
150. 6 ทิศทางความยั่งยืน ปี 66
151. ESG Footprint: รอยเท้าความยั่งยืนในสายอุปทาน
152. ESG Meter: มาตรวัดความยั่งยืนของกิจการไทย
153. 9 ปี การเดินทางของหุ้น ESG100
154. 7 กลวิธี การฟอกเขียว
155. Climate Reporting: กิจการไทย ยืนหนึ่งในอาเซียน
156. คนรุ่นใหม่เลือกทำงานกับบริษัทที่ใฝ่ ESG
157. 'หุ้นเข้าใหม่' ในทำเนียบ ESG100 ปี 2566
158. นับหนึ่งการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืนภาครัฐ
159. กลยุทธ์น่านน้ำหลากสี : Colorful Ocean Strategy
160. 7 Green Habits : สร้างอุปนิสัยสีเขียวเพื่อโลก
161. '7 เทรนด์' เปลี่ยนเกมความยั่งยืน
162. สร้างแต้มต่อให้ SME ด้วย ESG Profile
163. ระบบ IT: จิกซอว์สำคัญของ 'ความยั่งยืน'
164. นโยบายรัฐบาลในมุมมอง ESG
165. ครึ่งทาง SDG : โลกทำได้ตามเป้า 12%
166. 'การฟอกเขียว' ในกลุ่มธนาคารกำลังขยายวง
167. 1 ใน 5 ของธุรกิจยั่งยืน มีการรายงานผลกระทบ SDG
168. ตลาดข้อมูล ESG ในกลุ่มกิจการ Private Markets
169. 'หุ้น ESG' ให้ผลตอบแทนชนะตลาดจริงหรือ
170. การลงทุนที่ยั่งยืน เริ่มมีขนาดสินทรัพย์ลดลง
171. เปิดผลสำรวจ ESG ธุรกิจไทย ปี 2566
172. ธีม ESG ปี 2024 : Who cares earns
173. 3 ความท้าทายและความเสี่ยง ESG ปี 2024
174. เพิ่มแต้มต่อในธุรกิจ ด้วยการเปิดเผยข้อมูล ESG
175. เหรียญ 2 ด้านของความยั่งยืน
176. มาตรวัดความยั่งยืน: จาก ESG Rating สู่ ESG Premium
177. เมื่อ ESG กลายเป็น License to Earn
178. ตลาดข้อมูล ESG โตไม่หยุด ไต่ระดับขึ้น 2 พันล้านเหรียญ
179. ธุรกิจประกาศเป้า Net Zero อย่างไร ไม่ให้ปลอม
180. การขับเคลื่อน ESG สำหรับบริษัทนอกตลาด
181. Double Materiality: หลักการชี้แนะสำหรับการรายงานความยั่งยืน
182. ก.ล.ต. ยุโรป ออกกฎตีตรากองทุน ESG
183. ทำเนียบบริษัทกลุ่ม ESG Emerging ปี 2567
184. เทคโนโลยี ในฐานะปัจจัยคู่ของความยั่งยืน
185. AI กับการรายงานข้อมูลความยั่งยืน
186. 10 ปี การเดินทางของหุ้น ESG100
187. การพัฒนาความยั่งยืนจาก 'องค์กร' สู่ 'องค์รวม'
188. กรรมการพิชาน : บทบาทใหม่ด้านความยั่งยืน
189. การเปิดเผยข้อมูลผลกระทบความยั่งยืน
190. ตัวชี้วัด ESG สำหรับธุรกิจครอบครัว
191. จาก ‘สามเหลี่ยม-เขยื้อนภูเขา’ สู่ ‘สามวง-นวัตสังคม’
192. AI กับการขับเคลื่อนธุรกิจสู่ความยั่งยืน
193. รายงานความยั่งยืน ช่วยเพิ่มผลลัพธ์ทางสังคม
194. 15 บริษัทใน SET50 ต้องเปิดข้อมูล Biodiversity ภายในปี 2573
195. เวที COP 29 ไฟเขียวรับมาตรฐานกลไกตลาดคาร์บอน
196. เปิดผลสำรวจความยั่งยืนของธุรกิจไทย ปี 67
2. มีที่ไหนกลยุทธ์ความยั่งยืน
3. SROI เครื่องมือวัดผล หรือ มโนผล (1)
4. SROI เครื่องมือวัดผล หรือ มโนผล (2)
5. SVOI เครื่องมือค้นหา “คุณค่าร่วม”
6. SME ที่ยั่งยืน เกิดจากลูก 3 คน
7. สัญญาณ CSR ในห่วงโซ่อุปทาน
8. SDGs ใน 3 มิติ
9. ทำ SE ไม่ต้องรอกฎหมาย
10. เศรษฐกิจพอเพียง : จากปรัชญา สู่ทฤษฎี (ใหม่) ทางธุรกิจ
11. Invention is not Innovation
12. CSR ในสามเวอร์ชัน
13. โค้งสุดท้าย ประชารัฐ
14. ผลิตภัณฑ์ 4.0
15. ความยั่งยืนใน 3 ประเด็นสำคัญ ปี 61
16. ธุรกิจในแบบ SDG-Friendly
17. มาแล้ว ประชารัฐ 2.0 (เวอร์ชัน ไทยนิยม)
18. เปลี่ยนจาก เก่งกว่า ให้เป็น เก่งแก่ผู้อื่น
19. มณฑลแห่งความยั่งยืน
20. 6 ทิศทาง CSR ปี 61
21. เปิดร้านค้าความยั่งยืน ตอบโจทย์ธุรกิจ
22. แผนที่กลยุทธ์คุณค่าร่วม
23. เศรษฐกิจกับความยั่งยืน
24. ธุรกิจที่สังคมต้องการ
25. หุ้นยั่งยืน ESG100
26. GDP ที่เรา (ไม่) ต้องการ
27. มาสร้าง GDP ชุมชนกันเถอะ
28. ยุบทิ้ง Business School
29. เราจะรับมือ “อุบัติภัย” ได้อย่างไร
30. คุยอะไรกันในฟอรั่ม SDG ที่นิวยอร์ก
31. สร้างแต้มต่อธุรกิจด้วย CSR
32. CSR ทำเพราะชอบ หรือทำเพราะใช่
33. CSR ควรสังกัดอยู่กับฝ่ายใด
34. ทำ CSR อย่างไร ไม่ให้โดนเท
35. ทำ CSR ไปทำไม
36. ดัชนีหุ้นน้ำดี ESG
37. ทำดีแล้ว ต้องรายงาน
38. ทำ CSR เมื่อไรดี
39. CSR เรื่องไหนที่ควรทำ
40. 51 รายงานความยั่งยืนที่น่าศึกษา
41. เหลียวหลัง แลหน้า ความยั่งยืนของกิจการ
42. ปีหมูที่ (ไม่) ปลอดภัย
43. Value x Impact แนวทาง CSR ปี 62
44. ดิจิทัศน์องค์กร ของที่กิจการยุคใหม่ต้องมี
45. เล่าเรื่อง Social Business
46. 6 ทิศทาง CSR ปี 62
47. การลงทุนเพื่อผลลัพธ์ทางสังคม
48. ผลกระทบกับความยั่งยืน
49. “คุณค่า” กับ “ความยั่งยืน”
50. การลงทุนเพื่อเปลี่ยนแปลงโลก
51. การวัดผลตอบแทนจากความยั่งยืน
52. CSR ระหว่างได้ภาพ กับได้ผล
53. หุ้น ESG100 ปี 62
54. งาน Social Business Day ที่ไม่ควรพลาด
55. ไทยติดอันดับโลกด้านความยั่งยืน
56. ESG กับการลงทุนในกองทุนรวม
57. ธนาคาร ยุค ESG เริ่มแล้ว
58. ตลาดทุน 4.0
59. การลงทุนด้วยปัจจัย ESG
60. สานสัมพันธ์อย่างไร ให้เวิร์ก
61. SDC: ประชาคมธุรกิจเพื่อความยั่งยืน
62. คนบนฟ้า
63. การสร้างตัวแบบธุรกิจเพื่อสังคม
64. Big (Sustainability) Data
65. ธรรมาภิบาลในทศวรรษ 2020
66. Social Business ธุรกิจในทศวรรษ 2020
67. 84 องค์กรร่วมขับเคลื่อน SDGs เป้าที่ 12.6
68. 2020 : ปีแห่งการเป็นผู้ประกอบความยั่งยืน
69. 3 ธีมความยั่งยืน ปี 63
70. วาระใหม่แห่งความยั่งยืน
71. ธุรกิจในโหมดตั้งรับและปรับตัว
72. 6 ทิศทาง CSR ปี 63
73. Checklist ธุรกิจ รับมือ COVID-19
74. โควิด 19: ESG กระทบโลก กระเทือนธุรกิจ
75. 7 บทบาทผู้ลงทุนในยุคโควิดระบาด
76. 15 Checklists แนวปฏิบัติผู้ลงทุนในสถานการณ์โควิด
77. กลยุทธ์ภาคธุรกิจเพื่อต่อกรกับโควิด
78. ธุรกิจกับการมีส่วนร่วมในสถานการณ์โควิด
79. SDG Impact Company: บริษัทผลัดเปลี่ยนโลก
80. ธุรกิจเข้าสู่โหมด Recovery จากโควิด
81. โฉมหน้า CSR หลังโควิด
82. โควิดกับการพัฒนาที่ยั่งยืน
83. บริษัทวิถียั่งยืนที่น่าลงทุน
84. CSR : สิ่งที่เห็น กับ สิ่งที่เป็น
85. CSR ไม่ได้เริ่มที่บรรทัดสุดท้าย ของงบกำไรขาดทุน
86. ทำธุรกิจให้รอดในภาวะปกติใหม่
87. ข้อมูล ESG สำคัญไฉน
88. การเติบโตของตลาดข้อมูล ESG
89. ทำไมต้องใช้ข้อมูล ESG ในการลงทุน
90. ชนะการลงทุนช่วงโควิด ด้วย ESG
91. หุ้น DJSI ยั่งยืนจริงหรือ?
92. 6 ปี การเดินทางของหุ้น ESG100
93. ความยั่งยืนของกิจการในรอบปี 2563
94. 2021: ปีแห่งวัฒนธรรมสุขภาพองค์กร
95. ปีแห่งเศรษฐกิจสร้างสรรค์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
96. กิจการสื่อสารความยั่งยืนกันอย่างไร
97. COVID Effect ยังอยู่ (ยาว)
98. 6 ทิศทาง CSR ปี 64
99. 4C : ส่วนประสมการแข่งขันข้ามสนาม
100. Regenerative Business : ธุรกิจเกื้อโลก
101. โควิดมาใหม่ ธุรกิจจะไปทางไหน
102. ธุรกิจเตรียมรับแรงกระแทกใหญ่ !
103. สร้างภาวะพร้อมผันให้องค์กร
104. 24 หุ้นน่าลงทุนกลุ่ม ESG Emerging
105. จะ ‘หยุด’ หรือ ‘อยู่’ กับโควิด
106. 120 วัน ธุรกิจต้องเตรียมอะไร
107. ผลตอบแทนหุ้น ESG ครึ่งปีแรก
108. โฉมหน้าสำนักงานหลังโควิด
109. การลงทุน ESG เติบโตต่อเนื่อง
110. ค้าขายออนไลน์ ต้องใช้แบรนด์แข่งขัน
111. ทำ CSR ที่ไหนดี !
112. โควิด-19 !! พลิกโฉม ภาพ CSR แบบถาวร...
113. Natural Asset Companies (NAC) : บริษัทกู้โลก
114. "4 มิติ" ที่ธุรกิจต้องปรับตัว (ไปแล้ว)
115. หลักการ ESG ในภาคการเงิน
116. ปรับองค์กร - เปลี่ยนโลก
117. การประเมินลงทุนธีม "ESG" มีความสำคัญไฉน ?
118. จับตา “5 ธุรกิจ” น่าลงทุนแห่งอนาคต
119. 105 กิจการตัวอย่างข้อมูลความยั่งยืน
120. เปิดผลสำรวจ ESG ธุรกิจไทย ปี 64
121. ESG... ย่างก้าวสู่ "ความยั่งยืน" ปี 2565
122. การประเมิน ESG ทำอย่างไร
123. เมตาเวิร์สเพื่อสังคม
124. Social Positive Business : ธุรกิจที่เป็นบวกต่อสังคม
125. CSR เป็นขององค์กร แล้วความยั่งยืนเป็นของใคร
126. พิสูจน์ "ความยั่งยืน" ผ่านข้อมูล "ESG"
127. บอกผู้คนและโลกอย่างไร ว่าองค์กรเรายั่งยืน
128. การสื่อสารเรื่องก๊าซเรือนกระจก สำคัญต่อธุรกิจวิถียั่งยืน
129. 8 ตัววัดด้านเศรษฐกิจที่กิจการมีข้อมูลและตอบโจทย์ SDG
130. 11 ตัววัดด้านสิ่งแวดล้อมที่กิจการมีข้อมูลและตอบโจทย์ SDG
131. เปิดโผ... หุ้น "ESG Emerging" ปี 2565
132. 7 ตัววัดด้านสังคมที่กิจการมีข้อมูลและตอบโจทย์ SDG
133. ESG เครดิต: หมุดหมายใหม่แห่งความยั่งยืน
134. 7 ตัววัดด้านธรรมาภิบาล ที่กิจการมีข้อมูลและตอบโจทย์ SDG
135. ธุรกิจบริการข้อมูล ESG โต สวนกระแสเศรษฐกิจ
136. มรรค 8 CSR : ทางสายกิจการสู่ความยั่งยืน
137. ECO3 : ธีมเศรษฐกิจยุคใหม่ ใส่ใจโลก
138. มาตรฐาน GRI กับความเข้าใจผิดเรื่องความยั่งยืน
139. ผลสำรวจความเชื่อมโยงระหว่าง ESG กับ Bottom Line ของกิจการ
140. การวางตำแหน่ง "ESG" กับ โอกาสทางธุรกิจ
141. "ไทย" ติดกลุ่มประเทศที่มีการเปิดเผยรายงานความยั่งยืนสูงสุด
142. การส่งเสริมธุรกิจประกันภัยให้ยั่งยืน ด้วยปัจจัย ESG
143. COP 27 กับการหารือกลไกตลาดคาร์บอนเครดิต
144. 10 ข้อควรรู้ เกี่ยวกับที่มาและตลาดคาร์บอนเครดิต
145. 3 ธีม ขับเคลื่อน ESG ประเทศไทย ปี 2566 (1)
146. 3 ธีม ขับเคลื่อน ESG ประเทศไทย ปี 2566 (2)
147. 3 ธีม ขับเคลื่อน ESG ประเทศไทย ปี 2566 (จบ)
148. ความยั่งยืนของกิจการในรอบปี 2565
149. จะขับเคลื่อน ESG แบบ ‘ห่วงเรา’ หรือ ‘ห่วงโลก’
150. 6 ทิศทางความยั่งยืน ปี 66
151. ESG Footprint: รอยเท้าความยั่งยืนในสายอุปทาน
152. ESG Meter: มาตรวัดความยั่งยืนของกิจการไทย
153. 9 ปี การเดินทางของหุ้น ESG100
154. 7 กลวิธี การฟอกเขียว
155. Climate Reporting: กิจการไทย ยืนหนึ่งในอาเซียน
156. คนรุ่นใหม่เลือกทำงานกับบริษัทที่ใฝ่ ESG
157. 'หุ้นเข้าใหม่' ในทำเนียบ ESG100 ปี 2566
158. นับหนึ่งการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืนภาครัฐ
159. กลยุทธ์น่านน้ำหลากสี : Colorful Ocean Strategy
160. 7 Green Habits : สร้างอุปนิสัยสีเขียวเพื่อโลก
161. '7 เทรนด์' เปลี่ยนเกมความยั่งยืน
162. สร้างแต้มต่อให้ SME ด้วย ESG Profile
163. ระบบ IT: จิกซอว์สำคัญของ 'ความยั่งยืน'
164. นโยบายรัฐบาลในมุมมอง ESG
165. ครึ่งทาง SDG : โลกทำได้ตามเป้า 12%
166. 'การฟอกเขียว' ในกลุ่มธนาคารกำลังขยายวง
167. 1 ใน 5 ของธุรกิจยั่งยืน มีการรายงานผลกระทบ SDG
168. ตลาดข้อมูล ESG ในกลุ่มกิจการ Private Markets
169. 'หุ้น ESG' ให้ผลตอบแทนชนะตลาดจริงหรือ
170. การลงทุนที่ยั่งยืน เริ่มมีขนาดสินทรัพย์ลดลง
171. เปิดผลสำรวจ ESG ธุรกิจไทย ปี 2566
172. ธีม ESG ปี 2024 : Who cares earns
173. 3 ความท้าทายและความเสี่ยง ESG ปี 2024
174. เพิ่มแต้มต่อในธุรกิจ ด้วยการเปิดเผยข้อมูล ESG
175. เหรียญ 2 ด้านของความยั่งยืน
176. มาตรวัดความยั่งยืน: จาก ESG Rating สู่ ESG Premium
177. เมื่อ ESG กลายเป็น License to Earn
178. ตลาดข้อมูล ESG โตไม่หยุด ไต่ระดับขึ้น 2 พันล้านเหรียญ
179. ธุรกิจประกาศเป้า Net Zero อย่างไร ไม่ให้ปลอม
180. การขับเคลื่อน ESG สำหรับบริษัทนอกตลาด
181. Double Materiality: หลักการชี้แนะสำหรับการรายงานความยั่งยืน
182. ก.ล.ต. ยุโรป ออกกฎตีตรากองทุน ESG
183. ทำเนียบบริษัทกลุ่ม ESG Emerging ปี 2567
184. เทคโนโลยี ในฐานะปัจจัยคู่ของความยั่งยืน
185. AI กับการรายงานข้อมูลความยั่งยืน
186. 10 ปี การเดินทางของหุ้น ESG100
187. การพัฒนาความยั่งยืนจาก 'องค์กร' สู่ 'องค์รวม'
188. กรรมการพิชาน : บทบาทใหม่ด้านความยั่งยืน
189. การเปิดเผยข้อมูลผลกระทบความยั่งยืน
190. ตัวชี้วัด ESG สำหรับธุรกิจครอบครัว
191. จาก ‘สามเหลี่ยม-เขยื้อนภูเขา’ สู่ ‘สามวง-นวัตสังคม’
192. AI กับการขับเคลื่อนธุรกิจสู่ความยั่งยืน
193. รายงานความยั่งยืน ช่วยเพิ่มผลลัพธ์ทางสังคม
194. 15 บริษัทใน SET50 ต้องเปิดข้อมูล Biodiversity ภายในปี 2573
195. เวที COP 29 ไฟเขียวรับมาตรฐานกลไกตลาดคาร์บอน
196. เปิดผลสำรวจความยั่งยืนของธุรกิจไทย ปี 67
Wednesday, June 14, 2017
Social Investment: ลงทุนให้ (โลก) กำไร
ในวงของภาคเอกชนที่เรื่องการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ หรือ Corporate Social Responsibility (CSR) ได้กลายเป็นบรรทัดฐาน (Norm) ในทุกสาขาอุตสาหกรรม และในทุกองค์กร โดยไม่จำกัดขนาดของกิจการ ทำให้บรรดาองค์กรธุรกิจที่ต้องการพัฒนาสร้างความแตกต่างและคุณค่าในรูปแบบใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง พยายามแสวงหาเครื่องมือทางสังคมใหม่ๆ เพื่อมาตอบโจทย์การพัฒนา และหนึ่งในนั้น คือ การลงทุนทางสังคม หรือ Social Investment ที่ปัจจุบัน ได้มีองค์กรธุรกิจไทยหลายแห่ง นำมาใช้ในการสร้างคุณค่าทางสังคม นอกเหนือจากรูปแบบการบริจาคเพื่อการกุศล (Philanthropy)
จากข้อมูลการสำรวจ 2016 Global Sustainable Investment Review ของ Global Sustainable Investment Alliance (GSIA) ระบุว่า การเติบโตของการลงทุนที่มุ่งผลกระทบหรือเป็นการลงทุนเพื่อชุมชน (Impact/Community Investing) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อผลักดันให้เกิดการแก้ไขปัญหาสังคม รวมถึงการลงทุนในกิจการที่มีความมุ่งประสงค์ (Purpose) ทางสังคม มียอดรวมการลงทุนอยู่ราว 2.48 แสนล้านเหรียญ ในปี พ.ศ.2559 เพิ่มขึ้นร้อยละ 146 เมื่อเทียบกับปี พ.ศ.2557
ในปี พ.ศ.2553 UN Global Compact หน่วยงานในสังกัดองค์การสหประชาชาติ ได้ออกหลักการว่าด้วยการลงทุนทางสังคม หรือ Principles for Social Investment (PSI) 4 ข้อ คือ เป็นการลงทุนที่มุ่งประสงค์ (Purposeful) ให้เกิดผลดีแก่สังคม พร้อมให้ตรวจสอบ (Accountable) เอาใจใส่ (Respectful) และมีจริยธรรม (Ethical)
การลงทุนทางสังคม ตามหลักการดังกล่าว เป็นการเข้ามีส่วนร่วมทั้งทางการเงินและในรูปแบบอื่นที่มิใช่ตัวเงินโดยสมัครใจ เพื่อช่วยเหลือชุมชนท้องถิ่น และสังคมในวงกว้าง ในการพัฒนาหรือจัดการกับปัญหาที่เผชิญอยู่
ด้วยเหตุที่ กิจกรรมการเข้าร่วมพัฒนาสังคมของภาคธุรกิจ ในยุคปัจจุบัน ไม่สามารถที่จะแยกออกจากกันได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดระหว่างการพัฒนาในเชิงเศรษฐกิจกับการพัฒนาในเชิงสังคม แนวโน้มของการยอมรับความเกี่ยวโยงดังกล่าว ก่อให้เกิดรูปแบบของการพัฒนาใหม่ๆ ที่หลากหลาย ขึ้นอยู่กับการให้น้ำหนักที่เคลื่อนไปมาระหว่างวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ (Commercial) กับวัตถุประสงค์เพื่อชุมชน (Community) ดังรูป
จากซ้ายสุด ธุรกิจคือใจกลาง (Core Business) เป็นรูปแบบการประกอบธุรกิจที่เป็นไปเพื่อแสวงหากำไรและสร้างความมั่งคั่งเป็นที่ตั้ง ดำเนินงานในแนวทางที่นักเศรษฐศาสตร์ อย่างมิลตั้น ฟรีดแมน กล่าวไว้ว่า ความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจทั้งมวล คือ การแสวงหากำไร ด้วยเหตุนี้ การบริหารกิจการ จึงต้องเป็นไปเพื่อสนองตอบต่อประโยชน์ของผู้ถือหุ้น รูปแบบดังกล่าว มาจากฐานคิดที่เชื่อว่าเป้าประสงค์ในเชิงพาณิชย์กับเป้าประสงค์เพื่อชุมชนไปด้วยกันไม่ได้ ต้องเลือกทางใดทางหนึ่ง
ธุรกิจที่รับผิดชอบ (Responsible Business) เป็นรูปแบบการประกอบธุรกิจที่คำนึงถึงการดูแลผลกระทบทางลบ อันเกิดจากการดำเนินธุรกิจเพื่อสร้างผลกำไรตามวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ กิจการประเภทนี้ ยึดหลัก “Do No Harm” โดยจะปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อกำหนดทางกฎหมาย เพื่อกำกับดูแลมิให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม อันอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงหรือความเสียหายต่อธุรกิจ
ธุรกิจที่ไม่ปิดกั้น (Inclusive Business) เป็นรูปแบบการประกอบธุรกิจที่ให้ความสนใจในการเข้าถึงตลาดเป้าหมายในกลุ่มที่มีรายได้น้อย หรือเปิดกว้างให้กลุ่มดังกล่าว เข้ามาเป็นผู้ส่งมอบ (Suppliers) ในห่วงโซ่ธุรกิจ สามารถสร้างให้เกิดการจ้างงาน อาชีพ รายได้ และการพัฒนาคุณภาพชีวิต หรือเกิดส่วนตลาดใหม่ เป็นกิจการที่ดำเนินงานตามแนวทาง “Do Good” โดยใช้กระบวนงานหลักทางธุรกิจ ซึ่งมีความยั่งยืนกว่าการให้ความช่วยเหลือในแบบให้เปล่าที่ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจที่ดำเนินอยู่
ธุรกิจแบบเน้นคุณค่าร่วม (Shared Value) เป็นรูปแบบการประกอบธุรกิจที่ผสานการดำเนินงานเพื่อสร้างให้เกิดผลลัพธ์ในเชิงพาณิชย์ควบคู่กับผลประโยชน์ที่ชุมชนได้รับ ก่อให้เกิดเป็นความสำเร็จทางธุรกิจและความก้าวหน้าทางสังคมไปพร้อมกัน ประโยชน์ที่สังคมได้รับจากรูปแบบดังกล่าว มิใช่การจัดสรรปันส่วนใหม่ (Re-distribute) ที่ทำให้ธุรกิจได้รับประโยชน์น้อยลงจากเดิม แต่เป็นการเพิ่มผลิตภาพในห่วงโซ่คุณค่า การปรับรื้อช่องทางการจัดจำหน่าย การสร้างนวัตกรรมและการใช้เทคโนโลยี เพื่อเพิ่มคุณค่ามวลรวมให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มที่เกี่ยวข้อง
ธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business) เป็นรูปแบบการประกอบธุรกิจที่ตั้งอยู่บนความมุ่งประสงค์เดียว คือ การแก้ปัญหาสังคมด้วยวิถีทางที่สามารถเลี้ยงตัวเองได้ กิจการประเภทนี้ มีการบริหารจัดการแบบธุรกิจที่สามารถแสวงหากำไรได้ และต้องมีขีดความสามารถในการคืนเงินทุนตั้งต้นให้แก่ผู้ลงทุนภายในกำหนดเวลาที่ตกลงกัน ตามหลัก “Non-loss, Non-dividend” โดยกำไรที่ได้รับ จะนำกลับมาลงทุนในกิจการทั้งหมด เพื่อต่อยอดขยายผลการประกอบกิจการ ให้สังคมได้รับประโยชน์เพิ่มทวีขึ้น รูปแบบของธุรกิจเพื่อสังคม มักเกี่ยวข้องกับการตอบสนองความจำเป็นพื้นฐาน (ปัจจัยสี่) การแก้ปัญหาความยากจน และการขจัดความเหลื่อมล้ำทางสังคม เป็นต้น
การลงทุนทางสังคมเชิงกลยุทธ์ (Strategic Social Investment) เป็นรูปแบบการให้การสนับสนุนทางการเงินและทรัพยากรที่มิใช่ตัวเงินแก่ชุมชน หรือกับประเด็นทางสังคมที่ต้องการแก้ไขหรือพัฒนา โดยเฉพาะกับชุมชนที่มีแหล่งดำเนินงานหรือสถานประกอบการตั้งอยู่ การลงทุนในรูปแบบนี้ แตกต่างจากการบริจาคในแบบให้เปล่า ตรงที่วัตถุประสงค์ของการลงทุน เป็นไปในทางที่สอดรับเป้าประสงค์ทางธุรกิจในระยะยาว คล้ายคลึงกับการให้การอุปถัมภ์ (Sponsorship) ที่ช่วยเสริมสร้างให้เกิดการรับรู้ในภาพลักษณ์องค์กร การตอบรับจากลูกค้า และความภาคภูมิใจในการทำงานร่วมกับองค์กร ช่วยให้องค์กรสามารถที่จะรักษาพนักงานที่มีความสามารถไว้ ในขณะเดียวกัน ก็สามารถที่จะชักชวนบุคลากรที่มีคุณภาพและเป็นที่ต้องการ ให้เข้ามาร่วมงานกับองค์กรเพิ่มเติม
การบริจาคเพื่อการกุศล (Philanthropy) เป็นรูปแบบของการให้หรือการจัดสรรทรัพยากรที่เอกชนเป็นเจ้าของ เพื่อประโยชน์แก่ส่วนรวม โดยมิได้มุ่งหวังผลตอบแทน หรือมีประโยชน์เชื่อมโยงกลับมายังองค์กรผู้บริจาคในทางตรง การดำเนินงานตามรูปแบบนี้ องค์กรสามารถเข้าไปเกี่ยวข้องในหลายระดับ นับตั้งแต่การคัดเลือกโครงการ การตรวจสอบสถานะโครงการ การจัดสรรทรัพยากรให้แก่โครงการ การบริหารจัดการโครงการ การติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการ หรือองค์กรผู้บริจาคที่มีกิจการขนาดใหญ่ หรือมีหลายกิจการในเครือ อาจมีการตั้งมูลนิธิในสังกัดขึ้น เพื่อให้มีการประสานการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ เป็นต้น
รูปแบบการดำเนินงานที่กล่าวมาข้างต้น ถือเป็น บทบาทของภาคเอกชนที่สามารถสร้างประโยชน์ให้แก่ส่วนรวม ไล่เรียงจากน้อยสุดไปมากสุด เป็นการเลือกทำธุรกิจที่แสวงหากำไร (ให้สังคม) ตามอัธยาศัยของแต่ละกิจการครับ
--------------------------------------
(เรียบเรียงจากเอกสาร Foundations of Social Investment โดย UN Global Compact และ Principles for Social Investment Secretariat (PSIS), 2012.)
จากบทความ 'Green Vision' ในหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ [Archived]
จากข้อมูลการสำรวจ 2016 Global Sustainable Investment Review ของ Global Sustainable Investment Alliance (GSIA) ระบุว่า การเติบโตของการลงทุนที่มุ่งผลกระทบหรือเป็นการลงทุนเพื่อชุมชน (Impact/Community Investing) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อผลักดันให้เกิดการแก้ไขปัญหาสังคม รวมถึงการลงทุนในกิจการที่มีความมุ่งประสงค์ (Purpose) ทางสังคม มียอดรวมการลงทุนอยู่ราว 2.48 แสนล้านเหรียญ ในปี พ.ศ.2559 เพิ่มขึ้นร้อยละ 146 เมื่อเทียบกับปี พ.ศ.2557
ในปี พ.ศ.2553 UN Global Compact หน่วยงานในสังกัดองค์การสหประชาชาติ ได้ออกหลักการว่าด้วยการลงทุนทางสังคม หรือ Principles for Social Investment (PSI) 4 ข้อ คือ เป็นการลงทุนที่มุ่งประสงค์ (Purposeful) ให้เกิดผลดีแก่สังคม พร้อมให้ตรวจสอบ (Accountable) เอาใจใส่ (Respectful) และมีจริยธรรม (Ethical)
การลงทุนทางสังคม ตามหลักการดังกล่าว เป็นการเข้ามีส่วนร่วมทั้งทางการเงินและในรูปแบบอื่นที่มิใช่ตัวเงินโดยสมัครใจ เพื่อช่วยเหลือชุมชนท้องถิ่น และสังคมในวงกว้าง ในการพัฒนาหรือจัดการกับปัญหาที่เผชิญอยู่
ด้วยเหตุที่ กิจกรรมการเข้าร่วมพัฒนาสังคมของภาคธุรกิจ ในยุคปัจจุบัน ไม่สามารถที่จะแยกออกจากกันได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดระหว่างการพัฒนาในเชิงเศรษฐกิจกับการพัฒนาในเชิงสังคม แนวโน้มของการยอมรับความเกี่ยวโยงดังกล่าว ก่อให้เกิดรูปแบบของการพัฒนาใหม่ๆ ที่หลากหลาย ขึ้นอยู่กับการให้น้ำหนักที่เคลื่อนไปมาระหว่างวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ (Commercial) กับวัตถุประสงค์เพื่อชุมชน (Community) ดังรูป
จากซ้ายสุด ธุรกิจคือใจกลาง (Core Business) เป็นรูปแบบการประกอบธุรกิจที่เป็นไปเพื่อแสวงหากำไรและสร้างความมั่งคั่งเป็นที่ตั้ง ดำเนินงานในแนวทางที่นักเศรษฐศาสตร์ อย่างมิลตั้น ฟรีดแมน กล่าวไว้ว่า ความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจทั้งมวล คือ การแสวงหากำไร ด้วยเหตุนี้ การบริหารกิจการ จึงต้องเป็นไปเพื่อสนองตอบต่อประโยชน์ของผู้ถือหุ้น รูปแบบดังกล่าว มาจากฐานคิดที่เชื่อว่าเป้าประสงค์ในเชิงพาณิชย์กับเป้าประสงค์เพื่อชุมชนไปด้วยกันไม่ได้ ต้องเลือกทางใดทางหนึ่ง
ธุรกิจที่รับผิดชอบ (Responsible Business) เป็นรูปแบบการประกอบธุรกิจที่คำนึงถึงการดูแลผลกระทบทางลบ อันเกิดจากการดำเนินธุรกิจเพื่อสร้างผลกำไรตามวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ กิจการประเภทนี้ ยึดหลัก “Do No Harm” โดยจะปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อกำหนดทางกฎหมาย เพื่อกำกับดูแลมิให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม อันอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงหรือความเสียหายต่อธุรกิจ
ธุรกิจที่ไม่ปิดกั้น (Inclusive Business) เป็นรูปแบบการประกอบธุรกิจที่ให้ความสนใจในการเข้าถึงตลาดเป้าหมายในกลุ่มที่มีรายได้น้อย หรือเปิดกว้างให้กลุ่มดังกล่าว เข้ามาเป็นผู้ส่งมอบ (Suppliers) ในห่วงโซ่ธุรกิจ สามารถสร้างให้เกิดการจ้างงาน อาชีพ รายได้ และการพัฒนาคุณภาพชีวิต หรือเกิดส่วนตลาดใหม่ เป็นกิจการที่ดำเนินงานตามแนวทาง “Do Good” โดยใช้กระบวนงานหลักทางธุรกิจ ซึ่งมีความยั่งยืนกว่าการให้ความช่วยเหลือในแบบให้เปล่าที่ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจที่ดำเนินอยู่
ธุรกิจแบบเน้นคุณค่าร่วม (Shared Value) เป็นรูปแบบการประกอบธุรกิจที่ผสานการดำเนินงานเพื่อสร้างให้เกิดผลลัพธ์ในเชิงพาณิชย์ควบคู่กับผลประโยชน์ที่ชุมชนได้รับ ก่อให้เกิดเป็นความสำเร็จทางธุรกิจและความก้าวหน้าทางสังคมไปพร้อมกัน ประโยชน์ที่สังคมได้รับจากรูปแบบดังกล่าว มิใช่การจัดสรรปันส่วนใหม่ (Re-distribute) ที่ทำให้ธุรกิจได้รับประโยชน์น้อยลงจากเดิม แต่เป็นการเพิ่มผลิตภาพในห่วงโซ่คุณค่า การปรับรื้อช่องทางการจัดจำหน่าย การสร้างนวัตกรรมและการใช้เทคโนโลยี เพื่อเพิ่มคุณค่ามวลรวมให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มที่เกี่ยวข้อง
ธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business) เป็นรูปแบบการประกอบธุรกิจที่ตั้งอยู่บนความมุ่งประสงค์เดียว คือ การแก้ปัญหาสังคมด้วยวิถีทางที่สามารถเลี้ยงตัวเองได้ กิจการประเภทนี้ มีการบริหารจัดการแบบธุรกิจที่สามารถแสวงหากำไรได้ และต้องมีขีดความสามารถในการคืนเงินทุนตั้งต้นให้แก่ผู้ลงทุนภายในกำหนดเวลาที่ตกลงกัน ตามหลัก “Non-loss, Non-dividend” โดยกำไรที่ได้รับ จะนำกลับมาลงทุนในกิจการทั้งหมด เพื่อต่อยอดขยายผลการประกอบกิจการ ให้สังคมได้รับประโยชน์เพิ่มทวีขึ้น รูปแบบของธุรกิจเพื่อสังคม มักเกี่ยวข้องกับการตอบสนองความจำเป็นพื้นฐาน (ปัจจัยสี่) การแก้ปัญหาความยากจน และการขจัดความเหลื่อมล้ำทางสังคม เป็นต้น
การลงทุนทางสังคมเชิงกลยุทธ์ (Strategic Social Investment) เป็นรูปแบบการให้การสนับสนุนทางการเงินและทรัพยากรที่มิใช่ตัวเงินแก่ชุมชน หรือกับประเด็นทางสังคมที่ต้องการแก้ไขหรือพัฒนา โดยเฉพาะกับชุมชนที่มีแหล่งดำเนินงานหรือสถานประกอบการตั้งอยู่ การลงทุนในรูปแบบนี้ แตกต่างจากการบริจาคในแบบให้เปล่า ตรงที่วัตถุประสงค์ของการลงทุน เป็นไปในทางที่สอดรับเป้าประสงค์ทางธุรกิจในระยะยาว คล้ายคลึงกับการให้การอุปถัมภ์ (Sponsorship) ที่ช่วยเสริมสร้างให้เกิดการรับรู้ในภาพลักษณ์องค์กร การตอบรับจากลูกค้า และความภาคภูมิใจในการทำงานร่วมกับองค์กร ช่วยให้องค์กรสามารถที่จะรักษาพนักงานที่มีความสามารถไว้ ในขณะเดียวกัน ก็สามารถที่จะชักชวนบุคลากรที่มีคุณภาพและเป็นที่ต้องการ ให้เข้ามาร่วมงานกับองค์กรเพิ่มเติม
การบริจาคเพื่อการกุศล (Philanthropy) เป็นรูปแบบของการให้หรือการจัดสรรทรัพยากรที่เอกชนเป็นเจ้าของ เพื่อประโยชน์แก่ส่วนรวม โดยมิได้มุ่งหวังผลตอบแทน หรือมีประโยชน์เชื่อมโยงกลับมายังองค์กรผู้บริจาคในทางตรง การดำเนินงานตามรูปแบบนี้ องค์กรสามารถเข้าไปเกี่ยวข้องในหลายระดับ นับตั้งแต่การคัดเลือกโครงการ การตรวจสอบสถานะโครงการ การจัดสรรทรัพยากรให้แก่โครงการ การบริหารจัดการโครงการ การติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการ หรือองค์กรผู้บริจาคที่มีกิจการขนาดใหญ่ หรือมีหลายกิจการในเครือ อาจมีการตั้งมูลนิธิในสังกัดขึ้น เพื่อให้มีการประสานการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ เป็นต้น
รูปแบบการดำเนินงานที่กล่าวมาข้างต้น ถือเป็น บทบาทของภาคเอกชนที่สามารถสร้างประโยชน์ให้แก่ส่วนรวม ไล่เรียงจากน้อยสุดไปมากสุด เป็นการเลือกทำธุรกิจที่แสวงหากำไร (ให้สังคม) ตามอัธยาศัยของแต่ละกิจการครับ
--------------------------------------
(เรียบเรียงจากเอกสาร Foundations of Social Investment โดย UN Global Compact และ Principles for Social Investment Secretariat (PSIS), 2012.)
จากบทความ 'Green Vision' ในหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ [Archived]
Saturday, June 03, 2017
CSR กับผู้สูงวัย
ปัจจุบัน ประเทศไทยมีจำนวนผู้สูงอายุอยู่ราว 10.42 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 15.6 ของประชากรทั้งหมด และภายในอีก 5 ปีข้างหน้า ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ โดยจะมีประชากรผู้สูงอายุจำนวน 1 ใน 5 หรือร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมด ซึ่งจะทำให้โครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ
ภาคธุรกิจสามารถนำประเด็นความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) มาดำเนินการเพื่อตอบสนองต่อตลาดกลุ่มผู้สูงอายุ และการพัฒนากระบวนงานทางธุรกิจที่ดำเนินอยู่ให้พร้อมรองรับต่อโครงสร้างกำลังแรงงานที่เปลี่ยนแปลง ภายใต้รูปแบบ CSR-in-process อาทิ การจ้างงานผู้สูงอายุ การจัดซื้อผลิตภัณฑ์จากกลุ่มอาชีพหรือวิสาหกิจที่ดำเนินการโดยผู้สูงอายุ รวมถึงการพัฒนาสินค้าและบริการสำหรับผู้สูงอายุ
ทั้งนี้ เพื่อสนับสนุนให้ผู้สูงอายุได้แสดงศักยภาพ ภูมิปัญญา การใช้ความรู้และประสบการณ์ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม รวมทั้งสามารถสร้างอาชีพและรายได้ที่ต่อเนื่องหลังเกษียณอายุ โดยองค์กรธุรกิจสามารถดำเนินงานทางธุรกิจที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุได้ใน 4 มิติ ได้แก่
มิติด้านการจ้างงาน (Employment) ภาคธุรกิจสามารถดำเนินนโยบายด้านนี้ได้โดยการขยายเวลาการจ้างงาน โดยการปรับเปลี่ยนนโยบายการจ้างงานของบริษัทให้สามารถจ้างผู้เกษียณอายุที่มีศักยภาพ และมีความต้องการที่จะทำงาน หรือ การรับผู้ที่เกษียณอายุแล้วกลับเข้ามาทำงาน ในตำแหน่งงานที่มีความเหมาะสมกับผู้สูงอายุ
ตัวอย่างโครงการด้านการจ้างงานผู้สูงอายุ ได้แก่ โครงการจ้างแรงงานวัยเกษียณ ของกลุ่มโรงแรมและบริษัทในเครือเซ็นทารา ซึ่งมีจำนวนกว่า 70 แห่ง มีพนักงานวัยเกษียณที่ทำงานอยู่ประมาณ 120 คน ตั้งแต่ฝ่ายบริหาร หัวหน้าแผนก ยันพนักงานซักรีด ทำครัว ล้างจาน ช่างซ่อมบำรุง จองห้องพัก แม่บ้าน ฯลฯ
มิติด้านการจัดซื้อจัดจ้าง (Procurement) ในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของบริษัท เป็นกระบวนการที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อกระบวนการดำเนินงานของธุรกิจ ซึ่งโดยส่วนใหญ่ภาคธุรกิจจะดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างกับคู่ค้าซึ่งเป็นภาคธุรกิจด้วยกัน องค์กรสามารถปรับเปลี่ยนกระบวนการส่วนนี้ โดยการผลักดัน และสนับสนุนสินค้าและบริการจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชน หรือกลุ่มแม่บ้าน ที่ดำเนินงานโดยกลุ่มผู้ผู้สูงอายุ ให้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการจัดซื้อ จัดจ้างของบริษัท
ตัวอย่างโครงการด้านการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าจากกลุ่มผู้สูงอายุ ได้แก่ โครงการสั่งซื้ออาหารว่างจากกลุ่มผู้สูงอายุ ของ บมจ.ทีวี ไดเร็ค โดยบริษัทฯ มีการสั่งซื้ออาหารว่างจากกลุ่มผู้สูงอายุที่อยู่รอบๆ บริษัท เพื่อใช้บริการ กรณีที่มีการจัดประชุมหรืองานจัดเลี้ยงต่างๆ ซึ่งได้ดำเนินการมาแล้ว เป็นระยะเวลาประมาณ 2 ปี
มิติด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการบริการ (Development) กลุ่มผู้สูงอายุ ถือเป็นกลุ่มลูกค้าใหม่ที่น่าสนใจ และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น หลายองค์กรได้มีการเตรียมความพร้อมทั้งในด้านการออกแบบ และพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสินค้าและการให้บริการ เพื่อรองรับและตอบสนองความต้องการของผู้สูงอายุ ให้สามารถดำเนินชีวิตในสังคมได้อย่างปกติ โดยมีการคำนึงถึงในด้านต่างๆ อาทิ การออกแบบอาคารสถานที่ตามอารยสถาปัตย์ การออกแบบบรรจุภัณฑ์ การให้ข้อมูล ที่มีความเหมาะสมสอดคล้องกับความต้องการของผู้สูงอายุ
ตัวอย่างโครงการด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ ได้แก่ บริการ SCG Eldercare Solution ของ บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย เป็นบริการให้คำปรึกษาและพัฒนานวัตกรรมที่อยู่อาศัย รวมถึงสินค้าและบริการสำหรับกลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งดำเนินการมาเป็นระยะเวลาประมาณ 3 ปี เพื่อตอบโจทย์เทรนด์ผู้สูงวัย และครอบครัวที่มีสมาชิกเป็นผู้สูงอายุ
มิติด้านการลงทุน หรือร่วมทุน (Investment) เป็นการลงทุนหรือร่วมลงทุนในโครงการที่เกี่ยวกับผู้สูงอายุหรือมีผู้สูงอายุเป็นผู้ดำเนินการ เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับผลประโยชน์จากการร่วมทุน ทั้งในแง่ของการจัดหาทุน การสนับสนุนเงินทุน และร่วมลงทุนทำธุรกิจที่เกี่ยวกับกลุ่มผู้สูงอายุ หรือให้ผู้สูงอายุเป็นผู้ประกอบการ
ตัวอย่างโครงการด้านการลงทุนกับกิจการ/โครงการที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ ได้แก่ กลุ่มผู้ประกอบการ FINNOMENA แพลตฟอร์มการลงทุนที่มีการออกแบบสำหรับทั้งผู้ที่เตรียมตัวเกษียณและผู้ที่เกษียณอายุ และ Health at Home ธุรกิจการดูแลสุขภาพผู้สูงวัยที่บ้าน แทนการส่งผู้สูงอายุไปอยู่สถานดูแล (Nursing Home) ซึ่งทั้งสองกิจการเป็นเป็นวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) ภายใต้การสนับสนุนของ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) ในโครงการดีแทค แอคเซอเลอเรท
ที่มา: ข้อมูลจากผลการศึกษาในโครงการส่งเสริมการดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุของสถาบันไทยพัฒน์ โดยการสนับสนุนของกรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ดูรายละเอียดเพิ่มติมได้ที่ http://agefriendly.biz
จากบทความ 'CSR Talk' ในหนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ [Archived]
ภาคธุรกิจสามารถนำประเด็นความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) มาดำเนินการเพื่อตอบสนองต่อตลาดกลุ่มผู้สูงอายุ และการพัฒนากระบวนงานทางธุรกิจที่ดำเนินอยู่ให้พร้อมรองรับต่อโครงสร้างกำลังแรงงานที่เปลี่ยนแปลง ภายใต้รูปแบบ CSR-in-process อาทิ การจ้างงานผู้สูงอายุ การจัดซื้อผลิตภัณฑ์จากกลุ่มอาชีพหรือวิสาหกิจที่ดำเนินการโดยผู้สูงอายุ รวมถึงการพัฒนาสินค้าและบริการสำหรับผู้สูงอายุ
ทั้งนี้ เพื่อสนับสนุนให้ผู้สูงอายุได้แสดงศักยภาพ ภูมิปัญญา การใช้ความรู้และประสบการณ์ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม รวมทั้งสามารถสร้างอาชีพและรายได้ที่ต่อเนื่องหลังเกษียณอายุ โดยองค์กรธุรกิจสามารถดำเนินงานทางธุรกิจที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุได้ใน 4 มิติ ได้แก่
มิติด้านการจ้างงาน (Employment) ภาคธุรกิจสามารถดำเนินนโยบายด้านนี้ได้โดยการขยายเวลาการจ้างงาน โดยการปรับเปลี่ยนนโยบายการจ้างงานของบริษัทให้สามารถจ้างผู้เกษียณอายุที่มีศักยภาพ และมีความต้องการที่จะทำงาน หรือ การรับผู้ที่เกษียณอายุแล้วกลับเข้ามาทำงาน ในตำแหน่งงานที่มีความเหมาะสมกับผู้สูงอายุ
ตัวอย่างโครงการด้านการจ้างงานผู้สูงอายุ ได้แก่ โครงการจ้างแรงงานวัยเกษียณ ของกลุ่มโรงแรมและบริษัทในเครือเซ็นทารา ซึ่งมีจำนวนกว่า 70 แห่ง มีพนักงานวัยเกษียณที่ทำงานอยู่ประมาณ 120 คน ตั้งแต่ฝ่ายบริหาร หัวหน้าแผนก ยันพนักงานซักรีด ทำครัว ล้างจาน ช่างซ่อมบำรุง จองห้องพัก แม่บ้าน ฯลฯ
มิติด้านการจัดซื้อจัดจ้าง (Procurement) ในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของบริษัท เป็นกระบวนการที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อกระบวนการดำเนินงานของธุรกิจ ซึ่งโดยส่วนใหญ่ภาคธุรกิจจะดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างกับคู่ค้าซึ่งเป็นภาคธุรกิจด้วยกัน องค์กรสามารถปรับเปลี่ยนกระบวนการส่วนนี้ โดยการผลักดัน และสนับสนุนสินค้าและบริการจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชน หรือกลุ่มแม่บ้าน ที่ดำเนินงานโดยกลุ่มผู้ผู้สูงอายุ ให้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการจัดซื้อ จัดจ้างของบริษัท
ตัวอย่างโครงการด้านการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าจากกลุ่มผู้สูงอายุ ได้แก่ โครงการสั่งซื้ออาหารว่างจากกลุ่มผู้สูงอายุ ของ บมจ.ทีวี ไดเร็ค โดยบริษัทฯ มีการสั่งซื้ออาหารว่างจากกลุ่มผู้สูงอายุที่อยู่รอบๆ บริษัท เพื่อใช้บริการ กรณีที่มีการจัดประชุมหรืองานจัดเลี้ยงต่างๆ ซึ่งได้ดำเนินการมาแล้ว เป็นระยะเวลาประมาณ 2 ปี
มิติด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการบริการ (Development) กลุ่มผู้สูงอายุ ถือเป็นกลุ่มลูกค้าใหม่ที่น่าสนใจ และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น หลายองค์กรได้มีการเตรียมความพร้อมทั้งในด้านการออกแบบ และพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสินค้าและการให้บริการ เพื่อรองรับและตอบสนองความต้องการของผู้สูงอายุ ให้สามารถดำเนินชีวิตในสังคมได้อย่างปกติ โดยมีการคำนึงถึงในด้านต่างๆ อาทิ การออกแบบอาคารสถานที่ตามอารยสถาปัตย์ การออกแบบบรรจุภัณฑ์ การให้ข้อมูล ที่มีความเหมาะสมสอดคล้องกับความต้องการของผู้สูงอายุ
ตัวอย่างโครงการด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ ได้แก่ บริการ SCG Eldercare Solution ของ บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย เป็นบริการให้คำปรึกษาและพัฒนานวัตกรรมที่อยู่อาศัย รวมถึงสินค้าและบริการสำหรับกลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งดำเนินการมาเป็นระยะเวลาประมาณ 3 ปี เพื่อตอบโจทย์เทรนด์ผู้สูงวัย และครอบครัวที่มีสมาชิกเป็นผู้สูงอายุ
มิติด้านการลงทุน หรือร่วมทุน (Investment) เป็นการลงทุนหรือร่วมลงทุนในโครงการที่เกี่ยวกับผู้สูงอายุหรือมีผู้สูงอายุเป็นผู้ดำเนินการ เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับผลประโยชน์จากการร่วมทุน ทั้งในแง่ของการจัดหาทุน การสนับสนุนเงินทุน และร่วมลงทุนทำธุรกิจที่เกี่ยวกับกลุ่มผู้สูงอายุ หรือให้ผู้สูงอายุเป็นผู้ประกอบการ
ตัวอย่างโครงการด้านการลงทุนกับกิจการ/โครงการที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ ได้แก่ กลุ่มผู้ประกอบการ FINNOMENA แพลตฟอร์มการลงทุนที่มีการออกแบบสำหรับทั้งผู้ที่เตรียมตัวเกษียณและผู้ที่เกษียณอายุ และ Health at Home ธุรกิจการดูแลสุขภาพผู้สูงวัยที่บ้าน แทนการส่งผู้สูงอายุไปอยู่สถานดูแล (Nursing Home) ซึ่งทั้งสองกิจการเป็นเป็นวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) ภายใต้การสนับสนุนของ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) ในโครงการดีแทค แอคเซอเลอเรท
ที่มา: ข้อมูลจากผลการศึกษาในโครงการส่งเสริมการดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุของสถาบันไทยพัฒน์ โดยการสนับสนุนของกรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ดูรายละเอียดเพิ่มติมได้ที่ http://agefriendly.biz
จากบทความ 'CSR Talk' ในหนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ [Archived]
Subscribe to:
Posts (Atom)