ภายใต้สถานการณ์ความผันผวนของค่าเงินดอลลาร์และเงินบาท การไม่มีเงินบาทเป็นอุปสรรคในการผลิตและความเป็นอยู่ของคนในท้องถิ่น และส่งผลกระทบต่อชุมชนท้องถิ่นผ่านราคาสินค้าที่ชุมชนต้องซื้อหาจากภายนอก ทั้งๆ ที่ในแต่ละชุมชนยังคงมีปัจจัยในการดำรงชีพและการผลิต เช่น วัตถุดิบตามธรรมชาติและแรงงาน สมาชิกในชุมชนแต่ละคนได้รับข้อมูลความต้องการสินค้าจากสัญญาณราคาตลาดเหมือนกัน ทำให้เกิดแรงจูงใจในการผลิตสินค้าเหมือนๆ กัน และมักเป็นการผลิตเชิงเดี่ยวที่มีความเสี่ยง ในปัจจุบัน แม้มีเงินทุนไหลเข้าสู่ชุมชนมากขึ้น แต่สมาชิกในชุมชนก็มีรายจ่ายสูง เกิดเป็นปัญหาภาระหนี้สินเพิ่มพูน
การสร้างระบบแลกเปลี่ยนย่อยๆ ขึ้นมาในท้องถิ่นจะทำให้เกิดกิจกรรมการแลกเปลี่ยนในท้องถิ่น เป็นการให้ข้อมูลความต้องการสินค้าในท้องถิ่น กระตุ้นการผลิตเพื่อการพึ่งตนเองในชุมชนและช่วยสมาชิกออมเงินบาท ภายใต้ระบบแลกเปลี่ยนชุมชน สมาชิกสามารถกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนได้ตามความสมัครใจของผู้ซื้อผู้ขาย การได้พบปะเพื่อแลกเปลี่ยนสินค้ากันในชุมชนช่วยรื้อฟื้นความสัมพันธ์ในชุมชนทำให้เกิดความอาทรเกื้อกูลกัน เป็นพลังสู่ความร่วมมือในการทำกิจกรรมอื่นๆ ของชุมชน... (อ่านรายละเอียดในคอลัมน์ พอเพียงภิวัตน์) [Archived]
Tuesday, December 26, 2006
Tuesday, December 19, 2006
ปฏิรูปการศึกษาตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
หลายต่อหลายครั้งที่มักได้ยินข้อวิจารณ์ต่อการพัฒนาและปฏิรูประบบการศึกษาไทยว่าประสบกับความล้มเหลว มีการพัฒนาอย่างไม่ถูกจุด หรือขาดความจริงใจในการปฏิรูป จะด้วยเหตุใดก็ตาม คงต้องยอมรับว่า ระบบการศึกษาที่เป็นรากฐานในการพัฒนาคน อันเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าที่สุดของประเทศ กำลังอยู่ในภาวะที่เรียกว่า “เดินไปข้างหน้าแบบเสื่อมถอย” หรือ “เติบโตแต่ไม่เจริญก้าวหน้า” มาตรวัดที่แสดงให้เห็นอย่างชัดเจน ก็คือ คุณภาพของสังคม และคุณธรรมของคนในสังคมที่ลดลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง
หากจะนำเรื่องเศรษฐกิจมาเป็นโจทย์ตั้งต้นในการพัฒนาการศึกษา ก็ยังถือว่ายอมรับได้ เพราะเศรษฐกิจ ก็คือเรื่องของปากท้องและความเป็นอยู่ ที่ถือเป็นขั้นพื้นฐานในการดำรงชีวิต โดยเฉพาะในช่วงเวลานี้ เศรษฐกิจพอเพียงได้กลายมาเป็นกระแสแห่งการพัฒนาในแทบทุกเรื่อง (ด้วยหวังว่า “กระแส” จะพัฒนามาเป็น “วิถี” ในวันข้างหน้า)... (อ่านรายละเอียดในคอลัมน์ พอเพียงภิวัตน์) [Archived]
หากจะนำเรื่องเศรษฐกิจมาเป็นโจทย์ตั้งต้นในการพัฒนาการศึกษา ก็ยังถือว่ายอมรับได้ เพราะเศรษฐกิจ ก็คือเรื่องของปากท้องและความเป็นอยู่ ที่ถือเป็นขั้นพื้นฐานในการดำรงชีวิต โดยเฉพาะในช่วงเวลานี้ เศรษฐกิจพอเพียงได้กลายมาเป็นกระแสแห่งการพัฒนาในแทบทุกเรื่อง (ด้วยหวังว่า “กระแส” จะพัฒนามาเป็น “วิถี” ในวันข้างหน้า)... (อ่านรายละเอียดในคอลัมน์ พอเพียงภิวัตน์) [Archived]
Monday, December 18, 2006
"The World is Flat" - โลการะนาบ (ตอน 2)
ตอนนี้ได้พูดถึง พลังที่ทำให้เกิดโลการะนาบต่อจากครั้งที่แล้ว โดยเน้นที่พลัง Insourcing ดังตัวอย่างของบริษัทขนส่งพัสดุภัณฑ์อย่าง UPS (United Parcel Service) ที่เสนอบริการไม่เฉพาะเพียงเรื่องพัสดุภัณฑ์ แต่ยังรวมถึงการเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการทางธุรกิจของลูกค้าทั้งในฝั่ง Upstream (เช่น จัดหาวัตถุดิบให้) และ Downstream (เช่น หาตลาดใหม่ให้) ทั้งนี้ UPS ได้มองเห็นโอกาสที่ตนเองมีเครือข่ายอยู่ทั่วโลกและรู้ว่าลูกค้าแต่ละคนทำธุรกิจอะไรบ้าง จึงสามารถแปลง "สารสนเทศ" ที่มีอยู่ให้กลายเป็น "บริการ" ใหม่ๆ ได้ วิธีคิดแบบนี้ เปรียบเหมือนกับการพัฒนาจากยุค HTML (รู้ Data แต่ไม่รู้วิธีใช้) มาเป็น XML (รู้ Context ของ Data แล้วนำไปใช้ประโยชน์ได้)
ภาคพิเศษที่ไม่มีในหนังสือ ก็คือ การวิเคราะห์แนวโน้มของพลังโลการะนาบที่จะเกิดขึ้นกับเมืองไทยในปี 2007 ที่สร้างให้เกิดทั้งโอกาสและภัยคุกคามต่อหลายธุรกิจ รวมทั้งกระแสของธุรกิจและบริการใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นจากพลังโลการะนาบในตลาดเมืองไทย
สำหรับหนังสือโลการะนาบในภาค Updated and Expanded Edition นี้ Friedman ได้เพิ่มเนื้อหาที่เกี่ยวกับ สาเหตุที่เราจะได้เห็นผลกระทบของพลังโลการะนาบอย่างถนัดตาในช่วงอายุขัยนี้ เช่นเดียวกับการปฏิวัติทางอุตสาหกรรม, การกำเนิดของพ่อค้าคนกลางในรูปแบบใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน ที่ล้มล้างความเชื่อเดิมว่าพลังแห่งโลการะนาบจะทำให้พ่อค้าคนกลางหายไป, หนทางในการปรับตัวของพ่อแม่และครูในการบ่มเพาะคนรุ่นใหม่ให้สามารถใช้ชีวิตในโลกระนาบนี้ รวมทั้ง "โลกาภิวัตน์แห่งท้องถิ่น" (globalization of the local) ที่พลังแห่งโลการะนาบจะขับเน้นอัตลักษณ์ของท้องถิ่นและภูมิภาคให้โดดเด่นยิ่งขึ้นกว่าเดิม แทนความเชื่อที่ผิดๆ ว่าจะทำให้วัฒนธรรมต่างๆ หลอมรวมเป็นหนึ่งเดียว
ภาคพิเศษที่ไม่มีในหนังสือ ก็คือ การวิเคราะห์แนวโน้มของพลังโลการะนาบที่จะเกิดขึ้นกับเมืองไทยในปี 2007 ที่สร้างให้เกิดทั้งโอกาสและภัยคุกคามต่อหลายธุรกิจ รวมทั้งกระแสของธุรกิจและบริการใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นจากพลังโลการะนาบในตลาดเมืองไทย
สำหรับหนังสือโลการะนาบในภาค Updated and Expanded Edition นี้ Friedman ได้เพิ่มเนื้อหาที่เกี่ยวกับ สาเหตุที่เราจะได้เห็นผลกระทบของพลังโลการะนาบอย่างถนัดตาในช่วงอายุขัยนี้ เช่นเดียวกับการปฏิวัติทางอุตสาหกรรม, การกำเนิดของพ่อค้าคนกลางในรูปแบบใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน ที่ล้มล้างความเชื่อเดิมว่าพลังแห่งโลการะนาบจะทำให้พ่อค้าคนกลางหายไป, หนทางในการปรับตัวของพ่อแม่และครูในการบ่มเพาะคนรุ่นใหม่ให้สามารถใช้ชีวิตในโลกระนาบนี้ รวมทั้ง "โลกาภิวัตน์แห่งท้องถิ่น" (globalization of the local) ที่พลังแห่งโลการะนาบจะขับเน้นอัตลักษณ์ของท้องถิ่นและภูมิภาคให้โดดเด่นยิ่งขึ้นกว่าเดิม แทนความเชื่อที่ผิดๆ ว่าจะทำให้วัฒนธรรมต่างๆ หลอมรวมเป็นหนึ่งเดียว
Tuesday, December 12, 2006
Beyond Schumacher
เข้าร่วมการประชุมทางวิชาการระดับนานาชาติ เรื่อง "Beyond Schumacher: Alternatives Approaches to Economics and Sustainability Perspectives for the 21st Century" ซึ่งจัดโดยมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ร่วมกับ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และ Global Standards ณ โรงแรมลายทอง จังหวัดอุบลราชธานี งานเขียนของ Schumacher ที่ได้รับการกล่าวขานอย่างมากชิ้นหนึ่ง คือ "Small is Beautiful" ที่เขียนไว้เมื่อปี 1973 ในการประชุมได้มีการนำเสนอวิวัฒนาการของเศรษฐศาสตร์หลังจากงานเขียนชิ้นนี้ อาทิ Gandhian Economics, Ecological Economics, Steady-State Economics, พุทธเศรษฐศาสตร์, เศรษฐกิจพอเพียง ฯลฯ โดยมีเนื้อหาที่น่าสนใจหลายเรื่อง
- เอกสารประกอบการประชุม สามารถดาวน์โหลดได้แล้ว โดยเลือกที่เมนู Paper
- เอกสารประกอบการประชุม สามารถดาวน์โหลดได้แล้ว โดยเลือกที่เมนู Paper
ฟื้นฟูพื้นที่ประสบอุทกภัยด้วย “ทฤษฎีใหม่”
ในช่วงที่ประเทศไทยประสบปัญหาอุทกภัยที่กินบริเวณกว้างถึง 47 จังหวัด ทำให้พื้นที่เกษตรเสียหายประมาณ 5.38 ล้านไร่ รัฐบาลเองก็กำลังเร่งออกมาตรการให้ความช่วยเหลือและจัดเตรียมแผนฟื้นฟูพื้นที่ที่เสียหายหลังน้ำลด โดยได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับติดตามการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (คชอ.) พร้อมทั้งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการถึง 13 คณะ เพื่อทำหน้าที่อำนวยการกำกับติดตามการป้องกันและช่วยเหลือในทุกด้าน และคาดว่าต้องใช้งบประมาณอย่างไม่เป็นทางการในการนี้ถึง 28,000 ล้านบาท
พระราชดำรัสเนื่องในวโกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ในปี 2538 หรือเมื่อ 11 ปีมาแล้วในเรื่อง “ทฤษฎีใหม่” น่าจะเป็นหนทางในการฟื้นฟูพื้นที่ทางการเกษตรที่เสียหายจากปัญหาอุทกภัยในเวลานี้ได้เป็นอย่างดี
ตัวอย่างของการประยุกต์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ชัดเจน คือ เกษตรทฤษฎีใหม่ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงคิดค้นขึ้นด้วยพระองค์เอง... (อ่านรายละเอียดในคอลัมน์ พอเพียงภิวัตน์) [Archived]
พระราชดำรัสเนื่องในวโกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ในปี 2538 หรือเมื่อ 11 ปีมาแล้วในเรื่อง “ทฤษฎีใหม่” น่าจะเป็นหนทางในการฟื้นฟูพื้นที่ทางการเกษตรที่เสียหายจากปัญหาอุทกภัยในเวลานี้ได้เป็นอย่างดี
“ทฤษฎีใหม่นี้ มีไว้สำหรับป้องกันความขาดแคลน ในยามปกติ ก็จะทำให้มีรายได้มากขึ้น ในยามที่มีอุทกภัย ก็สามารถที่จะฟื้นตัวได้เร็ว โดยไม่ต้องให้ทางราชการไปช่วยมากเกินไป ทำให้ประชาชนมีโอกาสพึ่งตนเองได้อย่างดี ฉะนั้น จึงได้สนับสนุนให้มีการปฏิบัติตามทฤษฎีใหม่”
ตัวอย่างของการประยุกต์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ชัดเจน คือ เกษตรทฤษฎีใหม่ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงคิดค้นขึ้นด้วยพระองค์เอง... (อ่านรายละเอียดในคอลัมน์ พอเพียงภิวัตน์) [Archived]
Saturday, December 09, 2006
สู่หนึ่งทศวรรษหลังวิกฤตเศรษฐกิจ : ได้เรียนรู้และปรับปรุงอะไรบ้าง
เป็นวิทยากรร่วมอภิปรายในหัวข้อ "ฐานข้อมูลชุมชนที่ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิต" (Slide Presentation, เอกสารประกอบการสัมมนา) ภายใต้กลุ่มการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและท้องถิ่น ในการสัมมนาวิชาการประจำปี 2549 "สู่หนึ่งทศวรรษหลังวิกฤตเศรษฐกิจ : ได้เรียนรู้และปรับปรุงอะไรบ้าง?" (Toward a Decade after the Economic Crisis: Lessons and Reforms) จัดโดยสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ณ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ ซิตี้ จอมเทียน จังหวัดชลบุรี ในวันเสาร์ที่ 9 ธันวาคม 2549
Tuesday, December 05, 2006
หลักการทรงงาน 9 ประการ
ตลอดระยะเวลา 6 ทศวรรษ นับตั้งแต่ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงริเริ่มการทรงงานเพื่อประโยชน์สุขแก่ประชาชนเป็นต้นมา เป้าหมายสำคัญพื้นฐานที่ไม่เคยแปรเปลี่ยนคือ การขจัดความทุกข์ยากและอำนวยความสุขแก่ประชาชนส่วนใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชนที่อาศัยอยู่ในชนบทห่างไกลทุรกันดาร ให้สามารถช่วยเหลือตนเอง ยืนอยู่บนขาของตนเองได้ มีชีวิตที่พอเพียงเรียบง่าย มีความมั่นคงพอควรในชีวิต เพื่อเป็นพื้นฐานในการพัฒนาตนเอง ชุมชน และประเทศชาติ
การดำเนินโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่มีอยู่กว่า 3,000 โครงการ ได้สะท้อนให้เห็นถึงหลักการทรงงาน 9 ประการที่เป็นแบบอย่างและเป็นรากฐานสำคัญของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่พสกนิกรควรจะได้น้อมมาเป็นหลักการในการปฏิบัติตน เป็นกรอบความคิดสำหรับใช้ในการบริหารจัดการองค์การ และเป็นหลักในการพัฒนาประเทศ เพื่อความอยู่ดีมีสุขโดยถ้วนหน้า ได้แก่... (อ่านรายละเอียดในคอลัมน์ พอเพียงภิวัตน์) [Archived]
การดำเนินโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่มีอยู่กว่า 3,000 โครงการ ได้สะท้อนให้เห็นถึงหลักการทรงงาน 9 ประการที่เป็นแบบอย่างและเป็นรากฐานสำคัญของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่พสกนิกรควรจะได้น้อมมาเป็นหลักการในการปฏิบัติตน เป็นกรอบความคิดสำหรับใช้ในการบริหารจัดการองค์การ และเป็นหลักในการพัฒนาประเทศ เพื่อความอยู่ดีมีสุขโดยถ้วนหน้า ได้แก่... (อ่านรายละเอียดในคอลัมน์ พอเพียงภิวัตน์) [Archived]
Monday, December 04, 2006
ซีเอสอาร์ : คือ "การลงทุน" หรือ "การทำบุญ"
การดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility – CSR) นับเป็นการลงทุน หรือเป็นการทำบุญ เป็นอีกคำถามหนึ่งที่วนเวียนอยู่ในใจของผู้ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องซีเอสอาร์อยู่ไม่น้อย บ้างก็เห็นว่าซีเอสอาร์เป็นเรื่องของการลงทุน บ้างก็เห็นต่างว่าซีเอสอาร์นั้นเป็นเรื่องของการทำบุญ ในบทความนี้ จะได้พยายามชี้ให้เห็นข้อแตกต่างระหว่างซีเอสอาร์ที่เป็นการลงทุนกับซีเอสอาร์ที่เป็นการทำบุญ... (อ่านรายละเอียดในคอลัมน์ CSR Knowledge) [Archived]
Subscribe to:
Posts (Atom)