เมื่อวันอังคาร (28 เม.ย.) ที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างยุทธศาสตร์การส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมของภาคธุรกิจ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2558 – 2560) ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ ในฐานะหน่วยงานปฏิบัติในการดำเนินมาตรการส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมของภาคธุรกิจ (CSR) ภายใต้แผนงานการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ของหน่วยราชการที่ดูแลด้านสังคมและวัฒนธรรม (ตามมติ ครม. 12 ต.ค. 53)
ยุทธศาสตร์การส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมของภาคธุรกิจฉบับนี้ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยเป็นผู้ดำเนินการศึกษาตามกรอบนโยบายการส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคม ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ ใน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการส่งเสริมธรรมาภิบาลภาคธุรกิจและการพัฒนาที่ยั่งยืน ด้านการมีส่วนร่วมของภาคธุรกิจในการพัฒนาสังคมให้มีความสมดุล เข้มแข็ง และพึ่งพาตนเองได้ ด้านการสนับสนุนธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และด้านการส่งเสริมบทบาทความรับผิดชอบต่อสังคมของภาคธุรกิจในเวทีภูมิภาค
ในการศึกษาเพื่อจัดทำยุทธศาสตร์ตามกรอบนโยบาย 4 ด้านนี้ คณะทำงานได้รวบรวมข้อมูลจากภาคสนามทั้งกลุ่มย่อยและในภาพรวมของประเทศ จัดระดมความคิดเห็นต่อประเด็นยุทธศาสตร์ ผ่านเวทีการประชุมสนทนากลุ่ม (Focus group) ที่ประกอบด้วยผู้แทนจากเครือข่ายภาคธุรกิจ ภาคเอกชน ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง และสื่อมวลชน พร้อมทั้งสำรวจความคิดเห็นจากคณะกรรมการหอการค้าจังหวัด และสมาชิกหอการค้าจังหวัดทั่วประเทศ
สาระสำคัญของร่างยุทธศาสตร์การส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมของภาคธุรกิจ ฉบับนี้ มีการกำหนดวิสัยทัศน์ที่มุ่งส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมของภาคธุรกิจเพื่อการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน โดยการรวมพลังของทุกภาคส่วน มียุทธศาสตร์ 5 ด้าน ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์การสร้างวัฒนธรรมความรับผิดชอบต่อสังคมของภาคธุรกิจ ยุทธศาสตร์การสร้างเอกภาพในการบริหารยุทธศาสตร์การส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมของภาคธุรกิจ ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนของภาคธุรกิจ ยุทธศาสตร์การรวมพลังเพื่อพัฒนาสังคม สิ่งแวดล้อมและสร้างความมั่นคงของมนุษย์ และยุทธศาสตร์การส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมของภาคธุรกิจระหว่างประเทศ
หนึ่งในชุดกลยุทธ์ที่จะส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนของภาคธุรกิจ ได้แก่ การส่งเสริมให้ภาคธุรกิจในทุกสาขาและทุกขนาด เกิดกระบวนการพัฒนาและยกระดับความรับผิดชอบต่อสังคมทั้งในกระบวนการ (CSR-in-process) และนอกกระบวนการของการดำเนินงาน (CSR-after-process) รวมทั้งสนับสนุนให้บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ มีการจัดทำรายงานความยั่งยืน (ภาคบังคับ) และส่งเสริมให้บริษัทขนาดกลางและขนาดเล็กมีการประเมินตนเอง (ภาคสมัครใจ) โดยใช้คู่มือตรวจสุขภาพธุรกิจด้านความรับผิดชอบต่อสังคม (Check list)
ความริเริ่มสำคัญในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติตามที่ระบุไว้ในแผนงาน คือ การก่อตั้ง “ศูนย์ส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมของภาคธุรกิจ” ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นกลไกในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมของภาคธุรกิจ โดยความรับผิดชอบของผู้ที่เกี่ยวข้องในแต่ละภาคส่วน ทั้งภาคการเมือง ภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชน
ทั้งนี้ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยความร่วมมือจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง จะเป็นผู้พิจารณารูปแบบการจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมของภาคธุรกิจก่อนดำเนินการจัดตั้งต่อไป
สำหรับแนวทางการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติในส่วนของภาคเอกชน ได้แก่ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สภาธุรกิจตลาดทุนไทย ฯลฯ จะมีบทบาทในการส่งเสริมองค์ความรู้ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมให้แก่สมาชิกทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค รวมทั้งการพัฒนา SMEs ที่เป็นห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ให้มีความรับผิดชอบต่อสังคมในกระบวนการดำเนินงาน (CSR-in-process) เพื่อนำไปสู่การเป็นห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain)
ตลอดจนส่งเสริมให้มีการปฏิบัติด้านความรับผิดชอบต่อสังคมที่ตอบสนองต่อประเด็นปัญหาของชาติ ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมในทุกระดับ ทุกมิติ และให้ความสำคัญกับการป้องกันแก้ไขผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นจากกระบวนการดำเนินงานของกิจการ เพื่อให้นำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และความเติบโตของกิจการอย่างยั่งยืน ควบคู่กับความเจริญเติบโตของสังคมและสิ่งแวดล้อมโดยรวม
ขณะที่ไทยได้คลอดยุทธศาสตร์ CSR ชาติ ฉบับที่ 1 เป็นที่เรียบร้อย สหภาพยุโรปกำลังทบทวนผลการดำเนินยุทธศาสตร์ CSR ของ EU ฉบับที่ 3 (ค.ศ.2011-2014) ซึ่งเพิ่งสิ้นสุดลง และอยู่ในระหว่างการพิจารณาจัดทำฉบับที่ 4 (ค.ศ.2015-2020) กันแล้ว
สำหรับท่านที่สนใจศึกษาผลการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะต่อการดำเนินยุทธศาสตร์ CSR ของ EU ในฉบับที่3 ซึ่งเพิ่งผ่านพ้นมา สามารถดูได้ที่ http://ec.europa.eu/DocsRoom/documents/8021...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
Thursday, April 30, 2015
Thursday, April 23, 2015
ต้านทุจริตด้วยการประเมินความเสี่ยง
คำมั่นหรือคำประกาศเจตนารมณ์ของบริษัทที่จะดำเนินการต่อต้านการทุจริตในสังคม อาจไม่เพียงพอหรือไม่มีน้ำหนักเท่ากับการจัดทำเป็นนโยบายที่ชัดเจนในการดำเนินธุรกิจที่จะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริตในทุกรูปแบบโดยไม่เว้นช่องให้เกิดการตีความ ซึ่งจะช่วยให้พนักงานและคู่ค้าทางธุรกิจได้รับทราบถึงบรรทัดฐาน ข้อห้าม และระเบียบวิธีปฏิบัติที่ตรงกันของผู้ที่เกี่ยวข้อง
ระดับของนโยบายที่บริษัทกำหนดเพื่อดำเนินการ จะมีความสัมพันธ์กับการประเมินความเสี่ยงของแต่ละส่วนงานหรือหน่วยธุรกิจในบริษัทและบริษัทย่อยที่มีความเสี่ยงว่าอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริต
การกำหนดระดับของนโยบายบริษัท ควรประกอบด้วยถ้อยความที่ไม่ยินยอมให้เกิดพฤติกรรมการทุจริตขึ้นในองค์กร และยืนยันว่าองค์กรได้มีการประเมินความเสี่ยงและได้กำหนดแนวปฏิบัติแก่เจ้าหน้าที่ในทุกระดับ ทั้งกรรมการ ผู้บริหาร ผู้จัดการ พนักงาน ให้เป็นไปตามกฎหมาย หลักจริยธรรม และมีผลผูกพันกับการปฏิบัติหน้าที่ ความสัมพันธ์ระหว่างลูกค้าและหุ้นส่วนทางการค้า โดยจัดทำเป็นนโยบายที่เป็นทางการ รับรองโดยมติคณะกรรมการบริษัท และเปิดเผยต่อสาธารณะ
ตัวอย่างระดับของนโยบายที่บริษัทกำหนดเพื่อดำเนินการ อาจเริ่มจากระดับที่บริษัทไม่จ่ายให้เจ้าหน้าที่รัฐเพื่อสร้างความได้เปรียบทางธุรกิจหรือได้มาซึ่งธุรกิจโดยมิชอบ ถัดมาเป็นระดับที่บริษัทไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริต จนถึงระดับที่บริษัทไม่เกี่ยวข้องและต่อต้านผู้เกี่ยวข้องกับการทุจริต เป็นต้น
ในอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต (UNCAC) รวมทั้งในแนวปฏิบัติสากลอื่นๆ ได้ให้รายละเอียดรูปแบบของการทุจริตที่สามารถเกิดขึ้นในช่องทางต่างๆ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการใช้เป็นแนวทางในการกำหนดระดับของนโยบาย อาทิ การมีผลประโยชน์ทับซ้อน การฟอกเงิน การยักยอก ค่าของขวัญ ค่ารับรองและค่าเดินทาง การบริจาคเงิน การอุปถัมภ์ การใช้จ่ายเพื่ออำนวยความสะดวก การสนับสนุนทางการเมือง การใช้จ่ายลงทุนทางสังคมและชุมชน การติดต่อกับเจ้าหน้าที่รัฐและการวิ่งเต้น การค้าผ่านหุ้นส่วนธุรกิจ ตัวแทนและคนกลางอื่นๆ กิจการร่วมค้า การใช้สินทรัพย์ของกิจการ การควบรวมกิจการและส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย
สำหรับการระบุความเสี่ยงของส่วนงานหรือแหล่งดำเนินงานของบริษัทว่าอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริตหรือไม่นั้น บริษัทต้องเข้าใจถึงช่องทางที่ตัวธุรกิจและวิธีดำเนินการของธุรกิจในจุดที่อาจเกิดการทุจริตขึ้น ผลจากการประเมินความเสี่ยง จะช่วยให้บริษัทสามารถกำหนดระดับของนโยบายที่ใช้ดำเนินการต่อต้านการทุจริตที่เหมาะสมกับองค์กร
การประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดทุจริตเป็นเรื่องที่สามารถทำได้ทั้งในแบบที่ง่ายไม่ลงรายละเอียด หรือในแบบที่ซับซ้อนลงในรายละเอียด บริษัทสามารถเริ่มประเมินด้วยรูปแบบที่ง่ายไม่ซับซ้อน แล้วจึงค่อยเพิ่มรายละเอียดและระดับการวิเคราะห์ตามลำดับขั้น โดยพิจารณาความเสี่ยงต่อการเกิดทุจริตจากลักษณะกิจกรรมทางธุรกิจ แหล่งดำเนินงาน สภาพอุตสาหกรรม เงื่อนไขทางธุรกิจและธรรมเนียมปฏิบัติในท้องถิ่น จากนั้นดำเนินการระบุโอกาสหรือความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้น ขนาดของผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับองค์กร และที่สำคัญที่สุด คือ แนวทางในการลดความเสี่ยงและมาตรการในการป้องกันหรือต่อต้านการทุจริตที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งข้อมูลชุดหลังนี้ ก็คือข้อมูลสำหรับใช้จัดทำนโยบายเพื่อระบุการดำเนินงานของบริษัทหรือบริษัทย่อยที่มีความเสี่ยงว่าอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริตนั่นเอง
การประเมินความเสี่ยงในแบบที่ซับซ้อนลงในรายละเอียด จะให้ข้อมูลแก่บุคลากรถึงวิธีปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านการทุจริตต่อรูปแบบของการทุจริตที่อาจเกิดขึ้นอย่างเฉพาะเจาะจง นโยบายที่ให้รายละเอียดสามารถใช้ในการกำหนดเป็นข้อปฏิบัติ (เช่น การรับหรือให้ของขวัญ ค่ารับรอง การมีผลประโยชน์ทับซ้อน) ตลอดจนการสื่อสารและฝึกอบรมแก่บุคลากร รวมถึงการใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงเพื่อปกป้องชื่อเสียงองค์กรและใช้เป็นองค์ประกอบเพื่อพิจารณาลดโทษในกรณีที่ถูกฟ้องหรือต้องคำพิพากษา
บริษัทอาจอ้างอิงถึงข้อแนะนำสำหรับการประเมินความเสี่ยงในการต่อต้านการทุจริตของหน่วยงานระหว่างประเทศ เช่น UN Global Compact Guide for Anti-Corruption Risk Assessment เพื่อให้ได้รับความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น
โปรดระลึกว่า การประเมินความเสี่ยงเป็นสิ่งจำเป็นพื้นฐานสำหรับการจัดทำแผนงานต่อต้านการทุจริตขององค์กร หรือใช้หลักให้จดจำง่ายว่า “เสี่ยง” ที่ใด “ต้าน” ที่นั่น...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
ระดับของนโยบายที่บริษัทกำหนดเพื่อดำเนินการ จะมีความสัมพันธ์กับการประเมินความเสี่ยงของแต่ละส่วนงานหรือหน่วยธุรกิจในบริษัทและบริษัทย่อยที่มีความเสี่ยงว่าอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริต
การกำหนดระดับของนโยบายบริษัท ควรประกอบด้วยถ้อยความที่ไม่ยินยอมให้เกิดพฤติกรรมการทุจริตขึ้นในองค์กร และยืนยันว่าองค์กรได้มีการประเมินความเสี่ยงและได้กำหนดแนวปฏิบัติแก่เจ้าหน้าที่ในทุกระดับ ทั้งกรรมการ ผู้บริหาร ผู้จัดการ พนักงาน ให้เป็นไปตามกฎหมาย หลักจริยธรรม และมีผลผูกพันกับการปฏิบัติหน้าที่ ความสัมพันธ์ระหว่างลูกค้าและหุ้นส่วนทางการค้า โดยจัดทำเป็นนโยบายที่เป็นทางการ รับรองโดยมติคณะกรรมการบริษัท และเปิดเผยต่อสาธารณะ
ตัวอย่างระดับของนโยบายที่บริษัทกำหนดเพื่อดำเนินการ อาจเริ่มจากระดับที่บริษัทไม่จ่ายให้เจ้าหน้าที่รัฐเพื่อสร้างความได้เปรียบทางธุรกิจหรือได้มาซึ่งธุรกิจโดยมิชอบ ถัดมาเป็นระดับที่บริษัทไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริต จนถึงระดับที่บริษัทไม่เกี่ยวข้องและต่อต้านผู้เกี่ยวข้องกับการทุจริต เป็นต้น
ในอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต (UNCAC) รวมทั้งในแนวปฏิบัติสากลอื่นๆ ได้ให้รายละเอียดรูปแบบของการทุจริตที่สามารถเกิดขึ้นในช่องทางต่างๆ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการใช้เป็นแนวทางในการกำหนดระดับของนโยบาย อาทิ การมีผลประโยชน์ทับซ้อน การฟอกเงิน การยักยอก ค่าของขวัญ ค่ารับรองและค่าเดินทาง การบริจาคเงิน การอุปถัมภ์ การใช้จ่ายเพื่ออำนวยความสะดวก การสนับสนุนทางการเมือง การใช้จ่ายลงทุนทางสังคมและชุมชน การติดต่อกับเจ้าหน้าที่รัฐและการวิ่งเต้น การค้าผ่านหุ้นส่วนธุรกิจ ตัวแทนและคนกลางอื่นๆ กิจการร่วมค้า การใช้สินทรัพย์ของกิจการ การควบรวมกิจการและส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย
สำหรับการระบุความเสี่ยงของส่วนงานหรือแหล่งดำเนินงานของบริษัทว่าอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริตหรือไม่นั้น บริษัทต้องเข้าใจถึงช่องทางที่ตัวธุรกิจและวิธีดำเนินการของธุรกิจในจุดที่อาจเกิดการทุจริตขึ้น ผลจากการประเมินความเสี่ยง จะช่วยให้บริษัทสามารถกำหนดระดับของนโยบายที่ใช้ดำเนินการต่อต้านการทุจริตที่เหมาะสมกับองค์กร
การประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดทุจริตเป็นเรื่องที่สามารถทำได้ทั้งในแบบที่ง่ายไม่ลงรายละเอียด หรือในแบบที่ซับซ้อนลงในรายละเอียด บริษัทสามารถเริ่มประเมินด้วยรูปแบบที่ง่ายไม่ซับซ้อน แล้วจึงค่อยเพิ่มรายละเอียดและระดับการวิเคราะห์ตามลำดับขั้น โดยพิจารณาความเสี่ยงต่อการเกิดทุจริตจากลักษณะกิจกรรมทางธุรกิจ แหล่งดำเนินงาน สภาพอุตสาหกรรม เงื่อนไขทางธุรกิจและธรรมเนียมปฏิบัติในท้องถิ่น จากนั้นดำเนินการระบุโอกาสหรือความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้น ขนาดของผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับองค์กร และที่สำคัญที่สุด คือ แนวทางในการลดความเสี่ยงและมาตรการในการป้องกันหรือต่อต้านการทุจริตที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งข้อมูลชุดหลังนี้ ก็คือข้อมูลสำหรับใช้จัดทำนโยบายเพื่อระบุการดำเนินงานของบริษัทหรือบริษัทย่อยที่มีความเสี่ยงว่าอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริตนั่นเอง
การประเมินความเสี่ยงในแบบที่ซับซ้อนลงในรายละเอียด จะให้ข้อมูลแก่บุคลากรถึงวิธีปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านการทุจริตต่อรูปแบบของการทุจริตที่อาจเกิดขึ้นอย่างเฉพาะเจาะจง นโยบายที่ให้รายละเอียดสามารถใช้ในการกำหนดเป็นข้อปฏิบัติ (เช่น การรับหรือให้ของขวัญ ค่ารับรอง การมีผลประโยชน์ทับซ้อน) ตลอดจนการสื่อสารและฝึกอบรมแก่บุคลากร รวมถึงการใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงเพื่อปกป้องชื่อเสียงองค์กรและใช้เป็นองค์ประกอบเพื่อพิจารณาลดโทษในกรณีที่ถูกฟ้องหรือต้องคำพิพากษา
บริษัทอาจอ้างอิงถึงข้อแนะนำสำหรับการประเมินความเสี่ยงในการต่อต้านการทุจริตของหน่วยงานระหว่างประเทศ เช่น UN Global Compact Guide for Anti-Corruption Risk Assessment เพื่อให้ได้รับความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น
โปรดระลึกว่า การประเมินความเสี่ยงเป็นสิ่งจำเป็นพื้นฐานสำหรับการจัดทำแผนงานต่อต้านการทุจริตขององค์กร หรือใช้หลักให้จดจำง่ายว่า “เสี่ยง” ที่ใด “ต้าน” ที่นั่น...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
Thursday, April 09, 2015
ต้านทุจริตด้วยการเปิดเผยข้อมูล
ความท้าทายในการต่อต้านการทุจริตที่ภาคธุรกิจประสบและจำเป็นต้องใช้ความกล้าหาญในการตัดสินใจ คือ การที่บริษัทตกอยู่ในภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกต่อการถูกเรียกสินบนเพื่อแลกกับสัญญางาน หรือถูกเรียกค่าอำนวยความสะดวกเพื่อแลกกับความรวดเร็วในขั้นตอนการติดต่อและอนุมัติของทางราชการ ซึ่งหากไม่ตอบสนอง ก็จะต้องสูญเสียงานหรือได้รับความล่าช้าทำให้เกิดความเสียหายทางธุรกิจในมูลค่าที่สูงกว่า
ปัจจัยสำคัญต่อทางออกในเรื่องดังกล่าว คือ ความร่วมมือจากทุกฝ่ายและต้องดำเนินการไปพร้อมกัน องค์กรธุรกิจที่มีความพร้อมและต้องการขจัดการทุจริต ต้องแสวงหาความร่วมมือในลักษณะของแนวร่วมปฏิบัติและทำความข้อตกลงในการเปิดเผยข้อมูลเพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการดำเนินงานโดยสมัครใจ การเปิดเผยข้อมูลถือเป็นเงื่อนไขสำคัญในการต่อต้านการทุจริตที่องค์กรธุรกิจสามารถริเริ่มได้ด้วยตัวเองในขอบเขตอำนาจที่มีอยู่
บริษัทสามารถใช้แนวทางการเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านการทุจริตซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับสากล อาทิ กรอบการรายงานแห่งความยั่งยืนขององค์การแห่งความริเริ่มว่าด้วยการรายงานสากล (GRI) ในประเด็นการต่อต้านการทุจริต หรือข้อแนะนำการรายงานตามหลักการที่ 10 ว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต ที่จัดทำโดยความร่วมมือระหว่างข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ (UNGC) และองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (TI) เป็นต้น
ทั้งนี้ กรอบหรือแนวปฏิบัติของการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับกรณีที่มีการฝ่าฝืนกฎหมายในเรื่องเกี่ยวกับการทุจริตของแต่ละหน่วยงานที่กำกับดูแลหรือกำหนดมาตรฐาน อาจมีความแตกต่างกันทั้งในแง่ของระดับการเปิดเผยข้อมูลและในแง่ของปริมาณข้อมูลที่เปิดเผย
ในการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าว บริษัทควรระมัดระวังการรายงานในลักษณะซึ่งมีเจตนาที่จะหลีกเลี่ยงหรือละเว้นที่จะรายงานข้อมูลตามที่เป็นจริง ปกปิดข้อมูลในส่วนที่เป็นสาระสำคัญ หรือพยายามตกแต่งข้อมูล ปรับตัวเลข เรียบเรียงคำบรรยาย อันทำให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง
พึงระลึกว่า ไม่มีองค์กรใดที่ปลอดจากภัยคุกคามอันมีเหตุจากกรณีทุจริต และเมื่อเป็นกรณีเกิดขึ้นก็อาจส่งผลถึงขั้นเสียหายร้ายแรง หากองค์กรปราศจากการเตรียมพร้อมรับมือที่ดีพอ บริษัทอาจถูกกล่าวหาฟ้องร้องและถูกดำเนินคดี ทำให้ชื่อเสียงเสียหายภาพลักษณ์ถูกทำลายและยังมีผลกัดกร่อนนโยบายการต่อต้านทุจริตขององค์กร
องค์กรจึงควรให้ความสำคัญและกำหนดให้มีการเปิดเผยข้อเท็จจริงของกรณีทุจริตที่เกิดขึ้น ตามที่กิจการได้ให้คำมั่นและดำเนินนโยบายการต่อต้านการทุจริต หรือเป็นไปตามกรอบหรือแนวปฏิบัติที่กิจการใช้อ้างอิงในการเปิดเผยข้อมูลเพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการดำเนินงาน หรือเป็นไปตามความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียของกิจการ
สิ่งที่ธุรกิจจะได้รับจากการเปิดเผยข้อมูล ประกอบด้วย ความน่าเชื่อถือในการดำเนินงานที่เป็นไปอย่างโปร่งใสตรวจสอบได้ การยอมรับจากผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่างๆ ของกิจการที่เห็นความสำคัญของการเปิดเผยข้อมูล การสร้างระบบการดำเนินงานภายในที่สนับสนุนการต่อต้านทุจริตและลดโอกาสการเกิดทุจริตขึ้นในองค์กร การเสริมสร้างภาพลักษณ์และชื่อเสียงองค์กรต่อการไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริต ซึ่งนำไปสู่บทบาทการดำเนินธุรกิจที่ดึงดูดทั้งคู่ค้าและบุคลากรที่ดีให้เข้าร่วมทำงาน ลดต้นทุนแฝงของธุรกิจ ช่วยให้กิจการสามารถพัฒนาไปสู่องค์กรที่ยั่งยืนในที่สุด...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
ปัจจัยสำคัญต่อทางออกในเรื่องดังกล่าว คือ ความร่วมมือจากทุกฝ่ายและต้องดำเนินการไปพร้อมกัน องค์กรธุรกิจที่มีความพร้อมและต้องการขจัดการทุจริต ต้องแสวงหาความร่วมมือในลักษณะของแนวร่วมปฏิบัติและทำความข้อตกลงในการเปิดเผยข้อมูลเพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการดำเนินงานโดยสมัครใจ การเปิดเผยข้อมูลถือเป็นเงื่อนไขสำคัญในการต่อต้านการทุจริตที่องค์กรธุรกิจสามารถริเริ่มได้ด้วยตัวเองในขอบเขตอำนาจที่มีอยู่
บริษัทสามารถใช้แนวทางการเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านการทุจริตซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับสากล อาทิ กรอบการรายงานแห่งความยั่งยืนขององค์การแห่งความริเริ่มว่าด้วยการรายงานสากล (GRI) ในประเด็นการต่อต้านการทุจริต หรือข้อแนะนำการรายงานตามหลักการที่ 10 ว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต ที่จัดทำโดยความร่วมมือระหว่างข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ (UNGC) และองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (TI) เป็นต้น
ทั้งนี้ กรอบหรือแนวปฏิบัติของการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับกรณีที่มีการฝ่าฝืนกฎหมายในเรื่องเกี่ยวกับการทุจริตของแต่ละหน่วยงานที่กำกับดูแลหรือกำหนดมาตรฐาน อาจมีความแตกต่างกันทั้งในแง่ของระดับการเปิดเผยข้อมูลและในแง่ของปริมาณข้อมูลที่เปิดเผย
ในการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าว บริษัทควรระมัดระวังการรายงานในลักษณะซึ่งมีเจตนาที่จะหลีกเลี่ยงหรือละเว้นที่จะรายงานข้อมูลตามที่เป็นจริง ปกปิดข้อมูลในส่วนที่เป็นสาระสำคัญ หรือพยายามตกแต่งข้อมูล ปรับตัวเลข เรียบเรียงคำบรรยาย อันทำให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง
พึงระลึกว่า ไม่มีองค์กรใดที่ปลอดจากภัยคุกคามอันมีเหตุจากกรณีทุจริต และเมื่อเป็นกรณีเกิดขึ้นก็อาจส่งผลถึงขั้นเสียหายร้ายแรง หากองค์กรปราศจากการเตรียมพร้อมรับมือที่ดีพอ บริษัทอาจถูกกล่าวหาฟ้องร้องและถูกดำเนินคดี ทำให้ชื่อเสียงเสียหายภาพลักษณ์ถูกทำลายและยังมีผลกัดกร่อนนโยบายการต่อต้านทุจริตขององค์กร
องค์กรจึงควรให้ความสำคัญและกำหนดให้มีการเปิดเผยข้อเท็จจริงของกรณีทุจริตที่เกิดขึ้น ตามที่กิจการได้ให้คำมั่นและดำเนินนโยบายการต่อต้านการทุจริต หรือเป็นไปตามกรอบหรือแนวปฏิบัติที่กิจการใช้อ้างอิงในการเปิดเผยข้อมูลเพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการดำเนินงาน หรือเป็นไปตามความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียของกิจการ
สิ่งที่ธุรกิจจะได้รับจากการเปิดเผยข้อมูล ประกอบด้วย ความน่าเชื่อถือในการดำเนินงานที่เป็นไปอย่างโปร่งใสตรวจสอบได้ การยอมรับจากผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่างๆ ของกิจการที่เห็นความสำคัญของการเปิดเผยข้อมูล การสร้างระบบการดำเนินงานภายในที่สนับสนุนการต่อต้านทุจริตและลดโอกาสการเกิดทุจริตขึ้นในองค์กร การเสริมสร้างภาพลักษณ์และชื่อเสียงองค์กรต่อการไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริต ซึ่งนำไปสู่บทบาทการดำเนินธุรกิจที่ดึงดูดทั้งคู่ค้าและบุคลากรที่ดีให้เข้าร่วมทำงาน ลดต้นทุนแฝงของธุรกิจ ช่วยให้กิจการสามารถพัฒนาไปสู่องค์กรที่ยั่งยืนในที่สุด...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
Thursday, April 02, 2015
ESG กับการประกันภัยที่ยั่งยืน
ประเด็นสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environmental, Social and Governance: ESG) ได้เข้ามามีอิทธิพลกับปัจจัยเสี่ยงที่ธุรกิจประกันภัยประสบอยู่เดิม และก่อให้เกิดผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อความอยู่รอดในอุตสาหกรรม ทำให้อุตสาหกรรมประกันภัยต้องหันมาให้ความสำคัญกับการจัดการความเสี่ยงภัยในระยะยาว และในเชิงองค์รวม ที่ซึ่งประเด็น ESG ถูกนำมาพิจารณาประกอบ
ด้วยเหตุนี้ หน่วยงานความริเริ่มด้านการเงินภายใต้สำนักงานโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEPFI) ได้ประกาศ “หลักการประกันภัยที่ยั่งยืน” (The Principles for Sustainable Insurance: PSI) ในเวทีประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน เมื่อปี พ.ศ.2555 เพื่อใช้เป็นกรอบสากลสำหรับอุตสาหกรรมประกันภัยในการเผชิญกับโอกาสและความเสี่ยงด้าน ESG
การประกันภัยที่ยั่งยืน เป็นแนวทางเชิงกลยุทธ์ ที่ซึ่งกิจกรรมทั้งหมดในห่วงโซ่คุณค่าของการประกันภัย รวมทั้งการปฏิสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้เสีย ดำเนินไปอย่างรับผิดชอบและคำนึงถึงการมองไปข้างหน้า (Forward-looking) ด้วยการระบุ การประเมิน การจัดการ การเฝ้าสังเกตโอกาสและความเสี่ยงที่เกี่ยวโยงกับประเด็น ESG
การประกันภัยที่ยั่งยืน มุ่งไปที่การลดความเสี่ยง พัฒนาทางเลือกที่เป็นนวัตกรรม ปรับปรุงผลประกอบการทางธุรกิจ และช่วยให้เกิดความยั่งยืนทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
หลักการประกันภัยที่ยั่งยืน ประกอบด้วย 4 หลักการสำคัญ ได้แก่
หลักการที่ 1: การผนวกประเด็นทางสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจประกันภัย เข้าไว้ในกระบวนการตัดสินใจ
หลักการที่ 2: การทำงานร่วมกับลูกค้าและหุ้นส่วนทางธุรกิจ ในการยกระดับการรับรู้ที่มีต่อประเด็นทางสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล การจัดการความเสี่ยงภัย และการพัฒนาแนวทางการแก้ปัญหาร่วมกัน
หลักการที่ 3: การทำงานร่วมกับหน่วยงานของรัฐ หน่วยงานกำกับดูแล และผู้มีส่วนได้เสียหลักอื่นๆ ในการส่งเสริมการดำเนินงานในประเด็นทางสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล อย่างกว้างขวาง
หลักการที่ 4: การแสดงให้เห็นถึงความสำนึกรับผิดชอบและความโปร่งใสในการเปิดเผยความคืบหน้าของการนำหลักการประกันภัยที่ยั่งยืนไปปฏิบัติ แก่สาธารณะอย่างสม่ำเสมอ
ตัวอย่างข้อปฏิบัติในด้านกลยุทธ์องค์กร ได้แก่ การจัดทำกลยุทธ์องค์กรที่คณะกรรมการบริษัทและเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารมีส่วนเกี่ยวข้องในการระบุ ประเมิน จัดการ และติดตามประเด็น ESG ในกระบวนการดำเนินธุรกิจ การหารือกับเจ้าของกิจการในเรื่องความเกี่ยวเนื่องของประเด็น ESG กับกลยุทธ์องค์กร และการผนวกประเด็น ESG เข้ากับแผนการสรรหาบุคลากร การฝึกอบรม และการสานสัมพันธ์กับพนักงาน
ตัวอย่างข้อปฏิบัติในด้านการจัดการความเสี่ยงภัย และการรับประกันภัย ได้แก่ การจัดให้มีกระบวนการระบุและประเมินประเด็น ESG ที่อยู่ในยอดรวมของภัย และตระหนักถึงผลสืบเนื่องจาก ESG ที่แฝงอยู่ในธุรกรรมของบริษัท การผนวกประเด็น ESG เข้ากับกระบวนการตัดสินใจต่อเรื่องการจัดการความเสี่ยงภัย การรับประกันภัย และความเพียงพอของเงินกองทุน รวมทั้งในการวิจัย แบบจำลอง การวิเคราะห์ เครื่องมือ และตัววัด
ตัวอย่างข้อปฏิบัติในด้านการจัดการค่าสินไหมทดแทน ได้แก่ การตอบสนองต่อลูกค้าอย่างรวดเร็ว เป็นธรรม ฉับไว และโปร่งใสอยู่ตลอดเวลา พร้อมทั้งให้แน่ใจว่าลูกค้าได้รับการอธิบายและมีความเข้าใจในกระบวนการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนอย่างชัดเจน การผนวกประเด็น ESG เข้ากับงานบริการซ่อมแซม การเปลี่ยนทดแทน และบริการสินไหมทดแทนอื่นๆ
ปัจจุบัน มีองค์กรในภาคอุตสาหกรรมประกันภัยที่รับหลักการประกันภัยที่ยั่งยืนนี้ไปใช้แล้วจำนวน 80 แห่ง รวมผู้รับประกันภัยที่ถือสัดส่วนเบี้ยประกันภัยอยู่เป็นจำนวนร้อยละ 15 ของเบี้ยประกันภัยรวมทั่วโลก และมีขนาดสินทรัพย์ภายใต้การบริหาร (AUM) รวมกันราว 9 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ
หลักการประกันภัยที่ยั่งยืน ยังถูกใช้เป็นส่วนหนึ่งของเกณฑ์การประเมินภาคอุตสาหกรรมประกันภัยในดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ FTSE4Good และ BM&FBOVESPA
เชื่อแน่ว่า เราจะได้เห็นผู้ประกอบธุรกิจประกันภัยในประเทศไทย ขานรับหลักการประกันที่ยั่งยืนมาใช้เป็นแนวทางเชิงกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจประกันภัยเพื่อนำองค์กรให้เข้าสู่วิถีของกิจการที่ยั่งยืน (Sustainable Enterprise) ในไม่ช้านี้...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
ด้วยเหตุนี้ หน่วยงานความริเริ่มด้านการเงินภายใต้สำนักงานโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEPFI) ได้ประกาศ “หลักการประกันภัยที่ยั่งยืน” (The Principles for Sustainable Insurance: PSI) ในเวทีประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน เมื่อปี พ.ศ.2555 เพื่อใช้เป็นกรอบสากลสำหรับอุตสาหกรรมประกันภัยในการเผชิญกับโอกาสและความเสี่ยงด้าน ESG
การประกันภัยที่ยั่งยืน เป็นแนวทางเชิงกลยุทธ์ ที่ซึ่งกิจกรรมทั้งหมดในห่วงโซ่คุณค่าของการประกันภัย รวมทั้งการปฏิสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้เสีย ดำเนินไปอย่างรับผิดชอบและคำนึงถึงการมองไปข้างหน้า (Forward-looking) ด้วยการระบุ การประเมิน การจัดการ การเฝ้าสังเกตโอกาสและความเสี่ยงที่เกี่ยวโยงกับประเด็น ESG
การประกันภัยที่ยั่งยืน มุ่งไปที่การลดความเสี่ยง พัฒนาทางเลือกที่เป็นนวัตกรรม ปรับปรุงผลประกอบการทางธุรกิจ และช่วยให้เกิดความยั่งยืนทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
หลักการประกันภัยที่ยั่งยืน ประกอบด้วย 4 หลักการสำคัญ ได้แก่
หลักการที่ 1: การผนวกประเด็นทางสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจประกันภัย เข้าไว้ในกระบวนการตัดสินใจ
หลักการที่ 2: การทำงานร่วมกับลูกค้าและหุ้นส่วนทางธุรกิจ ในการยกระดับการรับรู้ที่มีต่อประเด็นทางสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล การจัดการความเสี่ยงภัย และการพัฒนาแนวทางการแก้ปัญหาร่วมกัน
หลักการที่ 3: การทำงานร่วมกับหน่วยงานของรัฐ หน่วยงานกำกับดูแล และผู้มีส่วนได้เสียหลักอื่นๆ ในการส่งเสริมการดำเนินงานในประเด็นทางสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล อย่างกว้างขวาง
หลักการที่ 4: การแสดงให้เห็นถึงความสำนึกรับผิดชอบและความโปร่งใสในการเปิดเผยความคืบหน้าของการนำหลักการประกันภัยที่ยั่งยืนไปปฏิบัติ แก่สาธารณะอย่างสม่ำเสมอ
ตัวอย่างข้อปฏิบัติในด้านกลยุทธ์องค์กร ได้แก่ การจัดทำกลยุทธ์องค์กรที่คณะกรรมการบริษัทและเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารมีส่วนเกี่ยวข้องในการระบุ ประเมิน จัดการ และติดตามประเด็น ESG ในกระบวนการดำเนินธุรกิจ การหารือกับเจ้าของกิจการในเรื่องความเกี่ยวเนื่องของประเด็น ESG กับกลยุทธ์องค์กร และการผนวกประเด็น ESG เข้ากับแผนการสรรหาบุคลากร การฝึกอบรม และการสานสัมพันธ์กับพนักงาน
ตัวอย่างข้อปฏิบัติในด้านการจัดการความเสี่ยงภัย และการรับประกันภัย ได้แก่ การจัดให้มีกระบวนการระบุและประเมินประเด็น ESG ที่อยู่ในยอดรวมของภัย และตระหนักถึงผลสืบเนื่องจาก ESG ที่แฝงอยู่ในธุรกรรมของบริษัท การผนวกประเด็น ESG เข้ากับกระบวนการตัดสินใจต่อเรื่องการจัดการความเสี่ยงภัย การรับประกันภัย และความเพียงพอของเงินกองทุน รวมทั้งในการวิจัย แบบจำลอง การวิเคราะห์ เครื่องมือ และตัววัด
ตัวอย่างข้อปฏิบัติในด้านการจัดการค่าสินไหมทดแทน ได้แก่ การตอบสนองต่อลูกค้าอย่างรวดเร็ว เป็นธรรม ฉับไว และโปร่งใสอยู่ตลอดเวลา พร้อมทั้งให้แน่ใจว่าลูกค้าได้รับการอธิบายและมีความเข้าใจในกระบวนการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนอย่างชัดเจน การผนวกประเด็น ESG เข้ากับงานบริการซ่อมแซม การเปลี่ยนทดแทน และบริการสินไหมทดแทนอื่นๆ
ปัจจุบัน มีองค์กรในภาคอุตสาหกรรมประกันภัยที่รับหลักการประกันภัยที่ยั่งยืนนี้ไปใช้แล้วจำนวน 80 แห่ง รวมผู้รับประกันภัยที่ถือสัดส่วนเบี้ยประกันภัยอยู่เป็นจำนวนร้อยละ 15 ของเบี้ยประกันภัยรวมทั่วโลก และมีขนาดสินทรัพย์ภายใต้การบริหาร (AUM) รวมกันราว 9 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ
หลักการประกันภัยที่ยั่งยืน ยังถูกใช้เป็นส่วนหนึ่งของเกณฑ์การประเมินภาคอุตสาหกรรมประกันภัยในดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ FTSE4Good และ BM&FBOVESPA
เชื่อแน่ว่า เราจะได้เห็นผู้ประกอบธุรกิจประกันภัยในประเทศไทย ขานรับหลักการประกันที่ยั่งยืนมาใช้เป็นแนวทางเชิงกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจประกันภัยเพื่อนำองค์กรให้เข้าสู่วิถีของกิจการที่ยั่งยืน (Sustainable Enterprise) ในไม่ช้านี้...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
Subscribe to:
Posts (Atom)