เมื่อภัยพิบัติทางธรรมชาติเกิดขึ้น นอกจากกลยุทธ์ทางธุรกิจซึ่งใช้ในภาวะปกติจะไม่สามารถดำเนินการต่อเนื่องได้ตามที่เคยเป็นแล้ว ภาคธุรกิจยังจำต้องนำหรือพัฒนากลยุทธ์การรับมือภัยพิบัติในภาวะฉุกเฉินขึ้นมาใช้เพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์ที่ไม่ปกติในห้วงเวลาที่เกิดภัยพิบัติดังกล่าวด้วย
กลยุทธ์การรับมือภัยพิบัติจะต้องถูกออกแบบให้สอดคล้องกับเหตุการณ์ในแต่ละระยะ ซึ่งโดยทั่วไปจะจำแนกออกเป็น 3 ช่วง ได้แก่ กลยุทธ์การรับมือภัยพิบัติที่เกิดขึ้นโดยทันทีหรือในช่วงสั้นๆ กลยุทธ์การรับมือภัยพิบัติในช่วงกลาง และกลยุทธ์การรับมือภัยพิบัติในระยะยาว
ในเอกสารของ International Business Leaders Forum (IBLF) ชื่อ “Disaster Management and Planning: an IBLF framework for Business Response” ได้ให้แนวทางในการรับมือภัยพิบัติทั้งสามระยะไว้ ภายใต้กลยุทธ์ที่เรียกว่า การช่วยเหลือ (Rescue) – การบรรเทาทุกข์ (Relief) – การฟื้นฟู (Recovery)
กลยุทธ์การช่วยเหลือ (Rescue) จะเกิดขึ้นโดยทันทีหลังการเกิดภัยพิบัติและทอดระยะเวลาไปได้หลายวัน ขึ้นอยู่กับขนาดของภัยพิบัติที่เกิดขึ้น จุดมุ่งเน้นอยู่ที่การช่วยเหลือคนเจ็บ ผู้ที่ติดค้าง หรือที่ถูกลอยแพ รวมทั้งการระบุตำแหน่งของผู้เสียชีวิต การปรับสภาพของจุดประสบเหตุให้มีความปลอดภัยต่อการเข้าช่วยเหลือ การเข้าสำรวจจุดหรือตำแหน่งของพนักงานที่ต้องการความช่วยเหลือ การเตรียมปัจจัยพื้นฐานที่ต้องการเร่งด่วน อาทิ น้ำดื่ม อาหาร เวชภัณฑ์ ที่พักพิง ฯลฯ รวมถึงการติดต่อกับครอบครัว การแจ้งข่าวแก่ญาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
กลยุทธ์การบรรเทาทุกข์ (Relief) ในระยะต่อมา จะมุ่งเน้นที่การประเมินความเสียหาย และการติดต่อประสานงานในพื้นที่เพื่อให้ได้รับสิ่งจำเป็นพื้นฐานสำหรับการยังชีพ ไปยังหน่วยบรรเทาสาธารณภัยของทางการและที่เป็นสากล อาทิ การผลิตน้ำบริสุทธิ์ การอนามัยอาหารให้ถูกสุขลักษณะ การจัดศูนย์ดูแลและพักพิง โดยการดำเนินงานในระยะนี้ ยังรวมถึงการจัดหาการติดต่อสื่อสาร โลจิสติกส์ การช่วยเหลือซ่อมแซมสาธารณูปโภคพื้นฐาน การเข้าถึงพื้นที่ห่างไกลที่ขาดความช่วยเหลือ การรวบรวมข่าวสารสำคัญด้านประชากร ความเสียหาย ความเสี่ยงต่อสุขภาพ ตลอดจนสถานการณ์โดยรวม
กลยุทธ์การฟื้นฟู (Recovery) ในระยะยาว จะมุ่งเน้นที่การซ่อมสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานที่ได้รับความเสียหาย การฟื้นสภาพความเป็นอยู่ให้กลับเข้าสู่ระดับที่เป็นปกติ รวมทั้งการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ สิ่งท้าทายสำคัญของกลยุทธ์การฟื้นฟูในการที่จะคงสภาพการดำรงอยู่ของครัวเรือน นักธุรกิจขนาดเล็ก และแรงงานในโรงงานให้ดำเนินต่อไปได้ คือ การเชื่อมโยงไปสู่ความสามารถในการพึ่งตนเองในระยะยาวและการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
การดำเนินกลยุทธ์ในช่วงสั้นและช่วงกลางจะมีส่วนสำคัญต่อการรับมือยามเมื่อประสบเหตุฉุกเฉินและเมื่อมีความต้องการด้านมนุษยธรรม ส่วนการดำเนินกลยุทธ์ในระยะยาวจะเป็นตัวกำหนดเส้นทางการพัฒนาใหม่ๆ ทางเศรษฐกิจ ที่บรรดาธุรกิจจะต้องดำเนินตามในเวลาต่อมา ซึ่งถือเป็นสะพานเชื่อมระหว่างภาวะฉุกเฉินและความต้องการด้านมนุษยธรรม กับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและสังคมในระยะยาว ให้กลับเข้าสู่วิถีเศรษฐกิจที่ประกอบด้วยเสถียรภาพ การเติบโต และการพัฒนาที่ยั่งยืน ทั้งนี้ การดำเนินกลยุทธ์ในระยะยาว ยังได้ให้ความสำคัญกับความจำเป็นด้านทักษะและโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญบนเส้นทางในช่วงการพัฒนาใหม่ๆ หรือการพัฒนาที่ยั่งยืน
บทบาทของภาคธุรกิจในแต่ละระยะจึงมีความสำคัญยิ่ง และไม่ได้ส่งผลเฉพาะกับการทำธุรกิจตามปกติเท่านั้น แต่การดำเนินบทบาทเหล่านี้ยังสามารถนำไปสู่การสนับสนุน (และชี้นำ) การทำงานขององค์กรในหลายขั้นตอน จากบทเรียนภัยพิบัติในอดีต ได้ชี้ให้เห็นความจำเป็นของการวางแผนรับมือภัยพิบัติในอนาคต การตระเตรียมบทบาททางธุรกิจเฉพาะสาขาต่อการฟื้นฟูภัยพิบัติ การกำหนดบทบาทของภาคธุรกิจที่สร้างผลกระทบในวงกว้าง รวมทั้งการสนับสนุนให้ธุรกิจดำเนินไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
Thursday, December 08, 2011
Thursday, November 24, 2011
10 คำถามสำหรับผู้นำองค์กรต่อการรับมือภัยพิบัติ
ปฏิเสธไม่ได้ว่า ทุกๆ ครั้งที่เกิดภัยพิบัติ สังคมได้ตั้งความคาดหวังต่อภาคธุรกิจในการเข้าให้ความช่วยเหลือตามบทบาทที่ถูกกำกับด้วยเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมและในฐานะขององค์กรพลเมืองที่ดี ขณะเดียวกันธุรกิจในสาขาต่างๆ รวมทั้งผู้นำองค์กรเหล่านั้นในวันนี้ ต่างก็มิได้ปฏิเสธบทบาทดังกล่าวเช่นกัน
แต่การดำเนินการที่เหมาะสม สอดคล้องต้องตามเหตุการณ์ และสนองตอบต่อความต้องการของพนักงานและสาธารณชนได้อย่างเห็นผล จำเป็นต้องมีวิสัยทัศน์ในการวางแนวทางที่จะดำเนินการ ล่วงรู้ถึงปัจจัยและตัวแปรต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเล็งเห็นถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นได้อย่างทะลุปรุโปร่ง
แม้ผู้บริหารองค์กรจะเผชิญกับอุปสงค์เช่นที่เคยประสบในภาวการณ์ปกติ แต่ในสถานการณ์หลังภัยพิบัติ ไม่ว่าผู้บริหารจะมีเจตนาที่ดีเพียงใดก็ตาม สภาพการณ์จะมีความซับซ้อนและทำให้ไม่สามารถดำเนินการได้ดีดังที่เคยเป็น เช่น การตัดสินใจที่ต้องทำทันทีโดยขาดข้อมูลที่ครบถ้วน การได้รับข้อมูลรายงานที่ต่างจากสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในพื้นที่ หรือมีสภาพความกดดันจากเหตุการณ์ที่ต้องดำเนินการอย่างปัจจุบันทันด่วน
ในเอกสารของ International Business Leaders Forum (IBLF) ชื่อ “Best Intentions: Complex Realities” ได้ประมวล 10 ข้อคำถามที่ผู้นำองค์กรจำต้องสำรวจและซักซ้อมกับคณะผู้บริหารเพื่อให้แน่ใจว่า องค์กรได้มีการตระเตรียมความพร้อมและมีความสามารถในการรับมือกับภัยพิบัติได้อย่างมีประสิทธิผล โดยคำถามทั้ง 10 ข้อ ประกอบด้วย
1. เราได้เตรียมพร้อมหรือยัง องค์กรจำต้องดำเนินการคะเนถึงความต้องการและแรงกดดัน รวมทั้งการประเมินผลกระทบที่มีต่อธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิผลและฉับไว
2. เรามีข้อมูลพอที่จะรับมือหรือไม่ องค์กรจำต้องได้ข้อมูลจากแหล่งที่เชื่อถือได้ ทั้งจากผู้จัดการ หัวหน้างาน และหุ้นส่วนธุรกิจที่คลุกคลีอยู่ในภาคสนาม เพื่อที่จะสามารถประเมินสถานการณ์ในภาวะฉุกเฉินให้มีความแม่นยำ
3. เหตุพิบัติที่เกิดขึ้นมีส่วนเกี่ยวเนื่องโดยตรงต่อธุรกิจอย่างไร หากองค์กรมีสินทรัพย์ พนักงาน และกิจกรรมทางธุรกิจในพื้นที่ ก็หลีกเลี่ยงไม่พ้นที่จะต้องมีส่วนเกี่ยวเนื่องกับเหตุพิบัติ และองค์กรย่อมต้องถูกคาดหวังจากพนักงาน สาธารณชน ตลอดจนสื่อมวลชน ให้ดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด
4. เราจะเข้าช่วยเหลือให้ดีที่สุดได้อย่างไร องค์กรสามารถเข้าดำเนินการโดยตรงในพื้นที่ผ่านทางหน่วยธุรกิจหรือจะใช้วิธีให้การสนับสนุนช่วยเหลือในระยะไกล ทั้งนี้ องค์กรจำเป็นต้องตัดสินใจใช้หรือผสมผสานรูปแบบการช่วยเหลือให้มีประสิทธิผลสูงสุด ระหว่างเงินช่วยเหลือ สิ่งของที่คำนวณเป็นมูลค่าเทียบเคียง โลจิสติกส์ หรือความเชี่ยวชาญในด้านต่างๆ
5. เรามีหุ้นส่วนที่มีประสิทธิผลหรือไม่ ผู้เป็นหุ้นส่วนที่องค์กรเลือกทำงานด้วย หรือที่ส่งการสนับสนุนไปให้ ควรมีความรู้ความจัดเจนพื้นที่และมีสมรรถภาพในการทำงานภาคสนามสมกับเป็นหุ้นส่วนที่มีประสิทธิผลในการบรรเทาทุกข์และการฟื้นฟู
6. ความช่วยเหลือของเราจะส่งทอดต่อในระยะยาวหรือไม่ ผู้เป็นหุ้นส่วนในการทำงานขององค์กรจำเป็นต้องมีประสบการณ์และความสามารถที่จะจัดการสนับสนุนและฟื้นฟูในระยะยาว หรือมีหุ้นส่วนในท้องถิ่นช่วยดำเนินการให้
7. เราสามารถรับประกันให้มีความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้หรือไม่ ผู้เป็นหุ้นส่วนร่วมดำเนินงาน ควรจัดทำบัญชีและรายงานรายการให้ความช่วยเหลืออุดหนุนที่ได้รับจากองค์กร รวมทั้งวิธีการและงวดเวลาที่เบิกจ่าย โดยหากเกิดข้อสงสัย องค์กรควรพิจารณาจัดทำข้อผูกมัดแบบมีเงื่อนไข
8. เรามีวิธีในการจัดการให้ความช่วยเหลืออย่างไร องค์กรจำต้องรู้จักผู้ประสานงาน ผู้เฝ้าสังเกตการณ์ ช่องทางการมีส่วนร่วมของพนักงานหรือหน่วยงานในพื้นที่ การดูแลความช่วยเหลือให้เป็นไปตามแผน และการคาดการณ์ล่วงหน้าหากสิ่งที่นำไปช่วยเหลือไม่สามารถนำไปใช้ได้
9. เรามีแนวทางในการดูแลเผยแพร่ข้อมูลที่สาธารณชนสนใจอย่างไร องค์กรจำต้องดำเนินการบริหารงานประชาสัมพันธ์และแง่มุมด้านสื่อตั้งแต่เริ่มต้น รู้จักคุมการคาดหมายทางสื่อในห้วงเวลาที่เป็นเป้าสายตาของสาธารณชน
10. เราได้จัดลำดับความสำคัญอย่างสมเหตุสมผลหรือไม่ องค์กรต้องแน่ใจว่าการให้ความช่วยเหลือและสิ่งที่ดำเนินการไม่ก่อให้เกิดผลกระทบเสียหายต่อการดำเนินงานตามลำดับความสำคัญอื่นๆ และคงไว้ซึ่งความยืดหยุ่นต่อการดำเนินงานในวันข้างหน้า (สำหรับพื้นที่ประสบเหตุ ประเทศ ภูมิภาค) และต่อสิ่งสำคัญเร่งด่วนอื่นๆ ในปัจจุบันหรือในอนาคต...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
แต่การดำเนินการที่เหมาะสม สอดคล้องต้องตามเหตุการณ์ และสนองตอบต่อความต้องการของพนักงานและสาธารณชนได้อย่างเห็นผล จำเป็นต้องมีวิสัยทัศน์ในการวางแนวทางที่จะดำเนินการ ล่วงรู้ถึงปัจจัยและตัวแปรต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเล็งเห็นถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นได้อย่างทะลุปรุโปร่ง
แม้ผู้บริหารองค์กรจะเผชิญกับอุปสงค์เช่นที่เคยประสบในภาวการณ์ปกติ แต่ในสถานการณ์หลังภัยพิบัติ ไม่ว่าผู้บริหารจะมีเจตนาที่ดีเพียงใดก็ตาม สภาพการณ์จะมีความซับซ้อนและทำให้ไม่สามารถดำเนินการได้ดีดังที่เคยเป็น เช่น การตัดสินใจที่ต้องทำทันทีโดยขาดข้อมูลที่ครบถ้วน การได้รับข้อมูลรายงานที่ต่างจากสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในพื้นที่ หรือมีสภาพความกดดันจากเหตุการณ์ที่ต้องดำเนินการอย่างปัจจุบันทันด่วน
ในเอกสารของ International Business Leaders Forum (IBLF) ชื่อ “Best Intentions: Complex Realities” ได้ประมวล 10 ข้อคำถามที่ผู้นำองค์กรจำต้องสำรวจและซักซ้อมกับคณะผู้บริหารเพื่อให้แน่ใจว่า องค์กรได้มีการตระเตรียมความพร้อมและมีความสามารถในการรับมือกับภัยพิบัติได้อย่างมีประสิทธิผล โดยคำถามทั้ง 10 ข้อ ประกอบด้วย
1. เราได้เตรียมพร้อมหรือยัง องค์กรจำต้องดำเนินการคะเนถึงความต้องการและแรงกดดัน รวมทั้งการประเมินผลกระทบที่มีต่อธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิผลและฉับไว
2. เรามีข้อมูลพอที่จะรับมือหรือไม่ องค์กรจำต้องได้ข้อมูลจากแหล่งที่เชื่อถือได้ ทั้งจากผู้จัดการ หัวหน้างาน และหุ้นส่วนธุรกิจที่คลุกคลีอยู่ในภาคสนาม เพื่อที่จะสามารถประเมินสถานการณ์ในภาวะฉุกเฉินให้มีความแม่นยำ
3. เหตุพิบัติที่เกิดขึ้นมีส่วนเกี่ยวเนื่องโดยตรงต่อธุรกิจอย่างไร หากองค์กรมีสินทรัพย์ พนักงาน และกิจกรรมทางธุรกิจในพื้นที่ ก็หลีกเลี่ยงไม่พ้นที่จะต้องมีส่วนเกี่ยวเนื่องกับเหตุพิบัติ และองค์กรย่อมต้องถูกคาดหวังจากพนักงาน สาธารณชน ตลอดจนสื่อมวลชน ให้ดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด
4. เราจะเข้าช่วยเหลือให้ดีที่สุดได้อย่างไร องค์กรสามารถเข้าดำเนินการโดยตรงในพื้นที่ผ่านทางหน่วยธุรกิจหรือจะใช้วิธีให้การสนับสนุนช่วยเหลือในระยะไกล ทั้งนี้ องค์กรจำเป็นต้องตัดสินใจใช้หรือผสมผสานรูปแบบการช่วยเหลือให้มีประสิทธิผลสูงสุด ระหว่างเงินช่วยเหลือ สิ่งของที่คำนวณเป็นมูลค่าเทียบเคียง โลจิสติกส์ หรือความเชี่ยวชาญในด้านต่างๆ
5. เรามีหุ้นส่วนที่มีประสิทธิผลหรือไม่ ผู้เป็นหุ้นส่วนที่องค์กรเลือกทำงานด้วย หรือที่ส่งการสนับสนุนไปให้ ควรมีความรู้ความจัดเจนพื้นที่และมีสมรรถภาพในการทำงานภาคสนามสมกับเป็นหุ้นส่วนที่มีประสิทธิผลในการบรรเทาทุกข์และการฟื้นฟู
6. ความช่วยเหลือของเราจะส่งทอดต่อในระยะยาวหรือไม่ ผู้เป็นหุ้นส่วนในการทำงานขององค์กรจำเป็นต้องมีประสบการณ์และความสามารถที่จะจัดการสนับสนุนและฟื้นฟูในระยะยาว หรือมีหุ้นส่วนในท้องถิ่นช่วยดำเนินการให้
7. เราสามารถรับประกันให้มีความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้หรือไม่ ผู้เป็นหุ้นส่วนร่วมดำเนินงาน ควรจัดทำบัญชีและรายงานรายการให้ความช่วยเหลืออุดหนุนที่ได้รับจากองค์กร รวมทั้งวิธีการและงวดเวลาที่เบิกจ่าย โดยหากเกิดข้อสงสัย องค์กรควรพิจารณาจัดทำข้อผูกมัดแบบมีเงื่อนไข
8. เรามีวิธีในการจัดการให้ความช่วยเหลืออย่างไร องค์กรจำต้องรู้จักผู้ประสานงาน ผู้เฝ้าสังเกตการณ์ ช่องทางการมีส่วนร่วมของพนักงานหรือหน่วยงานในพื้นที่ การดูแลความช่วยเหลือให้เป็นไปตามแผน และการคาดการณ์ล่วงหน้าหากสิ่งที่นำไปช่วยเหลือไม่สามารถนำไปใช้ได้
9. เรามีแนวทางในการดูแลเผยแพร่ข้อมูลที่สาธารณชนสนใจอย่างไร องค์กรจำต้องดำเนินการบริหารงานประชาสัมพันธ์และแง่มุมด้านสื่อตั้งแต่เริ่มต้น รู้จักคุมการคาดหมายทางสื่อในห้วงเวลาที่เป็นเป้าสายตาของสาธารณชน
10. เราได้จัดลำดับความสำคัญอย่างสมเหตุสมผลหรือไม่ องค์กรต้องแน่ใจว่าการให้ความช่วยเหลือและสิ่งที่ดำเนินการไม่ก่อให้เกิดผลกระทบเสียหายต่อการดำเนินงานตามลำดับความสำคัญอื่นๆ และคงไว้ซึ่งความยืดหยุ่นต่อการดำเนินงานในวันข้างหน้า (สำหรับพื้นที่ประสบเหตุ ประเทศ ภูมิภาค) และต่อสิ่งสำคัญเร่งด่วนอื่นๆ ในปัจจุบันหรือในอนาคต...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
Thursday, November 17, 2011
แนวการฟื้นฟูในช่วงต้นหลังน้ำลด
ข้อมูลจากกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยระบุว่า นับจนถึงขณะนี้ ประเทศไทยมีพื้นที่ประสบอุทกภัยทั้งสิ้น 64 จังหวัด โดยมีจังหวัดที่น้ำยังท่วมอยู่ 24 จังหวัด และมีจังหวัดที่อยู่ระหว่างฟื้นฟู 40 จังหวัด
และเมื่อเร็วๆ นี้ รัฐบาลได้ตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ (กยอ.) มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า Strategic Committee for Reconstruction and Future Development (SCRF) โดยมีหน้าที่หลักในการระดมความคิดเห็นและความรู้เพื่อจัดทำเป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการกำหนดยุทธศาสตร์ประเทศในระยะยาวเสนอแก่รัฐบาล รวมถึงข้อเสนอในการจัดตั้งองค์กรถาวร วิธีการบริหารจัดการ การบริหารการเงิน การสร้างความเข้าใจแก่ประชาชน การเสนอแนวทางการปฏิบัติราชการแผ่นดินในการฟื้นฟูและพัฒนา ฯลฯ
ในเอกสารของสำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) เรื่อง “UNDP Policy on Early Recovery” ได้แสดงระยะการเปลี่ยนผ่านจากการให้ความช่วยเหลือและการบรรเทาทุกข์ (Relief) สู่สถานะการฟื้นฟู (Recovery) ในช่วงต้น จนเข้าสู่การบูรณะ (Reconstruction) และการพัฒนาในระยะยาว ไว้ดังรูป
การกำหนดยุทธศาสตร์ กรอบการทำงาน และแผนการฟื้นฟู จำต้องอาศัยการประเมินความเสียหายและความสูญเสียในภาพรวม เป็นข้อมูลตั้งต้น ทั้งนี้ แผนการฟื้นฟูควรมุ่งไปยังการบูรณะชุมชนให้กลับคืนสภาพ ด้วยมาตรการที่คำนึงถึงประเด็นด้านความยั่งยืน โดยหลีกเลี่ยงการสร้างกลไกที่ชุมชนต้องอาศัยการพึ่งพาจากภายนอก และให้มีส่วนในกระบวนการตัดสินใจบนพื้นฐานที่ชุมชนเป็นเจ้าภาพ เนื่องเพราะประเด็นความยั่งยืนถือเป็นกุญแจหลักที่ทำให้การฟื้นฟูเกิดผลสัมฤทธิ์
มีงานวิจัยที่บ่งชี้ว่า ความสำเร็จของแผนบูรณะหลังภัยพิบัติ จะขึ้นอยู่กับระดับการมีส่วนร่วมของชุมชนที่มีต่อการวางแผนและการนำแผนไปปฏิบัติ (Narayan, 2001) โดยผลดีของการมีส่วนร่วมของชุมชน ได้แก่ การสะท้อนปัญหาที่เป็นจริง ได้โจทย์ที่แม่นยำสำหรับการฟื้นฟู และรู้ชัดถึงลำดับความสำคัญ รวมทั้งการลดข้อขัดแย้งและขจัดความซ้ำซ้อน ซึ่งเป็นภาระต้นทุนดำเนินการที่หลีกเลี่ยงได้ตั้งแต่ต้น ตลอดจนการดูแลบำรุงรักษาต่อโดยชุมชนหลังสิ้นสุดระยะการฟื้นฟูตามโครงการ
ในส่วนของภาครัฐ มีความเป็นไปได้สูงที่จะมีความทับซ้อนในแผนการฟื้นฟูระหว่างส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น หรือระหว่างกระทรวงที่เกี่ยวข้อง ซึ่งนำไปสู่ความซ้ำซ้อนในการจัดสรรงบประมาณ จึงจำเป็นต้องมีหน่วยงานที่เป็นศูนย์กลาง มีบทบาทนำในการประสานงาน การบริหาร การวางแผน และการตัดสินใจตามข้อปฏิบัติที่ดี (เช่น มีการประเมิน มีการปรึกษาหารือกับผู้เชี่ยวชาญหรือผู้มีส่วนได้เสียอย่างเหมาะสม)
ในส่วนของภาคเอกชน นอกจากบทบาทของการให้ทุนสนับสนุนในแผนงาน/โครงการ/กิจกรรมฟื้นฟูต่างๆ องค์กรธุรกิจยังสามารถคิดแผนการจ้างงานทั้งชั่วคราวและประจำให้แก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบเป็นอันดับต้นๆ หรือการวางแผนจำหน่ายสินค้าและบริการในราคาทุนให้แก่ชุมชนในช่วงฟื้นฟู หรือการให้เครดิตการค้าและให้กู้ยืมโดยคิดดอกเบี้ยต่ำแก่คู่ค้า ผู้ประกอบการในห่วงโซ่ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ
ในส่วนของภาคประชาสังคม แม้บทบาทของเอ็นจีโอส่วนใหญ่จะได้ดำเนินการมาตั้งแต่ช่วงการให้ความช่วยเหลือและบรรเทาทุกข์ แต่ก็ยังมีอีกหลายแห่งที่ทำงานสืบเนื่องมาจนถึงช่วงการฟื้นฟู โดยจุดแข็งของเอ็นจีโอเหล่านี้ ได้แก่ ความชำนาญในพื้นที่และรู้จักชุมชน ซึ่งเป็นปัจจัยสนับสนุนการทำงานฟื้นฟูในพื้นที่ชุมชนได้เป็นอย่างดี
สำหรับกรอบเวลาของระยะการฟื้นฟู โดยทั่วไปจะอยู่ในช่วงเวลา 1 ปี และเปลี่ยนผ่านไปสู่ช่วงของการบูรณะเป็นเวลา 3 ปี สืบเนื่องจนเข้าสู่ช่วงของการพัฒนาในระยะยาว...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
และเมื่อเร็วๆ นี้ รัฐบาลได้ตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ (กยอ.) มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า Strategic Committee for Reconstruction and Future Development (SCRF) โดยมีหน้าที่หลักในการระดมความคิดเห็นและความรู้เพื่อจัดทำเป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการกำหนดยุทธศาสตร์ประเทศในระยะยาวเสนอแก่รัฐบาล รวมถึงข้อเสนอในการจัดตั้งองค์กรถาวร วิธีการบริหารจัดการ การบริหารการเงิน การสร้างความเข้าใจแก่ประชาชน การเสนอแนวทางการปฏิบัติราชการแผ่นดินในการฟื้นฟูและพัฒนา ฯลฯ
ในเอกสารของสำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) เรื่อง “UNDP Policy on Early Recovery” ได้แสดงระยะการเปลี่ยนผ่านจากการให้ความช่วยเหลือและการบรรเทาทุกข์ (Relief) สู่สถานะการฟื้นฟู (Recovery) ในช่วงต้น จนเข้าสู่การบูรณะ (Reconstruction) และการพัฒนาในระยะยาว ไว้ดังรูป
การกำหนดยุทธศาสตร์ กรอบการทำงาน และแผนการฟื้นฟู จำต้องอาศัยการประเมินความเสียหายและความสูญเสียในภาพรวม เป็นข้อมูลตั้งต้น ทั้งนี้ แผนการฟื้นฟูควรมุ่งไปยังการบูรณะชุมชนให้กลับคืนสภาพ ด้วยมาตรการที่คำนึงถึงประเด็นด้านความยั่งยืน โดยหลีกเลี่ยงการสร้างกลไกที่ชุมชนต้องอาศัยการพึ่งพาจากภายนอก และให้มีส่วนในกระบวนการตัดสินใจบนพื้นฐานที่ชุมชนเป็นเจ้าภาพ เนื่องเพราะประเด็นความยั่งยืนถือเป็นกุญแจหลักที่ทำให้การฟื้นฟูเกิดผลสัมฤทธิ์
มีงานวิจัยที่บ่งชี้ว่า ความสำเร็จของแผนบูรณะหลังภัยพิบัติ จะขึ้นอยู่กับระดับการมีส่วนร่วมของชุมชนที่มีต่อการวางแผนและการนำแผนไปปฏิบัติ (Narayan, 2001) โดยผลดีของการมีส่วนร่วมของชุมชน ได้แก่ การสะท้อนปัญหาที่เป็นจริง ได้โจทย์ที่แม่นยำสำหรับการฟื้นฟู และรู้ชัดถึงลำดับความสำคัญ รวมทั้งการลดข้อขัดแย้งและขจัดความซ้ำซ้อน ซึ่งเป็นภาระต้นทุนดำเนินการที่หลีกเลี่ยงได้ตั้งแต่ต้น ตลอดจนการดูแลบำรุงรักษาต่อโดยชุมชนหลังสิ้นสุดระยะการฟื้นฟูตามโครงการ
ในส่วนของภาครัฐ มีความเป็นไปได้สูงที่จะมีความทับซ้อนในแผนการฟื้นฟูระหว่างส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น หรือระหว่างกระทรวงที่เกี่ยวข้อง ซึ่งนำไปสู่ความซ้ำซ้อนในการจัดสรรงบประมาณ จึงจำเป็นต้องมีหน่วยงานที่เป็นศูนย์กลาง มีบทบาทนำในการประสานงาน การบริหาร การวางแผน และการตัดสินใจตามข้อปฏิบัติที่ดี (เช่น มีการประเมิน มีการปรึกษาหารือกับผู้เชี่ยวชาญหรือผู้มีส่วนได้เสียอย่างเหมาะสม)
ในส่วนของภาคเอกชน นอกจากบทบาทของการให้ทุนสนับสนุนในแผนงาน/โครงการ/กิจกรรมฟื้นฟูต่างๆ องค์กรธุรกิจยังสามารถคิดแผนการจ้างงานทั้งชั่วคราวและประจำให้แก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบเป็นอันดับต้นๆ หรือการวางแผนจำหน่ายสินค้าและบริการในราคาทุนให้แก่ชุมชนในช่วงฟื้นฟู หรือการให้เครดิตการค้าและให้กู้ยืมโดยคิดดอกเบี้ยต่ำแก่คู่ค้า ผู้ประกอบการในห่วงโซ่ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ
ในส่วนของภาคประชาสังคม แม้บทบาทของเอ็นจีโอส่วนใหญ่จะได้ดำเนินการมาตั้งแต่ช่วงการให้ความช่วยเหลือและบรรเทาทุกข์ แต่ก็ยังมีอีกหลายแห่งที่ทำงานสืบเนื่องมาจนถึงช่วงการฟื้นฟู โดยจุดแข็งของเอ็นจีโอเหล่านี้ ได้แก่ ความชำนาญในพื้นที่และรู้จักชุมชน ซึ่งเป็นปัจจัยสนับสนุนการทำงานฟื้นฟูในพื้นที่ชุมชนได้เป็นอย่างดี
สำหรับกรอบเวลาของระยะการฟื้นฟู โดยทั่วไปจะอยู่ในช่วงเวลา 1 ปี และเปลี่ยนผ่านไปสู่ช่วงของการบูรณะเป็นเวลา 3 ปี สืบเนื่องจนเข้าสู่ช่วงของการพัฒนาในระยะยาว...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
Thursday, November 10, 2011
แผนอาสา CSR ในช่วงประสบภัย
บทความนี้เป็นชิ้นที่ 3 ในชุดบทความสนับสนุนองค์กรธุรกิจที่เข้าช่วยเหลือสถานการณ์ในช่วงเผชิญเหตุ (Response) อุทกภัยที่กำลังแผ่ขยายวงกว้าง สร้างผลกระทบกับธุรกิจและครัวเรือนจำนวนมาก และมีแนวโน้มว่าผู้ประสบภัยตลอดจนผู้ที่ได้รับผลกระทบจะยังคงต้องอยู่กับสถานการณ์น้ำท่วมไปอีกนานนับเดือน
ความช่วยเหลือจากภาคธุรกิจยามนี้ มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าภาครัฐและภาคประชาสังคมโดยรูปแบบของความช่วยเหลือ มีทั้งที่เป็นเงินและสิ่งของ รวมทั้งการอาสาช่วยเหลือในระดับต่างๆ ตั้งแต่กิจกรรมที่เห็นเบื้องหน้า เช่น การช่วยบรรจุและวางแนวกระสอบทรายกั้นน้ำ การช่วยบรรจุและนำส่งสิ่งของเครื่องยังชีพแก่ผู้ประสบภัย การช่วยเหลืออพยพผู้ประสบภัย และกิจกรรมที่อยู่เบื้องหลัง เช่น การติดตั้งและวางระบบช่วยเหลือผู้ประสบภัยในด้านต่างๆ งานวิชาการสนับสนุนการตัดสินใจที่ตอบสนองอุบัติการณ์ในกรณีต่างๆ การใช้ทักษะในวิชาชีพต่างๆ มาอาสาช่วยงานในช่วงเผชิญเหตุนี้โดยไม่คิดค่าวิชาชีพ (หรือที่เรียกว่า Pro Bono Engagement)
ในเอกสาร “The Role of Employee Engagement in Disaster Response: Learning from Experience” ที่จัดทำขึ้นโดย Business in the Community (BITC) และ International Business Leaders Forum (IBLF) ได้ให้แนวทางในการสร้างข้อผูกพันร่วมกับพนักงานต่อการตอบสนองภัยพิบัติไว้ 8 ประการภายใต้ตัวย่อ RESPONSE ซึ่งมีประโยชน์ต่อองค์กรและพนักงานที่กำลังอาสาเข้าให้ความช่วยเหลือ ดังนี้
Review – พิจารณาทบทวนแผนงานขององค์กรในปัจจุบันและประสบการณ์ที่ได้รับก่อนหน้า การดำเนินการทบทวนและกำหนดนโยบายการเผชิญเหตุภัยพิบัติ จะช่วยพัฒนาขีดความสามารถในการรับมือกับภัยพิบัติในครั้งต่อๆ ไปขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิผล
Engage – ใช้จุดแข็งและสมรรถภาพหลักในการเข้าช่วยเหลือ การจัดโครงสร้างของแผนผูกพันพนักงานสำหรับตอบสนองภัยพิบัติ โดยการดึงศักยภาพของบรรดาหัวกะทิและประสบการณ์ของพนักงานในบริษัทมาทำงานอาสาที่เหมาะสม จะยังประโยชน์ได้มากกว่าการอาสาในแบบทั่วไป
Secure – ขวนขวายเพื่อให้ได้คำมั่นจากผู้บริหารระดับสูง การสนับสนุนทางการเงินในเหตุภัยพิบัติต้องมีแรงโน้มน้าวหลักจากการตัดสินใจของผู้บริหารสูงสุดในองค์กร และเป็นการเพิ่มน้ำหนักในแผนงานตอบสนองภัยพิบัติที่จะดำเนินการ
Prepare – ตระเตรียมนโยบายและวางระบบสนับสนุนแผนผูกพันพนักงานในการตอบสนองภัยพิบัติ อาทิ นโยบายกองทุนช่วยเหลือ เงินสมทบ วันลาพิเศษ ระบบการประเมินความต้องการสำหรับความช่วยเหลือในช่วงภัยพิบัติ การแสวงหาพันธมิตรหรือหุ้นส่วนที่จะดำเนินการ เพื่อที่จะตอบสนองได้อย่างทันท่วงทีและมีประสิทธิผลสูง
Organise – จัดระบบประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพและความปลอดภัย เนื่องจากการปฎิบัติงานในช่วงเผชิญเหตุเต็มไปด้วยความเสี่ยง องค์กรจึงจำเป็นต้องจัดให้มีระบบประเมินฯ การป้องกัน และกรมธรรม์ประกันภัยที่เพียงพอในการรองรับแผนผูกพันพนักงานสำหรับตอบสนองภัยพิบัติ
Negotiate – เจรจาทำข้อตกลงความเป็นหุ้นส่วนกับองค์กรร่วมดำเนินงานอื่นๆ เพื่อรองรับการดำเนินงานสนับสนุนทั้งการให้บริการ การระดมความเชี่ยวชาญในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติในระยะยาว หลังจากช่วงการเผชิญเหตุผ่านพ้นไป
Structure – จัดระเบียบและโครงสร้างในการเผชิญเหตุ ตามกรอบของบทบาทและความรับผิดชอบในพื้นที่ครอบคลุม อาทิ ในระดับประเทศ ในระดับภูมิภาค และในสำนักงานใหญ่ โดยมีการมอบหมายพนักงานที่เป็นผู้รับผิดชอบในแต่ละระดับ สอดรับกับพื้นที่ครอบคลุม เพื่อให้เกิดประสิทธิผลในการดำเนินงาน
Evaluate – ประเมินวิธีการดำเนินงานและความช่ำชองในการสื่อสาร ความท้าทายสำคัญขององค์กรในการเข้าช่วยเหลือในช่วงเผชิญเหตุ คือ รูปแบบการให้ความช่วยเหลือ และการรายงานผลการให้ความช่วยเหลือ โดยไม่เพียงแต่การให้ความช่วยเหลือต้องมีประสิทธิผลยิ่งแล้ว การสื่อสารรายงานก็ต้องดำเนินการอย่างมีกลยุทธ์ด้วย เนื่องเพราะการสื่อสารที่ดีจะช่วยปลุกเร้าให้เกิดความช่วยเหลือและการอาสาของพนักงานภายในองค์กรเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งยังช่วยเสริมสร้างชื่อเสียงและเพิ่มภาพลักษณ์ให้แก่องค์กรไปพร้อมกัน...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
ความช่วยเหลือจากภาคธุรกิจยามนี้ มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าภาครัฐและภาคประชาสังคมโดยรูปแบบของความช่วยเหลือ มีทั้งที่เป็นเงินและสิ่งของ รวมทั้งการอาสาช่วยเหลือในระดับต่างๆ ตั้งแต่กิจกรรมที่เห็นเบื้องหน้า เช่น การช่วยบรรจุและวางแนวกระสอบทรายกั้นน้ำ การช่วยบรรจุและนำส่งสิ่งของเครื่องยังชีพแก่ผู้ประสบภัย การช่วยเหลืออพยพผู้ประสบภัย และกิจกรรมที่อยู่เบื้องหลัง เช่น การติดตั้งและวางระบบช่วยเหลือผู้ประสบภัยในด้านต่างๆ งานวิชาการสนับสนุนการตัดสินใจที่ตอบสนองอุบัติการณ์ในกรณีต่างๆ การใช้ทักษะในวิชาชีพต่างๆ มาอาสาช่วยงานในช่วงเผชิญเหตุนี้โดยไม่คิดค่าวิชาชีพ (หรือที่เรียกว่า Pro Bono Engagement)
ในเอกสาร “The Role of Employee Engagement in Disaster Response: Learning from Experience” ที่จัดทำขึ้นโดย Business in the Community (BITC) และ International Business Leaders Forum (IBLF) ได้ให้แนวทางในการสร้างข้อผูกพันร่วมกับพนักงานต่อการตอบสนองภัยพิบัติไว้ 8 ประการภายใต้ตัวย่อ RESPONSE ซึ่งมีประโยชน์ต่อองค์กรและพนักงานที่กำลังอาสาเข้าให้ความช่วยเหลือ ดังนี้
Review – พิจารณาทบทวนแผนงานขององค์กรในปัจจุบันและประสบการณ์ที่ได้รับก่อนหน้า การดำเนินการทบทวนและกำหนดนโยบายการเผชิญเหตุภัยพิบัติ จะช่วยพัฒนาขีดความสามารถในการรับมือกับภัยพิบัติในครั้งต่อๆ ไปขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิผล
Engage – ใช้จุดแข็งและสมรรถภาพหลักในการเข้าช่วยเหลือ การจัดโครงสร้างของแผนผูกพันพนักงานสำหรับตอบสนองภัยพิบัติ โดยการดึงศักยภาพของบรรดาหัวกะทิและประสบการณ์ของพนักงานในบริษัทมาทำงานอาสาที่เหมาะสม จะยังประโยชน์ได้มากกว่าการอาสาในแบบทั่วไป
Secure – ขวนขวายเพื่อให้ได้คำมั่นจากผู้บริหารระดับสูง การสนับสนุนทางการเงินในเหตุภัยพิบัติต้องมีแรงโน้มน้าวหลักจากการตัดสินใจของผู้บริหารสูงสุดในองค์กร และเป็นการเพิ่มน้ำหนักในแผนงานตอบสนองภัยพิบัติที่จะดำเนินการ
Prepare – ตระเตรียมนโยบายและวางระบบสนับสนุนแผนผูกพันพนักงานในการตอบสนองภัยพิบัติ อาทิ นโยบายกองทุนช่วยเหลือ เงินสมทบ วันลาพิเศษ ระบบการประเมินความต้องการสำหรับความช่วยเหลือในช่วงภัยพิบัติ การแสวงหาพันธมิตรหรือหุ้นส่วนที่จะดำเนินการ เพื่อที่จะตอบสนองได้อย่างทันท่วงทีและมีประสิทธิผลสูง
Organise – จัดระบบประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพและความปลอดภัย เนื่องจากการปฎิบัติงานในช่วงเผชิญเหตุเต็มไปด้วยความเสี่ยง องค์กรจึงจำเป็นต้องจัดให้มีระบบประเมินฯ การป้องกัน และกรมธรรม์ประกันภัยที่เพียงพอในการรองรับแผนผูกพันพนักงานสำหรับตอบสนองภัยพิบัติ
Negotiate – เจรจาทำข้อตกลงความเป็นหุ้นส่วนกับองค์กรร่วมดำเนินงานอื่นๆ เพื่อรองรับการดำเนินงานสนับสนุนทั้งการให้บริการ การระดมความเชี่ยวชาญในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติในระยะยาว หลังจากช่วงการเผชิญเหตุผ่านพ้นไป
Structure – จัดระเบียบและโครงสร้างในการเผชิญเหตุ ตามกรอบของบทบาทและความรับผิดชอบในพื้นที่ครอบคลุม อาทิ ในระดับประเทศ ในระดับภูมิภาค และในสำนักงานใหญ่ โดยมีการมอบหมายพนักงานที่เป็นผู้รับผิดชอบในแต่ละระดับ สอดรับกับพื้นที่ครอบคลุม เพื่อให้เกิดประสิทธิผลในการดำเนินงาน
Evaluate – ประเมินวิธีการดำเนินงานและความช่ำชองในการสื่อสาร ความท้าทายสำคัญขององค์กรในการเข้าช่วยเหลือในช่วงเผชิญเหตุ คือ รูปแบบการให้ความช่วยเหลือ และการรายงานผลการให้ความช่วยเหลือ โดยไม่เพียงแต่การให้ความช่วยเหลือต้องมีประสิทธิผลยิ่งแล้ว การสื่อสารรายงานก็ต้องดำเนินการอย่างมีกลยุทธ์ด้วย เนื่องเพราะการสื่อสารที่ดีจะช่วยปลุกเร้าให้เกิดความช่วยเหลือและการอาสาของพนักงานภายในองค์กรเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งยังช่วยเสริมสร้างชื่อเสียงและเพิ่มภาพลักษณ์ให้แก่องค์กรไปพร้อมกัน...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
Thursday, October 27, 2011
อะไรควร-ไม่ควร ในการช่วยเหลือผู้ประสบภัย
จนถึงขณะนี้ วิกฤติการณ์น้ำท่วมในประเทศไทยก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะทุเลาเบาบางลง พื้นที่ซึ่งได้รับผลกระทบขยายวงกว้างเพิ่มขึ้น ผู้ได้รับผลกระทบมีจำนวนมากขึ้น ขณะเดียวกัน น้ำใจและความช่วยเหลือจากผู้ที่มีจิตอาสาและองค์กรในภาคต่างๆ ก็มีจำนวนเพิ่มขึ้นด้วย
การเข้าช่วยเหลือจากอาสาสมัครมีอย่างท่วมท้น ไม่แพ้ปริมาณน้ำที่เอ่อท่วมแม้แต่น้อย ทำให้เกิดความเชื่อมั่นว่า คนไทยจะสามารถฝ่าวิกฤตการณ์ที่สร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงครั้งนี้ให้ผ่านพ้นไปได้อย่างแน่นอน
อย่างไรก็ดี ด้วยปริมาณความช่วยเหลือที่มาจากทั่วสารทิศ และไม่สามารถที่จะปฏิเสธได้เช่นนี้ หากองค์กรที่เป็นแกนในการให้ความช่วยเหลือหลัก ขาดความสามารถในการบริหารจัดการด้วยการวางกลไกและระบบรองรับให้มีประสิทธิภาพอย่างทันท่วงที ก็อาจก่อให้เกิดปัญหาในอีกมิติหนึ่งอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ในเอกสาร “Integrated Flood Risk Management in Asia” ที่จัดทำขึ้นโดย ADPC (Asian Disaster Preparedness Center) และ UNDP ได้ให้ข้อแนะนำในการเข้าให้ความช่วยเหลือในภาวะฉุกเฉินแก่องค์กรหรือภาคีต่างๆ ไว้อย่างน่าสนใจ และคิดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งแก่องค์กรที่เป็นแกนในการให้ความช่วยเหลือหลัก และองค์กรเข้าร่วมให้ความช่วยเหลือในระดับต่างๆ ไม่มากก็น้อย จึงนำมาเรียบเรียงเผยแพร่ไว้ ณ ที่นี้
...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
การเข้าช่วยเหลือจากอาสาสมัครมีอย่างท่วมท้น ไม่แพ้ปริมาณน้ำที่เอ่อท่วมแม้แต่น้อย ทำให้เกิดความเชื่อมั่นว่า คนไทยจะสามารถฝ่าวิกฤตการณ์ที่สร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงครั้งนี้ให้ผ่านพ้นไปได้อย่างแน่นอน
อย่างไรก็ดี ด้วยปริมาณความช่วยเหลือที่มาจากทั่วสารทิศ และไม่สามารถที่จะปฏิเสธได้เช่นนี้ หากองค์กรที่เป็นแกนในการให้ความช่วยเหลือหลัก ขาดความสามารถในการบริหารจัดการด้วยการวางกลไกและระบบรองรับให้มีประสิทธิภาพอย่างทันท่วงที ก็อาจก่อให้เกิดปัญหาในอีกมิติหนึ่งอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ในเอกสาร “Integrated Flood Risk Management in Asia” ที่จัดทำขึ้นโดย ADPC (Asian Disaster Preparedness Center) และ UNDP ได้ให้ข้อแนะนำในการเข้าให้ความช่วยเหลือในภาวะฉุกเฉินแก่องค์กรหรือภาคีต่างๆ ไว้อย่างน่าสนใจ และคิดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งแก่องค์กรที่เป็นแกนในการให้ความช่วยเหลือหลัก และองค์กรเข้าร่วมให้ความช่วยเหลือในระดับต่างๆ ไม่มากก็น้อย จึงนำมาเรียบเรียงเผยแพร่ไว้ ณ ที่นี้
Do | Don't |
พิจารณาบริจาคตามคำร้องขอถึงสิ่งที่ต้องการ และหลีกเลี่ยงการบริจาคสิ่งที่ไม่ต้องการ | อย่าสันนิษฐานถึงสิ่งที่ต้องการได้รับความช่วยเหลือเอาเอง |
คิดให้ถ้วนถี่ถึงความสามารถที่จะตอบสนองต่อความต้องการของผู้ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยอย่างมีประสิทธิผล ตามคำขอความช่วยเหลือที่เป็นไปตามการประเมินความต้องการขั้นต้น | อย่าตอบสนองเพื่อหวังโฆษณาออกสื่อ |
กรณีที่ประสงค์จะช่วยเหลือ จัดเตรียมการตอบสนองให้ทันต่อเวลา | อย่าไปถึงล่าช้า โดยเฉพาะการค้นหาผู้ประสบภัยและให้ความช่วยเหลือทางการแพทย์ เป็นกรณีที่ต้องรีบดำเนินการในช่วงแรกของภาวะฉุกเฉิน |
จดบันทึกการให้ความช่วยเหลือต่างๆ พร้อมสำหรับการชี้แจงถึงการตัดสินใจและการดำเนินการ | อย่าใช้ภาวะฉุกเฉินเป็นช่องทางในการโฆษณาหรือส่งเสริมการดำเนินการขององค์กร เช่น การจำลองเหตุการณ์ช่วยเหลือเพื่อการประชาสัมพันธ์ |
ทำการประเมินและวิจัยที่นำไปสู่โครงการซึ่งตอบความต้องการและอยู่ในวิสัยที่องค์กรสามารถดำเนินการ | อย่าจัดให้มีกิจกรรมความช่วยเหลือตามสิ่งจูงใจที่เป็นตัวเงินจากองค์กรผู้บริจาค และองค์กรที่บริจาคไม่ควรแข่งขันกันเพียงเพื่อสนองความต้องการที่เห็นเด่นชัดสุดในพื้นที่ |
สร้างโครงข่ายและสื่อกลางสำหรับการติดต่อสื่อสารและสนทนาสองทาง | อย่ากันผู้ประสบภัยออกจากการวางแผนกิจกรรมให้ความช่วยเหลือและการฟื้นฟู |
พิจารณาผลกระทบโครงการที่มีต่อสิ่งแวดล้อม จัดทำการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) | อย่าทำลายสิ่งแวดล้อม |
คำนึงถึงความสัมพันธ์และโครงสร้างอำนาจที่เป็นอยู่ในชุมชน | อย่าสร้างมูลเหตุแห่งความตึงเครียดในชุมชน ด้วยการละเลยโครงสร้างเชิงสังคม |
ให้แน่ใจว่าโครงการ ตอบสนองความต้องการของผู้รับ มิใช่ความต้องการของผู้บริจาค | อย่าเร่งรัดให้ดำเนินโครงการ โดยปราศจากการประเมินอย่างเข้มงวด |
เข้าร่วมรับฟังหารือระดับองค์กรกับภาคีต่างๆ ขึ้นทะเบียนกับองค์กรช่วยเหลือหลักเมื่อมีคำขอ แลกเปลี่ยนข่าวสาร รวมทั้งการให้ความร่วมมือ การทำงานร่วมกัน และการพัฒนาความเป็นหุ้นส่วนดำเนินงานในส่วนที่เป็นไปได้ | อย่าเพิกเฉยคำขอของภาครัฐ และองค์กรช่วยเหลือหลักในพื้นที่ประสบภัย |
เคารพในวิถีแห่งวัฒนธรรม และพิจารณาถึงข้อกระทบที่มีกับโครงการ อาทิ การออกแบบศูนย์อพยพ รูปแบบที่พักพิง | อย่าละเลยบรรทัดฐานทางวัฒนธรรม อาทิ เครื่องแต่งกายที่เหมาะสม จารีตทางศาสนา และวิถีชีวิตตามประเพณี |
คำนึงถึงความเป็นอยู่ของบุคลากรผู้ให้ความช่วยเหลือ ในด้านการพักผ่อน สุขภาพจิต อาหาร น้ำ | อย่าให้บุคลากรผู้ให้ความช่วยเหลือ ตรากตรำทำงานจนเกินขีดจำกัด |
ตระเตรียมปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานจำเพาะหน้าให้ลุล่วง เช่น การนำอุปกรณ์ที่ถูกต้องและบุคลากรที่มีทักษะเหมาะสม เข้าให้ความช่วยเหลือ | อย่าหลงลืมว่าการจัดหาหรือให้ความช่วยเหลือนั้น เป็นจุดมุ่งหมายหลักที่มีต่อผู้ประสบภัย |
...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
Thursday, October 13, 2011
ธุรกิจทำอะไรได้บ้าง นอกจากการบริจาค
ประเทศไทยกำลังประสบกับพิบัติภัยทางน้ำที่รุนแรงที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ ขณะนี้พื้นที่กว่า 60 จังหวัดได้รับผลกระทบ และประชาชนมากกว่า 2 ล้านคนได้รับผลกระทบโดยตรงจากเหตุการณ์ในครั้งนี้
การรับมือกับภัยพิบัติทางธรรมชาติจากการประมวลของ World Economic Forum (A Vision for Managing Natural Disaster Risk, April 2011) ได้จำแนกระยะของการดำเนินการออกเป็น 4 ขั้น คือ การลดหรือการบรรเทาความเสี่ยงจากภัยพิบัติ (Reduction/Mitigation) การตระเตรียมความพร้อม (Readiness/ Preparedness) การตอบสนอง (Response) และการฟื้นฟูจากภัยพิบัติ (Recovery)
แน่นอนว่า บทบาทในการรับมือกับภัยพิบัติ มิได้จำกัดอยู่เพียงแค่ภาครัฐ แต่เกี่ยวข้องกับทุกภาคส่วนในสังคม ที่รวมถึงภาคธุรกิจ ภาคประชาสังคม และภาควิชาการ ตลอดจนประชาคมนานาชาติ เพียงแต่ระดับของการมีส่วนร่วมในแต่ละระยะจะมีความแตกต่างกันออกไป
อุทกภัยที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ณ ขณะนี้ กำลังเข้าระยะของการตอบสนอง (Response) ที่ซึ่งบทบาทของภาครัฐและภาคประชาสังคม (หน่วยกู้ภัยและอาสาสมัครในด้านต่างๆ) มีความสำคัญที่สุด และที่เราได้รับข้อมูลเข้ามาเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ คือ การยื่นมือเข้าร่วมช่วยเหลือจากประชาคมนานาชาติ ซึ่งก็เป็นไปตามแนวทางการรับมือกับภัยพิบัติที่เป็นสากลนั่นเอง
สำหรับภาคธุรกิจ ความช่วยเหลือในระยะนี้ จะอยู่ในรูปของการบริจาคเงิน สิ่งของเครื่องใช้ โดยเฉพาะที่เป็นปัจจัยสี่ จะมีความสำคัญ ทั้งนี้ บทบาทของภาคธุรกิจจะทวีความสำคัญมากขึ้นในช่วงของการฟื้นฟู (Recovery) ที่ซึ่งความช่วยเหลือจะแปรสภาพจากการบริจาคไปเป็นความช่วยเหลือในรูปแบบอื่น เช่น การซ่อมแปลงหรือสร้างใหม่ (Rebuild) ในบริเวณที่ได้รับความเสียหาย การถอนย้ายหรือการหลบหลีก (Retreat) มายังพื้นที่ใหม่
โปรดระลึกว่า “ธุรกิจไม่สามารถประสบความสำเร็จได้ในสังคมที่ล้มเหลว” (Business cannot succeed in a society that fails...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
การรับมือกับภัยพิบัติทางธรรมชาติจากการประมวลของ World Economic Forum (A Vision for Managing Natural Disaster Risk, April 2011) ได้จำแนกระยะของการดำเนินการออกเป็น 4 ขั้น คือ การลดหรือการบรรเทาความเสี่ยงจากภัยพิบัติ (Reduction/Mitigation) การตระเตรียมความพร้อม (Readiness/ Preparedness) การตอบสนอง (Response) และการฟื้นฟูจากภัยพิบัติ (Recovery)
บทบาทของภาคีผู้มีส่วนได้เสียต่อการรับมือกับภัยพิบัติ
แน่นอนว่า บทบาทในการรับมือกับภัยพิบัติ มิได้จำกัดอยู่เพียงแค่ภาครัฐ แต่เกี่ยวข้องกับทุกภาคส่วนในสังคม ที่รวมถึงภาคธุรกิจ ภาคประชาสังคม และภาควิชาการ ตลอดจนประชาคมนานาชาติ เพียงแต่ระดับของการมีส่วนร่วมในแต่ละระยะจะมีความแตกต่างกันออกไป
อุทกภัยที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ณ ขณะนี้ กำลังเข้าระยะของการตอบสนอง (Response) ที่ซึ่งบทบาทของภาครัฐและภาคประชาสังคม (หน่วยกู้ภัยและอาสาสมัครในด้านต่างๆ) มีความสำคัญที่สุด และที่เราได้รับข้อมูลเข้ามาเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ คือ การยื่นมือเข้าร่วมช่วยเหลือจากประชาคมนานาชาติ ซึ่งก็เป็นไปตามแนวทางการรับมือกับภัยพิบัติที่เป็นสากลนั่นเอง
สำหรับภาคธุรกิจ ความช่วยเหลือในระยะนี้ จะอยู่ในรูปของการบริจาคเงิน สิ่งของเครื่องใช้ โดยเฉพาะที่เป็นปัจจัยสี่ จะมีความสำคัญ ทั้งนี้ บทบาทของภาคธุรกิจจะทวีความสำคัญมากขึ้นในช่วงของการฟื้นฟู (Recovery) ที่ซึ่งความช่วยเหลือจะแปรสภาพจากการบริจาคไปเป็นความช่วยเหลือในรูปแบบอื่น เช่น การซ่อมแปลงหรือสร้างใหม่ (Rebuild) ในบริเวณที่ได้รับความเสียหาย การถอนย้ายหรือการหลบหลีก (Retreat) มายังพื้นที่ใหม่
โปรดระลึกว่า “ธุรกิจไม่สามารถประสบความสำเร็จได้ในสังคมที่ล้มเหลว” (Business cannot succeed in a society that fails...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
Thursday, October 06, 2011
มาเพิ่มอุปนิสัยสีเขียวกันเถอะ
เมื่อเร็วๆ นี้ สถาบันไทยพัฒน์ ร่วมกับเอ็นบีซี และดีแทค จัดเสวนาฉีกกรอบคิดกับคนรุ่นใหม่ หัวข้อ "7 Green Habits" เรียนรู้แนวคิดแนวปฏิบัติของ 4 องค์กรต้นแบบ: เอสซีจี บางจาก กสิกรไทย และพฤกษาเรียลเอสเตท พร้อมร่วมส่งเสริม 7 อุปนิสัยสีเขียวในกลุ่มคนรุ่นใหม่
อุปนิสัยสีเขียว (Green Habits) เป็นพฤติกรรมของผู้บริโภคที่แสดงออกถึงความห่วงใยในความปลอดภัย สุขอนามัย และคุณภาพชีวิต ภายใต้วิถีแห่งการบริโภคที่ยั่งยืนซึ่งเป็นกระแสหลักของโลก จนเป็นเหตุให้องค์กรธุรกิจจำต้องปรับปรุงและพัฒนากระบวนการดำเนินงาน สายผลิตภัณฑ์ รวมทั้งบริการต่างๆ ที่อิงกับ Green Habits เพิ่มขึ้น
อุปนิสัยแห่งการลด (Reduce) การใช้ซ้ำ (Reuse) และการนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) เป็นพฤติกรรมที่คำนึงถึงการใช้ทรัพยากร การบริโภคผลิตภัณฑ์ และการจัดการของเสีย ที่มีการรณรงค์เผยแพร่อย่างกว้างขวาง
สถาบันไทยพัฒน์ ได้จัดทำหนังสือ 7 อุปนิสัยสีเขียว หรือ 7 Green Habits โดยได้เพิ่มเติมอุปนิสัยแห่งการคิดใหม่ (Rethink) การปฏิเสธ (Refuse) การปรับสภาพ (Recondition) และการคืนกลับ (Return) ที่เป็นการทบทวนและปรับเปลี่ยนกิจกรรมทั้งในกระบวนการทำงานและในการดำเนินชีวิตในทิศทางที่ก่อให้เกิดผลดีกับโลก
Rethink
ความเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้น ก็ต่อเมื่อเรามีความคิดที่จะเปลี่ยนแปลงด้วยตนเอง กระแสการรณรงค์เรื่องสิ่งแวดล้อมจะไม่เกิดผลสำเร็จใดๆ หากทุกคนที่ได้รับฟังข้อมูลไม่ตระหนักว่าตนเองต้องเปลี่ยนแปลง การคิดใหม่ ไม่จำเป็นต้องสร้างหรือนำเสนอสิ่งใหม่ (Reinvent) ที่ต้องเริ่มจากศูนย์เสมอไป การต่อยอดขยายผลหรือปรับปรุงสิ่งที่มีอยู่เดิมด้วยความคิดใหม่ อาจดีกว่า ประหยัดกว่า และทุ่นเวลากว่าการต้องเริ่มใหม่ แต่เหนือสิ่งอื่นใดคือ เมื่อคิดได้แล้ว ต้องลงมือทำ
Refuse
การปฏิเสธเป็นช่องทางหนึ่งที่ช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัดไม่ให้ถูกนำมาใช้หรือถูกทำลายเร็วขึ้น และเพื่อให้เวลาธรรมชาติในการฟื้นสภาพตัวเองตามระบบนิเวศ เริ่มจากสิ่งนอกตัว เช่น สินค้าฟุ่มเฟือย สิ่งที่เราต้องเติมใส่ร่างกาย เช่น อาหารนำเข้า จนถึงสิ่งที่อยู่ข้างในกาย คือ จิตใจ เพราะเมื่อจิตร้อน กายก็ร้อน สิ่งรอบข้างก็ได้รับกระแสร้อน สุดท้ายทั้งโลกก็ร้อนขึ้น
Recondition
ของหลายอย่างสามารถปรับแต่งซ่อมแซม (Repair) แล้วนำกลับมาใช้ใหม่ได้ดังเดิม จงพยายามใช้ของให้ถูกวิธีเพื่อหลีกเลี่ยงการชำรุดเสียหายก่อนเวลาอันควร และหากสิ่งของใดมีกำหนดเวลาที่ต้องบำรุงรักษา ให้หมั่นตรวจสอบและปฏิบัติตามตารางการบำรุงรักษา เพื่อยืดอายุการใช้งานให้นานขึ้น ขณะที่อุปกรณ์บางจำพวกอาจต้องพิจารณาปรับเปลี่ยนหรือทดแทน (Replace) ด้วยอุปกรณ์รุ่นใหม่ที่มีประสิทธิภาพกว่า เช่น เครื่องปรับอากาศ เพื่อลดการสิ้นเปลืองค่าไฟฟ้า และประหยัดพลังงาน
Return
หน้าที่หนึ่งของมนุษย์ในฐานะผู้อาศัยโลกเป็นที่พักพิง คือ การตอบแทนคืนแก่โลก ใครใช้ทรัพยากรใดจากธรรมชาติเยอะ ก็ต้องคืนทรัพยากรนั้นกลับให้มากๆ ผลกระทบใดที่หลีกเลี่ยงไม่ได้จากการดำเนินงาน ก็ต้องพยายามฟื้นฟู ทำให้คืนสภาพ หรือทำให้สมบูรณ์ (Replenish) ดังเดิม เมื่อใดที่ริเริ่มเป็นผู้ให้ได้โดยมิต้องบังคับหรือร้องขอ เมื่อนั้นเราก็จะได้รับกลับคืนอย่างไม่ต้องสงสัยเช่นกัน
นอกจากการประมวลเนื้อหา 7 อุปนิสัยการดำเนินชีวิตและการทำงานที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมแล้ว หนังสือเล่มนี้ ยังได้รวบรวมแบบทดสอบอุปนิสัยที่จะช่วยในการสำรวจและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวันให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้นด้วย
หน่วยงานที่สนใจสามารถติดต่อขอรับได้ที่สถาบันไทยพัฒน์ มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในวันและเวลาทำการ ได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
อุปนิสัยสีเขียว (Green Habits) เป็นพฤติกรรมของผู้บริโภคที่แสดงออกถึงความห่วงใยในความปลอดภัย สุขอนามัย และคุณภาพชีวิต ภายใต้วิถีแห่งการบริโภคที่ยั่งยืนซึ่งเป็นกระแสหลักของโลก จนเป็นเหตุให้องค์กรธุรกิจจำต้องปรับปรุงและพัฒนากระบวนการดำเนินงาน สายผลิตภัณฑ์ รวมทั้งบริการต่างๆ ที่อิงกับ Green Habits เพิ่มขึ้น
อุปนิสัยแห่งการลด (Reduce) การใช้ซ้ำ (Reuse) และการนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) เป็นพฤติกรรมที่คำนึงถึงการใช้ทรัพยากร การบริโภคผลิตภัณฑ์ และการจัดการของเสีย ที่มีการรณรงค์เผยแพร่อย่างกว้างขวาง
สถาบันไทยพัฒน์ ได้จัดทำหนังสือ 7 อุปนิสัยสีเขียว หรือ 7 Green Habits โดยได้เพิ่มเติมอุปนิสัยแห่งการคิดใหม่ (Rethink) การปฏิเสธ (Refuse) การปรับสภาพ (Recondition) และการคืนกลับ (Return) ที่เป็นการทบทวนและปรับเปลี่ยนกิจกรรมทั้งในกระบวนการทำงานและในการดำเนินชีวิตในทิศทางที่ก่อให้เกิดผลดีกับโลก
Rethink
ความเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้น ก็ต่อเมื่อเรามีความคิดที่จะเปลี่ยนแปลงด้วยตนเอง กระแสการรณรงค์เรื่องสิ่งแวดล้อมจะไม่เกิดผลสำเร็จใดๆ หากทุกคนที่ได้รับฟังข้อมูลไม่ตระหนักว่าตนเองต้องเปลี่ยนแปลง การคิดใหม่ ไม่จำเป็นต้องสร้างหรือนำเสนอสิ่งใหม่ (Reinvent) ที่ต้องเริ่มจากศูนย์เสมอไป การต่อยอดขยายผลหรือปรับปรุงสิ่งที่มีอยู่เดิมด้วยความคิดใหม่ อาจดีกว่า ประหยัดกว่า และทุ่นเวลากว่าการต้องเริ่มใหม่ แต่เหนือสิ่งอื่นใดคือ เมื่อคิดได้แล้ว ต้องลงมือทำ
Refuse
การปฏิเสธเป็นช่องทางหนึ่งที่ช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัดไม่ให้ถูกนำมาใช้หรือถูกทำลายเร็วขึ้น และเพื่อให้เวลาธรรมชาติในการฟื้นสภาพตัวเองตามระบบนิเวศ เริ่มจากสิ่งนอกตัว เช่น สินค้าฟุ่มเฟือย สิ่งที่เราต้องเติมใส่ร่างกาย เช่น อาหารนำเข้า จนถึงสิ่งที่อยู่ข้างในกาย คือ จิตใจ เพราะเมื่อจิตร้อน กายก็ร้อน สิ่งรอบข้างก็ได้รับกระแสร้อน สุดท้ายทั้งโลกก็ร้อนขึ้น
Recondition
ของหลายอย่างสามารถปรับแต่งซ่อมแซม (Repair) แล้วนำกลับมาใช้ใหม่ได้ดังเดิม จงพยายามใช้ของให้ถูกวิธีเพื่อหลีกเลี่ยงการชำรุดเสียหายก่อนเวลาอันควร และหากสิ่งของใดมีกำหนดเวลาที่ต้องบำรุงรักษา ให้หมั่นตรวจสอบและปฏิบัติตามตารางการบำรุงรักษา เพื่อยืดอายุการใช้งานให้นานขึ้น ขณะที่อุปกรณ์บางจำพวกอาจต้องพิจารณาปรับเปลี่ยนหรือทดแทน (Replace) ด้วยอุปกรณ์รุ่นใหม่ที่มีประสิทธิภาพกว่า เช่น เครื่องปรับอากาศ เพื่อลดการสิ้นเปลืองค่าไฟฟ้า และประหยัดพลังงาน
Return
หน้าที่หนึ่งของมนุษย์ในฐานะผู้อาศัยโลกเป็นที่พักพิง คือ การตอบแทนคืนแก่โลก ใครใช้ทรัพยากรใดจากธรรมชาติเยอะ ก็ต้องคืนทรัพยากรนั้นกลับให้มากๆ ผลกระทบใดที่หลีกเลี่ยงไม่ได้จากการดำเนินงาน ก็ต้องพยายามฟื้นฟู ทำให้คืนสภาพ หรือทำให้สมบูรณ์ (Replenish) ดังเดิม เมื่อใดที่ริเริ่มเป็นผู้ให้ได้โดยมิต้องบังคับหรือร้องขอ เมื่อนั้นเราก็จะได้รับกลับคืนอย่างไม่ต้องสงสัยเช่นกัน
นอกจากการประมวลเนื้อหา 7 อุปนิสัยการดำเนินชีวิตและการทำงานที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมแล้ว หนังสือเล่มนี้ ยังได้รวบรวมแบบทดสอบอุปนิสัยที่จะช่วยในการสำรวจและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวันให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้นด้วย
หน่วยงานที่สนใจสามารถติดต่อขอรับได้ที่สถาบันไทยพัฒน์ มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในวันและเวลาทำการ ได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
Thursday, September 29, 2011
แนวร่วม ISO 26000
เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านการมาตรฐานแห่งชาติ ทำหน้าที่เป็นตัวแทนประเทศไทยในฐานะที่เป็นสมาชิก ISO ได้จัดทำข้อตกลง (MoU) แนวร่วมการประกอบกิจการตามมาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคม (ISO 26000) กับสถาบันไทยพัฒน์ เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนความรับผิดชอบต่อสังคมจากเจตนาที่ดี (good intentions) ไปสู่การกระทำที่ดี (good actions) ของภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมไทย
ประเทศไทยเอง มีคณะกรรมการวิชาการคณะที่ 1004 มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งทำหน้าที่ในลักษณะ National Mirror Committee พิจารณาให้ข้อคิดเห็นต่อ ISO/WG SR (Social Responsibility) ขององค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน หรือ ISO รวมทั้งกำหนดแนวทางและวิธีการในการส่งเสริม ประชาสัมพันธ์ และเผยแพร่มาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคมทั้งในภาครัฐและภาคเอกชนในประเทศไทย
ด้วยกระแสของการพัฒนากิจการให้เจริญเติบโตควบคู่กับการเป็นที่ยอมรับจากสังคมและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตอบสนองต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development: SD) เป็นเรื่องที่หลีกหนีไม่พ้นสำหรับองค์กรธุรกิจในปัจจุบัน อีกทั้งมาตรฐาน ISO 26000 ได้ถูกระบุให้เป็นแนวในการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาเชิงเศรษฐกิจ – สังคมที่ยั่งยืนในหมู่ประเทศสมาชิกอาเซียน จึงทำให้องค์กรธุรกิจไทยจำต้องเตรียมพร้อมรองรับการดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมตามแนวทางที่สากลยอมรับและการเปิดตลาดเสรีในระดับภูมิภาคอาเซียนในอีกไม่ถึง 4 ปีข้างหน้า
ด้วยเหตุที่การขับเคลื่อนความรับผิดชอบต่อสังคมให้สำเร็จในภาพรวม ไม่สามารถพึ่งพาเพียงองค์กรใดองค์กรหนึ่ง หรือธุรกิจใดธุรกิจหนึ่งโดยลำพังได้ แต่จะต้องอาศัยการสอดประสานการทำงานร่วมกันในห่วงโซ่ธุรกิจ ทั้งในสายอุปทาน (Supply Chain) และในสายคุณค่า (Value Chain) ตลอดกระบวนการ
บทเรียนที่จับต้องได้ คือ แม้ตัวองค์กรที่เรากำกับดูแลอยู่ จะมี CSR ดีเลิศเพียงใดก็ตาม แต่หากมีผู้ส่งมอบแม้เพียงรายเดียว ส่งมอบวัตถุดิบที่มีปัญหาเข้าสู่กระบวนการผลิต จนกลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผู้บริโภคใช้แล้วเกิดปัญหา ตัวองค์กรก็จะพลอยได้รับผลกระทบและทำให้ CSR ที่ดีอยู่นั้น ด่างพร้อยไปต่อหน้าต่อตา ตัวอย่างในอุตสาหกรรมรถยนต์ อุตสาหกรรมอาหาร มีให้เห็นกันอยู่เนืองๆ
ด้วยเหตุนี้ การทำงานในแบบแนวร่วม หรือ Collective Action จึงเป็นหนทางในการป้องกันและลดความน่าจะเป็นของปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในห่วงโซ่ธุรกิจที่อาจส่งผลกระทบต่อองค์กรตนเองในที่สุด
แนวร่วมการประกอบกิจการตามมาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคม ISO 26000 เป็นโครงการหนึ่งที่ถูกริเริ่มขึ้น เพื่อเกื้อหนุนองค์กรธุรกิจให้เข้ามีส่วนร่วมสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน เพิ่มสมรรถนะการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร รวมทั้งการเสริมสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน โดยมุ่งเน้นการสร้างคุณค่าจากการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมในห่วงโซ่ธุรกิจระหว่างคู่ค้าและผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง และเน้นการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมด้วยการปฏิบัติ (Practices) ตามข้อแนะนำ (Guidance) ที่เป็นเจตนารมณ์ของ ISO 26000 มิใช่ด้วยการจัดทำและแสดงเอกสาร (Papers) ให้ได้ตามข้อกำหนด (Requirements)
วันนี้ เรามีผู้ที่อาสาเข้ามานำแนวร่วมการประกอบกิจการตามมาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคม ISO 26000 ในสาขาโทรคมนาคม อย่าง ดีแทค ในสาขาก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ อย่าง พฤกษา เรียลเอสเตท และในสาขาพลังงาน อย่าง บางจากปิโตรเลียม ทำให้คาดหมายได้ว่า จากนี้ไปเราคงได้เห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญในสายอุปทานและในสายคุณค่าของธุรกิจในสาขาเหล่านี้ ด้วยเครื่องมือที่เป็นมาตรฐานสากลอย่าง ISO 26000 ในไม่ช้า
องค์กรธุรกิจหรือหน่วยงานที่สนใจเข้าร่วมโครงการ สามารถติดตามข่าวสารความคืบหน้าได้จากสถาบันไทยพัฒน์ (thaipat.org) และสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (tisi.go.th)...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
ประเทศไทยเอง มีคณะกรรมการวิชาการคณะที่ 1004 มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งทำหน้าที่ในลักษณะ National Mirror Committee พิจารณาให้ข้อคิดเห็นต่อ ISO/WG SR (Social Responsibility) ขององค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน หรือ ISO รวมทั้งกำหนดแนวทางและวิธีการในการส่งเสริม ประชาสัมพันธ์ และเผยแพร่มาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคมทั้งในภาครัฐและภาคเอกชนในประเทศไทย
ด้วยกระแสของการพัฒนากิจการให้เจริญเติบโตควบคู่กับการเป็นที่ยอมรับจากสังคมและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตอบสนองต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development: SD) เป็นเรื่องที่หลีกหนีไม่พ้นสำหรับองค์กรธุรกิจในปัจจุบัน อีกทั้งมาตรฐาน ISO 26000 ได้ถูกระบุให้เป็นแนวในการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาเชิงเศรษฐกิจ – สังคมที่ยั่งยืนในหมู่ประเทศสมาชิกอาเซียน จึงทำให้องค์กรธุรกิจไทยจำต้องเตรียมพร้อมรองรับการดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมตามแนวทางที่สากลยอมรับและการเปิดตลาดเสรีในระดับภูมิภาคอาเซียนในอีกไม่ถึง 4 ปีข้างหน้า
ด้วยเหตุที่การขับเคลื่อนความรับผิดชอบต่อสังคมให้สำเร็จในภาพรวม ไม่สามารถพึ่งพาเพียงองค์กรใดองค์กรหนึ่ง หรือธุรกิจใดธุรกิจหนึ่งโดยลำพังได้ แต่จะต้องอาศัยการสอดประสานการทำงานร่วมกันในห่วงโซ่ธุรกิจ ทั้งในสายอุปทาน (Supply Chain) และในสายคุณค่า (Value Chain) ตลอดกระบวนการ
บทเรียนที่จับต้องได้ คือ แม้ตัวองค์กรที่เรากำกับดูแลอยู่ จะมี CSR ดีเลิศเพียงใดก็ตาม แต่หากมีผู้ส่งมอบแม้เพียงรายเดียว ส่งมอบวัตถุดิบที่มีปัญหาเข้าสู่กระบวนการผลิต จนกลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผู้บริโภคใช้แล้วเกิดปัญหา ตัวองค์กรก็จะพลอยได้รับผลกระทบและทำให้ CSR ที่ดีอยู่นั้น ด่างพร้อยไปต่อหน้าต่อตา ตัวอย่างในอุตสาหกรรมรถยนต์ อุตสาหกรรมอาหาร มีให้เห็นกันอยู่เนืองๆ
ด้วยเหตุนี้ การทำงานในแบบแนวร่วม หรือ Collective Action จึงเป็นหนทางในการป้องกันและลดความน่าจะเป็นของปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในห่วงโซ่ธุรกิจที่อาจส่งผลกระทบต่อองค์กรตนเองในที่สุด
แนวร่วมการประกอบกิจการตามมาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคม ISO 26000 เป็นโครงการหนึ่งที่ถูกริเริ่มขึ้น เพื่อเกื้อหนุนองค์กรธุรกิจให้เข้ามีส่วนร่วมสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน เพิ่มสมรรถนะการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร รวมทั้งการเสริมสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน โดยมุ่งเน้นการสร้างคุณค่าจากการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมในห่วงโซ่ธุรกิจระหว่างคู่ค้าและผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง และเน้นการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมด้วยการปฏิบัติ (Practices) ตามข้อแนะนำ (Guidance) ที่เป็นเจตนารมณ์ของ ISO 26000 มิใช่ด้วยการจัดทำและแสดงเอกสาร (Papers) ให้ได้ตามข้อกำหนด (Requirements)
วันนี้ เรามีผู้ที่อาสาเข้ามานำแนวร่วมการประกอบกิจการตามมาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคม ISO 26000 ในสาขาโทรคมนาคม อย่าง ดีแทค ในสาขาก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ อย่าง พฤกษา เรียลเอสเตท และในสาขาพลังงาน อย่าง บางจากปิโตรเลียม ทำให้คาดหมายได้ว่า จากนี้ไปเราคงได้เห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญในสายอุปทานและในสายคุณค่าของธุรกิจในสาขาเหล่านี้ ด้วยเครื่องมือที่เป็นมาตรฐานสากลอย่าง ISO 26000 ในไม่ช้า
องค์กรธุรกิจหรือหน่วยงานที่สนใจเข้าร่วมโครงการ สามารถติดตามข่าวสารความคืบหน้าได้จากสถาบันไทยพัฒน์ (thaipat.org) และสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (tisi.go.th)...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
รางวัล Golden Green Award อาเซียน
เมื่อเร็วๆ นี้ หอการค้ามาเลเซีย-จีน จัดงาน Malaysia-China Trade and Investment International Conference (MCTIIC) 2011 ขึ้นที่ประเทศมาเลเซีย โดยมีผู้เข้าร่วมงานนับพันคน ทำให้ผมได้ความรู้ว่ามูลค่าทางการค้าระหว่างมาเลเซียและจีนนั้น มีตัวเลขสูงกว่าที่จีนค้าขายกับไทยเสียอีก
ในงานนี้ ภาคราชการมีส่วนร่วมอย่างคึกคักและกระตือรือร้น ผู้รับผิดชอบแนวพื้นที่เศรษฐกิจ (Economic Corridor) ทั้ง 5 แห่ง ต่างมานำเสนอข้อมูลกันอย่างพร้อมเพรียง มีการชี้แจงเนื้อหาในข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน (ACFTA) ที่เริ่มเมื่อ 1 ม.ค. 53 ซึ่งเป็นข้อตกลง FTA ฉบับแรกของอาเซียน และของจีน ให้แก่ผู้เข้าร่วมประชุม ได้ใช้สิทธิประโยชน์จากข้อตกลงฉบับนี้อย่างเป็นเรื่องเป็นราว
เหตุที่ผมได้มีโอกาสเข้าร่วมงานนี้ เนื่องจากมีงานคู่ขนานที่หอการค้ามาเลเซีย-จีน (MCCC) จัดร่วมกับสถาบันการศึกษาด้านวิศวกรรมและเทคโนโลยีของอาเซียน (AAET) เพื่อมอบรางวัล Golden Green Award 2011 ให้แก่ผู้ที่มีผลงานโดดเด่นใน 6 ด้าน ได้แก่ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและปรับปรุงคุณภาพอากาศ การปกป้องพื้นที่ แหล่งน้ำ และความหลากหลายทางชีวภาพ การลดกากของเสีย การประกอบการ/นักบริหารสีเขียว การส่งเสริมแนวคิดสีเขียวหรือความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมต่อสาธารณะ การดำเนินการของชุมชนเพื่อสิ่งแวดล้อมโดยอาสาสมัครและสมาชิกในองค์กรไม่แสวงหากำไร
วัตถุประสงค์ของรางวัลนี้ เพื่อต้องการยกย่องผู้ประกอบการสีเขียวรุ่นเยาว์ และผู้สร้างคุณประโยชน์รุ่นเยาว์ต่อการพัฒนาในบริบทของการเติบโตสีเขียว (Green Growth) ในภูมิภาคอาเซียน และเป็นผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 40 ปีที่ได้รับการเสนอชื่อจากประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งมีผลงานทางด้านสิ่งแวดล้อมหรือการส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นที่ประจักษ์
ที่จริงเรื่องการเติบโตสีเขียว ได้ถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นยุทธศาสตร์หนึ่งที่องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ที่ประกอบด้วยสมาชิก 34 ประเทศ พัฒนาเพื่อสนับสนุนกลไกแห่งการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเมื่อเดือนมิถุนายน ปี 2552 ในการประชุมคณะมนตรีในระดับรัฐมนตรีที่เป็นผู้แทนของรัฐบาล 34 ประเทศ และกลุ่มประชาคมยุโรป ได้บรรลุข้อตกลงร่วมกันในปฏิญญาแห่งการเติบโตสีเขียว (Declaration on Green Growth) ที่รับรองหนทางสู่ความเป็นสีเขียวและการเติบโตที่สามารถไปด้วยกันได้ (“green” and “growth” can go hand-in-hand)
ในภูมิภาคเอเชีย เห็นจะมีประเทศเกาหลีใต้ และประเทศมาเลเซีย ที่นำเรื่องการเติบโตสีเขียว มาใช้เป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนประเทศตามเส้นทางการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างชัดเจน
ในงาน สถาบันไทยพัฒน์ได้เสนอชื่อคุณวรณัฐ เพียรธรรม หนึ่งในทีมงานผู้พัฒนาและเผยแพร่กลยุทธ์น่านน้ำสีเขียว หรือ Green Ocean Strategy เข้าร่วมชิงรางวัลในด้านการส่งเสริมแนวคิดสีเขียวหรือความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมต่อสาธารณะ โดยนำเสนอกลยุทธ์น่านน้ำสีเขียว ให้แก่คณะกรรมการพิจารณารางวัล ซึ่งประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาต่างๆ จำนวน 17 ท่าน และเป็นที่น่ายินดีว่า คุณวรณัฐ เป็นผู้แทนจากประเทศไทยที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ Golden Green Award ร่วมกับผู้แทนจากประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นๆ อีก 9 ประเทศ โดยมี Datuk Seri Peter Chin รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เทคโนโลยีสีเขียว และทรัพยากรน้ำ เป็นผู้มอบรางวัล
สำหรับรางวัล Grand Champion of the ASEAN Golden Green Award ตกเป็นของ Adeline Tiffanie Suwana สาวน้อยอายุเพียง 15 ปีจากอินโดนีเซีย ในด้านการปกป้องสิ่งแวดล้อมที่เธอขับเคลื่อนภายใต้ชื่อ “Sahabat Alam” movement ด้วยความมุ่งมั่นที่เกิดขึ้นจากที่เธอได้รับผลกระทบจากอุทกภัยน้ำท่วมในบ้านเกิด อันเป็นผลทำให้เธอได้เรียนรู้เรื่องภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และก่อตั้งองค์กรภาคเอกชน (NGO) ของเธอตั้งแต่อายุเพียง 10 ปี
และต้องขอขอบพระคุณ ดร.ไชยยศ บุญญากิจ แห่งสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ที่เป็นผู้แนะนำและให้คำอ้างอิงสำหรับการเข้าร่วมประกวดในครั้งนี้ด้วย...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
ในงานนี้ ภาคราชการมีส่วนร่วมอย่างคึกคักและกระตือรือร้น ผู้รับผิดชอบแนวพื้นที่เศรษฐกิจ (Economic Corridor) ทั้ง 5 แห่ง ต่างมานำเสนอข้อมูลกันอย่างพร้อมเพรียง มีการชี้แจงเนื้อหาในข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน (ACFTA) ที่เริ่มเมื่อ 1 ม.ค. 53 ซึ่งเป็นข้อตกลง FTA ฉบับแรกของอาเซียน และของจีน ให้แก่ผู้เข้าร่วมประชุม ได้ใช้สิทธิประโยชน์จากข้อตกลงฉบับนี้อย่างเป็นเรื่องเป็นราว
เหตุที่ผมได้มีโอกาสเข้าร่วมงานนี้ เนื่องจากมีงานคู่ขนานที่หอการค้ามาเลเซีย-จีน (MCCC) จัดร่วมกับสถาบันการศึกษาด้านวิศวกรรมและเทคโนโลยีของอาเซียน (AAET) เพื่อมอบรางวัล Golden Green Award 2011 ให้แก่ผู้ที่มีผลงานโดดเด่นใน 6 ด้าน ได้แก่ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและปรับปรุงคุณภาพอากาศ การปกป้องพื้นที่ แหล่งน้ำ และความหลากหลายทางชีวภาพ การลดกากของเสีย การประกอบการ/นักบริหารสีเขียว การส่งเสริมแนวคิดสีเขียวหรือความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมต่อสาธารณะ การดำเนินการของชุมชนเพื่อสิ่งแวดล้อมโดยอาสาสมัครและสมาชิกในองค์กรไม่แสวงหากำไร
วัตถุประสงค์ของรางวัลนี้ เพื่อต้องการยกย่องผู้ประกอบการสีเขียวรุ่นเยาว์ และผู้สร้างคุณประโยชน์รุ่นเยาว์ต่อการพัฒนาในบริบทของการเติบโตสีเขียว (Green Growth) ในภูมิภาคอาเซียน และเป็นผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 40 ปีที่ได้รับการเสนอชื่อจากประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งมีผลงานทางด้านสิ่งแวดล้อมหรือการส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นที่ประจักษ์
ที่จริงเรื่องการเติบโตสีเขียว ได้ถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นยุทธศาสตร์หนึ่งที่องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ที่ประกอบด้วยสมาชิก 34 ประเทศ พัฒนาเพื่อสนับสนุนกลไกแห่งการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเมื่อเดือนมิถุนายน ปี 2552 ในการประชุมคณะมนตรีในระดับรัฐมนตรีที่เป็นผู้แทนของรัฐบาล 34 ประเทศ และกลุ่มประชาคมยุโรป ได้บรรลุข้อตกลงร่วมกันในปฏิญญาแห่งการเติบโตสีเขียว (Declaration on Green Growth) ที่รับรองหนทางสู่ความเป็นสีเขียวและการเติบโตที่สามารถไปด้วยกันได้ (“green” and “growth” can go hand-in-hand)
ในภูมิภาคเอเชีย เห็นจะมีประเทศเกาหลีใต้ และประเทศมาเลเซีย ที่นำเรื่องการเติบโตสีเขียว มาใช้เป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนประเทศตามเส้นทางการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างชัดเจน
ในงาน สถาบันไทยพัฒน์ได้เสนอชื่อคุณวรณัฐ เพียรธรรม หนึ่งในทีมงานผู้พัฒนาและเผยแพร่กลยุทธ์น่านน้ำสีเขียว หรือ Green Ocean Strategy เข้าร่วมชิงรางวัลในด้านการส่งเสริมแนวคิดสีเขียวหรือความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมต่อสาธารณะ โดยนำเสนอกลยุทธ์น่านน้ำสีเขียว ให้แก่คณะกรรมการพิจารณารางวัล ซึ่งประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาต่างๆ จำนวน 17 ท่าน และเป็นที่น่ายินดีว่า คุณวรณัฐ เป็นผู้แทนจากประเทศไทยที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ Golden Green Award ร่วมกับผู้แทนจากประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นๆ อีก 9 ประเทศ โดยมี Datuk Seri Peter Chin รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เทคโนโลยีสีเขียว และทรัพยากรน้ำ เป็นผู้มอบรางวัล
สำหรับรางวัล Grand Champion of the ASEAN Golden Green Award ตกเป็นของ Adeline Tiffanie Suwana สาวน้อยอายุเพียง 15 ปีจากอินโดนีเซีย ในด้านการปกป้องสิ่งแวดล้อมที่เธอขับเคลื่อนภายใต้ชื่อ “Sahabat Alam” movement ด้วยความมุ่งมั่นที่เกิดขึ้นจากที่เธอได้รับผลกระทบจากอุทกภัยน้ำท่วมในบ้านเกิด อันเป็นผลทำให้เธอได้เรียนรู้เรื่องภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และก่อตั้งองค์กรภาคเอกชน (NGO) ของเธอตั้งแต่อายุเพียง 10 ปี
และต้องขอขอบพระคุณ ดร.ไชยยศ บุญญากิจ แห่งสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ที่เป็นผู้แนะนำและให้คำอ้างอิงสำหรับการเข้าร่วมประกวดในครั้งนี้ด้วย...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
Thursday, September 08, 2011
เลียบเวที CSR Summit สิงคโปร์
เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา มีงาน International CSR Summit 2011 ที่สิงคโปร์ ปีนี้ใช้ธีมว่า CSR: Values for Sustainability ซึ่งผมได้มีโอกาสเข้าร่วม เลยขอนำเนื้อหาที่น่าสนใจและน่าจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่อยู่ในวงการ CSR มาเล่าสู่กันฟังครับ
ในช่วงเช้าของวันแรกเป็นเรื่อง CSR & Shareholder Value: Financial Incentives for CSR ที่อยู่ในกระแสไม่ต่างจากบ้านเรา เนื่องจากการผลักดันเรื่อง CSR ในปัจจุบันมาจากผู้ลงทุนหรือผู้ถือหุ้นของบริษัทเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ บรรดาเลขานุการบริษัทหรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายนักลงทุนสัมพันธ์ของบริษัทจดทะเบียนต่างทราบสถานการณ์ดีว่า CSR และ Sustainability ได้กลายเป็นหัวข้อหรือคำถามของผู้ลงทุน นอกเหนือจากเรื่องตัวเลขกำไร อัตราการเติบโต ฯลฯ
แนวทางการขับเคลื่อนเรื่อง CSR ในวันนี้ จึงให้ความสำคัญกับประเด็นของคุณค่าร่วม การผนวกความรับผิดชอบต่อสังคมเข้ากับกลยุทธ์ทางธุรกิจ การสร้างความเข้าใจและข้อผูกพันร่วมกับพนักงาน และการเปิดเผยข้อมูลที่มิใช่การเงินในรายงานประจำปี เป็นต้น
ในช่วงบ่ายต่อด้วยเรื่องที่หลายคนให้ความสนใจ คือ Reporting on CSR Performance เพราะตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ (SGX) ได้ออกแนวทางการรายงานข้อมูล CSR สำหรับบริษัทจดทะเบียนไปเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา (ตัดหน้าตลาดหลักทรัพย์ไทยที่มีแผนจะออกแนวทางดังกล่าวในช่วงสิ้นปีนี้) โดยตัวเลขบริษัทจดทะเบียนใน SGX ที่มีการจัดทำรายงาน CSR ในปัจจุบันมีอยู่ราว 9%
สำหรับแนวทางการรายงานของ SGX มีอยู่ 6 หมวด ได้แก่ ความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริษัท กรอบการบริหารความเสี่ยงในภาพรวม ระบบการวัดผลการดำเนินงาน การรายงานความยั่งยืน แนวทางที่เป็นสากล และการประกันแบบรายงานความยั่งยืนโดยบุคคลที่สาม ซึ่งเป็นที่คาดหมายว่าจากนี้ไปจะมีบริษัทสิงคโปร์ที่จัดทำรายงาน CSR เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างก้าวกระโดด แม้จะมิใช่ข้อกำหนดภาคบังคับ แต่ก็เป็นสัญญาณชัดแจ้งที่เกิดขึ้นในตลาดทุนที่สำคัญทั่วโลก
ในช่วงเย็น มีการพูดถึงในหัวข้อ Incorporating CSR into Supply Chain Management ที่กระทบและเกี่ยวข้องกับผู้ประกอบการในห่วงโซ่ธุรกิจอย่างถ้วนหน้า ไม่เว้นแม้กระทั่งเอสเอ็มอีที่ค้าขายหรือทำธุรกรรมกับบริษัทขนาดใหญ่ซึ่งผลักดันเรื่อง CSR ไปยังองค์กรรอบข้างทั้งต้นน้ำและปลายน้ำ เพราะไม่ต้องการมีชื่อเสียหายหรือสูญเสียภาพลักษณ์จากความไม่รับผิดชอบต่อสังคมของคู่ค้าของตน (เป็นหนึ่งในทิศทางและแนวโน้ม CSR ในปีนี้ที่สถาบันไทยพัฒน์ได้ระบุไว้ว่าจะเกิด Supply Class ขึ้นใน Supply Chain)
ในเวทีนี้ มีผู้บริหารจาก Swire Pacific Offshore ได้แนะนำแนวทางการตรวจประเมินผู้ส่งมอบ (Suppliers Audit) ที่น่าสนใจไว้ 6 ขั้นตอนด้วยกัน เริ่มจากการจัดอันดับความสำคัญผู้ส่งมอบทั้งหมดขององค์กร แล้วทำการคัดเลือกกลุ่มที่อยู่ในอันดับต้นๆ มา 5-10% เพื่อดำเนินการประเมินความเสี่ยง (ด้านแรงงาน สิทธิมนุษยชน อาชีวอนามัย สิ่งแวดล้อม ฯลฯ) นำมาเรียงลำดับใหม่ตามความเสี่ยงจากมากไปน้อย โดยเลือก10 อันดับแรกมาเพื่อเข้าตรวจประเมินภาคสนามในสถานประกอบการ และเสนอแนะเพื่อนำไปสู่การปรับปรุงพัฒนาผู้ส่งมอบกลุ่มดังกล่าว (หรือหาผู้ส่งมอบกลุ่มใหม่มาทดแทน ในกรณีที่ไม่สามารถดำเนินการได้ตามข้อแนะนำ)
สำหรับในวันที่สอง ช่วงเช้าเป็นเรื่อง Role of Media on CSR ตอนที่น่าสนใจเป็นวิทยากรจาก Media Alliance ได้พูดถึงตัวอย่างการใช้สื่อในการรณรงค์เรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ต้องไม่ได้หวังผลให้เกิดเพียงการสร้างการรับรู้ (Raise Awareness) เพราะลำพังเพียงการรับรู้ มิได้ช่วยแก้ปัญหา แต่ต้องทำให้ได้อีก 3 ขั้น คือ การเปลี่ยนพฤติกรรม (Change Behavior) การสร้างอุปสงค์ในฝั่งผู้บริโภค (Create Consumer Demand) ที่จะเป็นแรงขับดันธุรกิจให้ดำเนินกิจกรรมในฝั่งผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และการสร้างอุปสงค์ทางสังคม (Create Social Demand) ที่กดดันให้ภาครัฐออกข้อกำหนดหรือเงื่อนไขสำหรับการประกอบธุรกิจและอุตสาหกรรมที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม
อีกตอนที่น่าสนใจในช่วงสื่อกับ CSR คือ ข้อแนะนำจากนักข่าวของ The Straits Times ในการส่งข่าว CSR อย่างไร ให้ได้ลงเผยแพร่ ซึ่งก็เป็นมุมมองจากนักข่าวที่ได้รับข่าว CSR จำนวนมหาศาลในแต่ละวัน มาถ่ายทอดดุลยพินิจ (ภาคปฏิบัติ) ในการเลือกข่าวที่จะเผยแพร่ (หลังจบช่วง มีผู้ฟังไปขอนัดกินกาแฟกับนักข่าวผู้นี้ตรึม ขอบอก)
ช่วงสายต่อด้วยเรื่อง Business and Human Right มีการนำเสนอ Guiding Principles on Business and Human Rights: ‘Protect, Respect and Remedy’ Framework ซึ่งเป็นผลจากการสังเคราะห์งานวิจัยที่นำโดย Professor John Ruggie แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดที่ใช้ระยะเวลาวิจัยกว่า 6 ปี และได้รับการรับรองจากคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (HRC) ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกจาก 47 รัฐประเทศ (รวมประเทศไทย) เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา เป็นแนวทางให้ภาคธุรกิจนำไปปฏิบัติ
ในช่วงบ่ายถึงเย็นแบ่งเป็นห้องย่อย 6 ห้อง โดยเชิญวิทยากรในกลุ่มประเทศอาเซียนมานำเสนอกรณีศึกษาและประสบการณ์ในเรื่องต่างๆ อาทิ การลงทุนทางสังคม กรณีศึกษาจากผู้ได้รับรางวัล CSRขององค์กรผู้จัด บทบาทของภาคธุรกิจกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทาความยากจน การประกอบธุรกิจอย่างยั่งยืน และการต้านทุจริต
ยังมีเนื้อหาอีกหลายช่วงหลายตอนที่มีความน่าสนใจโดยเฉพาะช่วง Keynote Speech ของวัน จาก Dr.Wayne Visser แห่ง CSR International และ Dr.Fons Trompenaars แห่ง THT Consulting แต่ด้วยพื้นที่อันจำกัด จึงต้องยุติด้วยความจำเป็น คิดว่าในเร็ววันนี้ทางผู้จัด คือ Singapore Compact คงจะมีการนำเอกสารของวิทยากรขึ้นในเว็บไซต์ http://bit.ly/csrsummit ลองติดตามกันนะครับ...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
ในช่วงเช้าของวันแรกเป็นเรื่อง CSR & Shareholder Value: Financial Incentives for CSR ที่อยู่ในกระแสไม่ต่างจากบ้านเรา เนื่องจากการผลักดันเรื่อง CSR ในปัจจุบันมาจากผู้ลงทุนหรือผู้ถือหุ้นของบริษัทเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ บรรดาเลขานุการบริษัทหรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายนักลงทุนสัมพันธ์ของบริษัทจดทะเบียนต่างทราบสถานการณ์ดีว่า CSR และ Sustainability ได้กลายเป็นหัวข้อหรือคำถามของผู้ลงทุน นอกเหนือจากเรื่องตัวเลขกำไร อัตราการเติบโต ฯลฯ
แนวทางการขับเคลื่อนเรื่อง CSR ในวันนี้ จึงให้ความสำคัญกับประเด็นของคุณค่าร่วม การผนวกความรับผิดชอบต่อสังคมเข้ากับกลยุทธ์ทางธุรกิจ การสร้างความเข้าใจและข้อผูกพันร่วมกับพนักงาน และการเปิดเผยข้อมูลที่มิใช่การเงินในรายงานประจำปี เป็นต้น
ในช่วงบ่ายต่อด้วยเรื่องที่หลายคนให้ความสนใจ คือ Reporting on CSR Performance เพราะตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ (SGX) ได้ออกแนวทางการรายงานข้อมูล CSR สำหรับบริษัทจดทะเบียนไปเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา (ตัดหน้าตลาดหลักทรัพย์ไทยที่มีแผนจะออกแนวทางดังกล่าวในช่วงสิ้นปีนี้) โดยตัวเลขบริษัทจดทะเบียนใน SGX ที่มีการจัดทำรายงาน CSR ในปัจจุบันมีอยู่ราว 9%
สำหรับแนวทางการรายงานของ SGX มีอยู่ 6 หมวด ได้แก่ ความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริษัท กรอบการบริหารความเสี่ยงในภาพรวม ระบบการวัดผลการดำเนินงาน การรายงานความยั่งยืน แนวทางที่เป็นสากล และการประกันแบบรายงานความยั่งยืนโดยบุคคลที่สาม ซึ่งเป็นที่คาดหมายว่าจากนี้ไปจะมีบริษัทสิงคโปร์ที่จัดทำรายงาน CSR เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างก้าวกระโดด แม้จะมิใช่ข้อกำหนดภาคบังคับ แต่ก็เป็นสัญญาณชัดแจ้งที่เกิดขึ้นในตลาดทุนที่สำคัญทั่วโลก
ในช่วงเย็น มีการพูดถึงในหัวข้อ Incorporating CSR into Supply Chain Management ที่กระทบและเกี่ยวข้องกับผู้ประกอบการในห่วงโซ่ธุรกิจอย่างถ้วนหน้า ไม่เว้นแม้กระทั่งเอสเอ็มอีที่ค้าขายหรือทำธุรกรรมกับบริษัทขนาดใหญ่ซึ่งผลักดันเรื่อง CSR ไปยังองค์กรรอบข้างทั้งต้นน้ำและปลายน้ำ เพราะไม่ต้องการมีชื่อเสียหายหรือสูญเสียภาพลักษณ์จากความไม่รับผิดชอบต่อสังคมของคู่ค้าของตน (เป็นหนึ่งในทิศทางและแนวโน้ม CSR ในปีนี้ที่สถาบันไทยพัฒน์ได้ระบุไว้ว่าจะเกิด Supply Class ขึ้นใน Supply Chain)
ในเวทีนี้ มีผู้บริหารจาก Swire Pacific Offshore ได้แนะนำแนวทางการตรวจประเมินผู้ส่งมอบ (Suppliers Audit) ที่น่าสนใจไว้ 6 ขั้นตอนด้วยกัน เริ่มจากการจัดอันดับความสำคัญผู้ส่งมอบทั้งหมดขององค์กร แล้วทำการคัดเลือกกลุ่มที่อยู่ในอันดับต้นๆ มา 5-10% เพื่อดำเนินการประเมินความเสี่ยง (ด้านแรงงาน สิทธิมนุษยชน อาชีวอนามัย สิ่งแวดล้อม ฯลฯ) นำมาเรียงลำดับใหม่ตามความเสี่ยงจากมากไปน้อย โดยเลือก10 อันดับแรกมาเพื่อเข้าตรวจประเมินภาคสนามในสถานประกอบการ และเสนอแนะเพื่อนำไปสู่การปรับปรุงพัฒนาผู้ส่งมอบกลุ่มดังกล่าว (หรือหาผู้ส่งมอบกลุ่มใหม่มาทดแทน ในกรณีที่ไม่สามารถดำเนินการได้ตามข้อแนะนำ)
สำหรับในวันที่สอง ช่วงเช้าเป็นเรื่อง Role of Media on CSR ตอนที่น่าสนใจเป็นวิทยากรจาก Media Alliance ได้พูดถึงตัวอย่างการใช้สื่อในการรณรงค์เรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ต้องไม่ได้หวังผลให้เกิดเพียงการสร้างการรับรู้ (Raise Awareness) เพราะลำพังเพียงการรับรู้ มิได้ช่วยแก้ปัญหา แต่ต้องทำให้ได้อีก 3 ขั้น คือ การเปลี่ยนพฤติกรรม (Change Behavior) การสร้างอุปสงค์ในฝั่งผู้บริโภค (Create Consumer Demand) ที่จะเป็นแรงขับดันธุรกิจให้ดำเนินกิจกรรมในฝั่งผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และการสร้างอุปสงค์ทางสังคม (Create Social Demand) ที่กดดันให้ภาครัฐออกข้อกำหนดหรือเงื่อนไขสำหรับการประกอบธุรกิจและอุตสาหกรรมที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม
อีกตอนที่น่าสนใจในช่วงสื่อกับ CSR คือ ข้อแนะนำจากนักข่าวของ The Straits Times ในการส่งข่าว CSR อย่างไร ให้ได้ลงเผยแพร่ ซึ่งก็เป็นมุมมองจากนักข่าวที่ได้รับข่าว CSR จำนวนมหาศาลในแต่ละวัน มาถ่ายทอดดุลยพินิจ (ภาคปฏิบัติ) ในการเลือกข่าวที่จะเผยแพร่ (หลังจบช่วง มีผู้ฟังไปขอนัดกินกาแฟกับนักข่าวผู้นี้ตรึม ขอบอก)
ช่วงสายต่อด้วยเรื่อง Business and Human Right มีการนำเสนอ Guiding Principles on Business and Human Rights: ‘Protect, Respect and Remedy’ Framework ซึ่งเป็นผลจากการสังเคราะห์งานวิจัยที่นำโดย Professor John Ruggie แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดที่ใช้ระยะเวลาวิจัยกว่า 6 ปี และได้รับการรับรองจากคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (HRC) ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกจาก 47 รัฐประเทศ (รวมประเทศไทย) เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา เป็นแนวทางให้ภาคธุรกิจนำไปปฏิบัติ
ในช่วงบ่ายถึงเย็นแบ่งเป็นห้องย่อย 6 ห้อง โดยเชิญวิทยากรในกลุ่มประเทศอาเซียนมานำเสนอกรณีศึกษาและประสบการณ์ในเรื่องต่างๆ อาทิ การลงทุนทางสังคม กรณีศึกษาจากผู้ได้รับรางวัล CSRขององค์กรผู้จัด บทบาทของภาคธุรกิจกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทาความยากจน การประกอบธุรกิจอย่างยั่งยืน และการต้านทุจริต
ยังมีเนื้อหาอีกหลายช่วงหลายตอนที่มีความน่าสนใจโดยเฉพาะช่วง Keynote Speech ของวัน จาก Dr.Wayne Visser แห่ง CSR International และ Dr.Fons Trompenaars แห่ง THT Consulting แต่ด้วยพื้นที่อันจำกัด จึงต้องยุติด้วยความจำเป็น คิดว่าในเร็ววันนี้ทางผู้จัด คือ Singapore Compact คงจะมีการนำเอกสารของวิทยากรขึ้นในเว็บไซต์ http://bit.ly/csrsummit ลองติดตามกันนะครับ...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
Thursday, September 01, 2011
CSR ในนโยบายรัฐบาล
ก็เป็นอันว่ารัฐบาลได้แถลงนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินต่อรัฐสภาเป็นที่เรียบร้อย โดยสาระสำคัญของนโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก ซึ่งอยู่ในความสนใจของประชาชน คือ การดำเนินการให้แรงงานมีรายได้เป็นวันละไม่น้อยกว่า 300 บาท และผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีมีรายได้เดือนละไม่น้อยกว่า 15,000 บาทอย่างสอดคล้องกับผลิตภาพและประสิทธิภาพของบุคลากร รวมทั้งมาตรการภาษีเพื่อลดภาระการลงทุนสำหรับสิ่งจำเป็นในชีวิตของประชาชนทั่วไป ได้แก่ บ้านหลังแรกและรถยนต์คันแรก เป็นต้น
ส่วนนโยบายเร่งด่วนที่อยู่ในความสนใจของภาคเอกชนที่ได้รับผลกระทบจากการขึ้นค่าแรง คือ การออกมาตรการเพื่อลดภาระแก่ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบเพื่อให้แรงงานและบุคลากรสามารถดำรงชีพได้อย่างมีศักดิ์ศรีและคุณภาพชีวิตที่ดี รวมทั้งการปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคล ให้เหลือร้อยละ 23 ในปี 2555 และลดลงเหลือร้อยละ 20 ในปี 2556 เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชน ขยายฐานภาษี และรองรับการเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558
สำหรับนโยบายที่จะดำเนินการภายในวาระการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลในส่วนที่เกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจอุตสาหกรรม และความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ซึ่งปรากฎอยู่ในนโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่
การเร่งพัฒนาภาคอุตสาหกรรมให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีความรับผิดชอบต่อสังคม และอยู่ร่วมกับชุมชนได้ โดยปรับปรุงเทคโนโลยีการผลิต ลดการใช้ทรัพยากรและลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ด้วยหลักการการลดการใช้ (reduce) การใช้ซ้ำ (reuse) และการนำกลับมาใช้ใหม่ (recycle)
การเพิ่มปริมาณการใช้พลังงานทดแทนในภาคอุตสาหกรรม เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการสร้างรายได้จากการขายคาร์บอนเครดิต และลดภาวะโลกร้อน รวมทั้งสนับสนุนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการแก้ไขปัญหาและตรวจสอบสภาวะแวดล้อม และพัฒนาเมืองหรือพื้นที่อุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco-Town) ที่สอดคล้องกับแนวทางดังกล่าวเพื่อนำไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Society)
การกำหนดมาตรฐานและคุณภาพขั้นพื้นฐานของสินค้าอุตสาหกรรมเมื่อมีการเปิดเสรีการค้ามากขึ้น เพื่อป้องกันสินค้านำเข้าที่ไม่ได้คุณภาพซึ่งอาจก่อให้เกิดภัยอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินและก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งให้มีการบังคับใช้มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) สำหรับสินค้าที่ผลิตภายในประเทศอย่างจริงจัง และส่งเสริมให้เกิดการยอมรับมาตรฐานและคุณภาพสินค้าร่วมกันในกลุ่มอาเซียน
นอกจากนี้ เรื่อง CSR ยังได้รับการระบุอยู่ในส่วนของนโยบายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ได้แก่ การส่งเสริมกระบวนการบริหารจัดการที่ดีในภาคเอกชน โดยเฉพาะระบบการตรวจสอบกิจการที่โปร่งใส และสนับสนุนให้ภาคเอกชนยึดมั่นในความรับผิดชอบต่อลูกค้า ผู้รับบริการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย รวมทั้งมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม และเสริมสร้างความเข้มแข็งให้สังคมโดยการคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อสร้างความเป็นธรรม ตลอดจนป้องกันการผูกขาดตัดตอนทั้งทางตรงและทางอ้อม
จะว่าไปแล้ว CSR ในนโยบายรัฐบาลชุดปัจจุบัน จะมีรายละเอียดมากกว่านโยบายของรัฐบาลชุดที่แล้วที่ระบุเพียงว่า ส่งเสริมให้อุตสาหกรรมมีความรับผิดชอบต่อสังคม ทั้งในด้านคุณภาพและมาตรฐานสินค้าและบริการ และมาตรฐานความปลอดภัยในสถานประกอบการและสิ่งแวดล้อม
สำหรับท่านที่สนใจจะอ่านนโยบายรัฐบาลฉบับเต็ม สามารถดาวน์โหลดได้ที่ http://bit.ly/govpolicy ครับ...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
ส่วนนโยบายเร่งด่วนที่อยู่ในความสนใจของภาคเอกชนที่ได้รับผลกระทบจากการขึ้นค่าแรง คือ การออกมาตรการเพื่อลดภาระแก่ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบเพื่อให้แรงงานและบุคลากรสามารถดำรงชีพได้อย่างมีศักดิ์ศรีและคุณภาพชีวิตที่ดี รวมทั้งการปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคล ให้เหลือร้อยละ 23 ในปี 2555 และลดลงเหลือร้อยละ 20 ในปี 2556 เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชน ขยายฐานภาษี และรองรับการเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558
สำหรับนโยบายที่จะดำเนินการภายในวาระการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลในส่วนที่เกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจอุตสาหกรรม และความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ซึ่งปรากฎอยู่ในนโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่
การเร่งพัฒนาภาคอุตสาหกรรมให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีความรับผิดชอบต่อสังคม และอยู่ร่วมกับชุมชนได้ โดยปรับปรุงเทคโนโลยีการผลิต ลดการใช้ทรัพยากรและลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ด้วยหลักการการลดการใช้ (reduce) การใช้ซ้ำ (reuse) และการนำกลับมาใช้ใหม่ (recycle)
การเพิ่มปริมาณการใช้พลังงานทดแทนในภาคอุตสาหกรรม เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการสร้างรายได้จากการขายคาร์บอนเครดิต และลดภาวะโลกร้อน รวมทั้งสนับสนุนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการแก้ไขปัญหาและตรวจสอบสภาวะแวดล้อม และพัฒนาเมืองหรือพื้นที่อุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco-Town) ที่สอดคล้องกับแนวทางดังกล่าวเพื่อนำไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Society)
การกำหนดมาตรฐานและคุณภาพขั้นพื้นฐานของสินค้าอุตสาหกรรมเมื่อมีการเปิดเสรีการค้ามากขึ้น เพื่อป้องกันสินค้านำเข้าที่ไม่ได้คุณภาพซึ่งอาจก่อให้เกิดภัยอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินและก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งให้มีการบังคับใช้มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) สำหรับสินค้าที่ผลิตภายในประเทศอย่างจริงจัง และส่งเสริมให้เกิดการยอมรับมาตรฐานและคุณภาพสินค้าร่วมกันในกลุ่มอาเซียน
นอกจากนี้ เรื่อง CSR ยังได้รับการระบุอยู่ในส่วนของนโยบายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ได้แก่ การส่งเสริมกระบวนการบริหารจัดการที่ดีในภาคเอกชน โดยเฉพาะระบบการตรวจสอบกิจการที่โปร่งใส และสนับสนุนให้ภาคเอกชนยึดมั่นในความรับผิดชอบต่อลูกค้า ผู้รับบริการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย รวมทั้งมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม และเสริมสร้างความเข้มแข็งให้สังคมโดยการคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อสร้างความเป็นธรรม ตลอดจนป้องกันการผูกขาดตัดตอนทั้งทางตรงและทางอ้อม
จะว่าไปแล้ว CSR ในนโยบายรัฐบาลชุดปัจจุบัน จะมีรายละเอียดมากกว่านโยบายของรัฐบาลชุดที่แล้วที่ระบุเพียงว่า ส่งเสริมให้อุตสาหกรรมมีความรับผิดชอบต่อสังคม ทั้งในด้านคุณภาพและมาตรฐานสินค้าและบริการ และมาตรฐานความปลอดภัยในสถานประกอบการและสิ่งแวดล้อม
สำหรับท่านที่สนใจจะอ่านนโยบายรัฐบาลฉบับเต็ม สามารถดาวน์โหลดได้ที่ http://bit.ly/govpolicy ครับ...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
Thursday, August 18, 2011
ยกขีดแข่งขันด้วย CSR
ทุกวันนี้ มีการพูดกันอย่างกว้างขวางถึงการนำ CSR มาเป็นเครื่องมือช่วยสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขันตามโมเดลของไมเคิล อี พอร์เตอร์ ที่แบ่งออกเป็น Responsive CSR กับ Strategic CSR บทความนี้จะพยายามขยายความถึงฐานคิดในเรื่องดังกล่าวว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร และองค์กรจะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างไร
คำว่า Responsive ถ้าจะอธิบายอย่างง่ายในบริบทของ CSR คือ ความที่องค์กร Respond ในเรื่องที่เป็นผลกระทบอันมีสาเหตุจากการประกอบกิจการ หากมองในเชิงอุดมคติ ถ้าองค์กรไม่ได้ไปทำให้ใครเดือดร้อน ก็อาจจะไม่ต้องทำ CSR ก็ได้ แต่ในความเป็นจริง กระบวนการในทางธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นการผลิต การส่งมอบ การจำหน่าย การบริการ ฯลฯ ย่อมต้องเกิดผลภายนอก (Externalities) ไม่มากก็น้อย ฉะนั้น การที่ชาวบ้านเดินมาหาโรงงาน บอกว่าเขาได้รับผลกระทบจากจากน้ำทิ้ง กลิ่นเหม็น อากาศเสีย หากโรงงานไม่ดำเนินการอะไรเลย นั่นแสดงว่า ไม่มี CSR
การที่องค์กรรับที่จะดำเนินการตามที่ชาวบ้านร้องขอ อันนี้เรียกว่า Responsive คือ React ในสิ่งที่ตนเองได้สร้างผลกระทบไว้ ซึ่งพอร์เตอร์กล่าวไว้ว่า การที่องค์กรตอบสนองต่อข้อท้วงติงหรือข้อเรียกร้องเช่นนี้ องค์กรจะได้รับการยอมรับในฐานะ Good Citizen ในสังคมที่สามารถอยู่ร่วมกันได้
ทีนี้ ในมุมมองพอร์เตอร์ยังขยายความต่อว่า แม้องค์กรจะได้ทำเรื่อง Responsive CSR ครบถ้วนดีแล้ว แต่ก็อาจไม่เพียงพอต่อการเสริมสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขันที่ทุกธุรกิจให้ความสำคัญ เพราะการดำเนินงาน CSR ในเชิงรับ องค์กรไม่สามารถกำหนดประเด็นการดำเนินงานทางสังคมได้เอง ซึ่งถือเป็นโจทย์สำคัญของการสร้างความแตกต่าง (Differentiation) และเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จหนึ่งของการพัฒนาขีดความสามารถทางการแข่งขัน
แนวคิดของ CSR เชิงกลยุทธ์ หรือ Strategic CSR ซึ่งก็คือการทำ CSR ในเชิงรุก จึงถูกพอร์เตอร์หยิบยกขึ้นมานำเสนอ โดยที่องค์กรเป็นผู้หยิบยกประเด็นทางสังคมขึ้นมาวิเคราะห์และเลือกดำเนินการให้สอดรับกับกลยุทธ์ทางธุรกิจ และเชื่อมโยงกับวิสัยทัศน์ รวมทั้งเกื้อหนุนกับพันธกิจ ตลอดจนขับเน้นค่านิยมขององค์กรอย่างผสมผสานกลมกลืน
อย่างไรก็ตาม การที่องค์กรหลายแห่งลุกขึ้นมาประกาศว่าจะเข้าไปทำงานเชิงรุกกับสังคม แต่หากผลกระทบทางลบจากกิจการที่มีต่อผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่างๆ ยังไม่ได้รับการแก้ไข หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ยังไม่ได้ทำ Responsive CSR การแสวงหาความแตกต่างหรือมุ่งเน้นพัฒนาขีดความสามารถทางการแข่งขันด้วย Strategic CSR ก็จะไม่เป็นผล เนื่องเพราะองค์กรยังละเลยสิ่งที่เป็น Minimum Requirement ที่ควรต้องดำเนินการอยู่
ดังนั้น การทำ CSR เชิงกลยุทธ์ จึงมิได้มาทดแทน Responsive CSR แต่เป็นสิ่งที่องค์กรต้องมีพัฒนาการ ตั้งแต่การทำ CSR ในเชิงรับ (ที่เน้นแก้ไขผลกระทบทางลบ) จนมาสู่ CSR ในเชิงรุก (ที่เน้นเสริมสร้างผลกระทบทางบวก) อย่างเป็นลำดับขั้น...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
คำว่า Responsive ถ้าจะอธิบายอย่างง่ายในบริบทของ CSR คือ ความที่องค์กร Respond ในเรื่องที่เป็นผลกระทบอันมีสาเหตุจากการประกอบกิจการ หากมองในเชิงอุดมคติ ถ้าองค์กรไม่ได้ไปทำให้ใครเดือดร้อน ก็อาจจะไม่ต้องทำ CSR ก็ได้ แต่ในความเป็นจริง กระบวนการในทางธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นการผลิต การส่งมอบ การจำหน่าย การบริการ ฯลฯ ย่อมต้องเกิดผลภายนอก (Externalities) ไม่มากก็น้อย ฉะนั้น การที่ชาวบ้านเดินมาหาโรงงาน บอกว่าเขาได้รับผลกระทบจากจากน้ำทิ้ง กลิ่นเหม็น อากาศเสีย หากโรงงานไม่ดำเนินการอะไรเลย นั่นแสดงว่า ไม่มี CSR
การที่องค์กรรับที่จะดำเนินการตามที่ชาวบ้านร้องขอ อันนี้เรียกว่า Responsive คือ React ในสิ่งที่ตนเองได้สร้างผลกระทบไว้ ซึ่งพอร์เตอร์กล่าวไว้ว่า การที่องค์กรตอบสนองต่อข้อท้วงติงหรือข้อเรียกร้องเช่นนี้ องค์กรจะได้รับการยอมรับในฐานะ Good Citizen ในสังคมที่สามารถอยู่ร่วมกันได้
ทีนี้ ในมุมมองพอร์เตอร์ยังขยายความต่อว่า แม้องค์กรจะได้ทำเรื่อง Responsive CSR ครบถ้วนดีแล้ว แต่ก็อาจไม่เพียงพอต่อการเสริมสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขันที่ทุกธุรกิจให้ความสำคัญ เพราะการดำเนินงาน CSR ในเชิงรับ องค์กรไม่สามารถกำหนดประเด็นการดำเนินงานทางสังคมได้เอง ซึ่งถือเป็นโจทย์สำคัญของการสร้างความแตกต่าง (Differentiation) และเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จหนึ่งของการพัฒนาขีดความสามารถทางการแข่งขัน
Corporate Involvement in Society: A Strategic Approach (Porter and Kramer, 2006)
แนวคิดของ CSR เชิงกลยุทธ์ หรือ Strategic CSR ซึ่งก็คือการทำ CSR ในเชิงรุก จึงถูกพอร์เตอร์หยิบยกขึ้นมานำเสนอ โดยที่องค์กรเป็นผู้หยิบยกประเด็นทางสังคมขึ้นมาวิเคราะห์และเลือกดำเนินการให้สอดรับกับกลยุทธ์ทางธุรกิจ และเชื่อมโยงกับวิสัยทัศน์ รวมทั้งเกื้อหนุนกับพันธกิจ ตลอดจนขับเน้นค่านิยมขององค์กรอย่างผสมผสานกลมกลืน
อย่างไรก็ตาม การที่องค์กรหลายแห่งลุกขึ้นมาประกาศว่าจะเข้าไปทำงานเชิงรุกกับสังคม แต่หากผลกระทบทางลบจากกิจการที่มีต่อผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่างๆ ยังไม่ได้รับการแก้ไข หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ยังไม่ได้ทำ Responsive CSR การแสวงหาความแตกต่างหรือมุ่งเน้นพัฒนาขีดความสามารถทางการแข่งขันด้วย Strategic CSR ก็จะไม่เป็นผล เนื่องเพราะองค์กรยังละเลยสิ่งที่เป็น Minimum Requirement ที่ควรต้องดำเนินการอยู่
ดังนั้น การทำ CSR เชิงกลยุทธ์ จึงมิได้มาทดแทน Responsive CSR แต่เป็นสิ่งที่องค์กรต้องมีพัฒนาการ ตั้งแต่การทำ CSR ในเชิงรับ (ที่เน้นแก้ไขผลกระทบทางลบ) จนมาสู่ CSR ในเชิงรุก (ที่เน้นเสริมสร้างผลกระทบทางบวก) อย่างเป็นลำดับขั้น...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
Thursday, August 11, 2011
ปรับ ครม. ในวันแม่กันเถอะ
ต้องขออภัยท่านผู้อ่าน หากจะทำให้บทความนี้เป็นที่สนใจ เพราะคำพาดหัว ซึ่งมิได้เกี่ยวอะไรกับการเมืองหรือคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ของประเทศไทยแต่อย่างใด แต่อยากจะดึงดูดความสนใจของท่านในเบื้องแรก เพื่อให้มาสำรวจและปรับปรุง ‘ความรับผิดชอบต่อมารดา’ (Mother Responsibility) เนื่องในวันแม่ที่มาถึงนี้ครับ
ผมยังดีใจอยู่ว่าชาวไทย (รวมถึงชาวตะวันออกฟากเอเชียด้วยกันหลายประเทศ) ยังมีความผูกพันและดูแลซึ่งกันและกันฉันท์ครอบครัวอยู่มาก แต่ก็น่าเป็นห่วงว่าคนรุ่นหนุ่มสาวยุคนี้มีแนวโน้มที่จะใช้ชีวิตแบบครอบครัวเชิงเดี่ยวเพิ่มสูงขึ้น เช่น เมื่อแต่งงานก็แยกออกไปใช้ชีวิตร่วมกันไม่ได้อาศัยอยู่กับพ่อแม่ หรือสภาพการงานบังคับให้ต้องจากรกรากเดิมมาใช้ชีวิตในเมืองใกล้ที่ทำงาน ทำให้ความสัมพันธ์กับพ่อแม่มิได้ใกล้ชิดเหมือนแต่ก่อน
แม้คนไทยจะยังมีการปลูกฝังถ่ายทอดเรื่องความกตัญญู (รู้คุณ) กตเวทิตา (แทนคุณ) ต่อผู้มีพระคุณจากรุ่นสู่รุ่นได้ค่อนข้างดี จนมีภาพสะท้อนเป็นที่รับรู้กันว่าสังคมไทยนั้นเป็นสังคมที่มีความเกื้อกูล เป็นสังคมอุปถัมภ์ แต่ด้วยสภาพครอบครัวและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะครอบครัวเชิงเดี่ยวที่สมาชิกแต่ละรุ่น (ปู่ย่า ตายาย พ่อแม่ ลูก หลาน) ไม่ได้อาศัยอยู่รวมกัน การตอบแทนคุณบิดามารดาจึงมีเงื่อนไขเรื่องระยะทางและเวลามาเกี่ยวข้องอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ในหลักธรรมเรื่องทิศ 6 บุตรธิดาพึงบำรุงมารดาบิดา ผู้เป็นทิศเบื้องหน้า ดังนี้ 1) ท่านเลี้ยงเรามาแล้ว เลี้ยงท่านตอบ 2) ช่วยทำการงานของท่าน 3) ดำรงวงศ์สกุล 4) ประพฤติตนให้เหมาะสมกับความเป็นทายาท 5) เมื่อท่านล่วงลับไปแล้ว ทำบุญอุทิศให้ท่าน
ในข้อแรก การแทนคุณของหนุ่มสาวสมัยใหม่ คือ การให้เงินท่าน สิ้นเดือนเงินเดือนออก ก็จัดสรรเงินส่วนหนึ่งมอบให้ท่านไว้จับจ่ายใช้สอย ความรับผิดชอบต่อมารดา (ครม.) ที่อยากให้สำรวจและปรับปรุงเพิ่มเติม คือ เอาใจใส่ในการกินอยู่หลับนอนของท่าน ไม่ให้เดือดร้อนหรือลำบาก จัดหาเครื่องใช้ไม้สอยหรือเครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆ ตามอายุขัยของท่านที่เพิ่มขึ้น หรือยามเจ็บไข้ก็เป็นธุระจัดแจงเรื่องหมอ หยูกยาต่างๆ และปรนนิบัติให้ท่านหายหรือทุเลาจากเจ็บป่วย
ในข้อที่สอง เป็นเรื่องการแบ่งเบาภาระทั้งการงานและการบ้าน ทำธุระที่ท่านไหว้วานโดยไม่อิดออดบิดพลิ้ว อาสาที่จะช่วยเหลือกิจการงานของท่านโดยไม่ต้องรอให้ท่านร้องขอ เพื่อให้ท่านได้มีโอกาสพักผ่อนเพิ่มขึ้น
ในข้อที่สาม เป็นเรื่องที่ท่านอยากเห็นเราสืบทอดสกุล รักษาเกียรติคุณความดีแห่งวงศ์ตระกูลให้ยั่งยืน ไม่ทำให้เสื่อมเสีย ด้วยการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ดำรงชีวิตในทางดีหรือในทางที่ชอบที่ควร ข้อนี้เป็นการตอบแทนคุณโดยกระทำกับตนเอง มิใช่กับท่านโดยตรง
ในข้อที่สี่ พ่อแม่ปรารถนาจะมอบทรัพย์สมบัติที่ท่านเพียรหาและเก็บออมมาด้วยน้ำพักน้ำแรงให้กับเรา เราก็ต้องประพฤติตนให้ดีควรแก่การรับมรดก ไม่ใช่อยู่เพื่อหวังมรดก ไม่เกะกะเหลวไหล ไม่สุรุ่ยสุร่ายผลาญทรัพย์สมบัติที่ท่านมอบให้ ทรัพย์สมบัตินี้ยังหมายรวมถึง ความรู้หรือคำสั่งสอนที่ท่านได้ให้โดยตรง หรือที่ท่านทำงานอาบเหงื่อต่างน้ำ ส่งเสียให้เราได้ศึกษาเล่าเรียนจนจบ มีงานทำ การใช้ความรู้ไปในทางที่ผิด ให้โทษแก่ผู้อื่น ก็ถือว่าเป็นการผลาญทรัพย์สมบัติที่ท่านให้ไว้เช่นกัน
ในข้อที่ห้า เมื่อท่านล่วงลับไปแล้ว ก็ทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้อย่างสม่ำเสมอ แม้ท่านจะเกิดในภูมิที่สูงกว่าหรือไม่สามารถรับกุศลได้ การระลึกและแผ่เมตตาจิตให้แก่พ่อแม่ ก็ถือเป็นมงคลอันประเสริฐกับตนเอง
ขอความสุขสวัสดีจงมีแด่บุตรธิดาทุกท่าน...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR)
ผมยังดีใจอยู่ว่าชาวไทย (รวมถึงชาวตะวันออกฟากเอเชียด้วยกันหลายประเทศ) ยังมีความผูกพันและดูแลซึ่งกันและกันฉันท์ครอบครัวอยู่มาก แต่ก็น่าเป็นห่วงว่าคนรุ่นหนุ่มสาวยุคนี้มีแนวโน้มที่จะใช้ชีวิตแบบครอบครัวเชิงเดี่ยวเพิ่มสูงขึ้น เช่น เมื่อแต่งงานก็แยกออกไปใช้ชีวิตร่วมกันไม่ได้อาศัยอยู่กับพ่อแม่ หรือสภาพการงานบังคับให้ต้องจากรกรากเดิมมาใช้ชีวิตในเมืองใกล้ที่ทำงาน ทำให้ความสัมพันธ์กับพ่อแม่มิได้ใกล้ชิดเหมือนแต่ก่อน
แม้คนไทยจะยังมีการปลูกฝังถ่ายทอดเรื่องความกตัญญู (รู้คุณ) กตเวทิตา (แทนคุณ) ต่อผู้มีพระคุณจากรุ่นสู่รุ่นได้ค่อนข้างดี จนมีภาพสะท้อนเป็นที่รับรู้กันว่าสังคมไทยนั้นเป็นสังคมที่มีความเกื้อกูล เป็นสังคมอุปถัมภ์ แต่ด้วยสภาพครอบครัวและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะครอบครัวเชิงเดี่ยวที่สมาชิกแต่ละรุ่น (ปู่ย่า ตายาย พ่อแม่ ลูก หลาน) ไม่ได้อาศัยอยู่รวมกัน การตอบแทนคุณบิดามารดาจึงมีเงื่อนไขเรื่องระยะทางและเวลามาเกี่ยวข้องอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ในหลักธรรมเรื่องทิศ 6 บุตรธิดาพึงบำรุงมารดาบิดา ผู้เป็นทิศเบื้องหน้า ดังนี้ 1) ท่านเลี้ยงเรามาแล้ว เลี้ยงท่านตอบ 2) ช่วยทำการงานของท่าน 3) ดำรงวงศ์สกุล 4) ประพฤติตนให้เหมาะสมกับความเป็นทายาท 5) เมื่อท่านล่วงลับไปแล้ว ทำบุญอุทิศให้ท่าน
ในข้อแรก การแทนคุณของหนุ่มสาวสมัยใหม่ คือ การให้เงินท่าน สิ้นเดือนเงินเดือนออก ก็จัดสรรเงินส่วนหนึ่งมอบให้ท่านไว้จับจ่ายใช้สอย ความรับผิดชอบต่อมารดา (ครม.) ที่อยากให้สำรวจและปรับปรุงเพิ่มเติม คือ เอาใจใส่ในการกินอยู่หลับนอนของท่าน ไม่ให้เดือดร้อนหรือลำบาก จัดหาเครื่องใช้ไม้สอยหรือเครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆ ตามอายุขัยของท่านที่เพิ่มขึ้น หรือยามเจ็บไข้ก็เป็นธุระจัดแจงเรื่องหมอ หยูกยาต่างๆ และปรนนิบัติให้ท่านหายหรือทุเลาจากเจ็บป่วย
ในข้อที่สอง เป็นเรื่องการแบ่งเบาภาระทั้งการงานและการบ้าน ทำธุระที่ท่านไหว้วานโดยไม่อิดออดบิดพลิ้ว อาสาที่จะช่วยเหลือกิจการงานของท่านโดยไม่ต้องรอให้ท่านร้องขอ เพื่อให้ท่านได้มีโอกาสพักผ่อนเพิ่มขึ้น
ในข้อที่สาม เป็นเรื่องที่ท่านอยากเห็นเราสืบทอดสกุล รักษาเกียรติคุณความดีแห่งวงศ์ตระกูลให้ยั่งยืน ไม่ทำให้เสื่อมเสีย ด้วยการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ดำรงชีวิตในทางดีหรือในทางที่ชอบที่ควร ข้อนี้เป็นการตอบแทนคุณโดยกระทำกับตนเอง มิใช่กับท่านโดยตรง
ในข้อที่สี่ พ่อแม่ปรารถนาจะมอบทรัพย์สมบัติที่ท่านเพียรหาและเก็บออมมาด้วยน้ำพักน้ำแรงให้กับเรา เราก็ต้องประพฤติตนให้ดีควรแก่การรับมรดก ไม่ใช่อยู่เพื่อหวังมรดก ไม่เกะกะเหลวไหล ไม่สุรุ่ยสุร่ายผลาญทรัพย์สมบัติที่ท่านมอบให้ ทรัพย์สมบัตินี้ยังหมายรวมถึง ความรู้หรือคำสั่งสอนที่ท่านได้ให้โดยตรง หรือที่ท่านทำงานอาบเหงื่อต่างน้ำ ส่งเสียให้เราได้ศึกษาเล่าเรียนจนจบ มีงานทำ การใช้ความรู้ไปในทางที่ผิด ให้โทษแก่ผู้อื่น ก็ถือว่าเป็นการผลาญทรัพย์สมบัติที่ท่านให้ไว้เช่นกัน
ในข้อที่ห้า เมื่อท่านล่วงลับไปแล้ว ก็ทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้อย่างสม่ำเสมอ แม้ท่านจะเกิดในภูมิที่สูงกว่าหรือไม่สามารถรับกุศลได้ การระลึกและแผ่เมตตาจิตให้แก่พ่อแม่ ก็ถือเป็นมงคลอันประเสริฐกับตนเอง
ขอความสุขสวัสดีจงมีแด่บุตรธิดาทุกท่าน...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR)
Thursday, August 04, 2011
เลือกกิจกรรม (ที่ใช่) เพื่อสังคม (ที่ชอบ)
การดำเนินกิจกรรม (Activities) ความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ (CSR) ในหลายกรณี มิได้เป็นไปตามวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ที่องค์กรธุรกิจกำหนดไว้ ทั้งนี้อาจเนื่องมาจาก กิจกรรมเหล่านั้นมีมาก่อนที่องค์กรนั้นๆ จะได้ริเริ่มจัดทำนโยบายหรือแผนยุทธศาสตร์ความรับผิดชอบต่อสังคม และอีกกรณีหนึ่ง เป็นการดำเนินกิจกรรม CSR ที่มีความซ้ำซ้อนกันระหว่างหน่วยงานในองค์กร ทำให้เกิดโอกาสที่กิจกรรม CSR จำนวนหลายกิจกรรม ถูกดำเนินไปเพียงเพื่อตอบสนองในวัตถุประสงค์ข้อเดียวกัน ส่งผลให้การดำเนินกิจกรรม CSR ขององค์กรไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร
เพื่อให้ได้มาซึ่งประสิทธิภาพในการดำเนินกิจกรรม CSR องค์กรควรเฟ้นหาหรือยกระดับกิจกรรมที่ดำเนินอยู่เพื่อให้สามารถสนองตอบต่อวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ได้ในหลายๆ ข้อ และพิจารณายุบหรือควบรวมกิจกรรม CSR ที่มีความซ้ำซ้อนกัน เพื่อมิให้จำนวนกิจกรรม CSR ที่ตอบสนองเพียงวัตถุประสงค์ในข้อใดข้อหนึ่งมีปริมาณมากเกิน จนกลายเป็นภาระหรือเป็นอุปสรรคต่อการบริหารดูแล และกลายเป็นว่า แทนที่จะใช้งบประมาณหรือทรัพยากรไปเพื่อประโยชน์ในการดำเนินกิจกรรม CSR แก่กลุ่มเป้าหมาย กลับต้องมาใช้เป็นต้นทุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน หรือค่าบริหารจัดการสำหรับผู้ดำเนินงานเป็นหลัก
ในหลายกิจกรรมที่เป็นงานในกระบวนการธุรกิจ หรือที่เข้าข่าย CSR-in-process องค์กรสามารถขับเคลื่อนกิจกรรมดังกล่าวผ่านทางสายงานที่รับผิดชอบ ภายใต้โครงสร้างหรือผังองค์กรที่เป็นปัจจุบันโดยปราศจากการจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติม หรือพูดอย่างง่ายคือ เป็นกิจกรรมที่ไม่ต้องใช้เงิน แต่เป็นการปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานที่สะท้อนให้เห็นการคำนึงถึงผลกระทบเชิงลบที่มีต่อสังคมอย่างครบถ้วนรอบด้านยิ่งขึ้น
ขณะที่ในบางกิจกรรม ซึ่งอยู่นอกกระบวนการธุรกิจ หรือที่เข้าข่าย CSR-after-process องค์กรอาจต้องตั้งเป็นโครงการเฉพาะกิจ อาจต้องดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานอื่น หรืออาจต้องมอบหมายให้หน่วยงานภายนอกดำเนินการให้ ซึ่งแน่นอนว่าต้องมีการจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมในการดำเนินงาน การขับเคลื่อนกิจกรรมดังกล่าว องค์กรควรคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของพนักงาน และผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่เริ่มดำเนินงาน เพื่อเพิ่มโอกาสความสำเร็จในกิจกรรม
นอกจากนี้ องค์กรพึงตรวจสอบความเกี่ยวเนื่องกันระหว่างวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์กับกิจกรรม CSR ที่ดำเนินการอยู่ หรือที่กำลังจะดำเนินการ ว่ามีความสัมพันธ์กันมากน้อยเพียงใด ทั้งนี้ เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้ทรัพยากรในการดำเนินกิจกรรม CSR อย่างไม่คุ้มค่า และไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่สังคมตรงตามวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งไว้
ในทางปฏิบัติ องค์กรอาจมีการปรับปรุงวิสัยทัศน์และพันธกิจขององค์กรรวมถึงเป้าประสงค์และนโยบายการดำเนินงาน CSR ขององค์กร ตลอดจนกระทบสู่วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ CSR ดังนั้นการปรับเปลี่ยนตัวชี้วัดการดำเนินงาน และการทบทวนกิจกรรม CSR จึงเป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้ ที่จะต้องดำเนินการให้สอดคล้องต้องกันและอย่างทันท่วงที
ประเด็นที่พบเห็นได้ส่วนใหญ่ ในกรณีที่องค์กรได้มีการปรับเปลี่ยนเป้าประสงค์ นโยบาย และวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ CSR ไประยะหนึ่งแล้ว แต่สายงานก็ยังคงดำเนินกิจกรรม CSR เดิม ตามวัตถุประสงค์เก่า ทำให้การขับเคลื่อน CSR ไม่ตอบโจทย์ขององค์กรตามที่ควรจะเป็น คำถามที่เกิดขึ้นตามมาสำหรับเจ้าของกิจการหรือผู้ประเมินก็คือ กิจกรรม CSR ที่ดำเนินการอยู่นี้ ใช่สิ่งที่องค์กรควรทำหรือไม่ หรือเหมาะสมดีแล้วหรือไม่ หรือก่อให้เกิดคุณค่าจริงหรือไม่
เพียงเท่านี้ ท่านก็จะได้แนวการดำเนินกิจกรรม CSR ที่ตรงกับเจตนารมณ์ขององค์กร และสร้างคุณค่าให้แก่สังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพจริงๆ...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
เพื่อให้ได้มาซึ่งประสิทธิภาพในการดำเนินกิจกรรม CSR องค์กรควรเฟ้นหาหรือยกระดับกิจกรรมที่ดำเนินอยู่เพื่อให้สามารถสนองตอบต่อวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ได้ในหลายๆ ข้อ และพิจารณายุบหรือควบรวมกิจกรรม CSR ที่มีความซ้ำซ้อนกัน เพื่อมิให้จำนวนกิจกรรม CSR ที่ตอบสนองเพียงวัตถุประสงค์ในข้อใดข้อหนึ่งมีปริมาณมากเกิน จนกลายเป็นภาระหรือเป็นอุปสรรคต่อการบริหารดูแล และกลายเป็นว่า แทนที่จะใช้งบประมาณหรือทรัพยากรไปเพื่อประโยชน์ในการดำเนินกิจกรรม CSR แก่กลุ่มเป้าหมาย กลับต้องมาใช้เป็นต้นทุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน หรือค่าบริหารจัดการสำหรับผู้ดำเนินงานเป็นหลัก
ในหลายกิจกรรมที่เป็นงานในกระบวนการธุรกิจ หรือที่เข้าข่าย CSR-in-process องค์กรสามารถขับเคลื่อนกิจกรรมดังกล่าวผ่านทางสายงานที่รับผิดชอบ ภายใต้โครงสร้างหรือผังองค์กรที่เป็นปัจจุบันโดยปราศจากการจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติม หรือพูดอย่างง่ายคือ เป็นกิจกรรมที่ไม่ต้องใช้เงิน แต่เป็นการปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานที่สะท้อนให้เห็นการคำนึงถึงผลกระทบเชิงลบที่มีต่อสังคมอย่างครบถ้วนรอบด้านยิ่งขึ้น
ขณะที่ในบางกิจกรรม ซึ่งอยู่นอกกระบวนการธุรกิจ หรือที่เข้าข่าย CSR-after-process องค์กรอาจต้องตั้งเป็นโครงการเฉพาะกิจ อาจต้องดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานอื่น หรืออาจต้องมอบหมายให้หน่วยงานภายนอกดำเนินการให้ ซึ่งแน่นอนว่าต้องมีการจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมในการดำเนินงาน การขับเคลื่อนกิจกรรมดังกล่าว องค์กรควรคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของพนักงาน และผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่เริ่มดำเนินงาน เพื่อเพิ่มโอกาสความสำเร็จในกิจกรรม
นอกจากนี้ องค์กรพึงตรวจสอบความเกี่ยวเนื่องกันระหว่างวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์กับกิจกรรม CSR ที่ดำเนินการอยู่ หรือที่กำลังจะดำเนินการ ว่ามีความสัมพันธ์กันมากน้อยเพียงใด ทั้งนี้ เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้ทรัพยากรในการดำเนินกิจกรรม CSR อย่างไม่คุ้มค่า และไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่สังคมตรงตามวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งไว้
ในทางปฏิบัติ องค์กรอาจมีการปรับปรุงวิสัยทัศน์และพันธกิจขององค์กรรวมถึงเป้าประสงค์และนโยบายการดำเนินงาน CSR ขององค์กร ตลอดจนกระทบสู่วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ CSR ดังนั้นการปรับเปลี่ยนตัวชี้วัดการดำเนินงาน และการทบทวนกิจกรรม CSR จึงเป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้ ที่จะต้องดำเนินการให้สอดคล้องต้องกันและอย่างทันท่วงที
ประเด็นที่พบเห็นได้ส่วนใหญ่ ในกรณีที่องค์กรได้มีการปรับเปลี่ยนเป้าประสงค์ นโยบาย และวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ CSR ไประยะหนึ่งแล้ว แต่สายงานก็ยังคงดำเนินกิจกรรม CSR เดิม ตามวัตถุประสงค์เก่า ทำให้การขับเคลื่อน CSR ไม่ตอบโจทย์ขององค์กรตามที่ควรจะเป็น คำถามที่เกิดขึ้นตามมาสำหรับเจ้าของกิจการหรือผู้ประเมินก็คือ กิจกรรม CSR ที่ดำเนินการอยู่นี้ ใช่สิ่งที่องค์กรควรทำหรือไม่ หรือเหมาะสมดีแล้วหรือไม่ หรือก่อให้เกิดคุณค่าจริงหรือไม่
เพียงเท่านี้ ท่านก็จะได้แนวการดำเนินกิจกรรม CSR ที่ตรงกับเจตนารมณ์ขององค์กร และสร้างคุณค่าให้แก่สังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพจริงๆ...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
Thursday, July 28, 2011
จะได้เสียกับใครดี
เรื่องสำคัญอันดับต้นๆ ของการวางกลยุทธ์ความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ (CSR) เรื่องหนึ่งได้แก่ การสร้างข้อผูกพันร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholder Engagement) ด้วยสาเหตุที่องค์กรควรต้องทราบว่า ‘ใคร’ คือบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่มีส่วนได้เสียกับกิจการ จำต้องระแวดระวังมิให้มีผลกระทบเชิงลบที่อาจก่อให้เกิดปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน จากนั้นจึงจะทราบว่า ‘อะไร’ ที่องค์กรต้องดำเนินการต่อผู้มีส่วนได้เสียเหล่านั้น
การระบุผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholder Identification) อาจใช้เกณฑ์ความเกี่ยวข้องกับองค์กรในการพิจารณา ซึ่งสามารถจำแนกผู้มีส่วนได้เสียออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
• ผู้มีส่วนได้เสียหลัก (Primary Stakeholders) คือ กลุ่มผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องใกล้ชิดกับธุรกิจโดยตรง เป็นผู้ที่ได้รับประโยชน์หรือผลกระทบทางตรงจากการประกอบธุรกิจ เช่น ลูกค้า คู่ค้า ผู้ส่งมอบ (Suppliers) พนักงานและครอบครัวของพนักงาน ผู้ถือหุ้น นักลงทุน เจ้าหนี้ ชุมชนรอบถิ่นที่ตั้งของธุรกิจ
• ผู้มีส่วนได้เสียรอง (Secondary Stakeholders) คือกลุ่มผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกิจโดยอ้อม เป็นผู้ที่ได้รับประโยชน์หรือผลกระทบทางอ้อมจากการประกอบธุรกิจ เช่น รัฐบาล หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ สมาคมการค้า กลุ่มวิชาชีพ องค์กรพัฒนาเอกชน (NGOs) ผู้ที่จะมาเป็นลูกค้าหรือพนักงานของธุรกิจในอนาคต (Prospects) ประชาชนทั่วไป ชุมชนนอกถิ่นที่ตั้งของธุรกิจ
องค์กรธุรกิจไม่มีความจำเป็นต้องดำเนินกิจกรรม CSR ให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียในทุกกลุ่มพร้อมกัน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับลักษณะของธุรกิจ ขนาดของกิจการ และความพร้อมขององค์กร สำหรับธุรกิจที่มีกระบวนการผลิตซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อาจต้องให้ความสำคัญกับชุมชนหรือระบบนิเวศที่อยู่รายรอบโรงงานเป็นพิเศษ สำหรับกิจการขนาดเล็กที่ต้องอาศัยพนักงานเป็นหัวใจแห่งความสำเร็จ อาจต้องสร้างกิจกรรม CSR เพื่อครอบครัวของพนักงานเป็นสำคัญ
สำหรับองค์กรที่ฝากความสำเร็จไว้กับสายอุปทาน (Supply Chain) ที่ผู้ส่งมอบ หรือที่หน่วยกระจายสินค้า อาจต้องคำนึงถึงกิจกรรม CSR กับคู่ค้าเป็นอันดับต้นๆ
บรรษัทการเงินระหว่างประเทศในสังกัดกลุ่มธนาคารโลก (International Finance Corporation, 2007) ได้กล่าวถึง หลักเกณฑ์ที่ใช้ระบุกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียสำหรับการดำเนินกิจกรรม CSR ขององค์กรไว้เป็น 2 แนวทางด้วยกัน คือ
กลุ่มที่ได้รับผล หรือถูกรบกวนจากการดำเนินงานขององค์กร (Affected Parties) และ กลุ่มที่เสียงดังหรือมีความสนใจต่อการดำเนินงานขององค์กร (Interest Parties) แม้จะไม่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินงานขององค์กรก็ตาม พร้อมกับแนะนำต่อด้วยว่า ให้หลีกเลี่ยงการข้องแวะกับกลุ่มที่เสี่ยงต่อการหยิบยกประเด็นที่ดำเนินการไปถกเถียงในเวทีสาธารณะ อาทิ สื่อ หรือกระบวนการทางการเมือง
อย่างไรก็ดี พึงสังวรณ์ว่าการระบุกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียในลักษณะข้างต้น มุ่งที่จะรักษาคุณค่าขององค์กร (Corporate Value) เป็นสำคัญ ด้วยเหตุนี้ กลุ่มผู้มีส่วนได้เสียที่มีเสียงค่อย หรือกลุ่มที่อยู่ในพื้นที่ชนบทห่างไกล หรือกลุ่มคนชั้นฐานล่างสุด (Bottom of Pyramid) ซึ่งสมควรได้รับความช่วยเหลือเป็นลำดับต้นๆ อาจไม่ปรากฏอยู่ในการจัดทำแผนที่ผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholder Mapping) สำหรับกิจกรรม CSR
องค์กรธุรกิจที่ประกอบการในไทย และในประเทศกำลังพัฒนา จึงควรคำนึงถึง ไม่เฉพาะผู้ได้รับผลกระทบ หรือผู้ที่ให้ความสนใจในการดำเนินงานขององค์กรเท่านั้น แต่ให้รวมถึงผู้ที่ยังมีความขาดแคลนและคาดหวังที่จะได้รับการตอบสนองจากองค์กร (Deficient Parties) ด้วยการดำเนินกิจกรรม CSR ขององค์กร ซึ่งจะเป็นการสร้างคุณค่าร่วม (Shared Value) ระหว่างองค์กรและสังคมไปพร้อมๆ กัน...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
การระบุผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholder Identification) อาจใช้เกณฑ์ความเกี่ยวข้องกับองค์กรในการพิจารณา ซึ่งสามารถจำแนกผู้มีส่วนได้เสียออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
• ผู้มีส่วนได้เสียหลัก (Primary Stakeholders) คือ กลุ่มผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องใกล้ชิดกับธุรกิจโดยตรง เป็นผู้ที่ได้รับประโยชน์หรือผลกระทบทางตรงจากการประกอบธุรกิจ เช่น ลูกค้า คู่ค้า ผู้ส่งมอบ (Suppliers) พนักงานและครอบครัวของพนักงาน ผู้ถือหุ้น นักลงทุน เจ้าหนี้ ชุมชนรอบถิ่นที่ตั้งของธุรกิจ
• ผู้มีส่วนได้เสียรอง (Secondary Stakeholders) คือกลุ่มผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกิจโดยอ้อม เป็นผู้ที่ได้รับประโยชน์หรือผลกระทบทางอ้อมจากการประกอบธุรกิจ เช่น รัฐบาล หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ สมาคมการค้า กลุ่มวิชาชีพ องค์กรพัฒนาเอกชน (NGOs) ผู้ที่จะมาเป็นลูกค้าหรือพนักงานของธุรกิจในอนาคต (Prospects) ประชาชนทั่วไป ชุมชนนอกถิ่นที่ตั้งของธุรกิจ
องค์กรธุรกิจไม่มีความจำเป็นต้องดำเนินกิจกรรม CSR ให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียในทุกกลุ่มพร้อมกัน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับลักษณะของธุรกิจ ขนาดของกิจการ และความพร้อมขององค์กร สำหรับธุรกิจที่มีกระบวนการผลิตซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อาจต้องให้ความสำคัญกับชุมชนหรือระบบนิเวศที่อยู่รายรอบโรงงานเป็นพิเศษ สำหรับกิจการขนาดเล็กที่ต้องอาศัยพนักงานเป็นหัวใจแห่งความสำเร็จ อาจต้องสร้างกิจกรรม CSR เพื่อครอบครัวของพนักงานเป็นสำคัญ
สำหรับองค์กรที่ฝากความสำเร็จไว้กับสายอุปทาน (Supply Chain) ที่ผู้ส่งมอบ หรือที่หน่วยกระจายสินค้า อาจต้องคำนึงถึงกิจกรรม CSR กับคู่ค้าเป็นอันดับต้นๆ
บรรษัทการเงินระหว่างประเทศในสังกัดกลุ่มธนาคารโลก (International Finance Corporation, 2007) ได้กล่าวถึง หลักเกณฑ์ที่ใช้ระบุกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียสำหรับการดำเนินกิจกรรม CSR ขององค์กรไว้เป็น 2 แนวทางด้วยกัน คือ
กลุ่มที่ได้รับผล หรือถูกรบกวนจากการดำเนินงานขององค์กร (Affected Parties) และ กลุ่มที่เสียงดังหรือมีความสนใจต่อการดำเนินงานขององค์กร (Interest Parties) แม้จะไม่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินงานขององค์กรก็ตาม พร้อมกับแนะนำต่อด้วยว่า ให้หลีกเลี่ยงการข้องแวะกับกลุ่มที่เสี่ยงต่อการหยิบยกประเด็นที่ดำเนินการไปถกเถียงในเวทีสาธารณะ อาทิ สื่อ หรือกระบวนการทางการเมือง
อย่างไรก็ดี พึงสังวรณ์ว่าการระบุกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียในลักษณะข้างต้น มุ่งที่จะรักษาคุณค่าขององค์กร (Corporate Value) เป็นสำคัญ ด้วยเหตุนี้ กลุ่มผู้มีส่วนได้เสียที่มีเสียงค่อย หรือกลุ่มที่อยู่ในพื้นที่ชนบทห่างไกล หรือกลุ่มคนชั้นฐานล่างสุด (Bottom of Pyramid) ซึ่งสมควรได้รับความช่วยเหลือเป็นลำดับต้นๆ อาจไม่ปรากฏอยู่ในการจัดทำแผนที่ผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholder Mapping) สำหรับกิจกรรม CSR
องค์กรธุรกิจที่ประกอบการในไทย และในประเทศกำลังพัฒนา จึงควรคำนึงถึง ไม่เฉพาะผู้ได้รับผลกระทบ หรือผู้ที่ให้ความสนใจในการดำเนินงานขององค์กรเท่านั้น แต่ให้รวมถึงผู้ที่ยังมีความขาดแคลนและคาดหวังที่จะได้รับการตอบสนองจากองค์กร (Deficient Parties) ด้วยการดำเนินกิจกรรม CSR ขององค์กร ซึ่งจะเป็นการสร้างคุณค่าร่วม (Shared Value) ระหว่างองค์กรและสังคมไปพร้อมๆ กัน...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
Thursday, July 21, 2011
กลยุทธ์นัดเดียวได้นกสองตัว
กลยุทธ์ (Strategy) มีความสำคัญในระดับที่สามารถกำหนดความสำเร็จของธุรกิจที่ดำเนินอยู่ กลยุทธ์ที่ดีจะต้องสามารถตอบสนองต่อวัตถุประสงค์ที่กำหนดและสร้างให้เกิดคุณค่าในระดับที่ก่อให้เกิดผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อธุรกิจ มิใช่เพียงสนับสนุนให้ธุรกิจขับเคลื่อนไปได้ในแต่ละวัน
การผนวกเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ (CSR) ไว้ในกลยุทธ์องค์กร จะทำให้องค์กรเห็นภาพรวม (Holistic View) และแนวการดำเนินงานทั้งทางธุรกิจและทางสังคม ตลอดจนจุดเน้นขององค์กรให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันได้อย่างเป็นเอกภาพ
การที่องค์กรมีการจัดทำแผนที่กลยุทธ์ จะช่วยให้สามารถตรวจสอบความสมบูรณ์และความสัมพันธ์ของกลยุทธ์ในเชิงเหตุและผลระหว่างมุมมองต่างๆ โดยแผนที่กลยุทธ์องค์กรที่ครอบคลุมการดำเนินงานทั้งทางธุรกิจและทางสังคม ควรตั้งอยู่บนหลักการที่ว่า
กลยุทธ์จะต้องส่งมอบคุณค่าที่ไม่จำกัดเฉพาะแต่เพียงผู้ถือหุ้น (Shareholders) แต่ยังคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่างๆ (Stakeholders) การที่กลยุทธ์ขององค์กรถูกออกแบบเพื่อตอบสนองคุณค่าให้แก่ผู้ถือหุ้นเพียงลำพัง อาจไม่เพียงพอต่อการทำให้องค์กรเป็นที่ยอมรับของสังคม ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความยั่งยืนของกิจการ ฉะนั้นการวางน้ำหนักกลยุทธ์ขององค์กรจึงต้องสร้างให้เกิดความสมดุลระหว่างวัตถุประสงค์ด้านการเงินและวัตถุประสงค์นอกเหนือด้านการเงิน อาทิ การเพิ่มความน่าเชื่อถือขององค์กร หรือการลดข้อขัดแย้งและกรณีพิพาทที่ส่งผลกระทบต่อองค์กร
กลยุทธ์จะต้องขยายการรับรู้ถึงสิ่งที่ลูกค้าต้องการ (Customer Value Proposition) ไปสู่สิ่งที่สังคมต้องการ (Social Value Proposition) เนื่องจากคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์ที่นอกเหนือจากด้านราคา คุณภาพ หาง่าย เหมาะเจาะ ถูกใจ บริการดี เป็นที่แพร่หลาย และน่าเชื่อถือสำหรับลูกค้าแล้ว ยังต้องคำนึงถึงสุขภาพ ความปลอดภัย ความลับและความเป็นส่วนตัว สิทธิมนุษยชน การปฏิบัติด้านแรงงาน การปฏิบัติทางสัญญาที่เป็นธรรม และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นสิ่งที่สังคมส่วนรวมคาดหวังด้วย การวางกลยุทธ์ขององค์กรจึงต้องให้ความสำคัญกับสิ่งที่สังคมหรือผู้บริโภคโดยรวมต้องการ ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าสิ่งที่ลูกค้าเฉพาะกลุ่มเป้าหมายต้องการ
กลยุทธ์จะต้องสร้างให้เกิดคุณค่าด้วยกระบวนการภายในองค์กร (Internal Processes) และกระบวนการภายนอกองค์กร (External Processes) องค์กรควรมุ่งเน้นการสร้างคุณค่าด้วยการบริหารการดำเนินงานการผลิตและส่งมอบสินค้าและบริการสู่ลูกค้า การบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า การคิดค้นนวัตกรรมในผลิตภัณฑ์ บริการ กระบวนการ และสัมพันธภาพ การปฏิบัติตามกฎระเบียบ และความคาดหวังทางสังคม รวมทั้งการเสริมสร้างชุมชนให้เข้มแข็งขึ้น ตลอดจนการริเริ่มดำเนินกิจกรรม CSR ร่วมกับองค์กรของผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่างๆ และการสื่อสารสู่ภายนอก
กลยุทธ์จะต้องส่งเสริมการเรียนรู้และนำไปสู่การเจริญเติบโต (Learning and Growth) ควบคู่กับการสร้างเสริมศีลธรรมและนำไปสู่ความยั่งยืน (Morality and Sustainability) กิจการจะต้องสร้างสมทุนที่เอื้อต่อการพัฒนาให้เป็นองค์กรที่ “เก่ง” และเป็นองค์กรที่ “ดี” ซึ่งประกอบด้วยทุนหลัก 6 ประเภท ได้แก่ มนุษย์ สารสนเทศ องค์กร คุณธรรม สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยที่ทุนเหล่านี้ไม่อาจที่จะแยกวัดมูลค่าหรือประเมินคุณค่าได้โดยอิสระต่อกัน
การคำนึงถึงหลักการทั้ง 4 ข้อข้างต้น ในการจัดทำแผนที่กลยุทธ์จะช่วยลดความเสี่ยงต่อความล้มเหลวในการดำเนินงานที่มีสาเหตุจากการละเลยปัจจัยที่เป็นเหตุเป็นผลระหว่างกัน อาทิ การมองข้ามการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมแก่พนักงาน การขาดกระบวนการสื่อสารประชาสัมพันธ์ที่มีประสิทธิภาพ การริเริ่มดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมภายนอกที่ไม่สัมพันธ์กับคุณค่าที่สังคมต้องการ...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
การผนวกเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ (CSR) ไว้ในกลยุทธ์องค์กร จะทำให้องค์กรเห็นภาพรวม (Holistic View) และแนวการดำเนินงานทั้งทางธุรกิจและทางสังคม ตลอดจนจุดเน้นขององค์กรให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันได้อย่างเป็นเอกภาพ
การที่องค์กรมีการจัดทำแผนที่กลยุทธ์ จะช่วยให้สามารถตรวจสอบความสมบูรณ์และความสัมพันธ์ของกลยุทธ์ในเชิงเหตุและผลระหว่างมุมมองต่างๆ โดยแผนที่กลยุทธ์องค์กรที่ครอบคลุมการดำเนินงานทั้งทางธุรกิจและทางสังคม ควรตั้งอยู่บนหลักการที่ว่า
กลยุทธ์จะต้องส่งมอบคุณค่าที่ไม่จำกัดเฉพาะแต่เพียงผู้ถือหุ้น (Shareholders) แต่ยังคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่างๆ (Stakeholders) การที่กลยุทธ์ขององค์กรถูกออกแบบเพื่อตอบสนองคุณค่าให้แก่ผู้ถือหุ้นเพียงลำพัง อาจไม่เพียงพอต่อการทำให้องค์กรเป็นที่ยอมรับของสังคม ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความยั่งยืนของกิจการ ฉะนั้นการวางน้ำหนักกลยุทธ์ขององค์กรจึงต้องสร้างให้เกิดความสมดุลระหว่างวัตถุประสงค์ด้านการเงินและวัตถุประสงค์นอกเหนือด้านการเงิน อาทิ การเพิ่มความน่าเชื่อถือขององค์กร หรือการลดข้อขัดแย้งและกรณีพิพาทที่ส่งผลกระทบต่อองค์กร
กลยุทธ์จะต้องขยายการรับรู้ถึงสิ่งที่ลูกค้าต้องการ (Customer Value Proposition) ไปสู่สิ่งที่สังคมต้องการ (Social Value Proposition) เนื่องจากคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์ที่นอกเหนือจากด้านราคา คุณภาพ หาง่าย เหมาะเจาะ ถูกใจ บริการดี เป็นที่แพร่หลาย และน่าเชื่อถือสำหรับลูกค้าแล้ว ยังต้องคำนึงถึงสุขภาพ ความปลอดภัย ความลับและความเป็นส่วนตัว สิทธิมนุษยชน การปฏิบัติด้านแรงงาน การปฏิบัติทางสัญญาที่เป็นธรรม และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นสิ่งที่สังคมส่วนรวมคาดหวังด้วย การวางกลยุทธ์ขององค์กรจึงต้องให้ความสำคัญกับสิ่งที่สังคมหรือผู้บริโภคโดยรวมต้องการ ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าสิ่งที่ลูกค้าเฉพาะกลุ่มเป้าหมายต้องการ
กลยุทธ์จะต้องสร้างให้เกิดคุณค่าด้วยกระบวนการภายในองค์กร (Internal Processes) และกระบวนการภายนอกองค์กร (External Processes) องค์กรควรมุ่งเน้นการสร้างคุณค่าด้วยการบริหารการดำเนินงานการผลิตและส่งมอบสินค้าและบริการสู่ลูกค้า การบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า การคิดค้นนวัตกรรมในผลิตภัณฑ์ บริการ กระบวนการ และสัมพันธภาพ การปฏิบัติตามกฎระเบียบ และความคาดหวังทางสังคม รวมทั้งการเสริมสร้างชุมชนให้เข้มแข็งขึ้น ตลอดจนการริเริ่มดำเนินกิจกรรม CSR ร่วมกับองค์กรของผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่างๆ และการสื่อสารสู่ภายนอก
กลยุทธ์จะต้องส่งเสริมการเรียนรู้และนำไปสู่การเจริญเติบโต (Learning and Growth) ควบคู่กับการสร้างเสริมศีลธรรมและนำไปสู่ความยั่งยืน (Morality and Sustainability) กิจการจะต้องสร้างสมทุนที่เอื้อต่อการพัฒนาให้เป็นองค์กรที่ “เก่ง” และเป็นองค์กรที่ “ดี” ซึ่งประกอบด้วยทุนหลัก 6 ประเภท ได้แก่ มนุษย์ สารสนเทศ องค์กร คุณธรรม สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยที่ทุนเหล่านี้ไม่อาจที่จะแยกวัดมูลค่าหรือประเมินคุณค่าได้โดยอิสระต่อกัน
การคำนึงถึงหลักการทั้ง 4 ข้อข้างต้น ในการจัดทำแผนที่กลยุทธ์จะช่วยลดความเสี่ยงต่อความล้มเหลวในการดำเนินงานที่มีสาเหตุจากการละเลยปัจจัยที่เป็นเหตุเป็นผลระหว่างกัน อาทิ การมองข้ามการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมแก่พนักงาน การขาดกระบวนการสื่อสารประชาสัมพันธ์ที่มีประสิทธิภาพ การริเริ่มดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมภายนอกที่ไม่สัมพันธ์กับคุณค่าที่สังคมต้องการ...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
Thursday, July 14, 2011
ไทยกับบทบาท CSR ระดับอาเซียน
อีกไม่ถึง 4 ปีที่ภาคธุรกิจไทยมีเวลาเตรียมรับมือกับ การรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ขณะที่ในห้วงเวลาเดียวกัน ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASCC) ก็จะถูกจัดตั้งขึ้น และหนึ่งในเรื่องที่สำคัญก็คือ การส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมของภาคธุรกิจ (CSR) บทความตอนนี้ จะชี้ให้เห็นถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับภาคธุรกิจ และแนวการกำหนดบทบาทของภาคธุรกิจไทยในระดับอาเซียน
ปฏิเสธไม่ได้ว่าผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับภาคธุรกิจไทย มีในหลายมิติ หากพิจารณาจากแนวทางการดำเนินงาน ในมาตรการส่งเสริม CSR ตามแผนงานการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน นโยบายสาธารณะ และเครื่องมือทางกฎหมาย ที่ใช้ส่งเสริมเรื่อง CSR จะถูกกำหนดไปในแนวทางเดียวกันทั้งอาเซียน โดยมีแนวโน้มที่จะพัฒนาตามมาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคมที่เป็นสากล ทำให้ธุรกิจซึ่งทำ CSR ตามแบบของตัวเองโดยไม่ต้องอ้างอิงใคร หากต้องการให้ได้รับการยอมรับในระดับอาเซียน ก็จำต้องพิจารณานำแนวปฏิบัติ CSR ที่เป็นมาตรฐานสากลมาใช้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
เนื้อหาในนโยบายสาธารณะ เป็นอีกส่วนหนึ่งที่จะส่งผลกระทบกับภาคธุรกิจแตกต่างกันขึ้นอยู่กับผู้ที่มีบทบาทในการร่างนโยบาย ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 มิติด้วยกัน คือ มิติแรก ภาคีใดระหว่างรัฐ-เอกชนเป็นผู้มีบทบาทนำ มิติที่สอง ประเทศใดเป็นเจ้าภาพ
ในมิติแรก หากรัฐเป็นผู้นำ นโยบายก็อาจถูกให้น้ำหนักไปทาง CSR-after-process คือ มองเป็นเรื่องของสวัสดิการสังคม การร่วมพัฒนาชุมชน การบริจาค การอาสาช่วยเหลือสังคม ขณะที่เอกชนจะเข้าใจบริบทของ CSR-in-process มากกว่า คือ มองในเชิงที่สัมพันธ์กับธุรกิจ เรื่องตลาด เรื่องแรงงาน เรื่องการกำกับดูแลองค์กร เป็นต้น
ในมิติที่สอง แน่นอนว่าประเทศที่เป็นเจ้าภาพ จะใส่ความคิดที่สอดคล้องกับความต้องการที่เป็นคุณต่อตัวเองได้มาก กรณีของสิงคโปร์ที่พยายามผลักดันความคิด ผ่านเครือข่ายความรับผิดชอบต่อสังคมอาเซียนภาคเอกชน ด้วยการยกร่าง CSR Model Policy Statement ขึ้น โดยเนื้อหาส่วนใหญ่เน้นเรื่องสิ่งแวดล้อม เรื่องแรงงาน เรื่องการต้านทุจริต และเรื่องสิทธิมนุษยชน แต่ขาดประเด็นด้านผู้บริโภค การพัฒนาชุมชน หรือเรื่องที่ประเทศไทยให้ความสำคัญคือ นวัตกรรมในการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคม
ดังนั้น หากไทยต้องการจะเล่นบทบาทนำเรื่อง CSR ในอาเซียน เราคงจะต้องวางกลยุทธ์เชิงรุกในการผลักดันความคิดต่อนโยบาย ที่จะเป็นตัวแบบด้าน CSR ของอาเซียนให้มากกว่านี้
สำหรับแนวการกำหนดบทบาทของภาคธุรกิจไทยในระดับอาเซียน ต้องถามภาคธุรกิจว่า ต้องการจะเป็นองค์กรธุรกิจชั้นนำในภูมิภาคหรือไม่ ถ้าคำตอบคือ ใช่ และวันนี้ก็มีองค์กรธุรกิจไทยหลายแห่งกำหนดวิสัยทัศน์ไว้อย่างนี้ การวางกลยุทธ์เรื่อง CSR ก็เป็นวาระสำคัญ เพราะการคิดเรื่อง CSR ในวันนี้ ไม่ใช่เรื่องของการสงเคราะห์สังคมอย่างเดียว แต่เป็นเรื่องของการเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน
ตัวอย่างเช่น หากกิจการของเราต้องย้ายฐานการผลิตไปอยู่ในประเทศเพื่อนบ้าน แต่ไม่มีโมเดลหรือไม่รู้วิธีในการบริหารความสัมพันธ์กับชุมชนท้องถิ่น เขาก็อาจจะต่อต้านเราได้ง่ายๆ อันนี้เป็นเรื่อง CSR หรือการอาศัยแรงงานกับวัตถุดิบในซัพพลายเชนข้ามพรมแดน ถ้ากิจการของเราไม่มีการวางมาตรฐานเรื่องแรงงาน เรื่องการจัดหา เรื่องความปลอดภัย พอเกิดปัญหาขึ้น ก็รวนกันไปหมด ผลก็คือแข่งขันลำบาก อันนี้ก็เป็นเรื่อง CSR เหมือนกัน
ต้องเข้าใจว่า วันนี้ธุรกิจกับ CSR จะคิดแยกส่วนไม่ได้แล้ว ถ้าเราเริ่มต้นด้วยกรอบความคิดนี้ ก็จะพิจารณาต่อได้ว่า การจะก้าวเป็นองค์กรธุรกิจชั้นนำในทศวรรษนับจากนี้ไป ไม่ว่าจะเป็นในระดับประเทศ ระดับภูมิภาค หรือระดับโลก จะต้องคำนึงถึงการบรรลุเป้าหมายที่ไม่จำกัดเพียงทางธุรกิจหรือเศรษฐกิจ แต่ยังต้องบรรลุเป้าหมายทางสังคมและทางสิ่งแวดล้อมควบคู่กันไปด้วย เป็นเรื่องของ Triple Bottom Line...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
ปฏิเสธไม่ได้ว่าผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับภาคธุรกิจไทย มีในหลายมิติ หากพิจารณาจากแนวทางการดำเนินงาน ในมาตรการส่งเสริม CSR ตามแผนงานการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน นโยบายสาธารณะ และเครื่องมือทางกฎหมาย ที่ใช้ส่งเสริมเรื่อง CSR จะถูกกำหนดไปในแนวทางเดียวกันทั้งอาเซียน โดยมีแนวโน้มที่จะพัฒนาตามมาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคมที่เป็นสากล ทำให้ธุรกิจซึ่งทำ CSR ตามแบบของตัวเองโดยไม่ต้องอ้างอิงใคร หากต้องการให้ได้รับการยอมรับในระดับอาเซียน ก็จำต้องพิจารณานำแนวปฏิบัติ CSR ที่เป็นมาตรฐานสากลมาใช้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
เนื้อหาในนโยบายสาธารณะ เป็นอีกส่วนหนึ่งที่จะส่งผลกระทบกับภาคธุรกิจแตกต่างกันขึ้นอยู่กับผู้ที่มีบทบาทในการร่างนโยบาย ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 มิติด้วยกัน คือ มิติแรก ภาคีใดระหว่างรัฐ-เอกชนเป็นผู้มีบทบาทนำ มิติที่สอง ประเทศใดเป็นเจ้าภาพ
ในมิติแรก หากรัฐเป็นผู้นำ นโยบายก็อาจถูกให้น้ำหนักไปทาง CSR-after-process คือ มองเป็นเรื่องของสวัสดิการสังคม การร่วมพัฒนาชุมชน การบริจาค การอาสาช่วยเหลือสังคม ขณะที่เอกชนจะเข้าใจบริบทของ CSR-in-process มากกว่า คือ มองในเชิงที่สัมพันธ์กับธุรกิจ เรื่องตลาด เรื่องแรงงาน เรื่องการกำกับดูแลองค์กร เป็นต้น
ในมิติที่สอง แน่นอนว่าประเทศที่เป็นเจ้าภาพ จะใส่ความคิดที่สอดคล้องกับความต้องการที่เป็นคุณต่อตัวเองได้มาก กรณีของสิงคโปร์ที่พยายามผลักดันความคิด ผ่านเครือข่ายความรับผิดชอบต่อสังคมอาเซียนภาคเอกชน ด้วยการยกร่าง CSR Model Policy Statement ขึ้น โดยเนื้อหาส่วนใหญ่เน้นเรื่องสิ่งแวดล้อม เรื่องแรงงาน เรื่องการต้านทุจริต และเรื่องสิทธิมนุษยชน แต่ขาดประเด็นด้านผู้บริโภค การพัฒนาชุมชน หรือเรื่องที่ประเทศไทยให้ความสำคัญคือ นวัตกรรมในการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคม
ดังนั้น หากไทยต้องการจะเล่นบทบาทนำเรื่อง CSR ในอาเซียน เราคงจะต้องวางกลยุทธ์เชิงรุกในการผลักดันความคิดต่อนโยบาย ที่จะเป็นตัวแบบด้าน CSR ของอาเซียนให้มากกว่านี้
สำหรับแนวการกำหนดบทบาทของภาคธุรกิจไทยในระดับอาเซียน ต้องถามภาคธุรกิจว่า ต้องการจะเป็นองค์กรธุรกิจชั้นนำในภูมิภาคหรือไม่ ถ้าคำตอบคือ ใช่ และวันนี้ก็มีองค์กรธุรกิจไทยหลายแห่งกำหนดวิสัยทัศน์ไว้อย่างนี้ การวางกลยุทธ์เรื่อง CSR ก็เป็นวาระสำคัญ เพราะการคิดเรื่อง CSR ในวันนี้ ไม่ใช่เรื่องของการสงเคราะห์สังคมอย่างเดียว แต่เป็นเรื่องของการเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน
ตัวอย่างเช่น หากกิจการของเราต้องย้ายฐานการผลิตไปอยู่ในประเทศเพื่อนบ้าน แต่ไม่มีโมเดลหรือไม่รู้วิธีในการบริหารความสัมพันธ์กับชุมชนท้องถิ่น เขาก็อาจจะต่อต้านเราได้ง่ายๆ อันนี้เป็นเรื่อง CSR หรือการอาศัยแรงงานกับวัตถุดิบในซัพพลายเชนข้ามพรมแดน ถ้ากิจการของเราไม่มีการวางมาตรฐานเรื่องแรงงาน เรื่องการจัดหา เรื่องความปลอดภัย พอเกิดปัญหาขึ้น ก็รวนกันไปหมด ผลก็คือแข่งขันลำบาก อันนี้ก็เป็นเรื่อง CSR เหมือนกัน
ต้องเข้าใจว่า วันนี้ธุรกิจกับ CSR จะคิดแยกส่วนไม่ได้แล้ว ถ้าเราเริ่มต้นด้วยกรอบความคิดนี้ ก็จะพิจารณาต่อได้ว่า การจะก้าวเป็นองค์กรธุรกิจชั้นนำในทศวรรษนับจากนี้ไป ไม่ว่าจะเป็นในระดับประเทศ ระดับภูมิภาค หรือระดับโลก จะต้องคำนึงถึงการบรรลุเป้าหมายที่ไม่จำกัดเพียงทางธุรกิจหรือเศรษฐกิจ แต่ยังต้องบรรลุเป้าหมายทางสังคมและทางสิ่งแวดล้อมควบคู่กันไปด้วย เป็นเรื่องของ Triple Bottom Line...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
Tuesday, July 05, 2011
Strategic CSR becomes CSV
Harvard professor Michael E Porter - one of the world's most influential thinkers on management and competitiveness - has introduced a new business principle called creating shared value.
In an article entitled "The Big Idea: Creating Shared Value", published earlier this year, Porter and co-author Mark R Kramer stressed that shared value was not social responsibility, philanthropy, or even sustainability, but a new way to achieve economic success.
The authors said the principle of shared value involved creating economic value in a way that also created value for society by addressing its needs and challenges. It can be defined as policies and operating practices that enhance the competitiveness of a company while simultaneously advancing the economic and social conditions in the communities in which it operates. Creation of shared value focuses on identifying and expanding the connections between societal and economic progress.
Moreover, the authors said that creating shared value (CSV) should supersede corporate social responsibility (CSR) in guiding the investments of companies in their communities. CSR programmes focus mostly on reputation and have only a limited connection to the business, making them hard to justify and maintain in the long term. CSV, on the other hand, is integral to a company's profitability and competitive position. It leverages the unique resources and expertise of the company to create economic value by creating social value.
In a December 2006 article co-authored with Kramer and entitled "The Link between Competitive Advantage and Corporate Social Responsibility", Porter coined the term "Strategic CSR", and defined it as going beyond good corporate citizenship and mitigating harmful value-chain impacts by mounting a small number of initiatives whose social and business benefits were large and distinctive. By investing in social aspects of contexts that strengthened company competitiveness, Porter and Kramer were convinced that strategic CSR would unlock shared value, and become increasingly important to competitive success.
While responsive CSR depends on being a good corporate citizen and addressing every social harm that a business creates, strategic CSR is far more selective. Companies are called on to address hundreds of social issues, but only a few represent opportunities to make a real difference to society or to confer a competitive advantage.
Strategic CSR involves both inside-out and outside-in dimensions working in tandem. It is here that the opportunities for shared value truly lie. Perceiving social responsibility as building shared value, rather than as damage control or as a PR campaign, will require dramatically different thinking in business. Addressing social issues by creating shared value will lead to self-sustaining solutions that do not depend on private or government subsidies.
Since Porter's 2006 article, CSR has become widely used as a PR campaign or marketing tool. Thereby, it has been devalued. Porter, along with other gurus in this field, has subsequently tried to shift his contribution to the issue by recycling his former "strategic CSR" as the more recent "creating shared value" - with an additional challenge: CSV, he says, is an integral part of a company's efforts to maximise its profits....(From Byteline Executive Talk) [Archived]
Pipat Yodprudtikan is a CSR specialist. Get to know him further on Twitter @pipatlive.
In an article entitled "The Big Idea: Creating Shared Value", published earlier this year, Porter and co-author Mark R Kramer stressed that shared value was not social responsibility, philanthropy, or even sustainability, but a new way to achieve economic success.
The authors said the principle of shared value involved creating economic value in a way that also created value for society by addressing its needs and challenges. It can be defined as policies and operating practices that enhance the competitiveness of a company while simultaneously advancing the economic and social conditions in the communities in which it operates. Creation of shared value focuses on identifying and expanding the connections between societal and economic progress.
Moreover, the authors said that creating shared value (CSV) should supersede corporate social responsibility (CSR) in guiding the investments of companies in their communities. CSR programmes focus mostly on reputation and have only a limited connection to the business, making them hard to justify and maintain in the long term. CSV, on the other hand, is integral to a company's profitability and competitive position. It leverages the unique resources and expertise of the company to create economic value by creating social value.
In a December 2006 article co-authored with Kramer and entitled "The Link between Competitive Advantage and Corporate Social Responsibility", Porter coined the term "Strategic CSR", and defined it as going beyond good corporate citizenship and mitigating harmful value-chain impacts by mounting a small number of initiatives whose social and business benefits were large and distinctive. By investing in social aspects of contexts that strengthened company competitiveness, Porter and Kramer were convinced that strategic CSR would unlock shared value, and become increasingly important to competitive success.
While responsive CSR depends on being a good corporate citizen and addressing every social harm that a business creates, strategic CSR is far more selective. Companies are called on to address hundreds of social issues, but only a few represent opportunities to make a real difference to society or to confer a competitive advantage.
Strategic CSR involves both inside-out and outside-in dimensions working in tandem. It is here that the opportunities for shared value truly lie. Perceiving social responsibility as building shared value, rather than as damage control or as a PR campaign, will require dramatically different thinking in business. Addressing social issues by creating shared value will lead to self-sustaining solutions that do not depend on private or government subsidies.
Since Porter's 2006 article, CSR has become widely used as a PR campaign or marketing tool. Thereby, it has been devalued. Porter, along with other gurus in this field, has subsequently tried to shift his contribution to the issue by recycling his former "strategic CSR" as the more recent "creating shared value" - with an additional challenge: CSV, he says, is an integral part of a company's efforts to maximise its profits....(From Byteline Executive Talk) [Archived]
Pipat Yodprudtikan is a CSR specialist. Get to know him further on Twitter @pipatlive.
Thursday, June 30, 2011
อาเซียนไม่ได้มีแต่ AEC
ในการประชุมผู้นำอาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อเดือนตุลาคม 2546 ได้มีการร่วมลงนามในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียน ที่เรียกว่า ข้อตกลงบาหลี 2 (Bali Concord II) เห็นชอบให้อาเซียนรวมตัวกันเป็นชุมชนหรือประชาคมเดียวกันภายในปี 2563
ต่อมาในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 12 ที่เมืองเซบู ประเทศฟิลิปปินส์ เมื่อเดือนมกราคม 2550 ที่ประชุมผู้นำอาเซียนได้ตกลงร่นระยะเวลาการจัดตั้งประชาคมอาเซียนจากกำหนดเดิมในปี 2563 เป็นให้แล้วเสร็จภายในปี 2558
ประชาคมอาเซียนที่จะจัดตั้งขึ้น ประกอบด้วยสามเสาหลัก คือ ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Security Community: ASC) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community: ASCC)
ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASC) มุ่งให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติ มีระบบแก้ไขความขัดแย้งระหว่างกันได้ด้วยดี มีเสถียรภาพอย่างรอบด้าน มีกรอบความร่วมมือเพื่อรับมือกับภัยคุกคามความมั่นคงทั้งรูปแบบเดิมและรูปแบบใหม่ๆ เพื่อให้ประชาชนมีความปลอดภัยและมั่นคง
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) มุ่งให้เกิดการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจ และการอำนวยความสะดวกในการติดต่อค้าขายระหว่างกัน อันจะทำให้ภูมิภาคมีความเจริญมั่งคั่ง และสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่นๆ ได้ เพื่อความอยู่ดีกินดีของประชาชนในประเทศอาเซียน
ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASCC) มีเป้าหมายให้อาเซียนเป็นประชาคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง สังคมที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน ประชากรอาเซียนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีและมีการพัฒนาในทุกด้านเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ส่งเสริมการให้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน รวมทั้งส่งเสริมอัตลักษณ์ของอาเซียน
สำหรับการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรม หรือ ASCC อาเซียนได้จัดทำแผนงานการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community Blueprint) โดยที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2552 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ได้ให้การรับรองแผนงานฯ หรือพิมพ์เขียวฉบับดังกล่าว ซึ่งประกอบด้วยความร่วมมือใน 6 ด้าน ได้แก่ การพัฒนามนุษย์ การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม สิทธิและความยุติธรรมทางสังคม ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน และการลดช่องว่างทางการพัฒนา
ในพิมพ์เขียวด้านสิทธิและความยุติธรรมทางสังคม (Social Justice and Rights) ได้ระบุถึงมาตรการส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ (Promoting CSR) ที่มีเป้าหมายหลัก 2 ประการ คือ ผลักดันให้ภาคธุรกิจผนวกเอาเรื่อง CSR ไว้ในวาระการดำเนินงานขององค์กร และสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนในเชิงเศรษฐกิจ-สังคมในหมู่ประเทศสมาชิกอาเซียน
จะเห็นว่า เรื่อง CSR ได้ถูกบรรจุให้เป็นมาตรการหนึ่งในแผนงานการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน และมุ่งหวังให้ภาคธุรกิจมีบทบาทสำคัญในการนำ CSR ไปผนวกกับการดำเนินงานขององค์กรตามแนวทางที่เป็นมาตรฐานสากล ดังนั้น ภาคธุรกิจที่ต้องการขยายตลาดเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือต้องการเป็นผู้นำในภูมิภาคอาเซียน คงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องคำนึงถึงการพัฒนาเชิงเศรษฐกิจ-สังคมที่ยั่งยืนควบคู่กันจากนี้ไป
ใครที่สนใจรายละเอียดพิมพ์เขียวการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนที่กล่าวถึงเรื่อง CSR เอาไว้ สามารถดาวน์โหลดได้ที่ http://bit.ly/ASCCblueprint...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
ต่อมาในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 12 ที่เมืองเซบู ประเทศฟิลิปปินส์ เมื่อเดือนมกราคม 2550 ที่ประชุมผู้นำอาเซียนได้ตกลงร่นระยะเวลาการจัดตั้งประชาคมอาเซียนจากกำหนดเดิมในปี 2563 เป็นให้แล้วเสร็จภายในปี 2558
ประชาคมอาเซียนที่จะจัดตั้งขึ้น ประกอบด้วยสามเสาหลัก คือ ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Security Community: ASC) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community: ASCC)
ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASC) มุ่งให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติ มีระบบแก้ไขความขัดแย้งระหว่างกันได้ด้วยดี มีเสถียรภาพอย่างรอบด้าน มีกรอบความร่วมมือเพื่อรับมือกับภัยคุกคามความมั่นคงทั้งรูปแบบเดิมและรูปแบบใหม่ๆ เพื่อให้ประชาชนมีความปลอดภัยและมั่นคง
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) มุ่งให้เกิดการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจ และการอำนวยความสะดวกในการติดต่อค้าขายระหว่างกัน อันจะทำให้ภูมิภาคมีความเจริญมั่งคั่ง และสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่นๆ ได้ เพื่อความอยู่ดีกินดีของประชาชนในประเทศอาเซียน
ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASCC) มีเป้าหมายให้อาเซียนเป็นประชาคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง สังคมที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน ประชากรอาเซียนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีและมีการพัฒนาในทุกด้านเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ส่งเสริมการให้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน รวมทั้งส่งเสริมอัตลักษณ์ของอาเซียน
สำหรับการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรม หรือ ASCC อาเซียนได้จัดทำแผนงานการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community Blueprint) โดยที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2552 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ได้ให้การรับรองแผนงานฯ หรือพิมพ์เขียวฉบับดังกล่าว ซึ่งประกอบด้วยความร่วมมือใน 6 ด้าน ได้แก่ การพัฒนามนุษย์ การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม สิทธิและความยุติธรรมทางสังคม ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน และการลดช่องว่างทางการพัฒนา
ในพิมพ์เขียวด้านสิทธิและความยุติธรรมทางสังคม (Social Justice and Rights) ได้ระบุถึงมาตรการส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ (Promoting CSR) ที่มีเป้าหมายหลัก 2 ประการ คือ ผลักดันให้ภาคธุรกิจผนวกเอาเรื่อง CSR ไว้ในวาระการดำเนินงานขององค์กร และสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนในเชิงเศรษฐกิจ-สังคมในหมู่ประเทศสมาชิกอาเซียน
จะเห็นว่า เรื่อง CSR ได้ถูกบรรจุให้เป็นมาตรการหนึ่งในแผนงานการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน และมุ่งหวังให้ภาคธุรกิจมีบทบาทสำคัญในการนำ CSR ไปผนวกกับการดำเนินงานขององค์กรตามแนวทางที่เป็นมาตรฐานสากล ดังนั้น ภาคธุรกิจที่ต้องการขยายตลาดเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือต้องการเป็นผู้นำในภูมิภาคอาเซียน คงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องคำนึงถึงการพัฒนาเชิงเศรษฐกิจ-สังคมที่ยั่งยืนควบคู่กันจากนี้ไป
ใครที่สนใจรายละเอียดพิมพ์เขียวการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนที่กล่าวถึงเรื่อง CSR เอาไว้ สามารถดาวน์โหลดได้ที่ http://bit.ly/ASCCblueprint...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
Thursday, June 16, 2011
ทำ CSR แบบมาตรฐานโลก ISO
องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (International Organization for Standardization: ISO) เป็นองค์กรอิสระซึ่งจัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.2490 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการกำหนดมาตรฐานระหว่างประเทศ (international standard) และกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง ปัจจุบัน ประกอบด้วยสมาชิก 163 ประเทศ และมีมาตรฐานที่ประกาศเผยแพร่แล้วกว่า 18,400 ฉบับ ครอบคลุมการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
ISO 26000 ได้ประมวลข้อแนะนำเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคม ที่มาจากคณะทำงานซึ่งประกอบด้วยตัวแทนผู้มีส่วนได้เสียจากภาคีต่างๆ มากที่สุดและกว้างขวางที่สุดเท่าที่เคยมีมา (จาก 99 ประเทศสมาชิกและ 42 องค์กรร่วมทำงาน) พัฒนาเป็นนิยาม ประเด็น และแนวปฏิบัติที่ดีสำหรับองค์กร ในการใช้เป็นเครื่องมือสนับสนุนการขับเคลื่อนความรับผิดชอบต่อสังคมจากเจตนาที่ดี (good intentions) ไปสู่ การกระทำที่ดี (good actions)
เนื้อหาในมาตรฐาน ISO 26000 ประกอบด้วยหลักการว่าด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม 7 ประการ คือ หลักความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ หลักความโปร่งใส หลักการปฏิบัติอย่างมีจริยธรรม หลักการเคารพถึงผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสีย หลักการเคารพต่อหลักนิติธรรม หลักการเคารพต่อหลักปฏิบัติที่เป็นบรรทัดฐานสากล และหลักการเคารพต่อสิทธิมนุษยชน
ส่วนขอบเขตของการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการที่ระบุไว้ในมาตรฐาน จะครอบคลุมใน 7 เรื่องหลัก ได้แก่ การกำกับดูแลองค์กร สิทธิมนุษยชน การปฏิบัติด้านแรงงาน สิ่งแวดล้อม การปฏิบัติดำเนินงานอย่างเป็นธรรม ประเด็นด้านผู้บริโภค การมีส่วนร่วมและพัฒนาชุมชน
สำหรับแนวทางการบูรณาการความรับผิดชอบต่อสังคมทั่วทั้งองค์กรมีอยู่ด้วยกัน 7 ส่วนสำคัญ ประกอบด้วย ความสัมพันธ์ของลักษณะกิจการกับความรับผิดชอบต่อสังคม ความเข้าใจเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ แนวปฏิบัติในการบูรณาการความรับผิดชอบต่อสังคมทั่วทั้งองค์กร การสื่อสารที่เกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคม การเพิ่มความน่าเชื่อถือในการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคม การทบทวนและปรับปรุงการปฏิบัติดำเนินงานขององค์กรที่เกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคม และการเข้าร่วมในกิจกรรมหรือความริเริ่มที่เกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคมโดยสมัครใจ
ทั้งนี้ องค์กรควรเริ่มจากการพิจารณาคุณลักษณะของความรับผิดชอบต่อสังคมและความสัมพันธ์กับการพัฒนาที่ยั่งยืน ทบทวนหลักการความรับผิดชอบต่อสังคมสำหรับนำไปดำเนินการควบคู่กับหลักการเฉพาะในแต่ละเรื่องหลัก
ในการวิเคราะห์เรื่องหลักและประเด็นความรับผิดชอบต่อสังคม รวมถึงการดำเนินการที่เกี่ยวข้องและการตอบสนองความคาดหวังนั้น องค์กรควรพิจารณาศึกษาวิธีการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมขั้นพื้นฐานใน 2 เรื่อง คือ การยอมรับในบทบาทความรับผิดชอบต่อสังคมภายใต้เขตอิทธิพลขององค์กร การระบุและการร่วมดำเนินงานกับผู้มีส่วนได้เสียของกิจการ
เมื่อองค์กรเข้าใจในหลักการ สามารถระบุเรื่องหลักและประเด็นความรับผิดชอบต่อสังคมที่มีนัยสำคัญและเกี่ยวเนื่องได้แล้ว องค์กรควรค้นหาวิธีในการผนวกหรือบูรณาการความรับผิดชอบต่อสังคมเข้าในกระบวนการตัดสินใจและกิจกรรมทั่วทั้งองค์กร
การประยุกต์ใช้มาตรฐาน ISO 26000 องค์กรควรคำนึงถึงความหลากหลายที่มีผลมาจากโครงสร้างองค์กร ประเด็นทางสังคม สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม การเมือง และกฎหมาย รวมทั้งความแตกต่างของเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ ควบคู่กับความสอดคล้องกับหลักปฏิบัติที่เป็นบรรทัดฐานสากลด้วย...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
ISO 26000 ได้ประมวลข้อแนะนำเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคม ที่มาจากคณะทำงานซึ่งประกอบด้วยตัวแทนผู้มีส่วนได้เสียจากภาคีต่างๆ มากที่สุดและกว้างขวางที่สุดเท่าที่เคยมีมา (จาก 99 ประเทศสมาชิกและ 42 องค์กรร่วมทำงาน) พัฒนาเป็นนิยาม ประเด็น และแนวปฏิบัติที่ดีสำหรับองค์กร ในการใช้เป็นเครื่องมือสนับสนุนการขับเคลื่อนความรับผิดชอบต่อสังคมจากเจตนาที่ดี (good intentions) ไปสู่ การกระทำที่ดี (good actions)
เนื้อหาในมาตรฐาน ISO 26000 ประกอบด้วยหลักการว่าด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม 7 ประการ คือ หลักความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ หลักความโปร่งใส หลักการปฏิบัติอย่างมีจริยธรรม หลักการเคารพถึงผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสีย หลักการเคารพต่อหลักนิติธรรม หลักการเคารพต่อหลักปฏิบัติที่เป็นบรรทัดฐานสากล และหลักการเคารพต่อสิทธิมนุษยชน
ส่วนขอบเขตของการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการที่ระบุไว้ในมาตรฐาน จะครอบคลุมใน 7 เรื่องหลัก ได้แก่ การกำกับดูแลองค์กร สิทธิมนุษยชน การปฏิบัติด้านแรงงาน สิ่งแวดล้อม การปฏิบัติดำเนินงานอย่างเป็นธรรม ประเด็นด้านผู้บริโภค การมีส่วนร่วมและพัฒนาชุมชน
สำหรับแนวทางการบูรณาการความรับผิดชอบต่อสังคมทั่วทั้งองค์กรมีอยู่ด้วยกัน 7 ส่วนสำคัญ ประกอบด้วย ความสัมพันธ์ของลักษณะกิจการกับความรับผิดชอบต่อสังคม ความเข้าใจเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ แนวปฏิบัติในการบูรณาการความรับผิดชอบต่อสังคมทั่วทั้งองค์กร การสื่อสารที่เกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคม การเพิ่มความน่าเชื่อถือในการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคม การทบทวนและปรับปรุงการปฏิบัติดำเนินงานขององค์กรที่เกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคม และการเข้าร่วมในกิจกรรมหรือความริเริ่มที่เกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคมโดยสมัครใจ
ทั้งนี้ องค์กรควรเริ่มจากการพิจารณาคุณลักษณะของความรับผิดชอบต่อสังคมและความสัมพันธ์กับการพัฒนาที่ยั่งยืน ทบทวนหลักการความรับผิดชอบต่อสังคมสำหรับนำไปดำเนินการควบคู่กับหลักการเฉพาะในแต่ละเรื่องหลัก
ในการวิเคราะห์เรื่องหลักและประเด็นความรับผิดชอบต่อสังคม รวมถึงการดำเนินการที่เกี่ยวข้องและการตอบสนองความคาดหวังนั้น องค์กรควรพิจารณาศึกษาวิธีการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมขั้นพื้นฐานใน 2 เรื่อง คือ การยอมรับในบทบาทความรับผิดชอบต่อสังคมภายใต้เขตอิทธิพลขององค์กร การระบุและการร่วมดำเนินงานกับผู้มีส่วนได้เสียของกิจการ
เมื่อองค์กรเข้าใจในหลักการ สามารถระบุเรื่องหลักและประเด็นความรับผิดชอบต่อสังคมที่มีนัยสำคัญและเกี่ยวเนื่องได้แล้ว องค์กรควรค้นหาวิธีในการผนวกหรือบูรณาการความรับผิดชอบต่อสังคมเข้าในกระบวนการตัดสินใจและกิจกรรมทั่วทั้งองค์กร
การประยุกต์ใช้มาตรฐาน ISO 26000 องค์กรควรคำนึงถึงความหลากหลายที่มีผลมาจากโครงสร้างองค์กร ประเด็นทางสังคม สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม การเมือง และกฎหมาย รวมทั้งความแตกต่างของเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ ควบคู่กับความสอดคล้องกับหลักปฏิบัติที่เป็นบรรทัดฐานสากลด้วย...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
Thursday, June 02, 2011
องค์กรได้อะไรจากการทำ ISO 26000
เรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม เป็นสิ่งที่องค์กรทั่วโลก รวมถึงผู้มีส่วนได้เสียขององค์กรต่างๆ รับรู้ว่ามีความจำเป็นและมีประโยชน์ จากการที่ส่งผลต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
ผลกระทบจากการดำเนินงานขององค์กรที่มีต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมที่อยู่รายรอบ ได้กลายเป็นตัวแปรสำคัญที่บ่งชี้ถึงสมรรถนะและขีดความสามารถที่องค์กรจะดำเนินงานได้ต่อเนื่องอย่างมีประสิทธิผล ความตระหนักที่เพิ่มขึ้นเหล่านี้สะท้อนถึงความจำเป็นที่จะต้องธำรงไว้ซึ่งสุขภาวะของระบบนิเวศ ความเสมอภาคทางสังคม และการกำกับดูแลองค์กรที่ดี ซึ่งจากนี้ ไปทุกๆ กิจกรรมขององค์กรจำต้องคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ ไปพร้อมๆ กับการถูกตรวจสอบอย่างใกล้ชิดจากผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่างๆ
องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (International Organization for Standardization: ISO) โดยคณะกรรมการด้านนโยบายผู้บริโภค จึงได้มีความคิดริเริ่มในการจัดทำร่างข้อแนะนำเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคม เมื่อปี 2544 และมีการประชุมภาคีผู้มีส่วนได้เสียในปี 2547 จนนำไปสู่การจัดตั้งคณะทำงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม (ISO/WG SR) ในปลายปีเดียวกัน เพื่อพัฒนาเป็นมาตรฐาน ISO 26000 และใช้เวลาร่างเกือบ 10 ปี ก่อนที่จะมีการประกาศเป็นมาตรฐานระหว่างประเทศเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
ISO 26000 เป็นมาตรฐานระหว่างประเทศ ที่ให้คำแนะนำเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคมแก่องค์กรทุกประเภททั้งในประเทศที่พัฒนาแล้วและในประเทศกำลังพัฒนา ในการสนองตอบความต้องการของสังคมที่ให้ความสำคัญเพิ่มขึ้น กับการประกอบการอย่างรับผิดชอบต่อสังคม
ในมาตรฐาน ISO 26000 ประกอบด้วยข้อแนะนำที่ให้หน่วยงานนำไปปฏิบัติโดยสมัครใจ มิใช่ข้อกำหนด (requirements) ดังเช่นที่ปรากฏในมาตรฐานการรับรอง อาทิ ISO 9001 หรือ ISO 14001 ด้วยเหตุนี้ ISO 26000 จึงมิใช่มาตรฐานสำหรับนำไปใช้ หรือนำมาพัฒนาเป็นข้อกำหนดอ้างอิงเพื่อการรับรอง (certification)
มาตรฐาน ISO 26000 นั้น มีจุดประสงค์ที่ต้องการเกื้อหนุนองค์กรเข้ามีส่วนร่วมสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน มีเจตนาที่จะยุยงส่งเสริมให้องค์กรดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมมากกว่าข้อกำหนดทางกฎหมาย ด้วยตระหนักว่าการปฏิบัติตามกฎหมายถือเป็นหน้าที่ขั้นพื้นฐานของกิจการและเป็นส่วนที่จำเป็นของความรับผิดชอบต่อสังคม นอกจากนี้ยังมีความต้องการที่จะส่งเสริมให้เกิดความเข้าใจเดียวกันในเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม และใช้เป็นส่วนเติมเต็ม มิใช่เพื่อนำไปใช้ทดแทนเครื่องมือและความริเริ่มอื่นๆ ในด้านความรับผิดชอบต่อสังคม
การนำ ISO 26000 ไปใช้จะช่วยสร้างให้เกิดทั้งการรับรู้และสมรรถนะการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร รวมทั้งการเสริมสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน ชื่อเสียง ความสามารถในการดึงดูดและเหนี่ยวรั้งแรงงาน / สมาชิก ลูกค้า / ผู้ใช้ ให้คงอยู่กับองค์กร การธำรงรักษาขวัญกำลังใจ ข้อผูกพัน และผลิตภาพของพนักงาน ทัศนะที่เป็นบวกของผู้ลงทุน เจ้าของ ผู้บริจาค ผู้อุปถัมภ์ และแวดวงการเงิน ตลอดจนความสัมพันธ์อันดีกับบริษัท ภาครัฐ สื่อ ผู้ส่งมอบ ผู้ร่วมงาน ลูกค้า และชุมชนที่สถานประกอบการตั้งอยู่
เหนือสิ่งอื่นใด การดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมนั้น พุ่งเป้าไปที่การสร้างผลได้สูงสุดจากความทุ่มเทขององค์กร อันนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
ผลกระทบจากการดำเนินงานขององค์กรที่มีต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมที่อยู่รายรอบ ได้กลายเป็นตัวแปรสำคัญที่บ่งชี้ถึงสมรรถนะและขีดความสามารถที่องค์กรจะดำเนินงานได้ต่อเนื่องอย่างมีประสิทธิผล ความตระหนักที่เพิ่มขึ้นเหล่านี้สะท้อนถึงความจำเป็นที่จะต้องธำรงไว้ซึ่งสุขภาวะของระบบนิเวศ ความเสมอภาคทางสังคม และการกำกับดูแลองค์กรที่ดี ซึ่งจากนี้ ไปทุกๆ กิจกรรมขององค์กรจำต้องคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ ไปพร้อมๆ กับการถูกตรวจสอบอย่างใกล้ชิดจากผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่างๆ
องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (International Organization for Standardization: ISO) โดยคณะกรรมการด้านนโยบายผู้บริโภค จึงได้มีความคิดริเริ่มในการจัดทำร่างข้อแนะนำเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคม เมื่อปี 2544 และมีการประชุมภาคีผู้มีส่วนได้เสียในปี 2547 จนนำไปสู่การจัดตั้งคณะทำงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม (ISO/WG SR) ในปลายปีเดียวกัน เพื่อพัฒนาเป็นมาตรฐาน ISO 26000 และใช้เวลาร่างเกือบ 10 ปี ก่อนที่จะมีการประกาศเป็นมาตรฐานระหว่างประเทศเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
ISO 26000 เป็นมาตรฐานระหว่างประเทศ ที่ให้คำแนะนำเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคมแก่องค์กรทุกประเภททั้งในประเทศที่พัฒนาแล้วและในประเทศกำลังพัฒนา ในการสนองตอบความต้องการของสังคมที่ให้ความสำคัญเพิ่มขึ้น กับการประกอบการอย่างรับผิดชอบต่อสังคม
ในมาตรฐาน ISO 26000 ประกอบด้วยข้อแนะนำที่ให้หน่วยงานนำไปปฏิบัติโดยสมัครใจ มิใช่ข้อกำหนด (requirements) ดังเช่นที่ปรากฏในมาตรฐานการรับรอง อาทิ ISO 9001 หรือ ISO 14001 ด้วยเหตุนี้ ISO 26000 จึงมิใช่มาตรฐานสำหรับนำไปใช้ หรือนำมาพัฒนาเป็นข้อกำหนดอ้างอิงเพื่อการรับรอง (certification)
มาตรฐาน ISO 26000 นั้น มีจุดประสงค์ที่ต้องการเกื้อหนุนองค์กรเข้ามีส่วนร่วมสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน มีเจตนาที่จะยุยงส่งเสริมให้องค์กรดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมมากกว่าข้อกำหนดทางกฎหมาย ด้วยตระหนักว่าการปฏิบัติตามกฎหมายถือเป็นหน้าที่ขั้นพื้นฐานของกิจการและเป็นส่วนที่จำเป็นของความรับผิดชอบต่อสังคม นอกจากนี้ยังมีความต้องการที่จะส่งเสริมให้เกิดความเข้าใจเดียวกันในเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม และใช้เป็นส่วนเติมเต็ม มิใช่เพื่อนำไปใช้ทดแทนเครื่องมือและความริเริ่มอื่นๆ ในด้านความรับผิดชอบต่อสังคม
การนำ ISO 26000 ไปใช้จะช่วยสร้างให้เกิดทั้งการรับรู้และสมรรถนะการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร รวมทั้งการเสริมสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน ชื่อเสียง ความสามารถในการดึงดูดและเหนี่ยวรั้งแรงงาน / สมาชิก ลูกค้า / ผู้ใช้ ให้คงอยู่กับองค์กร การธำรงรักษาขวัญกำลังใจ ข้อผูกพัน และผลิตภาพของพนักงาน ทัศนะที่เป็นบวกของผู้ลงทุน เจ้าของ ผู้บริจาค ผู้อุปถัมภ์ และแวดวงการเงิน ตลอดจนความสัมพันธ์อันดีกับบริษัท ภาครัฐ สื่อ ผู้ส่งมอบ ผู้ร่วมงาน ลูกค้า และชุมชนที่สถานประกอบการตั้งอยู่
เหนือสิ่งอื่นใด การดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมนั้น พุ่งเป้าไปที่การสร้างผลได้สูงสุดจากความทุ่มเทขององค์กร อันนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
Thursday, May 26, 2011
เหตุใด Colourful Ocean เป็น Strategy มิใช่ Activity
ไมเคิล อี พอร์เตอร์ ระบุว่า องค์การสามารถสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่งขัน จากการลดต้นทุน ปรับปรุงคุณภาพ ลดขั้นตอน และเวลาการทำงาน ฯลฯซึ่งความได้เปรียบทางการแข่งขันเหล่านี้ เกิดจากการดำเนินชุดกิจกรรม (Activities) ที่ทั้งองค์กรและคู่แข่งต่างทำคล้ายคลึงกัน เพียงแต่องค์กรทำได้ดีกว่าคู่แข่งขัน
ส่วนความได้เปรียบทางการแข่งขันของ กลยุทธ์น่านน้ำสีแดง (Red Ocean Strategy) นั้น เกิดจากการที่องค์กรดำเนินชุดกิจกรรมที่แตกต่างจากคู่แข่ง (หรือเป็นชุดกิจกรรมที่คล้ายคลึงกัน แต่ดำเนินในวิธีการที่แตกต่างกัน) กลยุทธ์การแข่งขันในมุมมองของพอร์เตอร์ จึงให้ความสำคัญกับการสร้างความแตกต่าง ด้วยการไตร่ตรองคัดสรรชุดกิจกรรมเพื่อสร้างคุณค่าที่ผสมผสานอย่างมีเอกลักษณ์
เครื่องมือที่ไมเคิล อี พอร์เตอร์ ใช้ในการวิเคราะห์สภาวการณ์ในอุตสาหกรรมและใช้พัฒนาขีดความสามารถในการทำกำไร (Profitability) คือ Five Competitive Forces หรือ แรงที่กำหนดสภาพการแข่งขันจาก 5 ทิศทาง คือ แรงผลักดันจากผู้เล่นหน้าใหม่ (New Entrants) แรงบีบจากผู้ส่งมอบ (Suppliers) แรงผูกมัดจากผู้ซื้อ (Buyers) แรงกดดันจากผู้เข้าแทนที่ (Substitutes) และแรงห้ำหั่นจากคู่แข่งขัน (Competitors)
ชาน คิม ผู้ให้กำเนิดกลยุทธ์น่านน้ำสีคราม (Blue Ocean Strategy) ที่ให้ความสำคัญกับนวัตกรรมเชิงคุณค่า (Value Innovation) ระบุว่า นวัตกรรมเชิงคุณค่าในน่านน้ำสีคราม เป็น กลยุทธ์ ที่ครอบงำชุดกิจกรรมทั้งหมดขององค์กร มิใช่เพียงแค่ กิจกรรม ในกระบวนการผลิต หรือเป็นเพียงกลยุทธ์แยกส่วนที่บรรจุรวมอยู่ในกลยุทธ์หลักขององค์กร เพราะกลยุทธ์น่านน้ำสีครามมิได้มุ่งเน้นที่การยกระดับสถานภาพการแข่งขันขององค์กรในสภาพตลาดที่เป็นอยู่ แต่เป็นการพัฒนาระบบทั้งหมดขององค์กรสำหรับการสร้างและจับจองอุปสงค์ในตลาดใหม่ๆ
เครื่องมือที่ถูกพัฒนาขึ้นสำหรับใช้ในการวิเคราะห์เพื่อสร้างสรรค์คุณค่าใหม่ในกลยุทธ์น่านน้ำสีคราม คือ Four Action Frameworks ซึ่งใช้ทลายข้อจำกัดของการต้องเลือกระหว่างการสร้างความแตกต่างและต้นทุนต่ำในสมรภูมิการแข่งขันแบบเดิม ประกอบไปด้วย 4 คำถามหลัก คือ
ส่วนกลยุทธ์น่านน้ำสีเขียว (Green Ocean Strategy) นอกเหนือจากการวิเคราะห์คุณค่าเชิงเศรษฐกิจที่ถูกสร้างขึ้นจากกิจกรรมหลัก (Primary Activities) และกิจกรรมสนับสนุน (Support Activities) ในสายแห่งคุณค่า (Value Chain) แล้ว ยังคำนึงถึงการดำรงคุณค่าเชิงสังคมและคุณค่าเชิงสิ่งแวดล้อมด้วยการใช้เครื่องมือการวิเคราะห์ที่เรียกว่า Triple-value Chains ซึ่งได้ผนวกกิจกรรมฝังตัว (Embedded Activities) ด้านความรับผิดชอบต่อสังคม และความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเข้ากับกิจกรรมหลักและกิจกรรมสนับสนุนในสายแห่งคุณค่านั้นๆ
เครื่องมือ Triple-value Chains ในกลยุทธ์น่านน้ำสีเขียว จะนำทั้งเรื่องของ ระบบ ที่กำกับดูแลด้วยธรรมาภิบาลสีเขียว (Green Governance) และเรื่องของ บุคลากร ที่เสริมสร้างด้วยอุปนิสัยสีเขียว (Green Habits) มาพิจารณาภายใต้กรอบการพัฒนาความยั่งยืนทางคุณค่า สำหรับตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่ห่วงใยในสุขอนามัย คุณภาพชีวิต และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งตอบโจทย์การพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์กรไปพร้อมๆ กัน
ทั้งสามกลยุทธ์น่านน้ำ มุ่งให้ความสำคัญกับการปรับทิศทางการขับเคลื่อนองค์กร เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ที่เป็นเป้าหมายรวมของกิจการ มากกว่าการปรับเปลี่ยนแค่กิจกรรมที่ดำเนินอยู่ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในแต่ละแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ขององค์กร...(จากคอลัมน์หน้าต่าง CSR) [Archived]
ส่วนความได้เปรียบทางการแข่งขันของ กลยุทธ์น่านน้ำสีแดง (Red Ocean Strategy) นั้น เกิดจากการที่องค์กรดำเนินชุดกิจกรรมที่แตกต่างจากคู่แข่ง (หรือเป็นชุดกิจกรรมที่คล้ายคลึงกัน แต่ดำเนินในวิธีการที่แตกต่างกัน) กลยุทธ์การแข่งขันในมุมมองของพอร์เตอร์ จึงให้ความสำคัญกับการสร้างความแตกต่าง ด้วยการไตร่ตรองคัดสรรชุดกิจกรรมเพื่อสร้างคุณค่าที่ผสมผสานอย่างมีเอกลักษณ์
เครื่องมือที่ไมเคิล อี พอร์เตอร์ ใช้ในการวิเคราะห์สภาวการณ์ในอุตสาหกรรมและใช้พัฒนาขีดความสามารถในการทำกำไร (Profitability) คือ Five Competitive Forces หรือ แรงที่กำหนดสภาพการแข่งขันจาก 5 ทิศทาง คือ แรงผลักดันจากผู้เล่นหน้าใหม่ (New Entrants) แรงบีบจากผู้ส่งมอบ (Suppliers) แรงผูกมัดจากผู้ซื้อ (Buyers) แรงกดดันจากผู้เข้าแทนที่ (Substitutes) และแรงห้ำหั่นจากคู่แข่งขัน (Competitors)
ชาน คิม ผู้ให้กำเนิดกลยุทธ์น่านน้ำสีคราม (Blue Ocean Strategy) ที่ให้ความสำคัญกับนวัตกรรมเชิงคุณค่า (Value Innovation) ระบุว่า นวัตกรรมเชิงคุณค่าในน่านน้ำสีคราม เป็น กลยุทธ์ ที่ครอบงำชุดกิจกรรมทั้งหมดขององค์กร มิใช่เพียงแค่ กิจกรรม ในกระบวนการผลิต หรือเป็นเพียงกลยุทธ์แยกส่วนที่บรรจุรวมอยู่ในกลยุทธ์หลักขององค์กร เพราะกลยุทธ์น่านน้ำสีครามมิได้มุ่งเน้นที่การยกระดับสถานภาพการแข่งขันขององค์กรในสภาพตลาดที่เป็นอยู่ แต่เป็นการพัฒนาระบบทั้งหมดขององค์กรสำหรับการสร้างและจับจองอุปสงค์ในตลาดใหม่ๆ
เครื่องมือที่ถูกพัฒนาขึ้นสำหรับใช้ในการวิเคราะห์เพื่อสร้างสรรค์คุณค่าใหม่ในกลยุทธ์น่านน้ำสีคราม คือ Four Action Frameworks ซึ่งใช้ทลายข้อจำกัดของการต้องเลือกระหว่างการสร้างความแตกต่างและต้นทุนต่ำในสมรภูมิการแข่งขันแบบเดิม ประกอบไปด้วย 4 คำถามหลัก คือ
• | มีปัจจัยใดบ้างที่อุตสาหกรรมปฏิบัติสืบเนื่องจนเคยชินและควรค่าแก่การขจัดให้หมดไป |
• | มีปัจจัยใดบ้างที่ควรค่าแก่การลดไม่ให้เกินกว่ามาตรฐานในอุตสาหกรรม |
• | มีปัจจัยใดบ้างที่ควรค่าแก่การยกระดับให้สูงกว่ามาตรฐานในอุตสาหกรรม |
• | มีปัจจัยใดบ้างที่อุตสาหกรรมยังไม่เคยมีการนำเสนอและควรค่าแก่การสร้างให้เกิดขึ้น |
ส่วนกลยุทธ์น่านน้ำสีเขียว (Green Ocean Strategy) นอกเหนือจากการวิเคราะห์คุณค่าเชิงเศรษฐกิจที่ถูกสร้างขึ้นจากกิจกรรมหลัก (Primary Activities) และกิจกรรมสนับสนุน (Support Activities) ในสายแห่งคุณค่า (Value Chain) แล้ว ยังคำนึงถึงการดำรงคุณค่าเชิงสังคมและคุณค่าเชิงสิ่งแวดล้อมด้วยการใช้เครื่องมือการวิเคราะห์ที่เรียกว่า Triple-value Chains ซึ่งได้ผนวกกิจกรรมฝังตัว (Embedded Activities) ด้านความรับผิดชอบต่อสังคม และความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเข้ากับกิจกรรมหลักและกิจกรรมสนับสนุนในสายแห่งคุณค่านั้นๆ
เครื่องมือ Triple-value Chains ในกลยุทธ์น่านน้ำสีเขียว จะนำทั้งเรื่องของ ระบบ ที่กำกับดูแลด้วยธรรมาภิบาลสีเขียว (Green Governance) และเรื่องของ บุคลากร ที่เสริมสร้างด้วยอุปนิสัยสีเขียว (Green Habits) มาพิจารณาภายใต้กรอบการพัฒนาความยั่งยืนทางคุณค่า สำหรับตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่ห่วงใยในสุขอนามัย คุณภาพชีวิต และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งตอบโจทย์การพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์กรไปพร้อมๆ กัน
ทั้งสามกลยุทธ์น่านน้ำ มุ่งให้ความสำคัญกับการปรับทิศทางการขับเคลื่อนองค์กร เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ที่เป็นเป้าหมายรวมของกิจการ มากกว่าการปรับเปลี่ยนแค่กิจกรรมที่ดำเนินอยู่ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในแต่ละแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ขององค์กร...(จากคอลัมน์หน้าต่าง CSR) [Archived]
Thursday, May 19, 2011
Colourful Ocean ในประโยคบอกเล่า
สัปดาห์ที่แล้ว ได้พูดถึงความแตกต่างระหว่าง Strategy กับ Activity ผ่านประโยคบอกเล่า ที่สรุปว่ากลยุทธ์ เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้องค์กรบรรลุเป้าหมาย เปรียบเหมือนคำกริยาหลัก ขณะที่การปฏิบัติงานหรือการดำเนินงานประจำวัน เป็นสิ่งจำเป็นที่ทำให้องค์กรขับเคลื่อนได้ เปรียบเหมือนคำกริยานุเคราะห์ ทำหน้าที่ช่วยคำกริยาหลัก
บทความตอนนี้ จะพูดถึงกลยุทธ์ที่ได้รับความสนใจในปัจจุบัน ก็คือ กลยุทธ์จำพวกน่านน้ำหลากสีทั้ง red ocean, blue ocean, green ocean ซึ่งจะว่าไปแล้ว ก็สามารถเปรียบได้กับกริยากลุ่ม non-finite verb ในประโยคบอกเล่า
Non-finite verb เป็นกริยาที่ไม่ถูกจำกัดโดยประธานในประโยคหรือจำกัดด้วยกาลเวลา ซึ่งตรงข้ามกับ finite verb ซึ่งเป็นกริยาที่แสดงถึงกาลเวลา หรือกริยาที่ถูกกำหนดโดยส่วนประธาน และหากประโยคใดขาด finite verb จะทำให้ความหมายของประโยคไม่สมบูรณ์
เมื่อเปรียบกับกลยุทธ์น่านน้ำหลากสี หมายความว่า องค์กรหนึ่งๆ ไม่จำเป็นต้องมีกลยุทธ์ประเภท red ocean, blue ocean, green ocean ก็ยังสามารถดำเนินธุรกิจอยู่ได้ แต่การเพิ่มเติมกลยุทธ์เหล่านี้ในธุรกิจ ก็เปรียบเสมือนการปรับแต่งประโยคให้มีการเน้นความสำคัญหรือขยายความในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง (หรือหลายเรื่อง) ที่อยู่ในความสนใจ หรือคิดว่าเป็นประโยชน์ต่อกิจการนั่นเอง
กลยุทธ์น่านน้ำเหล่านี้มีทั้งความเหมือนและต่างกันในบริบทที่ตัวมันเองเป็นกลยุทธ์ประเภทหนึ่งในทางธุรกิจ ความเหมือนกัน ก็คือ ทั้งสามกลยุทธ์มุ่งให้ความสำคัญที่คุณค่า (value) ในการประกอบการ เพื่อนำมาซึ่งความสำเร็จขององค์กร
การนิยามความสำเร็จเป็นเรื่องหนึ่งที่ทำให้เกิดความแตกต่างทางกลยุทธ์ บางกิจการ ความสำเร็จ คือการมีชัยชนะเหนือคู่แข่งในสนามการแข่งขัน บางกิจการวัดความสำเร็จจากการพัฒนาธุรกิจให้ล้ำหน้าการแข่งขันอยู่ตลอดเวลาจนทำให้คู่แข่งหมดความหมาย ขณะที่กิจการอีกส่วนหนึ่งประเมินจากที่องค์กรมีความยั่งยืนด้วยการพัฒนาอย่างสมดุลและแข่งขันกับตนเองเป็นหลัก
Red ocean strategy คือ กลยุทธ์ที่ใช้สร้างขีดความสามารถทางการแข่งขัน โดยมุ่งพัฒนาและส่งมอบคุณค่าที่เหนือกว่า (Beating Value) คู่แข่งขัน
Blue ocean strategy คือ กลยุทธ์ที่ใช้สร้างและจับจองอุปสงค์ในตลาดใหม่ ด้วยการคิดค้นนวัตกรรมทางคุณค่า (Innovating Value) ที่ล้ำหน้าจากสภาพการแข่งขัน
Green ocean strategy คือ กลยุทธ์ที่ใช้สร้างและผนวกคุณค่าทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ที่เน้นดำรงความยั่งยืนทางคุณค่า (Sustaining Value) ด้วยการแข่งขันกับตนเอง
ในกลยุทธ์การแข่งขันแบบน่านน้ำสีแดง องค์กรต้องเลือกระหว่างกลยุทธ์ต้นทุนต่ำ การสร้างความแตกต่าง หรือการมุ่งเฉพาะส่วน เพราะพื้นที่ตลาดเดิมได้ถูกกำหนดไว้อย่างแจ้งชัด แต่สำหรับกลยุทธ์น่านน้ำสีคราม องค์กรสามารถพัฒนากลยุทธ์ที่ได้ทั้งความแตกต่างและต้นทุนต่ำ เนื่องจากพื้นที่ตลาดได้ถูกสร้างขึ้นใหม่และยังไร้ซึ่งการแข่งขัน
ส่วนกลยุทธ์สู่ความยั่งยืนแบบน่านน้ำสีเขียว องค์กรจะต้องทบทวนกิจกรรมในสายคุณค่าทั้งหมด เพื่อปลูกฝังเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมและความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเข้าไว้ในทุกๆ กิจกรรม มิใช่การดำเนินเพียงกิจกรรมเพื่อสังคมหรือสิ่งแวดล้อมที่อยู่นอกกระบวนการหรือแยกต่างหากจากการดำเนินธุรกิจ การพัฒนากลยุทธ์น่านน้ำสีเขียว จึงคำนึงถึงคุณค่าทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ที่ถูกสร้างขึ้นในสายคุณค่า ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการพัฒนาสู่ความยั่งยืน...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
บทความตอนนี้ จะพูดถึงกลยุทธ์ที่ได้รับความสนใจในปัจจุบัน ก็คือ กลยุทธ์จำพวกน่านน้ำหลากสีทั้ง red ocean, blue ocean, green ocean ซึ่งจะว่าไปแล้ว ก็สามารถเปรียบได้กับกริยากลุ่ม non-finite verb ในประโยคบอกเล่า
Non-finite verb เป็นกริยาที่ไม่ถูกจำกัดโดยประธานในประโยคหรือจำกัดด้วยกาลเวลา ซึ่งตรงข้ามกับ finite verb ซึ่งเป็นกริยาที่แสดงถึงกาลเวลา หรือกริยาที่ถูกกำหนดโดยส่วนประธาน และหากประโยคใดขาด finite verb จะทำให้ความหมายของประโยคไม่สมบูรณ์
เมื่อเปรียบกับกลยุทธ์น่านน้ำหลากสี หมายความว่า องค์กรหนึ่งๆ ไม่จำเป็นต้องมีกลยุทธ์ประเภท red ocean, blue ocean, green ocean ก็ยังสามารถดำเนินธุรกิจอยู่ได้ แต่การเพิ่มเติมกลยุทธ์เหล่านี้ในธุรกิจ ก็เปรียบเสมือนการปรับแต่งประโยคให้มีการเน้นความสำคัญหรือขยายความในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง (หรือหลายเรื่อง) ที่อยู่ในความสนใจ หรือคิดว่าเป็นประโยชน์ต่อกิจการนั่นเอง
กลยุทธ์น่านน้ำเหล่านี้มีทั้งความเหมือนและต่างกันในบริบทที่ตัวมันเองเป็นกลยุทธ์ประเภทหนึ่งในทางธุรกิจ ความเหมือนกัน ก็คือ ทั้งสามกลยุทธ์มุ่งให้ความสำคัญที่คุณค่า (value) ในการประกอบการ เพื่อนำมาซึ่งความสำเร็จขององค์กร
การนิยามความสำเร็จเป็นเรื่องหนึ่งที่ทำให้เกิดความแตกต่างทางกลยุทธ์ บางกิจการ ความสำเร็จ คือการมีชัยชนะเหนือคู่แข่งในสนามการแข่งขัน บางกิจการวัดความสำเร็จจากการพัฒนาธุรกิจให้ล้ำหน้าการแข่งขันอยู่ตลอดเวลาจนทำให้คู่แข่งหมดความหมาย ขณะที่กิจการอีกส่วนหนึ่งประเมินจากที่องค์กรมีความยั่งยืนด้วยการพัฒนาอย่างสมดุลและแข่งขันกับตนเองเป็นหลัก
Red ocean strategy คือ กลยุทธ์ที่ใช้สร้างขีดความสามารถทางการแข่งขัน โดยมุ่งพัฒนาและส่งมอบคุณค่าที่เหนือกว่า (Beating Value) คู่แข่งขัน
Blue ocean strategy คือ กลยุทธ์ที่ใช้สร้างและจับจองอุปสงค์ในตลาดใหม่ ด้วยการคิดค้นนวัตกรรมทางคุณค่า (Innovating Value) ที่ล้ำหน้าจากสภาพการแข่งขัน
Green ocean strategy คือ กลยุทธ์ที่ใช้สร้างและผนวกคุณค่าทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ที่เน้นดำรงความยั่งยืนทางคุณค่า (Sustaining Value) ด้วยการแข่งขันกับตนเอง
Red Ocean | Blue Ocean | Green Ocean |
Competition-based Strategy | Innovation-based Strategy | Sustainability-based Strategy |
Beating Value | Innovating Value | Sustaining Value |
ในกลยุทธ์การแข่งขันแบบน่านน้ำสีแดง องค์กรต้องเลือกระหว่างกลยุทธ์ต้นทุนต่ำ การสร้างความแตกต่าง หรือการมุ่งเฉพาะส่วน เพราะพื้นที่ตลาดเดิมได้ถูกกำหนดไว้อย่างแจ้งชัด แต่สำหรับกลยุทธ์น่านน้ำสีคราม องค์กรสามารถพัฒนากลยุทธ์ที่ได้ทั้งความแตกต่างและต้นทุนต่ำ เนื่องจากพื้นที่ตลาดได้ถูกสร้างขึ้นใหม่และยังไร้ซึ่งการแข่งขัน
ส่วนกลยุทธ์สู่ความยั่งยืนแบบน่านน้ำสีเขียว องค์กรจะต้องทบทวนกิจกรรมในสายคุณค่าทั้งหมด เพื่อปลูกฝังเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมและความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเข้าไว้ในทุกๆ กิจกรรม มิใช่การดำเนินเพียงกิจกรรมเพื่อสังคมหรือสิ่งแวดล้อมที่อยู่นอกกระบวนการหรือแยกต่างหากจากการดำเนินธุรกิจ การพัฒนากลยุทธ์น่านน้ำสีเขียว จึงคำนึงถึงคุณค่าทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ที่ถูกสร้างขึ้นในสายคุณค่า ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการพัฒนาสู่ความยั่งยืน...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
Thursday, May 12, 2011
Strategy ในประโยคบอกเล่า
ครั้งที่แล้ว ได้พูดถึงความแตกต่างระหว่าง CSR กับ Sustainability ผ่านประโยคบอกเล่า ที่สรุปว่าเรื่องทั้งสองนั้นมีบทบาทที่แตกต่างกัน ตามหน้าที่ของคำในประโยค โดย CSR ควรเป็นคำขยายกริยา หรือ adverb ที่แสดงให้เห็นถึงการกระทำหรือการดำเนินงานอย่างรับผิดชอบต่อสังคม มากกว่าจะไปขยายที่ตัวองค์กรหรือสิ่งที่องค์กรทำโดยตรง
ขณะที่ Sustainability ควรเป็นคำขยายนาม หรือ adjective ที่แสดงให้เห็นว่าผู้ทำหรือสิ่งที่ถูกกระทำมีความยั่งยืนจากผลแห่งการกระทำหรือการดำเนินงานนั้นมากน้อยเพียงใด มากกว่าที่จะไปขยายอากัปกิริยาหรือการกระทำนั้นๆ โดยตรง
ในครั้งนี้ จะพูดถึงคำว่า Strategy ที่จัดเป็น verb ในประโยคบอกเล่า ซึ่งหมายถึง วิธีการหรือการดำเนินงานที่มีนัยสำคัญต่อองค์กร นอกเหนือจากการปฏิบัติงานที่เป็นปกติประจำวัน โดยการบริหารกลยุทธ์ (managing strategy) นั้นมีความแตกต่างจากการบริหารการดำเนินงาน (managing operations) ทั่วไป
นักกลยุทธ์อย่างไมเคิล อี พอร์เตอร์ ระบุว่า ประสิทธิผลของการดำเนินงาน (operation effectiveness) กับกลยุทธ์ (strategy) นั้น มีความจำเป็นต่อการได้มาซึ่งสมรรถนะที่เหนือกว่า (superior performance) คู่แข่งขัน แต่การทำงานในทั้งสองเรื่องนี้มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
กลยุทธ์ที่เปี่ยมด้วยวิสัยทัศน์ หากขาดการเชื่อมโยงสู่การดำเนินงานที่เป็นเลิศและกระบวนการกำกับดูแลที่ดี ก็ไร้ผล ในทางกลับกัน ความเป็นเลิศในการดำเนินงานที่สามารถลดต้นทุน ปรับปรุงคุณภาพ ลดขั้นตอนและเวลาการทำงาน หากปราศจากวิสัยทัศน์และแนวปฏิบัติเชิงกลยุทธ์ ก็เป็นไปไม่ได้ที่องค์กรจะดื่มด่ำกับความสำเร็จที่ยั่งยืนจากการปรับปรุงการดำเนินงานเพียงลำพัง
กูรูผู้นิยามแนวคิด Reengineering หรือการรื้อปรับระบบอย่างไมเคิล แฮมเมอร์ ยังชี้เหมือนกันว่า กระบวนการดำเนินงานที่มีสมรรถนะสูงเป็นสิ่งจำเป็น แต่ไม่เพียงพอที่จะนำพาองค์กรให้ประสบผลสำเร็จ นั่นหมายความว่า แม้องค์กรจะมีกระบวนการดำเนินงานดีที่สุดในโลก แต่หากขาดซึ่งกระบวนการกำกับทิศทางและการปรับเปลี่ยนเพื่อมุ่งสู่เป้าประสงค์ขององค์กรแล้ว ความสำเร็จที่ได้มาก็ถือเป็นโชคอย่างหนึ่ง
กลยุทธ์ เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้องค์กรบรรลุเป้าหมาย เปรียบเหมือนคำกริยาหลัก (main verb หรือ principal verb) ขณะที่การปฏิบัติงานหรือการดำเนินงานประจำวัน เป็นสิ่งจำเป็นที่ทำให้องค์กรขับเคลื่อนได้ เปรียบเหมือนคำกริยานุเคราะห์ (helping verb หรือ auxiliary verb) ทำหน้าที่ช่วยคำกริยาหลัก
อย่างไรก็ดี กริยา auxiliary verb จำพวก primary auxiliary verb สามารถเป็นได้ทั้งกริยาหลักและกริยาช่วย เราจึงได้เห็นหลายองค์กรอยู่ด้วยการบริหารการดำเนินงาน (managing operations) อย่างเดียว โดยไม่พึ่งพิงการบริหารกลยุทธ์ (managing strategy) แต่นั่นก็อาจหมายความว่า ความสำเร็จที่เกิดขึ้นถือเป็นโชคที่อาจไม่สามารถรักษาให้คงอยู่ไว้ได้ตลอดไป
เมื่อว่าด้วยเรื่องกลยุทธ์ ในแวดวงธุรกิจก็มีหลากหลายกลยุทธ์จากร้อยแปดสำนัก กลยุทธ์ที่กำลังมีอิทธิพลและได้รับการกล่าวขานกันแพร่หลายอยู่ในช่วงนี้ ก็คือ กลยุทธ์จำพวกน่านน้ำหลากสี (colourful ocean strategy) ทั้ง red ocean, blue ocean, green ocean ซึ่งจะว่าไปแล้ว ก็สามารถเปรียบได้กับคำกริยากลุ่มหนึ่งในประโยคบอกเล่า
ส่วนจะเป็นกริยาประเภทใด และกลยุทธ์น่านน้ำเหล่านี้มีความเหมือนและต่างกันอย่างไร เราจะมาเฉลยกันผ่านประโยคบอกเล่าในโอกาสต่อไป...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
ขณะที่ Sustainability ควรเป็นคำขยายนาม หรือ adjective ที่แสดงให้เห็นว่าผู้ทำหรือสิ่งที่ถูกกระทำมีความยั่งยืนจากผลแห่งการกระทำหรือการดำเนินงานนั้นมากน้อยเพียงใด มากกว่าที่จะไปขยายอากัปกิริยาหรือการกระทำนั้นๆ โดยตรง
ในครั้งนี้ จะพูดถึงคำว่า Strategy ที่จัดเป็น verb ในประโยคบอกเล่า ซึ่งหมายถึง วิธีการหรือการดำเนินงานที่มีนัยสำคัญต่อองค์กร นอกเหนือจากการปฏิบัติงานที่เป็นปกติประจำวัน โดยการบริหารกลยุทธ์ (managing strategy) นั้นมีความแตกต่างจากการบริหารการดำเนินงาน (managing operations) ทั่วไป
นักกลยุทธ์อย่างไมเคิล อี พอร์เตอร์ ระบุว่า ประสิทธิผลของการดำเนินงาน (operation effectiveness) กับกลยุทธ์ (strategy) นั้น มีความจำเป็นต่อการได้มาซึ่งสมรรถนะที่เหนือกว่า (superior performance) คู่แข่งขัน แต่การทำงานในทั้งสองเรื่องนี้มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
กลยุทธ์ที่เปี่ยมด้วยวิสัยทัศน์ หากขาดการเชื่อมโยงสู่การดำเนินงานที่เป็นเลิศและกระบวนการกำกับดูแลที่ดี ก็ไร้ผล ในทางกลับกัน ความเป็นเลิศในการดำเนินงานที่สามารถลดต้นทุน ปรับปรุงคุณภาพ ลดขั้นตอนและเวลาการทำงาน หากปราศจากวิสัยทัศน์และแนวปฏิบัติเชิงกลยุทธ์ ก็เป็นไปไม่ได้ที่องค์กรจะดื่มด่ำกับความสำเร็จที่ยั่งยืนจากการปรับปรุงการดำเนินงานเพียงลำพัง
กูรูผู้นิยามแนวคิด Reengineering หรือการรื้อปรับระบบอย่างไมเคิล แฮมเมอร์ ยังชี้เหมือนกันว่า กระบวนการดำเนินงานที่มีสมรรถนะสูงเป็นสิ่งจำเป็น แต่ไม่เพียงพอที่จะนำพาองค์กรให้ประสบผลสำเร็จ นั่นหมายความว่า แม้องค์กรจะมีกระบวนการดำเนินงานดีที่สุดในโลก แต่หากขาดซึ่งกระบวนการกำกับทิศทางและการปรับเปลี่ยนเพื่อมุ่งสู่เป้าประสงค์ขององค์กรแล้ว ความสำเร็จที่ได้มาก็ถือเป็นโชคอย่างหนึ่ง
กลยุทธ์ เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้องค์กรบรรลุเป้าหมาย เปรียบเหมือนคำกริยาหลัก (main verb หรือ principal verb) ขณะที่การปฏิบัติงานหรือการดำเนินงานประจำวัน เป็นสิ่งจำเป็นที่ทำให้องค์กรขับเคลื่อนได้ เปรียบเหมือนคำกริยานุเคราะห์ (helping verb หรือ auxiliary verb) ทำหน้าที่ช่วยคำกริยาหลัก
อย่างไรก็ดี กริยา auxiliary verb จำพวก primary auxiliary verb สามารถเป็นได้ทั้งกริยาหลักและกริยาช่วย เราจึงได้เห็นหลายองค์กรอยู่ด้วยการบริหารการดำเนินงาน (managing operations) อย่างเดียว โดยไม่พึ่งพิงการบริหารกลยุทธ์ (managing strategy) แต่นั่นก็อาจหมายความว่า ความสำเร็จที่เกิดขึ้นถือเป็นโชคที่อาจไม่สามารถรักษาให้คงอยู่ไว้ได้ตลอดไป
เมื่อว่าด้วยเรื่องกลยุทธ์ ในแวดวงธุรกิจก็มีหลากหลายกลยุทธ์จากร้อยแปดสำนัก กลยุทธ์ที่กำลังมีอิทธิพลและได้รับการกล่าวขานกันแพร่หลายอยู่ในช่วงนี้ ก็คือ กลยุทธ์จำพวกน่านน้ำหลากสี (colourful ocean strategy) ทั้ง red ocean, blue ocean, green ocean ซึ่งจะว่าไปแล้ว ก็สามารถเปรียบได้กับคำกริยากลุ่มหนึ่งในประโยคบอกเล่า
ส่วนจะเป็นกริยาประเภทใด และกลยุทธ์น่านน้ำเหล่านี้มีความเหมือนและต่างกันอย่างไร เราจะมาเฉลยกันผ่านประโยคบอกเล่าในโอกาสต่อไป...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
Thursday, April 28, 2011
CSR ในประโยคบอกเล่า
วันนี้คงไม่มีใครไม่รู้จักเรื่อง CSR หรือ ความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ และจะอินเทรนด์ยิ่งขึ้น ถ้ารู้จักเรื่อง Sustainability หรือ ความยั่งยืน สองเรื่องนี้มักจะถูกหยิบยกมาพูดพร้อมๆกัน ในบริบทที่ใกล้เคียงกัน เมื่อมีการพูดถึงองค์กรที่ประพฤติตัวดีหรือเป็นที่ยอมรับของสังคม
เวลาที่เราได้ยินว่า องค์กรนั้นองค์กรนี้มี CSR Strategy ที่โดดเด่น ก็มีองค์กรแบบข้ามาทีหลังต้องดังกว่าบอกว่า กลยุทธ์ที่เค้าใช้นั้นมัน beyond CSR ไปแล้ว ของเค้านั้นไปถึง Sustainability Strategy เรียบร้อยแล้ว โอ้แม่เจ้า หลายคนจึงสงสัยอยู่ลึกๆ ว่า แล้วเจ้า CSR กับ Sustainability มันต่างกันหรือไม่ และต่างกันอย่างไร
ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่า ทั้ง CSR และ Sustainability นั้น ภาษาไทยแปลนำหน้าด้วยคำว่า “ความ” (รับผิดชอบต่อสังคม) และ “ความ” (ยั่งยืน) ไม่ใช่ การรับผิดชอบต่อสังคม หรือ การยั่งยืน จึงต้องจัดว่าเป็น “สภาพ” ของสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ดำเนินไปด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมหรือด้วยความยั่งยืน ไม่ใช่ สิ่ง (object) หรือเรื่อง (subject) ที่จะดำเนินไปเองได้
ในที่นี้ จะถือโอกาสอธิบายความต่างของ CSR กับ Sustainability อย่างง่ายๆ โดยใช้การเทียบเคียงรูปประโยคในภาษาอังกฤษเป็นตัวดำเนินเรื่องละกันนะครับ
ในประโยคบอกเล่า ที่มี ประธาน (subject) กริยา (verb) กรรม (object) ยังมีคำขยายสองชนิดที่ใช้บ่อยก็คือ คำคุณศัพท์ (adjective) กับคำกริยาวิเศษณ์ (adverb) ครั้นจะทำความเข้าใจสองคำขยายนี้ ตามที่แปลเป็นภาษาไทยคงมึนตึ๊บแน่
Ad ที่เติมหน้า -jective กับ -verb แปลว่า ขยาย หรือ ชี้สภาพของสิ่งนั้น adjective จึงเป็นคำขยายนาม คือ เป็นเครื่องชี้สภาพของสิ่งนั้นหรือเรื่องนั้น ส่วน adverb คือ คำขยายกริยา จึงใช้เป็นเครื่องชี้สภาพของการกระทำ (โดยประธาน) หรือ การถูกกระทำ (ของกรรม) ในประโยค
เมื่อเราไม่ได้จัดว่า CSR และ Sustainability เป็นประธานหรือกรรมของประโยค แต่เป็นสภาพของสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ฉะนั้น CSR กับ Sustainability จึงน่าจะเทียบเคียงได้กับ adjective หรือ adverb ในประโยคบอกเล่า ปัญหามีต่อไปว่า แล้ว CSR ควรเป็น adjective หรือ adverb กันล่ะ
หากพิจารณาน้ำหนักของคำที่ CSR จะต้องไปขยายระหว่าง ผู้ทำ (หรือสิ่งที่ถูกกระทำ) กับ การกระทำแล้ว ก็น่าจะเห็นพ้องได้ว่า CSR ควรเป็นคำขยายกริยา หรือ adverb ที่แสดงให้เห็นถึงการกระทำหรือการดำเนินงานอย่างรับผิดชอบต่อสังคม มากกว่าที่จะไปขยายตัวองค์กรหรือสิ่งที่องค์กรทำโดยตรง
ตัวอย่างเช่น องค์กรไม่ได้ต้องการผลิตสินค้าให้มีความรับผิดชอบต่อสังคม แต่ต้องการที่จะผลิต (สินค้า) อย่างรับผิดชอบ เพื่อให้ได้สินค้าซึ่งเป็นที่ยอมรับจากสังคม และส่งผลให้องค์กรได้รับการยอมรับจากสังคมตามไปด้วย
ขณะที่คำว่า Sustainability ควรเป็นคำขยายนาม หรือ adjective ที่แสดงให้เห็นว่าผู้ทำหรือสิ่งที่ถูกกระทำมีความยั่งยืนจากผลแห่งการกระทำหรือการดำเนินงานนั้นมากน้อยเพียงใด มากกว่าที่จะไปขยายอากัปกิริยาหรือการกระทำนั้นโดยตรง
ตัวอย่างเช่น องค์กรไม่ได้ต้องการดูแลรักษาอย่างยั่งยืนต่อสิ่งแวดล้อม แต่ต้องการที่จะดูแลรักษา (สิ่งแวดล้อม) อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ จนทำให้สิ่งแวดล้อมมีความยั่งยืน หรือเกิดเป็นอานิสงส์ให้องค์กรมีความยั่งยืนไปด้วย
เมื่อเป็นดังนี้แล้ว CSR จึงเป็นเสมือนกลไกหรือเครื่องมือ (mean) ในการดำเนินการที่จะนำพาองค์กร (ในฐานะผู้ดำเนินการ) และสังคม (ในฐานะเป้าหมายของการดำเนินการ) ไปสู่จุดหมาย (end) แห่งความยั่งยืนจากการดำเนินการนั้นๆ
เราไม่สามารถบรรลุจุดหมาย โดยปราศจากการคำนึงถึงวิธีการที่ใช้ฉันใด องค์กรก็ไม่สามารถได้ความยั่งยืนมาโดยปราศจากความรับผิดชอบต่อสังคมฉันนั้น ฉะนั้น หากองค์กรมัวแต่คิดเรื่องกลยุทธ์ความยั่งยืน โดยไม่ให้ความสำคัญกับกลยุทธ์ความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นพื้นฐานแล้ว ก็ยากที่จะประสบผลสำเร็จ เพราะการได้มาซึ่ง Sustainability ยังไงก็ข้ามเรื่อง CSR ไปไม่ได้
การอธิบายเทียบเคียงข้างต้นนี้ ก็เพื่อชี้ให้เห็นว่า CSR กับ Sustainability มีบทบาทที่แตกต่างกัน ตามหน้าที่ของคำในประโยค มิได้หมายความว่า CSR เป็น adverb และ Sustainability เป็น adjective จริงๆ ตามหลักไวยากรณ์ในภาษาอังกฤษ (ในความเป็นจริง adverb นอกจากขยายคำกริยาแล้ว ก็ยังทำหน้าที่ขยายคำคุณศัพท์หรือขยายคำกริยาวิเศษณ์เองด้วย)...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
เวลาที่เราได้ยินว่า องค์กรนั้นองค์กรนี้มี CSR Strategy ที่โดดเด่น ก็มีองค์กรแบบข้ามาทีหลังต้องดังกว่าบอกว่า กลยุทธ์ที่เค้าใช้นั้นมัน beyond CSR ไปแล้ว ของเค้านั้นไปถึง Sustainability Strategy เรียบร้อยแล้ว โอ้แม่เจ้า หลายคนจึงสงสัยอยู่ลึกๆ ว่า แล้วเจ้า CSR กับ Sustainability มันต่างกันหรือไม่ และต่างกันอย่างไร
ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่า ทั้ง CSR และ Sustainability นั้น ภาษาไทยแปลนำหน้าด้วยคำว่า “ความ” (รับผิดชอบต่อสังคม) และ “ความ” (ยั่งยืน) ไม่ใช่ การรับผิดชอบต่อสังคม หรือ การยั่งยืน จึงต้องจัดว่าเป็น “สภาพ” ของสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ดำเนินไปด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมหรือด้วยความยั่งยืน ไม่ใช่ สิ่ง (object) หรือเรื่อง (subject) ที่จะดำเนินไปเองได้
ในที่นี้ จะถือโอกาสอธิบายความต่างของ CSR กับ Sustainability อย่างง่ายๆ โดยใช้การเทียบเคียงรูปประโยคในภาษาอังกฤษเป็นตัวดำเนินเรื่องละกันนะครับ
ในประโยคบอกเล่า ที่มี ประธาน (subject) กริยา (verb) กรรม (object) ยังมีคำขยายสองชนิดที่ใช้บ่อยก็คือ คำคุณศัพท์ (adjective) กับคำกริยาวิเศษณ์ (adverb) ครั้นจะทำความเข้าใจสองคำขยายนี้ ตามที่แปลเป็นภาษาไทยคงมึนตึ๊บแน่
Ad ที่เติมหน้า -jective กับ -verb แปลว่า ขยาย หรือ ชี้สภาพของสิ่งนั้น adjective จึงเป็นคำขยายนาม คือ เป็นเครื่องชี้สภาพของสิ่งนั้นหรือเรื่องนั้น ส่วน adverb คือ คำขยายกริยา จึงใช้เป็นเครื่องชี้สภาพของการกระทำ (โดยประธาน) หรือ การถูกกระทำ (ของกรรม) ในประโยค
เมื่อเราไม่ได้จัดว่า CSR และ Sustainability เป็นประธานหรือกรรมของประโยค แต่เป็นสภาพของสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ฉะนั้น CSR กับ Sustainability จึงน่าจะเทียบเคียงได้กับ adjective หรือ adverb ในประโยคบอกเล่า ปัญหามีต่อไปว่า แล้ว CSR ควรเป็น adjective หรือ adverb กันล่ะ
หากพิจารณาน้ำหนักของคำที่ CSR จะต้องไปขยายระหว่าง ผู้ทำ (หรือสิ่งที่ถูกกระทำ) กับ การกระทำแล้ว ก็น่าจะเห็นพ้องได้ว่า CSR ควรเป็นคำขยายกริยา หรือ adverb ที่แสดงให้เห็นถึงการกระทำหรือการดำเนินงานอย่างรับผิดชอบต่อสังคม มากกว่าที่จะไปขยายตัวองค์กรหรือสิ่งที่องค์กรทำโดยตรง
ตัวอย่างเช่น องค์กรไม่ได้ต้องการผลิตสินค้าให้มีความรับผิดชอบต่อสังคม แต่ต้องการที่จะผลิต (สินค้า) อย่างรับผิดชอบ เพื่อให้ได้สินค้าซึ่งเป็นที่ยอมรับจากสังคม และส่งผลให้องค์กรได้รับการยอมรับจากสังคมตามไปด้วย
ขณะที่คำว่า Sustainability ควรเป็นคำขยายนาม หรือ adjective ที่แสดงให้เห็นว่าผู้ทำหรือสิ่งที่ถูกกระทำมีความยั่งยืนจากผลแห่งการกระทำหรือการดำเนินงานนั้นมากน้อยเพียงใด มากกว่าที่จะไปขยายอากัปกิริยาหรือการกระทำนั้นโดยตรง
ตัวอย่างเช่น องค์กรไม่ได้ต้องการดูแลรักษาอย่างยั่งยืนต่อสิ่งแวดล้อม แต่ต้องการที่จะดูแลรักษา (สิ่งแวดล้อม) อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ จนทำให้สิ่งแวดล้อมมีความยั่งยืน หรือเกิดเป็นอานิสงส์ให้องค์กรมีความยั่งยืนไปด้วย
เมื่อเป็นดังนี้แล้ว CSR จึงเป็นเสมือนกลไกหรือเครื่องมือ (mean) ในการดำเนินการที่จะนำพาองค์กร (ในฐานะผู้ดำเนินการ) และสังคม (ในฐานะเป้าหมายของการดำเนินการ) ไปสู่จุดหมาย (end) แห่งความยั่งยืนจากการดำเนินการนั้นๆ
เราไม่สามารถบรรลุจุดหมาย โดยปราศจากการคำนึงถึงวิธีการที่ใช้ฉันใด องค์กรก็ไม่สามารถได้ความยั่งยืนมาโดยปราศจากความรับผิดชอบต่อสังคมฉันนั้น ฉะนั้น หากองค์กรมัวแต่คิดเรื่องกลยุทธ์ความยั่งยืน โดยไม่ให้ความสำคัญกับกลยุทธ์ความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นพื้นฐานแล้ว ก็ยากที่จะประสบผลสำเร็จ เพราะการได้มาซึ่ง Sustainability ยังไงก็ข้ามเรื่อง CSR ไปไม่ได้
การอธิบายเทียบเคียงข้างต้นนี้ ก็เพื่อชี้ให้เห็นว่า CSR กับ Sustainability มีบทบาทที่แตกต่างกัน ตามหน้าที่ของคำในประโยค มิได้หมายความว่า CSR เป็น adverb และ Sustainability เป็น adjective จริงๆ ตามหลักไวยากรณ์ในภาษาอังกฤษ (ในความเป็นจริง adverb นอกจากขยายคำกริยาแล้ว ก็ยังทำหน้าที่ขยายคำคุณศัพท์หรือขยายคำกริยาวิเศษณ์เองด้วย)...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
ในช่วงเดือนเมษายนนี้ สถาบันไทยพัฒน์และเครือเนชั่นได้จัดสัปดาห์กิจกรรม 7 อุปนิสัยสร้างโลกเขียว บนเครือข่ายสังคมออนไลน์ เฟซบุ๊ค (http://on.fb.me/green_ocean) และทวิตเตอร์ (http://twitter.com/green_ocean) ชวนผู้สนใจร่วมกิจกรรม กรีน โอเชี่ยน สัปดาห์ที่ 8 : Activities ร่วมด้วยช่วยกันเพื่อโลกของเรา ร่วมตอบ 15 คำถาม 5 วันต่อเนื่อง ชิงรางวัลบัตร BTS มูลค่า 500 บาท เสื้อโปโล CSR มูลค่า 350 บาท และ Central Gift Voucher มูลค่า 200 บาท (เริ่มวันจันทร์ที่ 25 - ศุกร์ที่ 29 เม.ย.54) |
Subscribe to:
Posts (Atom)