การโฆษณาประชาสัมพันธ์ขององค์กรธุรกิจผ่านทางสื่อต่างๆ ในปัจจุบัน กำลังมีอิทธิพลสำคัญต่อพฤติกรรมการใช้ชีวิตและการบริโภคของประชาชน ทั้งในทางที่ดีและในทางที่ไม่ดี ประกอบกับเทคโนโลยีสารสนเทศที่เจริญรุดหน้าได้เข้ามาเพิ่มศักยภาพสื่อในการเข้าถึงตัวผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็วและง่ายดายขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก
ปัจจุบัน กระแสการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ หรือ CSR ได้ทวีความสำคัญและเป็นที่จับตาของสังคมเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ องค์กรธุรกิจหลายแห่งที่ไม่เคยให้ความสนใจกับการประชาสัมพันธ์กิจกรรม CSR ขององค์กร ก็หันมาศึกษาและค้นหาวิธีการในการเผยแพร่สู่สาธารณชนเพื่อให้เป็นที่รับรู้ในวงกว้าง
การที่องค์กรธุรกิจให้ความสำคัญกับการสื่อสารกิจกรรม CSR สู่ภายนอกเพิ่มมากขึ้น ทำให้ข่าวสารความเคลื่อนไหวในกิจกรรม CSR ขององค์กรต่างๆ ปรากฏในสื่อต่างๆ อย่างทวีคูณ การสื่อสาร CSR ในประเด็นต่างๆ ที่องค์กรต้องการให้สังคมรับรู้ จึงมีความหลากหลายซับซ้อนเพิ่มขึ้น หลายครั้งมีการหยิบยกเรื่อง CSR มาเป็นเพียงการสร้างภาพลักษณ์ให้แก่องค์กร มีการกล่าวอ้างเรื่อง CSR เพื่อปกปิดพฤติกรรมที่มีความไม่ชอบมาพากลของธุรกิจ หรือเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจของสังคมต่อตัวกิจการให้จำกัดอยู่ในกรอบที่องค์กรธุรกิจต้องการ
แม้การส่งเสริมให้ธุรกิจที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมได้เผยแพร่ประชาสัมพันธ์กิจกรรมอันเป็นประโยชน์ต่อสังคมเป็นสิ่งที่สื่อมวลชนควรให้การสนับสนุน แต่ในขณะเดียวกัน ก็ต้องรู้เท่าทันองค์กรธุรกิจที่อาศัยสื่อมวลชนเป็นเครื่องมือประชาสัมพันธ์โดยใช้เรื่อง CSR เป็นเครื่องนำทาง สื่อมวลชนจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจ รู้จักแยกแยะว่าเรื่องใดเป็นกิจกรรมเพื่อสังคมเรื่องใดเป็นกิจกรรมเพื่อธุรกิจ รวมทั้งเสริมสร้างบทบาทเชิงวิเคราะห์ (Analytical Role) ของสื่อมวลชน มิให้ถูกชักจูงและเชื่อคล้อยตามข้อมูลที่ได้รับโดยปราศจากความลังเลสงสัย และนำเสนอข่าวในมิติเดียว
สื่อมวลชน จึงถูกคาดหวังให้มีการนำเสนอข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำ และเป็นหน้าด่านในการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่อง CSR ที่ถูกต้องให้เกิดขึ้นในสังคมไทย อย่างน้อยที่สุด จะต้องเป็นผู้ทำหน้าที่คัดกรองตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อนที่จะส่งผ่านไปสู่กระบวนการบริโภคข้อมูลของสาธารณชน โดยไม่ผลักภาระให้แก่สังคมในการแยกแยะตัดสินแต่เพียงฝ่ายเดียว เนื่องจากยังมีสังคมกลุ่มใหญ่ที่ขาดทักษะและวิจารณญาณในการบริโภคข้อมูลเหล่านี้เองได้
ในวันเสาร์ (22 ก.ย.) นี้ ทางสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ร่วมกับสถาบันธุรกิจเพื่อสังคม (CSRI) มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และอีกหลายหน่วยงาน ได้จัดอบรมหลักสูตรพิเศษเรื่อง “กระบวนการเจาะข่าว CSR” (Investigative journalism in CSR) ที่ห้องสัมมนา 3 อาคาร 7 ชั้น 12 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ในเวลา 9.00-16.00 น. โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งเหมาะอย่างยิ่งกับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้สื่อข่าว หัวหน้าข่าว บรรณาธิการของสื่อต่างๆ คณาจารย์ นักวิชาการด้านสื่อสารมวลชน นักศึกษาที่เรียนวิชาการสื่อข่าว นักประชาสัมพันธ์ และผู้ที่ทำงานด้านการสื่อสารองค์กร โดยในการอบรมครั้งนี้ ยังได้รับเกียรติจาก รศ.สดศรี เผ่าอินจันทร์ อดีตคณบดีคณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จะมาจุดประเด็นเรื่องจิตวิญญาณ จรรยาบรรณ สื่อ และความรับผิดชอบต่อสังคมด้วย
ผู้ที่ทำงานด้านการสื่อสาร ซึ่งมีความสนใจในหลักสูตรพิเศษ กระบวนการเจาะข่าว CSR นี้ สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.csr4thailand.com...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
Thursday, September 20, 2012
Thursday, September 13, 2012
ยุทธศาสตร์ไทย ใน 2 ทศวรรษหน้า
วันพรุ่งนี้ (14 ก.ย.) สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จะมีการจัดสัมมนาวิชาการประจำปี เรื่อง “ยุทธศาสตร์ประเทศไทยใน 2 ทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2556-2575) ภายใต้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ณ โรงแรมเซ็นทราศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ เพื่อประมวลข้อเท็จจริง ประเด็นปัญหา และผลกระทบด้านต่างๆ ตลอดจนศักยภาพและความพร้อมของประเทศไทย จัดทำเป็นความเห็นและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเสนอต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อกำหนดเป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศใน 2 ทศวรรษข้างหน้า
การสัมมนาครั้งนี้ จะมีการประชุมกลุ่มเพื่อระดมความคิดเห็นใน 7 ด้าน ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านวิทยาศาสตร์ ด้านการบริหารจัดการภาครัฐ ด้านการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมและประชาชน และด้านกระบวนทัศน์และยุทธศาสตร์ของเศรษฐกิจพอเพียง ในฐานะเป็นทางรอดของประเทศไทย โดยเป็นการจัดสัมมนาต่อเนื่องจากการจัดสัมมนาระดมความคิดเห็นใน 4 ภูมิภาคไปแล้วก่อนหน้านี้
งานวิจัยชิ้นหนึ่งที่มีความเกี่ยวข้องกับหัวเรื่องในการสัมมนาครั้งนี้ ได้แก่ งานศึกษาของ ศ.ดร.อภิชัย พันธเสนและคณะ (2550) ในโครงการวิจัยเพื่อจัดทำแผนที่เดินทาง (Roadmap) ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง โดยสถาบันการจัดการเพื่อชนบทและสังคม มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
ในที่ประชุมระดมสมองของโครงการจัดทำแผนที่เดินทางเศรษฐกิจพอเพียงครั้งนั้น ได้มีการเสนอภาพของปัญหาซึ่งคาดว่าจะดำรงอยู่ใน 20 ปีข้างหน้า ได้แก่ ปัญหาโลกร้อน การขาดแคลนพลังงาน การเป็นสังคมผู้สูงอายุ การแข่งขันภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ และการเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมชุมชนรวมถึงค่านิยมในสังคมไทยที่สืบเนื่องจากกระแสโลกาภิวัตน์
การรับมือกับสภาพปัญหาที่จะมาถึง จำเป็นต้องสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ให้รู้เท่าทันปัญหาที่กำลังจะเกิดขึ้น ขณะเดียวกันความพอประมาณมีเหตุมีผลจะช่วยลดการบริโภคซึ่งส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งด้านการประหยัดการใช้พลังงานและการลดการปล่อยมลพิษที่สร้างปัญหาโลกร้อน การสร้างสังคมที่เอื้ออาทร โดยมีครอบครัว ชุมชน และท้องถิ่น เป็นพื้นฐานที่แข็งแกร่งจะช่วยสร้างโครงข่ายความปลอดภัยทางสังคมและสร้างสวัสดิการที่เกื้อหนุนผู้ยากไร้และผู้สูงอายุในพื้นที่
นอกจากนี้การสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจโดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาผลิตภาพของสาขาการผลิตบนฐานทรัพยากรและภูมิปัญญา เช่น สาขาการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ยาสมุนไพร และพืชพลังงาน จะลดการพึ่งพาเทคโนโลยี ปุ๋ยและพลังงานจากต่างประเทศ เศรษฐกิจพอเพียงจึงเป็นปรัชญาที่หากนำไปสู่การปฏิบัติอย่างจริงจังจะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่เศรษฐกิจสังคมในระยะยาวได้
แผนที่เดินทางของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นความพยายายามที่จะแปลงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางปฏิบัติ เพื่อแก้ไขปัญหาสำคัญหรือประเด็นวิกฤตที่ประเทศไทยเผชิญอยู่ โดยใช้ประเด็นวิกฤติเป็นตัวตั้ง และใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวคิดในการกำหนดวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์เพื่อแก้ไขประเด็นวิกฤติเหล่านั้น
โดยที่ส่วนประกอบและสาระของแผนที่เดินทางประกอบด้วย วิสัยทัศน์ จังหวะก้าวใน 20 ปี และยุทธศาสตร์ 6 ข้อ กลยุทธ์ภายใต้ยุทธศาสตร์แต่ละข้อ และตัวอย่างแผนงานสำหรับการก้าวเดินในระยะ 5 ปีแรก ข้อเสนอเบื้องต้นสำหรับตัวชี้วัดความสำเร็จซึ่งเป็นหลักไมล์ในการเดินทางในระยะ 5 ปีแรกนี้ และในส่วนสุดท้ายได้กล่าวถึงวิธีการนำแผนที่เดินทางไปแปลงสู่การปฏิบัติ (ดูข้อมูล Roadmap เศรษฐกิจพอเพียงฉบับเต็มได้ที่ http://bit.ly/SEroadmap)
ในทางปฏิบัติ การขับเคลื่อนแผนที่เดินทางฉบับดังกล่าว ดูเหมือนมิได้มีความคืบหน้าเท่าใดนัก เนื่องจากไม่มี “เจ้าภาพ” ที่จะขับเคลื่อนแผนที่เดินทางนี้อย่างแท้จริง แต่อย่างน้อยก็ทำให้สังคมไทยได้ตระหนักว่ามีความคิดในแนวนี้เกิดขึ้น และปัญหาที่ได้กล่าวถึงในงานวิจัยดังกล่าว ก็ยังเป็นปัญหาที่คงอยู่ในปัจจุบัน และนับวันจะยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
การสัมมนาครั้งนี้ จะมีการประชุมกลุ่มเพื่อระดมความคิดเห็นใน 7 ด้าน ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านวิทยาศาสตร์ ด้านการบริหารจัดการภาครัฐ ด้านการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมและประชาชน และด้านกระบวนทัศน์และยุทธศาสตร์ของเศรษฐกิจพอเพียง ในฐานะเป็นทางรอดของประเทศไทย โดยเป็นการจัดสัมมนาต่อเนื่องจากการจัดสัมมนาระดมความคิดเห็นใน 4 ภูมิภาคไปแล้วก่อนหน้านี้
งานวิจัยชิ้นหนึ่งที่มีความเกี่ยวข้องกับหัวเรื่องในการสัมมนาครั้งนี้ ได้แก่ งานศึกษาของ ศ.ดร.อภิชัย พันธเสนและคณะ (2550) ในโครงการวิจัยเพื่อจัดทำแผนที่เดินทาง (Roadmap) ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง โดยสถาบันการจัดการเพื่อชนบทและสังคม มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
ในที่ประชุมระดมสมองของโครงการจัดทำแผนที่เดินทางเศรษฐกิจพอเพียงครั้งนั้น ได้มีการเสนอภาพของปัญหาซึ่งคาดว่าจะดำรงอยู่ใน 20 ปีข้างหน้า ได้แก่ ปัญหาโลกร้อน การขาดแคลนพลังงาน การเป็นสังคมผู้สูงอายุ การแข่งขันภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ และการเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมชุมชนรวมถึงค่านิยมในสังคมไทยที่สืบเนื่องจากกระแสโลกาภิวัตน์
การรับมือกับสภาพปัญหาที่จะมาถึง จำเป็นต้องสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ให้รู้เท่าทันปัญหาที่กำลังจะเกิดขึ้น ขณะเดียวกันความพอประมาณมีเหตุมีผลจะช่วยลดการบริโภคซึ่งส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งด้านการประหยัดการใช้พลังงานและการลดการปล่อยมลพิษที่สร้างปัญหาโลกร้อน การสร้างสังคมที่เอื้ออาทร โดยมีครอบครัว ชุมชน และท้องถิ่น เป็นพื้นฐานที่แข็งแกร่งจะช่วยสร้างโครงข่ายความปลอดภัยทางสังคมและสร้างสวัสดิการที่เกื้อหนุนผู้ยากไร้และผู้สูงอายุในพื้นที่
นอกจากนี้การสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจโดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาผลิตภาพของสาขาการผลิตบนฐานทรัพยากรและภูมิปัญญา เช่น สาขาการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ยาสมุนไพร และพืชพลังงาน จะลดการพึ่งพาเทคโนโลยี ปุ๋ยและพลังงานจากต่างประเทศ เศรษฐกิจพอเพียงจึงเป็นปรัชญาที่หากนำไปสู่การปฏิบัติอย่างจริงจังจะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่เศรษฐกิจสังคมในระยะยาวได้
แผนที่เดินทางของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นความพยายายามที่จะแปลงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางปฏิบัติ เพื่อแก้ไขปัญหาสำคัญหรือประเด็นวิกฤตที่ประเทศไทยเผชิญอยู่ โดยใช้ประเด็นวิกฤติเป็นตัวตั้ง และใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวคิดในการกำหนดวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์เพื่อแก้ไขประเด็นวิกฤติเหล่านั้น
โดยที่ส่วนประกอบและสาระของแผนที่เดินทางประกอบด้วย วิสัยทัศน์ จังหวะก้าวใน 20 ปี และยุทธศาสตร์ 6 ข้อ กลยุทธ์ภายใต้ยุทธศาสตร์แต่ละข้อ และตัวอย่างแผนงานสำหรับการก้าวเดินในระยะ 5 ปีแรก ข้อเสนอเบื้องต้นสำหรับตัวชี้วัดความสำเร็จซึ่งเป็นหลักไมล์ในการเดินทางในระยะ 5 ปีแรกนี้ และในส่วนสุดท้ายได้กล่าวถึงวิธีการนำแผนที่เดินทางไปแปลงสู่การปฏิบัติ (ดูข้อมูล Roadmap เศรษฐกิจพอเพียงฉบับเต็มได้ที่ http://bit.ly/SEroadmap)
ในทางปฏิบัติ การขับเคลื่อนแผนที่เดินทางฉบับดังกล่าว ดูเหมือนมิได้มีความคืบหน้าเท่าใดนัก เนื่องจากไม่มี “เจ้าภาพ” ที่จะขับเคลื่อนแผนที่เดินทางนี้อย่างแท้จริง แต่อย่างน้อยก็ทำให้สังคมไทยได้ตระหนักว่ามีความคิดในแนวนี้เกิดขึ้น และปัญหาที่ได้กล่าวถึงในงานวิจัยดังกล่าว ก็ยังเป็นปัญหาที่คงอยู่ในปัจจุบัน และนับวันจะยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
Thursday, September 06, 2012
สังคมสีเขียว ฉบับประเทศไทย
ในวันนี้ (6 ก.ย. 2555) สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือสภาพัฒน์ฯ มีการจัดประชุมประจำปีเรื่อง “อนาคตประเทศไทยบนเส้นทางสีเขียว” ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี
กรอบการขับเคลื่อนการพัฒนาระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2555-2559) ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคนและสังคมไทยให้มีคุณภาพ มีโอกาสเข้าถึงทรัพยากร และได้รับประโยชน์จากการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างเป็นธรรม โดยเฉพาะการสร้างฐานทางปัญญาในการก้าวสู่สังคมและเศรษฐกิจสีเขียวที่มีแบบแผนการผลิตและบริโภคอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
การเตรียมความพร้อมประเทศไทยเพื่อขับเคลื่อนสู่ “สังคมสีเขียว” นั้น สภาพัฒน์ฯ ได้กำหนดทิศทางและยุทธศาสตร์สำหรับการพัฒนา โดยคำนึงถึงปัจจัยที่สำคัญๆ ได้แก่ บทบาทและกระบวนทัศน์การพัฒนาขององค์การระหว่างประเทศ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคจากความต้องการสินค้าและบริการที่ใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างฟุ่มเฟือยในการผลิต มาสู่กระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวด ล้อมและมีความรับผิดชอบต่อสังคม การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ถือเป็นปัจจัยเร่งทำให้ต้องปรับกระบวนทัศน์และขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ เพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นเศรษฐกิจและสังคมคาร์บอนต่ำและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งพันธกรณีและข้อตกลงระหว่างประเทศทั้งด้านการค้า การลงทุน และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
อย่างไรก็ดี การขับเคลื่อนประเทศไทยสู่สังคมสีเขียว ยังมีประเด็นท้าทายในการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์การพัฒนา ที่ต้องอาศัยระยะเวลาในการดำเนินงาน ความต่อเนื่องของการดำเนินนโยบาย กลไกและเครื่องมือ และความพร้อมในการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการของภาคีการพัฒนาต่างๆ การขาดแรงผลักดันจากภาครัฐอย่างจริงจังในการเปลี่ยนแปลงกระบวนการพัฒนาจากเดิมไปสู่กระบวนการพัฒนาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การสร้างตลาดผู้บริโภคภายในประเทศที่ตอบสนองความต้องการใช้สินค้าและบริการสีเขียวยังคงอยู่ในวงจำกัด ตลอดจนการสร้างระบบและกลไกสนับสนุนกลุ่มคนฐานล่างให้สามารถปรับตัวและช่วยลดผลกระทบจากการขับเคลื่อนประเทศสู่สังคมสีเขียวภายใต้กรอบแนวคิดของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 ดังกล่าว
การประชุมครั้งนี้ มีการหารือถึงแนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาใน 7 ประเด็นหลัก ประกอบด้วย 1) อนาคตเกษตรไทยสู่การเติบโตสีเขียว 2) อุตสาหกรรมสะอาด วิถีใหม่ของอุตสาหกรรมอนาคต 3) มุ่งสร้างสรรค์การท่องเที่ยวสีเขียว เพื่อการพัฒนาอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน 4) การพัฒนาระบบขนส่งและพลังงานเพื่อระบบเศรษฐกิจสีเขียว 5) เส้นทางสู่นวัตกรรมสีเขียว 6) สังคมสีเขียว นวัตกรรมทางสังคมสู่การพัฒนาที่ทั่วถึงและยั่งยืน 7) การรับมือภัยพิบัติภายใต้การเติบโตสีเขียว
สิ่งสำคัญเบื้องแรกในการขับเคลื่อนการพัฒนาให้ประสบผลสำเร็จนั้น จำเป็นต้องสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในความหมายของคำว่า “สีเขียว” แก่ทุกภาคส่วนให้ตรงกันก่อน เพราะบริบทของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมบนเส้นทางสีเขียว ในประการแรก มิได้จำกัดเพียงแค่มิติ “ด้านสิ่งแวดล้อม” เท่านั้น แต่ยังต้องคำนึงถึงความอยู่ดีมีสุขของมนุษย์และความเสมอภาคเป็นธรรมทางสังคมประกอบกัน
ประการที่สอง ไม่สามารถกำหนดหรือใช้ยุทธศาสตร์สีเขียวชุดเดียวสำหรับการขับเคลื่อน โดยขาดการคำนึงถึงปัจจัย “ด้านภูมิสังคม” ที่มีความหลากหลายและแตกต่างกันตามแต่ละพื้นที่
และประการที่สาม ยุทธศาสตร์สีเขียวต้องเอื้อต่อการสร้างให้เกิด “ภูมิคุ้มกัน” ที่สามารถปรับตัวรองรับการเปลี่ยนแปลง มิใช่ถูกนำมาใช้เพื่อเป็น “เครื่องมือกีดกัน” การเข้าถึงทรัพยากร โอกาส แหล่งทุน ฯลฯ และมิใช่เป็นข้ออ้างสำหรับการสร้างมาตรฐานหรือเกณฑ์ที่ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำ หรือนำไปสู่การสร้างความมั่งคั่งแก่คนบางกลุ่มบนความสูญเสียของคนกลุ่มใหญ่
สิ่งสำคัญต่อมาคือ การสร้างความเชื่อมโยงระหว่างนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาสีเขียวกับนโยบายรัฐบาล แผนการบริหารราชการแผ่นดิน และแผนระดับอื่นๆ รวมทั้งแผนพัฒนาจังหวัด กลุ่มจังหวัด และแผนท้องถิ่น ตลอดจนการผลักดันให้ภาคเอกชนนำประเด็นการพัฒนาสีเขียวไปจัดทำแผนการลงทุนทางธุรกิจที่สอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์ดังกล่าว
ทั้งนี้ ภาครัฐจะต้องสร้างสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการขับเคลื่อนแผนของภาคีการพัฒนาต่างๆ พิจารณาปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้เอื้อต่อการขับเคลื่อนการพัฒนา รวมทั้งสื่อสารและจัดทำข้อมูลที่ภาคส่วนต่างๆ สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้อย่างเป็นระบบและบูรณาการ ตลอดจนการเสริมสร้างบทบาทของภาคีการพัฒนาให้เข้ามามีส่วนร่วมในฐานะหุ้นส่วนการพัฒนา มิใช่พระอันดับที่เข้าร่วมพอเป็นพิธีโดยมิได้ให้ความสำคัญ...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
กรอบการขับเคลื่อนการพัฒนาระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2555-2559) ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคนและสังคมไทยให้มีคุณภาพ มีโอกาสเข้าถึงทรัพยากร และได้รับประโยชน์จากการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างเป็นธรรม โดยเฉพาะการสร้างฐานทางปัญญาในการก้าวสู่สังคมและเศรษฐกิจสีเขียวที่มีแบบแผนการผลิตและบริโภคอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
การเตรียมความพร้อมประเทศไทยเพื่อขับเคลื่อนสู่ “สังคมสีเขียว” นั้น สภาพัฒน์ฯ ได้กำหนดทิศทางและยุทธศาสตร์สำหรับการพัฒนา โดยคำนึงถึงปัจจัยที่สำคัญๆ ได้แก่ บทบาทและกระบวนทัศน์การพัฒนาขององค์การระหว่างประเทศ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคจากความต้องการสินค้าและบริการที่ใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างฟุ่มเฟือยในการผลิต มาสู่กระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวด ล้อมและมีความรับผิดชอบต่อสังคม การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ถือเป็นปัจจัยเร่งทำให้ต้องปรับกระบวนทัศน์และขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ เพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นเศรษฐกิจและสังคมคาร์บอนต่ำและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งพันธกรณีและข้อตกลงระหว่างประเทศทั้งด้านการค้า การลงทุน และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
อย่างไรก็ดี การขับเคลื่อนประเทศไทยสู่สังคมสีเขียว ยังมีประเด็นท้าทายในการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์การพัฒนา ที่ต้องอาศัยระยะเวลาในการดำเนินงาน ความต่อเนื่องของการดำเนินนโยบาย กลไกและเครื่องมือ และความพร้อมในการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการของภาคีการพัฒนาต่างๆ การขาดแรงผลักดันจากภาครัฐอย่างจริงจังในการเปลี่ยนแปลงกระบวนการพัฒนาจากเดิมไปสู่กระบวนการพัฒนาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การสร้างตลาดผู้บริโภคภายในประเทศที่ตอบสนองความต้องการใช้สินค้าและบริการสีเขียวยังคงอยู่ในวงจำกัด ตลอดจนการสร้างระบบและกลไกสนับสนุนกลุ่มคนฐานล่างให้สามารถปรับตัวและช่วยลดผลกระทบจากการขับเคลื่อนประเทศสู่สังคมสีเขียวภายใต้กรอบแนวคิดของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 ดังกล่าว
การประชุมครั้งนี้ มีการหารือถึงแนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาใน 7 ประเด็นหลัก ประกอบด้วย 1) อนาคตเกษตรไทยสู่การเติบโตสีเขียว 2) อุตสาหกรรมสะอาด วิถีใหม่ของอุตสาหกรรมอนาคต 3) มุ่งสร้างสรรค์การท่องเที่ยวสีเขียว เพื่อการพัฒนาอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน 4) การพัฒนาระบบขนส่งและพลังงานเพื่อระบบเศรษฐกิจสีเขียว 5) เส้นทางสู่นวัตกรรมสีเขียว 6) สังคมสีเขียว นวัตกรรมทางสังคมสู่การพัฒนาที่ทั่วถึงและยั่งยืน 7) การรับมือภัยพิบัติภายใต้การเติบโตสีเขียว
สิ่งสำคัญเบื้องแรกในการขับเคลื่อนการพัฒนาให้ประสบผลสำเร็จนั้น จำเป็นต้องสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในความหมายของคำว่า “สีเขียว” แก่ทุกภาคส่วนให้ตรงกันก่อน เพราะบริบทของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมบนเส้นทางสีเขียว ในประการแรก มิได้จำกัดเพียงแค่มิติ “ด้านสิ่งแวดล้อม” เท่านั้น แต่ยังต้องคำนึงถึงความอยู่ดีมีสุขของมนุษย์และความเสมอภาคเป็นธรรมทางสังคมประกอบกัน
ประการที่สอง ไม่สามารถกำหนดหรือใช้ยุทธศาสตร์สีเขียวชุดเดียวสำหรับการขับเคลื่อน โดยขาดการคำนึงถึงปัจจัย “ด้านภูมิสังคม” ที่มีความหลากหลายและแตกต่างกันตามแต่ละพื้นที่
และประการที่สาม ยุทธศาสตร์สีเขียวต้องเอื้อต่อการสร้างให้เกิด “ภูมิคุ้มกัน” ที่สามารถปรับตัวรองรับการเปลี่ยนแปลง มิใช่ถูกนำมาใช้เพื่อเป็น “เครื่องมือกีดกัน” การเข้าถึงทรัพยากร โอกาส แหล่งทุน ฯลฯ และมิใช่เป็นข้ออ้างสำหรับการสร้างมาตรฐานหรือเกณฑ์ที่ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำ หรือนำไปสู่การสร้างความมั่งคั่งแก่คนบางกลุ่มบนความสูญเสียของคนกลุ่มใหญ่
สิ่งสำคัญต่อมาคือ การสร้างความเชื่อมโยงระหว่างนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาสีเขียวกับนโยบายรัฐบาล แผนการบริหารราชการแผ่นดิน และแผนระดับอื่นๆ รวมทั้งแผนพัฒนาจังหวัด กลุ่มจังหวัด และแผนท้องถิ่น ตลอดจนการผลักดันให้ภาคเอกชนนำประเด็นการพัฒนาสีเขียวไปจัดทำแผนการลงทุนทางธุรกิจที่สอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์ดังกล่าว
ทั้งนี้ ภาครัฐจะต้องสร้างสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการขับเคลื่อนแผนของภาคีการพัฒนาต่างๆ พิจารณาปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้เอื้อต่อการขับเคลื่อนการพัฒนา รวมทั้งสื่อสารและจัดทำข้อมูลที่ภาคส่วนต่างๆ สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้อย่างเป็นระบบและบูรณาการ ตลอดจนการเสริมสร้างบทบาทของภาคีการพัฒนาให้เข้ามามีส่วนร่วมในฐานะหุ้นส่วนการพัฒนา มิใช่พระอันดับที่เข้าร่วมพอเป็นพิธีโดยมิได้ให้ความสำคัญ...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
Subscribe to:
Posts (Atom)