ในรอบปี 2557 ที่กำลังจะผ่านพ้นไป มีเหตุการณ์สำคัญในตลาดทุนที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบต่อสังคมและเรื่องความยั่งยืน เริ่มจากการประกาศหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลตามแบบ 56-1 ที่ได้มีการปรับปรุงใหม่ โดยกำหนดให้มีการเปิดเผยข้อมูลในหัวข้อความรับผิดชอบต่อสังคม หรือ CSR เพิ่มเติมเป็นปีแรก ซึ่งมีผลใช้บังคับกับแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1) ที่บริษัทจดทะเบียนต้องส่งต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)
สาระสำคัญของข้อมูล CSR ที่ให้เปิดเผยในแบบ 56-1 ประกอบด้วยข้อมูลนโยบายและการดำเนินงานของบริษัทและบริษัทย่อย ที่แสดงถึงความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม เพื่อความยั่งยืนของกิจการและสังคมโดยรวม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินธุรกิจปกติ (CSR-in-process) และเป็นไปตามนโยบายที่บริษัทได้เปิดเผยไว้ รวมทั้งการดำเนินธุรกิจที่มีผลกระทบต่อความรับผิดชอบต่อสังคม (ถ้ามี)
ทั้งนี้ หลักเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูล CSR ตามประกาศดังกล่าว ยังครอบคลุมไปถึงแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (แบบ 69-1) และในรายงานประจำปี (แบบ 56-2) ด้วย
อีกเหตุการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้นต่อเนื่องกัน คือ การจัดทำการประเมินระดับการพัฒนาความยั่งยืนด้าน CSR และ Anti-corruption สำหรับบริษัทจดทะเบียน ด้วยตัวชี้วัดตั้งแต่ระดับ 0 ถึง ระดับ 5 เป็นครั้งแรกของไทย ตามแผนพัฒนาความยั่งยืนสำหรับบริษัทจดทะเบียน ของสำนักงาน ก.ล.ต. เพื่อให้บริษัทจดทะเบียนสามารถนำผลการประเมินไปใช้เป็นข้อมูลสำหรับการวางแผนพัฒนาปรับปรุงการดำเนินธุรกิจให้เป็นไปด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการพัฒนาแนวทางและมาตรการในการสนับสนุนการพัฒนาความยั่งยืนของบริษัทจดทะเบียนได้อย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับกรอบหรือมาตรฐานที่เป็นสากล
สอดรับกับเหตุการณ์ซึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่องการพัฒนาความยั่งยืนอีกเช่นกัน ที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ได้ลงนามเข้าร่วม Sustainable Stock Exchanges Initiative ซึ่งเป็นความริเริ่มร่วมกันระหว่าง 4 หน่วยงานสำคัญ ได้แก่ หลักการสหประชาชาติว่าด้วยการลงทุนอย่างมีความรับผิดชอบ (UNPRI) การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (UNCTAD) ความริเริ่มด้านการเงินภายใต้สำนักงานโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP-FI) และข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ (UNGC) เมื่อเดือนกรกฎาคม ในฐานะตลาดหลักทรัพย์รายแรกในอาเซียนที่ประกาศเดินหน้าเพื่อพัฒนาความยั่งยืนอย่างเป็นทางการ ด้วยเจตนารมณ์ที่จะพัฒนาและส่งเสริมให้องค์กรและผู้เกี่ยวข้องทุกกลุ่มดำเนินงานโดยยึดหลักความยั่งยืน เป็นไปตามหลักบรรษัทภิบาล คำนึงถึงสังคมและสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะอย่างยิ่งมุ่งสนับสนุนเรื่องการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืนของบริษัทจดทะเบียนและการลงทุนอย่างมีความรับผิดชอบ
พร้อมกับได้อนุมัติกรอบการพัฒนาความยั่งยืนของ ตลท. ใน 5 ด้าน คือ การสร้างคุณค่าตลาดทุน การบริหารจัดการองค์กร การพัฒนาและดูแลพนักงาน การพัฒนาและดูแลสังคม และการจัดการสิ่งแวดล้อม ซึ่งครอบคลุมการพัฒนาอย่างยั่งยืนอย่างเป็นรูปธรรมในทุกมิติ เพื่อมุ่งพัฒนาให้ตลาดทุน เศรษฐกิจ และสังคมไทย เติบโตอย่างมีคุณภาพ
ความเคลื่อนไหวของ ก.ล.ต. ในฐานะผู้กำกับ และ ตลท. ในฐานะผู้บริหารตลาดทุน ได้ก่อให้เกิดแรงกระเพื่อมอย่างมีนัยสำคัญต่อบริษัทจดทะเบียนทั้ง 600 กว่าแห่ง ที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (มาร์เกตแคป) รวมกันราว 14 ล้านล้านบาท มากกว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ที่มีมูลค่า 12 ล้านล้านบาท
สำหรับทิศทางความรับผิดชอบต่อสังคมและแนวโน้มด้านความยั่งยืนในปีหน้า นอกจากความตื่นตัวที่เกิดขึ้นในแวดวงตลาดทุนแล้ว การก่อตัวของความเคลื่อนไหวในเรื่องการสร้างคุณค่าร่วม (Creating Shared Value: CSV) ของภาคธุรกิจเอกชน จะส่งผลให้เกิดแนวทางความร่วมมือของการทำงานในรูปแบบใหม่ระหว่างภาคธุรกิจและภาคประชาสังคม ในลักษณะที่เอื้อให้เกิดคุณค่าทางเศรษฐกิจแก่กิจการและสังคมไปพร้อมกัน
การสร้างคุณค่าร่วม ถือเป็นกลยุทธ์ทางธุรกิจที่ใช้ตอบโจทย์ความรับผิดชอบต่อสังคมในบริบทของ CSR-in-process บนฐานคิดแบบระยะยาวที่คำนึงถึงการใช้สินทรัพย์และความเชี่ยวชาญหลักของกิจการ สร้างประโยชน์แก่ผู้ถือหุ้นและสังคมให้เกิดเป็นผลประโยชน์ร่วมกัน พร้อมกันกับแก้โจทย์ความไม่เชื่อมโยงกันระหว่างความต้องการของสังคมและของธุรกิจ ซึ่งเป็นอุปสรรคและก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำของการพัฒนาดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
เดือนมกราคมนี้ สถาบันไทยพัฒน์จะนำเสนอแนวโน้มในแนวทางดังกล่าวนี้อย่างละเอียด รวมทั้งการเปิดเผยถึงทิศทาง CSR & Sustainability ปี 2558 ท่ามกลางความคาดหวังของสังคมไทยที่มีต่อการปฏิรูป การมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆ ต่อการขับเคลื่อนประเทศไทยให้เดินหน้าได้อย่างแข็งแกร่งและยั่งยืน โดยเฉพาะบทบาทขององค์กรธุรกิจที่เป็นฟันเฟืองสำคัญของภาคเศรษฐกิจ...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
Thursday, December 25, 2014
Thursday, December 18, 2014
CSV ในธุรกิจพึ่งพิงธรรมชาติ
ธุรกิจพึ่งพิงธรรมชาติ หรือธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการนำทรัพยากรธรรมชาติไปใช้ประโยชน์ (Extractives) อาทิ การทำเหมืองแร่ การสำรวจและผลิตปิโตรเลียม ธุรกิจน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ อุตสาหกรรมโลหะขั้นมูลฐาน เป็นกิจการที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง และถือเป็นธุรกิจที่อยู่ต้นน้ำในระบบเศรษฐกิจ
ด้วยสภาพของธุรกิจที่แสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ ประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมจึงเป็นเรื่องที่มีนัยสำคัญหลักของธุรกิจ ประกอบกับแหล่งทรัพยากรที่จะนำมาใช้ประโยชน์ มักอยู่ในพื้นที่ห่างไกล ปัจจัยทางเศรษฐกิจและสภาพความเป็นอยู่ของชุมชนในพื้นที่เหล่านั้นยังขาดการพัฒนา ซึ่งกลายเป็นทั้งความเสี่ยงและโอกาสของธุรกิจที่สัมพันธ์กับระดับความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ
หากธุรกิจมิได้ตระหนักว่า ผลกระทบต่อชุมชนที่เกิดจากการประกอบการ เป็นปัญหาแก่องค์กร ความรับผิดชอบต่อสังคมจะอยู่ในระดับต่ำ กิจการอาจแสดงออกด้วยการเพิกเฉย หรือรับผิดชอบให้น้อยที่สุด และหากเลี่ยงไม่ได้ ก็จะใช้วิธีการบริจาคเป็นทางออก
แต่หากธุรกิจเริ่มตระหนักว่า ผลกระทบดังกล่าวเป็นปัญหากับองค์กร ระดับความรับผิดชอบต่อสังคมจะเพิ่มขึ้น กิจการจะใช้การสร้างสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้เสีย ใช้การประชาสัมพันธ์ เป็นเครื่องมือดำเนินการ และเพิ่มกิจกรรมการบริจาคมากขึ้น จนกระทั่งเกิดสำนึกที่จะมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง ด้วยการจัดสรรทรัพยากรสำหรับการแก้ไขปัญหา จัดการ ติดตาม ตรวจสอบ และรายงานผลการดำเนินการกับปัญหาจนลุล่วง
การสร้างคุณค่าร่วม (Creating Shared Value: CSV) สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ระดับ คือ ระดับของการคิดค้นผลิตภัณฑ์ (Products) และริเริ่มตลาดใหม่ โดยเฉพาะกับตลาดหรือกลุ่มลูกค้าที่ยังไม่ได้รับการตอบสนอง ระดับของการกำหนดบรรทัดฐานใหม่ในเรื่องผลิตภาพตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chains) และระดับของการพัฒนากลุ่มความร่วมมือ (Cluster) ในท้องถิ่นที่เอื้อต่อธุรกิจ
ในระดับผลิตภัณฑ์ ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการนำทรัพยากรธรรมชาติไปใช้ประโยชน์ สามารถนำผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นระหว่างผลิต อาทิ น้ำชลประทาน หรือน้ำเพื่อการบริโภค ไฟฟ้า มาจำหน่ายในตลาดท้องถิ่น
ในระดับห่วงโซ่คุณค่า ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการนำทรัพยากรธรรมชาติไปใช้ประโยชน์ สามารถปรับปรุงสมรรถภาพของแรงงานท้องถิ่น เสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ผู้ส่งมอบในห่วงโซ่คุณค่า เพิ่มสมรรถภาพในการเตรียมพร้อม เผชิญเหตุ และฟื้นฟูสภาพจากภัยพิบัติและภาวะฉุกเฉินในท้องถิ่น ปรับปรุงการใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำ พลังงาน และทรัพยากรอื่นๆ ในแหล่งดำเนินงาน
ในระดับกลุ่มความร่วมมือ ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการนำทรัพยากรธรรมชาติไปใช้ประโยชน์ สามารถพัฒนาความร่วมมือในท้องถิ่นที่ช่วยสนับสนุนธุรกิจในกลุ่ม ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและโครงข่ายโลจิสติกส์สำหรับใช้ประโยชน์ร่วมกัน เข้าเป็นหุ้นส่วนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานชุมชนร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและกลุ่มความร่วมมืออื่นในท้องถิ่น ดำรงบทบาทเชิงรุกในการพัฒนาชุมชนและเศรษฐกิจในวงกว้าง ปรับปรุงขีดความสามารถด้านธรรมาภิบาลทั้งในระดับท้องถิ่นและในระดับชาติ
จะเห็นว่าธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการนำทรัพยากรธรรมชาติไปใช้ประโยชน์ สามารถเพิ่มระดับความรับผิดชอบต่อสังคม จากการดูแลและจัดการกับผลกระทบทางลบ ยกระดับมาสู่การส่งมอบผลกระทบในทางบวก ด้วยการพิจารณาว่าเป็นโอกาสของธุรกิจในการร่วมพัฒนาชุมชน โดยที่ธุรกิจสามารถใช้สินทรัพย์และความเชี่ยวชาญหลักของกิจการ และการเข้าร่วมกับหุ้นส่วนดำเนินการภายนอกตามแนวคิด CSV มาช่วยเสริมสร้างปัจจัยทางเศรษฐกิจและสภาพความเป็นอยู่ของชุมชนในพื้นที่ เพื่อสร้างให้เกิดเป็นคุณค่าร่วมระหว่างธุรกิจและสังคมไปพร้อมกันได้...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
ด้วยสภาพของธุรกิจที่แสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ ประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมจึงเป็นเรื่องที่มีนัยสำคัญหลักของธุรกิจ ประกอบกับแหล่งทรัพยากรที่จะนำมาใช้ประโยชน์ มักอยู่ในพื้นที่ห่างไกล ปัจจัยทางเศรษฐกิจและสภาพความเป็นอยู่ของชุมชนในพื้นที่เหล่านั้นยังขาดการพัฒนา ซึ่งกลายเป็นทั้งความเสี่ยงและโอกาสของธุรกิจที่สัมพันธ์กับระดับความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ
หากธุรกิจมิได้ตระหนักว่า ผลกระทบต่อชุมชนที่เกิดจากการประกอบการ เป็นปัญหาแก่องค์กร ความรับผิดชอบต่อสังคมจะอยู่ในระดับต่ำ กิจการอาจแสดงออกด้วยการเพิกเฉย หรือรับผิดชอบให้น้อยที่สุด และหากเลี่ยงไม่ได้ ก็จะใช้วิธีการบริจาคเป็นทางออก
แต่หากธุรกิจเริ่มตระหนักว่า ผลกระทบดังกล่าวเป็นปัญหากับองค์กร ระดับความรับผิดชอบต่อสังคมจะเพิ่มขึ้น กิจการจะใช้การสร้างสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้เสีย ใช้การประชาสัมพันธ์ เป็นเครื่องมือดำเนินการ และเพิ่มกิจกรรมการบริจาคมากขึ้น จนกระทั่งเกิดสำนึกที่จะมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง ด้วยการจัดสรรทรัพยากรสำหรับการแก้ไขปัญหา จัดการ ติดตาม ตรวจสอบ และรายงานผลการดำเนินการกับปัญหาจนลุล่วง
การสร้างคุณค่าร่วม (Creating Shared Value: CSV) สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ระดับ คือ ระดับของการคิดค้นผลิตภัณฑ์ (Products) และริเริ่มตลาดใหม่ โดยเฉพาะกับตลาดหรือกลุ่มลูกค้าที่ยังไม่ได้รับการตอบสนอง ระดับของการกำหนดบรรทัดฐานใหม่ในเรื่องผลิตภาพตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chains) และระดับของการพัฒนากลุ่มความร่วมมือ (Cluster) ในท้องถิ่นที่เอื้อต่อธุรกิจ
ในระดับผลิตภัณฑ์ ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการนำทรัพยากรธรรมชาติไปใช้ประโยชน์ สามารถนำผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นระหว่างผลิต อาทิ น้ำชลประทาน หรือน้ำเพื่อการบริโภค ไฟฟ้า มาจำหน่ายในตลาดท้องถิ่น
ในระดับห่วงโซ่คุณค่า ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการนำทรัพยากรธรรมชาติไปใช้ประโยชน์ สามารถปรับปรุงสมรรถภาพของแรงงานท้องถิ่น เสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ผู้ส่งมอบในห่วงโซ่คุณค่า เพิ่มสมรรถภาพในการเตรียมพร้อม เผชิญเหตุ และฟื้นฟูสภาพจากภัยพิบัติและภาวะฉุกเฉินในท้องถิ่น ปรับปรุงการใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำ พลังงาน และทรัพยากรอื่นๆ ในแหล่งดำเนินงาน
ในระดับกลุ่มความร่วมมือ ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการนำทรัพยากรธรรมชาติไปใช้ประโยชน์ สามารถพัฒนาความร่วมมือในท้องถิ่นที่ช่วยสนับสนุนธุรกิจในกลุ่ม ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและโครงข่ายโลจิสติกส์สำหรับใช้ประโยชน์ร่วมกัน เข้าเป็นหุ้นส่วนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานชุมชนร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและกลุ่มความร่วมมืออื่นในท้องถิ่น ดำรงบทบาทเชิงรุกในการพัฒนาชุมชนและเศรษฐกิจในวงกว้าง ปรับปรุงขีดความสามารถด้านธรรมาภิบาลทั้งในระดับท้องถิ่นและในระดับชาติ
จะเห็นว่าธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการนำทรัพยากรธรรมชาติไปใช้ประโยชน์ สามารถเพิ่มระดับความรับผิดชอบต่อสังคม จากการดูแลและจัดการกับผลกระทบทางลบ ยกระดับมาสู่การส่งมอบผลกระทบในทางบวก ด้วยการพิจารณาว่าเป็นโอกาสของธุรกิจในการร่วมพัฒนาชุมชน โดยที่ธุรกิจสามารถใช้สินทรัพย์และความเชี่ยวชาญหลักของกิจการ และการเข้าร่วมกับหุ้นส่วนดำเนินการภายนอกตามแนวคิด CSV มาช่วยเสริมสร้างปัจจัยทางเศรษฐกิจและสภาพความเป็นอยู่ของชุมชนในพื้นที่ เพื่อสร้างให้เกิดเป็นคุณค่าร่วมระหว่างธุรกิจและสังคมไปพร้อมกันได้...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
Thursday, November 27, 2014
CSV ในธุรกิจด้านสุขภาพ
ธุรกิจด้านสุขภาพ ในกลุ่มเภสัชภัณฑ์ เทคนิคการแพทย์ หรือเทคโนโลยีการอาหาร เป็นกิจการที่มีโอกาสสร้างคุณค่าร่วม (Creating Shared Value: CSV) โดยใช้สินทรัพย์ที่มีอยู่ในธุรกิจหลักได้อย่างชัดเจน และเป็นธุรกิจมีศักยภาพในการเติบโตสูง
เนื่องจากฐานตลาดของผลิตภัณฑ์ในธุรกิจสามารถขยายครอบคลุมไปยังส่วนตลาดที่ยังไม่ได้รับการตอบสนอง โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีฐานรายได้ต่ำ (Bottom of the Pyramid) หรือกลุ่มชายขอบที่ยากต่อการเข้าถึงผลิตภัณฑ์และบริการ (Corners of the Pyramid) ในรูปแบบที่ธุรกิจสามารถออกแบบหรือดัดแปลงเพื่อนำมาใช้แก้ปัญหาด้านสุขภาพที่คนกลุ่มเหล่านี้เผชิญอยู่
หนึ่งในอุปสรรคสำคัญของการที่ธุรกิจไม่สามารถเข้าถึงคนสองกลุ่มนี้ คือ การขาดแรงจูงใจทางธุรกิจ เนื่องจากโครงสร้างพื้นฐานและช่องทางการจัดจำหน่ายไม่เอื้ออำนวย เกิดภาระต้นทุนค่าใช้จ่ายที่สูงจนไม่คุ้มค่ากับการดำเนินงาน ตลาดของธุรกิจด้านสุขภาพจึงถูกจำกัดวงอยู่ในกลุ่มผู้มีรายได้ปานกลางถึงสูง หรือที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองเป็นส่วนใหญ่
แต่แนวโน้มที่กำลังเกิดขึ้น คือ ภาวะอิ่มตัวของผลิตภัณฑ์ (ที่เป็นแบบเดียวกัน) ในตลาดกลุ่มนี้เป็นไปอย่างรวดเร็ว เนื่องจากผู้ประกอบธุรกิจจำนวนมากต่างก็ต้องการเข้าถึงตลาดกลุ่มเดียวกันนี้
พัฒนาการในธุรกิจด้านสุขภาพ ยังเกิดจากการที่ผู้ประกอบธุรกิจในหมวดอาหาร เครื่องดื่ม หรือสินค้าเพื่อการอุปโภคบริโภค คำนึงถึงการผลิตสินค้าและบริการที่ตอบสนองต่อประเด็นด้านสุขภาพของผู้บริโภคเพิ่มมากขึ้น มีการใช้สารอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ ลดการใช้สารเคมีหรือสารปรุงแต่งที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เพิ่มการใช้วัตถุดิบที่มาจากแหล่งธรรมชาติหรือเกษตรอินทรีย์ ผลักดันให้เกิดตลาดสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและคำนึงถึงสุขภาพ เพื่อตอบสนองกลุ่มผู้บริโภคที่มีแบบแผนการใช้ชีวิตที่ใส่ใจต่อสุขภาพและความยั่งยืน (เช่น กลุ่ม LOHAS) ซึ่งนับวันจะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
กิจการที่มีศักยภาพในการคิดค้น พัฒนา หรือดัดแปลงผลิตภัณฑ์ให้ตอบโจทย์ด้านสุขภาพ โดยเฉพาะกับตลาดหรือกลุ่มลูกค้าที่ยังไม่ได้รับการตอบสนอง ด้วยการใช้สินทรัพย์และความเชี่ยวชาญหลักของกิจการ เพื่อสร้างให้เกิดเป็นคุณค่าร่วม สามารถจำแนกออกเป็น 3 กลุ่มหลัก ได้แก่ กลุ่มเภสัชภัณฑ์และเทคนิคการแพทย์ (Pharmaceutical and Medical Technology) กลุ่มเทคโนโลยีการอาหาร (Food Technology) และกลุ่มสินค้าเพื่อการอุปโภคบริโภค (Consumer Products)
ในระดับผลิตภัณฑ์ กิจการสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีความซับซ้อนน้อยและต้นทุนต่ำเพื่อให้ง่ายต่อการเข้าถึงในตลาดท้องถิ่น มีการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการสำหรับคนชั้นฐานราก ด้วยคุณภาพในราคาที่เหมาะสมและเป็นธรรม
ในระดับห่วงโซ่คุณค่า กิจการสามารถปรับปรุงกระบวนการผลิต ช่องทางการขายและการจัดจำหน่ายให้เหมาะกับสภาพท้องถิ่นเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้รับการรักษาได้ดียิ่งขึ้น มีการขยายช่องทางการบริการโดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม เช่น ระบบการแพทย์ทางไกล
ในระดับกลุ่มความร่วมมือ กิจการสามารถเสริมสร้างระบบสุขภาพให้มีความเข้มแข็ง เอื้อต่อการส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการขั้นพื้นฐานที่จำเป็น มีการขยายบทบาทการให้ความรู้เรื่องสุขภาพแก่ชุมชน โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง เป็นต้น
ยังมีการสร้างคุณค่าร่วมในธุรกิจด้านอื่นๆ ที่น่าสนใจ ซึ่งสามารถพัฒนาต่อยอดเป็นกลยุทธ์ทางธุรกิจที่ตอบโจทย์ปัญหาทางสังคมที่รอการแก้ไขไปพร้อมๆ กัน โดยจะได้ทยอยนำเสนอผ่านทางคอลัมน์หน้าต่าง CSR นี้เป็นระยะๆ ในโอกาสต่อไป...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
เนื่องจากฐานตลาดของผลิตภัณฑ์ในธุรกิจสามารถขยายครอบคลุมไปยังส่วนตลาดที่ยังไม่ได้รับการตอบสนอง โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีฐานรายได้ต่ำ (Bottom of the Pyramid) หรือกลุ่มชายขอบที่ยากต่อการเข้าถึงผลิตภัณฑ์และบริการ (Corners of the Pyramid) ในรูปแบบที่ธุรกิจสามารถออกแบบหรือดัดแปลงเพื่อนำมาใช้แก้ปัญหาด้านสุขภาพที่คนกลุ่มเหล่านี้เผชิญอยู่
หนึ่งในอุปสรรคสำคัญของการที่ธุรกิจไม่สามารถเข้าถึงคนสองกลุ่มนี้ คือ การขาดแรงจูงใจทางธุรกิจ เนื่องจากโครงสร้างพื้นฐานและช่องทางการจัดจำหน่ายไม่เอื้ออำนวย เกิดภาระต้นทุนค่าใช้จ่ายที่สูงจนไม่คุ้มค่ากับการดำเนินงาน ตลาดของธุรกิจด้านสุขภาพจึงถูกจำกัดวงอยู่ในกลุ่มผู้มีรายได้ปานกลางถึงสูง หรือที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองเป็นส่วนใหญ่
แต่แนวโน้มที่กำลังเกิดขึ้น คือ ภาวะอิ่มตัวของผลิตภัณฑ์ (ที่เป็นแบบเดียวกัน) ในตลาดกลุ่มนี้เป็นไปอย่างรวดเร็ว เนื่องจากผู้ประกอบธุรกิจจำนวนมากต่างก็ต้องการเข้าถึงตลาดกลุ่มเดียวกันนี้
พัฒนาการในธุรกิจด้านสุขภาพ ยังเกิดจากการที่ผู้ประกอบธุรกิจในหมวดอาหาร เครื่องดื่ม หรือสินค้าเพื่อการอุปโภคบริโภค คำนึงถึงการผลิตสินค้าและบริการที่ตอบสนองต่อประเด็นด้านสุขภาพของผู้บริโภคเพิ่มมากขึ้น มีการใช้สารอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ ลดการใช้สารเคมีหรือสารปรุงแต่งที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เพิ่มการใช้วัตถุดิบที่มาจากแหล่งธรรมชาติหรือเกษตรอินทรีย์ ผลักดันให้เกิดตลาดสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและคำนึงถึงสุขภาพ เพื่อตอบสนองกลุ่มผู้บริโภคที่มีแบบแผนการใช้ชีวิตที่ใส่ใจต่อสุขภาพและความยั่งยืน (เช่น กลุ่ม LOHAS) ซึ่งนับวันจะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
กิจการที่มีศักยภาพในการคิดค้น พัฒนา หรือดัดแปลงผลิตภัณฑ์ให้ตอบโจทย์ด้านสุขภาพ โดยเฉพาะกับตลาดหรือกลุ่มลูกค้าที่ยังไม่ได้รับการตอบสนอง ด้วยการใช้สินทรัพย์และความเชี่ยวชาญหลักของกิจการ เพื่อสร้างให้เกิดเป็นคุณค่าร่วม สามารถจำแนกออกเป็น 3 กลุ่มหลัก ได้แก่ กลุ่มเภสัชภัณฑ์และเทคนิคการแพทย์ (Pharmaceutical and Medical Technology) กลุ่มเทคโนโลยีการอาหาร (Food Technology) และกลุ่มสินค้าเพื่อการอุปโภคบริโภค (Consumer Products)
ในระดับผลิตภัณฑ์ กิจการสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีความซับซ้อนน้อยและต้นทุนต่ำเพื่อให้ง่ายต่อการเข้าถึงในตลาดท้องถิ่น มีการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการสำหรับคนชั้นฐานราก ด้วยคุณภาพในราคาที่เหมาะสมและเป็นธรรม
ในระดับห่วงโซ่คุณค่า กิจการสามารถปรับปรุงกระบวนการผลิต ช่องทางการขายและการจัดจำหน่ายให้เหมาะกับสภาพท้องถิ่นเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้รับการรักษาได้ดียิ่งขึ้น มีการขยายช่องทางการบริการโดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม เช่น ระบบการแพทย์ทางไกล
ในระดับกลุ่มความร่วมมือ กิจการสามารถเสริมสร้างระบบสุขภาพให้มีความเข้มแข็ง เอื้อต่อการส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการขั้นพื้นฐานที่จำเป็น มีการขยายบทบาทการให้ความรู้เรื่องสุขภาพแก่ชุมชน โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง เป็นต้น
ยังมีการสร้างคุณค่าร่วมในธุรกิจด้านอื่นๆ ที่น่าสนใจ ซึ่งสามารถพัฒนาต่อยอดเป็นกลยุทธ์ทางธุรกิจที่ตอบโจทย์ปัญหาทางสังคมที่รอการแก้ไขไปพร้อมๆ กัน โดยจะได้ทยอยนำเสนอผ่านทางคอลัมน์หน้าต่าง CSR นี้เป็นระยะๆ ในโอกาสต่อไป...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
Thursday, November 20, 2014
โอกาสธุรกิจ คุณค่าสังคม
สัปดาห์ที่ผ่านมา (11-13 พฤศจิกายน) Foundation Strategy Group (FSG) ผู้ที่ริเริ่ม Shared Value Initiative ได้จัดอบรมที่ปรึกษาในเครือข่ายจำนวน 12 องค์กร จาก 11 ประเทศ ได้แก่ ญี่ปุ่น สเปน เบลเยียม อินเดีย เยอรมนี ฟิลิปปินส์ สหรัฐอเมริกา ตุรกี อิตาลี ชิลี และไทย ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ โดยองค์กรที่ปรึกษาจากประเทศไทยที่ได้เข้าร่วมอบรม คือ บริษัท เอ็กซ์เพิร์ท แอสเปค อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
การจัดอบรมครั้งนี้นับเป็นรอบที่ 4 โดยมีวิทยากรนำการอบรม คือ "Mark R. Kramer" หนึ่งในผู้ก่อตั้ง Foundation Strategy Group ร่วมกับ "Michael E. Porter" เจ้าของแนวคิด Creating Shared Value (CSV) ที่ภาคเอกชนได้นำมาใช้ขับเคลื่อนเป็นกลยุทธ์ทางธุรกิจอย่างกว้างขวาง
หนึ่งในหัวข้อที่ได้มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนในการอบรม คือ การช่วยเหลือองค์กรในการระบุโอกาสแห่งการสร้างคุณค่าร่วม โดยใช้เครื่องมือ SVOI (Shared Value Opportunity Identification) ที่ FSG และ Shared Value Initiative ได้พัฒนาขึ้น
ปฏิเสธไม่ได้ว่า กิจกรรมทางธุรกิจที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน มีทั้งที่เป็นการสร้างและการทำลายคุณค่า ส่งผลกระทบต่อผู้คนรอบข้างและสภาพแวดล้อมที่อยู่รายรอบ ในหลายกรณี ผลกระทบถูกถ่ายทอดไปยังผู้คนที่อยู่ไกลออกไป รวมทั้งระบบนิเวศโดยรวม เช่น ความต้องการใช้พลังงานภายในประเทศ ผลักดันให้เกิดการเสาะหาแหล่งเชื้อเพลิงสำรอง เกิดเป็นโครงการสำรวจและผลิตนอกชายฝั่ง การขนถ่ายเชื้อเพลิงที่มีโอกาสหกรั่วไหลสู่สภาพแวดล้อม เสี่ยงต่อการสร้างความเสียหายให้แก่ระบบนิเวศ ซึ่งเกิดเป็นกรณีอยู่เนืองๆ
ตัวอย่างที่ยกขึ้นมานี้ มิได้ต้องการนำไปสู่การระงับหรือยกเลิกกิจกรรมทางธุรกิจที่มีส่วนในการสร้างคุณค่าต่อระบบเศรษฐกิจ หรือการรักษาความมั่นคงของประเทศ เพื่อแลกกับความเสียหายทางสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้น แต่ต้องการชี้ให้เห็นถึงการสร้างคุณค่าที่ต้องดำเนินควบคู่กับการป้องกันความเสี่ยงต่อเหตุการณ์หรือการดำเนินงานที่อาจส่งผลเสียต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม หรือที่ดีไปกว่านั้น คือ ใช้โอกาสที่กิจการได้รับ สร้างให้เกิดเป็นกิจกรรมที่สามารถส่งมอบคุณค่าร่วมกันระหว่างธุรกิจและสังคมไปพร้อมกัน
SVOI เป็นเครื่องมือสำหรับองค์กรในการระบุโอกาสที่นำไปสู่การสร้างคุณค่าร่วม ด้วยการพิจารณาประเด็นทางสังคมที่ธุรกิจได้เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องหรือที่ประสงค์จะเข้าไปเกี่ยวข้อง บนเงื่อนไขที่องค์กรสามารถใช้ความเชี่ยวชาญหรือสินทรัพย์ที่มีอยู่ในการดำเนินการกับประเด็นดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดเป็นประสิทธิผลในเชิงคุณค่าทั้งแก่ธุรกิจและสังคมไปพร้อมกัน
เครื่องมือ SVOI นี้ ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในการค้นหาโอกาสการส่งมอบคุณค่าทั้งที่อยู่ในรูปของตัวเงินและที่มิได้อยู่ในรูปของตัวเงิน โดยไม่ได้จำกัดว่าผลลัพธ์หรือคุณค่าที่ส่งมอบนั้น จะต้องนำมาคำนวณเพื่อหาผลตอบแทนที่เป็นมูลค่าหรือตัวเงินเท่านั้น
ตัวอย่างของคุณค่าทางธุรกิจที่ได้รับ ได้แก่ ยอดรายได้เพิ่มขึ้น ส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้น การเติบโตของตลาด ต้นทุนลดลง การมีแหล่งจัดหาที่มั่นคง ผลิตภาพดีขึ้น คุณภาพดีขึ้น โครงสร้างพื้นฐานสำหรับการกระจายสินค้าและบริการดีขึ้น ระดับการเข้าถึงแรงงานสูงขึ้น ขีดความสามารถในการทำกำไรสูงขึ้น
ตัวอย่างของคุณค่าทางสังคมที่ได้รับ ได้แก่ ยอดการใช้พลังงานลดลง ยอดการใช้น้ำลดลง ยอดการใช้วัตถุดิบลดลง ทักษะในการทำงานดีขึ้น รายรับของพนักงานดีขึ้น ระบบการดูแลผู้ป่วยได้รับการปรับปรุง ปริมาณรอยเท้าคาร์บอนลดลง โภชนาการที่ดีขึ้น การศึกษาที่ดีขึ้น การสร้างงานเพิ่มขึ้น สุขภาวะที่ดีขึ้น เป็นต้น
องค์กรที่กำลังริเริ่มนำการสร้างคุณค่าร่วมมาพัฒนาเป็นกลยุทธ์ทางธุรกิจที่แก้โจทย์หรือปัญหาทางสังคมไปพร้อมกัน สามารถใช้ประโยชน์จากการระบุโอกาสที่นำไปสู่การสร้างคุณค่าร่วมด้วยเครื่องมือ SVOI มาช่วยองค์กรในการค้นหาและคัดกรองประเด็นที่มีศักยภาพต่อการสร้างคุณค่าร่วม เพื่อนำมาพัฒนาเป็นความริเริ่มด้าน CSV ที่เหมาะสมกับองค์กร สอดคล้องกับแง่มุมความเชี่ยวชาญทางธุรกิจ พร้อมด้วยแนวทางการระบุผลลัพธ์ทางธุรกิจและทางสังคมที่คาดว่าจะได้รับอย่างเป็นรูปธรรม
ในโอกาสที่บริษัท เอ็กซ์เพิร์ท แอสเปค อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ได้เข้าร่วมรับการอบรมจาก FSG และ Shared Value Initiative ในครั้งนี้ จึงได้จัดสัมมนาในหัวข้อ “CSV Affiliate Experiences 2014” ให้แก่องค์กรธุรกิจที่สนใจ เพื่อเข้าร่วมรับฟังการ Update ข้อมูลความเคลื่อนไหวล่าสุดเพื่อสร้างสรรค์งาน CSV ให้กับกิจการ ในวันพฤหัสบดีที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 เวลา 13.00 - 17.00 น. ณ ห้องกรุงเทพ 2 โรงแรม เซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลพลาซาลาดพร้าว ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.eai.co.th...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
การจัดอบรมครั้งนี้นับเป็นรอบที่ 4 โดยมีวิทยากรนำการอบรม คือ "Mark R. Kramer" หนึ่งในผู้ก่อตั้ง Foundation Strategy Group ร่วมกับ "Michael E. Porter" เจ้าของแนวคิด Creating Shared Value (CSV) ที่ภาคเอกชนได้นำมาใช้ขับเคลื่อนเป็นกลยุทธ์ทางธุรกิจอย่างกว้างขวาง
หนึ่งในหัวข้อที่ได้มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนในการอบรม คือ การช่วยเหลือองค์กรในการระบุโอกาสแห่งการสร้างคุณค่าร่วม โดยใช้เครื่องมือ SVOI (Shared Value Opportunity Identification) ที่ FSG และ Shared Value Initiative ได้พัฒนาขึ้น
ปฏิเสธไม่ได้ว่า กิจกรรมทางธุรกิจที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน มีทั้งที่เป็นการสร้างและการทำลายคุณค่า ส่งผลกระทบต่อผู้คนรอบข้างและสภาพแวดล้อมที่อยู่รายรอบ ในหลายกรณี ผลกระทบถูกถ่ายทอดไปยังผู้คนที่อยู่ไกลออกไป รวมทั้งระบบนิเวศโดยรวม เช่น ความต้องการใช้พลังงานภายในประเทศ ผลักดันให้เกิดการเสาะหาแหล่งเชื้อเพลิงสำรอง เกิดเป็นโครงการสำรวจและผลิตนอกชายฝั่ง การขนถ่ายเชื้อเพลิงที่มีโอกาสหกรั่วไหลสู่สภาพแวดล้อม เสี่ยงต่อการสร้างความเสียหายให้แก่ระบบนิเวศ ซึ่งเกิดเป็นกรณีอยู่เนืองๆ
ตัวอย่างที่ยกขึ้นมานี้ มิได้ต้องการนำไปสู่การระงับหรือยกเลิกกิจกรรมทางธุรกิจที่มีส่วนในการสร้างคุณค่าต่อระบบเศรษฐกิจ หรือการรักษาความมั่นคงของประเทศ เพื่อแลกกับความเสียหายทางสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้น แต่ต้องการชี้ให้เห็นถึงการสร้างคุณค่าที่ต้องดำเนินควบคู่กับการป้องกันความเสี่ยงต่อเหตุการณ์หรือการดำเนินงานที่อาจส่งผลเสียต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม หรือที่ดีไปกว่านั้น คือ ใช้โอกาสที่กิจการได้รับ สร้างให้เกิดเป็นกิจกรรมที่สามารถส่งมอบคุณค่าร่วมกันระหว่างธุรกิจและสังคมไปพร้อมกัน
SVOI เป็นเครื่องมือสำหรับองค์กรในการระบุโอกาสที่นำไปสู่การสร้างคุณค่าร่วม ด้วยการพิจารณาประเด็นทางสังคมที่ธุรกิจได้เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องหรือที่ประสงค์จะเข้าไปเกี่ยวข้อง บนเงื่อนไขที่องค์กรสามารถใช้ความเชี่ยวชาญหรือสินทรัพย์ที่มีอยู่ในการดำเนินการกับประเด็นดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดเป็นประสิทธิผลในเชิงคุณค่าทั้งแก่ธุรกิจและสังคมไปพร้อมกัน
เครื่องมือ SVOI นี้ ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในการค้นหาโอกาสการส่งมอบคุณค่าทั้งที่อยู่ในรูปของตัวเงินและที่มิได้อยู่ในรูปของตัวเงิน โดยไม่ได้จำกัดว่าผลลัพธ์หรือคุณค่าที่ส่งมอบนั้น จะต้องนำมาคำนวณเพื่อหาผลตอบแทนที่เป็นมูลค่าหรือตัวเงินเท่านั้น
ตัวอย่างของคุณค่าทางธุรกิจที่ได้รับ ได้แก่ ยอดรายได้เพิ่มขึ้น ส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้น การเติบโตของตลาด ต้นทุนลดลง การมีแหล่งจัดหาที่มั่นคง ผลิตภาพดีขึ้น คุณภาพดีขึ้น โครงสร้างพื้นฐานสำหรับการกระจายสินค้าและบริการดีขึ้น ระดับการเข้าถึงแรงงานสูงขึ้น ขีดความสามารถในการทำกำไรสูงขึ้น
ตัวอย่างของคุณค่าทางสังคมที่ได้รับ ได้แก่ ยอดการใช้พลังงานลดลง ยอดการใช้น้ำลดลง ยอดการใช้วัตถุดิบลดลง ทักษะในการทำงานดีขึ้น รายรับของพนักงานดีขึ้น ระบบการดูแลผู้ป่วยได้รับการปรับปรุง ปริมาณรอยเท้าคาร์บอนลดลง โภชนาการที่ดีขึ้น การศึกษาที่ดีขึ้น การสร้างงานเพิ่มขึ้น สุขภาวะที่ดีขึ้น เป็นต้น
องค์กรที่กำลังริเริ่มนำการสร้างคุณค่าร่วมมาพัฒนาเป็นกลยุทธ์ทางธุรกิจที่แก้โจทย์หรือปัญหาทางสังคมไปพร้อมกัน สามารถใช้ประโยชน์จากการระบุโอกาสที่นำไปสู่การสร้างคุณค่าร่วมด้วยเครื่องมือ SVOI มาช่วยองค์กรในการค้นหาและคัดกรองประเด็นที่มีศักยภาพต่อการสร้างคุณค่าร่วม เพื่อนำมาพัฒนาเป็นความริเริ่มด้าน CSV ที่เหมาะสมกับองค์กร สอดคล้องกับแง่มุมความเชี่ยวชาญทางธุรกิจ พร้อมด้วยแนวทางการระบุผลลัพธ์ทางธุรกิจและทางสังคมที่คาดว่าจะได้รับอย่างเป็นรูปธรรม
ในโอกาสที่บริษัท เอ็กซ์เพิร์ท แอสเปค อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ได้เข้าร่วมรับการอบรมจาก FSG และ Shared Value Initiative ในครั้งนี้ จึงได้จัดสัมมนาในหัวข้อ “CSV Affiliate Experiences 2014” ให้แก่องค์กรธุรกิจที่สนใจ เพื่อเข้าร่วมรับฟังการ Update ข้อมูลความเคลื่อนไหวล่าสุดเพื่อสร้างสรรค์งาน CSV ให้กับกิจการ ในวันพฤหัสบดีที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 เวลา 13.00 - 17.00 น. ณ ห้องกรุงเทพ 2 โรงแรม เซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลพลาซาลาดพร้าว ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.eai.co.th...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
Thursday, November 06, 2014
วงจรข้อมูลความยั่งยืน
ในบ้านเรา เริ่มได้ยินว่ามีบริษัทจดทะเบียนไทยหลายแห่งที่ได้เข้าอยู่ในดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ (DJSI) ซึ่งเอสแอนด์พี/ดาวโจนส์ (ควบรวมกันในปี 2554) ถือเป็นผู้จัดทำและให้บริการดัชนีสำหรับการลงทุนรายใหญ่รายหนึ่งที่กำเนิดจากฝั่งอเมริกา ขณะที่ในฝั่งยุโรป (อังกฤษ) มีฟุตซี่ (FTSE) ที่ให้บริการข้อมูลดัชนีที่คล้ายคลึงกัน
เอสแอนด์พี/ดาวโจนส์ และฟุตซี่ เป็นผู้เล่นกลุ่มที่ให้บริการข้อมูลดัชนีในวงจรข้อมูลความยั่งยืน ซึ่งนำข้อมูลที่ใช้จัดทำดัชนีมาจากบริษัทประเมินหรือบริษัทวิจัย เช่น RobecoSAM หรือ Sustainalytics ขณะที่บริษัทประเมินหรือบริษัทวิจัยเหล่านี้ นอกจากจะเป็นผู้รวบรวมข้อมูลจากแหล่งปฐมภูมิเองแล้ว จะซื้อจากบริษัทขายข้อมูลอย่าง บลูมเบิร์ก หรือทอมสัน รอยเตอร์ส โดยที่บริษัทขายข้อมูลเหล่านี้ จะเป็นผู้ประกอบร่างข้อมูลจากแหล่งปฐมภูมิ เช่น ข้อมูลที่บริษัทเปิดเผยตามข้อกำหนด รายงานผลประกอบการ รวมถึงผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) ตลอดจนจากแหล่งทุติยภูมิ เช่น เสียงสะท้อนจากผู้มีส่วนได้เสีย ภาคประชาสังคม และข้อเท็จจริงที่ปรากฏในสื่อต่างๆ
บริษัทที่เปิดเผยข้อมูลได้อย่างชัดเจน ครบถ้วน และเป็นไปตามบรรทัดฐานสากลตั้งแต่ต้นทาง เริ่มจากผู้รวบรวมข้อมูล (Aggregators) ไปยังบริษัทวิจัยข้อมูล (Researchers) และบริษัทผู้ประเมิน (Raters) สู่การจัดทำข้อมูลดัชนี (Indexes) ส่งตรงไปยังผู้ใช้ข้อมูล (Users) ซึ่งเป็นผู้ลงทุนโดยส่วนใหญ่ และผู้ใช้ข้อมูลปลายทาง จะยังประโยชน์ให้แก่ตัวองค์กรต่อการเป็นที่ยอมรับและการตัดสินใจลงทุนในบริษัท
ปัจจุบัน มีหน่วยงานที่พัฒนาแนวทางการเปิดเผยข้อมูลหรือกรอบการรายงาน เช่น IIRC, GRI, SASB ได้ออกเกณฑ์วิธีใหม่ๆ (เช่น การสานสัมพันธ์ผู้มีส่วนได้เสียเพื่อระบุเรื่องที่เกี่ยวข้อง การกำหนดสารัตถภาพของประเด็นที่เลือกมาดำเนินการ) เพื่อช่วยเหลือบริษัทในการเปิดเผยข้อมูลและการรายงานข้อมูลความยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหลักการรายงานความยั่งยืนของ GRI (ปัจจุบันใช้ฉบับ G4) ได้กลายมาเป็นมาตรฐานตามความนิยม (de facto standard) ที่ใช้อ้างอิงสำหรับการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืนอย่างแพร่หลายในระดับสากล
อาจมีข้อกังขาว่า ข้อมูลที่บริษัทเปิดเผยนั้น มีความน่าเชื่อถือหรือถูกต้องตรงกับความเป็นจริงมากน้อยเพียงใด จึงได้เกิดผู้เล่นอีกกลุ่มหนึ่งในตลาดทุน เพื่อพยายามแก้ข้อจำกัดในเรื่องการขาดความเชื่อมั่นในข้อมูลดังกล่าว โดยในส่วนของข้อมูลบริษัท ได้เกิดผู้ให้บริการงานให้ความเชื่อมั่น (Assurance Providers) ต่อการเปิดเผยข้อมูลที่มิใช่ตัวเลขทางการเงิน หรือรายงานด้านความยั่งยืน ตามมาตรฐานการสอบทานและการให้ความเชื่อมั่นที่พัฒนาขึ้นมารองรับจากหน่วยงาน IAASB และ AA1000 เป็นต้น
ในส่วนของข้อมูลวิจัยที่เผยแพร่จากบริษัทวิจัย ได้มีมาตรฐานคุณภาพการวิจัยข้อมูลการลงทุนอย่างมีความรับผิดชอบ (ARISTA) เกิดขึ้น เพื่อให้ความมั่นใจว่าข้อมูลวิจัยที่ได้รับการเผยแพร่มาจากกระบวนการวิจัยที่น่าเชื่อถือ มีความเป็นกลาง ได้คุณภาพ และสามารถตรวจสอบได้ ปัจจุบัน มาตรฐานที่ใช้เป็นฉบับที่ 3 และมีองค์กรที่ร่วมลงนาม 14 แห่ง
ในส่วนของการประเมิน จัดอันดับ และจัดทำดัชนี ได้มีการพัฒนามาตรฐานด้านการประเมินความยั่งยืน โดยหน่วยงานความริเริ่มสากลด้านการประเมินความยั่งยืน (GISR) มีระเบียบวิธีการประเมินทั้งในด้านกระบวนการและด้านเนื้อหา ที่ให้คำนึงถึงความเห็นของผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องกับการนำผลการประเมินไปใช้ประโยชน์ รวมถึงเป้าหมายการดำเนินงานในระยะยาวของบริษัทที่ใช้เป็นแนวกำกับผลลัพธ์ทั้งในระยะสั้นและระยะกลางควบคู่ไปพร้อมกัน
ทั้งนี้ ผลได้ทางตรงของบริษัทในการเปิดเผยข้อมูลที่ได้คุณภาพและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล คือ โอกาสที่จะได้รับเม็ดเงินลงทุนเพื่อสร้างความแข็งแกร่งและการเติบโตของธุรกิจจากผู้ลงทุน โดยเฉพาะผู้ลงทุนประเภทสถาบัน ที่ใช้ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ประกอบการตัดสินใจลงทุน
ส่วนผลได้ทางอ้อมของบริษัท (แต่ให้ผลทันที) คือ การยกระดับภาพลักษณ์และการเป็นที่ยอมรับขององค์กร จากการได้รับบทวิเคราะห์ในเชิงบวกจากบริษัทวิจัย อันดับที่ดีจากบริษัทผู้ประเมิน และการได้เข้าอยู่ในดัชนีชั้นนำของโลก
ด้วยผลได้ทางตรงและทางอ้อมที่จะเกิดแก่ทั้งฝั่งบริษัทและกับฝั่งผู้ลงทุน ทำให้ตลาดหลักทรัพย์รวมทั้งหน่วยงานกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ในหลายประเทศ (รวมทั้งประเทศไทย) ต่างออกมาตรการในการส่งเสริมให้บริษัทดำเนินการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืนให้ได้มาตรฐาน เป็นที่ยอมรับ โปร่งใส ตรวจสอบได้ และมีมาตรการในการสนับสนุนให้ผู้ลงทุนใช้ข้อมูล ESG ประกอบการตัดสินใจลงทุน เพื่อลดความเสี่ยงจากการลงทุนในบริษัทที่ขาดธรรมาภิบาล ขาดความรับผิดชอบต่อสังคม และสร้างผลกระทบเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีผลต่อความยั่งยืนและผลประกอบการในระยะยาวของกิจการ
การลงทุนเป็นโอกาส ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูล ESG ก่อนการตัดสินใจลงทุน...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
เอสแอนด์พี/ดาวโจนส์ และฟุตซี่ เป็นผู้เล่นกลุ่มที่ให้บริการข้อมูลดัชนีในวงจรข้อมูลความยั่งยืน ซึ่งนำข้อมูลที่ใช้จัดทำดัชนีมาจากบริษัทประเมินหรือบริษัทวิจัย เช่น RobecoSAM หรือ Sustainalytics ขณะที่บริษัทประเมินหรือบริษัทวิจัยเหล่านี้ นอกจากจะเป็นผู้รวบรวมข้อมูลจากแหล่งปฐมภูมิเองแล้ว จะซื้อจากบริษัทขายข้อมูลอย่าง บลูมเบิร์ก หรือทอมสัน รอยเตอร์ส โดยที่บริษัทขายข้อมูลเหล่านี้ จะเป็นผู้ประกอบร่างข้อมูลจากแหล่งปฐมภูมิ เช่น ข้อมูลที่บริษัทเปิดเผยตามข้อกำหนด รายงานผลประกอบการ รวมถึงผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) ตลอดจนจากแหล่งทุติยภูมิ เช่น เสียงสะท้อนจากผู้มีส่วนได้เสีย ภาคประชาสังคม และข้อเท็จจริงที่ปรากฏในสื่อต่างๆ
บริษัทที่เปิดเผยข้อมูลได้อย่างชัดเจน ครบถ้วน และเป็นไปตามบรรทัดฐานสากลตั้งแต่ต้นทาง เริ่มจากผู้รวบรวมข้อมูล (Aggregators) ไปยังบริษัทวิจัยข้อมูล (Researchers) และบริษัทผู้ประเมิน (Raters) สู่การจัดทำข้อมูลดัชนี (Indexes) ส่งตรงไปยังผู้ใช้ข้อมูล (Users) ซึ่งเป็นผู้ลงทุนโดยส่วนใหญ่ และผู้ใช้ข้อมูลปลายทาง จะยังประโยชน์ให้แก่ตัวองค์กรต่อการเป็นที่ยอมรับและการตัดสินใจลงทุนในบริษัท
ปัจจุบัน มีหน่วยงานที่พัฒนาแนวทางการเปิดเผยข้อมูลหรือกรอบการรายงาน เช่น IIRC, GRI, SASB ได้ออกเกณฑ์วิธีใหม่ๆ (เช่น การสานสัมพันธ์ผู้มีส่วนได้เสียเพื่อระบุเรื่องที่เกี่ยวข้อง การกำหนดสารัตถภาพของประเด็นที่เลือกมาดำเนินการ) เพื่อช่วยเหลือบริษัทในการเปิดเผยข้อมูลและการรายงานข้อมูลความยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหลักการรายงานความยั่งยืนของ GRI (ปัจจุบันใช้ฉบับ G4) ได้กลายมาเป็นมาตรฐานตามความนิยม (de facto standard) ที่ใช้อ้างอิงสำหรับการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืนอย่างแพร่หลายในระดับสากล
อาจมีข้อกังขาว่า ข้อมูลที่บริษัทเปิดเผยนั้น มีความน่าเชื่อถือหรือถูกต้องตรงกับความเป็นจริงมากน้อยเพียงใด จึงได้เกิดผู้เล่นอีกกลุ่มหนึ่งในตลาดทุน เพื่อพยายามแก้ข้อจำกัดในเรื่องการขาดความเชื่อมั่นในข้อมูลดังกล่าว โดยในส่วนของข้อมูลบริษัท ได้เกิดผู้ให้บริการงานให้ความเชื่อมั่น (Assurance Providers) ต่อการเปิดเผยข้อมูลที่มิใช่ตัวเลขทางการเงิน หรือรายงานด้านความยั่งยืน ตามมาตรฐานการสอบทานและการให้ความเชื่อมั่นที่พัฒนาขึ้นมารองรับจากหน่วยงาน IAASB และ AA1000 เป็นต้น
ในส่วนของข้อมูลวิจัยที่เผยแพร่จากบริษัทวิจัย ได้มีมาตรฐานคุณภาพการวิจัยข้อมูลการลงทุนอย่างมีความรับผิดชอบ (ARISTA) เกิดขึ้น เพื่อให้ความมั่นใจว่าข้อมูลวิจัยที่ได้รับการเผยแพร่มาจากกระบวนการวิจัยที่น่าเชื่อถือ มีความเป็นกลาง ได้คุณภาพ และสามารถตรวจสอบได้ ปัจจุบัน มาตรฐานที่ใช้เป็นฉบับที่ 3 และมีองค์กรที่ร่วมลงนาม 14 แห่ง
ในส่วนของการประเมิน จัดอันดับ และจัดทำดัชนี ได้มีการพัฒนามาตรฐานด้านการประเมินความยั่งยืน โดยหน่วยงานความริเริ่มสากลด้านการประเมินความยั่งยืน (GISR) มีระเบียบวิธีการประเมินทั้งในด้านกระบวนการและด้านเนื้อหา ที่ให้คำนึงถึงความเห็นของผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องกับการนำผลการประเมินไปใช้ประโยชน์ รวมถึงเป้าหมายการดำเนินงานในระยะยาวของบริษัทที่ใช้เป็นแนวกำกับผลลัพธ์ทั้งในระยะสั้นและระยะกลางควบคู่ไปพร้อมกัน
ทั้งนี้ ผลได้ทางตรงของบริษัทในการเปิดเผยข้อมูลที่ได้คุณภาพและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล คือ โอกาสที่จะได้รับเม็ดเงินลงทุนเพื่อสร้างความแข็งแกร่งและการเติบโตของธุรกิจจากผู้ลงทุน โดยเฉพาะผู้ลงทุนประเภทสถาบัน ที่ใช้ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ประกอบการตัดสินใจลงทุน
ส่วนผลได้ทางอ้อมของบริษัท (แต่ให้ผลทันที) คือ การยกระดับภาพลักษณ์และการเป็นที่ยอมรับขององค์กร จากการได้รับบทวิเคราะห์ในเชิงบวกจากบริษัทวิจัย อันดับที่ดีจากบริษัทผู้ประเมิน และการได้เข้าอยู่ในดัชนีชั้นนำของโลก
ด้วยผลได้ทางตรงและทางอ้อมที่จะเกิดแก่ทั้งฝั่งบริษัทและกับฝั่งผู้ลงทุน ทำให้ตลาดหลักทรัพย์รวมทั้งหน่วยงานกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ในหลายประเทศ (รวมทั้งประเทศไทย) ต่างออกมาตรการในการส่งเสริมให้บริษัทดำเนินการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืนให้ได้มาตรฐาน เป็นที่ยอมรับ โปร่งใส ตรวจสอบได้ และมีมาตรการในการสนับสนุนให้ผู้ลงทุนใช้ข้อมูล ESG ประกอบการตัดสินใจลงทุน เพื่อลดความเสี่ยงจากการลงทุนในบริษัทที่ขาดธรรมาภิบาล ขาดความรับผิดชอบต่อสังคม และสร้างผลกระทบเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีผลต่อความยั่งยืนและผลประกอบการในระยะยาวของกิจการ
การลงทุนเป็นโอกาส ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูล ESG ก่อนการตัดสินใจลงทุน...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
Friday, October 24, 2014
เผยดัชนีต้านทุจริตบริษัทไทย
เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้เผยผลตัวชี้วัดการประเมินความคืบหน้าในเรื่องการต่อต้านการทุจริต (Anti-corruption Progress Indicator) ของบริษัทจดทะเบียน ซึ่งเป็นหนึ่งในการดำเนินงานของ ก.ล.ต. ตามแผนพัฒนาความยั่งยืน ที่เน้นให้บริษัทมีแนวปฏิบัติที่ดี ดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมและมีการกำกับดูแลกิจการที่ดี รวมทั้งมีแนวปฏิบัติเพื่อต่อต้านการทุจริตอย่างจริงจัง เป็นต้นแบบให้ภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้องได้ปฏิบัติตาม
จากการประเมินความคืบหน้าในเรื่องการต่อต้านการทุจริตของบริษัทจดทะเบียนทั้งหมด 567 รายพบว่า 344 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 60.67 มีคะแนนอยู่ที่ระดับ 1 ขึ้นไป คือ บริษัทแสดงให้เห็นถึงคำมั่นจากผู้บริหารและขององค์กร ว่ามีนโยบายในการดำเนินธุรกิจที่จะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริต ในจำนวนนี้มี 28 บริษัทจดทะเบียน มีคะแนนอยู่ที่ระดับ 4 คือ ได้รับการรับรองเป็นสมาชิกแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต (ข้อมูล ณ วันที่ 13 ต.ค. 2557)
การประเมินดังกล่าวช่วยให้บริษัทจดทะเบียนทราบถึงระดับการพัฒนาความยั่งยืนของกิจการในด้านที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านการทุจริต และสามารถนำผลการประเมินมาพิจารณาประกอบการวางกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจเพื่อป้องกันมิให้บริษัทมีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริต ส่วนผู้ลงทุนจะได้ทราบความมุ่งมั่นและนโยบายการป้องกันการมีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริตของบริษัท และสามารถหลีกเลี่ยงการลงทุนในบริษัทที่อาจมีความสุ่มเสี่ยงต่อการเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริต
ปัจจุบัน ยังมีบริษัทที่มิได้เปิดเผยข้อมูลในเรื่องนโยบายการดำเนินธุรกิจของบริษัทและบริษัทย่อยที่จะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริต จำนวน 176 บริษัท หรือคิดเป็นร้อยละ31.04 และมีการเปิดเผยเพียงบางส่วน จำนวน 47 บริษัท หรือคิดเป็นร้อยละ 8.29
สำหรับผลการประเมินความคืบหน้าในเรื่องการต่อต้านการทุจริต แบ่งออกเป็น 5 ระดับ ได้แก่ ระดับ 1: มีนโยบาย (Committed) ระดับ 2: ประกาศเจตนารมณ์ (Declared) ระดับ 3: มีมาตรการป้องกัน (Established) ระดับ 4: ได้รับการรับรอง (Certified) และระดับ 5: ขยายผลสู่ผู้ที่เกี่ยวข้อง (Extended)
ข้อมูล Anti-corruption Progress Indicator ที่จัดทำขึ้นนี้ จะช่วยบ่งชี้ความก้าวหน้าและแนวทางการยกระดับให้แก่บริษัทจดทะเบียนในเรื่องการต่อต้านการทุจริตอย่างเป็นรูปธรรม เน้นการนำไปปฏิบัติทั่วทั้งองค์กร ครอบคลุมถึงหุ้นส่วนทางธุรกิจ ที่ปรึกษา ตัวกลาง หรือตัวแทนในการดำเนินธุรกิจของตนเองไม่ให้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริตในทุกรูปแบบ
ทั้งนี้ การต่อต้านการทุจริตให้เป็นผลนั้น ไม่ได้เกิดจากการบอกให้ผู้อื่นเลิกทุจริต แต่เกิดจากการลงมือปฏิบัติโดยเริ่มจากตนเองและองค์กรของตน ให้ปลอดจากการมีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริต เป็นแบบอย่างให้แก่ผู้อื่นได้ปฏิบัติตาม
ผู้ที่สนใจข้อมูลสรุปภาพรวมผลการประเมิน Anti-corruption Progress Indicator หรือต้องการตรวจสอบผลประเมิน Anti-corruption Progress Indicator รายบริษัทจดทะเบียน สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ทางเว็บไซต์ www.thaicsr.com...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
จากการประเมินความคืบหน้าในเรื่องการต่อต้านการทุจริตของบริษัทจดทะเบียนทั้งหมด 567 รายพบว่า 344 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 60.67 มีคะแนนอยู่ที่ระดับ 1 ขึ้นไป คือ บริษัทแสดงให้เห็นถึงคำมั่นจากผู้บริหารและขององค์กร ว่ามีนโยบายในการดำเนินธุรกิจที่จะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริต ในจำนวนนี้มี 28 บริษัทจดทะเบียน มีคะแนนอยู่ที่ระดับ 4 คือ ได้รับการรับรองเป็นสมาชิกแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต (ข้อมูล ณ วันที่ 13 ต.ค. 2557)
การประเมินดังกล่าวช่วยให้บริษัทจดทะเบียนทราบถึงระดับการพัฒนาความยั่งยืนของกิจการในด้านที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านการทุจริต และสามารถนำผลการประเมินมาพิจารณาประกอบการวางกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจเพื่อป้องกันมิให้บริษัทมีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริต ส่วนผู้ลงทุนจะได้ทราบความมุ่งมั่นและนโยบายการป้องกันการมีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริตของบริษัท และสามารถหลีกเลี่ยงการลงทุนในบริษัทที่อาจมีความสุ่มเสี่ยงต่อการเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริต
ปัจจุบัน ยังมีบริษัทที่มิได้เปิดเผยข้อมูลในเรื่องนโยบายการดำเนินธุรกิจของบริษัทและบริษัทย่อยที่จะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริต จำนวน 176 บริษัท หรือคิดเป็นร้อยละ31.04 และมีการเปิดเผยเพียงบางส่วน จำนวน 47 บริษัท หรือคิดเป็นร้อยละ 8.29
สำหรับผลการประเมินความคืบหน้าในเรื่องการต่อต้านการทุจริต แบ่งออกเป็น 5 ระดับ ได้แก่ ระดับ 1: มีนโยบาย (Committed) ระดับ 2: ประกาศเจตนารมณ์ (Declared) ระดับ 3: มีมาตรการป้องกัน (Established) ระดับ 4: ได้รับการรับรอง (Certified) และระดับ 5: ขยายผลสู่ผู้ที่เกี่ยวข้อง (Extended)
ข้อมูล Anti-corruption Progress Indicator ที่จัดทำขึ้นนี้ จะช่วยบ่งชี้ความก้าวหน้าและแนวทางการยกระดับให้แก่บริษัทจดทะเบียนในเรื่องการต่อต้านการทุจริตอย่างเป็นรูปธรรม เน้นการนำไปปฏิบัติทั่วทั้งองค์กร ครอบคลุมถึงหุ้นส่วนทางธุรกิจ ที่ปรึกษา ตัวกลาง หรือตัวแทนในการดำเนินธุรกิจของตนเองไม่ให้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริตในทุกรูปแบบ
ทั้งนี้ การต่อต้านการทุจริตให้เป็นผลนั้น ไม่ได้เกิดจากการบอกให้ผู้อื่นเลิกทุจริต แต่เกิดจากการลงมือปฏิบัติโดยเริ่มจากตนเองและองค์กรของตน ให้ปลอดจากการมีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริต เป็นแบบอย่างให้แก่ผู้อื่นได้ปฏิบัติตาม
ผู้ที่สนใจข้อมูลสรุปภาพรวมผลการประเมิน Anti-corruption Progress Indicator หรือต้องการตรวจสอบผลประเมิน Anti-corruption Progress Indicator รายบริษัทจดทะเบียน สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ทางเว็บไซต์ www.thaicsr.com...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
Thursday, October 16, 2014
กลยุทธ์ธนาคารคู่สังคม
ธนาคารเป็นหนึ่งในธุรกิจที่ถูกคาดหวังจากสังคม ในฐานะแหล่งเงิน เสมือนเชื้อเพลิงหลักขับเคลื่อนประเทศ การมุ่งกำไรของธนาคารเพียงเพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้แก่กิจการและความมั่งคั่งแก่ผู้ถือหุ้นในบริบทของสังคมปัจจุบัน ไม่เพียงพอต่อการเป็นที่ยอมรับจากสังคมอีกต่อไป
จากเหตุดังกล่าว ทำให้ทุกธนาคาร จึงต้องพัฒนาบทบาทความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ (CSR) และความริเริ่มด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน (SD) ให้เป็นที่ประจักษ์ สามารถวัดผล จับต้องได้
ในช่วงที่ผ่านมา ธนาคารใช้การดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคม ที่ส่วนใหญ่มิได้เกี่ยวข้องกับกระบวนการหลักในธุรกิจธนาคาร หรือเป็น CSR-after-process สำหรับสื่อสารหรือแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ทำให้เกิดเป็น CSR ในรูปของโครงการและกิจกรรมต่างๆ มากมาย พร้อมด้วยคำถามที่ติดตามมาในหมู่ผู้ขับเคลื่อนงาน CSR ในธนาคารว่า กิจกรรมเหล่านี้จะก่อให้เกิดความยั่งยืน ที่มิได้จำกัดอยู่เพียงการสร้างการรับรู้ได้อย่างไร
ธนาคารบางแห่ง ได้ริเริ่มบูรณาการความรับผิดชอบต่อสังคมเข้ากับกระบวนการหลักในธุรกิจธนาคาร หรือเป็น CSR-in-process ปรับเปลี่ยนการทำงานจากรายโครงการและกิจกรรมรายครั้ง มาเป็นกระบวนการในธุรกิจที่สืบเนื่องต่อไปไม่สิ้นสุด (Going Concern) เพื่อตอบคำถามเรื่องความยั่งยืน มากกว่าการสร้างการรับรู้ อันเป็นจุดเริ่มของการใช้สินทรัพย์หลักของธนาคาร นั่นคือ Core Business ในการขับเคลื่อนบทบาทความรับผิดชอบของกิจการและสร้างการยอมรับจากสังคม
สำหรับธนาคารที่ดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมในกระบวนการ จนสามารถดูแลและจัดการกับผลกระทบทางลบได้อยู่ในระดับที่น่าพอใจแล้ว สามารถดำเนินการยกระดับมาสู่การส่งมอบผลกระทบในทางบวก จากการใช้สินทรัพย์และความเชี่ยวชาญหลักของกิจการ มาสร้างให้เกิดเป็นคุณค่าร่วม (CSV) ตามกลุ่มธุรกิจของธนาคาร
การสร้างคุณค่าร่วม สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ระดับ คือ ระดับของการคิดค้นผลิตภัณฑ์ (Products) และริเริ่มตลาดใหม่ โดยเฉพาะกับตลาดหรือกลุ่มลูกค้าที่ยังไม่ได้รับการตอบสนอง ระดับของการกำหนดบรรทัดฐานใหม่ในเรื่องผลิตภาพตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chains) และระดับของการพัฒนากลุ่มความร่วมมือ (Cluster) ในท้องถิ่นที่เอื้อต่อธุรกิจ
ในระดับผลิตภัณฑ์ ธนาคารสามารถพัฒนาบริการที่ช่วยเสริมสร้างสุขภาวะทางการเงินในระยะยาวให้แก่ลูกค้าปัจจุบัน พัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ที่สนับสนุนให้เกิดความก้าวหน้าทางสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งขยายบริการให้ครอบคลุมตลาดกลุ่มที่ยังเข้าไม่ถึงบริการธนาคาร
ในระดับห่วงโซ่คุณค่า ธนาคารสามารถปรับแต่งกระบวนการและการดำเนินงานภายใน ให้เอื้อต่อการสร้างนวัตกรรมบนผลิตภัณฑ์ทางการเงิน รูปแบบทางธุรกิจ และ/หรือ กลไกการให้บริการที่ตอบโจทย์อัตราผลตอบแทนขั้นต่ำของธนาคาร พร้อมกับสนองความต้องการพื้นฐานทางสังคมอย่างมีประสิทธิผล
ในระดับกลุ่มความร่วมมือ ธนาคารสามารถเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ผู้เกี่ยวข้องหลักและสถาบันที่อยู่ในระบบนิเวศทางธุรกิจ ผลักดันให้เกิดตลาดที่มีคุณค่าร่วมกัน สามารถสร้างผลกำไรและรองรับการขยายตัวในอนาคต
โดยทั่วไป กลุ่มธุรกิจของธนาคาร สามารถจำแนกออกเป็น 3 กลุ่มหลัก ได้แก่ กลุ่มลูกค้าบุคคลและรายย่อย (Retail Banking) กลุ่มลูกค้าธุรกิจ (Corporate Banking) และกลุ่มลูกค้าบุคคลสินทรัพย์สูง (Private Banking)
สำหรับกลุ่ม Retail Banking ธนาคารอาจใช้แนวคิดในการดำเนินกลยุทธ์ (Strategic Theme) ด้วยบทบาทการสานความรุ่งเรืองให้แก่ลูกค้าโดยการเข้าถึงตลาดใหม่และการเพิ่มบัญชีลูกค้า ใช้กระบวนการหลักในธุรกิจธนาคารและความสัมพันธ์กับลูกค้า แทนการดำเนินโครงการ CSR ทั่วไป สนับสนุนให้เกิดสุขภาวะทางการเงินในระยะยาวสำหรับลูกค้าปัจจุบัน และขยายบริการให้ครอบคลุมกลุ่มบุคคลและเอสเอ็มอีที่ยังเข้าไม่ถึงบริการของธนาคาร
ทั้งนี้ อุปสรรคกีดขวางสำคัญต่อการดำเนินกลยุทธ์ธนาคารในกลุ่มลูกค้าบุคคลและรายย่อย คือ ช่องทางการให้บริการที่คุ้มกับต้นทุน สำหรับลูกค้าในพื้นที่ห่างไกล และ/หรือบริการบัญชีสำหรับธุรกรรมขนาดย่อม ขีดความสามารถในการประเมินความเสี่ยงด้านเครดิตที่แม่นยำในระบบที่ใช้อยู่ปัจจุบันสำหรับการเรียกเอกสารและหลักประกัน และความเข้าใจที่เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้าในกลุ่มดังกล่าว
สำหรับกลุ่ม Corporate Banking ธนาคารอาจใช้แนวคิดในการดำเนินกลยุทธ์ด้วยบทบาทการเติมเชื้อให้ภาคเศรษฐกิจเติบโตเพื่อขยายอุปสงค์ที่มีต่อบริการของธนาคาร สร้างกลยุทธ์การให้บริการในระดับห่วงโซ่อุปทาน และ/หรือเศรษฐกิจระดับท้องถิ่น นอกเหนือจากลูกค้าหรือธุรกรรมในระดับบุคคล และช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยบริการทางการเงินที่สนับสนุนการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน
ทั้งนี้ อุปสรรคกีดขวางสำคัญต่อการดำเนินกลยุทธ์ธนาคารในกลุ่มลูกค้าธุรกิจ คือ ขีดความสามารถในการยกระดับบริการจากลูกค้าหรือธุรกรรมระดับบุคคล รวมถึงความสัมพันธ์ในท้องถิ่นที่มากกว่าลูกค้าปัจจุบัน และรอบการได้ผลตอบแทนคืนที่มีระยะเวลายาว
สำหรับกลุ่ม Private Banking ธนาคารอาจใช้แนวคิดในการดำเนินกลยุทธ์ด้วยบทบาทการร่วมแก้ปัญหาของสังคมโลกโดยการทำงานเชิงลึกกับธุรกิจที่มีฐานลูกค้ากำลังเติบโต จัดโครงสร้างการลงทุนที่สนองตามกลุ่มตลาด แทนการลงทุนก้อนเดียวในกลุ่มเดียว สร้างบริการสำหรับส่วนตลาดลูกค้าที่คำนึงถึงผลประโยชน์ทางสังคมหรือสิ่งแวดล้อม และการลงทุนในโครงการที่มุ่งแก้ไขปัญหาทางสังคมและสิ่งแวดล้อม
ทั้งนี้ อุปสรรคกีดขวางสำคัญต่อการดำเนินกลยุทธ์ธนาคารในกลุ่มลูกค้าบุคคลสินทรัพย์สูง คือ ความรู้สึกที่มีต่อความจำกัดของสภาพคล่องและขนาดของการลงทุน ความไม่อยากรับความเสี่ยงที่เกิดจากรูปแบบธุรกิจที่ยังไม่เป็นที่พิสูจน์ในตลาดเกิดใหม่ และแนวโน้มที่จะใช้เงินช่วยเหลือแทนการลงทุนสำหรับตลาดที่อยู่นอกธุรกิจหลัก
จากการสร้างคุณค่าร่วมที่นำมาพัฒนาเป็นกลยุทธ์ธุรกิจคู่สังคมในแบบทั่วไป สามารถประยุกต์มาสู่การสร้างคุณค่าร่วมในธุรกิจธนาคารที่พัฒนาเป็นกลยุทธ์ธนาคารคู่สังคมได้ด้วยประการฉะนี้...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
จากเหตุดังกล่าว ทำให้ทุกธนาคาร จึงต้องพัฒนาบทบาทความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ (CSR) และความริเริ่มด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน (SD) ให้เป็นที่ประจักษ์ สามารถวัดผล จับต้องได้
ในช่วงที่ผ่านมา ธนาคารใช้การดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคม ที่ส่วนใหญ่มิได้เกี่ยวข้องกับกระบวนการหลักในธุรกิจธนาคาร หรือเป็น CSR-after-process สำหรับสื่อสารหรือแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ทำให้เกิดเป็น CSR ในรูปของโครงการและกิจกรรมต่างๆ มากมาย พร้อมด้วยคำถามที่ติดตามมาในหมู่ผู้ขับเคลื่อนงาน CSR ในธนาคารว่า กิจกรรมเหล่านี้จะก่อให้เกิดความยั่งยืน ที่มิได้จำกัดอยู่เพียงการสร้างการรับรู้ได้อย่างไร
ธนาคารบางแห่ง ได้ริเริ่มบูรณาการความรับผิดชอบต่อสังคมเข้ากับกระบวนการหลักในธุรกิจธนาคาร หรือเป็น CSR-in-process ปรับเปลี่ยนการทำงานจากรายโครงการและกิจกรรมรายครั้ง มาเป็นกระบวนการในธุรกิจที่สืบเนื่องต่อไปไม่สิ้นสุด (Going Concern) เพื่อตอบคำถามเรื่องความยั่งยืน มากกว่าการสร้างการรับรู้ อันเป็นจุดเริ่มของการใช้สินทรัพย์หลักของธนาคาร นั่นคือ Core Business ในการขับเคลื่อนบทบาทความรับผิดชอบของกิจการและสร้างการยอมรับจากสังคม
สำหรับธนาคารที่ดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมในกระบวนการ จนสามารถดูแลและจัดการกับผลกระทบทางลบได้อยู่ในระดับที่น่าพอใจแล้ว สามารถดำเนินการยกระดับมาสู่การส่งมอบผลกระทบในทางบวก จากการใช้สินทรัพย์และความเชี่ยวชาญหลักของกิจการ มาสร้างให้เกิดเป็นคุณค่าร่วม (CSV) ตามกลุ่มธุรกิจของธนาคาร
การสร้างคุณค่าร่วม สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ระดับ คือ ระดับของการคิดค้นผลิตภัณฑ์ (Products) และริเริ่มตลาดใหม่ โดยเฉพาะกับตลาดหรือกลุ่มลูกค้าที่ยังไม่ได้รับการตอบสนอง ระดับของการกำหนดบรรทัดฐานใหม่ในเรื่องผลิตภาพตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chains) และระดับของการพัฒนากลุ่มความร่วมมือ (Cluster) ในท้องถิ่นที่เอื้อต่อธุรกิจ
ในระดับผลิตภัณฑ์ ธนาคารสามารถพัฒนาบริการที่ช่วยเสริมสร้างสุขภาวะทางการเงินในระยะยาวให้แก่ลูกค้าปัจจุบัน พัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ที่สนับสนุนให้เกิดความก้าวหน้าทางสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งขยายบริการให้ครอบคลุมตลาดกลุ่มที่ยังเข้าไม่ถึงบริการธนาคาร
ในระดับห่วงโซ่คุณค่า ธนาคารสามารถปรับแต่งกระบวนการและการดำเนินงานภายใน ให้เอื้อต่อการสร้างนวัตกรรมบนผลิตภัณฑ์ทางการเงิน รูปแบบทางธุรกิจ และ/หรือ กลไกการให้บริการที่ตอบโจทย์อัตราผลตอบแทนขั้นต่ำของธนาคาร พร้อมกับสนองความต้องการพื้นฐานทางสังคมอย่างมีประสิทธิผล
ในระดับกลุ่มความร่วมมือ ธนาคารสามารถเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ผู้เกี่ยวข้องหลักและสถาบันที่อยู่ในระบบนิเวศทางธุรกิจ ผลักดันให้เกิดตลาดที่มีคุณค่าร่วมกัน สามารถสร้างผลกำไรและรองรับการขยายตัวในอนาคต
โดยทั่วไป กลุ่มธุรกิจของธนาคาร สามารถจำแนกออกเป็น 3 กลุ่มหลัก ได้แก่ กลุ่มลูกค้าบุคคลและรายย่อย (Retail Banking) กลุ่มลูกค้าธุรกิจ (Corporate Banking) และกลุ่มลูกค้าบุคคลสินทรัพย์สูง (Private Banking)
สำหรับกลุ่ม Retail Banking ธนาคารอาจใช้แนวคิดในการดำเนินกลยุทธ์ (Strategic Theme) ด้วยบทบาทการสานความรุ่งเรืองให้แก่ลูกค้าโดยการเข้าถึงตลาดใหม่และการเพิ่มบัญชีลูกค้า ใช้กระบวนการหลักในธุรกิจธนาคารและความสัมพันธ์กับลูกค้า แทนการดำเนินโครงการ CSR ทั่วไป สนับสนุนให้เกิดสุขภาวะทางการเงินในระยะยาวสำหรับลูกค้าปัจจุบัน และขยายบริการให้ครอบคลุมกลุ่มบุคคลและเอสเอ็มอีที่ยังเข้าไม่ถึงบริการของธนาคาร
ทั้งนี้ อุปสรรคกีดขวางสำคัญต่อการดำเนินกลยุทธ์ธนาคารในกลุ่มลูกค้าบุคคลและรายย่อย คือ ช่องทางการให้บริการที่คุ้มกับต้นทุน สำหรับลูกค้าในพื้นที่ห่างไกล และ/หรือบริการบัญชีสำหรับธุรกรรมขนาดย่อม ขีดความสามารถในการประเมินความเสี่ยงด้านเครดิตที่แม่นยำในระบบที่ใช้อยู่ปัจจุบันสำหรับการเรียกเอกสารและหลักประกัน และความเข้าใจที่เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้าในกลุ่มดังกล่าว
สำหรับกลุ่ม Corporate Banking ธนาคารอาจใช้แนวคิดในการดำเนินกลยุทธ์ด้วยบทบาทการเติมเชื้อให้ภาคเศรษฐกิจเติบโตเพื่อขยายอุปสงค์ที่มีต่อบริการของธนาคาร สร้างกลยุทธ์การให้บริการในระดับห่วงโซ่อุปทาน และ/หรือเศรษฐกิจระดับท้องถิ่น นอกเหนือจากลูกค้าหรือธุรกรรมในระดับบุคคล และช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยบริการทางการเงินที่สนับสนุนการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน
ทั้งนี้ อุปสรรคกีดขวางสำคัญต่อการดำเนินกลยุทธ์ธนาคารในกลุ่มลูกค้าธุรกิจ คือ ขีดความสามารถในการยกระดับบริการจากลูกค้าหรือธุรกรรมระดับบุคคล รวมถึงความสัมพันธ์ในท้องถิ่นที่มากกว่าลูกค้าปัจจุบัน และรอบการได้ผลตอบแทนคืนที่มีระยะเวลายาว
สำหรับกลุ่ม Private Banking ธนาคารอาจใช้แนวคิดในการดำเนินกลยุทธ์ด้วยบทบาทการร่วมแก้ปัญหาของสังคมโลกโดยการทำงานเชิงลึกกับธุรกิจที่มีฐานลูกค้ากำลังเติบโต จัดโครงสร้างการลงทุนที่สนองตามกลุ่มตลาด แทนการลงทุนก้อนเดียวในกลุ่มเดียว สร้างบริการสำหรับส่วนตลาดลูกค้าที่คำนึงถึงผลประโยชน์ทางสังคมหรือสิ่งแวดล้อม และการลงทุนในโครงการที่มุ่งแก้ไขปัญหาทางสังคมและสิ่งแวดล้อม
ทั้งนี้ อุปสรรคกีดขวางสำคัญต่อการดำเนินกลยุทธ์ธนาคารในกลุ่มลูกค้าบุคคลสินทรัพย์สูง คือ ความรู้สึกที่มีต่อความจำกัดของสภาพคล่องและขนาดของการลงทุน ความไม่อยากรับความเสี่ยงที่เกิดจากรูปแบบธุรกิจที่ยังไม่เป็นที่พิสูจน์ในตลาดเกิดใหม่ และแนวโน้มที่จะใช้เงินช่วยเหลือแทนการลงทุนสำหรับตลาดที่อยู่นอกธุรกิจหลัก
จากการสร้างคุณค่าร่วมที่นำมาพัฒนาเป็นกลยุทธ์ธุรกิจคู่สังคมในแบบทั่วไป สามารถประยุกต์มาสู่การสร้างคุณค่าร่วมในธุรกิจธนาคารที่พัฒนาเป็นกลยุทธ์ธนาคารคู่สังคมได้ด้วยประการฉะนี้...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
Thursday, October 02, 2014
การลงทุนเป็นโอกาส ผู้ลงทุนควร...
เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้ลงนามเข้าร่วม UN Sustainable Stock Exchanges (SSE) Initiative เป็นหนึ่งในตลาดหลักทรัพย์จำนวน 13 แห่ง รวมทั้งตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก ตลาดหลักทรัพย์แนสแด็ก และตลาดหลักทรัพย์ลอนดอน เพื่อประกาศเจตนารมณ์ที่จะพัฒนาและส่งเสริมให้องค์กรและผู้เกี่ยวข้องทุกกลุ่มดำเนินงานโดยยึดหลักความยั่งยืน เป็นไปตามหลักบรรษัทภิบาล คำนึงถึงสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการมุ่งสนับสนุนเรื่องการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืนของบริษัทจดทะเบียนและการลงทุนอย่างมีความรับผิดชอบ
UN SSE Initiative เป็นความริเริ่มร่วมกันระหว่างองค์การสากลแห่งสหประชาชาติ 4 แห่ง ได้แก่ หลักการสหประชาชาติว่าด้วยการลงทุนอย่างมีความรับผิดชอบ (UNPRI) การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (UNCTAD) ความริเริ่มด้านการเงินภายใต้สำนักงานโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP-FI) และข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ (UNGC) เพื่อใช้เป็นแพลตฟอร์มสำหรับตลาดหลักทรัพย์ที่เข้าร่วม ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ถึงวิธีการทำงานร่วมกันระหว่างผู้ลงทุน หน่วยงานกำกับดูแล และบริษัทจดทะเบียน เพื่อเพิ่มความโปร่งใสในองค์กร โดยเฉพาะการดำเนินงานในประเด็นสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล หรือ ESG รวมทั้งส่งเสริมการลงทุนที่ยั่งยืน
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย นับเป็นตลาดหลักทรัพย์รายแรกในอาเซียนที่เข้าร่วม UN SSE Initiative โดยจะมีกำหนดการแถลงต่อที่ประชุม Sustainable Stock Exchanges Global Dialogues เดินหน้าเพื่อพัฒนาความยั่งยืนอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 14 ตุลาคม 2557 ณ องค์การสหประชาชาติ กรุงเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์
ก่อนหน้านี้ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแล ได้มีการประกาศโรดแมปการพัฒนาความยั่งยืนสำหรับบริษัทจดทะเบียน ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2557-2561) เพื่อส่งเสริมการพัฒนาผู้ที่เกี่ยวข้องในตลาดทุน โดยเฉพาะบริษัทจดทะเบียนตามเส้นทางการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยให้ความสำคัญใน 3 ด้าน คือ CG in substance: เสริมสร้างให้คณะกรรมการและผู้บริหารของบริษัทจดทะเบียนสร้างผลการดำเนินงานที่ดีให้กิจการอย่างยั่งยืนและน่าเชื่อถือโดยเน้นการปฏิบัติอย่างจริงจัง CSR in process: การดำเนินธุรกิจปกติประจำวันของบริษัทจดทะเบียนเป็นไปด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม และเป็นแรงผลักดันให้ภาคเอกชนอื่นดำเนินการด้วย และ Anti-corruption in practice: บริษัทจดทะเบียนเป็นบริษัทต้นแบบที่มีแนวปฏิบัติอย่างจริงจังและสร้างวัฒนธรรมการไม่คอร์รัปชันให้ภาคธุรกิจไทยได้
ล่าสุด ในฝั่งของบริษัทจดทะเบียน สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย ซึ่งมีบริษัทจดทะเบียนไทยที่เข้าเป็นสมาชิกราว 478 บริษัท ดำเนินกิจกรรมผ่าน 5 ชมรม ได้แก่ ชมรม CSR ชมรมนักลงทุนสัมพันธ์แห่งประเทศไทย ชมรมเลขานุการบริษัทไทย ชมรมบริหารความเสี่ยง และชมรม HCM (Human Capital Management) โดยภายใต้ชมรม CSR ได้มีการจัดทำแผนกลยุทธ์ที่จะส่งเสริมและพัฒนาบริษัทจดทะเบียนสมาชิกในแนวทาง CSR in process การผนวกการพัฒนาความยั่งยืนเข้าในกลยุทธ์องค์กร และการสร้างคุณค่าร่วม ที่สอดคล้องกับทิศทางในแผนการพัฒนาความยั่งยืนของสำนักงาน ก.ล.ต.
สิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นต่อไปจากนี้ คือ การพัฒนาในฝั่งของผู้ลงทุน ต่อการลงทุนอย่างมีความรับผิดชอบ ที่ไม่ใช่เพื่อผลกำไรเพียงอย่างเดียว แต่มีการพิจารณาถึงการกำกับดูแลกิจการที่ดี คำนึงถึงผลกระทบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และผู้มีส่วนได้เสียอย่างครบถ้วน โดยเฉพาะผู้ลงทุนประเภทสถาบัน หรือผู้จัดการลงทุนซึ่งทำหน้าที่ดูแลการลงทุนให้แก่ผู้ลงทุน จำเป็นต้องมีแนวปฏิบัติสำหรับการลงทุนที่ดี ใช้ข้อมูลการดำเนินงานในประเด็นสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล หรือ ESG ที่กิจการเปิดเผย ประกอบการตัดสินใจลงทุนอย่างรอบด้าน
เฉพาะในประเทศสหรัฐอเมริกา เม็ดเงินจากกลุ่มผู้ลงทุนที่คำนึงถึงเรื่อง ESG มีจำนวนราว 3.74 ล้านล้านเหรียญ หรือคิดเป็นร้อยละ 11.3 ของเม็ดเงินลงทุนทั้งหมดซึ่งมีอยู่ประมาณ 33.3 ล้านล้านเหรียญในปัจจุบัน หรือเทียบได้ว่า ในทุกๆ 9 เหรียญเงินลงทุน จะมี 1 เหรียญที่ลงทุนโดยใช้เกณฑ์ ESG ในการพิจารณาประกอบการตัดสินใจลงทุน
บริษัทจัดทำข้อมูลหลักทรัพย์รายใหญ่ระดับโลก อาทิ เอสแอนด์พี ดาวโจนส์ ฟุตซี่ เอ็มเอสซีไอ ต่างมีการพัฒนาดัชนีด้านความยั่งยืนโดยใช้ข้อมูล ESG เป็นฐานในการคำนวณ การที่บริษัทจดทะเบียนไทยมีการเปิดเผยข้อมูล ESG เพิ่มขึ้นทั้งในแง่ของปริมาณและคุณภาพ จะช่วยเพิ่มโอกาสให้บริษัทจดทะเบียนไทยได้เข้าอยู่ในดัชนีเหล่านี้มากยิ่งขึ้น ตัวอย่างของบริษัทจดทะเบียนไทยที่ได้รับคัดเลือกให้เป็นสมาชิกใน DJSI ประจำปี 2557 เพิ่มขึ้นเป็น 10 บริษัท ได้แก่ BANPU, CPN, IRPC, MINT, PTT, PTTEP, PTTGC, SCC, TOP, TUF
จากคำเตือนที่ได้ยินอยู่เสมอว่า “การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน” อีกหน่อยคงจะมีคำขวัญมาตีคู่ว่า “การลงทุนเป็นโอกาส ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูล ESG ก่อนการตัดสินใจลงทุน”...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
UN SSE Initiative เป็นความริเริ่มร่วมกันระหว่างองค์การสากลแห่งสหประชาชาติ 4 แห่ง ได้แก่ หลักการสหประชาชาติว่าด้วยการลงทุนอย่างมีความรับผิดชอบ (UNPRI) การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (UNCTAD) ความริเริ่มด้านการเงินภายใต้สำนักงานโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP-FI) และข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ (UNGC) เพื่อใช้เป็นแพลตฟอร์มสำหรับตลาดหลักทรัพย์ที่เข้าร่วม ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ถึงวิธีการทำงานร่วมกันระหว่างผู้ลงทุน หน่วยงานกำกับดูแล และบริษัทจดทะเบียน เพื่อเพิ่มความโปร่งใสในองค์กร โดยเฉพาะการดำเนินงานในประเด็นสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล หรือ ESG รวมทั้งส่งเสริมการลงทุนที่ยั่งยืน
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย นับเป็นตลาดหลักทรัพย์รายแรกในอาเซียนที่เข้าร่วม UN SSE Initiative โดยจะมีกำหนดการแถลงต่อที่ประชุม Sustainable Stock Exchanges Global Dialogues เดินหน้าเพื่อพัฒนาความยั่งยืนอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 14 ตุลาคม 2557 ณ องค์การสหประชาชาติ กรุงเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์
ก่อนหน้านี้ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแล ได้มีการประกาศโรดแมปการพัฒนาความยั่งยืนสำหรับบริษัทจดทะเบียน ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2557-2561) เพื่อส่งเสริมการพัฒนาผู้ที่เกี่ยวข้องในตลาดทุน โดยเฉพาะบริษัทจดทะเบียนตามเส้นทางการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยให้ความสำคัญใน 3 ด้าน คือ CG in substance: เสริมสร้างให้คณะกรรมการและผู้บริหารของบริษัทจดทะเบียนสร้างผลการดำเนินงานที่ดีให้กิจการอย่างยั่งยืนและน่าเชื่อถือโดยเน้นการปฏิบัติอย่างจริงจัง CSR in process: การดำเนินธุรกิจปกติประจำวันของบริษัทจดทะเบียนเป็นไปด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม และเป็นแรงผลักดันให้ภาคเอกชนอื่นดำเนินการด้วย และ Anti-corruption in practice: บริษัทจดทะเบียนเป็นบริษัทต้นแบบที่มีแนวปฏิบัติอย่างจริงจังและสร้างวัฒนธรรมการไม่คอร์รัปชันให้ภาคธุรกิจไทยได้
ล่าสุด ในฝั่งของบริษัทจดทะเบียน สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย ซึ่งมีบริษัทจดทะเบียนไทยที่เข้าเป็นสมาชิกราว 478 บริษัท ดำเนินกิจกรรมผ่าน 5 ชมรม ได้แก่ ชมรม CSR ชมรมนักลงทุนสัมพันธ์แห่งประเทศไทย ชมรมเลขานุการบริษัทไทย ชมรมบริหารความเสี่ยง และชมรม HCM (Human Capital Management) โดยภายใต้ชมรม CSR ได้มีการจัดทำแผนกลยุทธ์ที่จะส่งเสริมและพัฒนาบริษัทจดทะเบียนสมาชิกในแนวทาง CSR in process การผนวกการพัฒนาความยั่งยืนเข้าในกลยุทธ์องค์กร และการสร้างคุณค่าร่วม ที่สอดคล้องกับทิศทางในแผนการพัฒนาความยั่งยืนของสำนักงาน ก.ล.ต.
สิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นต่อไปจากนี้ คือ การพัฒนาในฝั่งของผู้ลงทุน ต่อการลงทุนอย่างมีความรับผิดชอบ ที่ไม่ใช่เพื่อผลกำไรเพียงอย่างเดียว แต่มีการพิจารณาถึงการกำกับดูแลกิจการที่ดี คำนึงถึงผลกระทบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และผู้มีส่วนได้เสียอย่างครบถ้วน โดยเฉพาะผู้ลงทุนประเภทสถาบัน หรือผู้จัดการลงทุนซึ่งทำหน้าที่ดูแลการลงทุนให้แก่ผู้ลงทุน จำเป็นต้องมีแนวปฏิบัติสำหรับการลงทุนที่ดี ใช้ข้อมูลการดำเนินงานในประเด็นสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล หรือ ESG ที่กิจการเปิดเผย ประกอบการตัดสินใจลงทุนอย่างรอบด้าน
เฉพาะในประเทศสหรัฐอเมริกา เม็ดเงินจากกลุ่มผู้ลงทุนที่คำนึงถึงเรื่อง ESG มีจำนวนราว 3.74 ล้านล้านเหรียญ หรือคิดเป็นร้อยละ 11.3 ของเม็ดเงินลงทุนทั้งหมดซึ่งมีอยู่ประมาณ 33.3 ล้านล้านเหรียญในปัจจุบัน หรือเทียบได้ว่า ในทุกๆ 9 เหรียญเงินลงทุน จะมี 1 เหรียญที่ลงทุนโดยใช้เกณฑ์ ESG ในการพิจารณาประกอบการตัดสินใจลงทุน
บริษัทจัดทำข้อมูลหลักทรัพย์รายใหญ่ระดับโลก อาทิ เอสแอนด์พี ดาวโจนส์ ฟุตซี่ เอ็มเอสซีไอ ต่างมีการพัฒนาดัชนีด้านความยั่งยืนโดยใช้ข้อมูล ESG เป็นฐานในการคำนวณ การที่บริษัทจดทะเบียนไทยมีการเปิดเผยข้อมูล ESG เพิ่มขึ้นทั้งในแง่ของปริมาณและคุณภาพ จะช่วยเพิ่มโอกาสให้บริษัทจดทะเบียนไทยได้เข้าอยู่ในดัชนีเหล่านี้มากยิ่งขึ้น ตัวอย่างของบริษัทจดทะเบียนไทยที่ได้รับคัดเลือกให้เป็นสมาชิกใน DJSI ประจำปี 2557 เพิ่มขึ้นเป็น 10 บริษัท ได้แก่ BANPU, CPN, IRPC, MINT, PTT, PTTEP, PTTGC, SCC, TOP, TUF
จากคำเตือนที่ได้ยินอยู่เสมอว่า “การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน” อีกหน่อยคงจะมีคำขวัญมาตีคู่ว่า “การลงทุนเป็นโอกาส ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูล ESG ก่อนการตัดสินใจลงทุน”...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
Thursday, September 25, 2014
ตัวอย่าง CSV ในธุรกิจไทย
วันนี้ (25 ก.ย.) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และสถาบันไทยพัฒน์ ได้ร่วมกันจัดสัมมนา “Shared Value Opportunities in Thailand” เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และส่งเสริมการขับเคลื่อนการสร้างคุณค่าร่วม (Creating Shared Value: CSV) ขององค์กรธุรกิจไทย ตามแนวทางของไมเคิล อี พอร์เตอร์ และมาร์ค เครเมอร์
เครเมอร์ได้พูดผ่านวีดีทัศน์ที่บันทึกสำหรับงานสัมมนาในครั้งนี้ว่า ไมเคิล และตัวเขาเอง รู้สึกตื่นเต้นมากที่มีการจัดงานสัมมนานี้ขึ้นในประเทศไทย เมื่อตอนที่ไมเคิลและเขาได้ริเริ่มแนวคิด CSV นี้ขึ้นเป็นครั้งแรก ไม่นึกว่าจะได้รับการขานรับจากบรรดาบริษัทและประเทศต่างๆ ทั่วโลกมากมายขนาดนี้ พร้อมกับได้กล่าวแสดงความยินดีกับบริษัทชั้นนำของไทยที่ได้พัฒนาความริเริ่มและกำลังนำกลยุทธ์ด้านคุณค่าร่วมไปผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งในความคิดหลักของบริษัท
ในช่วงแรกของงานสัมมนา เป็นการแลกเปลี่ยนมุมมองและประสบการณ์ของบริษัทจดทะเบียนชั้นนำโดยผู้บริหารระดับสูงจาก บมจ. พฤกษา เรียลเอสเตท บมจ. บางจาก ปิโตรเลียม และ บมจ. ธนาคารกสิกรไทย ได้นำเสนอตัวอย่างของ CSV ที่เกิดขึ้นแล้วในองค์กรทั้งสามแห่ง อาทิ การนำเทคโนโลยีควบคุมการก่อสร้างบ้านแบบ Real Estate Manufacturing (REM) ของพฤกษา เรียลเอสเตท การร่วมดำเนินธุรกิจสถานีบริการน้ำมันกับสหกรณ์การเกษตร ของบางจาก ปิโตรเลียม และบริการสินเชื่อรับประกันการประหยัดพลังงาน ของ ธ.กสิกรไทย
ไมเคิล อี พอร์เตอร์ และมาร์ค เครเมอร์ ได้จำแนกการสร้างคุณค่าร่วม หรือ CSV ออกเป็น 3 ระดับ คือ ระดับของการคิดค้นผลิตภัณฑ์ (Product) ขึ้นใหม่ที่เป็นความต้องการของสังคม โดยเฉพาะกับตลาดหรือกลุ่มลูกค้าที่ยังไม่ได้รับการตอบสนอง ระดับของการกำหนดบรรทัดฐานใหม่ในเรื่องผลิตภาพโดยให้ความสำคัญกับประเด็นทางสังคมตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) และระดับของการพัฒนากลุ่มความร่วมมือ (Cluster) ในท้องถิ่นที่เอื้อต่อธุรกิจ
โปรแกรมสินเชื่อรับประกันการประหยัดพลังงานของ ธ.กสิกรไทย เป็นตัวอย่างของ CSV ในระดับ Product ที่ธนาคารให้แก่ผู้ประกอบการในรูปของสินเชื่อลีสซิ่ง / เช่าซื้อเครื่องจักรและอุปกรณ์ และ/หรือ เงินกู้ระยะยาว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการลงทุนในโครงการจัดการด้านพลังงานให้มีประสิทธิภาพ ผ่านการใช้บริการจากบริษัทจัดการด้านพลังงาน (Energy Service Company - ESCO) ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาและบริหารจัดการด้านพลังงานอย่างครบวงจร และมีการรับประกันผลการประหยัดพลังงานที่ได้จากการลงทุนในโครงการดังกล่าว ซึ่งทำให้ผู้ประกอบการมั่นใจได้ว่าผลการประหยัดพลังงานที่ได้จากการลงทุนในโครงการจะเป็นแหล่งที่มาหลักของการชำระคืนเงินกู้ของลูกค้า (Self-Financing Project) โดยไม่กระทบกระแสเงินสดจากการดำเนินงานปกติของกิจการ ผลจากการลดต้นทุนการใช้พลังงาน นอกจากจะเป็นผลดีต่อสภาพแวดล้อมและการใช้พลังงานของประเทศโดยรวมแล้ว ยังทำให้กิจการมีสถานะทางการเงินและความสามารถทางการแข่งขันดีขึ้นในระยะยาว
ส่วนการก่อสร้างบ้านแบบ REM ที่พฤกษา เรียลเอสเตทได้คิดค้นและพัฒนาขึ้น เป็นตัวอย่างของ CSV ในระดับ Value Chain ที่ประยุกต์มาจากกระบวนการผลิตแบบอุตสาหกรรม ด้วยการวางแผนการทำงานร่วมกับผู้รับเหมาก่อสร้างและผู้ส่งมอบในห่วงโซ่คุณค่าให้รับผิดชอบเฉพาะในส่วนงานที่ตนเองมีความถนัดเพียงกิจกรรมเดียว จนสำเร็จทั้งเฟส หรือโครงการ ณ จุดก่อสร้าง เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการก่อสร้างสูงสุด มีการควบคุมกระบวนการทำงานให้เป็นไปตามลำดับขั้นตอนที่เหมาะสม มีจังหวะการทำงานที่แน่นอน มีการทำงานอย่างต่อเนื่องในสายการก่อสร้างระหว่างผู้รับเหมาและผู้ส่งมอบแต่ละราย มีระบบการตรวจสอบและควบคุมคุณภาพระหว่างการก่อสร้างในทุกขั้นตอน ทำให้ย่นระยะเวลาก่อสร้างเฉลี่ยจาก 45 วัน เหลือเพียง 21 วัน จนเป็นผลให้บริษัทสามารถส่งมอบบ้านที่มีคุณภาพในมาตรฐานเดียวกันและในเวลาอันรวดเร็วให้แก่ลูกค้า
สำหรับธุรกิจสถานีบริการน้ำมันที่บางจาก ปิโตรเลียมร่วมดำเนินงานกับสหกรณ์การเกษตร เป็นตัวอย่างของ CSV ในระดับ Cluster ที่เริ่มต้นจากแนวคิดน้ำมันแลกข้าว เพื่อแบ่งปันแลกเปลี่ยนปัจจัยในการยังชีพ โดยบริษัทนำข้าวที่ได้รับจากสหกรณ์ไปบริจาคให้เป็นอาหารกลางวันแก่นักเรียนในโรงเรียนรอบโรงกลั่น ส่วนสหกรณ์นำน้ำมันของบริษัทในราคาถูกไปจำหน่ายให้แก่สมาชิก พัฒนาเป็นความไว้เนื้อเชื่อใจจนยกระดับสู่ธุรกิจสมัยใหม่ในรูปแบบของการจัดตั้งเป็นสถานีบริการน้ำมันสหกรณ์และสถานีบริการน้ำมันชุมชนโดยลำดับ ปัจจุบันมีสถานีบริการน้ำมันชุมชน ซึ่งมีคนในชุมชนเป็นสมาชิกและเจ้าของจำนวน 618 สถานี เป็นวิถีการดำเนินธุรกิจที่มีวิธีคิดและวัฒนธรรมที่อุ้มชูกันและกัน ให้โอกาสคนไทยได้เป็นเครือข่ายร่วมธุรกิจ ที่นอกจากสร้างรายได้จากยอดขายน้ำมันแล้ว สมาชิกของชุมชนยังได้รับเงินปันผลปลายปี เพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัวที่เป็นสมาชิกอีกกว่า 1.2 ล้านครัวเรือน เป็นประโยชน์ทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมไปพร้อมกัน
ช่วงหลังของงานสัมมนา เป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ต่อโอกาสของการสร้างคุณค่าร่วมในประเทศไทย และการแนะนำเครื่องมือ SVOI (Shared Value Opportunity Identification) โดยสถาบันไทยพัฒน์ ในฐานะ Shared Value Initiative Affiliate ในประเทศไทย และบริษัท เอ็กซ์เพิร์ท แอสเปค อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด สำหรับใช้พัฒนาความริเริ่มด้าน CSV ที่เหมาะสมกับองค์กร สอดคล้องกับแง่มุมความเชี่ยวชาญทางธุรกิจ พร้อมด้วยแนวทางการระบุผลลัพธ์ทางธุรกิจและทางสังคมที่คาดว่าจะได้รับอย่างเป็นรูปธรรม
หน่วยงานที่ประสงค์จะนำแนวคิด CSV มาพัฒนาเป็นกลยุทธ์ธุรกิจเพื่อตอบโจทย์ทางสังคม ด้วยการนำความเชี่ยวชาญของหน่วยงานมาใช้สร้างคุณค่าเชิงเศรษฐกิจให้แก่องค์กรและสังคมไปพร้อมกัน สามารถเข้าร่วมขับเคลื่อนการสร้างคุณค่าร่วมกับสังคม ได้ที่ CSVforum.com...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
เครเมอร์ได้พูดผ่านวีดีทัศน์ที่บันทึกสำหรับงานสัมมนาในครั้งนี้ว่า ไมเคิล และตัวเขาเอง รู้สึกตื่นเต้นมากที่มีการจัดงานสัมมนานี้ขึ้นในประเทศไทย เมื่อตอนที่ไมเคิลและเขาได้ริเริ่มแนวคิด CSV นี้ขึ้นเป็นครั้งแรก ไม่นึกว่าจะได้รับการขานรับจากบรรดาบริษัทและประเทศต่างๆ ทั่วโลกมากมายขนาดนี้ พร้อมกับได้กล่าวแสดงความยินดีกับบริษัทชั้นนำของไทยที่ได้พัฒนาความริเริ่มและกำลังนำกลยุทธ์ด้านคุณค่าร่วมไปผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งในความคิดหลักของบริษัท
ในช่วงแรกของงานสัมมนา เป็นการแลกเปลี่ยนมุมมองและประสบการณ์ของบริษัทจดทะเบียนชั้นนำโดยผู้บริหารระดับสูงจาก บมจ. พฤกษา เรียลเอสเตท บมจ. บางจาก ปิโตรเลียม และ บมจ. ธนาคารกสิกรไทย ได้นำเสนอตัวอย่างของ CSV ที่เกิดขึ้นแล้วในองค์กรทั้งสามแห่ง อาทิ การนำเทคโนโลยีควบคุมการก่อสร้างบ้านแบบ Real Estate Manufacturing (REM) ของพฤกษา เรียลเอสเตท การร่วมดำเนินธุรกิจสถานีบริการน้ำมันกับสหกรณ์การเกษตร ของบางจาก ปิโตรเลียม และบริการสินเชื่อรับประกันการประหยัดพลังงาน ของ ธ.กสิกรไทย
ไมเคิล อี พอร์เตอร์ และมาร์ค เครเมอร์ ได้จำแนกการสร้างคุณค่าร่วม หรือ CSV ออกเป็น 3 ระดับ คือ ระดับของการคิดค้นผลิตภัณฑ์ (Product) ขึ้นใหม่ที่เป็นความต้องการของสังคม โดยเฉพาะกับตลาดหรือกลุ่มลูกค้าที่ยังไม่ได้รับการตอบสนอง ระดับของการกำหนดบรรทัดฐานใหม่ในเรื่องผลิตภาพโดยให้ความสำคัญกับประเด็นทางสังคมตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) และระดับของการพัฒนากลุ่มความร่วมมือ (Cluster) ในท้องถิ่นที่เอื้อต่อธุรกิจ
โปรแกรมสินเชื่อรับประกันการประหยัดพลังงานของ ธ.กสิกรไทย เป็นตัวอย่างของ CSV ในระดับ Product ที่ธนาคารให้แก่ผู้ประกอบการในรูปของสินเชื่อลีสซิ่ง / เช่าซื้อเครื่องจักรและอุปกรณ์ และ/หรือ เงินกู้ระยะยาว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการลงทุนในโครงการจัดการด้านพลังงานให้มีประสิทธิภาพ ผ่านการใช้บริการจากบริษัทจัดการด้านพลังงาน (Energy Service Company - ESCO) ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาและบริหารจัดการด้านพลังงานอย่างครบวงจร และมีการรับประกันผลการประหยัดพลังงานที่ได้จากการลงทุนในโครงการดังกล่าว ซึ่งทำให้ผู้ประกอบการมั่นใจได้ว่าผลการประหยัดพลังงานที่ได้จากการลงทุนในโครงการจะเป็นแหล่งที่มาหลักของการชำระคืนเงินกู้ของลูกค้า (Self-Financing Project) โดยไม่กระทบกระแสเงินสดจากการดำเนินงานปกติของกิจการ ผลจากการลดต้นทุนการใช้พลังงาน นอกจากจะเป็นผลดีต่อสภาพแวดล้อมและการใช้พลังงานของประเทศโดยรวมแล้ว ยังทำให้กิจการมีสถานะทางการเงินและความสามารถทางการแข่งขันดีขึ้นในระยะยาว
ส่วนการก่อสร้างบ้านแบบ REM ที่พฤกษา เรียลเอสเตทได้คิดค้นและพัฒนาขึ้น เป็นตัวอย่างของ CSV ในระดับ Value Chain ที่ประยุกต์มาจากกระบวนการผลิตแบบอุตสาหกรรม ด้วยการวางแผนการทำงานร่วมกับผู้รับเหมาก่อสร้างและผู้ส่งมอบในห่วงโซ่คุณค่าให้รับผิดชอบเฉพาะในส่วนงานที่ตนเองมีความถนัดเพียงกิจกรรมเดียว จนสำเร็จทั้งเฟส หรือโครงการ ณ จุดก่อสร้าง เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการก่อสร้างสูงสุด มีการควบคุมกระบวนการทำงานให้เป็นไปตามลำดับขั้นตอนที่เหมาะสม มีจังหวะการทำงานที่แน่นอน มีการทำงานอย่างต่อเนื่องในสายการก่อสร้างระหว่างผู้รับเหมาและผู้ส่งมอบแต่ละราย มีระบบการตรวจสอบและควบคุมคุณภาพระหว่างการก่อสร้างในทุกขั้นตอน ทำให้ย่นระยะเวลาก่อสร้างเฉลี่ยจาก 45 วัน เหลือเพียง 21 วัน จนเป็นผลให้บริษัทสามารถส่งมอบบ้านที่มีคุณภาพในมาตรฐานเดียวกันและในเวลาอันรวดเร็วให้แก่ลูกค้า
สำหรับธุรกิจสถานีบริการน้ำมันที่บางจาก ปิโตรเลียมร่วมดำเนินงานกับสหกรณ์การเกษตร เป็นตัวอย่างของ CSV ในระดับ Cluster ที่เริ่มต้นจากแนวคิดน้ำมันแลกข้าว เพื่อแบ่งปันแลกเปลี่ยนปัจจัยในการยังชีพ โดยบริษัทนำข้าวที่ได้รับจากสหกรณ์ไปบริจาคให้เป็นอาหารกลางวันแก่นักเรียนในโรงเรียนรอบโรงกลั่น ส่วนสหกรณ์นำน้ำมันของบริษัทในราคาถูกไปจำหน่ายให้แก่สมาชิก พัฒนาเป็นความไว้เนื้อเชื่อใจจนยกระดับสู่ธุรกิจสมัยใหม่ในรูปแบบของการจัดตั้งเป็นสถานีบริการน้ำมันสหกรณ์และสถานีบริการน้ำมันชุมชนโดยลำดับ ปัจจุบันมีสถานีบริการน้ำมันชุมชน ซึ่งมีคนในชุมชนเป็นสมาชิกและเจ้าของจำนวน 618 สถานี เป็นวิถีการดำเนินธุรกิจที่มีวิธีคิดและวัฒนธรรมที่อุ้มชูกันและกัน ให้โอกาสคนไทยได้เป็นเครือข่ายร่วมธุรกิจ ที่นอกจากสร้างรายได้จากยอดขายน้ำมันแล้ว สมาชิกของชุมชนยังได้รับเงินปันผลปลายปี เพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัวที่เป็นสมาชิกอีกกว่า 1.2 ล้านครัวเรือน เป็นประโยชน์ทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมไปพร้อมกัน
ช่วงหลังของงานสัมมนา เป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ต่อโอกาสของการสร้างคุณค่าร่วมในประเทศไทย และการแนะนำเครื่องมือ SVOI (Shared Value Opportunity Identification) โดยสถาบันไทยพัฒน์ ในฐานะ Shared Value Initiative Affiliate ในประเทศไทย และบริษัท เอ็กซ์เพิร์ท แอสเปค อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด สำหรับใช้พัฒนาความริเริ่มด้าน CSV ที่เหมาะสมกับองค์กร สอดคล้องกับแง่มุมความเชี่ยวชาญทางธุรกิจ พร้อมด้วยแนวทางการระบุผลลัพธ์ทางธุรกิจและทางสังคมที่คาดว่าจะได้รับอย่างเป็นรูปธรรม
หน่วยงานที่ประสงค์จะนำแนวคิด CSV มาพัฒนาเป็นกลยุทธ์ธุรกิจเพื่อตอบโจทย์ทางสังคม ด้วยการนำความเชี่ยวชาญของหน่วยงานมาใช้สร้างคุณค่าเชิงเศรษฐกิจให้แก่องค์กรและสังคมไปพร้อมกัน สามารถเข้าร่วมขับเคลื่อนการสร้างคุณค่าร่วมกับสังคม ได้ที่ CSVforum.com...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
Thursday, September 18, 2014
รายงานแบบ G4
ศูนย์พัฒนาความรับผิดชอบต่อสังคม ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และสถาบันไทยพัฒน์ ได้ร่วมกันจัดทำหลักสูตรพัฒนาการจัดทำรายงานแห่งความยั่งยืนตามกรอบการรายงานของ Global Reporting Initiative (GRI) ฉบับ G4 สำหรับบริษัทจดทะเบียนให้ได้เรียนรู้กระบวนการจัดทำ Sustainability Report ซึ่งเป็นกรอบการรายงานด้านความยั่งยืนที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล
กรอบการรายงาน GRI เน้นการสร้างให้เกิดกระบวนการรายงาน (Reporting Process) ขึ้นในองค์กร มิใช่มุ่งหวังเพียงเพื่อให้องค์กรได้มาซึ่งเล่มรายงาน (Report) เป็นเรื่องหลัก
ด้วยกระบวนการรายงานตามกรอบ GRI จะชี้ให้เห็นแนวทางในการระบุวิสัยทัศน์และกลยุทธ์การดำเนินงานขององค์กรในทิศทางที่ก่อให้เกิดความยั่งยืนมากขึ้น การปรับปรุงสายผลิตภัณฑ์และบริการที่ยั่งยืนเพิ่มเติมจากเดิม และในระหว่างทาง จะช่วยให้องค์กรเห็นลู่ทางในการเชื่อมโยงการดำเนินงานเชิงกลยุทธ์เข้ากับกระบวนการรายงาน
ผลได้สำคัญของกระบวนการรายงานตามกรอบ GRI อีกเรื่องหนึ่ง คือ จะช่วยให้ผู้รับผิดชอบติดตามความคืบหน้าและเผยให้เห็นส่วนของการดำเนินงานที่ควรปรับปรุง ทำให้องค์กรสามารถบริหารจัดการกับสิ่งที่ติดตามวัดผลได้อย่างเป็นปัจจุบัน (โดยไม่ต้องรอดำเนินการในรอบปีถัดไป) การเฝ้าติดตามและประเมินการดำเนินงานในกระบวนการรายงาน นอกจากจะช่วยให้องค์กรปรับปรุงสิ่งที่ทำได้ไม่ดีให้ดีเป็นปกติแล้ว ยังช่วยให้องค์กรเห็นโอกาสในการพัฒนาสิ่งที่ทำได้ดีเป็นปกติ ให้ดียิ่งขึ้นเหนือกว่าเกณฑ์ปกติอีกด้วย อาทิ การลดค่าใช้จ่ายจากการใช้วัตถุดิบทดแทน หรือการสร้างผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อรองรับตลาดที่กำลังเติบโตในวิถีการพัฒนาที่ยั่งยืน
กระบวนการรายงานตามกรอบ GRI เป็นเสมือนระบบเตือนภัยล่วงหน้าที่ช่วยให้องค์กรค้นพบความเสี่ยงและสิ่งที่ไม่คาดฝันซึ่งอาจเกิดขึ้นและส่งผลเสียหายต่อธุรกิจ เช่น ระดับความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้เสียที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจ หรือกฎระเบียบที่เปลี่ยนแปลงอันมีผลต่อขีดความสามารถทางการแข่งขันของธุรกิจในอนาคต ในทางตรงข้าม กระบวนการรายงาน ยังทำหน้าที่เสมือนนักพยากรณ์ที่ชี้ให้เห็นโอกาสที่องค์กรยังมิได้ตระหนักและนำมาใช้ประโยชน์เหนือคู่แข่ง เช่น เครือข่ายความร่วมมือในห่วงโซ่คุณค่าที่เอื้อต่อการขยายตลาดใหม่ เทคโนโลยีหรือสิ่งประดิษฐ์ที่พนักงานคิดค้นขึ้นเพื่อแก้ปัญหาในการทำงานที่สามารถต่อยอดขยายผลได้
กระบวนการรายงานตามกรอบ GRI มิใช่เพียงรายงานที่นำเสนอสิ่งที่องค์กรได้ดำเนินการเกี่ยวกับความยั่งยืนทางเดียว แต่เป็นสื่อหรือช่องทางที่เปิดให้มีการสะท้อนการดำเนินงาน ผ่านการพูดคุย หารือ วัดผล และดำเนินการเพิ่มเติมตามที่เห็นสมควร องค์กรที่มีกระบวนการรายงาน (ที่มิใช่มีเพียงรายงาน) จะสร้างสิ่งที่เรียกว่า “ความเชื่อมั่น” ให้เกิดขึ้นระหว่างองค์กรและพนักงานและกับผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆ ซึ่งสามารถพัฒนาไปสู่ชื่อเสียงและภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กร
การยอมรับจากภายนอกเป็นสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้ แต่ให้คุณค่าในการสร้างให้เกิดความภาคภูมิใจแก่พนักงานในการทำงานร่วมกับองค์กร สามารถที่จะรักษาพนักงานที่มีความสามารถไว้ และในขณะเดียวกัน ก็เพิ่มโอกาสในการชักชวนบุคลากรที่มีคุณภาพและเป็นที่ต้องการให้เข้ามาร่วมงานกับองค์กรได้ง่ายขึ้น
กระบวนการรายงานมีความแตกต่างจากกระบวนการประชาสัมพันธ์ ตรงที่การนำเสนอข้อมูลจะครอบคลุมทั้งในส่วนที่องค์กรทำได้ดีและในส่วนที่องค์กรยังต้องดำเนินการปรับปรุงแก้ไข มิได้คัดกรองเอาแต่ส่วนที่ดีมารายงาน สิ่งนี้จะช่วยสร้างให้เกิดความสมดุลของการรายงาน นำไปสู่ความน่าเชื่อถือและความเชื่อมั่นระหว่างองค์กรและผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง
องค์กรที่พยายามจัดทำรายงานเพื่อวัตถุประสงค์ในการประชาสัมพันธ์หรือการโฆษณา คุณค่าของเล่มรายงานที่จัดทำขึ้น อาจจะจำกัดอยู่ในระดับที่เป็นเพียงแค็ตตาล็อกสินค้าหรือโบรชัวร์บริษัท ที่ผู้ใช้รายงานมิได้ให้ราคาเท่ากับรายงานที่เกิดจากกระบวนการรายงานอย่างแท้จริง
รายงานที่เกิดจากกระบวนการรายงาน ยังถูกนำไปใช้เป็นเครื่องมือให้คณะกรรมการบริษัทหรือผู้บริหารอค์กรในการชี้แจงและให้ข้อมูลแก่ผู้ลงทุนในมิติที่เกี่ยวกับผลการดำเนินงานที่มิใช่ตัวเลขทางการเงิน (Non-financial performance data) เนื่องจากคำถามที่ผู้ลงทุนต้องการทราบจากองค์กร ในปัจจุบันนี้ ครอบคลุมถึงข้อมูลการดำเนินงานที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (Environmental, Social, Governance: ESG) การจัดทำรายงานตามกรอบการรายงานที่เป็นสากล จะช่วยให้องค์กรดำเนินการในเรื่องดังกล่าวได้อย่างเป็นระบบ และมีข้อมูลที่เกิดจากการดำเนินการจริงสำหรับรายงานหรือชี้แจงให้ผู้ลงทุนได้รับทราบและเพื่อใช้พิจารณาประกอบการตัดสินใจลงทุนได้อย่างมีคุณภาพ
หลักสูตรพัฒนาการจัดทำรายงานแห่งความยั่งยืนตามกรอบ GRI (G4) ครอบคลุมตั้งแต่ขั้นตอนการวางแผนการเก็บรวบรวมข้อมูล การเชื่อมโยงกับผู้มีส่วนได้เสีย การกำหนดประเด็นที่มีสารัตถภาพ (Material aspects) การกำหนดขอบเขตของข้อมูลที่รายงาน (Boundary) การนำเสนอข้อมูลอย่างมีประสิทธิผล ไปจนถึงการประเมินรายงานและการวางแผนเพื่อการพัฒนาต่อเนื่องสำหรับการรายงานในรอบปีถัดไป โดยผู้ที่ผ่านการอบรมในหลักสูตรนี้จะได้รับประกาศนียบัตร (Certificate) จาก GRI
บริษัทจดทะเบียนที่สนใจสมัครได้จนถึงวันที่ 19 กันยายน 2557 (รับจำนวนจำกัด) หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์พัฒนาความรับผิดชอบต่อสังคม (อีเมล SRcenter@set.or.th)...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
กรอบการรายงาน GRI เน้นการสร้างให้เกิดกระบวนการรายงาน (Reporting Process) ขึ้นในองค์กร มิใช่มุ่งหวังเพียงเพื่อให้องค์กรได้มาซึ่งเล่มรายงาน (Report) เป็นเรื่องหลัก
ด้วยกระบวนการรายงานตามกรอบ GRI จะชี้ให้เห็นแนวทางในการระบุวิสัยทัศน์และกลยุทธ์การดำเนินงานขององค์กรในทิศทางที่ก่อให้เกิดความยั่งยืนมากขึ้น การปรับปรุงสายผลิตภัณฑ์และบริการที่ยั่งยืนเพิ่มเติมจากเดิม และในระหว่างทาง จะช่วยให้องค์กรเห็นลู่ทางในการเชื่อมโยงการดำเนินงานเชิงกลยุทธ์เข้ากับกระบวนการรายงาน
ผลได้สำคัญของกระบวนการรายงานตามกรอบ GRI อีกเรื่องหนึ่ง คือ จะช่วยให้ผู้รับผิดชอบติดตามความคืบหน้าและเผยให้เห็นส่วนของการดำเนินงานที่ควรปรับปรุง ทำให้องค์กรสามารถบริหารจัดการกับสิ่งที่ติดตามวัดผลได้อย่างเป็นปัจจุบัน (โดยไม่ต้องรอดำเนินการในรอบปีถัดไป) การเฝ้าติดตามและประเมินการดำเนินงานในกระบวนการรายงาน นอกจากจะช่วยให้องค์กรปรับปรุงสิ่งที่ทำได้ไม่ดีให้ดีเป็นปกติแล้ว ยังช่วยให้องค์กรเห็นโอกาสในการพัฒนาสิ่งที่ทำได้ดีเป็นปกติ ให้ดียิ่งขึ้นเหนือกว่าเกณฑ์ปกติอีกด้วย อาทิ การลดค่าใช้จ่ายจากการใช้วัตถุดิบทดแทน หรือการสร้างผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อรองรับตลาดที่กำลังเติบโตในวิถีการพัฒนาที่ยั่งยืน
กระบวนการรายงานตามกรอบ GRI เป็นเสมือนระบบเตือนภัยล่วงหน้าที่ช่วยให้องค์กรค้นพบความเสี่ยงและสิ่งที่ไม่คาดฝันซึ่งอาจเกิดขึ้นและส่งผลเสียหายต่อธุรกิจ เช่น ระดับความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้เสียที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจ หรือกฎระเบียบที่เปลี่ยนแปลงอันมีผลต่อขีดความสามารถทางการแข่งขันของธุรกิจในอนาคต ในทางตรงข้าม กระบวนการรายงาน ยังทำหน้าที่เสมือนนักพยากรณ์ที่ชี้ให้เห็นโอกาสที่องค์กรยังมิได้ตระหนักและนำมาใช้ประโยชน์เหนือคู่แข่ง เช่น เครือข่ายความร่วมมือในห่วงโซ่คุณค่าที่เอื้อต่อการขยายตลาดใหม่ เทคโนโลยีหรือสิ่งประดิษฐ์ที่พนักงานคิดค้นขึ้นเพื่อแก้ปัญหาในการทำงานที่สามารถต่อยอดขยายผลได้
กระบวนการรายงานตามกรอบ GRI มิใช่เพียงรายงานที่นำเสนอสิ่งที่องค์กรได้ดำเนินการเกี่ยวกับความยั่งยืนทางเดียว แต่เป็นสื่อหรือช่องทางที่เปิดให้มีการสะท้อนการดำเนินงาน ผ่านการพูดคุย หารือ วัดผล และดำเนินการเพิ่มเติมตามที่เห็นสมควร องค์กรที่มีกระบวนการรายงาน (ที่มิใช่มีเพียงรายงาน) จะสร้างสิ่งที่เรียกว่า “ความเชื่อมั่น” ให้เกิดขึ้นระหว่างองค์กรและพนักงานและกับผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆ ซึ่งสามารถพัฒนาไปสู่ชื่อเสียงและภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กร
การยอมรับจากภายนอกเป็นสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้ แต่ให้คุณค่าในการสร้างให้เกิดความภาคภูมิใจแก่พนักงานในการทำงานร่วมกับองค์กร สามารถที่จะรักษาพนักงานที่มีความสามารถไว้ และในขณะเดียวกัน ก็เพิ่มโอกาสในการชักชวนบุคลากรที่มีคุณภาพและเป็นที่ต้องการให้เข้ามาร่วมงานกับองค์กรได้ง่ายขึ้น
กระบวนการรายงานมีความแตกต่างจากกระบวนการประชาสัมพันธ์ ตรงที่การนำเสนอข้อมูลจะครอบคลุมทั้งในส่วนที่องค์กรทำได้ดีและในส่วนที่องค์กรยังต้องดำเนินการปรับปรุงแก้ไข มิได้คัดกรองเอาแต่ส่วนที่ดีมารายงาน สิ่งนี้จะช่วยสร้างให้เกิดความสมดุลของการรายงาน นำไปสู่ความน่าเชื่อถือและความเชื่อมั่นระหว่างองค์กรและผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง
องค์กรที่พยายามจัดทำรายงานเพื่อวัตถุประสงค์ในการประชาสัมพันธ์หรือการโฆษณา คุณค่าของเล่มรายงานที่จัดทำขึ้น อาจจะจำกัดอยู่ในระดับที่เป็นเพียงแค็ตตาล็อกสินค้าหรือโบรชัวร์บริษัท ที่ผู้ใช้รายงานมิได้ให้ราคาเท่ากับรายงานที่เกิดจากกระบวนการรายงานอย่างแท้จริง
รายงานที่เกิดจากกระบวนการรายงาน ยังถูกนำไปใช้เป็นเครื่องมือให้คณะกรรมการบริษัทหรือผู้บริหารอค์กรในการชี้แจงและให้ข้อมูลแก่ผู้ลงทุนในมิติที่เกี่ยวกับผลการดำเนินงานที่มิใช่ตัวเลขทางการเงิน (Non-financial performance data) เนื่องจากคำถามที่ผู้ลงทุนต้องการทราบจากองค์กร ในปัจจุบันนี้ ครอบคลุมถึงข้อมูลการดำเนินงานที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (Environmental, Social, Governance: ESG) การจัดทำรายงานตามกรอบการรายงานที่เป็นสากล จะช่วยให้องค์กรดำเนินการในเรื่องดังกล่าวได้อย่างเป็นระบบ และมีข้อมูลที่เกิดจากการดำเนินการจริงสำหรับรายงานหรือชี้แจงให้ผู้ลงทุนได้รับทราบและเพื่อใช้พิจารณาประกอบการตัดสินใจลงทุนได้อย่างมีคุณภาพ
หลักสูตรพัฒนาการจัดทำรายงานแห่งความยั่งยืนตามกรอบ GRI (G4) ครอบคลุมตั้งแต่ขั้นตอนการวางแผนการเก็บรวบรวมข้อมูล การเชื่อมโยงกับผู้มีส่วนได้เสีย การกำหนดประเด็นที่มีสารัตถภาพ (Material aspects) การกำหนดขอบเขตของข้อมูลที่รายงาน (Boundary) การนำเสนอข้อมูลอย่างมีประสิทธิผล ไปจนถึงการประเมินรายงานและการวางแผนเพื่อการพัฒนาต่อเนื่องสำหรับการรายงานในรอบปีถัดไป โดยผู้ที่ผ่านการอบรมในหลักสูตรนี้จะได้รับประกาศนียบัตร (Certificate) จาก GRI
บริษัทจดทะเบียนที่สนใจสมัครได้จนถึงวันที่ 19 กันยายน 2557 (รับจำนวนจำกัด) หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์พัฒนาความรับผิดชอบต่อสังคม (อีเมล SRcenter@set.or.th)...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
Thursday, September 11, 2014
ป้ายหน้า CSV
นับจากที่ Shared Value Initiative ก่อตัวขึ้นในปี 2555 จากความริเริ่มของ Foundation Strategy Group (FSG) องค์กรที่ปรึกษาไม่แสวงหาผลกำไร ซึ่งก่อตั้งโดย “ไมเคิล อี พอร์เตอร์” และ “มาร์ค เครเมอร์” เพื่อนำแนวคิด CSV (Creating Shared Value) ที่ทั้งสองได้ร่วมกันพัฒนาขึ้น แปลงไปสู่ “ภาคปฏิบัติ” ที่หลายองค์กรนำมาใช้ในการดำเนินธุรกิจเพื่อสร้างให้เกิดคุณค่าร่วมระหว่างองค์กรและสังคมไปด้วยกัน จนเกิดเป็นชุมชนของนักปฏิบัติที่ร่วมอยู่ในเครือข่าย Shared Value Initiative ในปัจจุบัน มากกว่า 3,000 คน
ตัวอย่างบริษัทในต่างประเทศที่นำแนวคิด CSV ไปขับเคลื่อนในองค์กรจนถูกหยิบยกเป็นกรณีศึกษา เช่น โนวาร์ตีส (สวิตเซอร์แลนด์) เวสเทิร์น ยูเนี่ยน (อเมริกา) บริษัทในกลุ่มคิริน (ญี่ปุ่น) และกรณีศึกษาในระดับ SMEs เช่น บราวน์ส ซูเปอร์ สโตร์ส (อเมริกา)
สำหรับในประเทศไทย มีธุรกิจที่ได้นำเอาแนวคิด CSV มาประยุกต์ใช้กับองค์กรแล้ว อย่างเช่น บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด และบริษัทในกลุ่ม ปตท. เป็นต้น
ในฝั่งของตลาดทุนไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ได้มีการจัดทำแผนพัฒนาความยั่งยืน (Sustainability Development Roadmap) สำหรับบริษัทจดทะเบียน พ.ศ. 2557-2561 ได้มีกล่าวถึงเรื่อง CSV ไว้ โดยระบุถึงแนวทางการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมของบริษัทใน 3 ระดับ คือ Compliance / Do No Harm -> Integrated Business & SD Strategies -> พัฒนาธุรกิจไปสู่ Creating Shared Value
CSR Club สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย ยังได้มีการนำเรื่อง CSV บรรจุไว้ในแผนกลยุทธ์ พ.ศ. 2557-2560 ที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาความยั่งยืนของสำนักงาน ก.ล.ต. และเทรนด์โลกตามแนวทางการสร้างคุณค่าร่วม โดยระบุถึงบทบาทของ CSR Club ในการสนับสนุนบริษัทจดทะเบียนใน 3 ระดับ คือ CSR-in-process -> SD Integration -> Shared Value Creation
การเชื่อมโยงการขับเคลื่อน CSV ในประเทศไทย กับ Shared Value Initiative ในระดับสากล สำหรับรองรับภาคเอกชนไทยที่สนใจในการพัฒนากลยุทธ์การดำเนินงานตามแนวทางของ CSV ที่สามารถส่งมอบคุณค่าให้แก่สังคมควบคู่กับการสร้างคุณค่าให้แก่องค์กร มีความเป็นไปได้สูง เนื่องจากความเคลื่อนไหวในเรื่อง CSV ในบ้านเรา ได้ก่อตัวขึ้นในทิศทางเดียวกับพัฒนาการในระดับสากล
การจัดเตรียมทรัพยากรในรูปขององค์ความรู้ เครื่องมือ ตัวอย่าง และกรณีศึกษา สำหรับการสร้างคุณค่าร่วมทั้งในระดับที่เป็นกิจกรรมขององค์กรและในระดับองค์กรโดยรวม หรือเวทีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และประสบการณ์ที่มีต่อการสร้างคุณค่าร่วมระหว่างองค์กรที่สนใจ เป็นสิ่งจำเป็นที่ทำให้เกิดเป็น Ecosystem สนับสนุนการขับเคลื่อนในเรื่องดังกล่าว
การเชื่อมโยงการขับเคลื่อน CSV ในประเทศเข้ากับ Shared Value Initiative เครือข่ายเคลื่อนไหวด้าน CSV ระดับโลก ยังจะเป็นโอกาสสำหรับองค์กรธุรกิจไทยที่มีการดำเนินธุรกิจสอดคล้องกับแนวทาง CSV ได้เผยแพร่ตัวอย่างการดำเนินงานและกรณีศึกษาที่ประสบผลสำเร็จ ผ่านชุมชนนักปฏิบัติในเครือข่าย Shared Value Initiative กระจายออกไปทั่วโลกด้วย
บริษัทจดทะเบียนและองค์กรธุรกิจที่สนใจใช้แนวคิด CSV มาพัฒนาเป็นกลยุทธ์ธุรกิจเพื่อตอบโจทย์ทางสังคม ด้วยการนำความเชี่ยวชาญของหน่วยงานมาใช้สร้างคุณค่าเชิงเศรษฐกิจให้แก่องค์กรและสังคมไปพร้อมกัน อาจจะเริ่มขยับตัวได้ตั้งแต่นี้ไป...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
ตัวอย่างบริษัทในต่างประเทศที่นำแนวคิด CSV ไปขับเคลื่อนในองค์กรจนถูกหยิบยกเป็นกรณีศึกษา เช่น โนวาร์ตีส (สวิตเซอร์แลนด์) เวสเทิร์น ยูเนี่ยน (อเมริกา) บริษัทในกลุ่มคิริน (ญี่ปุ่น) และกรณีศึกษาในระดับ SMEs เช่น บราวน์ส ซูเปอร์ สโตร์ส (อเมริกา)
สำหรับในประเทศไทย มีธุรกิจที่ได้นำเอาแนวคิด CSV มาประยุกต์ใช้กับองค์กรแล้ว อย่างเช่น บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด และบริษัทในกลุ่ม ปตท. เป็นต้น
ในฝั่งของตลาดทุนไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ได้มีการจัดทำแผนพัฒนาความยั่งยืน (Sustainability Development Roadmap) สำหรับบริษัทจดทะเบียน พ.ศ. 2557-2561 ได้มีกล่าวถึงเรื่อง CSV ไว้ โดยระบุถึงแนวทางการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมของบริษัทใน 3 ระดับ คือ Compliance / Do No Harm -> Integrated Business & SD Strategies -> พัฒนาธุรกิจไปสู่ Creating Shared Value
CSR Club สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย ยังได้มีการนำเรื่อง CSV บรรจุไว้ในแผนกลยุทธ์ พ.ศ. 2557-2560 ที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาความยั่งยืนของสำนักงาน ก.ล.ต. และเทรนด์โลกตามแนวทางการสร้างคุณค่าร่วม โดยระบุถึงบทบาทของ CSR Club ในการสนับสนุนบริษัทจดทะเบียนใน 3 ระดับ คือ CSR-in-process -> SD Integration -> Shared Value Creation
การเชื่อมโยงการขับเคลื่อน CSV ในประเทศไทย กับ Shared Value Initiative ในระดับสากล สำหรับรองรับภาคเอกชนไทยที่สนใจในการพัฒนากลยุทธ์การดำเนินงานตามแนวทางของ CSV ที่สามารถส่งมอบคุณค่าให้แก่สังคมควบคู่กับการสร้างคุณค่าให้แก่องค์กร มีความเป็นไปได้สูง เนื่องจากความเคลื่อนไหวในเรื่อง CSV ในบ้านเรา ได้ก่อตัวขึ้นในทิศทางเดียวกับพัฒนาการในระดับสากล
การจัดเตรียมทรัพยากรในรูปขององค์ความรู้ เครื่องมือ ตัวอย่าง และกรณีศึกษา สำหรับการสร้างคุณค่าร่วมทั้งในระดับที่เป็นกิจกรรมขององค์กรและในระดับองค์กรโดยรวม หรือเวทีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และประสบการณ์ที่มีต่อการสร้างคุณค่าร่วมระหว่างองค์กรที่สนใจ เป็นสิ่งจำเป็นที่ทำให้เกิดเป็น Ecosystem สนับสนุนการขับเคลื่อนในเรื่องดังกล่าว
การเชื่อมโยงการขับเคลื่อน CSV ในประเทศเข้ากับ Shared Value Initiative เครือข่ายเคลื่อนไหวด้าน CSV ระดับโลก ยังจะเป็นโอกาสสำหรับองค์กรธุรกิจไทยที่มีการดำเนินธุรกิจสอดคล้องกับแนวทาง CSV ได้เผยแพร่ตัวอย่างการดำเนินงานและกรณีศึกษาที่ประสบผลสำเร็จ ผ่านชุมชนนักปฏิบัติในเครือข่าย Shared Value Initiative กระจายออกไปทั่วโลกด้วย
บริษัทจดทะเบียนและองค์กรธุรกิจที่สนใจใช้แนวคิด CSV มาพัฒนาเป็นกลยุทธ์ธุรกิจเพื่อตอบโจทย์ทางสังคม ด้วยการนำความเชี่ยวชาญของหน่วยงานมาใช้สร้างคุณค่าเชิงเศรษฐกิจให้แก่องค์กรและสังคมไปพร้อมกัน อาจจะเริ่มขยับตัวได้ตั้งแต่นี้ไป...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
Thursday, September 04, 2014
CSV กับ Social Enterprise
นับจากที่ ศ.ไมเคิล อี พอร์เตอร์ และมาร์ค เครเมอร์ ได้ตีพิมพ์บทความเรื่อง ‘The Big Idea: Creating Shared Value’ ในฮาร์วาร์ด บิสซิเนส รีวิว เมื่อปี 2554 จนนำมาสู่การก่อตั้งเป็น Shared Value Initiative (SVI) ในปี 2555 เพื่อนำแนวคิด CSV ที่ทั้งสองได้ร่วมกันพัฒนาขึ้น ไปใช้ในภาคธุรกิจและทำให้เกิดผลในทางปฏิบัติ จนส่งผลให้มีการนำแนวคิดนี้ไปพัฒนาเป็นกลยุทธธุรกิจกันอย่างกว้างขวางทั่วโลก
ทิศทางการขับเคลื่อนเรื่อง CSR จากนี้ไป คงหนีไม่พ้นเรื่อง CSV (Creating Shared Value) ซึ่งถือเป็นภาคต่อขยายของ CSR และอยู่ในบริบทของ CSR-in-process ที่องค์กรสามารถใช้ยกระดับความรับผิดชอบต่อสังคมจากการดูแลผลกระทบในเชิงลบ มาสู่การส่งมอบคุณค่าในเชิงบวก ในอดีต เราเรียก CSR ในลักษณะนี้ว่า Strategic CSR แต่ปัจจุบัน นิยมใช้คำว่า CSV แทน
ที่ผ่านมาธุรกิจส่วนใหญ่มองประเด็นทางสังคม (Social Issues) ที่องค์กรต้องเข้าไปเกี่ยวข้องในแง่ของความเสี่ยงทางธุรกิจ จึงมักใช้ CSR เป็นเครื่องมือป้องกันหรือจัดการความเสี่ยง แต่ในปัจจุบัน หลายธุรกิจเริ่มมีมุมมองที่เปลี่ยนไปต่อประเด็นทางสังคมเหล่านั้น ว่าเป็นโอกาสทางธุรกิจ CSV จึงกลายมาเป็นเครื่องมือในการสร้างคุณค่าให้เกิดขึ้น ในการพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาสังคม และในการดำเนินธุรกิจควบคู่ไปพร้อมกัน
ก่อนหน้านี้ มีธุรกิจที่นำเรื่อง CSV มาสื่อสารกับสังคมในเชิงภาพลักษณ์ และการหวังผลทางประชาสัมพันธ์ มากกว่าที่จะเป็นการสร้างคุณค่าร่วมกันระหว่างธุรกิจและสังคมอย่างแท้จริง บางธุรกิจนำเอาโครงการบริจาคหรือกิจกรรมเพื่อสังคมที่ดำเนินการอยู่ซึ่งมิได้เกี่ยวข้องกับธุรกิจหลัก มาปัดฝุ่นเปลี่ยนชื่อเรียกใหม่เป็น CSV ทั้งที่กิจกรรมในเชิง Philanthropy ดังกล่าว ไม่ได้จัดว่าเป็น CSV ตามแนวทางของไมเคิล อี พอร์เตอร์
ความสับสนอีกกรณีหนึ่ง เกิดขึ้นจากการนำคำว่า CSV ไปใช้ในบริบทของการขับเคลื่อนวิสาหกิจเพื่อสังคม หรือ Social Enterprise และอธิบายในทำนองว่า Shared Value จะเกิดขึ้น ก็ต่อเมื่อองค์กรธุรกิจมีการแปลงสภาพเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคม
ในความเป็นจริง การสร้างคุณค่าร่วม มิได้ขึ้นอยู่กับสภาพของกิจการที่ต้องเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคม รวมทั้งมิได้เสนอให้กิจการต้องทำสิ่งที่ต่างไปจากการทำธุรกิจปกติ แต่เสนอให้กิจการทำธุรกิจเช่นปกตินั้น ด้วยการนำความเชี่ยวชาญขององค์กรมาใช้สร้างคุณค่าเชิงเศรษฐกิจ ให้เกิดแก่กิจการและสังคมไปพร้อมกัน
หากเปรียบเทียบความแตกต่าง จะพบว่า Social Enterprise (SE) เป็นวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นโดยมีพันธกิจในการดำเนินงานเป็นไปเพื่อประโยชน์ของสังคมเป็นที่ตั้ง ด้วยการใช้กลยุทธ์ทางการตลาดหรือรูปแบบทางธุรกิจในการตอบสนองวัตถุประสงค์ทางสังคม ส่วน CSV เป็นการดำเนินงานของวิสาหกิจทั้งที่ดำเนินอยู่แล้วในรูปของธุรกิจปกติ (หรือที่จัดตั้งขึ้นใหม่ในรูปอื่น) เพื่อมุ่งให้เกิดผลลัพธ์เป็นคุณค่าร่วมระหว่างองค์กรและสังคมควบคู่กัน
CSV จึงเป็นการสร้างคุณค่าทางเศรษฐกิจให้กับกิจการและสังคม ภายใต้วิสาหกิจที่ดำเนินงานอยู่เดิม โดยไม่จำเป็นต้องจัดตั้งองค์กรขึ้นใหม่ หรือหากวิสาหกิจที่ดำเนินงานนั้นเป็น SE อยู่แล้ว ก็สามารถนำแนวคิด CSV ไปพัฒนาเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดหรือรูปแบบทางธุรกิจ เพื่อส่งมอบผลลัพธ์เป็นคุณค่าร่วมระหว่างองค์กรและสังคมได้เช่นกัน
ลักษณะที่สำคัญอีกประการของ CSV คือ การให้ความสำคัญกับผลลัพธ์ (Outcome) จากการดำเนินงาน มากกว่าความมุ่งประสงค์ (Purpose) ของกิจการ ไม่ว่าจะก่อตั้งด้วยวัตถุประสงค์ในทางธุรกิจหรือในทางสังคมก็ตาม กิจการจะต้องสามารถส่งมอบคุณค่าให้กับทั้งตัวองค์กรและสังคมไปพร้อมกัน โดยนำความเชี่ยวชาญและสินทรัพย์ที่มีอยู่ มาใช้เป็นฐานในการสร้างคุณค่าร่วม
แนวคิด CSV ยังสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับองค์กรที่ไม่แสวงหากำไรหรือองค์กรสาธารณประโยชน์ ที่ต้องการปรับปรุงประสิทธิภาพในการดำเนินงานเพื่อสร้างคุณค่าให้เกิดขึ้นกับสังคมอย่างแท้จริง เพราะแนวคิด CSV จะช่วยชี้ให้องค์กรได้คำนึงถึงต้นทุนหรือค่าใช้จ่าย และค่าเสียโอกาสในการส่งมอบผลประโยชน์ทางสังคมอย่างรอบด้าน
เมื่อใดก็ตามที่การดำเนินงานมีต้นทุนค่าใช้จ่ายสูงกว่าประโยชน์ที่ส่งมอบ คุณค่าสุทธิที่สังคมได้รับจะติดลบ สะท้อนให้เห็นถึงการขาดประสิทธิภาพในการดำเนินงานขององค์กรที่ไม่แสวงหากำไรหรือองค์กรสาธารณประโยชน์นั้นๆ และยิ่งไปกว่านั้น ชุมชนหรือผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มเป้าหมาย ก็จะพลอยเสียโอกาสในการได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานอื่นที่มีประสิทธิภาพกว่า
ในเชิงเศรษฐศาสตร์ ค่าเสียโอกาสดังกล่าว กลายเป็นภาระต้นทุน (สะสม) ที่องค์กรไม่แสวงหากำไรหรือองค์กรสาธารณประโยชน์ ทิ้งไว้ในรูปของผลกระทบภายนอก (Externalities) ให้กับชุมชนหรือผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มเป้าหมาย โดยไม่ปรากฏอยู่ในรายการผลการดำเนินงานใดๆ ทำให้ยังคงอ้างผลงานหรือเคลมเครดิตที่หน่วยงานได้เข้าให้ความช่วยเหลือดังกล่าวอย่างเต็มภาคภูมิ
ดูราวกับว่า เริ่มต้นเหมือนดัง ‘ดอกไม้’ แต่ลงท้ายกลับได้ ‘ก้อนอิฐ’ โดยไม่รู้ตัว...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
ทิศทางการขับเคลื่อนเรื่อง CSR จากนี้ไป คงหนีไม่พ้นเรื่อง CSV (Creating Shared Value) ซึ่งถือเป็นภาคต่อขยายของ CSR และอยู่ในบริบทของ CSR-in-process ที่องค์กรสามารถใช้ยกระดับความรับผิดชอบต่อสังคมจากการดูแลผลกระทบในเชิงลบ มาสู่การส่งมอบคุณค่าในเชิงบวก ในอดีต เราเรียก CSR ในลักษณะนี้ว่า Strategic CSR แต่ปัจจุบัน นิยมใช้คำว่า CSV แทน
ที่ผ่านมาธุรกิจส่วนใหญ่มองประเด็นทางสังคม (Social Issues) ที่องค์กรต้องเข้าไปเกี่ยวข้องในแง่ของความเสี่ยงทางธุรกิจ จึงมักใช้ CSR เป็นเครื่องมือป้องกันหรือจัดการความเสี่ยง แต่ในปัจจุบัน หลายธุรกิจเริ่มมีมุมมองที่เปลี่ยนไปต่อประเด็นทางสังคมเหล่านั้น ว่าเป็นโอกาสทางธุรกิจ CSV จึงกลายมาเป็นเครื่องมือในการสร้างคุณค่าให้เกิดขึ้น ในการพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาสังคม และในการดำเนินธุรกิจควบคู่ไปพร้อมกัน
ก่อนหน้านี้ มีธุรกิจที่นำเรื่อง CSV มาสื่อสารกับสังคมในเชิงภาพลักษณ์ และการหวังผลทางประชาสัมพันธ์ มากกว่าที่จะเป็นการสร้างคุณค่าร่วมกันระหว่างธุรกิจและสังคมอย่างแท้จริง บางธุรกิจนำเอาโครงการบริจาคหรือกิจกรรมเพื่อสังคมที่ดำเนินการอยู่ซึ่งมิได้เกี่ยวข้องกับธุรกิจหลัก มาปัดฝุ่นเปลี่ยนชื่อเรียกใหม่เป็น CSV ทั้งที่กิจกรรมในเชิง Philanthropy ดังกล่าว ไม่ได้จัดว่าเป็น CSV ตามแนวทางของไมเคิล อี พอร์เตอร์
ความสับสนอีกกรณีหนึ่ง เกิดขึ้นจากการนำคำว่า CSV ไปใช้ในบริบทของการขับเคลื่อนวิสาหกิจเพื่อสังคม หรือ Social Enterprise และอธิบายในทำนองว่า Shared Value จะเกิดขึ้น ก็ต่อเมื่อองค์กรธุรกิจมีการแปลงสภาพเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคม
ในความเป็นจริง การสร้างคุณค่าร่วม มิได้ขึ้นอยู่กับสภาพของกิจการที่ต้องเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคม รวมทั้งมิได้เสนอให้กิจการต้องทำสิ่งที่ต่างไปจากการทำธุรกิจปกติ แต่เสนอให้กิจการทำธุรกิจเช่นปกตินั้น ด้วยการนำความเชี่ยวชาญขององค์กรมาใช้สร้างคุณค่าเชิงเศรษฐกิจ ให้เกิดแก่กิจการและสังคมไปพร้อมกัน
หากเปรียบเทียบความแตกต่าง จะพบว่า Social Enterprise (SE) เป็นวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นโดยมีพันธกิจในการดำเนินงานเป็นไปเพื่อประโยชน์ของสังคมเป็นที่ตั้ง ด้วยการใช้กลยุทธ์ทางการตลาดหรือรูปแบบทางธุรกิจในการตอบสนองวัตถุประสงค์ทางสังคม ส่วน CSV เป็นการดำเนินงานของวิสาหกิจทั้งที่ดำเนินอยู่แล้วในรูปของธุรกิจปกติ (หรือที่จัดตั้งขึ้นใหม่ในรูปอื่น) เพื่อมุ่งให้เกิดผลลัพธ์เป็นคุณค่าร่วมระหว่างองค์กรและสังคมควบคู่กัน
CSV จึงเป็นการสร้างคุณค่าทางเศรษฐกิจให้กับกิจการและสังคม ภายใต้วิสาหกิจที่ดำเนินงานอยู่เดิม โดยไม่จำเป็นต้องจัดตั้งองค์กรขึ้นใหม่ หรือหากวิสาหกิจที่ดำเนินงานนั้นเป็น SE อยู่แล้ว ก็สามารถนำแนวคิด CSV ไปพัฒนาเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดหรือรูปแบบทางธุรกิจ เพื่อส่งมอบผลลัพธ์เป็นคุณค่าร่วมระหว่างองค์กรและสังคมได้เช่นกัน
ลักษณะที่สำคัญอีกประการของ CSV คือ การให้ความสำคัญกับผลลัพธ์ (Outcome) จากการดำเนินงาน มากกว่าความมุ่งประสงค์ (Purpose) ของกิจการ ไม่ว่าจะก่อตั้งด้วยวัตถุประสงค์ในทางธุรกิจหรือในทางสังคมก็ตาม กิจการจะต้องสามารถส่งมอบคุณค่าให้กับทั้งตัวองค์กรและสังคมไปพร้อมกัน โดยนำความเชี่ยวชาญและสินทรัพย์ที่มีอยู่ มาใช้เป็นฐานในการสร้างคุณค่าร่วม
แนวคิด CSV ยังสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับองค์กรที่ไม่แสวงหากำไรหรือองค์กรสาธารณประโยชน์ ที่ต้องการปรับปรุงประสิทธิภาพในการดำเนินงานเพื่อสร้างคุณค่าให้เกิดขึ้นกับสังคมอย่างแท้จริง เพราะแนวคิด CSV จะช่วยชี้ให้องค์กรได้คำนึงถึงต้นทุนหรือค่าใช้จ่าย และค่าเสียโอกาสในการส่งมอบผลประโยชน์ทางสังคมอย่างรอบด้าน
เมื่อใดก็ตามที่การดำเนินงานมีต้นทุนค่าใช้จ่ายสูงกว่าประโยชน์ที่ส่งมอบ คุณค่าสุทธิที่สังคมได้รับจะติดลบ สะท้อนให้เห็นถึงการขาดประสิทธิภาพในการดำเนินงานขององค์กรที่ไม่แสวงหากำไรหรือองค์กรสาธารณประโยชน์นั้นๆ และยิ่งไปกว่านั้น ชุมชนหรือผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มเป้าหมาย ก็จะพลอยเสียโอกาสในการได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานอื่นที่มีประสิทธิภาพกว่า
ในเชิงเศรษฐศาสตร์ ค่าเสียโอกาสดังกล่าว กลายเป็นภาระต้นทุน (สะสม) ที่องค์กรไม่แสวงหากำไรหรือองค์กรสาธารณประโยชน์ ทิ้งไว้ในรูปของผลกระทบภายนอก (Externalities) ให้กับชุมชนหรือผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มเป้าหมาย โดยไม่ปรากฏอยู่ในรายการผลการดำเนินงานใดๆ ทำให้ยังคงอ้างผลงานหรือเคลมเครดิตที่หน่วยงานได้เข้าให้ความช่วยเหลือดังกล่าวอย่างเต็มภาคภูมิ
ดูราวกับว่า เริ่มต้นเหมือนดัง ‘ดอกไม้’ แต่ลงท้ายกลับได้ ‘ก้อนอิฐ’ โดยไม่รู้ตัว...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
Thursday, August 28, 2014
CSV ดีจริงหรือ
แนวคิดของการสร้างคุณค่าร่วม (Creating Shared Value: CSV) เสนอให้ธุรกิจต้องสร้างคุณค่าทางเศรษฐกิจให้กับกิจการและสังคมไปพร้อมกันเพื่อความสำเร็จในระยะยาว บทบาทของธุรกิจต่อสังคมในบริบทของ CSV นั้นตั้งอยู่บนฐานคิดแบบระยะยาว (Long-term Thinking) เน้นการสร้างประโยชน์แก่ผู้ถือหุ้นและสังคมให้เกิดเป็นผลประโยชน์ร่วมกัน
การสร้างคุณค่าร่วมเป็นแนวทางที่ต้องการแก้โจทย์ความไม่เชื่อมโยงกันระหว่างความต้องการของสังคมและของธุรกิจ ซึ่งเป็นอุปสรรคและก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำในการพัฒนา ธุรกิจที่ดำเนินในวิถีทางของ CSV จึงต้องสร้างคุณค่าให้แก่สังคมควบคู่กับการสร้างคุณค่าให้แก่ผู้ถือหุ้น เพื่อให้เกิดเป็นผลสำเร็จในระยะยาว
โอกาสในการสร้างคุณค่าร่วม เกิดจากการพิจารณาผลกระทบภายนอก (Externalities) ที่มีต่อกิจการ แล้วนำประเด็นเหล่านั้นมาพัฒนาในทางสร้างสรรค์ตามกรอบการสร้างคุณค่าร่วมใน 3 ระดับ คือ ในระดับผลิตภัณฑ์ ในระดับห่วงโซ่คุณค่า และในระดับท้องถิ่น
เมื่อพิจารณาเผินๆ แนวคิดการสร้างคุณค่าร่วม หรือ CSV อาจมีความคล้ายคลึงกับแนวคิดอื่นๆ ในสาขาการพัฒนาที่ยั่งยืน อาทิ Blended Value (Jed Emerson), Mutual Benefit (Stuart Hart), Bottom of the Pyramid (C.K. Prahalad and Hart), Sustainability (John Elkington), Triple Bottom Line (Andrew Savitz and Karl Weber), Conscious Capitalism (David Schwerin and John Mackey)
ในความเป็นจริง CSV มีความต่างจากแนวคิดของ Jed Emerson ในเรื่อง Blended Value ที่เน้นการผสมผสานคุณค่าทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งสร้างขึ้นจากองค์กรทั้งที่แสวงหากำไรและไม่แสวงหากำไร เพื่อนำมาซึ่งผลรวมสูงสุดของทุกคุณค่าที่เกิดขึ้นกับกิจการและในตลาดทุน ขณะที่ CSV เน้นที่การนำโจทย์ทางสังคมมาแก้ไขและพัฒนาเพื่อสร้างให้เกิดคุณค่าทางเศรษฐกิจ มิใช่การผสมหรือสร้างสมดุลของคุณค่าต่างๆ เข้าด้วยกัน
ส่วนกรอบแนวคิดของ Stuart Hart ในการสร้างคุณค่าที่ยั่งยืน เกี่ยวข้องกับการป้องกันมลพิษ เทคโนโลยีสะอาด การพัฒนากลุ่มคนชั้นฐานราก และการติดตามดูแลผลิตภัณฑ์ ซึ่งทั้งหมดมีความซ้อนเหลื่อมกันอยู่ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องเดียวกันเมื่อเทียบกับระดับของการสร้างคุณค่าร่วม
ในงานของ C.K. Prahalad และ Hart ที่มีความโดดเด่นเรื่องการเข้าถึงตลาดในระดับฐานราก ถือเป็นแง่มุมหนึ่งของการสร้างคุณค่าร่วม อย่างไรก็ดี ในงานของ Hart และ Kash Rangan ได้ชี้ให้เห็นตรงกันว่า ผลิตภัณฑ์และบริการที่ออกแบบสำหรับตลาดในระดับฐานราก จะสามารถสร้างคุณค่าที่ยั่งยืนได้ ต่อเมื่อก่อให้เกิดประโยชน์กับชุมชนที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งไม่ใช่ทุกความริเริ่มในระดับฐานรากที่เป็นเช่นนั้น
ความซ้อนเหลื่อมระหว่างการสร้างคุณค่าร่วมกับการสร้างความยั่งยืน มีตั้งแต่เรื่องของการปรับปรุงสภาพแวดล้อม ที่ให้ความสำคัญกับการลดต้นทุนและการปรับปรุงผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างให้เกิดคุณค่าร่วม ไปจนถึงการปกป้องสภาพแวดล้อมไว้ให้สำหรับคนรุ่นหลัง ด้วยการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบที่อาจส่งผลต่อการรักษาขีดความสามารถทางการแข่งขันและกลไกการทำงานของทุนในรูปแบบที่ผิดเพี้ยนไปจากที่ควรจะเป็น
แน่นอนว่า การปฏิบัติตามข้อกฎหมาย และการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมในมิติของการดูแลผลกระทบที่เกิดขึ้นจากกิจการ เป็นสิ่งที่ต้องดำรงอยู่หรือทำให้เกิดขึ้นก่อนการสร้างคุณค่าร่วม แนวคิดของ CSV จึงเป็นภาคต่อของการยกระดับความรับผิดชอบจากการดูแลผลกระทบในเชิงลบ มาสู่การส่งมอบคุณค่าในเชิงบวก
มีการวิพากษ์ในทำนองว่า แนวคิด CSV ยังคงยึดประโยชน์ขององค์กรเป็นที่ตั้ง มิได้แตกต่างไปจากรูปแบบกลยุทธ์ทางธุรกิจที่มีอยู่เดิม ซึ่งมีส่วนที่ก่อให้เกิดปัญหาในเชิงระบบ และเสนอว่าทางออกควรจะต้องเกิดขึ้นภายใต้กระบวนการที่ผู้มีส่วนได้เสียหลายฝ่ายเข้าร่วมอย่างเสมอภาค วาทกรรมดังกล่าวเป็นอุดมการณ์ของกลุ่มที่ต้องการเห็นโลกสวย ซึ่งสวนทางกับปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในโลกแห่งความจริง
เหตุที่การสร้างคุณค่าร่วมมีแรงหนุนและนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงจริงก็เพราะความก้าวหน้าทางสังคมและผลประโยชน์ขององค์กรถูกปรับวางให้อยู่ในแนวเดียวกันอย่างเป็นรูปธรรมและจับต้องได้สูง เฉกเช่นกลยุทธ์อื่นๆ ขององค์กรที่ได้รับการพิสูจน์ผ่านกาลเวลาในสนามธุรกิจจนกลายเป็นหลักปฎิบัติที่แพร่หลายมาก่อนหน้านี้
ข้อเสนอเรื่องความรับผิดชอบและการพัฒนาความยั่งยืนขององค์กร ที่มุ่งหวังให้ธุรกิจละทิ้งหรือลดทอนเป้าประสงค์ในเรื่องของการแสวงหากำไรสูงสุด เพื่อให้ได้ชื่อว่าเป็นองค์กรที่ดีกว่าที่เป็นอยู่นั้น นอกจากจะไม่เป็นที่ขานรับในแวดวงธุรกิจแล้ว ยังจะเป็นการตอกลิ่มให้เกิดการแบ่งแยกระหว่างกิจกรรมทางธุรกิจและทางสังคมเพิ่มมากขึ้น
แน่นอนว่า ธุรกิจไม่สามารถที่จะแก้ไขทุกปัญหาทางสังคม และก็ไม่ใช่ทุกธุรกิจที่จะเป็นธุรกิจที่ดีต่อสังคม เช่นเดียวกับวิถีทางของการสร้างคุณค่าร่วมที่ไม่อาจใช้ขจัดความไม่เป็นธรรมทั้งมวลได้ แต่การนำแรงจูงใจในเรื่องผลกำไรและกลยุทธ์ทางธุรกิจมาใช้เป็นเครื่องมือจัดการกับปัญหาทางสังคม ที่ซึ่งแนวคิด CSV มีส่วนในการผลักดันและได้ถูกนำไปขยายผลอย่างกว้างขวางนี้ สามารถที่จะช่วยทั้งกับธุรกิจเพื่อให้มีส่วนในการตอบแทนชดเชย และกับโลกเพื่อให้ดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
(เรียบเรียงจาก What’s the Value of Shared Value? โดยไมเคิล อี พอร์เตอร์ และมาร์ค เครเมอร์)...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
การสร้างคุณค่าร่วมเป็นแนวทางที่ต้องการแก้โจทย์ความไม่เชื่อมโยงกันระหว่างความต้องการของสังคมและของธุรกิจ ซึ่งเป็นอุปสรรคและก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำในการพัฒนา ธุรกิจที่ดำเนินในวิถีทางของ CSV จึงต้องสร้างคุณค่าให้แก่สังคมควบคู่กับการสร้างคุณค่าให้แก่ผู้ถือหุ้น เพื่อให้เกิดเป็นผลสำเร็จในระยะยาว
โอกาสในการสร้างคุณค่าร่วม เกิดจากการพิจารณาผลกระทบภายนอก (Externalities) ที่มีต่อกิจการ แล้วนำประเด็นเหล่านั้นมาพัฒนาในทางสร้างสรรค์ตามกรอบการสร้างคุณค่าร่วมใน 3 ระดับ คือ ในระดับผลิตภัณฑ์ ในระดับห่วงโซ่คุณค่า และในระดับท้องถิ่น
เมื่อพิจารณาเผินๆ แนวคิดการสร้างคุณค่าร่วม หรือ CSV อาจมีความคล้ายคลึงกับแนวคิดอื่นๆ ในสาขาการพัฒนาที่ยั่งยืน อาทิ Blended Value (Jed Emerson), Mutual Benefit (Stuart Hart), Bottom of the Pyramid (C.K. Prahalad and Hart), Sustainability (John Elkington), Triple Bottom Line (Andrew Savitz and Karl Weber), Conscious Capitalism (David Schwerin and John Mackey)
ในความเป็นจริง CSV มีความต่างจากแนวคิดของ Jed Emerson ในเรื่อง Blended Value ที่เน้นการผสมผสานคุณค่าทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งสร้างขึ้นจากองค์กรทั้งที่แสวงหากำไรและไม่แสวงหากำไร เพื่อนำมาซึ่งผลรวมสูงสุดของทุกคุณค่าที่เกิดขึ้นกับกิจการและในตลาดทุน ขณะที่ CSV เน้นที่การนำโจทย์ทางสังคมมาแก้ไขและพัฒนาเพื่อสร้างให้เกิดคุณค่าทางเศรษฐกิจ มิใช่การผสมหรือสร้างสมดุลของคุณค่าต่างๆ เข้าด้วยกัน
ส่วนกรอบแนวคิดของ Stuart Hart ในการสร้างคุณค่าที่ยั่งยืน เกี่ยวข้องกับการป้องกันมลพิษ เทคโนโลยีสะอาด การพัฒนากลุ่มคนชั้นฐานราก และการติดตามดูแลผลิตภัณฑ์ ซึ่งทั้งหมดมีความซ้อนเหลื่อมกันอยู่ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องเดียวกันเมื่อเทียบกับระดับของการสร้างคุณค่าร่วม
ในงานของ C.K. Prahalad และ Hart ที่มีความโดดเด่นเรื่องการเข้าถึงตลาดในระดับฐานราก ถือเป็นแง่มุมหนึ่งของการสร้างคุณค่าร่วม อย่างไรก็ดี ในงานของ Hart และ Kash Rangan ได้ชี้ให้เห็นตรงกันว่า ผลิตภัณฑ์และบริการที่ออกแบบสำหรับตลาดในระดับฐานราก จะสามารถสร้างคุณค่าที่ยั่งยืนได้ ต่อเมื่อก่อให้เกิดประโยชน์กับชุมชนที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งไม่ใช่ทุกความริเริ่มในระดับฐานรากที่เป็นเช่นนั้น
ความซ้อนเหลื่อมระหว่างการสร้างคุณค่าร่วมกับการสร้างความยั่งยืน มีตั้งแต่เรื่องของการปรับปรุงสภาพแวดล้อม ที่ให้ความสำคัญกับการลดต้นทุนและการปรับปรุงผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างให้เกิดคุณค่าร่วม ไปจนถึงการปกป้องสภาพแวดล้อมไว้ให้สำหรับคนรุ่นหลัง ด้วยการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบที่อาจส่งผลต่อการรักษาขีดความสามารถทางการแข่งขันและกลไกการทำงานของทุนในรูปแบบที่ผิดเพี้ยนไปจากที่ควรจะเป็น
แน่นอนว่า การปฏิบัติตามข้อกฎหมาย และการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมในมิติของการดูแลผลกระทบที่เกิดขึ้นจากกิจการ เป็นสิ่งที่ต้องดำรงอยู่หรือทำให้เกิดขึ้นก่อนการสร้างคุณค่าร่วม แนวคิดของ CSV จึงเป็นภาคต่อของการยกระดับความรับผิดชอบจากการดูแลผลกระทบในเชิงลบ มาสู่การส่งมอบคุณค่าในเชิงบวก
มีการวิพากษ์ในทำนองว่า แนวคิด CSV ยังคงยึดประโยชน์ขององค์กรเป็นที่ตั้ง มิได้แตกต่างไปจากรูปแบบกลยุทธ์ทางธุรกิจที่มีอยู่เดิม ซึ่งมีส่วนที่ก่อให้เกิดปัญหาในเชิงระบบ และเสนอว่าทางออกควรจะต้องเกิดขึ้นภายใต้กระบวนการที่ผู้มีส่วนได้เสียหลายฝ่ายเข้าร่วมอย่างเสมอภาค วาทกรรมดังกล่าวเป็นอุดมการณ์ของกลุ่มที่ต้องการเห็นโลกสวย ซึ่งสวนทางกับปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในโลกแห่งความจริง
เหตุที่การสร้างคุณค่าร่วมมีแรงหนุนและนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงจริงก็เพราะความก้าวหน้าทางสังคมและผลประโยชน์ขององค์กรถูกปรับวางให้อยู่ในแนวเดียวกันอย่างเป็นรูปธรรมและจับต้องได้สูง เฉกเช่นกลยุทธ์อื่นๆ ขององค์กรที่ได้รับการพิสูจน์ผ่านกาลเวลาในสนามธุรกิจจนกลายเป็นหลักปฎิบัติที่แพร่หลายมาก่อนหน้านี้
ข้อเสนอเรื่องความรับผิดชอบและการพัฒนาความยั่งยืนขององค์กร ที่มุ่งหวังให้ธุรกิจละทิ้งหรือลดทอนเป้าประสงค์ในเรื่องของการแสวงหากำไรสูงสุด เพื่อให้ได้ชื่อว่าเป็นองค์กรที่ดีกว่าที่เป็นอยู่นั้น นอกจากจะไม่เป็นที่ขานรับในแวดวงธุรกิจแล้ว ยังจะเป็นการตอกลิ่มให้เกิดการแบ่งแยกระหว่างกิจกรรมทางธุรกิจและทางสังคมเพิ่มมากขึ้น
แน่นอนว่า ธุรกิจไม่สามารถที่จะแก้ไขทุกปัญหาทางสังคม และก็ไม่ใช่ทุกธุรกิจที่จะเป็นธุรกิจที่ดีต่อสังคม เช่นเดียวกับวิถีทางของการสร้างคุณค่าร่วมที่ไม่อาจใช้ขจัดความไม่เป็นธรรมทั้งมวลได้ แต่การนำแรงจูงใจในเรื่องผลกำไรและกลยุทธ์ทางธุรกิจมาใช้เป็นเครื่องมือจัดการกับปัญหาทางสังคม ที่ซึ่งแนวคิด CSV มีส่วนในการผลักดันและได้ถูกนำไปขยายผลอย่างกว้างขวางนี้ สามารถที่จะช่วยทั้งกับธุรกิจเพื่อให้มีส่วนในการตอบแทนชดเชย และกับโลกเพื่อให้ดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
(เรียบเรียงจาก What’s the Value of Shared Value? โดยไมเคิล อี พอร์เตอร์ และมาร์ค เครเมอร์)...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
Thursday, August 21, 2014
จะทำทุกเรื่อง หรือทำให้ถูกเรื่อง
การใช้รายการตรวจสอบ (Check-list) เพื่อกำกับให้องค์กรดำเนินการในเรื่องการกำกับดูแลกิจการ (Corporate Governance: CG) โดยคาดหวังให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าประสงค์ กลับเป็นตัวชี้นำให้เกิดเกณฑ์การประเมินด้วยการวัดปริมาณของรายการที่ผ่านการตรวจสอบ มากกว่าการคำนึงถึงคุณภาพของผลการดำเนินงานตามที่ระบุในรายการตรวจสอบนั้น การวัดผลสัมฤทธิ์ที่ผ่านมา จึงติดหล่มอยู่กับรูปแบบ (Form) จนไปบดบังสาระ (Substance) ของการดำเนินงาน
จากบทเรียนดังกล่าว ทำให้แนวทางการขับเคลื่อนความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ (Corporate Social Responsibility: CSR) ในปัจจุบัน จึงเน้นให้ความสำคัญกับสาระของการดำเนินงานในประเด็นที่มีนัยสำคัญต่อการดำเนินการของบริษัท มากกว่ารูปแบบของการดำเนินงาน สอดคล้องกับมาตรฐานและกรอบแนวทางความรับผิดชอบต่อสังคมที่เป็นสากล
ผู้บริหารสูงสุดควรกำหนดแนวทางในการผลักดันองค์กรให้เข้าถึงการขับเคลื่อน CSR ในระดับที่สูงขึ้น ด้วยการให้ความสำคัญกับการริเริ่มพัฒนาขีดความสามารถในการเลือกเรื่องที่จะดำเนินการ โดยเน้นที่สารัตถภาพ (Materiality) ของประเด็นด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีความแตกต่างกันในแง่มุมการดำเนินงานตามปัจจัยและเงื่อนไขของแต่ละกิจการ
สารัตถภาพ ในที่นี้หมายถึง ความมีสาระสำคัญของสิ่งที่เลือกมาดำเนินการ ซึ่งมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง การประเมินว่าประเด็นใดมีสาระสำคัญต่อการดำเนินการ ควรพิจารณาจากความเกี่ยวเนื่อง (Relevance) ที่มีผลต่อขีดความสามารถในการสร้างคุณค่าขององค์กรทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ผลกระทบที่เกิดขึ้นหรือคาดว่าจะเกิดขึ้นซึ่งสามารถส่งผลให้องค์กรเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ (Significance) และการให้ความสำคัญ (Prioritization) โดยองค์กรและผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องต่อประเด็นดังกล่าว
การดำเนินงาน CSR ให้เป็นที่ยอมรับ ไม่ได้เกิดจากการที่องค์กรต้องดำเนินการในทุกเรื่อง แต่มาจากที่องค์กรต้องดำเนินการให้ถูกเรื่อง เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์สูงสุดบนเงื่อนไขของทรัพยากรที่มีอยู่จำกัด ความสำคัญจึงอยู่ที่ความสามารถในการเลือกเรื่องที่สำคัญเพื่อดำเนินการ มากกว่าความสามารถที่จะดำเนินการในทุกเรื่อง
องค์กรควรดำเนินการคัดเลือกเรื่อง (Topics) โดยใช้หลักเกณฑ์ซึ่งเป็นบรรทัดฐานในอุตสาหกรรมหรือเป็นที่ยอมรับในหมู่ผู้มีส่วนได้เสียของกิจการ เพื่อให้ได้มาซึ่งรายละเอียดของเรื่องในระดับประเด็นหรือแง่มุม (Aspects) การดำเนินงานที่มีนัยสำคัญต่อองค์กรในมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับข้อกังวลหรือความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย
คำถามในการใช้คัดเลือกเรื่องเพื่อดำเนินการ ควรประกอบด้วย เรื่องที่เป็นผลกระทบหรือข้อกังวลของกิจการมีอะไรบ้าง เรื่องนั้นมีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจการหรือไม่ สามารถจัดอยู่ภายใต้หมวดใด (เศรษฐกิจ สังคม หรือสิ่งแวดล้อม) และเกิดขึ้นที่ใด (ภายในกิจการ, ภายนอกกิจการ, หรือทั้งภายในและภายนอกกิจการ)
ขอบเขตการดำเนินงานของเรื่องที่ถูกคัดเลือก มีความครอบคลุมใน 2 ระดับ ระดับภายในองค์กร ประกอบด้วย บริษัทแม่ บริษัทย่อย สาขา ธุรกิจร่วมค้า หรือกิจการที่องค์กรเป็นเจ้าของหรือมีอำนาจควบคุมดูแล ระดับภายนอกองค์กร ประกอบด้วย ผู้ส่งมอบ ผู้จัดจำหน่าย ผู้บริโภค หรือหน่วยงานที่องค์กรทำได้เพียงชี้นำหรือส่งทอดอิทธิพลเพื่อให้เกิดการดำเนินการโดยสมัครใจ
ตัวอย่างขอบเขตของประเด็นที่องค์กรเลือกมาดำเนินการ อาจจำกัดอยู่เพียงระดับภายในองค์กร (เช่น การต่อต้านการทุจริต) บางประเด็นอาจเกี่ยวข้องเฉพาะหน่วยงานที่อยู่ภายนอกองค์กร (เช่น สิทธิเด็ก) หรือมีบางประเด็นที่ต้องดำเนินการทั้งหน่วยงานที่อยู่ภายในและภายนอกองค์กร (เช่น การปล่อยก๊าซเรือนกระจก)
สำหรับข้อพิจารณาที่ใช้ในการระบุประเด็นหรือแง่มุมที่จะดำเนินการ ในมุมมองของผู้มีส่วนได้เสีย ได้แก่ ผลกระทบและความมีนัยสำคัญของประเด็นดังกล่าว ความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียที่มีต่อการดำเนินการ การตอบสนอง และความโปร่งใสตรวจสอบได้ต่อประเด็นดังกล่าว
ส่วนข้อพิจารณาที่ใช้ในการระบุประเด็นหรือแง่มุมที่จะดำเนินการ ในมุมมองของกิจการ ได้แก่ ความน่าจะเป็นและความรุนแรงของประเด็นดังกล่าว ความเสี่ยงหรือโอกาสที่เกิดขึ้นจากประเด็นดังกล่าว ระดับวิกฤตของผลกระทบที่มีต่อการดำเนินงานของกิจการในระยะยาว และโอกาสที่เอื้อต่อกิจการในการเติบโตหรือได้รับประโยชน์จากประเด็นดังกล่าว
ตัวอย่างในเรื่องการมีส่วนร่วมและดูแลผลกระทบชุมชนที่อยู่รอบโรงงาน ทุกบริษัทมีการดำเนินการในเรื่องนี้เหมือนกัน แต่ประเด็นหรือแง่มุมการดำเนินงานอาจมีความแตกต่างกัน บริษัทหนึ่งอาจดำเนินการโดยเน้นดูแลของเสียที่ปล่อยออกมาจากโรงงานมิให้เกินเกณฑ์มาตรฐานจนอาจก่อความเดือดร้อนเสียหายแก่ชุมชน อีกบริษัทหนึ่งอาจดำเนินการโดยเน้นร่วมทำกิจกรรมในชุมชนอย่างต่อเนื่อง ขณะที่อีกบริษัทหนึ่งอาจดำเนินการโดยเน้นสื่อสารเพื่อสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนอย่างสม่ำเสมอ เป็นต้น
ตัวอย่างของตัวบ่งชี้ที่สัมพันธ์กับการดำเนินการข้างต้น ได้แก่ การใช้ตัวบ่งชี้ค่ามาตรฐานของเสียที่ปล่อยออกจากโรงงาน หรือตัวบ่งชี้จำนวนกิจกรรมที่โรงงานเข้ามีส่วนร่วมกับชุมชน หรือตัวบ่งชี้ระดับการรับรู้ข่าวสารของชุมชน ตามลำดับ
องค์กรไม่สามารถทำในทุกเรื่องที่เห็นว่าดี แต่สามารถทำบางเรื่องที่เห็นว่าสำคัญให้ดีได้...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
จากบทเรียนดังกล่าว ทำให้แนวทางการขับเคลื่อนความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ (Corporate Social Responsibility: CSR) ในปัจจุบัน จึงเน้นให้ความสำคัญกับสาระของการดำเนินงานในประเด็นที่มีนัยสำคัญต่อการดำเนินการของบริษัท มากกว่ารูปแบบของการดำเนินงาน สอดคล้องกับมาตรฐานและกรอบแนวทางความรับผิดชอบต่อสังคมที่เป็นสากล
ผู้บริหารสูงสุดควรกำหนดแนวทางในการผลักดันองค์กรให้เข้าถึงการขับเคลื่อน CSR ในระดับที่สูงขึ้น ด้วยการให้ความสำคัญกับการริเริ่มพัฒนาขีดความสามารถในการเลือกเรื่องที่จะดำเนินการ โดยเน้นที่สารัตถภาพ (Materiality) ของประเด็นด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีความแตกต่างกันในแง่มุมการดำเนินงานตามปัจจัยและเงื่อนไขของแต่ละกิจการ
สารัตถภาพ ในที่นี้หมายถึง ความมีสาระสำคัญของสิ่งที่เลือกมาดำเนินการ ซึ่งมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง การประเมินว่าประเด็นใดมีสาระสำคัญต่อการดำเนินการ ควรพิจารณาจากความเกี่ยวเนื่อง (Relevance) ที่มีผลต่อขีดความสามารถในการสร้างคุณค่าขององค์กรทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ผลกระทบที่เกิดขึ้นหรือคาดว่าจะเกิดขึ้นซึ่งสามารถส่งผลให้องค์กรเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ (Significance) และการให้ความสำคัญ (Prioritization) โดยองค์กรและผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องต่อประเด็นดังกล่าว
การดำเนินงาน CSR ให้เป็นที่ยอมรับ ไม่ได้เกิดจากการที่องค์กรต้องดำเนินการในทุกเรื่อง แต่มาจากที่องค์กรต้องดำเนินการให้ถูกเรื่อง เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์สูงสุดบนเงื่อนไขของทรัพยากรที่มีอยู่จำกัด ความสำคัญจึงอยู่ที่ความสามารถในการเลือกเรื่องที่สำคัญเพื่อดำเนินการ มากกว่าความสามารถที่จะดำเนินการในทุกเรื่อง
องค์กรควรดำเนินการคัดเลือกเรื่อง (Topics) โดยใช้หลักเกณฑ์ซึ่งเป็นบรรทัดฐานในอุตสาหกรรมหรือเป็นที่ยอมรับในหมู่ผู้มีส่วนได้เสียของกิจการ เพื่อให้ได้มาซึ่งรายละเอียดของเรื่องในระดับประเด็นหรือแง่มุม (Aspects) การดำเนินงานที่มีนัยสำคัญต่อองค์กรในมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับข้อกังวลหรือความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย
คำถามในการใช้คัดเลือกเรื่องเพื่อดำเนินการ ควรประกอบด้วย เรื่องที่เป็นผลกระทบหรือข้อกังวลของกิจการมีอะไรบ้าง เรื่องนั้นมีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจการหรือไม่ สามารถจัดอยู่ภายใต้หมวดใด (เศรษฐกิจ สังคม หรือสิ่งแวดล้อม) และเกิดขึ้นที่ใด (ภายในกิจการ, ภายนอกกิจการ, หรือทั้งภายในและภายนอกกิจการ)
ขอบเขตการดำเนินงานของเรื่องที่ถูกคัดเลือก มีความครอบคลุมใน 2 ระดับ ระดับภายในองค์กร ประกอบด้วย บริษัทแม่ บริษัทย่อย สาขา ธุรกิจร่วมค้า หรือกิจการที่องค์กรเป็นเจ้าของหรือมีอำนาจควบคุมดูแล ระดับภายนอกองค์กร ประกอบด้วย ผู้ส่งมอบ ผู้จัดจำหน่าย ผู้บริโภค หรือหน่วยงานที่องค์กรทำได้เพียงชี้นำหรือส่งทอดอิทธิพลเพื่อให้เกิดการดำเนินการโดยสมัครใจ
ตัวอย่างขอบเขตของประเด็นที่องค์กรเลือกมาดำเนินการ อาจจำกัดอยู่เพียงระดับภายในองค์กร (เช่น การต่อต้านการทุจริต) บางประเด็นอาจเกี่ยวข้องเฉพาะหน่วยงานที่อยู่ภายนอกองค์กร (เช่น สิทธิเด็ก) หรือมีบางประเด็นที่ต้องดำเนินการทั้งหน่วยงานที่อยู่ภายในและภายนอกองค์กร (เช่น การปล่อยก๊าซเรือนกระจก)
สำหรับข้อพิจารณาที่ใช้ในการระบุประเด็นหรือแง่มุมที่จะดำเนินการ ในมุมมองของผู้มีส่วนได้เสีย ได้แก่ ผลกระทบและความมีนัยสำคัญของประเด็นดังกล่าว ความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียที่มีต่อการดำเนินการ การตอบสนอง และความโปร่งใสตรวจสอบได้ต่อประเด็นดังกล่าว
ส่วนข้อพิจารณาที่ใช้ในการระบุประเด็นหรือแง่มุมที่จะดำเนินการ ในมุมมองของกิจการ ได้แก่ ความน่าจะเป็นและความรุนแรงของประเด็นดังกล่าว ความเสี่ยงหรือโอกาสที่เกิดขึ้นจากประเด็นดังกล่าว ระดับวิกฤตของผลกระทบที่มีต่อการดำเนินงานของกิจการในระยะยาว และโอกาสที่เอื้อต่อกิจการในการเติบโตหรือได้รับประโยชน์จากประเด็นดังกล่าว
ตัวอย่างในเรื่องการมีส่วนร่วมและดูแลผลกระทบชุมชนที่อยู่รอบโรงงาน ทุกบริษัทมีการดำเนินการในเรื่องนี้เหมือนกัน แต่ประเด็นหรือแง่มุมการดำเนินงานอาจมีความแตกต่างกัน บริษัทหนึ่งอาจดำเนินการโดยเน้นดูแลของเสียที่ปล่อยออกมาจากโรงงานมิให้เกินเกณฑ์มาตรฐานจนอาจก่อความเดือดร้อนเสียหายแก่ชุมชน อีกบริษัทหนึ่งอาจดำเนินการโดยเน้นร่วมทำกิจกรรมในชุมชนอย่างต่อเนื่อง ขณะที่อีกบริษัทหนึ่งอาจดำเนินการโดยเน้นสื่อสารเพื่อสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนอย่างสม่ำเสมอ เป็นต้น
ตัวอย่างของตัวบ่งชี้ที่สัมพันธ์กับการดำเนินการข้างต้น ได้แก่ การใช้ตัวบ่งชี้ค่ามาตรฐานของเสียที่ปล่อยออกจากโรงงาน หรือตัวบ่งชี้จำนวนกิจกรรมที่โรงงานเข้ามีส่วนร่วมกับชุมชน หรือตัวบ่งชี้ระดับการรับรู้ข่าวสารของชุมชน ตามลำดับ
องค์กรไม่สามารถทำในทุกเรื่องที่เห็นว่าดี แต่สามารถทำบางเรื่องที่เห็นว่าสำคัญให้ดีได้...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
Tuesday, August 19, 2014
รวมบทความ CSV
1. กลยุทธ์ธุรกิจคู่สังคม
2. ความริเริ่ม CSV
3. CSV กลยุทธ์สู่ความยั่งยืน
4. กรอบการขับเคลื่อน CSV
5. CSV ในธุรกิจพึ่งพิงธรรมชาติ
6. CSV กลยุทธ์ธนาคารคู่สังคม
7. CSV ในธุรกิจด้านสุขภาพ
8. เลียบเวทีประชุม Shared Value Leadership
9. Shared Value กับ Social Enterprise
10. Corporate Philanthropy: ลงทุนสุนทาน
11. การจัดทำแผนธุรกิจคู่สังคม
12. จาก B2B สู่ B4B
13. ศักราชแห่งการพัฒนาที่ยั่งยืน
14. เปิดมุมมองธุรกิจเพื่อสังคม
15. Social Business: โมเดลธุรกิจสำหรับแก้ปัญหาสังคม
16. Social Business กับสิทธิประโยชน์ทางภาษี
17. Great to Last: ผันธุรกิจ จาก ‘ยิ่งใหญ่’ สู่ ‘ยั่งยืน’
18. จาก Strategic CSR สู่ Shared Value
19. การตราคุณค่าร่วม (Shared Value Proposition) ด้วยเครื่องมือ SVOI
20. เริ่มต้น CSV ให้ถูกทาง
21. Shared Value Enterprise: องค์กรเปลี่ยนโลก
2. ความริเริ่ม CSV
3. CSV กลยุทธ์สู่ความยั่งยืน
4. กรอบการขับเคลื่อน CSV
5. CSV ในธุรกิจพึ่งพิงธรรมชาติ
6. CSV กลยุทธ์ธนาคารคู่สังคม
7. CSV ในธุรกิจด้านสุขภาพ
8. เลียบเวทีประชุม Shared Value Leadership
9. Shared Value กับ Social Enterprise
10. Corporate Philanthropy: ลงทุนสุนทาน
11. การจัดทำแผนธุรกิจคู่สังคม
12. จาก B2B สู่ B4B
13. ศักราชแห่งการพัฒนาที่ยั่งยืน
14. เปิดมุมมองธุรกิจเพื่อสังคม
15. Social Business: โมเดลธุรกิจสำหรับแก้ปัญหาสังคม
16. Social Business กับสิทธิประโยชน์ทางภาษี
17. Great to Last: ผันธุรกิจ จาก ‘ยิ่งใหญ่’ สู่ ‘ยั่งยืน’
18. จาก Strategic CSR สู่ Shared Value
19. การตราคุณค่าร่วม (Shared Value Proposition) ด้วยเครื่องมือ SVOI
20. เริ่มต้น CSV ให้ถูกทาง
21. Shared Value Enterprise: องค์กรเปลี่ยนโลก
Thursday, August 07, 2014
โลกสวยด้วยมือคนอื่น
การจัดซื้อจัดจ้าง ถือเป็นกระบวนการสำคัญของธุรกิจ ที่สามารถใช้แสดงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ ในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยการผลักดันให้คู่ค้าในห่วงโซ่ธุรกิจหันมาใส่ใจผลิตสินค้าและบริการที่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงผลกระทบต่อสุขภาพ โดยมีการนําเครื่องมือทางด้านสิ่งแวดล้อม เช่น เทคโนโลยีสะอาด (Clean Technology) การประเมินวัฏจักรชีวิต (Life Cycle Assessment) ของผลิตภัณฑ์ และการออกแบบเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (Eco-Design) มาใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด แทนการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตามระเบียบข้อบังคับทางกฎหมาย
ในหลายประเทศ ได้มีการนำแนวคิดการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน มาพัฒนากลไกการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยการใช้นโยบายการจัดซื้อจัดจ้างสีเขียว (Green Procurement) ที่คำนึงถึงตั้งแต่ขั้นตอนการเลือกใช้วัตถุดิบหรือวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมหรือวัสดุรีไซเคิลมาเป็นปัจจัยการผลิต การลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ การผลิต การเลือกใช้พลังงานและเทคโนโลยีที่เหมาะสม การบรรจุหีบห่อ การขนส่ง การลดการปลดปล่อยมลพิษ และการจัดการกับซากผลิตภัณฑ์หลังหมดอายุการใช้งาน เป็นต้น
การจัดซื้อจัดจ้างสีเขียว เป็นการจัดซื้อหรือจัดจ้างผลิตภัณฑ์หรือบริการ โดยคำนึงถึงความเหมาะสมทางด้านคุณภาพ ราคา การส่งมอบสินค้าหรือบริการตามที่กำหนด และการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการผลิตและบริการ โดยพิจารณาตลอดทั้งวัฎจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์
โดยภาคธุรกิจ สามารถจัดทำนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างสีเขียวที่ให้ความสำคัญกับการพิจารณาคัดเลือกคู่ค้าโดยใช้หลักเกณฑ์ด้านสิ่งแวดล้อมเพิ่มเติมจากเดิม รวมถึงการใช้ทะเบียนผู้ค้า (Approved Vendor List) เป็นเครื่องมือในการผลักดันเพิ่มยอดการจัดซื้อจัดจ้างสีเขียวขององค์กร
สำหรับประเทศไทยแล้ว ยังมีความท้าทายอยู่มากในการผลักดันให้เกิดกระแสของการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน ด้วยสังคมส่วนใหญ่ ยังไม่ตระหนักถึงผลกระทบหรือมลพิษที่เกิดจากการผลิตและการบริโภค เห็นได้ชัดว่า ในฝั่งของการผลิต ปัญหาเรื่องการบังคับใช้กฎหมาย การวางผังเมือง การจัดโซนนิ่งระหว่างที่พักอาศัยและสถานประกอบการที่ก่อมลภาวะสูง รวมถึงต้นทุนของการดูแลสิ่งแวดล้อม ที่ไม่จูงใจให้เกิดการผลิตที่ยั่งยืน ซึ่งมีผลสืบเนื่องมาจากขนาดของตลาดที่จำกัด เป็นต้น
ในฝั่งของผู้บริโภคเอง ยังไม่มีกลุ่มที่แสดงตัวเรื่องแบบแผนการใช้ชีวิตที่ใส่ใจต่อสุขภาพและความยั่งยืนอย่างเป็นรูปธรรมชัดเจนเหมือนในบางประเทศ (เช่น ญี่ปุ่น) ที่มีกลุ่มก้อนของผู้บริโภคในรูปแบบที่เรียกว่า LOHAS: Lifestyle of Health and Sustainability ผลักดันให้เกิดตลาดสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและคำนึงถึงสุขภาพ ที่มีอัตราการขยายตัวและการเติบโตที่สูง จนเป็นแรงจูงใจให้ผู้ประกอบการหันมาตอบสนองต่อความต้องการดังกล่าว เมื่อตลาดมีขนาดใหญ่ ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยที่จะต้องรวมค่าใช้จ่ายในการดูแลสิ่งแวดล้อมก็พลอยลดลงตามไปด้วย
อันที่จริง ผู้บริโภคที่เป็นภาครัฐ มีส่วนแบ่งของการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นกลุ่มก้อนมากที่สุด หากนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างในภาครัฐ มีความพยายามที่จะผลักดันในจุดนี้ มูลค่าของการจัดซื้อจัดจ้างสีเขียวก็จะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
นอกจากการจัดซื้อจัดจ้างในภาครัฐ กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างในภาคเอกชนเอง ก็มีบทบาทสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ยกตัวอย่างธนาคารพาณิชย์ ที่มีระบบจัดซื้อจัดจ้างรวมศูนย์ มีการกำหนดประเภทและคุณสมบัติของวัสดุอุปกรณ์ที่ทุกสาขาของธนาคารต้องใช้เหมือนๆ กัน หากธนาคารใส่เงื่อนไขเรื่องสินค้าสีเขียว หรือการอุดหนุนสินค้าท้องถิ่นที่ช่วยลดการขนส่ง เข้าไว้ในหลักเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้าง ก็สามารถส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาล
เช่น การระบุว่ากระดาษที่ใช้ในทุกสาขาของธนาคาร ต้องมาจากป่าปลูกเท่านั้น มาตรการนี้จะส่งผลต่อทั้งการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืนไปพร้อมกัน ผู้ประกอบการที่ต้องการธนาคารแห่งนี้เป็นลูกค้า ก็ต้องปรับสายผลิตภัณฑ์ใหม่ แม้ช่วงเริ่มต้นอาจมีผู้ประกอบการน้อยรายที่ทำได้ ราคาอาจจะยังคงสูงอยู่ แต่เพราะเป็นโอกาสทางธุรกิจที่มีนัยสำคัญ ผู้เล่นรายใหม่ๆ ก็จะเข้ามาแบ่งส่วนตลาด เกิดการแข่งขัน เพิ่มประสิทธิภาพ และการประหยัดจากขนาดของการจัดซื้อจัดจ้าง ในที่สุดราคาก็จะปรับตัวลดลงตามกลไกตลาด
ผมคิดว่า เพียงแค่มอบหมายให้พนักงานในองค์กร โดยเฉพาะในองค์กรขนาดใหญ่ ช่วยกันคิดเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างสีเขียวในรายการสินค้าและบริการที่องค์กรใช้สอยมากเป็นมูลค่าสูงในสามอันดับแรก อุปสงค์ตัวนี้ สามารถสร้างให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกระทบเป็นลูกโซ่ในสายอุปทาน ทั้งยังแสดงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร ในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ด้วยการยืมมือคู่ค้าให้เป็นผู้ดำเนินการอีกต่างหาก
เข้าทำนอง รักษ์โลก ด้วยมือคนอื่น (แต่ความคิดเรา)...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
ในหลายประเทศ ได้มีการนำแนวคิดการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน มาพัฒนากลไกการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยการใช้นโยบายการจัดซื้อจัดจ้างสีเขียว (Green Procurement) ที่คำนึงถึงตั้งแต่ขั้นตอนการเลือกใช้วัตถุดิบหรือวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมหรือวัสดุรีไซเคิลมาเป็นปัจจัยการผลิต การลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ การผลิต การเลือกใช้พลังงานและเทคโนโลยีที่เหมาะสม การบรรจุหีบห่อ การขนส่ง การลดการปลดปล่อยมลพิษ และการจัดการกับซากผลิตภัณฑ์หลังหมดอายุการใช้งาน เป็นต้น
การจัดซื้อจัดจ้างสีเขียว เป็นการจัดซื้อหรือจัดจ้างผลิตภัณฑ์หรือบริการ โดยคำนึงถึงความเหมาะสมทางด้านคุณภาพ ราคา การส่งมอบสินค้าหรือบริการตามที่กำหนด และการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการผลิตและบริการ โดยพิจารณาตลอดทั้งวัฎจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์
โดยภาคธุรกิจ สามารถจัดทำนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างสีเขียวที่ให้ความสำคัญกับการพิจารณาคัดเลือกคู่ค้าโดยใช้หลักเกณฑ์ด้านสิ่งแวดล้อมเพิ่มเติมจากเดิม รวมถึงการใช้ทะเบียนผู้ค้า (Approved Vendor List) เป็นเครื่องมือในการผลักดันเพิ่มยอดการจัดซื้อจัดจ้างสีเขียวขององค์กร
สำหรับประเทศไทยแล้ว ยังมีความท้าทายอยู่มากในการผลักดันให้เกิดกระแสของการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน ด้วยสังคมส่วนใหญ่ ยังไม่ตระหนักถึงผลกระทบหรือมลพิษที่เกิดจากการผลิตและการบริโภค เห็นได้ชัดว่า ในฝั่งของการผลิต ปัญหาเรื่องการบังคับใช้กฎหมาย การวางผังเมือง การจัดโซนนิ่งระหว่างที่พักอาศัยและสถานประกอบการที่ก่อมลภาวะสูง รวมถึงต้นทุนของการดูแลสิ่งแวดล้อม ที่ไม่จูงใจให้เกิดการผลิตที่ยั่งยืน ซึ่งมีผลสืบเนื่องมาจากขนาดของตลาดที่จำกัด เป็นต้น
ในฝั่งของผู้บริโภคเอง ยังไม่มีกลุ่มที่แสดงตัวเรื่องแบบแผนการใช้ชีวิตที่ใส่ใจต่อสุขภาพและความยั่งยืนอย่างเป็นรูปธรรมชัดเจนเหมือนในบางประเทศ (เช่น ญี่ปุ่น) ที่มีกลุ่มก้อนของผู้บริโภคในรูปแบบที่เรียกว่า LOHAS: Lifestyle of Health and Sustainability ผลักดันให้เกิดตลาดสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและคำนึงถึงสุขภาพ ที่มีอัตราการขยายตัวและการเติบโตที่สูง จนเป็นแรงจูงใจให้ผู้ประกอบการหันมาตอบสนองต่อความต้องการดังกล่าว เมื่อตลาดมีขนาดใหญ่ ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยที่จะต้องรวมค่าใช้จ่ายในการดูแลสิ่งแวดล้อมก็พลอยลดลงตามไปด้วย
อันที่จริง ผู้บริโภคที่เป็นภาครัฐ มีส่วนแบ่งของการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นกลุ่มก้อนมากที่สุด หากนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างในภาครัฐ มีความพยายามที่จะผลักดันในจุดนี้ มูลค่าของการจัดซื้อจัดจ้างสีเขียวก็จะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
นอกจากการจัดซื้อจัดจ้างในภาครัฐ กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างในภาคเอกชนเอง ก็มีบทบาทสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ยกตัวอย่างธนาคารพาณิชย์ ที่มีระบบจัดซื้อจัดจ้างรวมศูนย์ มีการกำหนดประเภทและคุณสมบัติของวัสดุอุปกรณ์ที่ทุกสาขาของธนาคารต้องใช้เหมือนๆ กัน หากธนาคารใส่เงื่อนไขเรื่องสินค้าสีเขียว หรือการอุดหนุนสินค้าท้องถิ่นที่ช่วยลดการขนส่ง เข้าไว้ในหลักเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้าง ก็สามารถส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาล
เช่น การระบุว่ากระดาษที่ใช้ในทุกสาขาของธนาคาร ต้องมาจากป่าปลูกเท่านั้น มาตรการนี้จะส่งผลต่อทั้งการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืนไปพร้อมกัน ผู้ประกอบการที่ต้องการธนาคารแห่งนี้เป็นลูกค้า ก็ต้องปรับสายผลิตภัณฑ์ใหม่ แม้ช่วงเริ่มต้นอาจมีผู้ประกอบการน้อยรายที่ทำได้ ราคาอาจจะยังคงสูงอยู่ แต่เพราะเป็นโอกาสทางธุรกิจที่มีนัยสำคัญ ผู้เล่นรายใหม่ๆ ก็จะเข้ามาแบ่งส่วนตลาด เกิดการแข่งขัน เพิ่มประสิทธิภาพ และการประหยัดจากขนาดของการจัดซื้อจัดจ้าง ในที่สุดราคาก็จะปรับตัวลดลงตามกลไกตลาด
ผมคิดว่า เพียงแค่มอบหมายให้พนักงานในองค์กร โดยเฉพาะในองค์กรขนาดใหญ่ ช่วยกันคิดเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างสีเขียวในรายการสินค้าและบริการที่องค์กรใช้สอยมากเป็นมูลค่าสูงในสามอันดับแรก อุปสงค์ตัวนี้ สามารถสร้างให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกระทบเป็นลูกโซ่ในสายอุปทาน ทั้งยังแสดงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร ในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ด้วยการยืมมือคู่ค้าให้เป็นผู้ดำเนินการอีกต่างหาก
เข้าทำนอง รักษ์โลก ด้วยมือคนอื่น (แต่ความคิดเรา)...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
Thursday, July 31, 2014
รางวัลรายงานความยั่งยืน ปีที่ 2
วานนี้ (30 กรกฎาคม) สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย โดย CSR Club และสถาบันไทยพัฒน์ ได้จัดแถลงข่าวโครงการประกาศรางวัลรายงานความยั่งยืน (Sustainability Report Award) เป็นปีที่สอง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้บริษัทจดทะเบียนที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์และบริษัททั่วไปดำเนินการเผยแพร่รายงานเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคมในรูปแบบของรายงานความยั่งยืน โดยคำนึงถึงการผนวกเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์องค์กร
ดร.มาการิม วิบิโซโน ผู้อำนวยการมูลนิธิอาเซียน ซึ่งได้ให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธีมอบรางวัลรายงานความยั่งยืนเมื่อปีที่แล้ว ได้กล่าวไว้ว่า โครงการประกาศรางวัลรายงานความยั่งยืนที่ประเทศไทยได้ริเริ่มขึ้นนี้ มีความสำคัญและเป็นประโยชน์ต่อภาคธุรกิจในการใช้เป็นเครื่องมือสนับสนุนการผนวกเรื่อง CSR เข้าไว้ในวาระการดำเนินงานขององค์กร ด้วยการใช้รายงานความยั่งยืนขับเคลื่อนการดำเนินงาน ทั้งนี้ อยากให้ประเทศไทยขยายการดำเนินโครงการให้ครอบคลุมการเข้าร่วมของภาคธุรกิจในประเทศสมาชิกอื่นๆ เพื่อสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนในเชิงเศรษฐกิจและสังคมในระดับอาเซียนด้วย
ทำให้โครงการประกาศรางวัลรายงานความยั่งยืนในปี พ.ศ.2557 นี้ จะมีการเชิญชวนประเทศในกลุ่มอาเซียนโดยเริ่มจากสมาชิกของ ASEAN CSR Network ซึ่งประกอบด้วย ประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และเวียดนาม ให้เข้าร่วมส่งรายงานความยั่งยืนเพื่อการพิจารณารางวัลด้วย
สำหรับภาคธุรกิจในประเทศไทย ทั้งบริษัทจดทะเบียนและบริษัทที่อยู่นอกตลาดหลักทรัพย์ รวมทั้งวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งได้มีการจัดทำรายงานความยั่งยืน และสนใจจะเข้าร่วมโครงการ สามารถนำส่งเอกสารรายงานความยั่งยืน (CSR Report/SD report) ที่เผยแพร่ต่อสาธารณชน ประกอบด้วย ข้อมูลการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งจัดทำไว้แยกเล่มหรือรวมอยู่กับรายงานประจำปี จำนวน 7 ฉบับ มายังสมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนถึงวันที่ 5 กันยายน 2557
คณะกรรมการพิจารณาตัดสินรางวัล ประกอบด้วย คุณโสภาวดี เลิศมนัสชัย อดีตเลขาธิการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ดร.สมจินต์ ศรไพศาล กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการลงทุนทหารไทย รศ.ทองทิพภา วิริยะพันธุ์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย รศ.ดร.กุลทิพย์ ศาสตระรุจิ คณะนิเทศศาสตร์ฯ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และผศ.ดร.สมพร กมลศิริพิชัยพร ผู้อำนวยการ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย สำนักพัฒนาบัณฑิตศึกษาและวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สำหรับเกณฑ์การตัดสินรางวัล จะพิจารณาจากข้อมูลที่เผยแพร่ในรายงานความยั่งยืนใน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านความสมบูรณ์ (Completeness) ด้านความเชื่อถือได้ (Credibility) ด้านการสื่อสารและนำเสนอ (Communication) โดยจะไม่มีการใช้แบบสำรวจข้อมูลหรือแบบสอบถามใด ๆ เพิ่มเติม
บริษัทที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานมีสิทธิ์ที่จะได้รับรางวัลรายงานความยั่งยืน ระดับดีเด่น (ไม่จำกัดจำนวนรางวัล) ส่วนรางวัลรายงานความยั่งยืน ระดับดีเยี่ยม และระดับยอดเยี่ยม จะมีระดับละ 1 รางวัล โดยรางวัลดังกล่าวจะมีการประกาศผลในงาน CSR Thailand 2014 ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 11 และ 12 พฤศจิกายน 2557 และจะมีพิธีมอบรางวัลในวันที่ 12 พฤศจิกายน 2557
ทั้งนี้ โครงการประกาศรางวัลรายงานความยั่งยืนในปีแรก มีองค์กรที่สนใจส่งรายงานเข้าร่วมจำนวน 48 แห่ง เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาด SET จำนวน 43 แห่ง บริษัทจดทะเบียนในตลาด mai จำนวน 2 แห่ง และบริษัททั่วไปที่มิได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ จำนวน 3 แห่ง แบ่งเป็นรายงานความยั่งยืน/CSR ร้อยละ 77.1 และรายงานประจำปี ร้อยละ 22.9 ของจำนวนรายงานทั้งหมดที่ส่งเข้าร่วมโครงการ
โดยบริษัทที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานและได้รับรางวัลในปีแรก มีทั้งสิ้น 18 แห่ง บริษัทที่ได้รับรางวัลรายงานความยั่งยืน ระดับยอดเยี่ยม ได้แก่ บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย และระดับดีเยี่ยม ได้แก่ บมจ.บางจากปิโตรเลียม ส่วนรางวัลดีเด่นจำนวน 16 แห่ง ประกอบด้วย บมจ.ธนาคารกสิกรไทย การทางพิเศษแห่งประเทศไทย บมจ.การบินไทย บมจ.เจริญโภคภัณฑ์อาหาร บมจ.ซินเน็ค (ประเทศไทย) บมจ.เซ็นทรัลพัฒนา บมจ.ไทยออยล์ บมจ.บ้านปู บมจ.ปตท. บมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม บมจ.ผลิตไฟฟ้า บมจ.ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง บมจ.พฤกษา เรียลเอสเตท บมจ.พีทีที โกลบอล เคมิคอล บมจ.ยูนิค ไมนิ่ง เซอร์วิสเซส และ บมจ.ไออาร์พีซี...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
ดร.มาการิม วิบิโซโน ผู้อำนวยการมูลนิธิอาเซียน ซึ่งได้ให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธีมอบรางวัลรายงานความยั่งยืนเมื่อปีที่แล้ว ได้กล่าวไว้ว่า โครงการประกาศรางวัลรายงานความยั่งยืนที่ประเทศไทยได้ริเริ่มขึ้นนี้ มีความสำคัญและเป็นประโยชน์ต่อภาคธุรกิจในการใช้เป็นเครื่องมือสนับสนุนการผนวกเรื่อง CSR เข้าไว้ในวาระการดำเนินงานขององค์กร ด้วยการใช้รายงานความยั่งยืนขับเคลื่อนการดำเนินงาน ทั้งนี้ อยากให้ประเทศไทยขยายการดำเนินโครงการให้ครอบคลุมการเข้าร่วมของภาคธุรกิจในประเทศสมาชิกอื่นๆ เพื่อสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนในเชิงเศรษฐกิจและสังคมในระดับอาเซียนด้วย
ทำให้โครงการประกาศรางวัลรายงานความยั่งยืนในปี พ.ศ.2557 นี้ จะมีการเชิญชวนประเทศในกลุ่มอาเซียนโดยเริ่มจากสมาชิกของ ASEAN CSR Network ซึ่งประกอบด้วย ประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และเวียดนาม ให้เข้าร่วมส่งรายงานความยั่งยืนเพื่อการพิจารณารางวัลด้วย
สำหรับภาคธุรกิจในประเทศไทย ทั้งบริษัทจดทะเบียนและบริษัทที่อยู่นอกตลาดหลักทรัพย์ รวมทั้งวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งได้มีการจัดทำรายงานความยั่งยืน และสนใจจะเข้าร่วมโครงการ สามารถนำส่งเอกสารรายงานความยั่งยืน (CSR Report/SD report) ที่เผยแพร่ต่อสาธารณชน ประกอบด้วย ข้อมูลการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งจัดทำไว้แยกเล่มหรือรวมอยู่กับรายงานประจำปี จำนวน 7 ฉบับ มายังสมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนถึงวันที่ 5 กันยายน 2557
คณะกรรมการพิจารณาตัดสินรางวัล ประกอบด้วย คุณโสภาวดี เลิศมนัสชัย อดีตเลขาธิการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ดร.สมจินต์ ศรไพศาล กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการลงทุนทหารไทย รศ.ทองทิพภา วิริยะพันธุ์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย รศ.ดร.กุลทิพย์ ศาสตระรุจิ คณะนิเทศศาสตร์ฯ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และผศ.ดร.สมพร กมลศิริพิชัยพร ผู้อำนวยการ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย สำนักพัฒนาบัณฑิตศึกษาและวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สำหรับเกณฑ์การตัดสินรางวัล จะพิจารณาจากข้อมูลที่เผยแพร่ในรายงานความยั่งยืนใน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านความสมบูรณ์ (Completeness) ด้านความเชื่อถือได้ (Credibility) ด้านการสื่อสารและนำเสนอ (Communication) โดยจะไม่มีการใช้แบบสำรวจข้อมูลหรือแบบสอบถามใด ๆ เพิ่มเติม
บริษัทที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานมีสิทธิ์ที่จะได้รับรางวัลรายงานความยั่งยืน ระดับดีเด่น (ไม่จำกัดจำนวนรางวัล) ส่วนรางวัลรายงานความยั่งยืน ระดับดีเยี่ยม และระดับยอดเยี่ยม จะมีระดับละ 1 รางวัล โดยรางวัลดังกล่าวจะมีการประกาศผลในงาน CSR Thailand 2014 ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 11 และ 12 พฤศจิกายน 2557 และจะมีพิธีมอบรางวัลในวันที่ 12 พฤศจิกายน 2557
ทั้งนี้ โครงการประกาศรางวัลรายงานความยั่งยืนในปีแรก มีองค์กรที่สนใจส่งรายงานเข้าร่วมจำนวน 48 แห่ง เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาด SET จำนวน 43 แห่ง บริษัทจดทะเบียนในตลาด mai จำนวน 2 แห่ง และบริษัททั่วไปที่มิได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ จำนวน 3 แห่ง แบ่งเป็นรายงานความยั่งยืน/CSR ร้อยละ 77.1 และรายงานประจำปี ร้อยละ 22.9 ของจำนวนรายงานทั้งหมดที่ส่งเข้าร่วมโครงการ
โดยบริษัทที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานและได้รับรางวัลในปีแรก มีทั้งสิ้น 18 แห่ง บริษัทที่ได้รับรางวัลรายงานความยั่งยืน ระดับยอดเยี่ยม ได้แก่ บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย และระดับดีเยี่ยม ได้แก่ บมจ.บางจากปิโตรเลียม ส่วนรางวัลดีเด่นจำนวน 16 แห่ง ประกอบด้วย บมจ.ธนาคารกสิกรไทย การทางพิเศษแห่งประเทศไทย บมจ.การบินไทย บมจ.เจริญโภคภัณฑ์อาหาร บมจ.ซินเน็ค (ประเทศไทย) บมจ.เซ็นทรัลพัฒนา บมจ.ไทยออยล์ บมจ.บ้านปู บมจ.ปตท. บมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม บมจ.ผลิตไฟฟ้า บมจ.ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง บมจ.พฤกษา เรียลเอสเตท บมจ.พีทีที โกลบอล เคมิคอล บมจ.ยูนิค ไมนิ่ง เซอร์วิสเซส และ บมจ.ไออาร์พีซี...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
Thursday, July 24, 2014
เปิดมุมมองการลงทุนแบบ SRI
คำว่า Socially Responsible Investing หรือ SRI ไม่ใช่คำใหม่ในแวดวงของผู้ลงทุน เป็นคำที่ใช้อธิบายถึงรูปแบบของการลงทุน ที่นอกเหนือจากการหวังผลตอบแทนการลงทุนจากหน่วยลงทุนหรือกิจการที่เข้าลงทุนแล้ว ยังคำนึงถึงลักษณะการดำเนินงานของกิจการที่เข้าลงทุน ในส่วนของผลกระทบที่เกิดขึ้นแก่สังคมและสิ่งแวดล้อมด้วย
การลงทุนในลักษณะดังกล่าวในยุคแรก จะคำนึงถึงการไม่เข้าลงทุนในกิจการที่ตัวสินค้าและบริการก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคมหรือขัดกับหลักศีลธรรมจรรยา (Negative Screening) เช่น กิจการที่เป็นอบายมุขต่างๆ การค้าอาวุธ ยาพิษ การค้ามนุษย์ การค้าสัตว์เพื่อฆ่า ฯลฯ
ยุคต่อมา มีการใช้เกณฑ์คัดเลือกกิจการที่ตัวสินค้าและบริการสร้างให้เกิดผลดีต่อสังคมหรือส่งเสริมหลักศีลธรรมจรรยา (Positive Screening) เช่น กิจการที่มีธรรมาภิบาลที่ดี เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม กิจการพลังงานทดแทน เกษตรอินทรีย์ ฯลฯ
การพัฒนาเกณฑ์การลงทุนในกรอบของ SRI ปัจจุบัน ใช้ปัจจัยการพิจารณาที่เรียกว่า ESG ซึ่งย่อมาจาก Environmental-Social-Governance หรือ สิ่งแวดล้อม-สังคม-ธรรมาภิบาล โดยมีประเด็นที่เป็นรายละเอียดภายใต้ปัจจัยหลัก 3 เรื่องนี้แยกย่อยออกไปตามความสนใจของกลุ่มผู้ลงทุน ซึ่งมีความแตกต่างกันจากเงื่อนไขในการลงทุนทั้งในแง่ของระยะเวลาการลงทุน อุตสาหกรรมที่เข้าลงทุน ประเทศที่กิจการนั้นตั้งอยู่ เป็นต้น
US SIF หน่วยงานในสหรัฐอเมริกาซึ่งทำหน้าที่ส่งเสริมบทบาทการลงทุนโดยใช้เกณฑ์ ESG ในการสร้างผลตอบแทนทางการเงินที่น่าพอใจในระยะยาว พร้อมๆ กับการสร้างผลกระทบทางสังคมในเชิงบวก รายงานว่า ปัจจุบันเม็ดเงินลงทุน SRI ในสหรัฐอเมริกา มีจำนวนราว 3.74 ล้านล้านเหรียญ หรือคิดเป็นร้อยละ 11.3 ของเม็ดเงินลงทุนทั้งหมดซึ่งมีอยู่ประมาณ 33.3 ล้านล้านเหรียญ หรือเทียบได้ว่า ในทุกๆ 9 เหรียญเงินลงทุน จะมี 1 เหรียญที่ลงทุนในแบบ SRI
จากการที่ได้คลุกคลีกับภาคเอกชนในการขับเคลื่อน CSR ผมได้รับคำถามในทำนองว่า แล้วจากนี้ไป องค์กรธุรกิจจะต้องใช้ ESG แทนคำว่า CSR หรือไม่
คำว่า ESG เป็นภาษาที่กลุ่มผู้ลงทุนใช้ เวลาที่ต้องการเลือกกิจการที่จะเข้าไปลงทุนว่า มีการกำกับดูแลกิจการที่ดี มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอยู่ในเกณฑ์ที่สามารถลงทุนได้หรือไม่ ESG จึงเป็นคำที่ใช้สื่อระหว่างผู้ลงทุนกับบริษัท ส่วนคำว่า CSR เป็นภาษาที่กิจการใช้แสดงถึงการที่บริษัทมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (รวมถึงการกำกับดูแลกิจการที่ดี) ผ่านทางกระบวนการดำเนินงานต่างๆ ของบริษัท CSR จึงเป็นคำที่ใช้สื่อระหว่างบริษัทกับผู้มีส่วนได้เสีย ซึ่งครอบคลุมถึงผู้ที่เกี่ยวข้อง ไม่เฉพาะผู้ลงทุน
ในแง่ขององค์กรที่มีการขับเคลื่อน CSR-in-process หรือมีความรับผิดชอบต่อสังคมในกระบวนการหลักทางธุรกิจที่ดีอยู่แล้ว ท่านไม่มีความจำเป็นต้องดำเนินการอะไรใหม่ หรือทำเพิ่มเติมจากที่เป็นอยู่ เพราะสิ่งที่ดำเนินการอยู่ เข้าเกณฑ์ ESG ที่ผู้ลงทุนใช้พิจารณาเข้าลงทุนในบริษัทอยู่แล้ว ส่วนจะลงทุนมากหรือน้อย ก็ขึ้นอยู่กับที่ผู้ลงทุนจะ Benchmark การดำเนินงานตามเกณฑ์ ESG ขององค์กรท่าน เทียบกับองค์กรอื่นที่อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายที่จะเข้าลงทุน
ในแง่ขององค์กรที่มีการขับเคลื่อน CSR-after-process ในลักษณะกิจกรรมเพื่อสังคมซึ่งแยกต่างหากจากกระบวนการหลักทางธุรกิจที่ดี แต่การขับเคลื่อนเรื่อง CSR-in-process ยังมีไม่เด่นชัดนัก ท่านอาจจะต้องดำเนินการปรับปรุงพัฒนาในส่วนนี้เพิ่มเติม เพื่อให้เข้าเกณฑ์ ESG เพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้ลงทุนที่ใช้เกณฑ์ ESG มักจะให้ความสำคัญกับ CSR-in-process มากกว่า CSR-after-process ด้วยจากปัจจัยพิจารณาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องความเสี่ยงและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับองค์กร และกับผลประกอบการขององค์กร
กระแสของการลงทุน SRI โดยใช้เรื่อง ESG มาเป็นเครื่องมือพิจารณาตัดสินใจ จึงยิ่งไปขับเน้นความสำคัญของ CSR-in-process ที่กิจการควรต้องดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมและต้องทำให้ได้ผลครับ...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
การลงทุนในลักษณะดังกล่าวในยุคแรก จะคำนึงถึงการไม่เข้าลงทุนในกิจการที่ตัวสินค้าและบริการก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคมหรือขัดกับหลักศีลธรรมจรรยา (Negative Screening) เช่น กิจการที่เป็นอบายมุขต่างๆ การค้าอาวุธ ยาพิษ การค้ามนุษย์ การค้าสัตว์เพื่อฆ่า ฯลฯ
ยุคต่อมา มีการใช้เกณฑ์คัดเลือกกิจการที่ตัวสินค้าและบริการสร้างให้เกิดผลดีต่อสังคมหรือส่งเสริมหลักศีลธรรมจรรยา (Positive Screening) เช่น กิจการที่มีธรรมาภิบาลที่ดี เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม กิจการพลังงานทดแทน เกษตรอินทรีย์ ฯลฯ
การพัฒนาเกณฑ์การลงทุนในกรอบของ SRI ปัจจุบัน ใช้ปัจจัยการพิจารณาที่เรียกว่า ESG ซึ่งย่อมาจาก Environmental-Social-Governance หรือ สิ่งแวดล้อม-สังคม-ธรรมาภิบาล โดยมีประเด็นที่เป็นรายละเอียดภายใต้ปัจจัยหลัก 3 เรื่องนี้แยกย่อยออกไปตามความสนใจของกลุ่มผู้ลงทุน ซึ่งมีความแตกต่างกันจากเงื่อนไขในการลงทุนทั้งในแง่ของระยะเวลาการลงทุน อุตสาหกรรมที่เข้าลงทุน ประเทศที่กิจการนั้นตั้งอยู่ เป็นต้น
US SIF หน่วยงานในสหรัฐอเมริกาซึ่งทำหน้าที่ส่งเสริมบทบาทการลงทุนโดยใช้เกณฑ์ ESG ในการสร้างผลตอบแทนทางการเงินที่น่าพอใจในระยะยาว พร้อมๆ กับการสร้างผลกระทบทางสังคมในเชิงบวก รายงานว่า ปัจจุบันเม็ดเงินลงทุน SRI ในสหรัฐอเมริกา มีจำนวนราว 3.74 ล้านล้านเหรียญ หรือคิดเป็นร้อยละ 11.3 ของเม็ดเงินลงทุนทั้งหมดซึ่งมีอยู่ประมาณ 33.3 ล้านล้านเหรียญ หรือเทียบได้ว่า ในทุกๆ 9 เหรียญเงินลงทุน จะมี 1 เหรียญที่ลงทุนในแบบ SRI
จากการที่ได้คลุกคลีกับภาคเอกชนในการขับเคลื่อน CSR ผมได้รับคำถามในทำนองว่า แล้วจากนี้ไป องค์กรธุรกิจจะต้องใช้ ESG แทนคำว่า CSR หรือไม่
คำว่า ESG เป็นภาษาที่กลุ่มผู้ลงทุนใช้ เวลาที่ต้องการเลือกกิจการที่จะเข้าไปลงทุนว่า มีการกำกับดูแลกิจการที่ดี มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอยู่ในเกณฑ์ที่สามารถลงทุนได้หรือไม่ ESG จึงเป็นคำที่ใช้สื่อระหว่างผู้ลงทุนกับบริษัท ส่วนคำว่า CSR เป็นภาษาที่กิจการใช้แสดงถึงการที่บริษัทมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (รวมถึงการกำกับดูแลกิจการที่ดี) ผ่านทางกระบวนการดำเนินงานต่างๆ ของบริษัท CSR จึงเป็นคำที่ใช้สื่อระหว่างบริษัทกับผู้มีส่วนได้เสีย ซึ่งครอบคลุมถึงผู้ที่เกี่ยวข้อง ไม่เฉพาะผู้ลงทุน
ในแง่ขององค์กรที่มีการขับเคลื่อน CSR-in-process หรือมีความรับผิดชอบต่อสังคมในกระบวนการหลักทางธุรกิจที่ดีอยู่แล้ว ท่านไม่มีความจำเป็นต้องดำเนินการอะไรใหม่ หรือทำเพิ่มเติมจากที่เป็นอยู่ เพราะสิ่งที่ดำเนินการอยู่ เข้าเกณฑ์ ESG ที่ผู้ลงทุนใช้พิจารณาเข้าลงทุนในบริษัทอยู่แล้ว ส่วนจะลงทุนมากหรือน้อย ก็ขึ้นอยู่กับที่ผู้ลงทุนจะ Benchmark การดำเนินงานตามเกณฑ์ ESG ขององค์กรท่าน เทียบกับองค์กรอื่นที่อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายที่จะเข้าลงทุน
ในแง่ขององค์กรที่มีการขับเคลื่อน CSR-after-process ในลักษณะกิจกรรมเพื่อสังคมซึ่งแยกต่างหากจากกระบวนการหลักทางธุรกิจที่ดี แต่การขับเคลื่อนเรื่อง CSR-in-process ยังมีไม่เด่นชัดนัก ท่านอาจจะต้องดำเนินการปรับปรุงพัฒนาในส่วนนี้เพิ่มเติม เพื่อให้เข้าเกณฑ์ ESG เพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้ลงทุนที่ใช้เกณฑ์ ESG มักจะให้ความสำคัญกับ CSR-in-process มากกว่า CSR-after-process ด้วยจากปัจจัยพิจารณาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องความเสี่ยงและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับองค์กร และกับผลประกอบการขององค์กร
กระแสของการลงทุน SRI โดยใช้เรื่อง ESG มาเป็นเครื่องมือพิจารณาตัดสินใจ จึงยิ่งไปขับเน้นความสำคัญของ CSR-in-process ที่กิจการควรต้องดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมและต้องทำให้ได้ผลครับ...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
Thursday, July 17, 2014
เริ่มจากเสียใจ..ตามด้วยแก้ไข
จากกรณีที่มีการเผยแพร่ข่าวโดยอ้างถึงเอกสารการทำงานของหน่วยงานประชาสัมพันธ์ของบริษัทที่ดำเนินธุรกิจด้านผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมอาหารรายใหญ่ บนสื่อออนไลน์ที่นำเสนอข่าวในเชิงสืบสวน ว่ามีการซื้อสื่อ มีการจ่ายเงินรายเดือนแก่สื่อมวลชนอาวุโส การฝากข่าว แก้ไขข่าว หรือการอ้างชื่อนักวิชาการเพื่อความน่าเชื่อถือ โดยในเนื้อข่าวยังปรากฏชื่อของสื่อมวลชน และข้อมูลส่วนตัวของผู้สื่อข่าวที่เกี่ยวข้อง
จากการชี้แจงของบริษัทต่อกรณีดังกล่าว นับจนถึงเวลาที่เขียนบทความนี้ สรุปประเด็นได้ว่า บริษัทมิได้ปฏิเสธว่า มิได้มีกรณีดังกล่าวเกิดขึ้น แต่เป็นการปฏิบัติต่อสื่อมวลชนและการดำเนินการเรื่องค่าใช้จ่ายต่างๆ เป็นไปอย่างถูกต้องตามงบประมาณที่นำเสนอไว้กับบริษัทและสามารถตรวจสอบได้ โดยหน่วยงานประชาสัมพันธ์ของบริษัทยังต้องจัดทำงบประมาณส่วนหนึ่งเพื่อใช้ในการสนับสนุนกิจกรรมของสื่อมวลชนในกรณีพิเศษ เช่น การจัดกอล์ฟการกุศลเพื่อระดมทุนไปใช้ในกิจกรรมพิเศษของสื่อนั้นๆ หรือ การจัดงานสัมมนาต่าง ๆ เป็นต้น
เหล่านี้ถือเป็นงบปกติที่องค์กรขนาดใหญ่มีการจัดสรรงบประมาณไว้รองรับ และจำเป็นต้องระบุชัดเจนเป็นงบพิเศษเพื่อสนับสนุนสื่อมวลชน
ขณะที่ฟากขององค์กรวิชาชีพสื่อ กล่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า ได้ส่งผลกระทบต่อความเชื่อถือในองค์กรสื่อและผู้ประกอบวิชาชีพสื่อ โดยเฉพาะประเด็นที่เกี่ยวกับงบพิเศษเพื่อสนับสนุนสื่อมวลชน ซึ่งหากเป็นการให้ในลักษณะต่างตอบแทน จะขัดต่อหลักการแห่งวิชาชีพ ที่สื่อมวลชนต้องละเว้นการรับอามิสสินจ้างอันมีค่า หรือผลประโยชน์ใดๆ เพื่อให้กระทำการหรือไม่กระทำการใด อันจะขัดต่อการปฎิบัติหน้าที่เพื่อให้ประชาชนได้รับรู้ ข้อมูลข่าวสารอย่างถูกต้องรอบด้าน
ผลพวงจากกรณีนี้ ได้ทำให้สมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ ออกมาแถลงแสดงจุดยืนถึงการปฏิบัติหน้าที่โดยยึดจรรยาบรรณสื่อมวลชน ระบุว่าการรับเงินสนับสนุนจากเอกชนเพื่อใช้พัฒนาสื่อ และยืนยันการดำเนินการว่าเป็นไปอย่างโปร่งใส พร้อมให้ตรวจสอบได้
นอกจากนี้ เครือโพสต์พับลิชชิง โดยบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ 3 ฉบับ ประกอบด้วย บางกอกโพสต์ โพสต์ทูเดย์ และหนังสือพิมพ์ M2F ได้ออกมาประกาศงดเสนอข่าว-ร่วมกิจกรรมกับบริษัทดังกล่าวชั่วคราว พร้อมสนับสนุนการตรวจสอบกรณีซื้อสื่อ หลังปรากฎรายชื่อผู้บริหารระดับสูงอยู่ในเอกสารด้วย
เรื่องนี้ได้กลายเป็น “เผือกร้อน” ในวงการสื่อมวลชน กระทบกระเทือนถึงบทบาทที่เป็นความสัมพันธ์ระหว่างภาคเอกชนกับสื่อมวลชน รวมไปถึงเรื่องความรับผิดชอบขององค์กรธุรกิจ หรือ CSR ที่มีต่อสังคม
ปฏิเสธไม่ได้ว่า ช่องห่างระหว่างหลักการแห่งวิชาชีพกับการปฏิบัติที่เกิดขึ้นจริงนั้น มีอยู่จริง จะมากหรือน้อยแตกต่างกันไปตามแต่ละวงการวิชาชีพ และจะกลายเป็นประเด็นก็ต่อเมื่อ กรณีดังกล่าวถูกเปิดเผยแก่สาธารณชน หรือก่อให้เกิดผลกระทบร้ายแรงต่อส่วนรวม จนไม่อาจเพิกเฉยได้
ทั้งนี้ การดำเนินการต่อกรณีที่เกิดขึ้น มี 2 แนวทางที่ต้องเลือกระหว่าง การยอมรับว่ามีช่องห่างนั้น กับการไม่ยอมรับว่ามีช่องห่างดังกล่าว ซึ่งจะทำให้วิธีการที่ใช้ในการจัดการมีความแตกต่างกัน
ในเบื้องต้น เนื่องจากเอกสารที่หลุดออกมานั้น (ไม่ว่าจะเป็นเรื่องจริงหรือถูกตัดต่อก็ตาม) ได้ปรากฏข้อความที่แสดงถึงสถานะการทำงาน สภาพที่พักอาศัย ทัศนคติ วิธีการทำงาน และการใช้ชีวิต ของสื่อมวลชนที่ถูกเปิดเผยชื่อ ซึ่งเข้าข่ายการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล ผู้ที่ดำเนินการเผยแพร่เอกสารดังกล่าว ควรต้องออกมา “ขอโทษ” สื่อมวลชนที่ได้รับความเสียหาย และบริษัทที่เป็นต้นทางของเอกสารชิ้นที่ถูกนำมาเผยแพร่ ควรต้องออกมาแสดงความ “เสียใจ” ต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องรอให้ผู้เสียหายทักท้วงหรือดำเนินการฟ้องร้องเพื่อปกป้องสิทธิ์ของตนเอง
สำหรับวิธีการที่บริษัทสามารถใช้ในการจัดการต่อกรณีดังกล่าวตามแนวทางแรกที่ยอมรับว่ามีช่องห่างอยู่จริง เริ่มจากการตรวจสอบสถานะของกิจการ (Due Diligence) ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าวภายในหน่วยงาน การจัดทำรายละเอียดวิธีดำเนินการในการรับมือกับกรณีที่อาจเกิดขึ้นอีกในอนาคต การสร้างการรับรู้และการให้ความรู้แก่บุคลากรเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันต่อการปฏิบัติงานตามหลักการแห่งวิชาชีพ การกำหนดมาตรการและบทลงโทษในกรณีที่มีการละเมิดหรือฝ่าฝืน การติดตามและปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่องด้วยการทบทวนและการสอบทานความครบถ้วนเพียงพอของกระบวนการในการกำกับดูแลการปฏิบัติงานเพื่อให้เป็นไปตามหลักการแห่งวิชาชีพ หรืออาจพิจารณาใช้หน่วยงานภายนอกเป็นผู้ให้ความเชื่อมั่นต่อความเพียงพอของกระบวนการ (External Assurance)
ในส่วนที่เกี่ยวกับการดำเนินการต่อผู้มีส่วนได้เสียภายนอกตามแนวทางนี้ บริษัทต้องนำกลไก CSR มาใช้ในการจัดการและแก้ไขเยียวยา เพื่อเป็นการแสดงความรับผิดชอบขององค์กรที่มีต่อผลกระทบและความเสียหายที่ได้เกิดขึ้นแล้วจากกรณีดังกล่าว ไม่ใช่การใช้ PR มาเป็นเครื่องมือดำเนินการหลัก แม้เหตุการณ์นี้จะเกิดกับหน่วยงานประชาสัมพันธ์ของบริษัทก็ตาม
แต่หากบริษัทเลือกที่จะดำเนินการตามแนวทางที่ไม่ยอมรับว่ามีช่องห่างดังกล่าว วิธีการที่ใช้ในการจัดการก็จะแตกต่างไป และอาจจะติดตามเป็นกรณีศึกษาได้จากนี้ไป
เดิมพันระหว่างเครดิตที่หน่วยงาน CSR ได้พยายามสร้างและสั่งสมไว้ กับผลกระทบที่กัดกร่อนภาพลักษณ์องค์กร กำลังถูกท้าทายด้วยกรณีที่เกิดขึ้นดังกล่าว รวมทั้งยังเป็นบทพิสูจน์เรื่อง CSR ขององค์กรและกับบุคลากรที่รับผิดชอบงาน CSR อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
จากการชี้แจงของบริษัทต่อกรณีดังกล่าว นับจนถึงเวลาที่เขียนบทความนี้ สรุปประเด็นได้ว่า บริษัทมิได้ปฏิเสธว่า มิได้มีกรณีดังกล่าวเกิดขึ้น แต่เป็นการปฏิบัติต่อสื่อมวลชนและการดำเนินการเรื่องค่าใช้จ่ายต่างๆ เป็นไปอย่างถูกต้องตามงบประมาณที่นำเสนอไว้กับบริษัทและสามารถตรวจสอบได้ โดยหน่วยงานประชาสัมพันธ์ของบริษัทยังต้องจัดทำงบประมาณส่วนหนึ่งเพื่อใช้ในการสนับสนุนกิจกรรมของสื่อมวลชนในกรณีพิเศษ เช่น การจัดกอล์ฟการกุศลเพื่อระดมทุนไปใช้ในกิจกรรมพิเศษของสื่อนั้นๆ หรือ การจัดงานสัมมนาต่าง ๆ เป็นต้น
เหล่านี้ถือเป็นงบปกติที่องค์กรขนาดใหญ่มีการจัดสรรงบประมาณไว้รองรับ และจำเป็นต้องระบุชัดเจนเป็นงบพิเศษเพื่อสนับสนุนสื่อมวลชน
ขณะที่ฟากขององค์กรวิชาชีพสื่อ กล่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า ได้ส่งผลกระทบต่อความเชื่อถือในองค์กรสื่อและผู้ประกอบวิชาชีพสื่อ โดยเฉพาะประเด็นที่เกี่ยวกับงบพิเศษเพื่อสนับสนุนสื่อมวลชน ซึ่งหากเป็นการให้ในลักษณะต่างตอบแทน จะขัดต่อหลักการแห่งวิชาชีพ ที่สื่อมวลชนต้องละเว้นการรับอามิสสินจ้างอันมีค่า หรือผลประโยชน์ใดๆ เพื่อให้กระทำการหรือไม่กระทำการใด อันจะขัดต่อการปฎิบัติหน้าที่เพื่อให้ประชาชนได้รับรู้ ข้อมูลข่าวสารอย่างถูกต้องรอบด้าน
ผลพวงจากกรณีนี้ ได้ทำให้สมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ ออกมาแถลงแสดงจุดยืนถึงการปฏิบัติหน้าที่โดยยึดจรรยาบรรณสื่อมวลชน ระบุว่าการรับเงินสนับสนุนจากเอกชนเพื่อใช้พัฒนาสื่อ และยืนยันการดำเนินการว่าเป็นไปอย่างโปร่งใส พร้อมให้ตรวจสอบได้
นอกจากนี้ เครือโพสต์พับลิชชิง โดยบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ 3 ฉบับ ประกอบด้วย บางกอกโพสต์ โพสต์ทูเดย์ และหนังสือพิมพ์ M2F ได้ออกมาประกาศงดเสนอข่าว-ร่วมกิจกรรมกับบริษัทดังกล่าวชั่วคราว พร้อมสนับสนุนการตรวจสอบกรณีซื้อสื่อ หลังปรากฎรายชื่อผู้บริหารระดับสูงอยู่ในเอกสารด้วย
เรื่องนี้ได้กลายเป็น “เผือกร้อน” ในวงการสื่อมวลชน กระทบกระเทือนถึงบทบาทที่เป็นความสัมพันธ์ระหว่างภาคเอกชนกับสื่อมวลชน รวมไปถึงเรื่องความรับผิดชอบขององค์กรธุรกิจ หรือ CSR ที่มีต่อสังคม
ปฏิเสธไม่ได้ว่า ช่องห่างระหว่างหลักการแห่งวิชาชีพกับการปฏิบัติที่เกิดขึ้นจริงนั้น มีอยู่จริง จะมากหรือน้อยแตกต่างกันไปตามแต่ละวงการวิชาชีพ และจะกลายเป็นประเด็นก็ต่อเมื่อ กรณีดังกล่าวถูกเปิดเผยแก่สาธารณชน หรือก่อให้เกิดผลกระทบร้ายแรงต่อส่วนรวม จนไม่อาจเพิกเฉยได้
ทั้งนี้ การดำเนินการต่อกรณีที่เกิดขึ้น มี 2 แนวทางที่ต้องเลือกระหว่าง การยอมรับว่ามีช่องห่างนั้น กับการไม่ยอมรับว่ามีช่องห่างดังกล่าว ซึ่งจะทำให้วิธีการที่ใช้ในการจัดการมีความแตกต่างกัน
ในเบื้องต้น เนื่องจากเอกสารที่หลุดออกมานั้น (ไม่ว่าจะเป็นเรื่องจริงหรือถูกตัดต่อก็ตาม) ได้ปรากฏข้อความที่แสดงถึงสถานะการทำงาน สภาพที่พักอาศัย ทัศนคติ วิธีการทำงาน และการใช้ชีวิต ของสื่อมวลชนที่ถูกเปิดเผยชื่อ ซึ่งเข้าข่ายการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล ผู้ที่ดำเนินการเผยแพร่เอกสารดังกล่าว ควรต้องออกมา “ขอโทษ” สื่อมวลชนที่ได้รับความเสียหาย และบริษัทที่เป็นต้นทางของเอกสารชิ้นที่ถูกนำมาเผยแพร่ ควรต้องออกมาแสดงความ “เสียใจ” ต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องรอให้ผู้เสียหายทักท้วงหรือดำเนินการฟ้องร้องเพื่อปกป้องสิทธิ์ของตนเอง
สำหรับวิธีการที่บริษัทสามารถใช้ในการจัดการต่อกรณีดังกล่าวตามแนวทางแรกที่ยอมรับว่ามีช่องห่างอยู่จริง เริ่มจากการตรวจสอบสถานะของกิจการ (Due Diligence) ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าวภายในหน่วยงาน การจัดทำรายละเอียดวิธีดำเนินการในการรับมือกับกรณีที่อาจเกิดขึ้นอีกในอนาคต การสร้างการรับรู้และการให้ความรู้แก่บุคลากรเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันต่อการปฏิบัติงานตามหลักการแห่งวิชาชีพ การกำหนดมาตรการและบทลงโทษในกรณีที่มีการละเมิดหรือฝ่าฝืน การติดตามและปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่องด้วยการทบทวนและการสอบทานความครบถ้วนเพียงพอของกระบวนการในการกำกับดูแลการปฏิบัติงานเพื่อให้เป็นไปตามหลักการแห่งวิชาชีพ หรืออาจพิจารณาใช้หน่วยงานภายนอกเป็นผู้ให้ความเชื่อมั่นต่อความเพียงพอของกระบวนการ (External Assurance)
ในส่วนที่เกี่ยวกับการดำเนินการต่อผู้มีส่วนได้เสียภายนอกตามแนวทางนี้ บริษัทต้องนำกลไก CSR มาใช้ในการจัดการและแก้ไขเยียวยา เพื่อเป็นการแสดงความรับผิดชอบขององค์กรที่มีต่อผลกระทบและความเสียหายที่ได้เกิดขึ้นแล้วจากกรณีดังกล่าว ไม่ใช่การใช้ PR มาเป็นเครื่องมือดำเนินการหลัก แม้เหตุการณ์นี้จะเกิดกับหน่วยงานประชาสัมพันธ์ของบริษัทก็ตาม
แต่หากบริษัทเลือกที่จะดำเนินการตามแนวทางที่ไม่ยอมรับว่ามีช่องห่างดังกล่าว วิธีการที่ใช้ในการจัดการก็จะแตกต่างไป และอาจจะติดตามเป็นกรณีศึกษาได้จากนี้ไป
เดิมพันระหว่างเครดิตที่หน่วยงาน CSR ได้พยายามสร้างและสั่งสมไว้ กับผลกระทบที่กัดกร่อนภาพลักษณ์องค์กร กำลังถูกท้าทายด้วยกรณีที่เกิดขึ้นดังกล่าว รวมทั้งยังเป็นบทพิสูจน์เรื่อง CSR ขององค์กรและกับบุคลากรที่รับผิดชอบงาน CSR อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
Thursday, July 10, 2014
โตเกียวขายาว
เมื่อต้นสัปดาห์ที่แล้ว (30 มิ.ย.-1 ก.ค.) ผมเดินทางไปกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น 2 วัน เพื่อหารือถึงการขับเคลื่อนแนวทางการสร้างคุณค่าร่วม หรือ Creating Shared Value (CSV) กับบริษัท E-SQUARE Inc. ซึ่งเป็นบริษัทที่ได้รับการรับรองให้เป็น Certified Shared Value Consultant ในภูมิภาคเอเชีย เช่นเดียวกับสถาบันไทยพัฒน์ จาก Shared Value Initiative ที่เป็นความริเริ่มของ Foundation Strategy Group (FSG) องค์กรที่ปรึกษาไม่แสวงหาผลกำไร ซึ่งก่อตั้งโดย “ไมเคิล อี พอร์เตอร์” และ “มาร์ค เครเมอร์” ผู้ที่เป็นต้นตำรับแนวคิด CSV
เหตุที่ไปญี่ปุ่น ก็เพราะ ประการแรก มีภาคเอกชนของญี่ปุ่นนับร้อยบริษัทในปัจจุบัน ที่มีการศึกษาและได้นำแนวคิด CSV ไปใช้ในองค์กร ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึง CSV ในภาคปฏิบัติโดยธุรกิจ มากกว่าเป็นเพียงแนวคิดที่อยู่ในบทความวิชาการ เท่าที่ผมทราบ บริษัท คิริน ซึ่งเป็นเจ้าตลาดในธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มติดอันดับ 1 ใน 3 ของญี่ปุ่น มุ่งมั่นที่จะเป็นผู้นำในการสร้างคุณค่าร่วมด้วยการใช้กลยุทธ์ CSV ในการผลักดันธุรกิจให้ดำเนินไปตามแนวทางนี้ (ดูคำมั่นจากผู้บริหารที่ kirinholdings)
ประการที่สอง ด้วยความสัมพันธ์ที่มีมาอย่างยาวนาน ระหว่างตัวพอร์เตอร์กับมหาวิทยาลัยฮิโตะสึบะชิ ในกรุงโตเกียว นับตั้งแต่ต้นคริสตทศวรรษ 1980 จากการพัฒนางานวิจัยร่วมกัน ที่นำมาสู่การตีพิมพ์เป็นผลงานในหนังสือ “The Competitive Advantage of Nations” (1990) ตามมาด้วย “Can Japan Compete?” (2000) จนกระทั่งมีการสถาปนา Graduate School of International Corporate Strategy (ICS) และได้มีการก่อตั้งรางวัล “The Porter Prize” มอบให้กับบริษัทญี่ปุ่นซึ่งมีความโดดเด่นในการดำเนินงานและในด้านการพัฒนาขีดความสามารถทางการแข่งขันเป็นประจำทุกปี ทำให้พอร์เตอร์มีกำหนดการประจำที่จะต้องบินไปญี่ปุ่นทุกปีในช่วงปลายปี นับตั้งแต่ปี ค.ศ.2000 เป็นต้นมา
การเดินทางในเที่ยวนี้ ผมได้พบกับ ทาคาชิ คิอูชิ Chairman วัย 79 ปี ของบริษัท E-SQUARE Inc. ผู้ซึ่งเป็นอดีตเบอร์หนึ่งของมิตซูบิชิ อีเล็คทริค คอร์ปอเรชั่น และเป็นหนึ่งในนักบริหารนอกกรอบที่สร้างแรงบันดาลใจให้แก่นักธุรกิจญี่ปุ่นเป็นจำนวนมาก เขาได้แต่งหนังสือชื่อ “What We Learned in the Rainforest: Business Lessons from Nature” (2002) ร่วมกับบิล ไชร์แมน และยังได้ร่วมกันก่อตั้ง Future 500 ในอเมริกา ญี่ปุ่น และจีน เพื่อผสานพลังของภาคธุรกิจและเจตจำนงของภาคประชาสังคมผ่านกระบวนการสานสัมพันธ์ระหว่างผู้มีส่วนได้เสียในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม และสิ่งแวดล้อมตามแนวทางที่ยั่งยืน
ผมได้สอบถาม ฮิโระ โมโตกิ President ของ E-SQUARE Inc. เพราะอยากทราบเรื่องราวของทาคาชิ เพิ่มเติม เขาบอกให้ผมหยิบธนบัตรฉบับหนึ่งหมื่นเยนขึ้นมาดู แล้วบอกว่า บุคคลที่อยู่ในหน้าธนบัตรที่มีมูลค่าสูงสุดของญี่ปุ่น คือ ทวดของทาคาชิ ชื่อ ยูคิจิ ฟุคุซาวา (1835-1901) ผู้ซึ่งได้รับยกย่องให้เป็นบิดาแห่งวิทยาการสมัยใหม่ของญี่ปุ่น เป็นผู้มีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อประเทศญี่ปุ่น เป็นผู้ก่อตั้งโรงเรียนวิทยาการฮอลันดา ซึ่งปัจจุบัน คือ มหาวิทยาลัยเคโอ มหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดและมีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งหนึ่งของญี่ปุ่น
ในบรรดาหัวข้อที่ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนกันนั้น หนึ่งในเรื่องที่สถาบันไทยพัฒน์ จะดำเนินการหลังจากการหารือในครั้งนี้ คือ การก่อตั้ง CSV Forum ขึ้นในประเทศไทย โดยเป็นความริเริ่มที่ต้องการการผลักดันให้เกิดการพัฒนากลยุทธ์ธุรกิจคู่สังคมในบริบทของการสร้างคุณค่าร่วมสู่การปฏิบัติขององค์กรชั้นนำในภาคเอกชนไทย และใช้เป็นแหล่งรวมทรัพยากรในรูปขององค์ความรู้ เครื่องมือ ตัวอย่าง และกรณีศึกษา สำหรับการสร้างคุณค่าร่วมในระดับองค์กรและในสายคุณค่า (Value Chain) รวมทั้งเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และประสบการณ์ที่มีต่อการสร้างคุณค่าร่วมระหว่างองค์กรที่เข้าร่วม ตลอดจนการสานสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
การพัฒนากลยุทธ์ธุรกิจคู่สังคมในบริบทของการสร้างคุณค่าร่วม หรือ CSV เป็นหนทางหนึ่งที่ธุรกิจสามารถใช้แก้ปัญหาหรือดูแลประเด็นทางสังคมร่วมที่เกิดขึ้นในห่วงโซ่ธุรกิจปัจจุบัน อาทิ เรื่องแรงงาน สิทธิมนุษยชน และประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งได้สร้างผลกระทบส่งทอดเป็นลูกโซ่ไปยังองค์กรที่อยู่ในสายอุปทาน (Supply Chain) แม้ว่าองค์กรของตนเองจะมิได้เป็นผู้กระทำหรือเป็นผู้ละเมิดก็ตาม
ในญี่ปุ่นเองได้มีการใช้แนวทางดังกล่าวในระดับของห่วงโซ่ธุรกิจ มีการพัฒนามาตรการที่เป็นรูปธรรมโดยภาคเอกชน เช่น การพัฒนาศักยภาพและการสร้างกลไกสำหรับรับรองระบบการจัดการขององค์กรที่เกี่ยวข้องในสายอุปทานที่เป็นอุตสาหกรรมหลักของประเทศ
ผมไม่ปฏิเสธว่า ในเรื่อง CSV โตเกียวมีขายาวก้าวนำไปไกลกว่ากรุงเทพบ้านเรา แต่คิดว่าอีกไม่นาน ผมคงจะได้เห็นภาคเอกชนไทยพัฒนากลยุทธ์ธุรกิจในบริบทของการสร้างคุณค่าร่วมไล่ทันญี่ปุ่นครับ!...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
เหตุที่ไปญี่ปุ่น ก็เพราะ ประการแรก มีภาคเอกชนของญี่ปุ่นนับร้อยบริษัทในปัจจุบัน ที่มีการศึกษาและได้นำแนวคิด CSV ไปใช้ในองค์กร ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึง CSV ในภาคปฏิบัติโดยธุรกิจ มากกว่าเป็นเพียงแนวคิดที่อยู่ในบทความวิชาการ เท่าที่ผมทราบ บริษัท คิริน ซึ่งเป็นเจ้าตลาดในธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มติดอันดับ 1 ใน 3 ของญี่ปุ่น มุ่งมั่นที่จะเป็นผู้นำในการสร้างคุณค่าร่วมด้วยการใช้กลยุทธ์ CSV ในการผลักดันธุรกิจให้ดำเนินไปตามแนวทางนี้ (ดูคำมั่นจากผู้บริหารที่ kirinholdings)
ประการที่สอง ด้วยความสัมพันธ์ที่มีมาอย่างยาวนาน ระหว่างตัวพอร์เตอร์กับมหาวิทยาลัยฮิโตะสึบะชิ ในกรุงโตเกียว นับตั้งแต่ต้นคริสตทศวรรษ 1980 จากการพัฒนางานวิจัยร่วมกัน ที่นำมาสู่การตีพิมพ์เป็นผลงานในหนังสือ “The Competitive Advantage of Nations” (1990) ตามมาด้วย “Can Japan Compete?” (2000) จนกระทั่งมีการสถาปนา Graduate School of International Corporate Strategy (ICS) และได้มีการก่อตั้งรางวัล “The Porter Prize” มอบให้กับบริษัทญี่ปุ่นซึ่งมีความโดดเด่นในการดำเนินงานและในด้านการพัฒนาขีดความสามารถทางการแข่งขันเป็นประจำทุกปี ทำให้พอร์เตอร์มีกำหนดการประจำที่จะต้องบินไปญี่ปุ่นทุกปีในช่วงปลายปี นับตั้งแต่ปี ค.ศ.2000 เป็นต้นมา
การเดินทางในเที่ยวนี้ ผมได้พบกับ ทาคาชิ คิอูชิ Chairman วัย 79 ปี ของบริษัท E-SQUARE Inc. ผู้ซึ่งเป็นอดีตเบอร์หนึ่งของมิตซูบิชิ อีเล็คทริค คอร์ปอเรชั่น และเป็นหนึ่งในนักบริหารนอกกรอบที่สร้างแรงบันดาลใจให้แก่นักธุรกิจญี่ปุ่นเป็นจำนวนมาก เขาได้แต่งหนังสือชื่อ “What We Learned in the Rainforest: Business Lessons from Nature” (2002) ร่วมกับบิล ไชร์แมน และยังได้ร่วมกันก่อตั้ง Future 500 ในอเมริกา ญี่ปุ่น และจีน เพื่อผสานพลังของภาคธุรกิจและเจตจำนงของภาคประชาสังคมผ่านกระบวนการสานสัมพันธ์ระหว่างผู้มีส่วนได้เสียในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม และสิ่งแวดล้อมตามแนวทางที่ยั่งยืน
ผมได้สอบถาม ฮิโระ โมโตกิ President ของ E-SQUARE Inc. เพราะอยากทราบเรื่องราวของทาคาชิ เพิ่มเติม เขาบอกให้ผมหยิบธนบัตรฉบับหนึ่งหมื่นเยนขึ้นมาดู แล้วบอกว่า บุคคลที่อยู่ในหน้าธนบัตรที่มีมูลค่าสูงสุดของญี่ปุ่น คือ ทวดของทาคาชิ ชื่อ ยูคิจิ ฟุคุซาวา (1835-1901) ผู้ซึ่งได้รับยกย่องให้เป็นบิดาแห่งวิทยาการสมัยใหม่ของญี่ปุ่น เป็นผู้มีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อประเทศญี่ปุ่น เป็นผู้ก่อตั้งโรงเรียนวิทยาการฮอลันดา ซึ่งปัจจุบัน คือ มหาวิทยาลัยเคโอ มหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดและมีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งหนึ่งของญี่ปุ่น
ในบรรดาหัวข้อที่ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนกันนั้น หนึ่งในเรื่องที่สถาบันไทยพัฒน์ จะดำเนินการหลังจากการหารือในครั้งนี้ คือ การก่อตั้ง CSV Forum ขึ้นในประเทศไทย โดยเป็นความริเริ่มที่ต้องการการผลักดันให้เกิดการพัฒนากลยุทธ์ธุรกิจคู่สังคมในบริบทของการสร้างคุณค่าร่วมสู่การปฏิบัติขององค์กรชั้นนำในภาคเอกชนไทย และใช้เป็นแหล่งรวมทรัพยากรในรูปขององค์ความรู้ เครื่องมือ ตัวอย่าง และกรณีศึกษา สำหรับการสร้างคุณค่าร่วมในระดับองค์กรและในสายคุณค่า (Value Chain) รวมทั้งเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และประสบการณ์ที่มีต่อการสร้างคุณค่าร่วมระหว่างองค์กรที่เข้าร่วม ตลอดจนการสานสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
การพัฒนากลยุทธ์ธุรกิจคู่สังคมในบริบทของการสร้างคุณค่าร่วม หรือ CSV เป็นหนทางหนึ่งที่ธุรกิจสามารถใช้แก้ปัญหาหรือดูแลประเด็นทางสังคมร่วมที่เกิดขึ้นในห่วงโซ่ธุรกิจปัจจุบัน อาทิ เรื่องแรงงาน สิทธิมนุษยชน และประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งได้สร้างผลกระทบส่งทอดเป็นลูกโซ่ไปยังองค์กรที่อยู่ในสายอุปทาน (Supply Chain) แม้ว่าองค์กรของตนเองจะมิได้เป็นผู้กระทำหรือเป็นผู้ละเมิดก็ตาม
ในญี่ปุ่นเองได้มีการใช้แนวทางดังกล่าวในระดับของห่วงโซ่ธุรกิจ มีการพัฒนามาตรการที่เป็นรูปธรรมโดยภาคเอกชน เช่น การพัฒนาศักยภาพและการสร้างกลไกสำหรับรับรองระบบการจัดการขององค์กรที่เกี่ยวข้องในสายอุปทานที่เป็นอุตสาหกรรมหลักของประเทศ
ผมไม่ปฏิเสธว่า ในเรื่อง CSV โตเกียวมีขายาวก้าวนำไปไกลกว่ากรุงเทพบ้านเรา แต่คิดว่าอีกไม่นาน ผมคงจะได้เห็นภาคเอกชนไทยพัฒนากลยุทธ์ธุรกิจในบริบทของการสร้างคุณค่าร่วมไล่ทันญี่ปุ่นครับ!...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
Thursday, June 26, 2014
เลียบเวที CG นานาชาติ
ผมได้มีโอกาสเดินทางไปร่วมประชุมประจำปีของ International Corporate Governance Network (ICGN) เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ณ กรุงอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ ภายใต้ธีมที่มีชื่อว่า “Expectations of investors and companies in the face of 21st century challenges”
สถานที่จัดงานประชุมปีนี้ คือ อาคารที่เคยใช้ทำการเป็นตลาดหลักทรัพย์อัมสเตอร์ดัม ซึ่งสร้างในคริสต์ศักราชที่ 16 หรือเมื่อ 400 กว่าปีมาแล้ว และได้ชื่อว่าเป็นตลาดหุ้นแห่งแรกของโลก ปัจจุบันตลาดหุ้นอัมสเตอร์ดัม ได้รวมกับตลาดหุ้นของเบลเยียม ฝรั่งเศส อังกฤษ และโปรตุเกส ก่อตั้งเป็นตลาด Euronext และได้ควบรวมกับตลาดหุ้นนิวยอร์กเป็น NYSE Euronext ในปี ค.ศ. 2007
ICGN ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1995 ปัจจุบันประกอบด้วยสมาชิกที่ส่วนใหญ่เป็นผู้ลงทุนประเภทสถาบันและนักวิชาชีพด้านบรรษัทภิบาลจากกว่า 50 ประเทศ ดูแลเม็ดเงินลงทุนรวมกันกว่า 18 ล้านล้านเหรียญกระจายอยู่ทั่วโลก
กิจกรรมหลักของ ICGN ประกอบด้วย กิจกรรมการผลักดันนโยบายด้านบรรษัทภิบาลผ่านทางการจัดทำหลักการ แนวปฏิบัติ และกรอบการดำเนินงานที่เกี่ยวกับบรรษัทภิบาลในด้านต่างๆ อาทิ ค่าตอบแทนกรรมการ/ผู้บริหาร ความเสี่ยงองค์กร การต่อต้านการทุจริต การเปิดเผยข้อมูลทางการเงินและที่มิใช่ตัวเลขทางการเงิน ฯลฯ กิจกรรมการเชื่อมร้อยผู้ปฏิบัติงานในวิชาชีพที่เกี่ยวกับบรรษัทภิบาล และกิจกรรมการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ด้านบรรษัทภิบาลผ่านทางการประชุม สัมมนา ฝึกอบรม ฯลฯ
ในสมัยการประชุมนี้ ได้มีการประกาศหลักการฉบับใหม่ที่ชื่อว่า ICGN Global Governance Principles ซึ่งปรับปรุงจากหลักการฉบับปี ค.ศ. 2009 โดยปรับชื่อจากเดิม คือ “Global Corporate Governance Principles” เป็น “Global Governance Principles” เพื่อให้สะท้อนบทบาทการกำกับดูแล ที่ไม่จำกัดเพียงความรับผิดชอบของบริษัท แต่มุ่งครอบคลุมถึงความรับผิดชอบในส่วนของผู้ลงทุน (โดยเฉพาะผู้ลงทุนประเภทสถาบัน) ไว้ในหลักการฉบับเดียวกัน
หลักการฉบับใหม่นี้ ให้ความสำคัญกับเจตจำนงของบริษัทต่อการสร้างคุณค่าที่ยั่งยืนในระยะยาว โดยในส่วนของบริษัทได้แนะนำให้คณะกรรมการบริษัท มีหน้าที่ติดตามงานกำกับดูแล ที่รวมถึงการดำเนินกิจการที่มีส่วนเกี่ยวพันกับปัจจัยด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมให้เกิดประสิทธิผล คำนึงถึงการดูแลความเสี่ยงองค์กรที่ครอบคลุมถึง ความเสี่ยงด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม นอกเหนือจากความเสี่ยงทางการเงิน ความเสี่ยงทางกลยุทธ์ และความเสี่ยงจากการดำเนินงาน
ในส่วนของผู้ลงทุน ได้เพิ่มเติมหลักการที่แนะนำให้ผู้ลงทุนประเภทสถาบันติดตามการดำเนินกิจการที่มีส่วนเกี่ยวพันกับปัจจัยด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม เพิ่มการสานสัมพันธ์ในเชิงรุก เพื่อขยายความเข้าใจและเห็นพ้องร่วมกันในจุดยืนที่มีต่อกลยุทธ์องค์กร ตัวเลขผลประกอบการ ความเสี่ยงต่อผลประกอบการในระยะยาว การกำกับดูแลกิจการ การดำเนินงาน และแนวดำเนินการด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม (ดูหลักการฉบับใหม่ได้จากเว็บไซต์ www.icgn.org)
หนึ่งในช่วงการประชุมที่น่าสนใจ คือ คณะผู้อภิปรายระดับเจ้าสำนักขององค์กร ที่เป็นผู้จัดทำหลักการเปิดเผยข้อมูล หรือกรอบการรายงานชั้นนำอย่าง Global Reporting Initiative (GRI), International Integrated Reporting Council (IIRC), International Accounting Standards Board (IASB) และศาสตราจารย์ผู้เขียนตำราเรื่อง One Report จาก Harvard Business School มานำเสนอพัฒนาการของรายงานและการเปิดเผยข้อมูลล่าสุด และยังเป็นโอกาสที่มีการเปิดตัว Corporate Reporting Dialogue (CRD) ในการประชุมนี้ เพื่อแสวงหาความเชื่อมโยงระหว่างมาตรฐาน และกรอบการรายงานที่มีอยู่ในปัจจุบันให้เกิดความสอดคล้องต้องกัน ลดภาระยุ่งยากที่อาจเกิดแก่องค์กรที่จัดทำรายงานต่อการใช้และอ้างอิงมาตรฐานและกรอบการรายงานหลายฉบับ
หลังการประชุม ผมถือโอกาสอยู่เรียนหนังสือต่ออีก 2 วันในหลักสูตร “Integrating environmental, social and governance factors in investment decisions” ที่พัฒนาขึ้นสำหรับผู้ลงทุนที่เป็นสมาชิกของ ICGN เพื่อช่วยให้ผู้เข้าอบรมเรียนรู้วิธีในการระบุ วิเคราะห์ และผนวกข้อมูล ESG ในกระบวนการตัดสินใจลงทุน โดยวิทยากรจาก CalPERS, apg Asset Management, ROBECO เป็นต้น เป็นมุมมองของผู้ลงทุนที่มีทั้งความเหมือนและความต่างจากมุมมองขององค์กร ในการคำนึงถึงปัจจัยด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม แล้วจะหาโอกาสนำมาเล่าให้ฟังกันนะครับ...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
สถานที่จัดงานประชุมปีนี้ คือ อาคารที่เคยใช้ทำการเป็นตลาดหลักทรัพย์อัมสเตอร์ดัม ซึ่งสร้างในคริสต์ศักราชที่ 16 หรือเมื่อ 400 กว่าปีมาแล้ว และได้ชื่อว่าเป็นตลาดหุ้นแห่งแรกของโลก ปัจจุบันตลาดหุ้นอัมสเตอร์ดัม ได้รวมกับตลาดหุ้นของเบลเยียม ฝรั่งเศส อังกฤษ และโปรตุเกส ก่อตั้งเป็นตลาด Euronext และได้ควบรวมกับตลาดหุ้นนิวยอร์กเป็น NYSE Euronext ในปี ค.ศ. 2007
ICGN ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1995 ปัจจุบันประกอบด้วยสมาชิกที่ส่วนใหญ่เป็นผู้ลงทุนประเภทสถาบันและนักวิชาชีพด้านบรรษัทภิบาลจากกว่า 50 ประเทศ ดูแลเม็ดเงินลงทุนรวมกันกว่า 18 ล้านล้านเหรียญกระจายอยู่ทั่วโลก
กิจกรรมหลักของ ICGN ประกอบด้วย กิจกรรมการผลักดันนโยบายด้านบรรษัทภิบาลผ่านทางการจัดทำหลักการ แนวปฏิบัติ และกรอบการดำเนินงานที่เกี่ยวกับบรรษัทภิบาลในด้านต่างๆ อาทิ ค่าตอบแทนกรรมการ/ผู้บริหาร ความเสี่ยงองค์กร การต่อต้านการทุจริต การเปิดเผยข้อมูลทางการเงินและที่มิใช่ตัวเลขทางการเงิน ฯลฯ กิจกรรมการเชื่อมร้อยผู้ปฏิบัติงานในวิชาชีพที่เกี่ยวกับบรรษัทภิบาล และกิจกรรมการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ด้านบรรษัทภิบาลผ่านทางการประชุม สัมมนา ฝึกอบรม ฯลฯ
ในสมัยการประชุมนี้ ได้มีการประกาศหลักการฉบับใหม่ที่ชื่อว่า ICGN Global Governance Principles ซึ่งปรับปรุงจากหลักการฉบับปี ค.ศ. 2009 โดยปรับชื่อจากเดิม คือ “Global Corporate Governance Principles” เป็น “Global Governance Principles” เพื่อให้สะท้อนบทบาทการกำกับดูแล ที่ไม่จำกัดเพียงความรับผิดชอบของบริษัท แต่มุ่งครอบคลุมถึงความรับผิดชอบในส่วนของผู้ลงทุน (โดยเฉพาะผู้ลงทุนประเภทสถาบัน) ไว้ในหลักการฉบับเดียวกัน
หลักการฉบับใหม่นี้ ให้ความสำคัญกับเจตจำนงของบริษัทต่อการสร้างคุณค่าที่ยั่งยืนในระยะยาว โดยในส่วนของบริษัทได้แนะนำให้คณะกรรมการบริษัท มีหน้าที่ติดตามงานกำกับดูแล ที่รวมถึงการดำเนินกิจการที่มีส่วนเกี่ยวพันกับปัจจัยด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมให้เกิดประสิทธิผล คำนึงถึงการดูแลความเสี่ยงองค์กรที่ครอบคลุมถึง ความเสี่ยงด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม นอกเหนือจากความเสี่ยงทางการเงิน ความเสี่ยงทางกลยุทธ์ และความเสี่ยงจากการดำเนินงาน
ในส่วนของผู้ลงทุน ได้เพิ่มเติมหลักการที่แนะนำให้ผู้ลงทุนประเภทสถาบันติดตามการดำเนินกิจการที่มีส่วนเกี่ยวพันกับปัจจัยด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม เพิ่มการสานสัมพันธ์ในเชิงรุก เพื่อขยายความเข้าใจและเห็นพ้องร่วมกันในจุดยืนที่มีต่อกลยุทธ์องค์กร ตัวเลขผลประกอบการ ความเสี่ยงต่อผลประกอบการในระยะยาว การกำกับดูแลกิจการ การดำเนินงาน และแนวดำเนินการด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม (ดูหลักการฉบับใหม่ได้จากเว็บไซต์ www.icgn.org)
หนึ่งในช่วงการประชุมที่น่าสนใจ คือ คณะผู้อภิปรายระดับเจ้าสำนักขององค์กร ที่เป็นผู้จัดทำหลักการเปิดเผยข้อมูล หรือกรอบการรายงานชั้นนำอย่าง Global Reporting Initiative (GRI), International Integrated Reporting Council (IIRC), International Accounting Standards Board (IASB) และศาสตราจารย์ผู้เขียนตำราเรื่อง One Report จาก Harvard Business School มานำเสนอพัฒนาการของรายงานและการเปิดเผยข้อมูลล่าสุด และยังเป็นโอกาสที่มีการเปิดตัว Corporate Reporting Dialogue (CRD) ในการประชุมนี้ เพื่อแสวงหาความเชื่อมโยงระหว่างมาตรฐาน และกรอบการรายงานที่มีอยู่ในปัจจุบันให้เกิดความสอดคล้องต้องกัน ลดภาระยุ่งยากที่อาจเกิดแก่องค์กรที่จัดทำรายงานต่อการใช้และอ้างอิงมาตรฐานและกรอบการรายงานหลายฉบับ
หลังการประชุม ผมถือโอกาสอยู่เรียนหนังสือต่ออีก 2 วันในหลักสูตร “Integrating environmental, social and governance factors in investment decisions” ที่พัฒนาขึ้นสำหรับผู้ลงทุนที่เป็นสมาชิกของ ICGN เพื่อช่วยให้ผู้เข้าอบรมเรียนรู้วิธีในการระบุ วิเคราะห์ และผนวกข้อมูล ESG ในกระบวนการตัดสินใจลงทุน โดยวิทยากรจาก CalPERS, apg Asset Management, ROBECO เป็นต้น เป็นมุมมองของผู้ลงทุนที่มีทั้งความเหมือนและความต่างจากมุมมองขององค์กร ในการคำนึงถึงปัจจัยด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม แล้วจะหาโอกาสนำมาเล่าให้ฟังกันนะครับ...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
Subscribe to:
Posts (Atom)