เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านการมาตรฐานแห่งชาติ ทำหน้าที่เป็นตัวแทนประเทศไทยในฐานะที่เป็นสมาชิก ISO ได้จัดทำข้อตกลง (MoU) แนวร่วมการประกอบกิจการตามมาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคม (ISO 26000) กับสถาบันไทยพัฒน์ เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนความรับผิดชอบต่อสังคมจากเจตนาที่ดี (good intentions) ไปสู่การกระทำที่ดี (good actions) ของภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมไทย
ประเทศไทยเอง มีคณะกรรมการวิชาการคณะที่ 1004 มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งทำหน้าที่ในลักษณะ National Mirror Committee พิจารณาให้ข้อคิดเห็นต่อ ISO/WG SR (Social Responsibility) ขององค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน หรือ ISO รวมทั้งกำหนดแนวทางและวิธีการในการส่งเสริม ประชาสัมพันธ์ และเผยแพร่มาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคมทั้งในภาครัฐและภาคเอกชนในประเทศไทย
ด้วยกระแสของการพัฒนากิจการให้เจริญเติบโตควบคู่กับการเป็นที่ยอมรับจากสังคมและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตอบสนองต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development: SD) เป็นเรื่องที่หลีกหนีไม่พ้นสำหรับองค์กรธุรกิจในปัจจุบัน อีกทั้งมาตรฐาน ISO 26000 ได้ถูกระบุให้เป็นแนวในการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาเชิงเศรษฐกิจ – สังคมที่ยั่งยืนในหมู่ประเทศสมาชิกอาเซียน จึงทำให้องค์กรธุรกิจไทยจำต้องเตรียมพร้อมรองรับการดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมตามแนวทางที่สากลยอมรับและการเปิดตลาดเสรีในระดับภูมิภาคอาเซียนในอีกไม่ถึง 4 ปีข้างหน้า
ด้วยเหตุที่การขับเคลื่อนความรับผิดชอบต่อสังคมให้สำเร็จในภาพรวม ไม่สามารถพึ่งพาเพียงองค์กรใดองค์กรหนึ่ง หรือธุรกิจใดธุรกิจหนึ่งโดยลำพังได้ แต่จะต้องอาศัยการสอดประสานการทำงานร่วมกันในห่วงโซ่ธุรกิจ ทั้งในสายอุปทาน (Supply Chain) และในสายคุณค่า (Value Chain) ตลอดกระบวนการ
บทเรียนที่จับต้องได้ คือ แม้ตัวองค์กรที่เรากำกับดูแลอยู่ จะมี CSR ดีเลิศเพียงใดก็ตาม แต่หากมีผู้ส่งมอบแม้เพียงรายเดียว ส่งมอบวัตถุดิบที่มีปัญหาเข้าสู่กระบวนการผลิต จนกลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผู้บริโภคใช้แล้วเกิดปัญหา ตัวองค์กรก็จะพลอยได้รับผลกระทบและทำให้ CSR ที่ดีอยู่นั้น ด่างพร้อยไปต่อหน้าต่อตา ตัวอย่างในอุตสาหกรรมรถยนต์ อุตสาหกรรมอาหาร มีให้เห็นกันอยู่เนืองๆ
ด้วยเหตุนี้ การทำงานในแบบแนวร่วม หรือ Collective Action จึงเป็นหนทางในการป้องกันและลดความน่าจะเป็นของปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในห่วงโซ่ธุรกิจที่อาจส่งผลกระทบต่อองค์กรตนเองในที่สุด
แนวร่วมการประกอบกิจการตามมาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคม ISO 26000 เป็นโครงการหนึ่งที่ถูกริเริ่มขึ้น เพื่อเกื้อหนุนองค์กรธุรกิจให้เข้ามีส่วนร่วมสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน เพิ่มสมรรถนะการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร รวมทั้งการเสริมสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน โดยมุ่งเน้นการสร้างคุณค่าจากการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมในห่วงโซ่ธุรกิจระหว่างคู่ค้าและผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง และเน้นการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมด้วยการปฏิบัติ (Practices) ตามข้อแนะนำ (Guidance) ที่เป็นเจตนารมณ์ของ ISO 26000 มิใช่ด้วยการจัดทำและแสดงเอกสาร (Papers) ให้ได้ตามข้อกำหนด (Requirements)
วันนี้ เรามีผู้ที่อาสาเข้ามานำแนวร่วมการประกอบกิจการตามมาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคม ISO 26000 ในสาขาโทรคมนาคม อย่าง ดีแทค ในสาขาก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ อย่าง พฤกษา เรียลเอสเตท และในสาขาพลังงาน อย่าง บางจากปิโตรเลียม ทำให้คาดหมายได้ว่า จากนี้ไปเราคงได้เห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญในสายอุปทานและในสายคุณค่าของธุรกิจในสาขาเหล่านี้ ด้วยเครื่องมือที่เป็นมาตรฐานสากลอย่าง ISO 26000 ในไม่ช้า
องค์กรธุรกิจหรือหน่วยงานที่สนใจเข้าร่วมโครงการ สามารถติดตามข่าวสารความคืบหน้าได้จากสถาบันไทยพัฒน์ (thaipat.org) และสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (tisi.go.th)...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
Thursday, September 29, 2011
รางวัล Golden Green Award อาเซียน
เมื่อเร็วๆ นี้ หอการค้ามาเลเซีย-จีน จัดงาน Malaysia-China Trade and Investment International Conference (MCTIIC) 2011 ขึ้นที่ประเทศมาเลเซีย โดยมีผู้เข้าร่วมงานนับพันคน ทำให้ผมได้ความรู้ว่ามูลค่าทางการค้าระหว่างมาเลเซียและจีนนั้น มีตัวเลขสูงกว่าที่จีนค้าขายกับไทยเสียอีก
ในงานนี้ ภาคราชการมีส่วนร่วมอย่างคึกคักและกระตือรือร้น ผู้รับผิดชอบแนวพื้นที่เศรษฐกิจ (Economic Corridor) ทั้ง 5 แห่ง ต่างมานำเสนอข้อมูลกันอย่างพร้อมเพรียง มีการชี้แจงเนื้อหาในข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน (ACFTA) ที่เริ่มเมื่อ 1 ม.ค. 53 ซึ่งเป็นข้อตกลง FTA ฉบับแรกของอาเซียน และของจีน ให้แก่ผู้เข้าร่วมประชุม ได้ใช้สิทธิประโยชน์จากข้อตกลงฉบับนี้อย่างเป็นเรื่องเป็นราว
เหตุที่ผมได้มีโอกาสเข้าร่วมงานนี้ เนื่องจากมีงานคู่ขนานที่หอการค้ามาเลเซีย-จีน (MCCC) จัดร่วมกับสถาบันการศึกษาด้านวิศวกรรมและเทคโนโลยีของอาเซียน (AAET) เพื่อมอบรางวัล Golden Green Award 2011 ให้แก่ผู้ที่มีผลงานโดดเด่นใน 6 ด้าน ได้แก่ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและปรับปรุงคุณภาพอากาศ การปกป้องพื้นที่ แหล่งน้ำ และความหลากหลายทางชีวภาพ การลดกากของเสีย การประกอบการ/นักบริหารสีเขียว การส่งเสริมแนวคิดสีเขียวหรือความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมต่อสาธารณะ การดำเนินการของชุมชนเพื่อสิ่งแวดล้อมโดยอาสาสมัครและสมาชิกในองค์กรไม่แสวงหากำไร
วัตถุประสงค์ของรางวัลนี้ เพื่อต้องการยกย่องผู้ประกอบการสีเขียวรุ่นเยาว์ และผู้สร้างคุณประโยชน์รุ่นเยาว์ต่อการพัฒนาในบริบทของการเติบโตสีเขียว (Green Growth) ในภูมิภาคอาเซียน และเป็นผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 40 ปีที่ได้รับการเสนอชื่อจากประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งมีผลงานทางด้านสิ่งแวดล้อมหรือการส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นที่ประจักษ์
ที่จริงเรื่องการเติบโตสีเขียว ได้ถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นยุทธศาสตร์หนึ่งที่องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ที่ประกอบด้วยสมาชิก 34 ประเทศ พัฒนาเพื่อสนับสนุนกลไกแห่งการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเมื่อเดือนมิถุนายน ปี 2552 ในการประชุมคณะมนตรีในระดับรัฐมนตรีที่เป็นผู้แทนของรัฐบาล 34 ประเทศ และกลุ่มประชาคมยุโรป ได้บรรลุข้อตกลงร่วมกันในปฏิญญาแห่งการเติบโตสีเขียว (Declaration on Green Growth) ที่รับรองหนทางสู่ความเป็นสีเขียวและการเติบโตที่สามารถไปด้วยกันได้ (“green” and “growth” can go hand-in-hand)
ในภูมิภาคเอเชีย เห็นจะมีประเทศเกาหลีใต้ และประเทศมาเลเซีย ที่นำเรื่องการเติบโตสีเขียว มาใช้เป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนประเทศตามเส้นทางการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างชัดเจน
ในงาน สถาบันไทยพัฒน์ได้เสนอชื่อคุณวรณัฐ เพียรธรรม หนึ่งในทีมงานผู้พัฒนาและเผยแพร่กลยุทธ์น่านน้ำสีเขียว หรือ Green Ocean Strategy เข้าร่วมชิงรางวัลในด้านการส่งเสริมแนวคิดสีเขียวหรือความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมต่อสาธารณะ โดยนำเสนอกลยุทธ์น่านน้ำสีเขียว ให้แก่คณะกรรมการพิจารณารางวัล ซึ่งประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาต่างๆ จำนวน 17 ท่าน และเป็นที่น่ายินดีว่า คุณวรณัฐ เป็นผู้แทนจากประเทศไทยที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ Golden Green Award ร่วมกับผู้แทนจากประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นๆ อีก 9 ประเทศ โดยมี Datuk Seri Peter Chin รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เทคโนโลยีสีเขียว และทรัพยากรน้ำ เป็นผู้มอบรางวัล
สำหรับรางวัล Grand Champion of the ASEAN Golden Green Award ตกเป็นของ Adeline Tiffanie Suwana สาวน้อยอายุเพียง 15 ปีจากอินโดนีเซีย ในด้านการปกป้องสิ่งแวดล้อมที่เธอขับเคลื่อนภายใต้ชื่อ “Sahabat Alam” movement ด้วยความมุ่งมั่นที่เกิดขึ้นจากที่เธอได้รับผลกระทบจากอุทกภัยน้ำท่วมในบ้านเกิด อันเป็นผลทำให้เธอได้เรียนรู้เรื่องภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และก่อตั้งองค์กรภาคเอกชน (NGO) ของเธอตั้งแต่อายุเพียง 10 ปี
และต้องขอขอบพระคุณ ดร.ไชยยศ บุญญากิจ แห่งสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ที่เป็นผู้แนะนำและให้คำอ้างอิงสำหรับการเข้าร่วมประกวดในครั้งนี้ด้วย...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
ในงานนี้ ภาคราชการมีส่วนร่วมอย่างคึกคักและกระตือรือร้น ผู้รับผิดชอบแนวพื้นที่เศรษฐกิจ (Economic Corridor) ทั้ง 5 แห่ง ต่างมานำเสนอข้อมูลกันอย่างพร้อมเพรียง มีการชี้แจงเนื้อหาในข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน (ACFTA) ที่เริ่มเมื่อ 1 ม.ค. 53 ซึ่งเป็นข้อตกลง FTA ฉบับแรกของอาเซียน และของจีน ให้แก่ผู้เข้าร่วมประชุม ได้ใช้สิทธิประโยชน์จากข้อตกลงฉบับนี้อย่างเป็นเรื่องเป็นราว
เหตุที่ผมได้มีโอกาสเข้าร่วมงานนี้ เนื่องจากมีงานคู่ขนานที่หอการค้ามาเลเซีย-จีน (MCCC) จัดร่วมกับสถาบันการศึกษาด้านวิศวกรรมและเทคโนโลยีของอาเซียน (AAET) เพื่อมอบรางวัล Golden Green Award 2011 ให้แก่ผู้ที่มีผลงานโดดเด่นใน 6 ด้าน ได้แก่ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและปรับปรุงคุณภาพอากาศ การปกป้องพื้นที่ แหล่งน้ำ และความหลากหลายทางชีวภาพ การลดกากของเสีย การประกอบการ/นักบริหารสีเขียว การส่งเสริมแนวคิดสีเขียวหรือความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมต่อสาธารณะ การดำเนินการของชุมชนเพื่อสิ่งแวดล้อมโดยอาสาสมัครและสมาชิกในองค์กรไม่แสวงหากำไร
วัตถุประสงค์ของรางวัลนี้ เพื่อต้องการยกย่องผู้ประกอบการสีเขียวรุ่นเยาว์ และผู้สร้างคุณประโยชน์รุ่นเยาว์ต่อการพัฒนาในบริบทของการเติบโตสีเขียว (Green Growth) ในภูมิภาคอาเซียน และเป็นผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 40 ปีที่ได้รับการเสนอชื่อจากประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งมีผลงานทางด้านสิ่งแวดล้อมหรือการส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นที่ประจักษ์
ที่จริงเรื่องการเติบโตสีเขียว ได้ถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นยุทธศาสตร์หนึ่งที่องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ที่ประกอบด้วยสมาชิก 34 ประเทศ พัฒนาเพื่อสนับสนุนกลไกแห่งการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเมื่อเดือนมิถุนายน ปี 2552 ในการประชุมคณะมนตรีในระดับรัฐมนตรีที่เป็นผู้แทนของรัฐบาล 34 ประเทศ และกลุ่มประชาคมยุโรป ได้บรรลุข้อตกลงร่วมกันในปฏิญญาแห่งการเติบโตสีเขียว (Declaration on Green Growth) ที่รับรองหนทางสู่ความเป็นสีเขียวและการเติบโตที่สามารถไปด้วยกันได้ (“green” and “growth” can go hand-in-hand)
ในภูมิภาคเอเชีย เห็นจะมีประเทศเกาหลีใต้ และประเทศมาเลเซีย ที่นำเรื่องการเติบโตสีเขียว มาใช้เป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนประเทศตามเส้นทางการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างชัดเจน
ในงาน สถาบันไทยพัฒน์ได้เสนอชื่อคุณวรณัฐ เพียรธรรม หนึ่งในทีมงานผู้พัฒนาและเผยแพร่กลยุทธ์น่านน้ำสีเขียว หรือ Green Ocean Strategy เข้าร่วมชิงรางวัลในด้านการส่งเสริมแนวคิดสีเขียวหรือความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมต่อสาธารณะ โดยนำเสนอกลยุทธ์น่านน้ำสีเขียว ให้แก่คณะกรรมการพิจารณารางวัล ซึ่งประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาต่างๆ จำนวน 17 ท่าน และเป็นที่น่ายินดีว่า คุณวรณัฐ เป็นผู้แทนจากประเทศไทยที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ Golden Green Award ร่วมกับผู้แทนจากประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นๆ อีก 9 ประเทศ โดยมี Datuk Seri Peter Chin รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เทคโนโลยีสีเขียว และทรัพยากรน้ำ เป็นผู้มอบรางวัล
สำหรับรางวัล Grand Champion of the ASEAN Golden Green Award ตกเป็นของ Adeline Tiffanie Suwana สาวน้อยอายุเพียง 15 ปีจากอินโดนีเซีย ในด้านการปกป้องสิ่งแวดล้อมที่เธอขับเคลื่อนภายใต้ชื่อ “Sahabat Alam” movement ด้วยความมุ่งมั่นที่เกิดขึ้นจากที่เธอได้รับผลกระทบจากอุทกภัยน้ำท่วมในบ้านเกิด อันเป็นผลทำให้เธอได้เรียนรู้เรื่องภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และก่อตั้งองค์กรภาคเอกชน (NGO) ของเธอตั้งแต่อายุเพียง 10 ปี
และต้องขอขอบพระคุณ ดร.ไชยยศ บุญญากิจ แห่งสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ที่เป็นผู้แนะนำและให้คำอ้างอิงสำหรับการเข้าร่วมประกวดในครั้งนี้ด้วย...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
Thursday, September 08, 2011
เลียบเวที CSR Summit สิงคโปร์
เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา มีงาน International CSR Summit 2011 ที่สิงคโปร์ ปีนี้ใช้ธีมว่า CSR: Values for Sustainability ซึ่งผมได้มีโอกาสเข้าร่วม เลยขอนำเนื้อหาที่น่าสนใจและน่าจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่อยู่ในวงการ CSR มาเล่าสู่กันฟังครับ
ในช่วงเช้าของวันแรกเป็นเรื่อง CSR & Shareholder Value: Financial Incentives for CSR ที่อยู่ในกระแสไม่ต่างจากบ้านเรา เนื่องจากการผลักดันเรื่อง CSR ในปัจจุบันมาจากผู้ลงทุนหรือผู้ถือหุ้นของบริษัทเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ บรรดาเลขานุการบริษัทหรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายนักลงทุนสัมพันธ์ของบริษัทจดทะเบียนต่างทราบสถานการณ์ดีว่า CSR และ Sustainability ได้กลายเป็นหัวข้อหรือคำถามของผู้ลงทุน นอกเหนือจากเรื่องตัวเลขกำไร อัตราการเติบโต ฯลฯ
แนวทางการขับเคลื่อนเรื่อง CSR ในวันนี้ จึงให้ความสำคัญกับประเด็นของคุณค่าร่วม การผนวกความรับผิดชอบต่อสังคมเข้ากับกลยุทธ์ทางธุรกิจ การสร้างความเข้าใจและข้อผูกพันร่วมกับพนักงาน และการเปิดเผยข้อมูลที่มิใช่การเงินในรายงานประจำปี เป็นต้น
ในช่วงบ่ายต่อด้วยเรื่องที่หลายคนให้ความสนใจ คือ Reporting on CSR Performance เพราะตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ (SGX) ได้ออกแนวทางการรายงานข้อมูล CSR สำหรับบริษัทจดทะเบียนไปเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา (ตัดหน้าตลาดหลักทรัพย์ไทยที่มีแผนจะออกแนวทางดังกล่าวในช่วงสิ้นปีนี้) โดยตัวเลขบริษัทจดทะเบียนใน SGX ที่มีการจัดทำรายงาน CSR ในปัจจุบันมีอยู่ราว 9%
สำหรับแนวทางการรายงานของ SGX มีอยู่ 6 หมวด ได้แก่ ความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริษัท กรอบการบริหารความเสี่ยงในภาพรวม ระบบการวัดผลการดำเนินงาน การรายงานความยั่งยืน แนวทางที่เป็นสากล และการประกันแบบรายงานความยั่งยืนโดยบุคคลที่สาม ซึ่งเป็นที่คาดหมายว่าจากนี้ไปจะมีบริษัทสิงคโปร์ที่จัดทำรายงาน CSR เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างก้าวกระโดด แม้จะมิใช่ข้อกำหนดภาคบังคับ แต่ก็เป็นสัญญาณชัดแจ้งที่เกิดขึ้นในตลาดทุนที่สำคัญทั่วโลก
ในช่วงเย็น มีการพูดถึงในหัวข้อ Incorporating CSR into Supply Chain Management ที่กระทบและเกี่ยวข้องกับผู้ประกอบการในห่วงโซ่ธุรกิจอย่างถ้วนหน้า ไม่เว้นแม้กระทั่งเอสเอ็มอีที่ค้าขายหรือทำธุรกรรมกับบริษัทขนาดใหญ่ซึ่งผลักดันเรื่อง CSR ไปยังองค์กรรอบข้างทั้งต้นน้ำและปลายน้ำ เพราะไม่ต้องการมีชื่อเสียหายหรือสูญเสียภาพลักษณ์จากความไม่รับผิดชอบต่อสังคมของคู่ค้าของตน (เป็นหนึ่งในทิศทางและแนวโน้ม CSR ในปีนี้ที่สถาบันไทยพัฒน์ได้ระบุไว้ว่าจะเกิด Supply Class ขึ้นใน Supply Chain)
ในเวทีนี้ มีผู้บริหารจาก Swire Pacific Offshore ได้แนะนำแนวทางการตรวจประเมินผู้ส่งมอบ (Suppliers Audit) ที่น่าสนใจไว้ 6 ขั้นตอนด้วยกัน เริ่มจากการจัดอันดับความสำคัญผู้ส่งมอบทั้งหมดขององค์กร แล้วทำการคัดเลือกกลุ่มที่อยู่ในอันดับต้นๆ มา 5-10% เพื่อดำเนินการประเมินความเสี่ยง (ด้านแรงงาน สิทธิมนุษยชน อาชีวอนามัย สิ่งแวดล้อม ฯลฯ) นำมาเรียงลำดับใหม่ตามความเสี่ยงจากมากไปน้อย โดยเลือก10 อันดับแรกมาเพื่อเข้าตรวจประเมินภาคสนามในสถานประกอบการ และเสนอแนะเพื่อนำไปสู่การปรับปรุงพัฒนาผู้ส่งมอบกลุ่มดังกล่าว (หรือหาผู้ส่งมอบกลุ่มใหม่มาทดแทน ในกรณีที่ไม่สามารถดำเนินการได้ตามข้อแนะนำ)
สำหรับในวันที่สอง ช่วงเช้าเป็นเรื่อง Role of Media on CSR ตอนที่น่าสนใจเป็นวิทยากรจาก Media Alliance ได้พูดถึงตัวอย่างการใช้สื่อในการรณรงค์เรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ต้องไม่ได้หวังผลให้เกิดเพียงการสร้างการรับรู้ (Raise Awareness) เพราะลำพังเพียงการรับรู้ มิได้ช่วยแก้ปัญหา แต่ต้องทำให้ได้อีก 3 ขั้น คือ การเปลี่ยนพฤติกรรม (Change Behavior) การสร้างอุปสงค์ในฝั่งผู้บริโภค (Create Consumer Demand) ที่จะเป็นแรงขับดันธุรกิจให้ดำเนินกิจกรรมในฝั่งผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และการสร้างอุปสงค์ทางสังคม (Create Social Demand) ที่กดดันให้ภาครัฐออกข้อกำหนดหรือเงื่อนไขสำหรับการประกอบธุรกิจและอุตสาหกรรมที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม
อีกตอนที่น่าสนใจในช่วงสื่อกับ CSR คือ ข้อแนะนำจากนักข่าวของ The Straits Times ในการส่งข่าว CSR อย่างไร ให้ได้ลงเผยแพร่ ซึ่งก็เป็นมุมมองจากนักข่าวที่ได้รับข่าว CSR จำนวนมหาศาลในแต่ละวัน มาถ่ายทอดดุลยพินิจ (ภาคปฏิบัติ) ในการเลือกข่าวที่จะเผยแพร่ (หลังจบช่วง มีผู้ฟังไปขอนัดกินกาแฟกับนักข่าวผู้นี้ตรึม ขอบอก)
ช่วงสายต่อด้วยเรื่อง Business and Human Right มีการนำเสนอ Guiding Principles on Business and Human Rights: ‘Protect, Respect and Remedy’ Framework ซึ่งเป็นผลจากการสังเคราะห์งานวิจัยที่นำโดย Professor John Ruggie แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดที่ใช้ระยะเวลาวิจัยกว่า 6 ปี และได้รับการรับรองจากคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (HRC) ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกจาก 47 รัฐประเทศ (รวมประเทศไทย) เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา เป็นแนวทางให้ภาคธุรกิจนำไปปฏิบัติ
ในช่วงบ่ายถึงเย็นแบ่งเป็นห้องย่อย 6 ห้อง โดยเชิญวิทยากรในกลุ่มประเทศอาเซียนมานำเสนอกรณีศึกษาและประสบการณ์ในเรื่องต่างๆ อาทิ การลงทุนทางสังคม กรณีศึกษาจากผู้ได้รับรางวัล CSRขององค์กรผู้จัด บทบาทของภาคธุรกิจกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทาความยากจน การประกอบธุรกิจอย่างยั่งยืน และการต้านทุจริต
ยังมีเนื้อหาอีกหลายช่วงหลายตอนที่มีความน่าสนใจโดยเฉพาะช่วง Keynote Speech ของวัน จาก Dr.Wayne Visser แห่ง CSR International และ Dr.Fons Trompenaars แห่ง THT Consulting แต่ด้วยพื้นที่อันจำกัด จึงต้องยุติด้วยความจำเป็น คิดว่าในเร็ววันนี้ทางผู้จัด คือ Singapore Compact คงจะมีการนำเอกสารของวิทยากรขึ้นในเว็บไซต์ http://bit.ly/csrsummit ลองติดตามกันนะครับ...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
ในช่วงเช้าของวันแรกเป็นเรื่อง CSR & Shareholder Value: Financial Incentives for CSR ที่อยู่ในกระแสไม่ต่างจากบ้านเรา เนื่องจากการผลักดันเรื่อง CSR ในปัจจุบันมาจากผู้ลงทุนหรือผู้ถือหุ้นของบริษัทเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ บรรดาเลขานุการบริษัทหรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายนักลงทุนสัมพันธ์ของบริษัทจดทะเบียนต่างทราบสถานการณ์ดีว่า CSR และ Sustainability ได้กลายเป็นหัวข้อหรือคำถามของผู้ลงทุน นอกเหนือจากเรื่องตัวเลขกำไร อัตราการเติบโต ฯลฯ
แนวทางการขับเคลื่อนเรื่อง CSR ในวันนี้ จึงให้ความสำคัญกับประเด็นของคุณค่าร่วม การผนวกความรับผิดชอบต่อสังคมเข้ากับกลยุทธ์ทางธุรกิจ การสร้างความเข้าใจและข้อผูกพันร่วมกับพนักงาน และการเปิดเผยข้อมูลที่มิใช่การเงินในรายงานประจำปี เป็นต้น
ในช่วงบ่ายต่อด้วยเรื่องที่หลายคนให้ความสนใจ คือ Reporting on CSR Performance เพราะตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ (SGX) ได้ออกแนวทางการรายงานข้อมูล CSR สำหรับบริษัทจดทะเบียนไปเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา (ตัดหน้าตลาดหลักทรัพย์ไทยที่มีแผนจะออกแนวทางดังกล่าวในช่วงสิ้นปีนี้) โดยตัวเลขบริษัทจดทะเบียนใน SGX ที่มีการจัดทำรายงาน CSR ในปัจจุบันมีอยู่ราว 9%
สำหรับแนวทางการรายงานของ SGX มีอยู่ 6 หมวด ได้แก่ ความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริษัท กรอบการบริหารความเสี่ยงในภาพรวม ระบบการวัดผลการดำเนินงาน การรายงานความยั่งยืน แนวทางที่เป็นสากล และการประกันแบบรายงานความยั่งยืนโดยบุคคลที่สาม ซึ่งเป็นที่คาดหมายว่าจากนี้ไปจะมีบริษัทสิงคโปร์ที่จัดทำรายงาน CSR เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างก้าวกระโดด แม้จะมิใช่ข้อกำหนดภาคบังคับ แต่ก็เป็นสัญญาณชัดแจ้งที่เกิดขึ้นในตลาดทุนที่สำคัญทั่วโลก
ในช่วงเย็น มีการพูดถึงในหัวข้อ Incorporating CSR into Supply Chain Management ที่กระทบและเกี่ยวข้องกับผู้ประกอบการในห่วงโซ่ธุรกิจอย่างถ้วนหน้า ไม่เว้นแม้กระทั่งเอสเอ็มอีที่ค้าขายหรือทำธุรกรรมกับบริษัทขนาดใหญ่ซึ่งผลักดันเรื่อง CSR ไปยังองค์กรรอบข้างทั้งต้นน้ำและปลายน้ำ เพราะไม่ต้องการมีชื่อเสียหายหรือสูญเสียภาพลักษณ์จากความไม่รับผิดชอบต่อสังคมของคู่ค้าของตน (เป็นหนึ่งในทิศทางและแนวโน้ม CSR ในปีนี้ที่สถาบันไทยพัฒน์ได้ระบุไว้ว่าจะเกิด Supply Class ขึ้นใน Supply Chain)
ในเวทีนี้ มีผู้บริหารจาก Swire Pacific Offshore ได้แนะนำแนวทางการตรวจประเมินผู้ส่งมอบ (Suppliers Audit) ที่น่าสนใจไว้ 6 ขั้นตอนด้วยกัน เริ่มจากการจัดอันดับความสำคัญผู้ส่งมอบทั้งหมดขององค์กร แล้วทำการคัดเลือกกลุ่มที่อยู่ในอันดับต้นๆ มา 5-10% เพื่อดำเนินการประเมินความเสี่ยง (ด้านแรงงาน สิทธิมนุษยชน อาชีวอนามัย สิ่งแวดล้อม ฯลฯ) นำมาเรียงลำดับใหม่ตามความเสี่ยงจากมากไปน้อย โดยเลือก10 อันดับแรกมาเพื่อเข้าตรวจประเมินภาคสนามในสถานประกอบการ และเสนอแนะเพื่อนำไปสู่การปรับปรุงพัฒนาผู้ส่งมอบกลุ่มดังกล่าว (หรือหาผู้ส่งมอบกลุ่มใหม่มาทดแทน ในกรณีที่ไม่สามารถดำเนินการได้ตามข้อแนะนำ)
สำหรับในวันที่สอง ช่วงเช้าเป็นเรื่อง Role of Media on CSR ตอนที่น่าสนใจเป็นวิทยากรจาก Media Alliance ได้พูดถึงตัวอย่างการใช้สื่อในการรณรงค์เรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ต้องไม่ได้หวังผลให้เกิดเพียงการสร้างการรับรู้ (Raise Awareness) เพราะลำพังเพียงการรับรู้ มิได้ช่วยแก้ปัญหา แต่ต้องทำให้ได้อีก 3 ขั้น คือ การเปลี่ยนพฤติกรรม (Change Behavior) การสร้างอุปสงค์ในฝั่งผู้บริโภค (Create Consumer Demand) ที่จะเป็นแรงขับดันธุรกิจให้ดำเนินกิจกรรมในฝั่งผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และการสร้างอุปสงค์ทางสังคม (Create Social Demand) ที่กดดันให้ภาครัฐออกข้อกำหนดหรือเงื่อนไขสำหรับการประกอบธุรกิจและอุตสาหกรรมที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม
อีกตอนที่น่าสนใจในช่วงสื่อกับ CSR คือ ข้อแนะนำจากนักข่าวของ The Straits Times ในการส่งข่าว CSR อย่างไร ให้ได้ลงเผยแพร่ ซึ่งก็เป็นมุมมองจากนักข่าวที่ได้รับข่าว CSR จำนวนมหาศาลในแต่ละวัน มาถ่ายทอดดุลยพินิจ (ภาคปฏิบัติ) ในการเลือกข่าวที่จะเผยแพร่ (หลังจบช่วง มีผู้ฟังไปขอนัดกินกาแฟกับนักข่าวผู้นี้ตรึม ขอบอก)
ช่วงสายต่อด้วยเรื่อง Business and Human Right มีการนำเสนอ Guiding Principles on Business and Human Rights: ‘Protect, Respect and Remedy’ Framework ซึ่งเป็นผลจากการสังเคราะห์งานวิจัยที่นำโดย Professor John Ruggie แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดที่ใช้ระยะเวลาวิจัยกว่า 6 ปี และได้รับการรับรองจากคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (HRC) ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกจาก 47 รัฐประเทศ (รวมประเทศไทย) เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา เป็นแนวทางให้ภาคธุรกิจนำไปปฏิบัติ
ในช่วงบ่ายถึงเย็นแบ่งเป็นห้องย่อย 6 ห้อง โดยเชิญวิทยากรในกลุ่มประเทศอาเซียนมานำเสนอกรณีศึกษาและประสบการณ์ในเรื่องต่างๆ อาทิ การลงทุนทางสังคม กรณีศึกษาจากผู้ได้รับรางวัล CSRขององค์กรผู้จัด บทบาทของภาคธุรกิจกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทาความยากจน การประกอบธุรกิจอย่างยั่งยืน และการต้านทุจริต
ยังมีเนื้อหาอีกหลายช่วงหลายตอนที่มีความน่าสนใจโดยเฉพาะช่วง Keynote Speech ของวัน จาก Dr.Wayne Visser แห่ง CSR International และ Dr.Fons Trompenaars แห่ง THT Consulting แต่ด้วยพื้นที่อันจำกัด จึงต้องยุติด้วยความจำเป็น คิดว่าในเร็ววันนี้ทางผู้จัด คือ Singapore Compact คงจะมีการนำเอกสารของวิทยากรขึ้นในเว็บไซต์ http://bit.ly/csrsummit ลองติดตามกันนะครับ...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
Thursday, September 01, 2011
CSR ในนโยบายรัฐบาล
ก็เป็นอันว่ารัฐบาลได้แถลงนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินต่อรัฐสภาเป็นที่เรียบร้อย โดยสาระสำคัญของนโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก ซึ่งอยู่ในความสนใจของประชาชน คือ การดำเนินการให้แรงงานมีรายได้เป็นวันละไม่น้อยกว่า 300 บาท และผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีมีรายได้เดือนละไม่น้อยกว่า 15,000 บาทอย่างสอดคล้องกับผลิตภาพและประสิทธิภาพของบุคลากร รวมทั้งมาตรการภาษีเพื่อลดภาระการลงทุนสำหรับสิ่งจำเป็นในชีวิตของประชาชนทั่วไป ได้แก่ บ้านหลังแรกและรถยนต์คันแรก เป็นต้น
ส่วนนโยบายเร่งด่วนที่อยู่ในความสนใจของภาคเอกชนที่ได้รับผลกระทบจากการขึ้นค่าแรง คือ การออกมาตรการเพื่อลดภาระแก่ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบเพื่อให้แรงงานและบุคลากรสามารถดำรงชีพได้อย่างมีศักดิ์ศรีและคุณภาพชีวิตที่ดี รวมทั้งการปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคล ให้เหลือร้อยละ 23 ในปี 2555 และลดลงเหลือร้อยละ 20 ในปี 2556 เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชน ขยายฐานภาษี และรองรับการเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558
สำหรับนโยบายที่จะดำเนินการภายในวาระการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลในส่วนที่เกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจอุตสาหกรรม และความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ซึ่งปรากฎอยู่ในนโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่
การเร่งพัฒนาภาคอุตสาหกรรมให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีความรับผิดชอบต่อสังคม และอยู่ร่วมกับชุมชนได้ โดยปรับปรุงเทคโนโลยีการผลิต ลดการใช้ทรัพยากรและลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ด้วยหลักการการลดการใช้ (reduce) การใช้ซ้ำ (reuse) และการนำกลับมาใช้ใหม่ (recycle)
การเพิ่มปริมาณการใช้พลังงานทดแทนในภาคอุตสาหกรรม เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการสร้างรายได้จากการขายคาร์บอนเครดิต และลดภาวะโลกร้อน รวมทั้งสนับสนุนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการแก้ไขปัญหาและตรวจสอบสภาวะแวดล้อม และพัฒนาเมืองหรือพื้นที่อุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco-Town) ที่สอดคล้องกับแนวทางดังกล่าวเพื่อนำไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Society)
การกำหนดมาตรฐานและคุณภาพขั้นพื้นฐานของสินค้าอุตสาหกรรมเมื่อมีการเปิดเสรีการค้ามากขึ้น เพื่อป้องกันสินค้านำเข้าที่ไม่ได้คุณภาพซึ่งอาจก่อให้เกิดภัยอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินและก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งให้มีการบังคับใช้มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) สำหรับสินค้าที่ผลิตภายในประเทศอย่างจริงจัง และส่งเสริมให้เกิดการยอมรับมาตรฐานและคุณภาพสินค้าร่วมกันในกลุ่มอาเซียน
นอกจากนี้ เรื่อง CSR ยังได้รับการระบุอยู่ในส่วนของนโยบายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ได้แก่ การส่งเสริมกระบวนการบริหารจัดการที่ดีในภาคเอกชน โดยเฉพาะระบบการตรวจสอบกิจการที่โปร่งใส และสนับสนุนให้ภาคเอกชนยึดมั่นในความรับผิดชอบต่อลูกค้า ผู้รับบริการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย รวมทั้งมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม และเสริมสร้างความเข้มแข็งให้สังคมโดยการคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อสร้างความเป็นธรรม ตลอดจนป้องกันการผูกขาดตัดตอนทั้งทางตรงและทางอ้อม
จะว่าไปแล้ว CSR ในนโยบายรัฐบาลชุดปัจจุบัน จะมีรายละเอียดมากกว่านโยบายของรัฐบาลชุดที่แล้วที่ระบุเพียงว่า ส่งเสริมให้อุตสาหกรรมมีความรับผิดชอบต่อสังคม ทั้งในด้านคุณภาพและมาตรฐานสินค้าและบริการ และมาตรฐานความปลอดภัยในสถานประกอบการและสิ่งแวดล้อม
สำหรับท่านที่สนใจจะอ่านนโยบายรัฐบาลฉบับเต็ม สามารถดาวน์โหลดได้ที่ http://bit.ly/govpolicy ครับ...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
ส่วนนโยบายเร่งด่วนที่อยู่ในความสนใจของภาคเอกชนที่ได้รับผลกระทบจากการขึ้นค่าแรง คือ การออกมาตรการเพื่อลดภาระแก่ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบเพื่อให้แรงงานและบุคลากรสามารถดำรงชีพได้อย่างมีศักดิ์ศรีและคุณภาพชีวิตที่ดี รวมทั้งการปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคล ให้เหลือร้อยละ 23 ในปี 2555 และลดลงเหลือร้อยละ 20 ในปี 2556 เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชน ขยายฐานภาษี และรองรับการเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558
สำหรับนโยบายที่จะดำเนินการภายในวาระการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลในส่วนที่เกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจอุตสาหกรรม และความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ซึ่งปรากฎอยู่ในนโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่
การเร่งพัฒนาภาคอุตสาหกรรมให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีความรับผิดชอบต่อสังคม และอยู่ร่วมกับชุมชนได้ โดยปรับปรุงเทคโนโลยีการผลิต ลดการใช้ทรัพยากรและลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ด้วยหลักการการลดการใช้ (reduce) การใช้ซ้ำ (reuse) และการนำกลับมาใช้ใหม่ (recycle)
การเพิ่มปริมาณการใช้พลังงานทดแทนในภาคอุตสาหกรรม เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการสร้างรายได้จากการขายคาร์บอนเครดิต และลดภาวะโลกร้อน รวมทั้งสนับสนุนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการแก้ไขปัญหาและตรวจสอบสภาวะแวดล้อม และพัฒนาเมืองหรือพื้นที่อุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco-Town) ที่สอดคล้องกับแนวทางดังกล่าวเพื่อนำไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Society)
การกำหนดมาตรฐานและคุณภาพขั้นพื้นฐานของสินค้าอุตสาหกรรมเมื่อมีการเปิดเสรีการค้ามากขึ้น เพื่อป้องกันสินค้านำเข้าที่ไม่ได้คุณภาพซึ่งอาจก่อให้เกิดภัยอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินและก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งให้มีการบังคับใช้มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) สำหรับสินค้าที่ผลิตภายในประเทศอย่างจริงจัง และส่งเสริมให้เกิดการยอมรับมาตรฐานและคุณภาพสินค้าร่วมกันในกลุ่มอาเซียน
นอกจากนี้ เรื่อง CSR ยังได้รับการระบุอยู่ในส่วนของนโยบายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ได้แก่ การส่งเสริมกระบวนการบริหารจัดการที่ดีในภาคเอกชน โดยเฉพาะระบบการตรวจสอบกิจการที่โปร่งใส และสนับสนุนให้ภาคเอกชนยึดมั่นในความรับผิดชอบต่อลูกค้า ผู้รับบริการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย รวมทั้งมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม และเสริมสร้างความเข้มแข็งให้สังคมโดยการคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อสร้างความเป็นธรรม ตลอดจนป้องกันการผูกขาดตัดตอนทั้งทางตรงและทางอ้อม
จะว่าไปแล้ว CSR ในนโยบายรัฐบาลชุดปัจจุบัน จะมีรายละเอียดมากกว่านโยบายของรัฐบาลชุดที่แล้วที่ระบุเพียงว่า ส่งเสริมให้อุตสาหกรรมมีความรับผิดชอบต่อสังคม ทั้งในด้านคุณภาพและมาตรฐานสินค้าและบริการ และมาตรฐานความปลอดภัยในสถานประกอบการและสิ่งแวดล้อม
สำหรับท่านที่สนใจจะอ่านนโยบายรัฐบาลฉบับเต็ม สามารถดาวน์โหลดได้ที่ http://bit.ly/govpolicy ครับ...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
Subscribe to:
Posts (Atom)