เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ผมได้มีโอกาสเข้าร่วมงาน Global Conference on Sustainability and Reporting ณ กรุงอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งจัดโดย Global Reporting Initiative (GRI) โดยมีผู้สนใจเข้าร่วมงานกว่า 1,600 คน จาก 80 กว่าประเทศทั่วโลก
ในงาน 3 วัน (22-24 พ.ค. 2556) มีทั้งการสัมมนา การนำเสนอ การประชุมโต๊ะกลม การประชุมเชิงปฏิบัติการ การฝึกอบรมแบบ Master Class และกิจกรรมเชื่อมเครือข่าย (Networking) รวมกันได้ 50 วาระ (Session) เรียกได้ว่า หน่วยงานไหน ถ้ามาคนเดียว ไม่สามารถวิ่งรอกเก็บข้อมูลได้ครบถ้วนแน่ๆ
ไฮไลท์ของงานในครั้งนี้ คือ การเปิดตัวแนวทางการรายงานของ GRI ฉบับ G4 ซึ่งได้มีการปรับปรุงจากฉบับ G3.1 ที่ใช้อ้างอิงกันอยู่ในปัจจุบัน รวมถึงถูกใช้อ้างอิงโดยบริษัทในประเทศไทยที่ได้จัดทำรายงานแห่งความยั่งยืนหรือรายงานความรับผิดชอบต่อสังคมตามกรอบ GRI ด้วย
เรื่องใหม่ที่ได้มีการปรับปรุงในฉบับ G4 โดยสังเขป คือ การปรับปรุงการเปิดเผยข้อมูลในหัวข้อการกำกับดูแล จริยธรรมและความสุจริต ห่วงโซ่อุปทาน การต่อต้านทุจริต และการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมถึงรูปแบบสามัญของการเปิดเผยแนวการบริหารจัดการที่ได้รับการปรับปรุงใหม่ โดยให้ความสำคัญในระดับประเด็น (Aspects)
อีกเรื่องหนึ่งที่ถูกรื้อและปรับโฉมโดยสิ้นเชิง คือ การเปิดเผยระดับของการรายงาน ที่แต่เดิมกำหนดเหมือนเกรด A, B, C ทำให้เกิดความสับสนว่า เป็นการบ่งบอกถึงคุณภาพของการรายงาน หรือผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืน แทนที่จะเป็นปริมาณหรือระดับของการเปิดเผยข้อมูลในรายงานตามแนวทาง GRI โดยในฉบับ G4 นี้ จะใช้การระบุว่า เป็นไปตามหลักเกณฑ์ (‘in accordance’ criteria) แนวทางการรายงานของ GRI ในแบบหลัก (Core) หรือแบบรวม (Comprehensive) แทนวิธีการเดิม
ความแตกต่างระหว่างหลักเกณฑ์ทั้งสองแบบ ได้แก่ การเปิดเผยข้อมูลทั่วไปในแบบรวม จะเพิ่มรายละเอียดของกลยุทธ์และการวิเคราะห์ การกำกับดูแล จริยธรรมและความสุจริต มากกว่าในแบบหลัก ส่วนการเปิดเผยข้อมูลจำเพาะ ทั้งสองแบบกำหนดให้เปิดเผยแนวการบริหารจัดการเฉพาะประเด็นที่มีสาระสำคัญเท่านั้น
ขณะที่การเปิดเผยข้อมูลตามตัวบ่งชี้การดำเนินงาน ในแบบหลัก ให้เปิดเผยอย่างน้อย 1 ตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องในแต่ละประเด็นซึ่งถูกระบุว่ามีสาระสำคัญ ส่วนในแบบรวม ต้องรายงานครบทุกตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องในแต่ละประเด็นซึ่งถูกระบุว่ามีสาระสำคัญดังกล่าว
ส่วนการรับประกันแบบรายงานจากภายนอก (External Assurance) เพื่อเพิ่มเครื่องหมาย ‘ + ’ ต่อหลังเกรดตามแนวทางการรายงานในฉบับ G3 หรือ G3.1 นั้น ในฉบับ G4 นี้ ได้ยกเลิกไปพร้อมกับการให้เกรดเช่นกัน แต่ในตารางดัชนีข้อมูล (Content Index) ได้เพิ่มสดมภ์ (Column) เพื่อให้ระบุว่าข้อมูลที่เปิดเผยส่วนใดบ้าง ได้รับการประกันจากภายนอก
แนวทางการรายงาน ฉบับ G4 ได้ตอกย้ำเรื่องสารัตถภาพ (Materiality) ของกระบวนการรายงานและเปิดเผยข้อมูล โดยพิจารณาถึงสิ่งซึ่งองค์กรควรดำเนินการตามขอบเขต What matters, How matters, and Who matters และตั้งอยู่บนพื้นฐานของกรอบความคิด Why (it) matters ที่เปิดทางให้องค์กรสามารถใช้การรายงานดังกล่าว พัฒนารูปแบบรายงานให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องกลุ่มต่างๆ อาทิ รายงานแบบเบ็ดเสร็จ (Integrated Report) ให้แก่นักลงทุนที่คำนึงถึงเรื่องความยั่งยืนและการสร้างมูลค่าในระยะยาว
สำหรับองค์กรที่เพิ่งศึกษาหรือริเริ่มจัดทำรายงานแห่งความยั่งยืนตามแนวทาง GRI ฉบับ G3.1 ก็อย่าเพิ่งตกใจหรือสงสัยว่า จะต้องมาศึกษาหรือเรียนรู้กระบวนการรายงานในฉบับ G4 โดยทันทีหรือไม่ คำตอบคือ ไม่ครับ เพราะองค์กรยังสามารถจัดทำรายงานแห่งความยั่งยืนตามฉบับ G3.1 ไปได้อีกสองรอบการรายงาน (จนถึงสิ้นปี พ.ศ.2558) หลังจากนั้น GRI ถึงจะยกเลิกแนวทางการรายงานฉบับ G3.1
หมายความว่า รายงานรอบปีนี้ ปีหน้า และปีมะรืน ก็ยังคงใช้ฉบับ G3.1 ได้อยู่ครับ...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
Thursday, May 30, 2013
Thursday, May 23, 2013
ผูกเงื่อนตายให้ CSR
มีการพูดกันว่าความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) นั้น ถูกนำมาเป็นเครื่องมือที่องค์กรธุรกิจใช้สำหรับสร้างภาพประชาสัมพันธ์อย่างฉาบฉวย เป็นมุขทางการตลาด มิได้ทำเพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างจริงจังแข็งขัน
ก็เห็นอยู่ว่า CSR มีทั้งในรูปแบบที่เป็นกิจกรรม หรือ Event เพื่อสังคม จัดกันที่ใช้เงินหลายล้านบาท ไม่ได้วัดความสำเร็จกันที่ผลลัพธ์มากนัก ใช้เกณฑ์ว่า ‘ได้ทำ’ หรือ ได้ใช้งบที่ตั้งไว้หมด คือ สำเร็จเสร็จแล้ว
CSR รูปแบบนี้ ก็ยังคงมีให้เห็นกันอยู่ต่อไป ตราบที่บริษัทมีเป้าหมายในการทำ CSR เพื่อ PR อย่างแข็งขัน แต่สำหรับบริษัทที่ต้องการทำ CSR เพื่อผลลัพธ์ที่มากกว่านั้น ก็คงต้องมีแนวทางอื่นเสริม ที่มิใช่เพียงแค่การจัดกิจกรรม CSR เป็นครั้งๆ ซึ่งวิธีหนึ่งก็คือ การผนวกหรือฝังเรื่อง CSR เข้าไปในการดำเนินงานขององค์กร ซึ่งอาจเรียกเป็นภาษาทางการว่า การบูรณาการความรับผิดชอบต่อสังคมทั่วทั้งองค์กร
กระบวนการแรกเริ่มที่สำคัญในการบูรณาการความรับผิดชอบต่อสังคมทั่วทั้งองค์กร ตามหลักวิชา จะประกอบด้วย การสร้างสมรรถภาพในการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคม การกำหนดทิศทางการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร และการกำกับดูแลองค์กรในบริบทของความรับผิดชอบต่อสังคม
การสร้างสมรรถภาพในการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคม มีจุดเริ่มที่การปลูกฝังความรับผิดชอบต่อสังคมให้อยู่ในทุกส่วนขององค์กร ซึ่งเกิดจากการให้คำมั่นและการสร้างความเข้าใจร่วมกันในทุกระดับ เริ่มจากผู้นำสูงสุด ด้วยการชี้ให้เห็นถึงนัยและประโยชน์ของความรับผิดชอบต่อสังคม หรือใช้การต่อยอดจากค่านิยมและวัฒนธรรมขององค์กรที่มีอยู่
การสร้างสมรรถภาพในการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมนั้น เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทักษะในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การสานสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้เสีย ซึ่งอาจครอบคลุมไปถึงการฝึกอบรมให้แก่ผู้จัดการและคนงานในสายอุปทาน
การกำหนดทิศทางการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร ทำได้โดยการผนวกเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมให้เป็นส่วนหนึ่งของวิสัยทัศน์ ภารกิจ ค่านิยม นโยบาย กลยุทธ์การดำเนินงาน วัฒนธรรมองค์กร ฯลฯ ที่ซึ่งบุคลากรในทุกระดับ สามารถรับรู้ว่าเป็นแนวทางของบริษัทที่ต้องปฏิบัติตาม
การกำหนดทิศทางทางการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร ยังรวมถึงการแปลงไปสู่วัตถุประสงค์ขององค์กรที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ตามลำดับความสำคัญของเรื่องและประเด็นที่จะดำเนินการ โดยมีความชัดเจนและสามารถวัดผลหรือพิสูจน์ยืนยันได้ ทั้งนี้ ความเห็นของผู้มีส่วนได้เสียจะมีส่วนช่วยในการกำหนดวัตถุประสงค์ ที่นำไปสู่การจัดทำรายละเอียดการดำเนินงาน ผู้รับผิดชอบ ระยะเวลา งบประมาณ และผลที่จะเกิดขึ้นกับการดำเนินงานอื่นๆ ขององค์กร
กลไกหนึ่งที่สำคัญและมีประสิทธิผลในการบูรณาการความรับผิดชอบต่อสังคมทั่วทั้งองค์กร คือ การขับเคลื่อนผ่านระบบการกำกับดูแลองค์กร โดยมีการกำหนดโครงสร้างและกระบวนการอย่างชัดเจน หรืออาจใช้วิธีแบบไม่เป็นทางการ โดยผู้นำองค์กรใช้ค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กรเป็นตัวขับเคลื่อน
ทั้งนี้ กระบวนการบูรณาการความรับผิดชอบต่อสังคมทั่วทั้งองค์กรให้ครอบคลุมในทุกหัวข้อและในประเด็นที่เลือกมาดำเนินการนั้น อาจมิได้เกิดขึ้นพร้อมกันในคราวเดียว บริษัทจึงควรมีแผนดำเนินงานรองรับทั้งประเด็นที่สามารถดำเนินการได้ในทันที และประเด็นที่จะดำเนินการในระยะต่อไป โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ สมรรถภาพขององค์กร ทรัพยากรที่มีอยู่ และลำดับความสำคัญของประเด็น
เรียกได้ว่า หากองค์กรใช้วิธีการผนวกหรือฝังเรื่อง CSR เข้าไปในการดำเนินงานขององค์กรแล้ว ก็เท่ากับเป็นการผูกเงื่อนตายให้ CSR ได้มีบทบาทในทุกส่วนขององค์กร และดำเนินไปโดยบุคลากรในทุกระดับ ทำให้ยากต่อการหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบต่อสังคมในแบบจริงจังและแข็งขัน ที่ไปช่วยเพิ่มตัวคูณสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืนได้...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
ก็เห็นอยู่ว่า CSR มีทั้งในรูปแบบที่เป็นกิจกรรม หรือ Event เพื่อสังคม จัดกันที่ใช้เงินหลายล้านบาท ไม่ได้วัดความสำเร็จกันที่ผลลัพธ์มากนัก ใช้เกณฑ์ว่า ‘ได้ทำ’ หรือ ได้ใช้งบที่ตั้งไว้หมด คือ สำเร็จเสร็จแล้ว
CSR รูปแบบนี้ ก็ยังคงมีให้เห็นกันอยู่ต่อไป ตราบที่บริษัทมีเป้าหมายในการทำ CSR เพื่อ PR อย่างแข็งขัน แต่สำหรับบริษัทที่ต้องการทำ CSR เพื่อผลลัพธ์ที่มากกว่านั้น ก็คงต้องมีแนวทางอื่นเสริม ที่มิใช่เพียงแค่การจัดกิจกรรม CSR เป็นครั้งๆ ซึ่งวิธีหนึ่งก็คือ การผนวกหรือฝังเรื่อง CSR เข้าไปในการดำเนินงานขององค์กร ซึ่งอาจเรียกเป็นภาษาทางการว่า การบูรณาการความรับผิดชอบต่อสังคมทั่วทั้งองค์กร
กระบวนการแรกเริ่มที่สำคัญในการบูรณาการความรับผิดชอบต่อสังคมทั่วทั้งองค์กร ตามหลักวิชา จะประกอบด้วย การสร้างสมรรถภาพในการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคม การกำหนดทิศทางการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร และการกำกับดูแลองค์กรในบริบทของความรับผิดชอบต่อสังคม
การสร้างสมรรถภาพในการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคม มีจุดเริ่มที่การปลูกฝังความรับผิดชอบต่อสังคมให้อยู่ในทุกส่วนขององค์กร ซึ่งเกิดจากการให้คำมั่นและการสร้างความเข้าใจร่วมกันในทุกระดับ เริ่มจากผู้นำสูงสุด ด้วยการชี้ให้เห็นถึงนัยและประโยชน์ของความรับผิดชอบต่อสังคม หรือใช้การต่อยอดจากค่านิยมและวัฒนธรรมขององค์กรที่มีอยู่
การสร้างสมรรถภาพในการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมนั้น เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทักษะในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การสานสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้เสีย ซึ่งอาจครอบคลุมไปถึงการฝึกอบรมให้แก่ผู้จัดการและคนงานในสายอุปทาน
การกำหนดทิศทางการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร ทำได้โดยการผนวกเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมให้เป็นส่วนหนึ่งของวิสัยทัศน์ ภารกิจ ค่านิยม นโยบาย กลยุทธ์การดำเนินงาน วัฒนธรรมองค์กร ฯลฯ ที่ซึ่งบุคลากรในทุกระดับ สามารถรับรู้ว่าเป็นแนวทางของบริษัทที่ต้องปฏิบัติตาม
การกำหนดทิศทางทางการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร ยังรวมถึงการแปลงไปสู่วัตถุประสงค์ขององค์กรที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ตามลำดับความสำคัญของเรื่องและประเด็นที่จะดำเนินการ โดยมีความชัดเจนและสามารถวัดผลหรือพิสูจน์ยืนยันได้ ทั้งนี้ ความเห็นของผู้มีส่วนได้เสียจะมีส่วนช่วยในการกำหนดวัตถุประสงค์ ที่นำไปสู่การจัดทำรายละเอียดการดำเนินงาน ผู้รับผิดชอบ ระยะเวลา งบประมาณ และผลที่จะเกิดขึ้นกับการดำเนินงานอื่นๆ ขององค์กร
กลไกหนึ่งที่สำคัญและมีประสิทธิผลในการบูรณาการความรับผิดชอบต่อสังคมทั่วทั้งองค์กร คือ การขับเคลื่อนผ่านระบบการกำกับดูแลองค์กร โดยมีการกำหนดโครงสร้างและกระบวนการอย่างชัดเจน หรืออาจใช้วิธีแบบไม่เป็นทางการ โดยผู้นำองค์กรใช้ค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กรเป็นตัวขับเคลื่อน
ทั้งนี้ กระบวนการบูรณาการความรับผิดชอบต่อสังคมทั่วทั้งองค์กรให้ครอบคลุมในทุกหัวข้อและในประเด็นที่เลือกมาดำเนินการนั้น อาจมิได้เกิดขึ้นพร้อมกันในคราวเดียว บริษัทจึงควรมีแผนดำเนินงานรองรับทั้งประเด็นที่สามารถดำเนินการได้ในทันที และประเด็นที่จะดำเนินการในระยะต่อไป โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ สมรรถภาพขององค์กร ทรัพยากรที่มีอยู่ และลำดับความสำคัญของประเด็น
เรียกได้ว่า หากองค์กรใช้วิธีการผนวกหรือฝังเรื่อง CSR เข้าไปในการดำเนินงานขององค์กรแล้ว ก็เท่ากับเป็นการผูกเงื่อนตายให้ CSR ได้มีบทบาทในทุกส่วนขององค์กร และดำเนินไปโดยบุคลากรในทุกระดับ ทำให้ยากต่อการหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบต่อสังคมในแบบจริงจังและแข็งขัน ที่ไปช่วยเพิ่มตัวคูณสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืนได้...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
Subscribe to:
Posts (Atom)