Tuesday, November 28, 2006

การจัดการความรู้ในเศรษฐกิจพอเพียงเป็นอย่างไร

การจัดการความรู้ หรือ Knowledge Management เป็นคำที่ได้รับความสนใจไม่น้อยในยุคปัจจุบัน เนื่องจากองค์กรธุรกิจต่างตระหนักถึงคุณค่าของสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้ (Intangible Asset) ในองค์กรเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ และได้พยายามศึกษาถึงวิธีการในการสร้างและรักษาสินทรัพย์ประเภทดังกล่าวไว้ในกิจการ จนกลายเป็นศาสตร์แขนงที่มีการค้นคว้าและมีการสร้างทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าวอย่างมากมาย

คำที่เกี่ยวข้องในศาสตร์ของการจัดการความรู้ มักจะประกอบไปด้วยคำว่า ข้อมูล สารสนเทศ ความรู้ และปัญญา ซึ่งมีความหมายที่แตกต่างกันออกไป ข้อมูล (Data) คือ ข้อเท็จจริง หรือสิ่งที่ถือหรือยอมรับว่าเป็นข้อเท็จจริง ที่ยังไม่ผ่านการวิเคราะห์ สำหรับใช้เป็นหลักอนุมานหาความจริงหรือการคำนวณ สารสนเทศ (Information) คือ ข่าวสาร หรือข้อมูลที่ถูกจัดรูปเพื่อการแสดงหรือการชี้แจง สำหรับนำไปใช้วิเคราะห์และการคำนวณ ความรู้ (Knowledge) คือ เนื้อความ หรือสารสนเทศที่ผ่านการถอดความ ผ่านกระบวนการคิดและเข้าใจ เป็นข้อมูลที่ถูกจดจำในรูปของประสบการณ์ ปัญญา (Wisdom) คือ ความรู้ที่ถูกต้องตามความเป็นจริง ปราศจากอคติและความคิดเห็น มีความเที่ยงตรง ไม่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา... (อ่านรายละเอียดในคอลัมน์ พอเพียงภิวัตน์) External Link [Archived]

Monday, November 27, 2006

เก็บตกจากงานเศรษฐกิจพอเพียง: ร่วมเรียนรู้ สานข่าย ขยายผล

เมื่อวันที่ 23-27 พฤศจิกายน 2549 มีการประชุมวิชาการและนิทรรศการ "เศรษฐกิจพอเพียง: ร่วมเรียนรู้ สานข่าย ขยายผล" จัดโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ร่วมกับอีก 12 องค์กร ณ สำนักพิพิธภัณฑ์และวัฒนธรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน กรุงเทพฯ โดยมีเนื้อหาที่น่าสนใจอยู่หลายส่วน จึงพยายามรวบรวมเป็นเนื้อหา "เก็บตก" จากงานไว้เท่าที่พอจะสืบค้นได้ดังนี้

- พระราชดำรัส สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ในการเปิดประชุมวิชาการและนิทรรศการฯ External Link
- สมเด็จพระเทพฯ แนะใช้ “สติ-เรียนรู้”แก้ทุกข์คนไทย External Link
- เศรษฐกิจพอเพียง จุดเปลี่ยนประเทศไทย External Link
- การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง External Link
- อภิชัย พันธเสน “เศรษฐศาสตร์พอเพียงอิงศาสนา เป็นยิ่งกว่าวิทยาศาสตร์” External Link

Tuesday, November 21, 2006

EVA ใช้เป็นเครื่องมือจัดการธุรกิจแบบพอเพียงได้หรือไม่

ปัญหาสำคัญอีกประการหนึ่งของความพยายามที่จะนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในภาคธุรกิจ คือ ความยากลำบากในการแปลงปรัชญาที่เป็นนามธรรม ให้ได้มาซึ่งวิธีการอย่างเป็นขั้นตอน และเครื่องมือสนับสนุนการประยุกต์เศรษฐกิจพอเพียงที่เป็นรูปธรรม มีความเหมาะสมกับองค์กรธุรกิจที่คุ้นเคยกับการบริหารจัดการโดยมีผลลัพธ์ที่วัดได้ในเชิงตัวเลข สามารถวิเคราะห์ เปรียบเทียบ ประเมินผล สำหรับการนำไปสู่การปรับปรุงการดำเนินงาน หรือการพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น

ในการดำเนินธุรกิจตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงนั้น จะคำนึงถึงกำไรทางเศรษฐศาสตร์มากกว่าการแสวงหากำไรสูงสุดในทางบัญชี โดยพิจารณาถึงหลักความพอประมาณในธุรกิจที่ก่อให้เกิดกำไรทางเศรษฐศาสตร์ เพราะผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการบริหารกำไรทางเศรษฐศาสตร์นี้ ก็คือ ความเหมาะสมของการดำเนินกิจกรรมการผลิตที่ไม่น้อยเกินไป จนต่ำกว่ากำไรปกติ กระทั่งกิจการไม่สามารถอยู่รอดได้ และไม่มากเกินไปจนสูงกว่ากำไรปกติ กระทั่งกิจการต้องประสบภาวะเสี่ยงหรือขาดภูมิคุ้มกันในธุรกิจ เครื่องมือทางธุรกิจที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้บริหารจัดการกำไรทางเศรษฐศาสตร์เครื่องมือหนึ่ง คือ มูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจ (Economic Value Added - EVA)... (อ่านรายละเอียดในคอลัมน์ พอเพียงภิวัตน์) External Link [Archived]

Monday, November 20, 2006

"The World is Flat" - โลการะนาบ

Thomas Friedman ได้แรงบันดาลใจในการแต่งหนังสือเล่มนี้ ระหว่างการเดินทางไป Bangalore ประเทศอินเดีย เมื่อปี 2547 ในขณะที่ผมได้มีโอกาสซื้อหนังสือฉบับ Updated and Expanded เล่มนี้ ระหว่างการเดินทางกลับจาก Calcutta ประเทศอินเดีย เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2549 เลยนำเนื้อหามาย่อยในรายการ MCOT.NET ประจำเดือนพฤศจิกายน (สำหรับผู้ที่ไม่อยากซื้อหนังสือมาอ่านเอง สามารถติดตามการย่อยหนังสือธุรกิจที่น่าสนใจ ได้ในทุกวันจันทร์ของสัปดาห์กลางเดือน ในรายการ MCOT.NET ทางสถานีวิทยุ FM 100.5 MHz เวลา 21.00-22.00 น.) Thomas ได้พูดถึง โลกาภิวัตน์ในสามยุค เริ่มจากยุค 1.0 เป็นยุคที่ระดับประเทศ (Country) ได้รับประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลง ยุค 2.0 เป็นยุคที่ระดับบรรษัท (Corporation) ได้รับประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลง และยุค 3.0 เป็นยุคที่ระดับปัจเจก (Individual) ได้รับประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลง

ในทัศนะของผมเห็นว่า ในความเป็นจริง อิทธิพลของรัฐในฐานะผู้ปกครองประเทศ และบรรษัทในฐานะผู้ดำรงบทบาททางเศรษฐกิจที่สำคัญ มิได้ด้อยลงแม้จะเปลี่ยนผ่านมายังยุค 3.0 แล้วก็ตาม ตรงกันข้าม รัฐและบรรษัทกลับสามารถยืมมือปัจเจกในการขยายอิทธิพลของตัวเองให้กว้างขวางออกไปได้อีกต่างหาก ตัวอย่างเช่น การใช้ปัจเจกปลุกกระแสความคิดเห็นร่วมทางการเมืองโดยอาศัยสื่อเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือเผยแพร่ (เช่น ทางเว็บบอร์ด) การจ้างวานปัจเจกให้เขียน Blog ส่วนบุคคล ที่แฝงด้วยการสนับสนุนผลิตภัณฑ์ของบรรษัท การสร้างข้อมูลอ้างอิงที่บิดเบือนในสารานุกรมสาธารณะ (เช่น ในวิกิพีเดีย) ฯลฯ

Audio File ฟังการย่อยเนื้อหาในหนังสือ "The World is Flat" ตอน 1 External Link

Wednesday, November 15, 2006

เศรษฐกิจพอเพียงคือการพึ่งตนเอง ใช่หรือไม่

จนถึงวันนี้ ความเข้าใจในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับคนกลุ่มหนึ่ง ก็ยังเข้าใจว่า พอเพียง คือ การพึ่งตนเอง ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า Self-sufficiency แต่คำว่า พอเพียง ในปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งตรงกับคำว่า Sufficiency Economy นั้น มีความหมายกว้างกว่าแค่การพึ่งตนเองได้

เศรษฐกิจพอเพียงในระดับที่เลี้ยงตัวเองได้บนพื้นฐานของความประหยัดและการลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น เรียกว่า เศรษฐกิจพอเพียงแบบพื้นฐาน ส่วนเศรษฐกิจพอเพียงในระดับที่มีการรวมตัวกัน เพื่อร่วมกันดำเนินงานในเรื่องต่างๆ มีการสร้างเครือข่ายและการขยายกิจกรรมทางเศรษฐกิจในรูปแบบต่างๆ โดยประสานความร่วมมือกับภายนอก เรียกว่า เศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า ดังนั้น เศรษฐกิจพอเพียงจึงมิใช่แค่เพียงเรื่องของการพึ่งตนเองโดยที่ไม่เกี่ยวข้องกับใคร และมิใช่แค่เรื่องของการประหยัด แต่ยังครอบคลุมถึงการข้องเกี่ยวกับผู้อื่น การช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน... (อ่านรายละเอียดในคอลัมน์ พอเพียงภิวัตน์) External Link [Archived]

Tuesday, November 07, 2006

พอเพียง วัดกันที่ตรงไหน

พูดถึงคำว่าพอเพียงกับการดำเนินชีวิต หรือความเป็นอยู่อย่างพอเพียง หลายท่านคงจะเกิดคำถามขึ้นมาในใจว่า แล้วอย่างไรล่ะถึงจะเรียกว่าอยู่อย่างพอเพียง หรือแค่ไหนถึงจะเรียกว่าพอประมาณ เอาเกณฑ์อะไรมาวัด พอเพียงของฉันกับพอเพียงของเธอต้องเท่ากันหรือไม่

เทคนิคอย่างหนึ่งในการตอบคำถามลักษณะว่าใช่หรือไม่ใช่ เป็นหรือไม่เป็นนี้ ก็คือดูว่า อะไรที่ไม่ใช่บ้าง อะไรที่ไม่เป็นบ้าง การเห็นสิ่งที่ไม่ใช่หรือสิ่งที่ไม่เป็นชัดเจนมากเท่าใด ก็จะสามารถรู้และเข้าใจสิ่งที่ใช่ หรือสิ่งที่เป็นชัดเจนมากยิ่งขึ้นเท่านั้น... (อ่านรายละเอียดในคอลัมน์ พอเพียงภิวัตน์) External Link [Archived]

Monday, November 06, 2006

CSR ต่างกับ CG อย่างไร

คำถามหนึ่งที่เกิดขึ้นในห้วงเวลานี้ สำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการกำกับดูแลกิจการ (Corporate Governance – CG) กับเรื่องการดำเนินกิจการที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility – CSR) ว่าสองเรื่องนี้มีความเหมือนกันหรือความแตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร โดยคนกลุ่มหนึ่งมีความเห็นว่า CSR นั้นเป็นส่วนหนึ่งของ CG ในขณะที่คนอีกกลุ่มหนึ่งกลับเห็นว่า CG นั้นเป็นส่วนหนึ่งของ CSR ต่างหาก ในบทความนี้ จะได้พยายามชี้ให้เห็นข้อแตกต่างระหว่างเรื่องของ CG กับเรื่องของ CSR... (อ่านรายละเอียดในคอลัมน์ CSR Knowledge) External Link [Archived]