Thomas Friedman ได้แรงบันดาลใจในการแต่งหนังสือเล่มนี้ ระหว่างการเดินทางไป Bangalore ประเทศอินเดีย เมื่อปี 2547 ในขณะที่ผมได้มีโอกาสซื้อหนังสือฉบับ Updated and Expanded เล่มนี้ ระหว่างการเดินทางกลับจาก Calcutta ประเทศอินเดีย เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2549 เลยนำเนื้อหามาย่อยในรายการ MCOT.NET ประจำเดือนพฤศจิกายน (สำหรับผู้ที่ไม่อยากซื้อหนังสือมาอ่านเอง สามารถติดตามการย่อยหนังสือธุรกิจที่น่าสนใจ ได้ในทุกวันจันทร์ของสัปดาห์กลางเดือน ในรายการ MCOT.NET ทางสถานีวิทยุ FM 100.5 MHz เวลา 21.00-22.00 น.) Thomas ได้พูดถึง โลกาภิวัตน์ในสามยุค เริ่มจากยุค 1.0 เป็นยุคที่ระดับประเทศ (Country) ได้รับประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลง ยุค 2.0 เป็นยุคที่ระดับบรรษัท (Corporation) ได้รับประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลง และยุค 3.0 เป็นยุคที่ระดับปัจเจก (Individual) ได้รับประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลง
ในทัศนะของผมเห็นว่า ในความเป็นจริง อิทธิพลของรัฐในฐานะผู้ปกครองประเทศ และบรรษัทในฐานะผู้ดำรงบทบาททางเศรษฐกิจที่สำคัญ มิได้ด้อยลงแม้จะเปลี่ยนผ่านมายังยุค 3.0 แล้วก็ตาม ตรงกันข้าม รัฐและบรรษัทกลับสามารถยืมมือปัจเจกในการขยายอิทธิพลของตัวเองให้กว้างขวางออกไปได้อีกต่างหาก ตัวอย่างเช่น การใช้ปัจเจกปลุกกระแสความคิดเห็นร่วมทางการเมืองโดยอาศัยสื่อเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือเผยแพร่ (เช่น ทางเว็บบอร์ด) การจ้างวานปัจเจกให้เขียน Blog ส่วนบุคคล ที่แฝงด้วยการสนับสนุนผลิตภัณฑ์ของบรรษัท การสร้างข้อมูลอ้างอิงที่บิดเบือนในสารานุกรมสาธารณะ (เช่น ในวิกิพีเดีย) ฯลฯ
ฟังการย่อยเนื้อหาในหนังสือ "The World is Flat" ตอน 1
Monday, November 20, 2006
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment