ปัญหาสำคัญอีกประการหนึ่งของความพยายามที่จะนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในภาคธุรกิจ คือ ความยากลำบากในการแปลงปรัชญาที่เป็นนามธรรม ให้ได้มาซึ่งวิธีการอย่างเป็นขั้นตอน และเครื่องมือสนับสนุนการประยุกต์เศรษฐกิจพอเพียงที่เป็นรูปธรรม มีความเหมาะสมกับองค์กรธุรกิจที่คุ้นเคยกับการบริหารจัดการโดยมีผลลัพธ์ที่วัดได้ในเชิงตัวเลข สามารถวิเคราะห์ เปรียบเทียบ ประเมินผล สำหรับการนำไปสู่การปรับปรุงการดำเนินงาน หรือการพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น
ในการดำเนินธุรกิจตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงนั้น จะคำนึงถึงกำไรทางเศรษฐศาสตร์มากกว่าการแสวงหากำไรสูงสุดในทางบัญชี โดยพิจารณาถึงหลักความพอประมาณในธุรกิจที่ก่อให้เกิดกำไรทางเศรษฐศาสตร์ เพราะผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการบริหารกำไรทางเศรษฐศาสตร์นี้ ก็คือ ความเหมาะสมของการดำเนินกิจกรรมการผลิตที่ไม่น้อยเกินไป จนต่ำกว่ากำไรปกติ กระทั่งกิจการไม่สามารถอยู่รอดได้ และไม่มากเกินไปจนสูงกว่ากำไรปกติ กระทั่งกิจการต้องประสบภาวะเสี่ยงหรือขาดภูมิคุ้มกันในธุรกิจ เครื่องมือทางธุรกิจที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้บริหารจัดการกำไรทางเศรษฐศาสตร์เครื่องมือหนึ่ง คือ มูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจ (Economic Value Added - EVA)... (อ่านรายละเอียดในคอลัมน์ พอเพียงภิวัตน์) [Archived]
Tuesday, November 21, 2006
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment