ไม่บ่อยนัก สำหรับแวดวงการขับเคลื่อนธุรกิจเพื่อสังคมในประเทศไทย ที่จะได้มีโอกาสเป็นเจ้าบ้านต้อนรับงานใหญ่ระดับนานาชาติ ที่มีผู้คนทั้งในภาคเอกชน ภาครัฐ ภาคประชาสังคม และภาคการศึกษาทั่วโลก มารวมตัวกันอยู่ในงานเดียว
งานที่พูดถึงนี้ คือ งาน Social Business Day ครั้งที่ 9 ที่กรุงเทพฯ ในสัปดาห์นี้ (28-29 มิถุนายน) โดยมีผู้จัดหลัก คือ Yunus Centre ศูนย์ที่ก่อตั้งโดย ศ.มูฮัมหมัด ยูนุส นักเศรษฐศาสตร์เจ้าของรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพ ผู้ที่เป็นต้นตำรับแนวคิด Social Business
Social Business เป็นธุรกิจเพื่อสังคม ซึ่งมีความแตกต่างจากธุรกิจปกติที่มุ่งแสวงหากำไรสูงสุด และไม่ใช่องค์กรที่ไม่แสวงหากำไร ที่อยู่ได้ด้วยเงินบริจาคหรือเป็นองค์กรการกุศล แต่เป็นการประกอบธุรกิจเพื่อแก้ไขปัญหาสังคมด้วยวิถีทางที่สามารถเลี้ยงตัวเองได้
ยูนุสได้บุกเบิกการทำงานตามแนวทางดังกล่าวด้วยตัวเอง มาเป็นเวลากว่า 30 ปี เกิดเป็นตัวอย่างกว่า 40 ธุรกิจ เฉพาะในบังกลาเทศที่เป็นบ้านเกิดของยูนุส และในจำนวนนั้น มีธุรกิจที่พัฒนาเติบโตจนติดอยู่ในกลุ่มกิจการขนาดใหญ่สุดของประเทศ จนสหประชาชาติ สหภาพยุโรป และองค์การระหว่างประเทศทั้งในสังกัดภาครัฐ ภาคเอกชน และภาควิชาการ ต่างให้การยอมรับแนวคิด Social Business นี้อย่างกว้างขวาง
เป้าหมายของธุรกิจเพื่อสังคม คือ การแก้ไขปัญหาสังคมด้วยวิธีการทางธุรกิจ ที่ครอบคลุมถึงการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์และบริการ ดังตัวอย่างของ กรามีน-ดาน่อน ที่ตั้งขึ้นเพื่อแก้ปัญหาทุพโภชนาการ ด้วยการผลิตโยเกิร์ตที่เติมธาตุอาหารเสริมจำหน่ายแก่ผู้มีรายได้น้อย หรือ กรามีน-วีโอเลีย ที่ช่วยแก้ปัญหาของผู้อยู่อาศัยในแหล่งที่มีการปนเปื้อนของสารหนูในน้ำดื่ม ด้วยการจำหน่ายน้ำดื่มบริสุทธิ์ในราคาถูกตามกำลังซื้อของคนในระดับฐานราก หรือ บีเอเอสเอฟ-กรามีน ที่ต้องการควบคุมโรคที่เกิดจากยุงเป็นพาหะ ด้วยการผลิตและจำหน่ายมุ้งเคลือบสารกันยุงในแหล่งที่เกิดการแพร่ระบาดของโรค เป็นต้น
เท่าที่ผมได้รับข้อมูลจากผู้จัดงาน จนถึงวันที่เขียนบทความชิ้นนี้ งาน Social Business Day ครั้งที่ 9 นี้ มียอดผู้ลงทะเบียนแล้วกว่า 1,300 คน จาก 41 ประเทศ 7 ทวีป (มีมาจาก ทวีปแอนตาร์กติกา ด้วย!)
ผู้จัดยังบอกด้วยว่า งาน #SBD2019 ในครั้งนี้ เป็น Social Business Day ที่จัดขึ้นครั้งแรกในประเทศไทย และเป็นอีเวนท์ Social Business ที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ นับตั้งแต่ที่เคยจัดมา
ในงาน 2 วัน มีการประชุมกลุ่มย่อย (Breakout Session) 9 กลุ่ม การประชุมกลุ่มประเทศ (Country Forum) 7 กลุ่ม การประชุมกลุ่มเยาวชน (Youth Workshop) 6 กลุ่ม และการประชุมคู่ขนานสำหรับภาคการศึกษา (Academia Conference) ในช่วงบ่ายของงานวันที่สอง
โดยงานในปีนี้ ใช้ธีมว่า “Making Money is Happiness, Making Other People Happy is Super Happiness” (การทำเงินเป็นความสุข แต่การทำให้ผู้อื่นมีความสุข เป็นความสุขยิ่ง)
หัวข้อที่จะมีการพูดคุยในงาน ครอบคลุมทั้งเรื่องการศึกษา เกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร สุขภาวะ การเงิน สิ่งแวดล้อม พลังงานสีเขียว ศิลปวัฒนธรรมเพื่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ธุรกิจเพื่อสังคมกับการกีฬา กิจการขนาดใหญ่กับธุรกิจเพื่อสังคม เทคโนโลยีกับธุรกิจเพื่อสังคม ภาวะผู้นำเยาวชนกับธุรกิจเพื่อสังคม สินเชื่อไมโครไฟแนนซ์กับธุรกิจเพื่อสังคม ฯลฯ ซึ่งจะนำการสนทนาโดยวิทยากรจากทั่วโลกกว่า 100 คน
ในงานครั้งนี้ Yunus Centre ยังถือโอกาสใช้เป็นเวทีในการเปิดตัว Corporate Action Tank Thailand แพลตฟอร์มการทำงานร่วมกับภาคเอกชนในการขับเคลื่อนความริเริ่มด้านธุรกิจเพื่อสังคมในประเทศไทยด้วย
Corporate Action Tank ที่กำลังจัดตั้งขึ้นในประเทศไทย ถือเป็นประเทศที่สี่ นับจากที่ Yunus Centre ได้ก่อตั้งมาแล้วที่ประเทศฝรั่งเศส อินเดีย และบราซิล
องค์กรธุรกิจที่จะเข้าร่วมใน Corporate Action Tank จะมีการนำหลักการของ Social Business มาใช้แก้ปัญหาสังคมในประเด็นที่อยู่ในความสนใจขององค์กร เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่กลุ่มเป้าหมาย ด้วยการนำธุรกิจแกนหลัก (Core Business) ของตน มาดำเนินการ
เท่าที่ทราบอย่างไม่เป็นทางการ มีกิจการที่ตอบรับเข้าร่วมใน Corporate Action Tank แล้ว ได้แก่ เครือเจริญโภคภัณฑ์ และกลุ่มบริษัท บางจาก (โปรดติดตามประกาศจากผู้จัดในวันงานอีกครั้งหนึ่ง)
งานใหญ่ระดับโลกนี้ ได้มาจัดอยู่ในบ้านเราเอง (ที่เซ็นทาราแกรนด์และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์) ผู้ที่อยู่ในแวดวงการทำงานธุรกิจเพื่อสังคม ไม่ควรพลาดด้วยประการทั้งปวง
จากบทความ 'Sustainpreneur' ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ [Archived]
Sunday, June 23, 2019
Monday, June 10, 2019
ทางเลือกนักลงทุน
ESG กับกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน/รีทส์/อสังหาริมทรัพย์
นับจากที่ สถาบันไทยพัฒน์ โดยหน่วยงาน ESG Rating ได้ริเริ่มจัดทำและประกาศรายชื่อ 100 หลักทรัพย์ที่มีการดำเนินงานโดดเด่นด้าน สิ่งแวดล้อม สังคม และ ธรรมาภิบาล (ESG) หรือที่เรียกว่ากลุ่มหลักทรัพย์ ESG100 ตั้งแต่ปี พ.ศ.2558 เป็นต้นมา
นับเป็นปีที่ห้าของการประเมิน ด้วยการคัดเลือกจาก 704 บริษัทจดทะเบียน (ไม่รวมหลักทรัพย์ที่อยู่ระหว่างการฟื้นฟู) และในปีนี้ ได้ทำการคัดเลือกกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ และทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REITs) เป็นปีแรกด้วย
เนื่องจากการเติบโตในแง่ของ Supply คือ มีจำนวนกองทุนมากพอในระดับที่สามารถนำมาเป็นตัวเลือกของการลงทุนได้ และหลายกองทุนเริ่มให้ความสำคัญกับการเปิดเผยข้อมูล ESG ของกองทุนให้แก่ผู้ลงทุน ยิ่งไปกว่านั้น ในแง่ของ Demand ตามสภาวะตลาดทุนปัจจุบัน ผู้ลงทุนต้องการทางเลือกของการลงทุนที่มีความผันผวนต่ำ และยังสามารถให้ผลตอบแทนที่ไม่ด้อยกว่าการลงทุนในตราสารทุน ประเภทหุ้น
ปัจจุบัน มีกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานที่จดทะเบียนกับสำนักงาน ก.ล.ต. จำนวน 7 กองทุน มีมูลค่าตลาดรวม 358,103.89 ล้านบาท มีกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 60 กองทุน มีมูลค่าตลาดรวม 426,501.27 ล้านบาท (ข้อมูล ณ วันที่ 5 มิถุนายน 2562)
กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน/รีทส์/อสังหาริมทรัพย์ ทั้ง 67 กองรวมกัน มีมูลค่าตลาดคิดเป็นร้อยละ 4.64 เมื่อเทียบกับมาร์เกตแคปรวมของตลาด (SET) ที่ 16.89 ล้านล้านบาท
การประเมิน ESG กับกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน/รีทส์/อสังหาริมทรัพย์ โดยหน่วยงาน ESG Rating ของสถาบันไทยพัฒน์ ในปีแรกนี้ ได้คัดเลือกกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเข้าอยู่ในกลุ่มหลักทรัพย์ ESG100 จำนวน 2 กองทุน ได้แก่ กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน โรงไฟฟ้าพระนครเหนือ ชุดที่ 1 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (EGATIF) กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ต จัสมิน (JASIF)
และกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 7 กองทุน ได้แก่ กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ CPN คอมเมอร์เชียล โกรท (CPNCG) กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ไพร์มออฟฟิศ (POPF) ทรัสต์เพื่อการลงทุนในสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์บัวหลวง ออฟฟิศ (B-WORK) ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์และสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่ออุตสาหกรรม เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (FTREIT) ทรัสต์เพื่อการลงทุนในสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โกลเด้นเวนเจอร์ (GVREIT) ทรัสต์เพื่อการลงทุนในสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ แอล เอช ช้อปปิ้ง เซ็นเตอร์ (LHSC) และทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์และสิทธิการเช่าดับบลิวเอชเอ พรีเมี่ยม โกรท (WHART)
สำหรับเกณฑ์ในการประเมิน ESG กับกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน/รีทส์/อสังหาริมทรัพย์ นอกจากการใช้ Screening Criteria และ Rating Criteria เหมือนกับการประเมินบริษัทจดทะเบียนแล้ว ยังใช้เกณฑ์พิจารณาที่อ้างอิงจาก GRI, SASB ในส่วนที่เป็นประเด็น ESG รายสาขา ได้แก่ การบริหารการใช้น้ำและพลังงาน การปล่อยก๊าซเรือนกระจก การดูแลฟื้นฟูที่ดินและทรัพย์สินในความครอบครอง ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ผลกระทบจากการพัฒนาโครงการ ผลกระทบต่อผู้ใช้และผู้เช่าทรัพย์สิน การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการรับรองด้านความยั่งยืนในโครงการจากหน่วยงานภายนอก
นอกจากนี้ ยังมีตัววัดที่อ้างอิงจาก GRESB ในส่วนที่เป็นการประเมินกองทุน 3 หมวด ได้แก่ นโยบายและความเป็นผู้นำ การเฝ้าติดตามและประเมินความเสี่ยง การสื่อสารและการสานสัมพันธ์ และในส่วนที่เป็นการประเมินทรัพย์สิน 8 หมวด ได้แก่ การจัดการ นโยบายและการเปิดเผยข้อมูล โอกาสและความเสี่ยง การนำไปปฏิบัติ ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมและการเฝ้าติดตาม การสานสัมพันธ์ผู้มีส่วนได้เสีย ผลการดำเนินงาน ประกาศนียบัตรและรางวัลที่ได้รับ
ทั้ง 9 กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน/รีทส์/อสังหาริมทรัพย์ ที่อยู่ในกลุ่มหลักทรัพย์ ESG100 มีมูลค่าตลาดรวมกัน 193,640.61 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 24.68 เมื่อเทียบกับมาร์เกตแคปรวมของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน/รีทส์/อสังหาริมทรัพย์ 784,605.16 ล้านบาท
น่าจะเป็นทางเลือกให้แก่ผู้ลงทุนที่ต้องการลงทุนโดยมีความผันผวนต่ำ ได้รับผลตอบแทนสม่ำเสมอในระดับที่น่าพอใจ นอกเหนือจากการลงทุนในหุ้น
แต่เหนือสิ่งอื่นใด การลงทุนในหน่วยลงทุนมิใช่การฝากเงิน และมีความเสี่ยงของการลงทุน ผู้ลงทุนควรลงทุนในกองทุนรวมที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์การลงทุนของตน และผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
จากบทความ 'CSR Talk' ในหนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ [Archived]
นับจากที่ สถาบันไทยพัฒน์ โดยหน่วยงาน ESG Rating ได้ริเริ่มจัดทำและประกาศรายชื่อ 100 หลักทรัพย์ที่มีการดำเนินงานโดดเด่นด้าน สิ่งแวดล้อม สังคม และ ธรรมาภิบาล (ESG) หรือที่เรียกว่ากลุ่มหลักทรัพย์ ESG100 ตั้งแต่ปี พ.ศ.2558 เป็นต้นมา
นับเป็นปีที่ห้าของการประเมิน ด้วยการคัดเลือกจาก 704 บริษัทจดทะเบียน (ไม่รวมหลักทรัพย์ที่อยู่ระหว่างการฟื้นฟู) และในปีนี้ ได้ทำการคัดเลือกกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ และทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REITs) เป็นปีแรกด้วย
เนื่องจากการเติบโตในแง่ของ Supply คือ มีจำนวนกองทุนมากพอในระดับที่สามารถนำมาเป็นตัวเลือกของการลงทุนได้ และหลายกองทุนเริ่มให้ความสำคัญกับการเปิดเผยข้อมูล ESG ของกองทุนให้แก่ผู้ลงทุน ยิ่งไปกว่านั้น ในแง่ของ Demand ตามสภาวะตลาดทุนปัจจุบัน ผู้ลงทุนต้องการทางเลือกของการลงทุนที่มีความผันผวนต่ำ และยังสามารถให้ผลตอบแทนที่ไม่ด้อยกว่าการลงทุนในตราสารทุน ประเภทหุ้น
ปัจจุบัน มีกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานที่จดทะเบียนกับสำนักงาน ก.ล.ต. จำนวน 7 กองทุน มีมูลค่าตลาดรวม 358,103.89 ล้านบาท มีกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 60 กองทุน มีมูลค่าตลาดรวม 426,501.27 ล้านบาท (ข้อมูล ณ วันที่ 5 มิถุนายน 2562)
กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน/รีทส์/อสังหาริมทรัพย์ ทั้ง 67 กองรวมกัน มีมูลค่าตลาดคิดเป็นร้อยละ 4.64 เมื่อเทียบกับมาร์เกตแคปรวมของตลาด (SET) ที่ 16.89 ล้านล้านบาท
การประเมิน ESG กับกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน/รีทส์/อสังหาริมทรัพย์ โดยหน่วยงาน ESG Rating ของสถาบันไทยพัฒน์ ในปีแรกนี้ ได้คัดเลือกกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเข้าอยู่ในกลุ่มหลักทรัพย์ ESG100 จำนวน 2 กองทุน ได้แก่ กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน โรงไฟฟ้าพระนครเหนือ ชุดที่ 1 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (EGATIF) กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ต จัสมิน (JASIF)
และกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 7 กองทุน ได้แก่ กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ CPN คอมเมอร์เชียล โกรท (CPNCG) กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ไพร์มออฟฟิศ (POPF) ทรัสต์เพื่อการลงทุนในสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์บัวหลวง ออฟฟิศ (B-WORK) ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์และสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่ออุตสาหกรรม เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (FTREIT) ทรัสต์เพื่อการลงทุนในสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โกลเด้นเวนเจอร์ (GVREIT) ทรัสต์เพื่อการลงทุนในสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ แอล เอช ช้อปปิ้ง เซ็นเตอร์ (LHSC) และทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์และสิทธิการเช่าดับบลิวเอชเอ พรีเมี่ยม โกรท (WHART)
สำหรับเกณฑ์ในการประเมิน ESG กับกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน/รีทส์/อสังหาริมทรัพย์ นอกจากการใช้ Screening Criteria และ Rating Criteria เหมือนกับการประเมินบริษัทจดทะเบียนแล้ว ยังใช้เกณฑ์พิจารณาที่อ้างอิงจาก GRI, SASB ในส่วนที่เป็นประเด็น ESG รายสาขา ได้แก่ การบริหารการใช้น้ำและพลังงาน การปล่อยก๊าซเรือนกระจก การดูแลฟื้นฟูที่ดินและทรัพย์สินในความครอบครอง ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ผลกระทบจากการพัฒนาโครงการ ผลกระทบต่อผู้ใช้และผู้เช่าทรัพย์สิน การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการรับรองด้านความยั่งยืนในโครงการจากหน่วยงานภายนอก
นอกจากนี้ ยังมีตัววัดที่อ้างอิงจาก GRESB ในส่วนที่เป็นการประเมินกองทุน 3 หมวด ได้แก่ นโยบายและความเป็นผู้นำ การเฝ้าติดตามและประเมินความเสี่ยง การสื่อสารและการสานสัมพันธ์ และในส่วนที่เป็นการประเมินทรัพย์สิน 8 หมวด ได้แก่ การจัดการ นโยบายและการเปิดเผยข้อมูล โอกาสและความเสี่ยง การนำไปปฏิบัติ ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมและการเฝ้าติดตาม การสานสัมพันธ์ผู้มีส่วนได้เสีย ผลการดำเนินงาน ประกาศนียบัตรและรางวัลที่ได้รับ
ทั้ง 9 กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน/รีทส์/อสังหาริมทรัพย์ ที่อยู่ในกลุ่มหลักทรัพย์ ESG100 มีมูลค่าตลาดรวมกัน 193,640.61 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 24.68 เมื่อเทียบกับมาร์เกตแคปรวมของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน/รีทส์/อสังหาริมทรัพย์ 784,605.16 ล้านบาท
น่าจะเป็นทางเลือกให้แก่ผู้ลงทุนที่ต้องการลงทุนโดยมีความผันผวนต่ำ ได้รับผลตอบแทนสม่ำเสมอในระดับที่น่าพอใจ นอกเหนือจากการลงทุนในหุ้น
แต่เหนือสิ่งอื่นใด การลงทุนในหน่วยลงทุนมิใช่การฝากเงิน และมีความเสี่ยงของการลงทุน ผู้ลงทุนควรลงทุนในกองทุนรวมที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์การลงทุนของตน และผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
จากบทความ 'CSR Talk' ในหนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ [Archived]
Sunday, June 09, 2019
หุ้น ESG100 ปี 62
สถาบันไทยพัฒน์ โดยหน่วยงาน ESG Rating ได้ประกาศรายชื่อบริษัทจดทะเบียนที่มีการดำเนินงานโดดเด่นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environmental, Social and Governance) ติดอันดับ ESG100 ประจำปี 2562 ด้วยการคัดเลือกจาก 704 บริษัทจดทะเบียน (ไม่รวมหลักทรัพย์ที่อยู่ระหว่างการฟื้นฟู) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REITs) 60 กองทุน และกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน 7 กองทุน รวมทั้งสิ้น 771 หลักทรัพย์
การจัดอันดับหลักทรัพย์กลุ่ม ESG100 รอบนี้ ถือเป็นปีที่ 5 ของการประเมิน โดยใช้ข้อมูลที่เกี่ยวกับ ESG จาก 6 แหล่ง จำนวนกว่า 14,278 จุดข้อมูล ตามที่หน่วยงานผู้ออกหลักทรัพย์เปิดเผยต่อสาธารณะ ผ่านรายงานแห่งความยั่งยืน รายงานประจำปี หรือในแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1) โดยไม่ใช้แบบสำรวจข้อมูลหรือแบบสอบถามใดๆ เพิ่มเติม
การประเมินในปีนี้ ได้มีการพิจารณาข้อมูลด้าน ESG และผลประกอบการควบคู่ไปพร้อมกัน โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูล ESG แบบบูรณาการ ผนวกเข้ากับข้อมูลทางการเงิน ที่เรียกว่า Integrated ESG Assessment ทำให้หลักทรัพย์กลุ่ม ESG100 สามารถตอบโจทย์ทั้งผู้มีส่วนได้เสีย รวมทั้งผู้ถือหุ้นและผู้ลงทุน
การประเมินหลักทรัพย์ ESG100 ประกอบด้วยเกณฑ์เบื้องต้นสำหรับการคัดกรอง (Screening Criteria) และเกณฑ์หลักสำหรับการประเมิน (Rating Criteria) โดยเกณฑ์เบื้องต้นสำหรับการคัดกรอง ประกอบด้วย ผลการดำเนินงานของบริษัทต้องมีผลประกอบการที่เป็นกำไรติดต่อกันสองรอบปีบัญชีล่าสุด การปลอดจากการกระทำความผิดโดยที่บริษัทหรือคณะกรรมการหรือผู้บริหารระดับสูงของบริษัท ต้องไม่ถูกสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวโทษหรือเปรียบเทียบปรับในรอบปีประเมิน และการกระจายการถือหุ้นโดยผู้ถือหุ้นรายย่อย (Free Float) ของบริษัทเป็นไปตามที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกำหนด
ส่วนเกณฑ์หลักสำหรับการประเมิน ประกอบด้วย การพิจารณาประเด็นด้าน ESG ที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อศักยภาพการเติบโตของอุตสาหกรรม การพิจารณาวิธีการที่บริษัทใช้ระบุและจัดการกับโอกาสและความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับประเด็นด้าน ESG และการพิจารณาประเด็นด้าน ESG ที่ส่งผลกระทบต่อผลประกอบการขององค์กร เพื่อให้สะท้อนผลตอบแทนการลงทุนหรือตัวเลขผลประกอบการที่สัมพันธ์กับการดำเนินงานด้าน ESG ของบริษัท และสามารถตอบโจทย์ผู้ลงทุนในมิติของการลงทุนที่ยั่งยืนว่า บริษัทที่มี ESG ดี จะสามารถสร้างผลตอบแทนการลงทุนที่ดีด้วย
โดยในปีนี้ ยังได้เพิ่มการประเมินหลักทรัพย์ในส่วนที่เป็นกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ รวม 67 กองทุน โดยใช้เกณฑ์ ESG เป็นครั้งแรก เพื่อเป็นทางเลือกให้แก่ผู้ลงทุนที่ต้องการลงทุนโดยมีความผันผวนต่ำ และได้รับผลตอบแทนสม่ำเสมอในระดับที่น่าพอใจ นอกเหนือจากการลงทุนในหุ้น
ผลการคัดเลือกหลักทรัพย์ที่เข้าอยู่ในยูนิเวิร์สของ ESG100 ปีนี้ มีหลักทรัพย์ที่ติดอันดับ จำแนกตามกลุ่มอุตสาหกรรมทั้ง 8 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร 11 หลักทรัพย์ กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค 4 หลักทรัพย์ กลุ่มธุรกิจการเงิน 12 หลักทรัพย์ กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม 15 หลักทรัพย์ กลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง 21 หลักทรัพย์ กลุ่มทรัพยากร 10 หลักทรัพย์ กลุ่มบริการ 21 หลักทรัพย์ และกลุ่มเทคโนโลยี 6 หลักทรัพย์
โดยในจำนวนนี้ มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาด mai เข้าอยู่ใน ESG100 อยู่ด้วยจำนวน 9 หลักทรัพย์ เป็นกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ที่ได้รับคัดเลือก จำนวน 7 กอง และเป็นกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน 2 กอง
ทั้งนี้ มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (มาร์เกตแคป) รวมกันของหลักทรัพย์ ESG100 มีมูลค่าราว 10.4 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 62.6 เมื่อเทียบกับมาร์เกตแคปรวมของตลาด (SET) ที่ 16.6 ล้านล้านบาท
รายชื่อหลักทรัพย์ ESG100 ชุดใหม่นี้ มีการเปลี่ยนแปลงจากปีที่แล้ว ในสัดส่วนร้อยละ 27 และจะถูกนำไปใช้ทบทวนรายการหลักทรัพย์ที่ใช้ในการคำนวณดัชนี อีเอสจี ไทยพัฒน์ หรือ Thaipat ESG Index ในเดือนกรกฎาคมนี้
ผู้ลงทุนที่สนใจข้อมูลหลักทรัพย์จดทะเบียนในกลุ่ม ESG100 สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.esgrating.com
จากบทความ 'Sustainpreneur' ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ [Archived]
การจัดอันดับหลักทรัพย์กลุ่ม ESG100 รอบนี้ ถือเป็นปีที่ 5 ของการประเมิน โดยใช้ข้อมูลที่เกี่ยวกับ ESG จาก 6 แหล่ง จำนวนกว่า 14,278 จุดข้อมูล ตามที่หน่วยงานผู้ออกหลักทรัพย์เปิดเผยต่อสาธารณะ ผ่านรายงานแห่งความยั่งยืน รายงานประจำปี หรือในแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1) โดยไม่ใช้แบบสำรวจข้อมูลหรือแบบสอบถามใดๆ เพิ่มเติม
การประเมินในปีนี้ ได้มีการพิจารณาข้อมูลด้าน ESG และผลประกอบการควบคู่ไปพร้อมกัน โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูล ESG แบบบูรณาการ ผนวกเข้ากับข้อมูลทางการเงิน ที่เรียกว่า Integrated ESG Assessment ทำให้หลักทรัพย์กลุ่ม ESG100 สามารถตอบโจทย์ทั้งผู้มีส่วนได้เสีย รวมทั้งผู้ถือหุ้นและผู้ลงทุน
การประเมินหลักทรัพย์ ESG100 ประกอบด้วยเกณฑ์เบื้องต้นสำหรับการคัดกรอง (Screening Criteria) และเกณฑ์หลักสำหรับการประเมิน (Rating Criteria) โดยเกณฑ์เบื้องต้นสำหรับการคัดกรอง ประกอบด้วย ผลการดำเนินงานของบริษัทต้องมีผลประกอบการที่เป็นกำไรติดต่อกันสองรอบปีบัญชีล่าสุด การปลอดจากการกระทำความผิดโดยที่บริษัทหรือคณะกรรมการหรือผู้บริหารระดับสูงของบริษัท ต้องไม่ถูกสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวโทษหรือเปรียบเทียบปรับในรอบปีประเมิน และการกระจายการถือหุ้นโดยผู้ถือหุ้นรายย่อย (Free Float) ของบริษัทเป็นไปตามที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกำหนด
ส่วนเกณฑ์หลักสำหรับการประเมิน ประกอบด้วย การพิจารณาประเด็นด้าน ESG ที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อศักยภาพการเติบโตของอุตสาหกรรม การพิจารณาวิธีการที่บริษัทใช้ระบุและจัดการกับโอกาสและความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับประเด็นด้าน ESG และการพิจารณาประเด็นด้าน ESG ที่ส่งผลกระทบต่อผลประกอบการขององค์กร เพื่อให้สะท้อนผลตอบแทนการลงทุนหรือตัวเลขผลประกอบการที่สัมพันธ์กับการดำเนินงานด้าน ESG ของบริษัท และสามารถตอบโจทย์ผู้ลงทุนในมิติของการลงทุนที่ยั่งยืนว่า บริษัทที่มี ESG ดี จะสามารถสร้างผลตอบแทนการลงทุนที่ดีด้วย
โดยในปีนี้ ยังได้เพิ่มการประเมินหลักทรัพย์ในส่วนที่เป็นกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ รวม 67 กองทุน โดยใช้เกณฑ์ ESG เป็นครั้งแรก เพื่อเป็นทางเลือกให้แก่ผู้ลงทุนที่ต้องการลงทุนโดยมีความผันผวนต่ำ และได้รับผลตอบแทนสม่ำเสมอในระดับที่น่าพอใจ นอกเหนือจากการลงทุนในหุ้น
ผลการคัดเลือกหลักทรัพย์ที่เข้าอยู่ในยูนิเวิร์สของ ESG100 ปีนี้ มีหลักทรัพย์ที่ติดอันดับ จำแนกตามกลุ่มอุตสาหกรรมทั้ง 8 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร 11 หลักทรัพย์ กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค 4 หลักทรัพย์ กลุ่มธุรกิจการเงิน 12 หลักทรัพย์ กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม 15 หลักทรัพย์ กลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง 21 หลักทรัพย์ กลุ่มทรัพยากร 10 หลักทรัพย์ กลุ่มบริการ 21 หลักทรัพย์ และกลุ่มเทคโนโลยี 6 หลักทรัพย์
โดยในจำนวนนี้ มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาด mai เข้าอยู่ใน ESG100 อยู่ด้วยจำนวน 9 หลักทรัพย์ เป็นกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ที่ได้รับคัดเลือก จำนวน 7 กอง และเป็นกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน 2 กอง
ทั้งนี้ มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (มาร์เกตแคป) รวมกันของหลักทรัพย์ ESG100 มีมูลค่าราว 10.4 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 62.6 เมื่อเทียบกับมาร์เกตแคปรวมของตลาด (SET) ที่ 16.6 ล้านล้านบาท
รายชื่อหลักทรัพย์ ESG100 ชุดใหม่นี้ มีการเปลี่ยนแปลงจากปีที่แล้ว ในสัดส่วนร้อยละ 27 และจะถูกนำไปใช้ทบทวนรายการหลักทรัพย์ที่ใช้ในการคำนวณดัชนี อีเอสจี ไทยพัฒน์ หรือ Thaipat ESG Index ในเดือนกรกฎาคมนี้
ผู้ลงทุนที่สนใจข้อมูลหลักทรัพย์จดทะเบียนในกลุ่ม ESG100 สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.esgrating.com
จากบทความ 'Sustainpreneur' ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ [Archived]
Subscribe to:
Posts (Atom)