เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา (26 เม.ย.) สถาบันไทยพัฒน์ ได้ประกาศรายชื่อหลักทรัพย์จดทะเบียนติดอันดับ ESG100 ด้วยการดำเนินงานที่โดดเด่นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environmental, Social and Governance: ESG) ปี 2559 ด้วยมาร์เก็ตแคปรวม 6.7 ล้านล้านบาท เป็น Universe สำหรับตอบโจทย์การลงทุนที่ยั่งยืน
หน่วยงาน ESG Rating ของสถาบันไทยพัฒน์ ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มพัฒนาข้อมูลด้านความยั่งยืนของธุรกิจ ได้เปิดเผยรายชื่อหลักทรัพย์จดทะเบียนที่มีการดำเนินงานโดดเด่นด้าน ESG จำนวน 100 บริษัท หรือ ที่เรียกว่ากลุ่มหลักทรัพย์ ESG100 เป็นปีที่สอง ด้วยการคัดเลือกจาก 621 บริษัทจดทะเบียน (ไม่รวมหลักทรัพย์ที่อยู่ระหว่างการฟื้นฟู) ทำการประเมินโดยใช้ข้อมูลที่เกี่ยวกับ ESG จาก 6 แหล่ง จำนวนกว่า 11,500 จุดข้อมูล ตามที่บริษัทเผยแพร่ไว้ต่อสาธารณะ
ข้อมูลที่ใช้ประเมินจาก 6 แหล่ง ประกอบด้วย ข้อมูลในหัวข้อความรับผิดชอบต่อสังคมในแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1) สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อมูลการลงทุนในหลักทรัพย์ของกองทุนเปิด ทิสโก้ ESG เพื่อสังคม (TISCO ESG Investment Fund for Society) ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ทิสโก้ จำกัด ข้อมูลโครงการประกาศรางวัลรายงานความยั่งยืน สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย ข้อมูลผลสำรวจการกำกับดูแลกิจการของบริษัทจดทะเบียน (CG Scoring) สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ข้อมูลโครงการประเมินระดับการพัฒนาความยั่งยืนของกิจการ (CSR Progress Indicator และ Anti-corruption Indicator) สถาบันไทยพัฒน์ และข้อมูลการวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้เสียและสื่อ (Media and Stakeholder Analysis: MSA) บริษัท อิมเมจ พลัส คอมมิวนิเคชั่น จำกัด
การจัดอันดับหลักทรัพย์กลุ่ม ESG100 เป็นข้อมูลตั้งต้นที่ผู้ลงทุนสามารถใช้คัดเลือกหลักทรัพย์จดทะเบียนที่มีการดำเนินงานโดดเด่นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล เพื่อตอบโจทย์การลงทุนที่ยั่งยืน พร้อมกับการสร้างผลตอบแทนการลงทุนที่มิได้ด้อยไปกว่าการลงทุนในแบบทั่วไป
การประเมินในปีนี้ สถาบันไทยพัฒน์ ได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูล ESG แบบบูรณาการที่ผนวกเข้ากับข้อมูลทางการเงิน ที่เรียกว่า Integrated ESG Assessment เพื่อให้สะท้อนผลตอบแทนการลงทุนหรือตัวเลขผลประกอบการที่สัมพันธ์กับการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาลของบริษัท ด้วยองค์ประกอบสำคัญ 3 ส่วน คือ การวิเคราะห์อุตสาหกรรม กลยุทธ์องค์กร และรายงานทางการเงิน
ผลการคัดเลือกบริษัทจดทะเบียนที่เข้าอยู่ใน Universe ของ ESG100 ประจำปี 2559 มีบริษัทที่ติดอันดับ กระจายอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมทั้ง 8 กลุ่ม มาจากกลุ่มอุตสาหกรรมบริการ มากสุด คือ 19 บริษัท รองลงมาเป็นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง จำนวน 16 แห่ง และมีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาด mai เข้าอยู่ใน ESG100 จำนวน 4 บริษัท ได้แก่ APCO, FPI, TPCH, XO
ทั้งนี้ มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (มาร์เกตแคป) รวมกันของ 100 บริษัทใน ESG100 มีมูลค่าราว 6.7 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 50.7 เมื่อเทียบกับมาร์เกตแคปของทั้งตลาดฯ ที่ 13.2 ล้านล้านบาท
การจัดอันดับหลักทรัพย์กลุ่ม ESG100 ต่อเนื่องเป็นปีที่สอง นอกจากจะช่วยสนับสนุนการพัฒนาระดับการเปิดเผยข้อมูล ESG ของบริษัทจดทะเบียนแล้ว ยังจะเป็นการเผยแพร่ข้อมูล ESG ของบริษัทจดทะเบียนที่ดำเนินการได้ดีให้แก่ผู้ลงทุนทั้งในและต่างประเทศ เพิ่มโอกาสการลงทุนในบริษัทจดทะเบียนจากกลุ่มผู้ลงทุนที่ใช้เกณฑ์ ESG เพื่อสร้างผลตอบแทนทางการเงินที่น่าพอใจในระยะยาว พร้อมๆ กับการสร้างผลกระทบทางสังคมในเชิงบวก
ผู้ลงทุนที่สนใจข้อมูลหลักทรัพย์จดทะเบียนในกลุ่ม ESG100 สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.esgrating.com โดยไม่มีค่าใช้จ่าย
จากบทความ 'หน้าต่าง CSR' ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ [Archived]
Thursday, April 28, 2016
Thursday, April 21, 2016
ESG แต้มต่อการลงทุน
ปัจจุบัน คำว่า ESG ที่ย่อมาจาก Environmental, Social, and Governance ถูกเริ่มนำมาใช้ในแวดวงการประเมินสถานะของกิจการในประเทศไทย โดยเฉพาะกับบริษัทจดทะเบียน ที่เป็นเป้าหมายของการลงทุนในตลาดทุน
ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ลงทุนได้มีข้อมูลประกอบการตัดสินใจลงทุนที่รอบด้าน ในมิติที่มิใช่ข้อมูลตัวเลขทางการเงิน ทำให้สามารถล่วงรู้หรือคาดการณ์ถึงผลประกอบการในอนาคตของบริษัท เพิ่มเติมจากข้อมูลทางการเงิน ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงผลประกอบการในอดีตหรือที่ผ่านมาแล้ว
การประเมินด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล หรือ ESG ของกิจการ สำหรับนำไปใช้ในการตัดสินใจลงทุน ที่ทำได้ส่วนใหญ่ เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลการดำเนินงานด้าน ESG เป็นประเด็นแยกจากการดำเนินธุรกิจ หรือเป็นการวิเคราะห์แบบเอกเทศที่มิได้มีส่วนเชื่อมโยงสัมพันธ์กับผลประกอบการเท่าใดนัก
ทำให้เกิดช่องว่างที่ไม่สามารถอธิบายกลุ่มผู้ลงทุนได้เต็มปากว่า บริษัทที่มี ESG ดี จะสามารถสร้างผลตอบแทนการลงทุนที่ดีด้วยหรือไม่ ซึ่งจากหลักฐานที่ปรากฏ จะเห็นว่า บริษัทที่ได้ระดับการประเมินด้าน ESG สูง หรือได้รับรางวัลในสาขาประเภทเดียวกันนี้ตามแต่จะตั้งชื่อเรียก มีรางวัลบรรษัทภิบาล รางวัล CSR รางวัลความยั่งยืน เป็นต้น กลับไม่ได้มีผลการดำเนินงานที่ดีกว่าบริษัททั่วไปที่มิได้รับรางวัลหรือมิได้รับการประเมินด้าน ESG ที่สูงแต่อย่างใด และยังพบด้วยว่า บางบริษัทกลับมีผลประกอบการที่ขาดทุนหรือมิได้สร้างผลตอบแทนที่เป็นบวกแก่ผู้ลงทุนเลย
ด้วยเหตุนี้ กระแสของการผนวกเรื่อง ESG เข้ากับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานหรือการวิเคราะห์เพื่อตัดสินใจลงทุน ได้กลายเป็นหัวข้อที่มีการค้นคว้าพัฒนาอย่างขะมักเขม้นในปัจจุบัน
อันที่จริง ปรากฏการณ์ดังกล่าว คล้ายคลึงกับกระแสของการผนวกเรื่อง CSR (Corporate Social Responsibility) เข้ากับกระบวนการทางธุรกิจซึ่งเริ่มขึ้นราวช่วงปี 2549 ที่มีการยกระดับจากกิจกรรมเพื่อสังคมที่แยกต่างหากจากการดำเนินธุรกิจที่เป็นกระบวนการหลักของกิจการและมักเกิดขึ้นภายหลัง หรือเรียกกันว่า CSR-after-process มาสู่การดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมที่อยู่ในกระบวนการทำงานหลักของกิจการ หรือเป็นการทำธุรกิจที่หากำไรอย่างมีความรับผิดชอบ หรือเรียกกันว่า CSR-in-process ในปัจจุบัน
เนื่องจาก โจทย์เรื่อง CSR ก่อนหน้านั้น ธุรกิจส่วนใหญ่ตีความไปว่า ผู้เกี่ยวข้องหรือกลุ่มเป้าหมาย คือ ‘สังคม’ ทำให้การดำเนินงาน CSR จึงเน้นไปที่กิจกรรมเพื่อสังคมในรูปของการตอบแทนคืนหรือการช่วยเหลือผู้ที่ด้อยโอกาสกว่าเป็นหลัก
ถัดจากนั้น ธุรกิจเริ่มตระหนักว่าโจทย์เรื่อง CSR ที่ส่งผลกับสถานะของกิจการ ผู้เกี่ยวข้องหรือกลุ่มเป้าหมาย คือ ‘ผู้มีส่วนได้เสีย’ รอบกิจการ ที่มีส่วนได้รับผลกระทบจากการประกอบการ โดยเฉพาะจากกระบวนการหลักทางธุรกิจ ทำให้การดำเนินงาน CSR จึงหันมาให้ความสำคัญกับการดูแลผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องอย่างครอบคลุมและทั่วถึง ในรูปของการดำเนินงานที่รับผิดชอบ
ทั้งนี้ ความสัมพันธ์ระหว่าง CSR กับ ESG อธิบายได้ว่า CSR เป็น ‘ภาคการดำเนินงาน’ ที่คำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสีย ขณะที่ ESG เป็น ‘ภาคข้อมูล’ ที่คำนึงถึงผู้ลงทุน โดยเฉพาะผู้ลงทุนสถาบัน นั่นหมายความว่า กิจการที่สามารถดำเนินงาน CSR-in-process ได้ดี ก็ควรจะมีผลการดำเนินงานที่พร้อมต่อการเรียบเรียงเป็นข้อมูล ESG ให้แก่ผู้ลงทุนได้ทันที โดยมิต้องไปดำเนินการอะไรใหม่แต่อย่างใด
ฉะนั้น การที่องค์กรใด ออกมาประกาศว่าจะเปลี่ยนจากการมุ่ง CSR มาเป็น ESG แสดงว่า ยังขาดความเข้าใจในเรื่องดังกล่าว เพราะกิจการคงไม่ได้มีความมุ่งประสงค์ว่า จะเปลี่ยนจากการให้ความสำคัญกับการดูแลผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องอย่างครอบคลุมและทั่วถึง มาเป็นการดูแลเฉพาะผู้ลงทุนกลุ่มเดียวแน่นอน
ตรรกะในเรื่องนี้ ยังสามารถใช้พิเคราะห์กับที่บางองค์กรพยายามสื่อสารว่า จะยกระดับจากการทำ CSR มาเป็น SD (Sustainable Development) ซึ่งชี้ให้เห็นว่า กำลังสับสนระหว่างการให้ความสำคัญกับการดูแลผู้มีส่วนได้เสียรอบกิจการในมิติ CSR กับการพัฒนาที่ยั่งยืนที่มุ่งเป้าไปที่สังคมโดยรวมในมิติ SD
วกกลับมาเรื่อง ESG โดยใช้พัฒนาการของ CSR เป็นบทเรียนรู้ จะเห็นว่า CSR-after-process ที่ผลการดำเนินงานจากกิจกรรมเหล่านั้นมิได้เชื่อมโยงกับผลประกอบการทางธุรกิจ ได้พัฒนามาสู่ CSR-in-process ที่ผนวกเข้าสู่กระบวนงานทางธุรกิจและมีส่วนสัมพันธ์กับสถานะของกิจการ ฉันใด
การวิเคราะห์ข้อมูล ESG ที่แยกส่วนจากการวิเคราะห์ข้อมูลผลประกอบการ จะมีการพัฒนามาสู่การวิเคราะห์ข้อมูล ESG แบบบูรณาการที่ผนวกเข้ากับข้อมูลด้านอื่นๆ เพื่อการตัดสินใจลงทุน ฉันนั้น
สถาบันการเงินและบริษัทจัดการลงทุนทั้งไทยและเทศ กำลังเริ่มศึกษาค้นคว้าระบบการประเมิน ESG ในแบบหลังที่เป็นการวิเคราะห์เชิงบูรณาการเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะหากสามารถอธิบายความสัมพันธ์เชื่อมโยงด้วยหลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence-based) นั่นหมายความว่า จะเพิ่มแต้มต่อในการสร้างผลตอบแทนของพอร์ตการลงทุนที่ตนเองบริหารอยู่ได้อย่างมากมาย
ปี 2549 สังคมได้รับรู้และเข้าใจเรื่อง CSR-in-process ไปเรียบร้อยแล้ว ปี 2559 เชื่อแน่ว่า จะเป็นศักราชเริ่มต้นในเรื่อง Integrated ESG โดยไม่ต้องฟันธง!
จากบทความ 'หน้าต่าง CSR' ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ [Archived]
ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ลงทุนได้มีข้อมูลประกอบการตัดสินใจลงทุนที่รอบด้าน ในมิติที่มิใช่ข้อมูลตัวเลขทางการเงิน ทำให้สามารถล่วงรู้หรือคาดการณ์ถึงผลประกอบการในอนาคตของบริษัท เพิ่มเติมจากข้อมูลทางการเงิน ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงผลประกอบการในอดีตหรือที่ผ่านมาแล้ว
การประเมินด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล หรือ ESG ของกิจการ สำหรับนำไปใช้ในการตัดสินใจลงทุน ที่ทำได้ส่วนใหญ่ เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลการดำเนินงานด้าน ESG เป็นประเด็นแยกจากการดำเนินธุรกิจ หรือเป็นการวิเคราะห์แบบเอกเทศที่มิได้มีส่วนเชื่อมโยงสัมพันธ์กับผลประกอบการเท่าใดนัก
ทำให้เกิดช่องว่างที่ไม่สามารถอธิบายกลุ่มผู้ลงทุนได้เต็มปากว่า บริษัทที่มี ESG ดี จะสามารถสร้างผลตอบแทนการลงทุนที่ดีด้วยหรือไม่ ซึ่งจากหลักฐานที่ปรากฏ จะเห็นว่า บริษัทที่ได้ระดับการประเมินด้าน ESG สูง หรือได้รับรางวัลในสาขาประเภทเดียวกันนี้ตามแต่จะตั้งชื่อเรียก มีรางวัลบรรษัทภิบาล รางวัล CSR รางวัลความยั่งยืน เป็นต้น กลับไม่ได้มีผลการดำเนินงานที่ดีกว่าบริษัททั่วไปที่มิได้รับรางวัลหรือมิได้รับการประเมินด้าน ESG ที่สูงแต่อย่างใด และยังพบด้วยว่า บางบริษัทกลับมีผลประกอบการที่ขาดทุนหรือมิได้สร้างผลตอบแทนที่เป็นบวกแก่ผู้ลงทุนเลย
ด้วยเหตุนี้ กระแสของการผนวกเรื่อง ESG เข้ากับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานหรือการวิเคราะห์เพื่อตัดสินใจลงทุน ได้กลายเป็นหัวข้อที่มีการค้นคว้าพัฒนาอย่างขะมักเขม้นในปัจจุบัน
อันที่จริง ปรากฏการณ์ดังกล่าว คล้ายคลึงกับกระแสของการผนวกเรื่อง CSR (Corporate Social Responsibility) เข้ากับกระบวนการทางธุรกิจซึ่งเริ่มขึ้นราวช่วงปี 2549 ที่มีการยกระดับจากกิจกรรมเพื่อสังคมที่แยกต่างหากจากการดำเนินธุรกิจที่เป็นกระบวนการหลักของกิจการและมักเกิดขึ้นภายหลัง หรือเรียกกันว่า CSR-after-process มาสู่การดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมที่อยู่ในกระบวนการทำงานหลักของกิจการ หรือเป็นการทำธุรกิจที่หากำไรอย่างมีความรับผิดชอบ หรือเรียกกันว่า CSR-in-process ในปัจจุบัน
เนื่องจาก โจทย์เรื่อง CSR ก่อนหน้านั้น ธุรกิจส่วนใหญ่ตีความไปว่า ผู้เกี่ยวข้องหรือกลุ่มเป้าหมาย คือ ‘สังคม’ ทำให้การดำเนินงาน CSR จึงเน้นไปที่กิจกรรมเพื่อสังคมในรูปของการตอบแทนคืนหรือการช่วยเหลือผู้ที่ด้อยโอกาสกว่าเป็นหลัก
ถัดจากนั้น ธุรกิจเริ่มตระหนักว่าโจทย์เรื่อง CSR ที่ส่งผลกับสถานะของกิจการ ผู้เกี่ยวข้องหรือกลุ่มเป้าหมาย คือ ‘ผู้มีส่วนได้เสีย’ รอบกิจการ ที่มีส่วนได้รับผลกระทบจากการประกอบการ โดยเฉพาะจากกระบวนการหลักทางธุรกิจ ทำให้การดำเนินงาน CSR จึงหันมาให้ความสำคัญกับการดูแลผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องอย่างครอบคลุมและทั่วถึง ในรูปของการดำเนินงานที่รับผิดชอบ
ทั้งนี้ ความสัมพันธ์ระหว่าง CSR กับ ESG อธิบายได้ว่า CSR เป็น ‘ภาคการดำเนินงาน’ ที่คำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสีย ขณะที่ ESG เป็น ‘ภาคข้อมูล’ ที่คำนึงถึงผู้ลงทุน โดยเฉพาะผู้ลงทุนสถาบัน นั่นหมายความว่า กิจการที่สามารถดำเนินงาน CSR-in-process ได้ดี ก็ควรจะมีผลการดำเนินงานที่พร้อมต่อการเรียบเรียงเป็นข้อมูล ESG ให้แก่ผู้ลงทุนได้ทันที โดยมิต้องไปดำเนินการอะไรใหม่แต่อย่างใด
ฉะนั้น การที่องค์กรใด ออกมาประกาศว่าจะเปลี่ยนจากการมุ่ง CSR มาเป็น ESG แสดงว่า ยังขาดความเข้าใจในเรื่องดังกล่าว เพราะกิจการคงไม่ได้มีความมุ่งประสงค์ว่า จะเปลี่ยนจากการให้ความสำคัญกับการดูแลผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องอย่างครอบคลุมและทั่วถึง มาเป็นการดูแลเฉพาะผู้ลงทุนกลุ่มเดียวแน่นอน
ตรรกะในเรื่องนี้ ยังสามารถใช้พิเคราะห์กับที่บางองค์กรพยายามสื่อสารว่า จะยกระดับจากการทำ CSR มาเป็น SD (Sustainable Development) ซึ่งชี้ให้เห็นว่า กำลังสับสนระหว่างการให้ความสำคัญกับการดูแลผู้มีส่วนได้เสียรอบกิจการในมิติ CSR กับการพัฒนาที่ยั่งยืนที่มุ่งเป้าไปที่สังคมโดยรวมในมิติ SD
วกกลับมาเรื่อง ESG โดยใช้พัฒนาการของ CSR เป็นบทเรียนรู้ จะเห็นว่า CSR-after-process ที่ผลการดำเนินงานจากกิจกรรมเหล่านั้นมิได้เชื่อมโยงกับผลประกอบการทางธุรกิจ ได้พัฒนามาสู่ CSR-in-process ที่ผนวกเข้าสู่กระบวนงานทางธุรกิจและมีส่วนสัมพันธ์กับสถานะของกิจการ ฉันใด
การวิเคราะห์ข้อมูล ESG ที่แยกส่วนจากการวิเคราะห์ข้อมูลผลประกอบการ จะมีการพัฒนามาสู่การวิเคราะห์ข้อมูล ESG แบบบูรณาการที่ผนวกเข้ากับข้อมูลด้านอื่นๆ เพื่อการตัดสินใจลงทุน ฉันนั้น
สถาบันการเงินและบริษัทจัดการลงทุนทั้งไทยและเทศ กำลังเริ่มศึกษาค้นคว้าระบบการประเมิน ESG ในแบบหลังที่เป็นการวิเคราะห์เชิงบูรณาการเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะหากสามารถอธิบายความสัมพันธ์เชื่อมโยงด้วยหลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence-based) นั่นหมายความว่า จะเพิ่มแต้มต่อในการสร้างผลตอบแทนของพอร์ตการลงทุนที่ตนเองบริหารอยู่ได้อย่างมากมาย
ปี 2549 สังคมได้รับรู้และเข้าใจเรื่อง CSR-in-process ไปเรียบร้อยแล้ว ปี 2559 เชื่อแน่ว่า จะเป็นศักราชเริ่มต้นในเรื่อง Integrated ESG โดยไม่ต้องฟันธง!
จากบทความ 'หน้าต่าง CSR' ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ [Archived]
Wednesday, April 13, 2016
ผันธุรกิจ จาก ‘ยิ่งใหญ่’ สู่ ‘ยั่งยืน’
ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจโลก ที่มีความผันผวนและความไม่แน่นอนสูง การปรับตัวลดลงของราคาน้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์อื่นๆ ก่อให้เกิดผลกระทบไม่เพียงแต่การเติบโตของธุรกิจ แต่ยังส่งผลถึงความยั่งยืนของกิจการ โดยเฉพาะธุรกิจที่อยู่ในกลุ่มทรัพยากรและกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม อาทิ พลังงาน เหล็ก เป็นต้น
การใช้กลยุทธ์ที่มุ่งเน้นการเติบโตของธุรกิจ อาจไม่ใช่กลยุทธ์ที่เหมาะสมหรือสอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบัน ต่อการนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จหรือเป็นธุรกิจที่ยิ่งใหญ่ ทำให้หลายธุรกิจจำต้องมองหาทางเลือกของกลยุทธ์ที่มุ่งเน้นความยั่งยืนของกิจการ เพื่อนำองค์กรให้เข้าสู่วิถีของธุรกิจที่ยั่งยืน
ทั้งนี้ ธุรกิจต้องมีความเข้าใจว่า ปัจจัยแห่งการเติบโต ซึ่งหมายถึง ทรัพยากรที่ใส่เข้ามาเพื่อสนับสนุนกลยุทธ์มุ่งการเติบโตนั้น มีความแตกต่างจาก ทรัพยากรที่ใช้เพื่อสนับสนุนกลยุทธ์มุ่งความยั่งยืน กล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ ปัจจัยแห่งความยั่งยืน อาจไม่ใช่ทรัพยากรประเภทเดียวกันกับที่ใช้ในการสร้างกิจการให้เติบโต
กิจการที่เข้าใจบริบทของความยั่งยืน จะสามารถแสดงให้เห็นว่า กลยุทธ์มุ่งความยั่งยืน เป็นการดำเนินงานที่ตอบสนองต่อมิติทางธุรกิจ มิใช่เรื่องที่แปลกแยกไปจากการดำเนินธุรกิจ โดยมีเข็มทิศการดำเนินงานในเรื่องธุรกิจกับเรื่องสังคมและสิ่งแวดล้อม ชี้ไปในทิศทางเดียวกัน และมิได้มองว่าเรื่องสังคมและสิ่งแวดล้อม เป็นภาระหรือค่าใช้จ่ายขององค์กร แต่กลับใช้เป็นปัจจัยหรือโอกาสในการเสริมหนุนขีดความสามารถทางการแข่งขัน และการได้มาซึ่งกำไรที่มั่นคง
ปัจจุบัน มีหลายองค์กรธุรกิจที่ได้นำปัจจัยแห่งความยั่งยืน มาออกแบบและปรับแต่งโมเดลทางธุรกิจ วางกลยุทธ์มุ่งความยั่งยืน พร้อมกับพัฒนาแนวทางในการสื่อสารเรื่องความยั่งยืน เพื่อให้ผู้มีส่วนได้เสียทั้งภายในและภายนอกองค์กรได้รับทราบถึงทิศทางขององค์กร และตอบสนองต่อความจำกัดของกลยุทธ์มุ่งการเติบโตที่ไม่อาจใช้เป็นกลยุทธ์หลักเดียวของธุรกิจได้อีกต่อไป
การกำกับดูแลกิจการที่คณะกรรมการบริษัทคุ้นเคยกับการให้ความเห็นชอบในกลยุทธ์มุ่งการเติบโตของหลายกิจการ ในห้วงเวลาที่ผ่านมา กำลังเปลี่ยนจุดโฟกัสมาสู่การให้ความเห็นชอบในกลยุทธ์มุ่งความยั่งยืน ทั้งนี้ เพื่อรักษาเสถียรภาพของกิจการและความมั่งคั่งให้แก่ผู้ถือหุ้น โดยคำนึงถึงความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่างๆ ที่มีส่วนสร้างทั้งแรงหนุนและแรงต้านแก่องค์กร
สิ่งที่คณะกรรมการบริษัทจะต้องปรับตัวเพื่อรับกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ประกอบด้วย การรับรู้ในเรื่องความยั่งยืนของกิจการที่เป็นอยู่ในปัจจุบันความจำเป็นในทางธุรกิจที่ต้องคำนึงถึงเรื่องความยั่งยืนประเด็นความยั่งยืนที่มีสาระสำคัญต่อกิจการการผนวกความยั่งยืนในกลยุทธ์และตัวแบบทางธุรกิจ และแผนดำเนินงานแรกเริ่มด้านความยั่งยืน เป็นต้น
ทั้งนี้ การประเมินว่าคณะกรรมการบริษัทสามารถตอบสนองต่อเรื่องดังกล่าวได้ดีมากน้อยเพียงใด พิจารณาได้จากระดับความเข้าใจร่วมโดยตระหนักว่าความยั่งยืนมีสาระสำคัญต่อกลยุทธ์และการดำเนินงานของบริษัท ความรู้และความตระหนักของคณะกรรมการบริษัทที่มีเพิ่มขึ้นต่อประเด็นความยั่งยืนที่มีความเกี่ยวข้องกับบริษัท และความคาดหวังที่ถูกกำหนดและความประสงค์ที่จะบูรณาการความยั่งยืนสู่กลยุทธ์และนวัตกรรมตัวแบบทางธุรกิจ เป็นต้น
นอกจากนี้ ขอบเขตของการกำกับดูแลที่สะท้อนถึงการบูรณาการความยั่งยืนสู่กิจการ ยังครอบคลุมถึงภาวะผู้นำของคณะกรรมการในการคำนึงถึงโอกาสและความเสี่ยงที่สัมพันธ์กับความยั่งยืน การกำหนดจุดยืนทางกลยุทธ์ รวมถึงแนวนโยบาย โครงสร้าง ทักษะ และเครื่องมือในการกำกับดูแล ตลอดจนแผนการดำเนินงานที่เป็นรูปธรรมในการผนวกความยั่งยืนเข้ากับบทบาทและความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริษัท
ธุรกิจที่สามารถผันตัวเองเข้าสู่โหมดธุรกิจยั่งยืน จะเปลี่ยนจุดโฟกัสมาเน้นใช้กลยุทธ์มุ่งความยั่งยืน เพื่อรักษาเสถียรภาพของกิจการ ด้วยการพิจารณาดำเนินงานในเรื่องสังคมและสิ่งแวดล้อม ผสมผสานกลมกลืนเข้ากับการดำเนินธุรกิจ ปรับทิศทางจากเส้นทางการเติบโตเป็นธุรกิจที่ยิ่งใหญ่ (Great) สู่วิถีของธุรกิจที่ยั่งยืน (Last)
จากบทความ 'หน้าต่าง CSR' ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ [Archived]
การใช้กลยุทธ์ที่มุ่งเน้นการเติบโตของธุรกิจ อาจไม่ใช่กลยุทธ์ที่เหมาะสมหรือสอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบัน ต่อการนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จหรือเป็นธุรกิจที่ยิ่งใหญ่ ทำให้หลายธุรกิจจำต้องมองหาทางเลือกของกลยุทธ์ที่มุ่งเน้นความยั่งยืนของกิจการ เพื่อนำองค์กรให้เข้าสู่วิถีของธุรกิจที่ยั่งยืน
ทั้งนี้ ธุรกิจต้องมีความเข้าใจว่า ปัจจัยแห่งการเติบโต ซึ่งหมายถึง ทรัพยากรที่ใส่เข้ามาเพื่อสนับสนุนกลยุทธ์มุ่งการเติบโตนั้น มีความแตกต่างจาก ทรัพยากรที่ใช้เพื่อสนับสนุนกลยุทธ์มุ่งความยั่งยืน กล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ ปัจจัยแห่งความยั่งยืน อาจไม่ใช่ทรัพยากรประเภทเดียวกันกับที่ใช้ในการสร้างกิจการให้เติบโต
กิจการที่เข้าใจบริบทของความยั่งยืน จะสามารถแสดงให้เห็นว่า กลยุทธ์มุ่งความยั่งยืน เป็นการดำเนินงานที่ตอบสนองต่อมิติทางธุรกิจ มิใช่เรื่องที่แปลกแยกไปจากการดำเนินธุรกิจ โดยมีเข็มทิศการดำเนินงานในเรื่องธุรกิจกับเรื่องสังคมและสิ่งแวดล้อม ชี้ไปในทิศทางเดียวกัน และมิได้มองว่าเรื่องสังคมและสิ่งแวดล้อม เป็นภาระหรือค่าใช้จ่ายขององค์กร แต่กลับใช้เป็นปัจจัยหรือโอกาสในการเสริมหนุนขีดความสามารถทางการแข่งขัน และการได้มาซึ่งกำไรที่มั่นคง
ปัจจุบัน มีหลายองค์กรธุรกิจที่ได้นำปัจจัยแห่งความยั่งยืน มาออกแบบและปรับแต่งโมเดลทางธุรกิจ วางกลยุทธ์มุ่งความยั่งยืน พร้อมกับพัฒนาแนวทางในการสื่อสารเรื่องความยั่งยืน เพื่อให้ผู้มีส่วนได้เสียทั้งภายในและภายนอกองค์กรได้รับทราบถึงทิศทางขององค์กร และตอบสนองต่อความจำกัดของกลยุทธ์มุ่งการเติบโตที่ไม่อาจใช้เป็นกลยุทธ์หลักเดียวของธุรกิจได้อีกต่อไป
การกำกับดูแลกิจการที่คณะกรรมการบริษัทคุ้นเคยกับการให้ความเห็นชอบในกลยุทธ์มุ่งการเติบโตของหลายกิจการ ในห้วงเวลาที่ผ่านมา กำลังเปลี่ยนจุดโฟกัสมาสู่การให้ความเห็นชอบในกลยุทธ์มุ่งความยั่งยืน ทั้งนี้ เพื่อรักษาเสถียรภาพของกิจการและความมั่งคั่งให้แก่ผู้ถือหุ้น โดยคำนึงถึงความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่างๆ ที่มีส่วนสร้างทั้งแรงหนุนและแรงต้านแก่องค์กร
สิ่งที่คณะกรรมการบริษัทจะต้องปรับตัวเพื่อรับกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ประกอบด้วย การรับรู้ในเรื่องความยั่งยืนของกิจการที่เป็นอยู่ในปัจจุบันความจำเป็นในทางธุรกิจที่ต้องคำนึงถึงเรื่องความยั่งยืนประเด็นความยั่งยืนที่มีสาระสำคัญต่อกิจการการผนวกความยั่งยืนในกลยุทธ์และตัวแบบทางธุรกิจ และแผนดำเนินงานแรกเริ่มด้านความยั่งยืน เป็นต้น
ทั้งนี้ การประเมินว่าคณะกรรมการบริษัทสามารถตอบสนองต่อเรื่องดังกล่าวได้ดีมากน้อยเพียงใด พิจารณาได้จากระดับความเข้าใจร่วมโดยตระหนักว่าความยั่งยืนมีสาระสำคัญต่อกลยุทธ์และการดำเนินงานของบริษัท ความรู้และความตระหนักของคณะกรรมการบริษัทที่มีเพิ่มขึ้นต่อประเด็นความยั่งยืนที่มีความเกี่ยวข้องกับบริษัท และความคาดหวังที่ถูกกำหนดและความประสงค์ที่จะบูรณาการความยั่งยืนสู่กลยุทธ์และนวัตกรรมตัวแบบทางธุรกิจ เป็นต้น
นอกจากนี้ ขอบเขตของการกำกับดูแลที่สะท้อนถึงการบูรณาการความยั่งยืนสู่กิจการ ยังครอบคลุมถึงภาวะผู้นำของคณะกรรมการในการคำนึงถึงโอกาสและความเสี่ยงที่สัมพันธ์กับความยั่งยืน การกำหนดจุดยืนทางกลยุทธ์ รวมถึงแนวนโยบาย โครงสร้าง ทักษะ และเครื่องมือในการกำกับดูแล ตลอดจนแผนการดำเนินงานที่เป็นรูปธรรมในการผนวกความยั่งยืนเข้ากับบทบาทและความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริษัท
ธุรกิจที่สามารถผันตัวเองเข้าสู่โหมดธุรกิจยั่งยืน จะเปลี่ยนจุดโฟกัสมาเน้นใช้กลยุทธ์มุ่งความยั่งยืน เพื่อรักษาเสถียรภาพของกิจการ ด้วยการพิจารณาดำเนินงานในเรื่องสังคมและสิ่งแวดล้อม ผสมผสานกลมกลืนเข้ากับการดำเนินธุรกิจ ปรับทิศทางจากเส้นทางการเติบโตเป็นธุรกิจที่ยิ่งใหญ่ (Great) สู่วิถีของธุรกิจที่ยั่งยืน (Last)
จากบทความ 'หน้าต่าง CSR' ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ [Archived]
Subscribe to:
Posts (Atom)