ตั้งแต่ที่คอลัมน์พอเพียงภิวัตน์ได้ถือกำเนิดขึ้นเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2549 เพื่อนำเสนอประเด็นและมุมมองที่น่าสนใจเกี่ยวกับปรัชญาและการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในด้านต่างๆ จวบจนวันนี้ “พอเพียงภิวัตน์” ได้ทำหน้าที่มาเป็นเวลา 1 ปี กับอีก 4 เดือน รวมทั้งสิ้น 65 ตอนด้วยกัน และขอเรียนท่านผู้อ่านว่า บทความตอนนี้จะเป็นตอนสุดท้ายของซีรีส์พอเพียงภิวัตน์ โดยเป็นการรวบรวมเนื้อหาที่สำคัญๆ จากตอนต่างๆ ที่ผ่านมา นำเสนอในแบบเมดเลย์ส่งท้าย
หลักการของเศรษฐกิจพอเพียงมิได้ขัดกับกระแสโลกาภิวัตน์ ตรงกันข้าม กลับไปส่งเสริมให้กระแสโลกาภิวัตน์ได้รับการยอมรับมากขึ้น ด้วยการเลือกรับการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลกระทบในแง่ดีต่อประเทศ ในขณะเดียวกัน ก็ต้องสร้างระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการเปลี่ยนแปลงในแง่ที่ไม่ดีและไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เพื่อจำกัดผลกระทบให้อยู่ในระดับที่ไม่ก่อความเสียหายหรือไม่เป็นอันตรายร้ายแรงต่อประเทศ ทำให้การพัฒนาและบริหารประเทศยังคงดำเนินต่อไปได้
การพิจารณาว่าสิ่งใดควรรับหรือสิ่งใดไม่ควรรับภายใต้การเปลี่ยนแปลงในกระแสโลกาภิวัตน์ เป็นเครื่องชี้ให้เห็นถึงคุณลักษณะของความพอประมาณในปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่มิใช่การจำนนต่อสภาพของโลกาภิวัตน์ ที่ต้องรับการเปลี่ยนแปลงใดๆ ทั้งหมด ในขณะเดียวกัน ก็มิใช่การปฏิเสธแบบหัวชนฝาว่าไม่เอาโลกาภิวัตน์ทั้งหมด
หนทางที่จะพิจารณาเช่นนี้ได้ ผู้บริหารประเทศและประชาชนในประเทศจำต้องมีความสามารถในการพิจารณาเหตุและผล นั่นคือ การรู้ถึงเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องทั้งหมด และการรู้ถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการตัดสินใจหรือการกระทำนั้นๆ อย่างครบถ้วน ก่อนที่จะตัดสินใจลงมือทำ ทั้งนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความผิดพลาด หรือให้มีโอกาสเกิดความผิดพลาดขึ้นน้อยที่สุด ความสามารถในการพิจารณาเหตุและผลนี้ จะต้องอาศัยเงื่อนไขความรู้และเงื่อนไขคุณธรรมที่พรั่งพร้อมในตัวของผู้บริหารประเทศและประชาชนในฐานะเจ้าของประเทศ (จากตอน “เศรษฐกิจพอเพียงกับกระแสโลกาภิวัตน์”)
คำว่า พอเพียง ในปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งตรงกับคำว่า Sufficiency Economy นั้น มีความหมายกว้างกว่าแค่การพึ่งตนเองได้ เศรษฐกิจพอเพียงในระดับที่เลี้ยงตัวเองได้บนพื้นฐานของความประหยัดและการลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น เรียกว่า เศรษฐกิจพอเพียงแบบพื้นฐาน ส่วนเศรษฐกิจพอเพียงในระดับที่มีการรวมตัวกัน เพื่อร่วมกันดำเนินงานในเรื่องต่างๆ มีการสร้างเครือข่ายและการขยายกิจกรรมทางเศรษฐกิจในรูปแบบต่างๆ โดยประสานความร่วมมือกับภายนอก เรียกว่า เศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า
ดังนั้น เศรษฐกิจพอเพียงจึงมิใช่แค่เพียงเรื่องของการพึ่งตนเองโดยที่ไม่เกี่ยวข้องกับใคร และมิใช่แค่เรื่องของการประหยัด แต่ยังครอบคลุมถึงการข้องเกี่ยวกับผู้อื่น การช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน (จากตอน “เศรษฐกิจพอเพียงไม่ใช่แค่เรื่องการพึ่งตนเอง”)
ทัศนคติที่ว่า เศรษฐกิจพอเพียงจะทำให้การพัฒนาตนเองหยุดชะงักหรือถอยหลังและไม่คบค้าสมาคมกับผู้อื่นนั้น ไม่ถูกต้อง ตรงกันข้าม เศรษฐกิจพอเพียงมิได้สิ้นสุดที่ความพอเพียงในทางเศรษฐกิจแห่งตน แต่ยังเป็นวิถีทางที่จะทำให้เกิดการพัฒนาตนเองทั้งในเชิงลึกที่ก้าวสูงขึ้นและในเชิงราบที่แผ่กว้างออกไปสัมพันธ์กับผู้อื่น เศรษฐกิจพอเพียงจึงมิใช่แค่เรื่องของเศรษฐกิจแต่เพียงอย่างเดียว (จากตอน “เรื่องที่มักเข้าใจผิดเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง”)
การพัฒนาประเทศเพื่อไปให้ถึงที่หมายนั้น มิใช่การวัดเพียงอัตราการเติบโตในทางเศรษฐกิจ เนื่องจากการพัฒนาและการเติบโตมีความหมายต่างกัน เศรษฐกิจอาจขยายตัวหรือเจริญเติบโตตามการผลิตหรือการบริโภคที่เพิ่มขึ้น หรือตามจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นในเชิงปริมาณ เข้าทำนองว่า “โตแต่ตัว” แต่อาจไม่มีนัยของการพัฒนาที่ก่อให้เกิดการเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพ มั่นคงและยั่งยืน (จากตอน “ที่หมายประเทศไทยในบริบทของเศรษฐกิจพอเพียง”)
ความพยายามในการแก้ปัญหาเพื่อให้สังคมไทยมีความพอประมาณ มีเหตุมีผล มีภูมิคุ้มกัน จะต้องมาจากพื้นฐานการเมืองที่มีความโปร่งใส ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาอย่างแท้จริง มีระบบเศรษฐกิจที่เป็นธรรม ส่งเสริมการกระจายรายได้ สร้างวัฒนธรรมการออมและสร้างวินัยในการใช้จ่าย ไม่มุ่งเน้นการเปิดประเทศเพื่อรับการลงทุนและพัฒนาจนทำลายฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แต่ต้องดำรงขีดความสามารถในการพึ่งตนเองด้านทุนและเทคโนโลยีให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม (จากตอน “เปิดประตูประเทศ แต่ปิดโอกาสประชา”)
ปัญหาสำคัญที่ทำให้ประเทศไทยไม่สามารถพัฒนาไปได้ไกลเท่าที่ควร เกิดจากการบริหารจัดการที่ไม่โปร่งใสของภาครัฐและปัญหาการกระจายรายได้ ซึ่งทั้งสองปัญหานี้ส่งผลในเชิงที่เป็นปฏิกิริยาเสริมกัน กล่าวคือ ความไม่โปร่งใสทางการเมืองเป็นผลให้มีปัญหาในการกระจายรายได้ ขณะที่การมีปัญหาการกระจายรายได้ทำให้ผู้มีรายได้น้อยในชนบทตกเป็นเครื่องมือของธุรกิจการเมือง อันเป็นสาเหตุของความไม่โปร่งใสในการบริหารจัดการของภาครัฐ เนื่องจากทั้งสองปัญหานี้มีลักษณะเสริมกัน การแก้ไขปัญหาจึงควรดำเนินการไปพร้อมกันโดยมีจุดเน้นที่การแก้ปัญหาความไม่โปร่งใสทางการเมือง (จากตอน “การเมืองแบบสมานฉันท์ ไม่ใช่แค่การเลือกตั้ง”)
ภาพแห่งการพัฒนาประเทศในขวบปีที่ผ่านมาสะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนว่า สังคมไทยยังมีวิกฤตการณ์หลายด้านที่ยังไม่สามารถนำไปสู่การพัฒนาภายใต้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างที่หวัง แม้รัฐบาลชุดที่แล้วจะมีภาพลักษณ์ของการยึดเจตนารมณ์ในแนวนโยบายเศรษฐกิจพอเพียงอย่างชัดเจน แต่ก็ประสบกับความล้มเหลวในการถ่ายทอดแผนงานที่นำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม การอภิวัตน์เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงในปี 2550 จึงมีแต่วาทกรรม แต่ไร้ซึ่งผลเชิงประจักษ์ในทางปฏิบัติ ประเด็นวิกฤติที่สำคัญๆ ยังคงอยู่ดังเดิม ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
สังคมไทยต้องการรัฐบาลที่สามารถปรับทิศทางการพัฒนาประเทศให้อยู่ในวิถีของความพอเพียง โดยมุ่งแก้ไขประเด็นวิกฤติต่างๆ ให้สำเร็จลุล่วง ประชาชน ได้เลือกท่านเข้ามาบริหารประเทศแล้ว ขอให้พวกท่านในฐานะผู้แทนราษฎรพึงได้พิจารณาไตร่ตรองอย่างรอบคอบระหว่างประโยชน์สุขของคนไทยทั้งประเทศกับส่วนแบ่งผลประโยชน์ที่ต่อรองกัน (จากตอน “ลาที สมญารัฐบาลพอเพียง”)
ขอบพระคุณท่านผู้อ่านทุกท่านสำหรับการติดตามบทความซีรีส์พอเพียงภิวัตน์มาโดยตลอด และคอยพบกับบทความซีรีส์ชุดใหม่ในโอกาสต่อไป ... (จากคอลัมน์ พอเพียงภิวัตน์)
Tuesday, February 26, 2008
รวมบทความพอเพียงภิวัตน์
1. เศรษฐกิจพอเพียงกับกระแสโลกาภิวัตน์
2. "ขาดทุนคือกำไร" : หลักพอเพียงของเมกะโปรเจค
3. สร้างทุนนิยมให้พอเพียงได้อย่างไร
4. กับดักดัชนีความสุข
5. เมื่อยขากันหรือยัง
6. เศรษฐกิจพอเพียงไม่ใช่แค่เรื่องพึ่งตนเอง
7. EVA : เครื่องมือจัดการธุรกิจแบบพอเพียง ?
8. การจัดการความรู้ในเศรษฐกิจพอเพียง
9. หลักการทรงงาน 9 ประการ
10. ฟื้นฟูพื้นที่ประสบอุทกภัยด้วย “ทฤษฎีใหม่”
11. ปฏิรูปการศึกษาตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
12. สร้างภูมิคุ้มกันท้องถิ่นด้วยระบบแลกเปลี่ยนชุมชน
13. ศักราชแห่งความพอเพียงในชนทุกระดับชั้น
14. ซีเอสอาร์ : รูปธรรมของความพอเพียงในธุรกิจ
15. เศรษฐกิจพอเพียงในมุมมองของ UNDP
16. การผลิตที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด
17. บริโภคอย่างไรให้ชีวิตสมดุล
18. เรื่องที่เข้าใจผิดเกี่ยวกับทักษิโณมิกส์
19. เรื่องที่มักเข้าใจผิดเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง (1) (2)
20. อย่างไรถึงเรียกว่ามีเหตุผล
21. ตรวจการบ้านรัฐบาล กับข้อเสนอแนะ 6 ประการ (1)
22. ตรวจการบ้านรัฐบาล กับข้อเสนอแนะ 6 ประการ (2)
23. ตรวจการบ้านรัฐบาล กับข้อเสนอแนะ 6 ประการ (3)
24. พอเพียงแล้วห้ามกู้เงินหรือไม่
25. กระตุ้นเศรษฐกิจแบบ 3 ชั้น
26. การสร้างสมดุลทางเศรษฐกิจที่ชั้นฐานราก
27. "แก้มลิง" ทางการเงิน
28. จะเลือก ความผาสุก หรือ GDP
29. เล่นหวย + ออมเงิน = หวยออม
30. ก้าวแรก โรดแมพเศรษฐกิจพอเพียง
31. Scenario Planning: เครื่องมือสร้างภูมิคุ้มกันในธุรกิจ
32. Balanced Scorecard: เครื่องแสดงอิทัปปัจยตาทางธุรกิจ
33. สถาบันเศรษฐกิจพอเพียง กับการพัฒนาประเทศ
34. ประเทศไทยกำลังขาดทั้งเครื่องยนต์และพวงมาลัย
35. ที่หมายประเทศไทยในบริบทของเศรษฐกิจพอเพียง
36. จุดตรวจตราความพอเพียงของเศรษฐกิจชุมชน
37. ดัชนี GNH (สุขแต่เฉื่อย) - GDP (เหนื่อยแต่ทุกข์)
38. ค่าเงินบาท กับ หน้าที่ของเงิน
39. จากแผนฯ 1 สู่แผนฯ 10: สังคมได้อะไรบ้าง
40. บรรษัทภิบาล vs. บรรษัทบริบาล
41. การกระจาย ผลผลิต-รายได้-ความสุข
42. ประชามติ พอเพียงหรือไม่
43. ด้านมืดของโลกาภิวัตน์
44. ธรรมะในเศรษฐกิจพอเพียง
45. ศีล 4 กับเศรษฐกิจพอเพียง
46. เข็มทิศธุรกิจเพื่อสังคม
47. สังคหวัตถุ 4 กับการนำไปใช้ในเรื่อง CSR
48. อยากเห็นพรรคธัมมิกสังคมนิยม
49. โรดแมพประเทศไทยฉบับพอเพียง
50. อรรถประโยชน์กับข่าวการเมือง
51. 9 ปี ของสังคมไทยกับความเข้าใจเศรษฐกิจพอเพียง
52. การเมืองแบบสมานฉันท์ ไม่ใช่แค่การเลือกตั้ง
53. เปิดประตูประเทศ แต่ปิดโอกาสประชา
54. อย่าถลุงเทคโนโลยีและพลังงานจนเพลิน
55. การศึกษาแบบพอเพียง ไม่ใช่ให้เพียงพอ
56. วันนี้ เรามีระบบสุขภาพพอเพียงแล้วหรือยัง
57. รัฐบาลใหม่กับปัญหาสินบนและความโปร่งใส
58. ลาที สมญารัฐบาลพอเพียง
59. กระแสบรรษัทบริบาล (CSR) ปีหนู
60. อย่าให้นวนิยายกลายเป็นเรื่องจริง
61. การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน
62. ชาวโมโซในสังคมพอประมาณ
63. สำรวจทิศทาง CSR ขององค์กรธุรกิจ
64. หลักธุรกิจในเศรษฐกิจพอเพียง
65. 7 อุปนิสัยช่วยหยุดโลกร้อน
66. ปัจฉิมลิขิต พอเพียงภิวัตน์
2. "ขาดทุนคือกำไร" : หลักพอเพียงของเมกะโปรเจค
3. สร้างทุนนิยมให้พอเพียงได้อย่างไร
4. กับดักดัชนีความสุข
5. เมื่อยขากันหรือยัง
6. เศรษฐกิจพอเพียงไม่ใช่แค่เรื่องพึ่งตนเอง
7. EVA : เครื่องมือจัดการธุรกิจแบบพอเพียง ?
8. การจัดการความรู้ในเศรษฐกิจพอเพียง
9. หลักการทรงงาน 9 ประการ
10. ฟื้นฟูพื้นที่ประสบอุทกภัยด้วย “ทฤษฎีใหม่”
11. ปฏิรูปการศึกษาตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
12. สร้างภูมิคุ้มกันท้องถิ่นด้วยระบบแลกเปลี่ยนชุมชน
13. ศักราชแห่งความพอเพียงในชนทุกระดับชั้น
14. ซีเอสอาร์ : รูปธรรมของความพอเพียงในธุรกิจ
15. เศรษฐกิจพอเพียงในมุมมองของ UNDP
16. การผลิตที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด
17. บริโภคอย่างไรให้ชีวิตสมดุล
18. เรื่องที่เข้าใจผิดเกี่ยวกับทักษิโณมิกส์
19. เรื่องที่มักเข้าใจผิดเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง (1) (2)
20. อย่างไรถึงเรียกว่ามีเหตุผล
21. ตรวจการบ้านรัฐบาล กับข้อเสนอแนะ 6 ประการ (1)
22. ตรวจการบ้านรัฐบาล กับข้อเสนอแนะ 6 ประการ (2)
23. ตรวจการบ้านรัฐบาล กับข้อเสนอแนะ 6 ประการ (3)
24. พอเพียงแล้วห้ามกู้เงินหรือไม่
25. กระตุ้นเศรษฐกิจแบบ 3 ชั้น
26. การสร้างสมดุลทางเศรษฐกิจที่ชั้นฐานราก
27. "แก้มลิง" ทางการเงิน
28. จะเลือก ความผาสุก หรือ GDP
29. เล่นหวย + ออมเงิน = หวยออม
30. ก้าวแรก โรดแมพเศรษฐกิจพอเพียง
31. Scenario Planning: เครื่องมือสร้างภูมิคุ้มกันในธุรกิจ
32. Balanced Scorecard: เครื่องแสดงอิทัปปัจยตาทางธุรกิจ
33. สถาบันเศรษฐกิจพอเพียง กับการพัฒนาประเทศ
34. ประเทศไทยกำลังขาดทั้งเครื่องยนต์และพวงมาลัย
35. ที่หมายประเทศไทยในบริบทของเศรษฐกิจพอเพียง
36. จุดตรวจตราความพอเพียงของเศรษฐกิจชุมชน
37. ดัชนี GNH (สุขแต่เฉื่อย) - GDP (เหนื่อยแต่ทุกข์)
38. ค่าเงินบาท กับ หน้าที่ของเงิน
39. จากแผนฯ 1 สู่แผนฯ 10: สังคมได้อะไรบ้าง
40. บรรษัทภิบาล vs. บรรษัทบริบาล
41. การกระจาย ผลผลิต-รายได้-ความสุข
42. ประชามติ พอเพียงหรือไม่
43. ด้านมืดของโลกาภิวัตน์
44. ธรรมะในเศรษฐกิจพอเพียง
45. ศีล 4 กับเศรษฐกิจพอเพียง
46. เข็มทิศธุรกิจเพื่อสังคม
47. สังคหวัตถุ 4 กับการนำไปใช้ในเรื่อง CSR
48. อยากเห็นพรรคธัมมิกสังคมนิยม
49. โรดแมพประเทศไทยฉบับพอเพียง
50. อรรถประโยชน์กับข่าวการเมือง
51. 9 ปี ของสังคมไทยกับความเข้าใจเศรษฐกิจพอเพียง
52. การเมืองแบบสมานฉันท์ ไม่ใช่แค่การเลือกตั้ง
53. เปิดประตูประเทศ แต่ปิดโอกาสประชา
54. อย่าถลุงเทคโนโลยีและพลังงานจนเพลิน
55. การศึกษาแบบพอเพียง ไม่ใช่ให้เพียงพอ
56. วันนี้ เรามีระบบสุขภาพพอเพียงแล้วหรือยัง
57. รัฐบาลใหม่กับปัญหาสินบนและความโปร่งใส
58. ลาที สมญารัฐบาลพอเพียง
59. กระแสบรรษัทบริบาล (CSR) ปีหนู
60. อย่าให้นวนิยายกลายเป็นเรื่องจริง
61. การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน
62. ชาวโมโซในสังคมพอประมาณ
63. สำรวจทิศทาง CSR ขององค์กรธุรกิจ
64. หลักธุรกิจในเศรษฐกิจพอเพียง
65. 7 อุปนิสัยช่วยหยุดโลกร้อน
66. ปัจฉิมลิขิต พอเพียงภิวัตน์
Wednesday, February 20, 2008
รัฐ เกี่ยวอะไรกับ CSR
ยังจำได้ว่า เมื่อตอนที่เข้าไปผลักดันงานส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมในหน่วยงานของรัฐ มักจะมีคำถามเกิดขึ้นว่า "ภาครัฐไปยุ่งเกี่ยวอะไรกับเรื่องซีเอสอาร์ มันเป็นเรื่องของภาคธุรกิจเขามิใช่หรือ" หรือได้รับคำตัดพ้อทำนองว่า "แค่ภารกิจที่มีอยู่ก็มากพออยู่แล้ว ทำไมต้องไปหยิบเรื่องพรรค์นี้มาทำด้วย เราเชี่ยวชาญซะเมื่อไร ปล่อยให้ธุรกิจเขาทำไปเถอะ"
แม้ห้วงเวลานั้น จะได้มีโอกาสอธิบาย ถึงความเกี่ยวข้องของภาครัฐ กับงานซีเอสอาร์ จนเป็นที่เข้าใจกันในหมู่ผู้ร่วมเคลื่อนงานในขณะนั้น มาวันนี้ คำถามดังกล่าว ก็ได้หวนกลับมาให้ได้ยินอีกครั้งจากเจ้าหน้าที่กลุ่มใหม่ๆ ที่ต้องเข้ามาเกี่ยวข้องกับเรื่องซีเอสอาร์ ซึ่งเป็นบทบาทของภาคธุรกิจเป็นคำรบสอง
หากมองย้อนกลับกัน จะพบว่าในสมัยหนึ่ง นักธุรกิจก็เคยตั้งคำถามทำนองเดียวกันนี้ว่า "ธุรกิจไปยุ่งเกี่ยวอะไรกับเรื่องดูแลสังคม มันเป็นเรื่องของภาครัฐเขามิใช่หรือ" หรือที่แข็งกร้าวหน่อย ก็จะกล่าวว่า "ธุรกิจมีหน้าที่ในการแสวงหากำไร ใครที่คิดจะช่วยเหลือสังคม ก็ไปตั้งมูลนิธิไป"
แต่ยุคสมัยนี้ นักธุรกิจกลับยอมรับบทบาทของการช่วยเหลือเกื้อกูลสังคม ไปพร้อมๆ กับการดำเนินธุรกิจเพื่อแสวงหากำไร ภายใต้บริบทของซีเอสอาร์ หลายองค์กรธุรกิจมีการตั้งหน่วยงาน เพื่อดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมขึ้นเป็นการเฉพาะ กระทั่งถึงการตั้งตำแหน่งผู้รับผิดชอบงานด้านซีเอสอาร์ขึ้นในองค์กรให้ทำหน้าที่ "เจ้าหน้าที่บริหารความรับผิดชอบประจำองค์กร" (Corporate Responsibility Officer: CRO) เพื่อทำหน้าที่ขับเคลื่อนภารกิจเพื่อสังคมอย่างเต็มเวลา
คำถามมีต่อว่า "แล้วการทำงานของหน่วยงานภาครัฐมีอะไรที่บกพร่องหรือไร ธุรกิจถึงต้องเข้ามาช่วยเหลือดูแลสังคมร่วมด้วย" ข้อคำถามนี้ มิได้มีเจตนาจะให้เจ้าหน้าที่รัฐต้องมาตอบคำถามที่ทำให้วงแตกหรือต้องค้นหาเหตุผลเพื่อปกป้องการปฏิบัติหน้าที่ของตนแต่ประการใด เพียงแต่ต้องการใช้คำถามเพื่อตอบคำถามที่ว่า "เหตุใด รัฐจึงต้องยุ่งเกี่ยวกับเรื่องซีเอสอาร์"... (อ่านรายละเอียดในคอลัมน์ 20CEOs20IDEAs) [Archived]
แม้ห้วงเวลานั้น จะได้มีโอกาสอธิบาย ถึงความเกี่ยวข้องของภาครัฐ กับงานซีเอสอาร์ จนเป็นที่เข้าใจกันในหมู่ผู้ร่วมเคลื่อนงานในขณะนั้น มาวันนี้ คำถามดังกล่าว ก็ได้หวนกลับมาให้ได้ยินอีกครั้งจากเจ้าหน้าที่กลุ่มใหม่ๆ ที่ต้องเข้ามาเกี่ยวข้องกับเรื่องซีเอสอาร์ ซึ่งเป็นบทบาทของภาคธุรกิจเป็นคำรบสอง
หากมองย้อนกลับกัน จะพบว่าในสมัยหนึ่ง นักธุรกิจก็เคยตั้งคำถามทำนองเดียวกันนี้ว่า "ธุรกิจไปยุ่งเกี่ยวอะไรกับเรื่องดูแลสังคม มันเป็นเรื่องของภาครัฐเขามิใช่หรือ" หรือที่แข็งกร้าวหน่อย ก็จะกล่าวว่า "ธุรกิจมีหน้าที่ในการแสวงหากำไร ใครที่คิดจะช่วยเหลือสังคม ก็ไปตั้งมูลนิธิไป"
แต่ยุคสมัยนี้ นักธุรกิจกลับยอมรับบทบาทของการช่วยเหลือเกื้อกูลสังคม ไปพร้อมๆ กับการดำเนินธุรกิจเพื่อแสวงหากำไร ภายใต้บริบทของซีเอสอาร์ หลายองค์กรธุรกิจมีการตั้งหน่วยงาน เพื่อดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมขึ้นเป็นการเฉพาะ กระทั่งถึงการตั้งตำแหน่งผู้รับผิดชอบงานด้านซีเอสอาร์ขึ้นในองค์กรให้ทำหน้าที่ "เจ้าหน้าที่บริหารความรับผิดชอบประจำองค์กร" (Corporate Responsibility Officer: CRO) เพื่อทำหน้าที่ขับเคลื่อนภารกิจเพื่อสังคมอย่างเต็มเวลา
คำถามมีต่อว่า "แล้วการทำงานของหน่วยงานภาครัฐมีอะไรที่บกพร่องหรือไร ธุรกิจถึงต้องเข้ามาช่วยเหลือดูแลสังคมร่วมด้วย" ข้อคำถามนี้ มิได้มีเจตนาจะให้เจ้าหน้าที่รัฐต้องมาตอบคำถามที่ทำให้วงแตกหรือต้องค้นหาเหตุผลเพื่อปกป้องการปฏิบัติหน้าที่ของตนแต่ประการใด เพียงแต่ต้องการใช้คำถามเพื่อตอบคำถามที่ว่า "เหตุใด รัฐจึงต้องยุ่งเกี่ยวกับเรื่องซีเอสอาร์"... (อ่านรายละเอียดในคอลัมน์ 20CEOs20IDEAs) [Archived]
Tuesday, February 19, 2008
7 อุปนิสัยช่วยหยุดโลกร้อน
1. Rethink ความเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้น ก็ต่อเมื่อเรามีความคิดที่จะเปลี่ยนแปลงด้วยตนเอง กระแสการรณรงค์เรื่องโลกร้อนจะไม่เกิดผลสำเร็จใดๆ หากทุกคนที่ได้รับฟังข้อมูลไม่ตระหนักว่าตนเองต้องเปลี่ยนแปลง การรอคอยให้ผู้อื่นทำไปก่อน แล้วเราจึงค่อยคิดจะทำนั้น จะทำให้ท่านได้รับการดูแลจากธรรมชาติเป็นคนท้ายๆ โลกได้ส่งสัญญาณดังขึ้นเรื่อยๆ จากเหตุการณ์แผ่นดินไหว น้ำท่วม ลมพายุ และอุณหภูมิที่แปรปรวนอย่างชนิดที่ไม่เคยมีมาก่อน เราอาจเป็นหนึ่งในผู้เคราะห์ร้ายจากสึนามิเพราะแผ่นดินไหว เครื่องบินตกเพราะฝนกระหน่ำ ป้ายล้มทับเพราะลมพายุ หรือถูกไฟดูดเพราะน้ำท่วม กฎธรรมชาติที่อยู่ปลายจมูก คือ โลกดูแลเรา เพราะเราดูแลโลก โลกทำร้ายเรา เพราะเราทำร้ายโลก เราไม่สามารถหลีกลี้หนีไปจากโลกได้ ฉันใด โลกก็จะตามไปดูแลหรือทำร้ายท่านได้ในทุกหนทุกแห่ง ฉันนั้น
2. Reduce โลกร้อน เพราะเราเผาผลาญทรัพยากรเกินขีดจำกัดที่ธรรมชาติจะหมุนเวียนได้ทัน โลกบูด เพราะเราบริโภคเกินจนเกิดขยะและของเสียที่ไม่สามารถย่อยสลายตามธรรมชาติได้ทัน ไม่มีใครปฏิเสธว่า เราทุกคนต้องการอยู่ในโลกที่เย็นและโลกที่หอม ฉะนั้น จงช่วยกันลดการใช้ทรัพยากรให้เหลือแต่เท่าที่จำเป็น ช่วยกันลดการบริโภคเพื่อไม่ให้เกิดขยะและของเสียจำนวนมากอย่างที่เป็นอยู่ ลดการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ต้องใช้เวลาชั่วอายุคนในการย่อยสลาย เช่น ขวดพลาสติก ถุงพลาสติก กล่องโฟม ฯลฯ ลดการบริโภคเนื้อสัตว์โดยหันมาบริโภคพืชผักผลไม้ทดแทน เพื่อลดปริมาณการปล่อยแก๊สเรือนกระจกในห่วงโซ่อาหาร ลดการใช้กระดาษในสำนักงาน ลดการพิมพ์หนังสือพิมพ์ นิตยสาร จดหมายข่าว หรือสิ่งพิมพ์ที่เป็นรายงวดประจำให้พอเหมาะพอดีกับจำนวนผู้อ่าน โดยไม่ต้องอิงกับยอดของการทำให้แพร่หลาย (circulation) รวมทั้งลดการซื้อผลิตภัณฑ์ซึ่งใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม
3. Reuse สำรวจของที่ซื้อมาแล้วเพิ่งใช้เพียงหนเดียวว่า สามารถใช้ประโยชน์ซ้ำได้หรือไม่ ก่อนที่จะซื้อใหม่ เช่น เครื่องแต่งกาย รองเท้า กระเป๋า กระดาษ ภาชนะใส่ของ ฯลฯ การใช้บรรจุภัณฑ์ซ้ำ เช่น ถุงหิ้วพลาสติก กล่องใส่ของ ฯลฯ หรือหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์หรือบรรจุภัณฑ์ชนิดใช้ครั้งเดียวทิ้ง (disposables) เช่น การใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก การใช้ผ้าเช็ดโต๊ะแทนกระดาษชำระ การใช้ขวดน้ำยาล้างสุขภัณฑ์ชนิดเติมซ้ำได้ (refillable) โปรดอย่าลืมว่าประโยชน์ใช้สอยในทางเศรษฐศาสตร์จะยิ่งเพิ่มขึ้น ถ้าสิ่งของนั้นยิ่งถูกใช้งาน ฉะนั้น การซื้อของมีคุณภาพที่ราคาสูงกว่า แต่ใช้งานได้ทนนาน จะดีกว่าซื้อของที่ด้อยคุณภาพในราคาถูก แต่ใช้งานได้เพียงไม่กี่ครั้ง
4. Recycle เป็นการนำวัสดุที่หมดสภาพหรือที่ใช้แล้วมาปรับสภาพเพื่อนำมาใช้ใหม่ เริ่มจากการสนับสนุนผลิตภัณฑ์ที่ทำจากวัสดุรีไซเคิล เช่น กระดาษ พลาสติก แก้ว โลหะ ฯลฯ การลงมือปรับแต่งของใช้แล้วในบ้านให้เกิดประโยชน์ใหม่ เช่น การเก็บกรองน้ำชะล้างมารดน้ำต้นไม้ การนำของขวัญที่ได้รับในเทศกาลต่างๆ มาตกแต่งเพื่อใช้เป็นของขวัญแก่ผู้อื่นต่อ (recycled gift) โดยมีกิตติกรรมประกาศแก่ผู้ให้เดิมเป็นทอดๆ ฯลฯ การคัดแยกขยะหรือวัสดุเหลือใช้ที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้เองมอบให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นกิจวัตร เช่น ขวดพลาสติก กระป๋องน้ำอัดลม กระดาษหนังสือพิมพ์ นิตยสารเก่า แผ่นซีดีชำรุด แบตเตอรี่มือถือ คอมพิวเตอร์ ฯลฯ และหากพบว่ามีสิ่งของหลายอย่างที่ซื้อมาแล้วไม่ได้ใช้งานอีกเลย ก็ควรนำไปบริจาคให้แก่ผู้ที่ใช้ประโยชน์ได้ผ่านหน่วยรับบริจาคต่างๆ เช่น วัดสวนแก้ว หรือประกาศผ่าน freecycle.org (bangkok) ดีกว่าทิ้งให้เสื่อมโทรมหรือเก็บไว้เฉยๆ โดยเปล่าประโยชน์
5. Repair ของหลายอย่างสามารถซ่อมแซมแล้วนำกลับมาใช้ใหม่ได้ดังเดิม แต่ผู้บริโภคกลับได้รับการปลูกฝังค่านิยมให้ต้องเปลี่ยนหรือซื้อของใหม่ใช้อยู่ตลอด ด้วยเหตุที่ผู้ผลิตต้องการรักษาตัวเลขยอดขายสินค้าและชิ้นส่วนให้ได้มากที่สุด จนทำให้ค่าบริการหรือค่าซ่อมแพงกว่าการซื้อของใหม่ใช้ ฉะนั้น วิธีการแรก คือ พยายามใช้ของให้ถูกวิธีเพื่อยืดอายุการใช้งานและหลีกเลี่ยงการชำรุดเสียหายก่อนเวลาอันควร หากสิ่งของใดมีกำหนดเวลาที่ต้องบำรุงรักษา หมั่นตรวจสอบและปฏิบัติตามตารางการบำรุงรักษานั้นๆ เช่น รถยนต์ เครื่องปรับอากาศ ฯลฯ รวมถึงเรียนรู้วิธีการซ่อมแซมเบื้องต้นที่ไม่ซับซ้อนมากนัก โดยศึกษาจากคู่มือที่มาพร้อมกับผลิตภัณฑ์หรือดาวน์โหลดคู่มือจากเว็บไซต์เจ้าของผลิตภัณฑ์ หากเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีระยะเวลารับประกันการใช้งาน ให้เก็บใบรับประกันสินค้าไว้เพื่อใช้สิทธิ์ยกเว้นค่าบริการซ่อมบำรุงในระยะเวลาที่รับประกัน ท้ายสุด หากซ่อมไม่ได้จริงๆ หรือพิจารณาแล้วว่าไม่คุ้มค่าซ่อม ให้สอบถามผู้ขายว่ามีนโยบายการแลกเปลี่ยนสินค้าที่ชำรุดกับสินค้ารุ่นใหม่หรือไม่ เพื่อเราจะได้มีโอกาสซื้อสินค้าในราคาที่ต่ำลง และเจ้าของผลิตภัณฑ์จะได้นำสินค้าที่ชำรุดนั้นไปแปลงสภาพอย่างถูกวิธี
6. Refuse การปฏิเสธเป็นช่องทางหนึ่งที่ช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัดไม่ให้ถูกนำมาใช้หรือถูกทำลายเร็วขึ้น ทั้งนี้ เพื่อให้เวลาธรรมชาติในการฟื้นสภาพตัวเองตามระบบนิเวศ โดยเริ่มจากสิ่งเล็กน้อยนอกตัว เช่น ปฏิเสธการใช้สินค้าที่เป็นต้นเหตุในการฆ่าชีวิตสัตว์หรือทำลายสิ่งแวดล้อม บอกเลิกรับจดหมายนำเสนอขายสินค้าที่ในชีวิตนี้จะไม่ซื้อแน่ๆ เรื่อยมาถึงสิ่งที่เราต้องเติมใส่ร่างกาย เช่น ปฏิเสธการบริโภคอาหารที่ต้องเดินทางมาจากแดนไกล เพราะระหว่างกระบวนการเก็บรักษาและการขนส่งอาหารในแต่ละเที่ยวจะไปเพิ่มแก๊สเรือนกระจกที่เป็นต้นเหตุหลักของภาวะโลกร้อน รวมไปถึงปฏิเสธการดื่มเหล้า สูบบุหรี่ และเสพสิ่งที่เป็นอบายมุขทุกอย่างที่ทำให้ โลกหมุนเพราะความมึนเมา จนกระทั่งถึงสิ่งสำคัญที่อยู่ข้างในกาย เช่น ปฏิเสธการทำความชั่วซึ่งเป็นบ่อเกิดของความรุ่มร้อนในจิตใจ เพราะเมื่อจิตร้อน กายก็ร้อน สิ่งรอบข้างก็ได้รับกระแสร้อน สุดท้ายทั้งโลกก็ร้อนขึ้น
7. Return หน้าที่หนึ่งของมนุษย์ในฐานะผู้อาศัยโลกเป็นที่พักพิง คือ การตอบแทนคืนแก่โลก ใครใช้ทรัพยากรจากธรรมชาติประเภทใดเยอะ ก็ต้องคืนทรัพยากรประเภทนั้นกลับให้มากๆ โดยเฉพาะนักธุรกิจ นักอุตสาหกรรม ที่มีเครื่องขยายพิสัยโดยใช้บริษัทเป็นเครื่องมือในการทำ "กำไร" จากการแปลงทรัพยากรและวัตถุดิบต่างๆ ให้เป็นสินค้าและบริการคราวละมากๆ โปรดอย่าลืมว่าท่านกำลังใช้บริษัทเป็นเครื่องมือในการทำ "กรรม" และได้ขยายพิสัยของกรรมในขณะเดียวกัน ยิ่งเป็นมหาเศรษฐีมีกำไรสะสมมากเท่าใด ก็ยิ่งต้องตอบแทนคืนแก่โลกแก่สังคมมากเท่านั้น ในทางกลับกัน ถ้าท่านเป็นผู้ให้แก่โลกแก่สังคมมากเท่าใด โลกก็จะตอบแทนคืนแก่ท่านมากเช่นกัน ฉะนั้น จงอย่าติดหนี้โลก วันดีคืนดีอาจกลายเป็นวันร้ายคืนร้าย เพราะโลกจะมาทวงหนี้จากท่าน หากเป็นหนี้ระยะสั้น ก็ต้องชดใช้กันในชีวิตนี้ แต่หากเป็นหนี้ระยะยาว โลกก็จะตั้งบัญชีค้างชำระรอทวงในชาติต่อๆ ไป พร้อมด้วยดอกเบี้ยที่ทับถมทวีคูณ ตราบที่ท่านยังต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่บนโลกใบนี้ ... (จากคอลัมน์ พอเพียงภิวัตน์)
2. Reduce โลกร้อน เพราะเราเผาผลาญทรัพยากรเกินขีดจำกัดที่ธรรมชาติจะหมุนเวียนได้ทัน โลกบูด เพราะเราบริโภคเกินจนเกิดขยะและของเสียที่ไม่สามารถย่อยสลายตามธรรมชาติได้ทัน ไม่มีใครปฏิเสธว่า เราทุกคนต้องการอยู่ในโลกที่เย็นและโลกที่หอม ฉะนั้น จงช่วยกันลดการใช้ทรัพยากรให้เหลือแต่เท่าที่จำเป็น ช่วยกันลดการบริโภคเพื่อไม่ให้เกิดขยะและของเสียจำนวนมากอย่างที่เป็นอยู่ ลดการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ต้องใช้เวลาชั่วอายุคนในการย่อยสลาย เช่น ขวดพลาสติก ถุงพลาสติก กล่องโฟม ฯลฯ ลดการบริโภคเนื้อสัตว์โดยหันมาบริโภคพืชผักผลไม้ทดแทน เพื่อลดปริมาณการปล่อยแก๊สเรือนกระจกในห่วงโซ่อาหาร ลดการใช้กระดาษในสำนักงาน ลดการพิมพ์หนังสือพิมพ์ นิตยสาร จดหมายข่าว หรือสิ่งพิมพ์ที่เป็นรายงวดประจำให้พอเหมาะพอดีกับจำนวนผู้อ่าน โดยไม่ต้องอิงกับยอดของการทำให้แพร่หลาย (circulation) รวมทั้งลดการซื้อผลิตภัณฑ์ซึ่งใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม
3. Reuse สำรวจของที่ซื้อมาแล้วเพิ่งใช้เพียงหนเดียวว่า สามารถใช้ประโยชน์ซ้ำได้หรือไม่ ก่อนที่จะซื้อใหม่ เช่น เครื่องแต่งกาย รองเท้า กระเป๋า กระดาษ ภาชนะใส่ของ ฯลฯ การใช้บรรจุภัณฑ์ซ้ำ เช่น ถุงหิ้วพลาสติก กล่องใส่ของ ฯลฯ หรือหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์หรือบรรจุภัณฑ์ชนิดใช้ครั้งเดียวทิ้ง (disposables) เช่น การใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก การใช้ผ้าเช็ดโต๊ะแทนกระดาษชำระ การใช้ขวดน้ำยาล้างสุขภัณฑ์ชนิดเติมซ้ำได้ (refillable) โปรดอย่าลืมว่าประโยชน์ใช้สอยในทางเศรษฐศาสตร์จะยิ่งเพิ่มขึ้น ถ้าสิ่งของนั้นยิ่งถูกใช้งาน ฉะนั้น การซื้อของมีคุณภาพที่ราคาสูงกว่า แต่ใช้งานได้ทนนาน จะดีกว่าซื้อของที่ด้อยคุณภาพในราคาถูก แต่ใช้งานได้เพียงไม่กี่ครั้ง
4. Recycle เป็นการนำวัสดุที่หมดสภาพหรือที่ใช้แล้วมาปรับสภาพเพื่อนำมาใช้ใหม่ เริ่มจากการสนับสนุนผลิตภัณฑ์ที่ทำจากวัสดุรีไซเคิล เช่น กระดาษ พลาสติก แก้ว โลหะ ฯลฯ การลงมือปรับแต่งของใช้แล้วในบ้านให้เกิดประโยชน์ใหม่ เช่น การเก็บกรองน้ำชะล้างมารดน้ำต้นไม้ การนำของขวัญที่ได้รับในเทศกาลต่างๆ มาตกแต่งเพื่อใช้เป็นของขวัญแก่ผู้อื่นต่อ (recycled gift) โดยมีกิตติกรรมประกาศแก่ผู้ให้เดิมเป็นทอดๆ ฯลฯ การคัดแยกขยะหรือวัสดุเหลือใช้ที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้เองมอบให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นกิจวัตร เช่น ขวดพลาสติก กระป๋องน้ำอัดลม กระดาษหนังสือพิมพ์ นิตยสารเก่า แผ่นซีดีชำรุด แบตเตอรี่มือถือ คอมพิวเตอร์ ฯลฯ และหากพบว่ามีสิ่งของหลายอย่างที่ซื้อมาแล้วไม่ได้ใช้งานอีกเลย ก็ควรนำไปบริจาคให้แก่ผู้ที่ใช้ประโยชน์ได้ผ่านหน่วยรับบริจาคต่างๆ เช่น วัดสวนแก้ว หรือประกาศผ่าน freecycle.org (bangkok) ดีกว่าทิ้งให้เสื่อมโทรมหรือเก็บไว้เฉยๆ โดยเปล่าประโยชน์
5. Repair ของหลายอย่างสามารถซ่อมแซมแล้วนำกลับมาใช้ใหม่ได้ดังเดิม แต่ผู้บริโภคกลับได้รับการปลูกฝังค่านิยมให้ต้องเปลี่ยนหรือซื้อของใหม่ใช้อยู่ตลอด ด้วยเหตุที่ผู้ผลิตต้องการรักษาตัวเลขยอดขายสินค้าและชิ้นส่วนให้ได้มากที่สุด จนทำให้ค่าบริการหรือค่าซ่อมแพงกว่าการซื้อของใหม่ใช้ ฉะนั้น วิธีการแรก คือ พยายามใช้ของให้ถูกวิธีเพื่อยืดอายุการใช้งานและหลีกเลี่ยงการชำรุดเสียหายก่อนเวลาอันควร หากสิ่งของใดมีกำหนดเวลาที่ต้องบำรุงรักษา หมั่นตรวจสอบและปฏิบัติตามตารางการบำรุงรักษานั้นๆ เช่น รถยนต์ เครื่องปรับอากาศ ฯลฯ รวมถึงเรียนรู้วิธีการซ่อมแซมเบื้องต้นที่ไม่ซับซ้อนมากนัก โดยศึกษาจากคู่มือที่มาพร้อมกับผลิตภัณฑ์หรือดาวน์โหลดคู่มือจากเว็บไซต์เจ้าของผลิตภัณฑ์ หากเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีระยะเวลารับประกันการใช้งาน ให้เก็บใบรับประกันสินค้าไว้เพื่อใช้สิทธิ์ยกเว้นค่าบริการซ่อมบำรุงในระยะเวลาที่รับประกัน ท้ายสุด หากซ่อมไม่ได้จริงๆ หรือพิจารณาแล้วว่าไม่คุ้มค่าซ่อม ให้สอบถามผู้ขายว่ามีนโยบายการแลกเปลี่ยนสินค้าที่ชำรุดกับสินค้ารุ่นใหม่หรือไม่ เพื่อเราจะได้มีโอกาสซื้อสินค้าในราคาที่ต่ำลง และเจ้าของผลิตภัณฑ์จะได้นำสินค้าที่ชำรุดนั้นไปแปลงสภาพอย่างถูกวิธี
6. Refuse การปฏิเสธเป็นช่องทางหนึ่งที่ช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัดไม่ให้ถูกนำมาใช้หรือถูกทำลายเร็วขึ้น ทั้งนี้ เพื่อให้เวลาธรรมชาติในการฟื้นสภาพตัวเองตามระบบนิเวศ โดยเริ่มจากสิ่งเล็กน้อยนอกตัว เช่น ปฏิเสธการใช้สินค้าที่เป็นต้นเหตุในการฆ่าชีวิตสัตว์หรือทำลายสิ่งแวดล้อม บอกเลิกรับจดหมายนำเสนอขายสินค้าที่ในชีวิตนี้จะไม่ซื้อแน่ๆ เรื่อยมาถึงสิ่งที่เราต้องเติมใส่ร่างกาย เช่น ปฏิเสธการบริโภคอาหารที่ต้องเดินทางมาจากแดนไกล เพราะระหว่างกระบวนการเก็บรักษาและการขนส่งอาหารในแต่ละเที่ยวจะไปเพิ่มแก๊สเรือนกระจกที่เป็นต้นเหตุหลักของภาวะโลกร้อน รวมไปถึงปฏิเสธการดื่มเหล้า สูบบุหรี่ และเสพสิ่งที่เป็นอบายมุขทุกอย่างที่ทำให้ โลกหมุนเพราะความมึนเมา จนกระทั่งถึงสิ่งสำคัญที่อยู่ข้างในกาย เช่น ปฏิเสธการทำความชั่วซึ่งเป็นบ่อเกิดของความรุ่มร้อนในจิตใจ เพราะเมื่อจิตร้อน กายก็ร้อน สิ่งรอบข้างก็ได้รับกระแสร้อน สุดท้ายทั้งโลกก็ร้อนขึ้น
7. Return หน้าที่หนึ่งของมนุษย์ในฐานะผู้อาศัยโลกเป็นที่พักพิง คือ การตอบแทนคืนแก่โลก ใครใช้ทรัพยากรจากธรรมชาติประเภทใดเยอะ ก็ต้องคืนทรัพยากรประเภทนั้นกลับให้มากๆ โดยเฉพาะนักธุรกิจ นักอุตสาหกรรม ที่มีเครื่องขยายพิสัยโดยใช้บริษัทเป็นเครื่องมือในการทำ "กำไร" จากการแปลงทรัพยากรและวัตถุดิบต่างๆ ให้เป็นสินค้าและบริการคราวละมากๆ โปรดอย่าลืมว่าท่านกำลังใช้บริษัทเป็นเครื่องมือในการทำ "กรรม" และได้ขยายพิสัยของกรรมในขณะเดียวกัน ยิ่งเป็นมหาเศรษฐีมีกำไรสะสมมากเท่าใด ก็ยิ่งต้องตอบแทนคืนแก่โลกแก่สังคมมากเท่านั้น ในทางกลับกัน ถ้าท่านเป็นผู้ให้แก่โลกแก่สังคมมากเท่าใด โลกก็จะตอบแทนคืนแก่ท่านมากเช่นกัน ฉะนั้น จงอย่าติดหนี้โลก วันดีคืนดีอาจกลายเป็นวันร้ายคืนร้าย เพราะโลกจะมาทวงหนี้จากท่าน หากเป็นหนี้ระยะสั้น ก็ต้องชดใช้กันในชีวิตนี้ แต่หากเป็นหนี้ระยะยาว โลกก็จะตั้งบัญชีค้างชำระรอทวงในชาติต่อๆ ไป พร้อมด้วยดอกเบี้ยที่ทับถมทวีคูณ ตราบที่ท่านยังต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่บนโลกใบนี้ ... (จากคอลัมน์ พอเพียงภิวัตน์)
Tuesday, February 12, 2008
หลักธุรกิจในเศรษฐกิจพอเพียง
ธุรกิจเป็นภาคที่มีความสำคัญ ในฐานะที่เป็นผู้ผลิตหลักในระบบเศรษฐกิจ ไม่เพียงแต่ตัวเองที่สามารถเลือกว่าจะดำเนินธุรกิจตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงหรือไม่เท่านั้น แต่ธุรกิจยังมีความสามารถในการโน้มน้าวผู้บริโภคให้มีพฤติกรรมไปในทางที่พอเพียงหรือไม่พอเพียงได้อีกด้วย
ปัญหาของภาคธุรกิจที่ต้องการน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปฏิบัติในขณะนี้ คือ การขาดทฤษฎีที่ได้รับการพิสูจน์และทดสอบยืนยันผลของการประยุกต์อย่างเป็นระบบ และสามารถนำไปปฏิบัติซ้ำได้สำเร็จ เช่น ในภาคเกษตรกรรม ที่มีรูปแบบของ “เกษตรทฤษฎีใหม่” ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงคิดค้นขึ้นด้วยพระองค์เอง และได้ใช้พื้นที่ของมูลนิธิชัยพัฒนาทดลองจนแน่พระทัยว่าประสบผลสำเร็จ ทำให้มีสถานภาพเป็นทฤษฎีที่ได้รับการพิสูจน์และทดสอบแล้ว
การแปลง "ปรัชญา" เศรษฐกิจพอเพียง ให้เป็น "ทฤษฎี" ธุรกิจในแต่ละสาขา จึงเป็นความท้าทายอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นในภาคการผลิต ภาคการค้า หรือภาคการบริการต่างๆ
ด้วยเหตุที่ การดำเนินธุรกิจต่างมีเป้าหมายในการแสวงหากำไรสูงสุด แนวคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงมิได้ขัดกับหลักการแสวงหากำไรสูงสุดในธุรกิจ แต่ว่าเศรษฐกิจพอเพียงมุ่งคำนึงถึงกำไรสูงสุดในทางเศรษฐศาสตร์ (Economic Profit) มากกว่ากำไรสูงสุดในทางบัญชี (Accounting Profit) ซึ่งการพิจารณาที่ตัวกำไรทางเศรษฐศาสตร์ได้คำนึงถึงต้นทุนค่าเสียโอกาสต่างๆ และส่วนเพิ่มมูลค่า (Value Added) ขององค์กรที่แท้จริง
การดำเนินธุรกิจตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงจึงไม่ได้หมายความว่า ธุรกิจจะต้องลดกำไรลงหรือต้องลดกำลังการผลิตลง จึงจะเรียกว่าพอเพียง ทุกธุรกิจยังสามารถแสวงหากำไรสูงสุดได้ และต้องยังคงมุ่งหมายให้ได้มาซึ่งประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในการผลิต เพื่อการพัฒนาก้าวหน้าขององค์กร เพียงแต่ว่าในกระบวนการนั้น ต้องทำให้เกิดการเบียดเบียนกันให้น้อยที่สุด ทั้งการเบียดเบียนตนเอง และการเบียดเบียนผู้อื่น
ตัวอย่างของการเบียดเบียนตนเอง คือ การมุ่งแต่จะหารายได้ให้มากที่สุด ด้วยการทำงานหามรุ่งหามค่ำ มากจนเสียสุขภาพตนเองในระยะยาว หรือมากจนละเลยหน้าที่ในครอบครัว บุตรหลานขาดการอบรมเลี้ยงดู เติบใหญ่มาเป็นคนที่ขาดคุณภาพ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นต้นทุนค่าเสียโอกาสทั้งสิ้น แม้ธุรกิจจะมีผลกำไรทางบัญชีสูงจากกรณีนี้ แต่เมื่อหักลบกลบค่าเสียโอกาสแล้ว ก็จะมีผลกำไรทางเศรษฐศาสตร์ที่ติดลบจำนวนมหาศาล
ตัวอย่างของการเบียดเบียนผู้อื่น คือ การทำการค้าแสวงหากำไรด้วยการเอาเปรียบผู้บริโภค การทุจริตคอร์รัปชัน การใช้ประโยชน์จากทรัพย์สมบัติสาธารณะเพื่อสร้างรายได้แก่ธุรกิจเฉพาะกลุ่ม การหลบเลี่ยงภาษี การทิ้งกากของเสียสู่สิ่งแวดล้อมโดยไม่ผ่านกระบวนการบำบัด จะเห็นว่า มูลค่ากำไรทางบัญชีที่ปรากฏนั้น มิได้สะท้อนคุณภาพของกำไรที่มีต่อผลกระทบสู่ภายนอก (Externalities) ทั้งมิติทางสังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม แต่อย่างใด
หลักการธุรกิจที่ถอดความได้ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จะเป็นไปในลักษณะประสานประโยชน์ซึ่งกันและกัน เข้าทำนอง “ได้ประโยชน์ตน แต่ไม่เสียประโยชน์ท่าน” ดังพระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 4 ธันวาคม 2550 ที่ว่า
“...ในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง พอเพียงคืออะไร ไม่ใช่เพียงพอ คือว่า ไม่ได้หมายความว่า ให้ทำกำไรเล็กๆ น้อยๆ เท่านั้นเอง ทำกำไรก็ทำ ถ้าเราทำกำไรได้ดี มันก็ดี แต่ว่าขอให้มันพอเพียง ถ้าท่านเอากำไรหน้าเลือดมากเกินไป มันไม่ใช่พอเพียง นักเศรษฐกิจเขาว่าพระเจ้าอยู่หัว นี่คิดอะไรแปลกๆ ก็แปลกสิ ขายไม่ให้ได้กำไร ซื้ออะไรไม่ขาดทุน เป็นเศรษฐกิจพอเพียง คือไม่ต้องหน้าเลือด แล้วไม่ใช่จะมีกำไรมากเกินไป หรือน้อยเกินไป ให้พอเพียง ไม่ใช่เรื่องของการค้าเท่านั้นเอง เป็นเรื่องของการพอเหมาะพอดี...”
ทั้งนี้ การสื่อสารเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงในกลุ่มนักธุรกิจให้ได้ผลนั้น สิ่งสำคัญ คือผู้รับสารเองต้องพร้อมที่จะรับสารนั้นด้วย ซึ่งความพร้อมที่ว่านี้จะมาจาก 2 เงื่อนไข เงื่อนไขแรก คือ องค์กรหรือธุรกิจนั้นอาจกำลังประสบกับวิกฤติ มีปัญหาหนี้สิน หาทางออกไม่ได้ เศรษฐกิจพอเพียงจะช่วยตอบคำถาม หาทางออก และช่วยแก้ไขวิกฤติได้ ธุรกิจในกลุ่มนี้จะรับสารได้เร็ว เพราะต้องการแก้ไขสถานการณ์ที่กำลังเผชิญอยู่ให้ดีขึ้น เรียกได้ว่า เห็นทุกข์ ก็เห็นธรรม
ขณะที่ธุรกิจอีกกลุ่มหนึ่งอาจจะเพลิดเพลินอยู่กับการค้าขาย ยังมีกำไร มีความสุขอยู่ และไม่จำเป็นต้องขวนขวายแนวทางใหม่ๆ ทำให้รับสารได้ยาก นักธุรกิจกลุ่มนี้จะต้องชี้ให้เห็นว่าหากทำธุรกิจโดยประมาทเช่นนี้ต่อไป วันหนึ่งข้างหน้าอาจจะไม่ยั่งยืน อาจจะต้องเจอกับวิกฤติ เนื่องจากขาดภูมิคุ้มกันทางธุรกิจที่ดีพอ ซึ่งหากผู้ประกอบการในช่วงปี 2540 ได้รับรู้ ปฏิบัติตนและดำเนินธุรกิจตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ธุรกิจก็อาจไม่เจอกับวิกฤติจนถึงขั้นต้องปิดกิจการ ฉะนั้นถ้าผู้รับสารพร้อมที่จะรับ คนที่สื่อสารก็พร้อมที่จะส่งสารได้อย่างถูกต้อง ก็จะเกิดประโยชน์สูงสุด
ปัญหาใหญ่ในการทำความเข้าใจปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในหมู่นักธุรกิจนั้น คือ การศึกษาทำความเข้าใจอย่างลวกๆ ผิวเผิน แล้วด่วนตีความไปตามกรอบคิดและประสบการณ์ของตนเอง เช่น คิดว่าเศรษฐกิจเพียงก็คือการประหยัด ไม่เป็นหนี้ หรือ เศรษฐกิจพอเพียงคือการที่อยู่อย่างสันโดษไม่ยุ่งกับใคร หรือเหมาะกับเกษตรกรมากกว่านักธุรกิจ หรือที่แย่ไปกว่านั้นคือ การยอมรับสภาพที่เป็นอยู่ ใช้เป็นเหตุผลที่ไม่ต้องทำอะไรไปมากกว่านี้ ซึ่งทั้งหลายที่กล่าวมานั้นเป็นการด่วนสรุปอย่างเข้าใจผิดทั้งหมด
นอกจากนั้น การตีความที่เป็นอุปสรรคสำคัญอีกประการหนึ่ง คือ นักธุรกิจส่วนใหญ่จะมีลักษณะที่เรียกว่าน้ำเต็มแก้ว มีความเชื่อมั่นในตัวเองสูง ทั้งจากความสำเร็จในธุรกิจที่ทำและจากการเป็นที่ยอมรับในวงสังคม หากนักธุรกิจเหล่านี้เปิดใจกว้างเพื่อทำความเข้าใจกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างแท้จริง ก็จะพบว่าเรื่องของเศรษฐกิจพอเพียงไม่ได้ขัดกับเรื่องของทุนนิยม ไม่ได้ขัดกับเรื่องของธุรกิจที่ต้องแสวงหากำไร ไม่ได้ห้ามการเป็นหนี้ และเศรษฐกิจพอเพียงก็จำเป็นจะต้องทำงานร่วมกับผู้อื่น ไม่ใช่การอยู่คนเดียว ข้อเท็จจริงเหล่านี้ จะค้นพบได้ก็ต่อเมื่อเปิดใจเรียนรู้อย่างไม่เอนเอียง... (จากคอลัมน์ พอเพียงภิวัตน์) [Archived]
ปัญหาของภาคธุรกิจที่ต้องการน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปฏิบัติในขณะนี้ คือ การขาดทฤษฎีที่ได้รับการพิสูจน์และทดสอบยืนยันผลของการประยุกต์อย่างเป็นระบบ และสามารถนำไปปฏิบัติซ้ำได้สำเร็จ เช่น ในภาคเกษตรกรรม ที่มีรูปแบบของ “เกษตรทฤษฎีใหม่” ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงคิดค้นขึ้นด้วยพระองค์เอง และได้ใช้พื้นที่ของมูลนิธิชัยพัฒนาทดลองจนแน่พระทัยว่าประสบผลสำเร็จ ทำให้มีสถานภาพเป็นทฤษฎีที่ได้รับการพิสูจน์และทดสอบแล้ว
การแปลง "ปรัชญา" เศรษฐกิจพอเพียง ให้เป็น "ทฤษฎี" ธุรกิจในแต่ละสาขา จึงเป็นความท้าทายอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นในภาคการผลิต ภาคการค้า หรือภาคการบริการต่างๆ
ด้วยเหตุที่ การดำเนินธุรกิจต่างมีเป้าหมายในการแสวงหากำไรสูงสุด แนวคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงมิได้ขัดกับหลักการแสวงหากำไรสูงสุดในธุรกิจ แต่ว่าเศรษฐกิจพอเพียงมุ่งคำนึงถึงกำไรสูงสุดในทางเศรษฐศาสตร์ (Economic Profit) มากกว่ากำไรสูงสุดในทางบัญชี (Accounting Profit) ซึ่งการพิจารณาที่ตัวกำไรทางเศรษฐศาสตร์ได้คำนึงถึงต้นทุนค่าเสียโอกาสต่างๆ และส่วนเพิ่มมูลค่า (Value Added) ขององค์กรที่แท้จริง
การดำเนินธุรกิจตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงจึงไม่ได้หมายความว่า ธุรกิจจะต้องลดกำไรลงหรือต้องลดกำลังการผลิตลง จึงจะเรียกว่าพอเพียง ทุกธุรกิจยังสามารถแสวงหากำไรสูงสุดได้ และต้องยังคงมุ่งหมายให้ได้มาซึ่งประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในการผลิต เพื่อการพัฒนาก้าวหน้าขององค์กร เพียงแต่ว่าในกระบวนการนั้น ต้องทำให้เกิดการเบียดเบียนกันให้น้อยที่สุด ทั้งการเบียดเบียนตนเอง และการเบียดเบียนผู้อื่น
ตัวอย่างของการเบียดเบียนตนเอง คือ การมุ่งแต่จะหารายได้ให้มากที่สุด ด้วยการทำงานหามรุ่งหามค่ำ มากจนเสียสุขภาพตนเองในระยะยาว หรือมากจนละเลยหน้าที่ในครอบครัว บุตรหลานขาดการอบรมเลี้ยงดู เติบใหญ่มาเป็นคนที่ขาดคุณภาพ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นต้นทุนค่าเสียโอกาสทั้งสิ้น แม้ธุรกิจจะมีผลกำไรทางบัญชีสูงจากกรณีนี้ แต่เมื่อหักลบกลบค่าเสียโอกาสแล้ว ก็จะมีผลกำไรทางเศรษฐศาสตร์ที่ติดลบจำนวนมหาศาล
ตัวอย่างของการเบียดเบียนผู้อื่น คือ การทำการค้าแสวงหากำไรด้วยการเอาเปรียบผู้บริโภค การทุจริตคอร์รัปชัน การใช้ประโยชน์จากทรัพย์สมบัติสาธารณะเพื่อสร้างรายได้แก่ธุรกิจเฉพาะกลุ่ม การหลบเลี่ยงภาษี การทิ้งกากของเสียสู่สิ่งแวดล้อมโดยไม่ผ่านกระบวนการบำบัด จะเห็นว่า มูลค่ากำไรทางบัญชีที่ปรากฏนั้น มิได้สะท้อนคุณภาพของกำไรที่มีต่อผลกระทบสู่ภายนอก (Externalities) ทั้งมิติทางสังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม แต่อย่างใด
หลักการธุรกิจที่ถอดความได้ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จะเป็นไปในลักษณะประสานประโยชน์ซึ่งกันและกัน เข้าทำนอง “ได้ประโยชน์ตน แต่ไม่เสียประโยชน์ท่าน” ดังพระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 4 ธันวาคม 2550 ที่ว่า
“...ในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง พอเพียงคืออะไร ไม่ใช่เพียงพอ คือว่า ไม่ได้หมายความว่า ให้ทำกำไรเล็กๆ น้อยๆ เท่านั้นเอง ทำกำไรก็ทำ ถ้าเราทำกำไรได้ดี มันก็ดี แต่ว่าขอให้มันพอเพียง ถ้าท่านเอากำไรหน้าเลือดมากเกินไป มันไม่ใช่พอเพียง นักเศรษฐกิจเขาว่าพระเจ้าอยู่หัว นี่คิดอะไรแปลกๆ ก็แปลกสิ ขายไม่ให้ได้กำไร ซื้ออะไรไม่ขาดทุน เป็นเศรษฐกิจพอเพียง คือไม่ต้องหน้าเลือด แล้วไม่ใช่จะมีกำไรมากเกินไป หรือน้อยเกินไป ให้พอเพียง ไม่ใช่เรื่องของการค้าเท่านั้นเอง เป็นเรื่องของการพอเหมาะพอดี...”
ทั้งนี้ การสื่อสารเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงในกลุ่มนักธุรกิจให้ได้ผลนั้น สิ่งสำคัญ คือผู้รับสารเองต้องพร้อมที่จะรับสารนั้นด้วย ซึ่งความพร้อมที่ว่านี้จะมาจาก 2 เงื่อนไข เงื่อนไขแรก คือ องค์กรหรือธุรกิจนั้นอาจกำลังประสบกับวิกฤติ มีปัญหาหนี้สิน หาทางออกไม่ได้ เศรษฐกิจพอเพียงจะช่วยตอบคำถาม หาทางออก และช่วยแก้ไขวิกฤติได้ ธุรกิจในกลุ่มนี้จะรับสารได้เร็ว เพราะต้องการแก้ไขสถานการณ์ที่กำลังเผชิญอยู่ให้ดีขึ้น เรียกได้ว่า เห็นทุกข์ ก็เห็นธรรม
ขณะที่ธุรกิจอีกกลุ่มหนึ่งอาจจะเพลิดเพลินอยู่กับการค้าขาย ยังมีกำไร มีความสุขอยู่ และไม่จำเป็นต้องขวนขวายแนวทางใหม่ๆ ทำให้รับสารได้ยาก นักธุรกิจกลุ่มนี้จะต้องชี้ให้เห็นว่าหากทำธุรกิจโดยประมาทเช่นนี้ต่อไป วันหนึ่งข้างหน้าอาจจะไม่ยั่งยืน อาจจะต้องเจอกับวิกฤติ เนื่องจากขาดภูมิคุ้มกันทางธุรกิจที่ดีพอ ซึ่งหากผู้ประกอบการในช่วงปี 2540 ได้รับรู้ ปฏิบัติตนและดำเนินธุรกิจตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ธุรกิจก็อาจไม่เจอกับวิกฤติจนถึงขั้นต้องปิดกิจการ ฉะนั้นถ้าผู้รับสารพร้อมที่จะรับ คนที่สื่อสารก็พร้อมที่จะส่งสารได้อย่างถูกต้อง ก็จะเกิดประโยชน์สูงสุด
ปัญหาใหญ่ในการทำความเข้าใจปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในหมู่นักธุรกิจนั้น คือ การศึกษาทำความเข้าใจอย่างลวกๆ ผิวเผิน แล้วด่วนตีความไปตามกรอบคิดและประสบการณ์ของตนเอง เช่น คิดว่าเศรษฐกิจเพียงก็คือการประหยัด ไม่เป็นหนี้ หรือ เศรษฐกิจพอเพียงคือการที่อยู่อย่างสันโดษไม่ยุ่งกับใคร หรือเหมาะกับเกษตรกรมากกว่านักธุรกิจ หรือที่แย่ไปกว่านั้นคือ การยอมรับสภาพที่เป็นอยู่ ใช้เป็นเหตุผลที่ไม่ต้องทำอะไรไปมากกว่านี้ ซึ่งทั้งหลายที่กล่าวมานั้นเป็นการด่วนสรุปอย่างเข้าใจผิดทั้งหมด
นอกจากนั้น การตีความที่เป็นอุปสรรคสำคัญอีกประการหนึ่ง คือ นักธุรกิจส่วนใหญ่จะมีลักษณะที่เรียกว่าน้ำเต็มแก้ว มีความเชื่อมั่นในตัวเองสูง ทั้งจากความสำเร็จในธุรกิจที่ทำและจากการเป็นที่ยอมรับในวงสังคม หากนักธุรกิจเหล่านี้เปิดใจกว้างเพื่อทำความเข้าใจกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างแท้จริง ก็จะพบว่าเรื่องของเศรษฐกิจพอเพียงไม่ได้ขัดกับเรื่องของทุนนิยม ไม่ได้ขัดกับเรื่องของธุรกิจที่ต้องแสวงหากำไร ไม่ได้ห้ามการเป็นหนี้ และเศรษฐกิจพอเพียงก็จำเป็นจะต้องทำงานร่วมกับผู้อื่น ไม่ใช่การอยู่คนเดียว ข้อเท็จจริงเหล่านี้ จะค้นพบได้ก็ต่อเมื่อเปิดใจเรียนรู้อย่างไม่เอนเอียง... (จากคอลัมน์ พอเพียงภิวัตน์) [Archived]
Tuesday, February 05, 2008
เศรษฐกิจพอเพียง กับ บรรษัทบริบาล (CSR)
ที่ผ่านมา องค์กรธุรกิจมักคุ้นกับหลักการกำกับดูแลกิจการ หรือที่เรียกว่า บรรษัทภิบาล (Corporate Governance) ในฐานะที่เป็นคุณธรรมในการดำเนินธุรกิจ แต่ในปัจจุบันได้มีแนวปฏิบัติที่สำคัญอีกประการหนึ่งซึ่งธุรกิจจำเป็นต้องศึกษาและนำมาปรับใช้ในกิจการ นั่นคือ เรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ (Corporate Social Responsibility) หรือที่เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า บรรษัทบริบาล ซึ่งเป็นการดำเนินธุรกิจด้วยความสำนึกรับผิดชอบต่อสังคมที่ก่อให้เกิด “ภูมิคุ้มกันที่ดี” ให้แก่องค์กร
หากพิจารณาตามศัพท์ที่ประกอบ บรรษัทบริบาล มาจากคำว่า บรรษัท + บริ (แปลว่า ทั้งหมด ออกไป โดยรอบ) + บาล หมายถึง การดูแลรักษาไม่เฉพาะในส่วนที่เป็นกิจการ แต่ยังแผ่ขยายกว้างออกไปครอบคลุมในส่วนที่เป็นผู้มีส่วนได้เสียทั้งหมดที่อยู่โดยรอบกิจการ ด้วยเงื่อนไขของคุณธรรม และการคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียทั้งในและนอกกิจการอย่างเท่าเทียมกัน ในอันที่จะทำให้อยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างเป็นปกติสุข
หลักการความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้ยกร่างขึ้นเพื่อเป็นแนวปฏิบัติให้แก่บริษัทจดทะเบียนและกิจการทั่วไป โดยมีอยู่ด้วยกัน 8 หมวด ได้แก่ การกำกับดูแลกิจการที่ดี การประกอบธุรกิจด้วยความเป็นธรรม การเคารพสิทธิมนุษยชนและการปฏิบัติต่อแรงงานอย่างเป็นธรรม ความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค การร่วมพัฒนาชุมชนและสังคม การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม การเผยแพร่นวัตกรรมจากการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคม และการจัดทำรายงานด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม
เรื่องของบรรษัทบริบาล ถือเป็นกลไกการดำเนินงานในกิจการที่เชื่อมโยงสู่กระบวนการภายนอก ที่จัดให้มีขึ้นภายใต้จุดมุ่งหมายที่ต้องการสร้างประโยชน์แก่กิจการและส่วนรวมบนพื้นฐานของการไม่เบียดเบียนกัน การสงเคราะห์ช่วยเหลือส่วนรวมตามกำลังและความสามารถของกิจการ ในฐานะที่เป็นพลเมืองบรรษัท (Corporate Citizen) ในสังคม
ในปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เงื่อนไขคุณธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดความยั่งยืนในธุรกิจนั้น ประกอบด้วยคุณธรรม1 ที่ประกอบอยู่ในเศรษฐกิจพอเพียงแบบพื้นฐาน ได้แก่ ความซื่อสัตย์สุจริต สำหรับรองรับสนับสนุนวิชาความรู้ เพื่อนำพาไปสู่เป้าหมายได้อย่างถูกต้องเที่ยงตรง ส่วนที่สอง คือ ความอดทน มีความเพียร ประกอบการงานด้วยความตั้งใจ ไม่ละเลย ไม่ทอดทิ้ง เป็นความเพียรที่มีลักษณะกล้าแข็งไม่ขาดสาย มีความหนักแน่นอดทน ไม่ท้อถอย ทำให้การดำเนินงานรุดหน้าเรื่อยไป และส่วนที่สาม คือ ความรอบคอบระมัดระวัง ที่จะพิจารณาเรื่องต่างๆ ให้กระจ่างแจ้งในทุกแง่ทุกมุม ก่อนที่จะจัดการให้ถูกจุดถูกขั้นตอน ส่วน คุณธรรม2 ที่เกี่ยวกับความเมตตา การแบ่งปัน การช่วยเหลือเกื้อกูล ประสานงาน และประสานประโยชน์กัน ประกอบอยู่ในเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า
หากนำหลักคุณธรรมในการดำเนินธุรกิจ เรื่องบรรษัทบริบาลมาพิจารณาเทียบเคียงกับระดับของความพอเพียง จะพบว่า บรรษัทบริบาลนั้น เป็นหลักปฏิบัติที่จัดอยู่ในเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า องค์กรธุรกิจที่มีบรรษัทบริบาล แสดงให้เห็นว่า นโยบายของกิจการมิได้จำกัดอยู่เพียงกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับผู้มีส่วนได้เสียในองค์กรเท่านั้น แต่ยังให้ความสำคัญกับผู้มีส่วนได้เสียนอกองค์กรด้วย หลักการของบรรษัทบริบาล คือ การเน้นให้องค์กรธุรกิจรู้จักคิดแบ่งปัน และดำเนินกิจการโดยไม่เบียดเบียนสังคมส่วนรวม การรู้จักให้ รู้จักช่วยเหลือ และเอาใจใส่ในการดูแลสังคม สงเคราะห์เกื้อกูลซึ่งกันและกัน อันจะนำไปสู่ความยั่งยืนของกิจการในระยะยาว...(จากคอลัมน์ Sufficiency Life)
1 คือ สัจจะ ขันติ และทมะ ในหมวดฆราวาสธรรม 4.
2 คือ เมตตา 3 และสาธารณโภคิตา ในหมวดสารณียธรรม 6.
หากพิจารณาตามศัพท์ที่ประกอบ บรรษัทบริบาล มาจากคำว่า บรรษัท + บริ (แปลว่า ทั้งหมด ออกไป โดยรอบ) + บาล หมายถึง การดูแลรักษาไม่เฉพาะในส่วนที่เป็นกิจการ แต่ยังแผ่ขยายกว้างออกไปครอบคลุมในส่วนที่เป็นผู้มีส่วนได้เสียทั้งหมดที่อยู่โดยรอบกิจการ ด้วยเงื่อนไขของคุณธรรม และการคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียทั้งในและนอกกิจการอย่างเท่าเทียมกัน ในอันที่จะทำให้อยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างเป็นปกติสุข
หลักการความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้ยกร่างขึ้นเพื่อเป็นแนวปฏิบัติให้แก่บริษัทจดทะเบียนและกิจการทั่วไป โดยมีอยู่ด้วยกัน 8 หมวด ได้แก่ การกำกับดูแลกิจการที่ดี การประกอบธุรกิจด้วยความเป็นธรรม การเคารพสิทธิมนุษยชนและการปฏิบัติต่อแรงงานอย่างเป็นธรรม ความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค การร่วมพัฒนาชุมชนและสังคม การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม การเผยแพร่นวัตกรรมจากการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคม และการจัดทำรายงานด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม
เรื่องของบรรษัทบริบาล ถือเป็นกลไกการดำเนินงานในกิจการที่เชื่อมโยงสู่กระบวนการภายนอก ที่จัดให้มีขึ้นภายใต้จุดมุ่งหมายที่ต้องการสร้างประโยชน์แก่กิจการและส่วนรวมบนพื้นฐานของการไม่เบียดเบียนกัน การสงเคราะห์ช่วยเหลือส่วนรวมตามกำลังและความสามารถของกิจการ ในฐานะที่เป็นพลเมืองบรรษัท (Corporate Citizen) ในสังคม
ในปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เงื่อนไขคุณธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดความยั่งยืนในธุรกิจนั้น ประกอบด้วยคุณธรรม1 ที่ประกอบอยู่ในเศรษฐกิจพอเพียงแบบพื้นฐาน ได้แก่ ความซื่อสัตย์สุจริต สำหรับรองรับสนับสนุนวิชาความรู้ เพื่อนำพาไปสู่เป้าหมายได้อย่างถูกต้องเที่ยงตรง ส่วนที่สอง คือ ความอดทน มีความเพียร ประกอบการงานด้วยความตั้งใจ ไม่ละเลย ไม่ทอดทิ้ง เป็นความเพียรที่มีลักษณะกล้าแข็งไม่ขาดสาย มีความหนักแน่นอดทน ไม่ท้อถอย ทำให้การดำเนินงานรุดหน้าเรื่อยไป และส่วนที่สาม คือ ความรอบคอบระมัดระวัง ที่จะพิจารณาเรื่องต่างๆ ให้กระจ่างแจ้งในทุกแง่ทุกมุม ก่อนที่จะจัดการให้ถูกจุดถูกขั้นตอน ส่วน คุณธรรม2 ที่เกี่ยวกับความเมตตา การแบ่งปัน การช่วยเหลือเกื้อกูล ประสานงาน และประสานประโยชน์กัน ประกอบอยู่ในเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า
หากนำหลักคุณธรรมในการดำเนินธุรกิจ เรื่องบรรษัทบริบาลมาพิจารณาเทียบเคียงกับระดับของความพอเพียง จะพบว่า บรรษัทบริบาลนั้น เป็นหลักปฏิบัติที่จัดอยู่ในเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า องค์กรธุรกิจที่มีบรรษัทบริบาล แสดงให้เห็นว่า นโยบายของกิจการมิได้จำกัดอยู่เพียงกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับผู้มีส่วนได้เสียในองค์กรเท่านั้น แต่ยังให้ความสำคัญกับผู้มีส่วนได้เสียนอกองค์กรด้วย หลักการของบรรษัทบริบาล คือ การเน้นให้องค์กรธุรกิจรู้จักคิดแบ่งปัน และดำเนินกิจการโดยไม่เบียดเบียนสังคมส่วนรวม การรู้จักให้ รู้จักช่วยเหลือ และเอาใจใส่ในการดูแลสังคม สงเคราะห์เกื้อกูลซึ่งกันและกัน อันจะนำไปสู่ความยั่งยืนของกิจการในระยะยาว...(จากคอลัมน์ Sufficiency Life)
1 คือ สัจจะ ขันติ และทมะ ในหมวดฆราวาสธรรม 4.
2 คือ เมตตา 3 และสาธารณโภคิตา ในหมวดสารณียธรรม 6.
สำรวจทิศทาง CSR ขององค์กรธุรกิจ
เมื่อเร็วๆ นี้ สถาบันไทยพัฒน์ มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับสถาบันธุรกิจเพื่อสังคม (CSRI) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้เผยแพร่บทวิเคราะห์แนวโน้มและทิศทางของความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจ (CSR) ประจำปี 2551 ในประเทศไทย ซึ่งจากผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า สถานการณ์ด้านซีเอสอาร์ในปีนี้ จะยังคงมีความเคลื่อนไหวคึกคักอย่างต่อเนื่องจากแรงส่งในปี 2550
จากกระแสโลกร้อนและปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ทวีความรุนแรงจนกลายเป็นปัญหาระดับโลก ธุรกิจจะพัฒนากิจกรรมเพื่อสังคม ประเภท “ECO-CONSCIOUS” เพิ่มขึ้น องค์กรธุรกิจที่มีแผนพัฒนากิจกรรม CSR ในปีนี้ ต่างให้ความสำคัญกับเรื่องของสิ่งแวดล้อม นอกเหนือจากประเด็นในเรื่องคน ปรากฏการณ์ที่ธุรกิจค้าปลีกต่างออกมารณรงค์ให้ใช้ถุงผ้าในการจับจ่ายใช้สอย หรือการปรับรื้อสายการผลิตเครื่องยนต์ที่ตอบสนองต่อการใช้พลังงานทางเลือกในอุตสาหกรรมยานยนต์ สะท้อนให้เห็นถึงกระแสของ CSR ประเภทนี้ได้เป็นอย่างดี
ที่ผ่านมา แต่ละองค์กรธุรกิจได้กำหนดบทบาทในการขับเคลื่อน CSR ให้แก่ส่วนงานในองค์กรที่แตกต่างกันออกไป ทำให้การดำเนินงาน CSR ของแต่ละองค์กรมีจุดเน้นหนักที่แตกต่างกันตามภารกิจหลักของส่วนงานที่ได้รับมอบหมายนั้นๆ ในปีนี้ ผังองค์กรของกิจการหลายแห่งจะปรากฏบทบาทของ “เจ้าหน้าที่บริหารความรับผิดชอบประจำองค์กร” (Corporate Responsibility Officer: CRO) ในชื่อตำแหน่งที่เรียกแตกต่างกัน แต่มีภาระงานเดียวกัน คือ การบูรณาการงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ลดความซ้ำซ้อน และสร้างให้เกิดผลอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย
จากการที่องค์กรธุรกิจหลายแห่งได้แสดงถึงความมุ่งมั่นในการขับเคลื่อน CSR ด้วยการสร้างพันธะแห่งความรับผิดชอบต่อสังคมขึ้นในลักษณะ Engaged CSR ในปีนี้ ธุรกิจที่ประสบผลสำเร็จในการสร้างพันธะแห่งความรับผิดชอบต่อสังคมขึ้นในองค์กร จะยกระดับสู่การสร้างสมรรถนะแห่งความรับผิดชอบของกระบวนการ CSR ในลักษณะที่เป็น High Performance CSR ด้วยกระบวนการ CSR ดังกล่าว จะสร้างให้เกิดสมรรถนะในการดำเนินงานด้าน CSR ให้แก่องค์กรอย่างมาก โดยมีฐานจากการสร้างพันธะความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรนั้นๆ
นอกจากนี้ ธุรกิจจะจับมือร่วมกันรับผิดชอบต่อสังคมในรูปแบบ “JOINT-RESPONSIBILITY” เพิ่มขึ้น โดยกิจกรรม CSR ในแบบที่ใช้งบประมาณไม่มากตามสภาวะเศรษฐกิจที่ยังมีอัตราการขยายตัวค่อนข้างต่ำ ยังเป็นทางเลือกสำหรับองค์กรธุรกิจที่ต้องการช่วยเหลือสังคมควบคู่ไปกับการดำเนินธุรกิจ พัฒนาการของ CSR ที่กลุ่มองค์กรธุรกิจจะร่วมมือกันดำเนินโครงการในลักษณะของการ “ร่วมรับผิดชอบ” จะมีปรากฏให้เห็นมากขึ้น องค์กรธุรกิจบางกลุ่มจะใช้ทรัพยากรร่วมที่มีอยู่ในเครือข่ายสร้างประโยชน์ให้แก่สังคมในนามของกลุ่ม ขณะที่กลุ่มพันธมิตรธุรกิจอื่นๆ จะจับมือดำเนินกิจกรรม CSR ในแบบร่วมกันรับผิดชอบนี้มากขึ้น
การจัดทำรายงานด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมในรูปของ “SUSTAINABILITY REPORT” เพื่อสื่อสารกับสังคม จะมีมากขึ้น โดยบริษัทที่ทำเรื่อง CSR จะเสาะหาวิธีรายงานผลการดำเนินงานด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมขององค์กรที่สามารถสะท้อนให้เห็นถึงการดำเนินงานได้อย่างชัดเจน มีรูปแบบของการรายงานผลที่เป็นมาตรฐานสากล มีการเผยแพร่ Sustainability Report ที่แยกต่างหากจากรายงานประจำปี (annual report) ซึ่งจะทำให้องค์กรธุรกิจสามารถนำเสนอผลลัพธ์ที่ครอบคลุมทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม สิทธิมนุษยชน การใช้แรงงาน และความรับผิดชอบต่อผลิตภัณฑ์ เพื่อสื่อสารกับสังคมได้อย่างครบถ้วน
ขณะเดียวกันหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง จะให้ความสำคัญกับการตั้งคณะทำงานหรือกลุ่มงานที่มีภารกิจในการส่งเสริม CSR ขององค์กรธุรกิจมากขึ้น มาตรการส่งเสริม CSR ในด้านต่างๆ จะถูกประกาศออกมาเป็นระยะๆ เช่น การลงทุนที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม (SRI) การพัฒนา CSR สำหรับเอสเอ็มอี แนวทางการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการปล่อยมลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรม การส่งเสริมการจัดทำรายงาน CSR ดังนั้นธุรกิจจึงควรติดตามความเคลื่อนไหวของมาตรการส่งเสริม CSR เหล่านี้ เพื่อการปรับตัวและใช้เกื้อหนุนการดำเนินกิจกรรม CSR ขององค์กร
ธุรกิจควรทำความเข้าใจให้ถูกต้องว่าเรื่องซีเอสอาร์มิได้จำกัดอยู่กับองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่หรือต้องเป็นองค์กรที่ร่ำรวยมั่งคั่ง หรือต้องมีผลกำไรทางธุรกิจก่อนเสมอไป องค์กรธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก หรือกระทั่งหาบเร่แผงลอย ก็สามารถดำเนินกิจกรรมซีเอสอาร์ได้เช่นกัน กิจกรรมซีเอสอาร์หลายกิจกรรมไม่จำเป็นต้องใช้เงินเป็นตัวตั้ง เช่น การคัดแยกกากหรือเศษอาหารเหลือทิ้งก่อนเทลงท่อปฏิกูลเพื่อป้องกันปัญหาท่ออุดตันของร้านขายอาหารตามบาทวิถีก็จัดว่าเป็นซีเอสอาร์หรือความรับผิดชอบต่อสังคมรูปแบบหนึ่ง
อีกทั้งธุรกิจไม่มีความจำเป็นต้องดำเนินกิจกรรมซีเอสอาร์ให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียในทุกกลุ่มพร้อมกัน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับลักษณะของธุรกิจ ขนาดของกิจการ และความพร้อมขององค์กร สำหรับธุรกิจที่มีกระบวนการผลิตซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อาจต้องให้ความสำคัญกับชุมชนหรือระบบนิเวศที่อยู่รายรอบโรงงานเป็นพิเศษ สำหรับกิจการขนาดเล็กที่ต้องอาศัยพนักงานเป็นหัวใจแห่งความสำเร็จ อาจต้องสร้างกิจกรรมซีเอสอาร์เพื่อครอบครัวของพนักงานเป็นสำคัญ สำหรับองค์กรที่ฝากความสำเร็จไว้กับสายอุปทานก็อาจต้องคำนึงถึงกิจกรรมซีเอสอาร์กับคู่ค้าเป็นอันดับต้นๆ
แม้องค์กรธุรกิจหลายแห่งจะมีการคัดเลือกปัญหาทางสังคมเพื่อเข้าร่วมแก้ไขในประเด็นเดียวกัน แต่ก็ไม่จำเป็นที่รูปแบบของกิจกรรมจะต้องมีความเหมือนหรือคล้ายคลึงกันเสมอไป องค์กรควรพิจารณากำหนดรูปแบบของซีเอสอาร์ในลักษณะที่เป็นกิจกรรมเชิงกลยุทธ์ (strategic initiatives) ซึ่งจะมีลักษณะจำเพาะที่แตกต่างกันในแต่ละองค์กร ผนวกกับการออกแบบและพัฒนากิจกรรมซีเอสอาร์ที่สามารถผสมผสานเข้ากับกระบวนการทางธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อมุ่งสู่การเป็นองค์กรที่มีสมรรถนะความรับผิดชอบสูง หรือที่เรียกว่า High Performance CSR นั่นเอง (เรียบเรียงจากรายงาน “6 ทิศทาง CSR ปี 2551” ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ thaicsr.com) ... (จากคอลัมน์ พอเพียงภิวัตน์)
จากกระแสโลกร้อนและปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ทวีความรุนแรงจนกลายเป็นปัญหาระดับโลก ธุรกิจจะพัฒนากิจกรรมเพื่อสังคม ประเภท “ECO-CONSCIOUS” เพิ่มขึ้น องค์กรธุรกิจที่มีแผนพัฒนากิจกรรม CSR ในปีนี้ ต่างให้ความสำคัญกับเรื่องของสิ่งแวดล้อม นอกเหนือจากประเด็นในเรื่องคน ปรากฏการณ์ที่ธุรกิจค้าปลีกต่างออกมารณรงค์ให้ใช้ถุงผ้าในการจับจ่ายใช้สอย หรือการปรับรื้อสายการผลิตเครื่องยนต์ที่ตอบสนองต่อการใช้พลังงานทางเลือกในอุตสาหกรรมยานยนต์ สะท้อนให้เห็นถึงกระแสของ CSR ประเภทนี้ได้เป็นอย่างดี
ที่ผ่านมา แต่ละองค์กรธุรกิจได้กำหนดบทบาทในการขับเคลื่อน CSR ให้แก่ส่วนงานในองค์กรที่แตกต่างกันออกไป ทำให้การดำเนินงาน CSR ของแต่ละองค์กรมีจุดเน้นหนักที่แตกต่างกันตามภารกิจหลักของส่วนงานที่ได้รับมอบหมายนั้นๆ ในปีนี้ ผังองค์กรของกิจการหลายแห่งจะปรากฏบทบาทของ “เจ้าหน้าที่บริหารความรับผิดชอบประจำองค์กร” (Corporate Responsibility Officer: CRO) ในชื่อตำแหน่งที่เรียกแตกต่างกัน แต่มีภาระงานเดียวกัน คือ การบูรณาการงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ลดความซ้ำซ้อน และสร้างให้เกิดผลอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย
จากการที่องค์กรธุรกิจหลายแห่งได้แสดงถึงความมุ่งมั่นในการขับเคลื่อน CSR ด้วยการสร้างพันธะแห่งความรับผิดชอบต่อสังคมขึ้นในลักษณะ Engaged CSR ในปีนี้ ธุรกิจที่ประสบผลสำเร็จในการสร้างพันธะแห่งความรับผิดชอบต่อสังคมขึ้นในองค์กร จะยกระดับสู่การสร้างสมรรถนะแห่งความรับผิดชอบของกระบวนการ CSR ในลักษณะที่เป็น High Performance CSR ด้วยกระบวนการ CSR ดังกล่าว จะสร้างให้เกิดสมรรถนะในการดำเนินงานด้าน CSR ให้แก่องค์กรอย่างมาก โดยมีฐานจากการสร้างพันธะความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรนั้นๆ
นอกจากนี้ ธุรกิจจะจับมือร่วมกันรับผิดชอบต่อสังคมในรูปแบบ “JOINT-RESPONSIBILITY” เพิ่มขึ้น โดยกิจกรรม CSR ในแบบที่ใช้งบประมาณไม่มากตามสภาวะเศรษฐกิจที่ยังมีอัตราการขยายตัวค่อนข้างต่ำ ยังเป็นทางเลือกสำหรับองค์กรธุรกิจที่ต้องการช่วยเหลือสังคมควบคู่ไปกับการดำเนินธุรกิจ พัฒนาการของ CSR ที่กลุ่มองค์กรธุรกิจจะร่วมมือกันดำเนินโครงการในลักษณะของการ “ร่วมรับผิดชอบ” จะมีปรากฏให้เห็นมากขึ้น องค์กรธุรกิจบางกลุ่มจะใช้ทรัพยากรร่วมที่มีอยู่ในเครือข่ายสร้างประโยชน์ให้แก่สังคมในนามของกลุ่ม ขณะที่กลุ่มพันธมิตรธุรกิจอื่นๆ จะจับมือดำเนินกิจกรรม CSR ในแบบร่วมกันรับผิดชอบนี้มากขึ้น
การจัดทำรายงานด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมในรูปของ “SUSTAINABILITY REPORT” เพื่อสื่อสารกับสังคม จะมีมากขึ้น โดยบริษัทที่ทำเรื่อง CSR จะเสาะหาวิธีรายงานผลการดำเนินงานด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมขององค์กรที่สามารถสะท้อนให้เห็นถึงการดำเนินงานได้อย่างชัดเจน มีรูปแบบของการรายงานผลที่เป็นมาตรฐานสากล มีการเผยแพร่ Sustainability Report ที่แยกต่างหากจากรายงานประจำปี (annual report) ซึ่งจะทำให้องค์กรธุรกิจสามารถนำเสนอผลลัพธ์ที่ครอบคลุมทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม สิทธิมนุษยชน การใช้แรงงาน และความรับผิดชอบต่อผลิตภัณฑ์ เพื่อสื่อสารกับสังคมได้อย่างครบถ้วน
ขณะเดียวกันหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง จะให้ความสำคัญกับการตั้งคณะทำงานหรือกลุ่มงานที่มีภารกิจในการส่งเสริม CSR ขององค์กรธุรกิจมากขึ้น มาตรการส่งเสริม CSR ในด้านต่างๆ จะถูกประกาศออกมาเป็นระยะๆ เช่น การลงทุนที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม (SRI) การพัฒนา CSR สำหรับเอสเอ็มอี แนวทางการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการปล่อยมลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรม การส่งเสริมการจัดทำรายงาน CSR ดังนั้นธุรกิจจึงควรติดตามความเคลื่อนไหวของมาตรการส่งเสริม CSR เหล่านี้ เพื่อการปรับตัวและใช้เกื้อหนุนการดำเนินกิจกรรม CSR ขององค์กร
ธุรกิจควรทำความเข้าใจให้ถูกต้องว่าเรื่องซีเอสอาร์มิได้จำกัดอยู่กับองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่หรือต้องเป็นองค์กรที่ร่ำรวยมั่งคั่ง หรือต้องมีผลกำไรทางธุรกิจก่อนเสมอไป องค์กรธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก หรือกระทั่งหาบเร่แผงลอย ก็สามารถดำเนินกิจกรรมซีเอสอาร์ได้เช่นกัน กิจกรรมซีเอสอาร์หลายกิจกรรมไม่จำเป็นต้องใช้เงินเป็นตัวตั้ง เช่น การคัดแยกกากหรือเศษอาหารเหลือทิ้งก่อนเทลงท่อปฏิกูลเพื่อป้องกันปัญหาท่ออุดตันของร้านขายอาหารตามบาทวิถีก็จัดว่าเป็นซีเอสอาร์หรือความรับผิดชอบต่อสังคมรูปแบบหนึ่ง
อีกทั้งธุรกิจไม่มีความจำเป็นต้องดำเนินกิจกรรมซีเอสอาร์ให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียในทุกกลุ่มพร้อมกัน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับลักษณะของธุรกิจ ขนาดของกิจการ และความพร้อมขององค์กร สำหรับธุรกิจที่มีกระบวนการผลิตซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อาจต้องให้ความสำคัญกับชุมชนหรือระบบนิเวศที่อยู่รายรอบโรงงานเป็นพิเศษ สำหรับกิจการขนาดเล็กที่ต้องอาศัยพนักงานเป็นหัวใจแห่งความสำเร็จ อาจต้องสร้างกิจกรรมซีเอสอาร์เพื่อครอบครัวของพนักงานเป็นสำคัญ สำหรับองค์กรที่ฝากความสำเร็จไว้กับสายอุปทานก็อาจต้องคำนึงถึงกิจกรรมซีเอสอาร์กับคู่ค้าเป็นอันดับต้นๆ
แม้องค์กรธุรกิจหลายแห่งจะมีการคัดเลือกปัญหาทางสังคมเพื่อเข้าร่วมแก้ไขในประเด็นเดียวกัน แต่ก็ไม่จำเป็นที่รูปแบบของกิจกรรมจะต้องมีความเหมือนหรือคล้ายคลึงกันเสมอไป องค์กรควรพิจารณากำหนดรูปแบบของซีเอสอาร์ในลักษณะที่เป็นกิจกรรมเชิงกลยุทธ์ (strategic initiatives) ซึ่งจะมีลักษณะจำเพาะที่แตกต่างกันในแต่ละองค์กร ผนวกกับการออกแบบและพัฒนากิจกรรมซีเอสอาร์ที่สามารถผสมผสานเข้ากับกระบวนการทางธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อมุ่งสู่การเป็นองค์กรที่มีสมรรถนะความรับผิดชอบสูง หรือที่เรียกว่า High Performance CSR นั่นเอง (เรียบเรียงจากรายงาน “6 ทิศทาง CSR ปี 2551” ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ thaicsr.com) ... (จากคอลัมน์ พอเพียงภิวัตน์)
Subscribe to:
Posts (Atom)