ในระหว่างวันที่ 17-24 กันยายน นี้ ที่นครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้มีการประชุมสมัชชาสหประชาชาติสมัยสามัญ ครั้งที่ 72 ภายใต้หัวข้อหลักคือ “ประชาชนคือศูนย์กลาง: มุ่งมั่นสร้างสันติภาพและชีวิตที่ดีสำหรับทุกคนบนโลกที่ยั่งยืน” สะท้อนความสำคัญและความเชื่อมโยงระหว่างการสร้างสันติภาพและการส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่มีคนเป็นศูนย์กลาง
โดยถ้อยแถลงในการอภิปรายทั่วไป ประเทศไทยได้ใช้เวทีในการอภิปรายผลงานและความสำเร็จภายใต้การขับเคลื่อนนโยบาย “SEP for SDGs Partnership” ในช่วงที่เป็นประธานกลุ่ม 77 และขับเคลื่อนการอนุวัติเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เพื่อเสริมสร้างหุ้นส่วนความร่วมมือเพื่อการพัฒนาโดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้เพื่อบรรลุ SDGs
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 17 ข้อ ได้ผ่านการรับรองโดย 193 ประเทศสมาชิกองค์กรสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ.2558 และดำเนินมาได้ 2 ขวบปีเต็ม โดยนานาประเทศรวมทั้งไทยได้ใช้อ้างอิงสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน จวบกระทั่งปี ค.ศ.2030 (พ.ศ.2573)
การอนุวัติเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้ง 17 ข้อ สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 มิติ จากมิติที่แคบสุด คือ มิติทางเศรษฐศาสตร์ (Economy) มิติทางสังคม (Society) และมิติที่กินขอบเขตกว้างสุด คือ มิติสิ่งแวดล้อม หรือ ชีวภาค (Biosphere) (Johan Rockström and Pavan Sukhdev, 2016)
ในมิติที่เกี่ยวข้องกับ SDGs ด้านเศรษฐกิจ ประกอบด้วย เป้าหมายที่ (8) เศรษฐกิจและการจ้างงาน (9) โครงสร้างพื้นฐานและการปรับให้เป็นอุตสาหกรรม (10) ความเหลื่อมล้ำ และ (12) แบบแผนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน
ในมิติที่เกี่ยวข้องกับ SDGs ด้านสังคม ประกอบด้วย เป้าหมายที่ (1) ความยากจน (2) ความหิวโหย (3) สุขภาวะ (4) การศึกษา (5) ความเท่าเทียมทางเพศ (7) พลังงาน (11) เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ และ (16) สังคมและความยุติธรรม
ในมิติที่เกี่ยวข้องกับ SDGs ด้านสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย เป้าหมายที่ (6) น้ำและการสุขาภิบาล (13) การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบ (14) ทรัพยากรทางทะเล และ (15) ระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ
โดยที่มี SDGs เป้าหมายที่ (17) หุ้นส่วนความร่วมมือและการปฏิบัติให้เกิดผล เป็นเป้าหมายแกนในการบูรณาการความร่วมมือของทุกภาคส่วนเพื่อการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนให้เกิดผลสัมฤทธิ์
สำหรับท่านที่ยังเข้าใจว่า SDGs เป็นเรื่องของ UN (สหประชาชาติ) เป็นเรื่องของการแก้ไขปัญหาโลก ไม่เกี่ยวกับเรา หรือธุรกิจของเราเท่าใดนัก โปรดทำความเข้าใจใหม่นะครับ เพราะทุกเป้าหมายของ SDGs ที่เมื่อเราเข้าไปดำเนินการ ผลลัพธ์จะตกอยู่กับชุมชนหรือสังคมที่เราอาศัยอยู่ หรือในอาณาเขตที่ธุรกิจของเรามีสถานประกอบการหรือแหล่งดำเนินงานอยู่ มิได้เป็นการเข้าไปแก้ปัญหาในทวีปแอฟริกาหรือในประเทศอื่นแต่ประการใด
สำหรับภาคธุรกิจ รูปแบบการดำเนินงานในการตอบสนองต่อ SDGs ที่ควรจะเป็น คือ การผนวกเข้ากับกระบวนการทางธุรกิจที่ดำเนินอยู่เป็นปกติประจำวัน หรือ Day-to-day business operations มากกว่าการจัดทำเป็นกิจกรรมในลักษณะ Event หรือเป็นโครงการเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมที่แยกต่างหากจากกระบวนการทางธุรกิจ ซึ่งไม่ได้เป็นไปแบบยั่งยืนอย่างแท้จริง
ทั้งนี้ การขับเคลื่อนของภาคธุรกิจเพื่อตอบสนองต่อ SDGs ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงการดำเนินงานที่เป็นไปอย่างรับผิดชอบ (Act Responsibly) ในอันที่จะดูแลผลกระทบเชิงลบ มิให้เกิดเป็นความเดือดร้อนเสียหายขึ้นเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการแสวงหาโอกาส (Find Opportunities) ในอันที่จะสร้างเป็นผลกระทบเชิงบวก ทั้งแก่ธุรกิจและสังคมควบคู่ไปพร้อมกัน
จากบทความ 'Sustainpreneur' ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ [Archived]
Sunday, September 24, 2017
Sunday, September 10, 2017
สัญญาณ CSR ในห่วงโซ่อุปทาน
ปฏิเสธไม่ได้ว่า ผู้ที่เริ่มต้นเข้ามาในแวดวงความรับผิดชอบขององค์กรธุรกิจที่มีต่อสังคม หรือ CSR ส่วนใหญ่จะเข้าใจว่า การทำ CSR คือ การช่วยเหลือสังคม หลังจากที่ธุรกิจทำมาค้าขายหากำไรได้ ในรูปของการตอบแทนหรือคืนกำไรส่วนหนึ่งให้แก่สังคม เช่น การให้ทุนการศึกษาแก่เด็กยากไร้ การบริจาคเพื่อสาธารณกุศล การมอบสิ่งของเครื่องใช้จำเป็นให้แก่ผู้ประสบภัย ซึ่งถูกต้องเพียงส่วนเดียว
เพราะหากเราตั้งคำถามใหม่ว่า ถ้าเป็นเช่นนั้น กิจกรรม CSR จะเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อธุรกิจต้องมีกำไรก่อนเท่านั้นหรือ
ในความจริง ไม่เป็นเช่นนั้น เพราะไม่ว่าธุรกิจจะมีหรือไม่มีกำไรก็ตาม ธุรกิจต้องมีความรับผิดชอบในการประกอบการเพื่อแสวงหารายได้ โดยที่มิให้เกิดผลกระทบเดือดร้อนเสียหายต่อผู้ที่เกี่ยวข้องรอบข้าง ซึ่งในที่นี้ เรียกว่า ผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholders) อันประกอบไปด้วย พนักงาน ลูกค้า คู่ค้า ชุมชน (รวมถึง สิ่งแวดล้อม) ที่อยู่รายรอบแหล่งดำเนินงาน เป็นต้น
การทำ CSR จึงไม่ได้จำกัดว่า จะต้องเป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นแยกต่างหากจากการประกอบการ หรือเกิดภายหลังการดำเนินธุรกิจแล้ว ซึ่งเรียกกันว่า CSR-after-process ในรูปของการตอบแทนคืนสังคมเท่านั้น แต่ยังรวมถึงกิจกรรมที่เกิดขึ้นในระหว่างการประกอบการ หรือในกระบวนการทางธุรกิจ ซึ่งเรียกกันว่า CSR-in-process ด้วย ตั้งแต่ การคัดสรรวัตถุดิบที่มีความโปร่งใสเป็นธรรมต่อคู่ค้า การผลิตและการจำหน่ายที่ไม่เอารัดเอาเปรียบลูกค้า การขายและการตลาดที่มีความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค รวมถึงการเสียภาษีตามกฎหมาย ฯลฯ
พัฒนาการเรื่อง CSR ในปัจจุบัน ได้กำหนดพรมแดนใหม่ในการดำเนินความรับผิดชอบ ที่ไม่สามารถจำกัดอยู่เพียงขอบเขตขององค์กร (Organization) ได้อีกต่อไป อาณาเขตแห่งความรับผิดชอบได้ขยายวงไปสู่ห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain)
ตัวอย่างที่ปรากฏในอุตสาหกรรมประมงไทยที่กำลังเผชิญกับปัญหาการค้ามนุษย์และการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (IUU :Illegal, Unreported and Unregulated Fishing) ก่อให้เกิดผลกระทบต่ออุตสาหกรรมประมงทั้งระบบ รวมถึงตัวอย่างในอุตสาหกรรมการบินที่กำลังเผชิญกับปัญหาการบินพลเรือนที่ไม่สามารถแก้ไขข้อบกพร่องที่มีนัยสำคัญต่อความปลอดภัย (Significant Safety Concerns : SSC) ตามข้อกำหนดขององค์กรการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organization :ICAO) เป็นต้น
องค์กรธุรกิจในยุคนี้ จึงจำเป็นต้องยกระดับการขับเคลื่อนการดำเนินความรับผิดชอบ จากการขยับรับโจทย์ CSR จากเบื้องบน มาสู่การจับสัญญาณ CSR จากคู่ค้ารอบข้าง ว่ามีประเด็นอะไรบ้างที่ต้องดำเนินการให้สอดคล้องกับแนวโน้มสากลและกฎเกณฑ์ใหม่ๆ ของโลก
ความท้าทายของการทำ CSR นับจากนี้ต่อไป ไม่ได้มีเพียงความยั่งยืนในระดับกิจการเป็นที่หมายเท่านั้น แต่จำต้องพิจารณายกระดับการขับเคลื่อนเพื่อให้ตอบโจทย์ความยั่งยืนในระดับห่วงโซ่อุปทาน ทั้งนี้ เพื่อสร้าง ธำรงรักษา และเพิ่มคุณค่าในระยะยาว ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งมวลที่เกี่ยวข้องกับการนำผลิตภัณฑ์และบริการออกสู่ท้องตลาด
การทำ CSR เพื่อความยั่งยืนในระดับห่วงโซ่อุปทาน จึงเป็นโจทย์ที่สำคัญและท้าทายยิ่ง ในอันที่จะตอบสนองต่อความต้องการของอนาคตในเรื่องที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจ สังคม จริยธรรม และสิ่งแวดล้อม ทำให้แน่ใจว่าการดำเนินธุรกิจเป็นไปตามกฎหมาย และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการเข้าร่วมและสนับสนุนหลักการระหว่างประเทศว่าด้วยการดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืน ตลอดจนการสร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมในทางที่ดีขึ้น เพื่อตอบโจทย์ความคาดหวังของสังคมและผลได้ทางธุรกิจไปพร้อมกัน
จากบทความ 'Sustainpreneur' ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ [Archived]
เพราะหากเราตั้งคำถามใหม่ว่า ถ้าเป็นเช่นนั้น กิจกรรม CSR จะเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อธุรกิจต้องมีกำไรก่อนเท่านั้นหรือ
ในความจริง ไม่เป็นเช่นนั้น เพราะไม่ว่าธุรกิจจะมีหรือไม่มีกำไรก็ตาม ธุรกิจต้องมีความรับผิดชอบในการประกอบการเพื่อแสวงหารายได้ โดยที่มิให้เกิดผลกระทบเดือดร้อนเสียหายต่อผู้ที่เกี่ยวข้องรอบข้าง ซึ่งในที่นี้ เรียกว่า ผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholders) อันประกอบไปด้วย พนักงาน ลูกค้า คู่ค้า ชุมชน (รวมถึง สิ่งแวดล้อม) ที่อยู่รายรอบแหล่งดำเนินงาน เป็นต้น
การทำ CSR จึงไม่ได้จำกัดว่า จะต้องเป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นแยกต่างหากจากการประกอบการ หรือเกิดภายหลังการดำเนินธุรกิจแล้ว ซึ่งเรียกกันว่า CSR-after-process ในรูปของการตอบแทนคืนสังคมเท่านั้น แต่ยังรวมถึงกิจกรรมที่เกิดขึ้นในระหว่างการประกอบการ หรือในกระบวนการทางธุรกิจ ซึ่งเรียกกันว่า CSR-in-process ด้วย ตั้งแต่ การคัดสรรวัตถุดิบที่มีความโปร่งใสเป็นธรรมต่อคู่ค้า การผลิตและการจำหน่ายที่ไม่เอารัดเอาเปรียบลูกค้า การขายและการตลาดที่มีความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค รวมถึงการเสียภาษีตามกฎหมาย ฯลฯ
พัฒนาการเรื่อง CSR ในปัจจุบัน ได้กำหนดพรมแดนใหม่ในการดำเนินความรับผิดชอบ ที่ไม่สามารถจำกัดอยู่เพียงขอบเขตขององค์กร (Organization) ได้อีกต่อไป อาณาเขตแห่งความรับผิดชอบได้ขยายวงไปสู่ห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain)
ตัวอย่างที่ปรากฏในอุตสาหกรรมประมงไทยที่กำลังเผชิญกับปัญหาการค้ามนุษย์และการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (IUU :Illegal, Unreported and Unregulated Fishing) ก่อให้เกิดผลกระทบต่ออุตสาหกรรมประมงทั้งระบบ รวมถึงตัวอย่างในอุตสาหกรรมการบินที่กำลังเผชิญกับปัญหาการบินพลเรือนที่ไม่สามารถแก้ไขข้อบกพร่องที่มีนัยสำคัญต่อความปลอดภัย (Significant Safety Concerns : SSC) ตามข้อกำหนดขององค์กรการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organization :ICAO) เป็นต้น
องค์กรธุรกิจในยุคนี้ จึงจำเป็นต้องยกระดับการขับเคลื่อนการดำเนินความรับผิดชอบ จากการขยับรับโจทย์ CSR จากเบื้องบน มาสู่การจับสัญญาณ CSR จากคู่ค้ารอบข้าง ว่ามีประเด็นอะไรบ้างที่ต้องดำเนินการให้สอดคล้องกับแนวโน้มสากลและกฎเกณฑ์ใหม่ๆ ของโลก
ความท้าทายของการทำ CSR นับจากนี้ต่อไป ไม่ได้มีเพียงความยั่งยืนในระดับกิจการเป็นที่หมายเท่านั้น แต่จำต้องพิจารณายกระดับการขับเคลื่อนเพื่อให้ตอบโจทย์ความยั่งยืนในระดับห่วงโซ่อุปทาน ทั้งนี้ เพื่อสร้าง ธำรงรักษา และเพิ่มคุณค่าในระยะยาว ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งมวลที่เกี่ยวข้องกับการนำผลิตภัณฑ์และบริการออกสู่ท้องตลาด
การทำ CSR เพื่อความยั่งยืนในระดับห่วงโซ่อุปทาน จึงเป็นโจทย์ที่สำคัญและท้าทายยิ่ง ในอันที่จะตอบสนองต่อความต้องการของอนาคตในเรื่องที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจ สังคม จริยธรรม และสิ่งแวดล้อม ทำให้แน่ใจว่าการดำเนินธุรกิจเป็นไปตามกฎหมาย และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการเข้าร่วมและสนับสนุนหลักการระหว่างประเทศว่าด้วยการดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืน ตลอดจนการสร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมในทางที่ดีขึ้น เพื่อตอบโจทย์ความคาดหวังของสังคมและผลได้ทางธุรกิจไปพร้อมกัน
จากบทความ 'Sustainpreneur' ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ [Archived]
Subscribe to:
Posts (Atom)