บทความตอนที่แล้ว ได้กล่าวถึงหลักการ (Principles) ในมาตรฐานแนวทางความรับผิดชอบต่อสังคม ISO26000 ที่มีอยู่ 7 ประการ หรือ “หลัก 7 มี” ซึ่งประกอบไปด้วย หลักความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ หลักความโปร่งใส หลักการปฏิบัติอย่างมีจริยธรรม หลักการเคารพถึงผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสีย หลักการเคารพต่อหลักนิติธรรม หลักการเคารพต่อหลักปฏิบัติที่เป็นบรรทัดฐานสากล และหลักการเคารพต่อสิทธิมนุษยชน
สำหรับบทความตอนนี้ จะได้กล่าวถึงเรื่องหลัก (Core Subjects) ในมาตรฐาน ISO26000 ฉบับดังกล่าว ซึ่งก็มีอยู่ 7 ประการเช่นเดียวกัน หรือเรียกว่า “ดี 7 เรื่อง” ที่กิจการจะต้องเดินทางผ่านเส้นทางสถานีแห่งความรับผิดชอบต่อสังคมเหล่านี้ ก่อนที่จะมุ่งสู่สถานีปลายทางแห่งความยั่งยืนในที่สุด
เรื่องหลักหรือหัวข้อหลัก 7 ประการ ที่ถูกกล่าวถึงในมาตรฐานแนวทางความรับผิดชอบต่อสังคม ISO26000 ประกอบด้วย
1) การกำกับดูแลองค์กร (Organizational Governance) เป็นระบบที่องค์กรใช้วินิจฉัยและดำเนินการตามข้อวินิจฉัยเพื่อให้เป็นไปตามจุดมุ่งหมายขององค์กร ซึ่งประกอบด้วยกลไกการกำกับดูแลทั้งที่เป็นทางการ (มีการกำหนดโครงสร้างและกระบวนการชัดเจน) และไม่เป็นทางการ (เกิดขึ้นโดยเกี่ยวโยงกับค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กรซึ่งมักได้รับอิทธิพลจากผู้นำองค์กร)
การกำกับดูแลองค์กรในบริบทของความรับผิดชอบต่อสังคมมีลักษณะพิเศษที่เป็นทั้งเรื่องหลัก (Core Subject) ซึ่งองค์กรควรดำเนินการ และเป็นวิธีที่ใช้เพิ่มขีดความสามารถองค์กรในการดำรงพฤติกรรมอย่างรับผิดชอบต่อสังคมที่มีต่อเรื่องหลักด้านอื่นๆ เนื่องจากการมุ่งเป็นองค์กรที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม กิจการควรมีระบบที่เปิดทางให้องค์กรสามารถใช้ควบคุมดูแลและนำ “หลัก 7 มี” ข้างต้นไปปฏิบัติได้จริง
2) สิทธิมนุษยชน (Human Rights) เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่สามารถจำแนกเป็นสองหมวดใหญ่ คือ หมวดสิทธิของพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ซึ่งหมายรวมถึง สิทธิในชีวิตและเสรีภาพ ความเสมอภาคในกฏหมาย เสรีภาพในการแสดงออก และหมวดสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ซึ่งหมายรวมถึง สิทธิในการทำงาน สิทธิที่พึงได้รับอาหาร สิทธิในสุขภาพตามมาตรฐานสูงสุดเท่าที่เป็นได้ สิทธิในการศึกษา และสิทธิด้านสวัสดิการสังคม ซึ่งสิทธิมนุษยชนทั้งสองหมวดนี้ กิจการพึงให้การเคารพภายใต้เขตอิทธิพล (Sphere of Influence) ขององค์กร
3) การปฏิบัติด้านแรงงาน (Labour Practices) เป็นเรื่องของนโยบายและการดำเนินงานทั้งหมดที่เกี่ยวเนื่องกับการทำงานทั้งภายในองค์กร โดยองค์กร หรือในนามขององค์กร ซึ่งรวมถึงงานรับเหมาช่วง โดยส่วนสำคัญที่สุดในการช่วยเหลือทางเศรษฐกิจและสังคมของกิจการ ก็คือ การสร้างงาน การจ่ายค่าจ้าง และการให้ผลตอบแทนอื่นๆ จากการทำงาน ทั้งนี้ การสร้างงานที่มีคุณค่าและได้มูลค่า ถือเป็นส่วนประกอบที่จำเป็นในการพัฒนามนุษย์ ขณะที่มาตรฐานการครองชีพจะถูกยกระดับได้ด้วยการจ้างงานแบบเต็มเวลาและมีหลักประกัน
4) สิ่งแวดล้อม (The Environment) เป็นการคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดจากการตัดสินใจและการดำเนินงานขององค์กรทั้งในแง่ของการใช้ทรัพยากร ถิ่นที่ตั้งของสถานประกอบการ มลภาวะและของเสีย รวมถึงผลกระทบจากการดำเนินงานขององค์กรต่อแหล่งที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติของพืชและสิ่งมีชีวิตต่างๆ
5) การปฏิบัติดำเนินงานอย่างเป็นธรรม (Fair Operating Practices) เป็นการปฏิบัติอย่างมีจริยธรรมขององค์กรที่มีต่อองค์กรอื่น ทั้งหน่วยงานภาครัฐ หุ้นส่วนทางธุรกิจ คู่ค้า ผู้ส่งมอบ ผู้รับเหมา ลูกค้า คู่แข่งขัน และบรรดาสมาคมที่ตนสังกัดอยู่ เพื่อส่งเสริมให้เกิดผลในทางที่ดีหรือในทางบวก โดยใช้ภาวะผู้นำผลักดันให้เกิดความรับผิดชอบต่อสังคมให้แผ่กว้างไปทั่วทั้งเขตอิทธิพลขององค์กร
6) ประเด็นด้านผู้บริโภค (Consumer Issues) เป็นความรับผิดชอบในตัวผลิตภัณฑ์และบริการที่มีต่อผู้บริโภค (Consumers) รวมทั้งลูกค้า (Customers) ที่องค์กรผลิตจำหน่ายและให้บริการ สำหรับการปฏิบัติต่อลูกค้าที่ซื้อเพื่อการพาณิชย์จะใช้แนวปฏิบัติในข้อ 5) เป็นหลัก ส่วนการปฏิบัติต่อผู้บริโภคที่ซื้อเพื่อการบริโภคจะใช้แนวปฏิบัติในข้อนี้เป็นหลัก อย่างไรก็ดี แนวปฏิบัติบางส่วนในทั้งสองข้อนี้ สามารถใช้ได้กับทั้งผู้บริโภคหรือลูกค้าด้วย
7) การมีส่วนร่วมและพัฒนาชุมชน (Community involvement and development) เป็นเรื่องที่ถูกผนวกไว้เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาที่ยั่งยืน และอยู่นอกเหนือการระบุและสานสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้เสียในส่วนที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบจากการดำเนินงานขององค์กร แต่การมีส่วนร่วมกับชุมชนในที่นี้ เนื่องเพราะองค์กรถือเป็นผู้มีส่วนได้เสียหนึ่งในชุมชน และมีผลประโยชน์ร่วมกับชุมชน ทั้งนี้ การพัฒนาชุมชนในข้อนี้ มิได้จำกัดในแง่ของการบริจาคเพื่อการกุศล (Philanthropy) เท่านั้น เพราะลำพังกิจกรรมการบริจาคมิได้นำไปสู่จุดหมายแห่งการบูรณาการความรับผิดชอบต่อสังคมในองค์กร
ย้ำว่าเรื่องหลักด้านความรับผิดชอบต่อสังคม หรือ “ดี 7 เรื่อง” เป็นสถานีระหว่างทางที่กิจการซึ่งมุ่งเป็นองค์กรที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมจะต้องเดินทางผ่านในทุกสถานี ไม่มีเส้นทางลัดสำหรับการเข้าสู่สถานีปลายทางแห่งความยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็นองค์กรที่เก่งกาจ มีทรัพยากรหนา หรือมีเส้นสายใหญ่เพียงใดก็ตาม...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
Thursday, August 30, 2012
Thursday, August 16, 2012
หลัก 7 มี ดี 7 เรื่อง
จั่วหัวอย่างนี้ คงไม่เกี่ยวกับหนังที่กำลังลงโรงอยู่ในขณะนี้แต่ประการใด เพียงสื่อให้นึกถึงหลักการ (Principles) ในมาตรฐานแนวทางความรับผิดชอบต่อสังคม ISO26000 ที่มีอยู่ 7 ประการ และเรื่องหลัก (Core Subjects) ซึ่งก็มีอยู่ 7 เรื่องเหมือนกัน ที่ถูกแนะนำไว้ในมาตรฐานฉบับดังกล่าว
การดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคม หากจะทำให้เป็นที่ยอมรับและน่าเชื่อถือ แน่นอนว่าองค์กรจำต้องมีหลักให้ยึดโยงและต้องทำความเข้าใจร่วมกันในหมู่พนักงานให้เกิดขึ้นก่อนที่จะแปลงไปสู่การกระทำ หากองค์กรขาดหลักการ (หรือใช้หลักกู) ในการปฏิบัติด้านความรับผิดชอบต่อสังคม ก็จะพานให้เกิดความยุ่งเหยิงสับสน และยังสูญเสียทรัพยากรไปโดยที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์โพดผลที่ทั้งองค์กรและสังคมพึงจะได้รับในปลายทาง
การอ้างอิงหลักการอันเป็นที่ยอมรับในวงกว้าง เป็นหนทางหนึ่งที่สามารถใช้เป็นพวงมาลัยช่วยให้องค์กรเดินทางบนถนนความรับผิดชอบต่อสังคมได้โดยไม่แหกโค้งหรือตกข้างทาง ไม่พาผู้โดยสารที่เป็นพนักงานในองค์กรเจ็บตัวไปตาม ๆ กัน และยังป้องกันไม่ให้ผู้สัญจรรอบข้างซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่าง ๆ ต้องประสบอันตรายหรือต้องได้รับความเสียหายตามไปด้วย
หลักการในมาตรฐานแนวทางความรับผิดชอบต่อสังคม ISO26000 ที่มีอยู่ 7 ประการ หรือ “หลัก 7 มี” นั้น ประกอบด้วย
1) มีความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ (Accountability) เป็นความสามารถขององค์กรในการตอบคำถามของผู้มีส่วนได้เสีย อันเนื่องมาจากการดำเนินงานและการตัดสินใจขององค์กร ในส่วนที่เป็นผลกระทบจากการตัดสินใจขององค์กร (โดยเฉพาะในด้านลบ) รวมถึงการป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดขึ้นซ้ำ โดยที่องค์กรสามารถตอบข้อสงสัยต่อสาธาณชนได้
2) มีความโปร่งใส (Transparency) เป็นการเปิดเผยการตัดสินใจและการดำเนินงานต่างๆ ขององค์กรอย่างชัดเจน ซื่อตรง ถูกต้อง ครบถ้วน และเหมาะสมกับช่วงเวลา ในเรื่องที่เกี่ยวกับกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ แหล่งที่มาของเงินทุน แนวโน้มผลกระทบจากการตัดสินใจและการดำเนินงานที่อาจเกิดขึ้น ฯลฯ
3) มีการปฏิบัติอย่างมีจริยธรรม (Ethical Behaviour) เป็นพฤติกรรมที่ชอบด้วยกฎหมาย รวมถึงการปฏิบัติที่ดี ตามบรรทัดฐานสากล ในประเด็นการชี้บ่ง การนำไปใช้ การสื่อสาร การป้องกันแก้ไขข้อขัดแย้งทางผลประโยชน์อย่างเหมาะสม รวมถึงประเด็นอื่น อย่างเช่น การเคารพต่อสวัสดิภาพของสัตว์
4) มีการเคารพถึงผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสีย (Respect for Stakeholder Interests) เป็นการพิจารณาและตอบสนองต่อผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสีย นอกเหนือจากผลประโยชน์ขององค์กร ซึ่งองค์กรต้องมีความสามารถในการชี้บ่งและจัดลำดับความสำคัญผู้มีส่วนได้เสีย การคำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างผลประโยชน์และความคาดหวังระหว่างผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่าง ๆ รวมถึงการพิจารณาถึงผลกระทบผู้มีส่วนได้เสียจากการตัดสินใจขององค์กร
5) มีการเคารพต่อหลักนิติธรรม (Respect for the Rule of Law) เป็นการพิจารณา ชี้แจง และกำกับการดำเนินงานให้เป็นไปตามข้อกฎหมาย และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง ทั้งในขั้นตอนของการปฏิบัติให้สอดคล้องเหมาะสม การติดตามเพื่อให้รับทราบ และการทบทวนเพื่อให้มีความสอดคล้องกับกฎหมาย กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง
6) มีการเคารพต่อหลักปฏิบัติที่เป็นบรรทัดฐานสากล (Respect for International Norms of Behaviour) เป็นการดำเนินงานที่คำนึงถึงหลักการสากล นอกเหนือจากหลักนิติธรรม ได้แก่ การเคารพและปฏิบัติตามแนวทางที่เป็นสากล หรือการหลีกเลี่ยงการร่วมมือกับองค์กรที่มีพฤติกรรมหรือการดำเนินงานที่ขัดกับแนวปฏิบัติสากล เป็นต้น
7) มีการเคารพต่อสิทธิมนุษยชน (Respect for Human Rights) เป็นการปฏิบัติที่ดำเนินภายใต้ ธรรมนูญแห่งสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ อาทิ การเคารพและส่งเสริมตามธรรมนูญฯ การหลีกเลี่ยงการแสวงหาผลประโยชน์ที่ขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชน
ว่าในบทหลักการไปแล้ว ยังไม่ได้สาธยายถึงเรื่องหลักด้านความรับผิดชอบต่อสังคม หรือ “ดี 7 เรื่อง” ซึ่งเปรียบได้กับสถานีที่สารถี CSR ขององค์กร จะต้องขับเคลื่อนยานพาหนะของกิจการแวะเวียนไปทำกิจกรรมหรือเก็บแต้มความรับผิดชอบต่อสังคมบนเส้นทางที่มีความยั่งยืนเป็นสถานีปลายทางนี้ เนื้อที่ก็พลันหมดเสียก่อน คงไว้ให้ได้ขยายความกันในโอกาสต่อไป...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
การดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคม หากจะทำให้เป็นที่ยอมรับและน่าเชื่อถือ แน่นอนว่าองค์กรจำต้องมีหลักให้ยึดโยงและต้องทำความเข้าใจร่วมกันในหมู่พนักงานให้เกิดขึ้นก่อนที่จะแปลงไปสู่การกระทำ หากองค์กรขาดหลักการ (หรือใช้หลักกู) ในการปฏิบัติด้านความรับผิดชอบต่อสังคม ก็จะพานให้เกิดความยุ่งเหยิงสับสน และยังสูญเสียทรัพยากรไปโดยที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์โพดผลที่ทั้งองค์กรและสังคมพึงจะได้รับในปลายทาง
การอ้างอิงหลักการอันเป็นที่ยอมรับในวงกว้าง เป็นหนทางหนึ่งที่สามารถใช้เป็นพวงมาลัยช่วยให้องค์กรเดินทางบนถนนความรับผิดชอบต่อสังคมได้โดยไม่แหกโค้งหรือตกข้างทาง ไม่พาผู้โดยสารที่เป็นพนักงานในองค์กรเจ็บตัวไปตาม ๆ กัน และยังป้องกันไม่ให้ผู้สัญจรรอบข้างซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่าง ๆ ต้องประสบอันตรายหรือต้องได้รับความเสียหายตามไปด้วย
หลักการในมาตรฐานแนวทางความรับผิดชอบต่อสังคม ISO26000 ที่มีอยู่ 7 ประการ หรือ “หลัก 7 มี” นั้น ประกอบด้วย
1) มีความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ (Accountability) เป็นความสามารถขององค์กรในการตอบคำถามของผู้มีส่วนได้เสีย อันเนื่องมาจากการดำเนินงานและการตัดสินใจขององค์กร ในส่วนที่เป็นผลกระทบจากการตัดสินใจขององค์กร (โดยเฉพาะในด้านลบ) รวมถึงการป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดขึ้นซ้ำ โดยที่องค์กรสามารถตอบข้อสงสัยต่อสาธาณชนได้
2) มีความโปร่งใส (Transparency) เป็นการเปิดเผยการตัดสินใจและการดำเนินงานต่างๆ ขององค์กรอย่างชัดเจน ซื่อตรง ถูกต้อง ครบถ้วน และเหมาะสมกับช่วงเวลา ในเรื่องที่เกี่ยวกับกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ แหล่งที่มาของเงินทุน แนวโน้มผลกระทบจากการตัดสินใจและการดำเนินงานที่อาจเกิดขึ้น ฯลฯ
3) มีการปฏิบัติอย่างมีจริยธรรม (Ethical Behaviour) เป็นพฤติกรรมที่ชอบด้วยกฎหมาย รวมถึงการปฏิบัติที่ดี ตามบรรทัดฐานสากล ในประเด็นการชี้บ่ง การนำไปใช้ การสื่อสาร การป้องกันแก้ไขข้อขัดแย้งทางผลประโยชน์อย่างเหมาะสม รวมถึงประเด็นอื่น อย่างเช่น การเคารพต่อสวัสดิภาพของสัตว์
4) มีการเคารพถึงผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสีย (Respect for Stakeholder Interests) เป็นการพิจารณาและตอบสนองต่อผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสีย นอกเหนือจากผลประโยชน์ขององค์กร ซึ่งองค์กรต้องมีความสามารถในการชี้บ่งและจัดลำดับความสำคัญผู้มีส่วนได้เสีย การคำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างผลประโยชน์และความคาดหวังระหว่างผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่าง ๆ รวมถึงการพิจารณาถึงผลกระทบผู้มีส่วนได้เสียจากการตัดสินใจขององค์กร
5) มีการเคารพต่อหลักนิติธรรม (Respect for the Rule of Law) เป็นการพิจารณา ชี้แจง และกำกับการดำเนินงานให้เป็นไปตามข้อกฎหมาย และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง ทั้งในขั้นตอนของการปฏิบัติให้สอดคล้องเหมาะสม การติดตามเพื่อให้รับทราบ และการทบทวนเพื่อให้มีความสอดคล้องกับกฎหมาย กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง
6) มีการเคารพต่อหลักปฏิบัติที่เป็นบรรทัดฐานสากล (Respect for International Norms of Behaviour) เป็นการดำเนินงานที่คำนึงถึงหลักการสากล นอกเหนือจากหลักนิติธรรม ได้แก่ การเคารพและปฏิบัติตามแนวทางที่เป็นสากล หรือการหลีกเลี่ยงการร่วมมือกับองค์กรที่มีพฤติกรรมหรือการดำเนินงานที่ขัดกับแนวปฏิบัติสากล เป็นต้น
7) มีการเคารพต่อสิทธิมนุษยชน (Respect for Human Rights) เป็นการปฏิบัติที่ดำเนินภายใต้ ธรรมนูญแห่งสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ อาทิ การเคารพและส่งเสริมตามธรรมนูญฯ การหลีกเลี่ยงการแสวงหาผลประโยชน์ที่ขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชน
ว่าในบทหลักการไปแล้ว ยังไม่ได้สาธยายถึงเรื่องหลักด้านความรับผิดชอบต่อสังคม หรือ “ดี 7 เรื่อง” ซึ่งเปรียบได้กับสถานีที่สารถี CSR ขององค์กร จะต้องขับเคลื่อนยานพาหนะของกิจการแวะเวียนไปทำกิจกรรมหรือเก็บแต้มความรับผิดชอบต่อสังคมบนเส้นทางที่มีความยั่งยืนเป็นสถานีปลายทางนี้ เนื้อที่ก็พลันหมดเสียก่อน คงไว้ให้ได้ขยายความกันในโอกาสต่อไป...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
Thursday, August 09, 2012
ไม่เข้าใจ ไม่เข้าถึง จึงไม่พัฒนา
ภาพรวมของการพัฒนาประเทศในอดีตที่ผ่านมา นับตั้งแต่ระยะของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1-7 (2504-2539) สรุปได้ว่า “เศรษฐกิจดี สังคมมีปัญหา การพัฒนาไม่ยั่งยืน” จึงทำให้แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 (2540-2544) ได้ปรับแนวคิดการพัฒนาประเทศใหม่จากเดิมที่ให้ความ สำคัญกับการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นประเด็นหลัก มาเป็นการให้ความสำคัญกับการพัฒนาคนและสังคมไปพร้อมกัน และเป็นจุดเริ่มต้นของแนวคิดการพัฒนาที่มี “คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา” โดยให้เศรษฐกิจเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และเปลี่ยนวิธีการพัฒนาเป็นแบบองค์รวมที่เชื่อมโยงมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมเข้าด้วยกันอย่างสมดุล
แต่วิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในปี 2540 ทำให้การปรับเปลี่ยนแนวคิดและวิธีการพัฒนาไม่สามารถนำไปใช้ในกระบวนการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศได้อย่างเป็นรูปธรรม อย่างไรก็ตาม สังคมไทยได้เริ่มรับรู้ถึงหลัก “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ซึ่งได้รับการขานรับอย่างกว้างขวางในขณะที่สังคมไทยกำลังเผชิญกับภาวะวิกฤตครั้งสำคัญของประเทศ
ในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 (2545-2549) จึงได้อัญเชิญหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาเป็นปรัชญานำทางในการพัฒนาและบริหารประเทศ โดยให้ความสาคัญกับการพัฒนาที่สมดุล ทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม มีเป้าหมายหลักเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยสู่ความอยู่ดีมีสุข พร้อมทั้งยึดหลักทางสายกลาง เพื่อให้ประเทศรอดพ้นจากวิกฤต สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคง มีคุณภาพและยั่งยืน
และในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 (2550-2554) ยังคงน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญานำทางในการพัฒนาและบริหารประเทศ โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาอย่างสมดุล การอยู่ร่วมกันด้วยสันติสุขในสังคม และการอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ภายใต้แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 นี้ ได้ให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างความเข้มแข็งของทุน 3 ด้าน ได้แก่ ทุนทางเศรษฐกิจ ทุนทางสังคม และทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ และการนำไปใช้ประโยชน์อย่างเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน นำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีและความอยู่เย็นเป็นสุขของคนในสังคม
ในปัจจุบัน ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่การพัฒนาประเทศ ภายใต้ แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559) โดยยังคงยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่มุ่งให้คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาและ “สร้างสมดุลการพัฒนา” ในทุกมิติ เป็นไปในแนวทางที่ยั่งยืนและสร้างความสุขให้กับคนไทย สำหรับทิศทางการพัฒนาประเทศในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 จะเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันในมิติต่างๆ เพื่อให้การพัฒนาประเทศสู่ความสมดุลและยั่งยืน โดยขยายการนำทุนของประเทศที่มีศักยภาพ จาก 3 ทุน ทั้งทุนสังคม ทุนเศรษฐกิจ และทุนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็น 6 ทุน ได้แก่ ทุนมนุษย์ ทุนสังคม ทุนกายภาพ ทุนทางการเงิน ทุนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และทุนทางวัฒนธรรม มาใช้ประโยชน์อย่างบูรณาการและเกื้อกูลกัน
อาจกล่าวโดยสรุปได้ว่า แนวคิดแห่งการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีลักษณะที่สำคัญ ได้แก่
จะเห็นว่าแนวทางแห่งการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนั้น นอกจากการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์อย่างเป็นลำดับขั้นโดยคำนึงถึงภูมิสังคมแล้ว ยังต้องพัฒนาคนให้เตรียมพร้อมรองรับต่อการเปลี่ยนแปลง ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกอย่างมีความสมดุลด้วย...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
แต่วิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในปี 2540 ทำให้การปรับเปลี่ยนแนวคิดและวิธีการพัฒนาไม่สามารถนำไปใช้ในกระบวนการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศได้อย่างเป็นรูปธรรม อย่างไรก็ตาม สังคมไทยได้เริ่มรับรู้ถึงหลัก “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ซึ่งได้รับการขานรับอย่างกว้างขวางในขณะที่สังคมไทยกำลังเผชิญกับภาวะวิกฤตครั้งสำคัญของประเทศ
ในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 (2545-2549) จึงได้อัญเชิญหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาเป็นปรัชญานำทางในการพัฒนาและบริหารประเทศ โดยให้ความสาคัญกับการพัฒนาที่สมดุล ทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม มีเป้าหมายหลักเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยสู่ความอยู่ดีมีสุข พร้อมทั้งยึดหลักทางสายกลาง เพื่อให้ประเทศรอดพ้นจากวิกฤต สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคง มีคุณภาพและยั่งยืน
และในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 (2550-2554) ยังคงน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญานำทางในการพัฒนาและบริหารประเทศ โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาอย่างสมดุล การอยู่ร่วมกันด้วยสันติสุขในสังคม และการอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ภายใต้แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 นี้ ได้ให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างความเข้มแข็งของทุน 3 ด้าน ได้แก่ ทุนทางเศรษฐกิจ ทุนทางสังคม และทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ และการนำไปใช้ประโยชน์อย่างเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน นำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีและความอยู่เย็นเป็นสุขของคนในสังคม
ในปัจจุบัน ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่การพัฒนาประเทศ ภายใต้ แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559) โดยยังคงยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่มุ่งให้คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาและ “สร้างสมดุลการพัฒนา” ในทุกมิติ เป็นไปในแนวทางที่ยั่งยืนและสร้างความสุขให้กับคนไทย สำหรับทิศทางการพัฒนาประเทศในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 จะเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันในมิติต่างๆ เพื่อให้การพัฒนาประเทศสู่ความสมดุลและยั่งยืน โดยขยายการนำทุนของประเทศที่มีศักยภาพ จาก 3 ทุน ทั้งทุนสังคม ทุนเศรษฐกิจ และทุนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็น 6 ทุน ได้แก่ ทุนมนุษย์ ทุนสังคม ทุนกายภาพ ทุนทางการเงิน ทุนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และทุนทางวัฒนธรรม มาใช้ประโยชน์อย่างบูรณาการและเกื้อกูลกัน
อาจกล่าวโดยสรุปได้ว่า แนวคิดแห่งการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีลักษณะที่สำคัญ ได้แก่
1) | ให้ความสำคัญกับ “การพัฒนาคน” ในการดำเนินวิถีชีวิตอย่างมั่นคงบนพื้นฐานของการรู้จักความพอประมาณ การคำนึงถึงความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี |
2) | เน้นการ “เข้าใจ เข้าถึง และร่วมพัฒนา” อย่างสอดคล้องกับ “ภูมิสังคม” ที่ให้ความสำคัญกับความหลากหลายของระบบภูมินิเวศ เศรษฐกิจ วัฒนธรรม ประเพณี เพื่อผลประโยชน์ของประชาชน โดยประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ |
3) | เป็นการพัฒนาที่คำนึงถึงการ “ทำตามลำดับขั้นตอน” จากการสร้างพื้นฐานให้มั่นคงพอควรแล้ว จึงค่อยสร้างเสริมความเจริญขั้นสูงขึ้นไปตามลำดับ |
จะเห็นว่าแนวทางแห่งการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนั้น นอกจากการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์อย่างเป็นลำดับขั้นโดยคำนึงถึงภูมิสังคมแล้ว ยังต้องพัฒนาคนให้เตรียมพร้อมรองรับต่อการเปลี่ยนแปลง ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกอย่างมีความสมดุลด้วย...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
Thursday, August 02, 2012
วุฒิภาวะทาง 'CSR'
นับจนถึงวันนี้ นิยามของ CSR ก็ยังเต็มไปด้วยความหลากหลาย อันเกิดจากการตีความที่ไม่ตรงกัน เกิดจากความพยายามในการกำหนดเนื้อหาเพื่อให้สอดคล้องกับสิ่งที่หน่วยงานได้ดำเนินการ หรือเกิดจากบริบทของการดำเนินงานในเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมที่ได้เปลี่ยนแปลงไปจากกรอบคิดในอดีต
บ้างคิดว่ามันคือการทำอะไรสักอย่างให้กับชุมชน บ้างว่ามันคือการช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม บ้างว่ามันคือการสร้างภาพลักษณ์อย่างหนึ่ง ประกอบกับยังมีอีกหลายคำถามที่ถูกหยิบยกขึ้นในทำนองว่า ทำไมต้องทำ CSR ทำแล้วได้อะไร ทำแล้วดีอย่างไร แล้วมีมาตรวัดไหนที่บอกว่าทำแล้วดี
แม้หลายองค์กรได้ริเริ่มกระบวนการในการสร้างความรู้ความเข้าใจและการยอมรับในความสำคัญของเรื่อง CSR ที่เพิ่มมากขึ้น แต่ก็ยังมีความเลื่อมล้ำในการขับเคลื่อนด้วยวุฒิภาวะ (Maturity) ของแต่ละองค์กรซึ่งมีความแตกต่างกัน โดยเปรียบได้กับ ‘ขบวน’ การขับเคลื่อนที่ประกอบด้วยผู้โดยสารตามแต่ละชั้น ที่แบ่งออกเป็น หัวขบวน กลางขบวน และท้ายขบวน
องค์กรที่อยู่ในกลุ่มหัวขบวนมีการรับรู้และนำไปปฏิบัติได้อย่างชัดเจนต่อเนื่อง ด้านองค์กรที่อยู่ในกลุ่มกลางขบวนก็มีการทำ CSR เช่นกัน แต่อาจจะไม่มากหรือต่อเนื่องเท่ากลุ่มหัวขบวน ส่วนองค์กรที่อยู่ในกลุ่มท้ายขบวนอาจจะรับรู้ถึงผลดีในการทำ CSR หากแต่ยังไม่เห็นความสำคัญมากนัก และอาจจะด้วยปัจจัยในการทำ CSR ที่ต้องอาศัยทรัพยากรในการพัฒนาบุคลากรและระบบ จึงยังไม่สามารถทำได้เต็มที่นัก
ปัจจัยสำคัญในการสร้าง CSR ให้เกิดขึ้นทั่วทั้งองค์กรได้ ต้องทำผ่านบุคลากร โดยเริ่มต้นจากผู้นำองค์กรคือผู้บริหารและคณะกรรมการ ถ่ายทอดวิสัยทัศน์ให้กับผู้ปฏิบัติ หรือเจ้าหน้าที่ในส่วนต่างๆ ขององค์กรได้ดำเนินตามระบบต่างๆ ขององค์กร จะต้องเน้นให้มีการถ่ายโอนวัฒนธรรมสืบเนื่องเพื่อให้บุคลากรทุกคนในองค์กรมีความรู้ความเข้าใจเรื่อง CSR ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เมื่อทุกคนในองค์กรเห็นภาพของ CSR และได้ลงมือปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกันแล้ว ความสำเร็จจากการขับเคลื่อนเรื่อง CSR ก็จะมีเพิ่มมากขึ้น
มาตรการในการส่งเสริมให้เกิดความสำเร็จในการขับเคลื่อน CSR ทั่วทั้งองค์กร ควรต้องคำนึงถึงประเด็นการพัฒนาวุฒิภาวะทาง CSR ของแต่ละองค์กรตามตำแหน่งที่อยู่ของขบวนอย่างเป็นขั้นเป็นตอน โดยใช้การ ‘Enforce’ กับกลุ่มท้ายขบวนให้มีการทำ CSR อย่างจริงจัง ส่วนกลางขบวนควรใช้วิธี ‘Encourage’ ที่ช่วยผลักดันให้มีการทำ CSR ที่บูรณาการมากยิ่งขึ้น และส่วนหัวขบวนนั้น จะต้องมีการ ‘Enable’ เพื่อเปิดทางให้องค์กรได้มีโอกาสพัฒนาเพื่อก้าวสู่ความเป็นผู้นำด้าน CSR ทั้งในระดับภูมิภาคและในระดับโลก เช่น เวที AEC ได้อย่างเต็มภาคภูมิ
และเมื่อพิจารณาถึงความพร้อมของไทยในการขับเคลื่อนเรื่อง CSR ในระดับภูมิภาค ข้อมูลจากการสำรวจในหลายแหล่ง ชี้ให้เห็นว่าองค์กรธุรกิจไทยมีความสามารถในการขับเคลื่อน CSR ไม่แพ้ประเทศอื่น เช่น ผลการจัดอันดับของ ASIAN Sustainability Rating (ASR) ในปี 2554 ที่ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 2 รองจากเกาหลีใต้
ในระดับอาเซียนเอง ภาคเอกชนในภาพรวมยังคงมีข้อจำกัดในเรื่องของการรับรู้แนวปฏิบัติ CSR ที่อยู่ภายใต้แผนงานการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community: ASCC) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์เพื่อผลักดันให้ภาคธุรกิจผนวกเอาเรื่อง CSR ไว้ในวาระการดำเนินงานขององค์กร และสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาเชิงเศรษฐกิจ-สังคมที่ยั่งยืนในหมู่ประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งบทบาทของ CSR ในเสาของ ASCC นั้น ในท้ายที่สุด ก็จะต้องเดินควบคู่ไปกับการพัฒนาธุรกิจและเศรษฐกิจในเสาของ AEC กันอย่างแยกไม่ออก
อีกไม่ถึงสามปี ภาพของการขับเคลื่อน CSR ในหมู่ประเทศสมาชิกอาเซียน อาจจะเปลี่ยนโฉมหน้าไปจากปัจจุบัน การรั้งตำแหน่งผู้นำแถวหน้าทางธุรกิจในอาเซียน อาจจะเกิดขึ้นไม่ได้ หากไม่นำเรื่อง CSR เข้ามาอยู่ในสมการธุรกิจ และจัดวางกลยุทธื CSR ให้เป็นตัวแปรสำคัญในการเสริมสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขัน นอกเหนือจากตัวแปรอื่นๆ ในทางธุรกิจ...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
บ้างคิดว่ามันคือการทำอะไรสักอย่างให้กับชุมชน บ้างว่ามันคือการช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม บ้างว่ามันคือการสร้างภาพลักษณ์อย่างหนึ่ง ประกอบกับยังมีอีกหลายคำถามที่ถูกหยิบยกขึ้นในทำนองว่า ทำไมต้องทำ CSR ทำแล้วได้อะไร ทำแล้วดีอย่างไร แล้วมีมาตรวัดไหนที่บอกว่าทำแล้วดี
แม้หลายองค์กรได้ริเริ่มกระบวนการในการสร้างความรู้ความเข้าใจและการยอมรับในความสำคัญของเรื่อง CSR ที่เพิ่มมากขึ้น แต่ก็ยังมีความเลื่อมล้ำในการขับเคลื่อนด้วยวุฒิภาวะ (Maturity) ของแต่ละองค์กรซึ่งมีความแตกต่างกัน โดยเปรียบได้กับ ‘ขบวน’ การขับเคลื่อนที่ประกอบด้วยผู้โดยสารตามแต่ละชั้น ที่แบ่งออกเป็น หัวขบวน กลางขบวน และท้ายขบวน
องค์กรที่อยู่ในกลุ่มหัวขบวนมีการรับรู้และนำไปปฏิบัติได้อย่างชัดเจนต่อเนื่อง ด้านองค์กรที่อยู่ในกลุ่มกลางขบวนก็มีการทำ CSR เช่นกัน แต่อาจจะไม่มากหรือต่อเนื่องเท่ากลุ่มหัวขบวน ส่วนองค์กรที่อยู่ในกลุ่มท้ายขบวนอาจจะรับรู้ถึงผลดีในการทำ CSR หากแต่ยังไม่เห็นความสำคัญมากนัก และอาจจะด้วยปัจจัยในการทำ CSR ที่ต้องอาศัยทรัพยากรในการพัฒนาบุคลากรและระบบ จึงยังไม่สามารถทำได้เต็มที่นัก
ปัจจัยสำคัญในการสร้าง CSR ให้เกิดขึ้นทั่วทั้งองค์กรได้ ต้องทำผ่านบุคลากร โดยเริ่มต้นจากผู้นำองค์กรคือผู้บริหารและคณะกรรมการ ถ่ายทอดวิสัยทัศน์ให้กับผู้ปฏิบัติ หรือเจ้าหน้าที่ในส่วนต่างๆ ขององค์กรได้ดำเนินตามระบบต่างๆ ขององค์กร จะต้องเน้นให้มีการถ่ายโอนวัฒนธรรมสืบเนื่องเพื่อให้บุคลากรทุกคนในองค์กรมีความรู้ความเข้าใจเรื่อง CSR ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เมื่อทุกคนในองค์กรเห็นภาพของ CSR และได้ลงมือปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกันแล้ว ความสำเร็จจากการขับเคลื่อนเรื่อง CSR ก็จะมีเพิ่มมากขึ้น
มาตรการในการส่งเสริมให้เกิดความสำเร็จในการขับเคลื่อน CSR ทั่วทั้งองค์กร ควรต้องคำนึงถึงประเด็นการพัฒนาวุฒิภาวะทาง CSR ของแต่ละองค์กรตามตำแหน่งที่อยู่ของขบวนอย่างเป็นขั้นเป็นตอน โดยใช้การ ‘Enforce’ กับกลุ่มท้ายขบวนให้มีการทำ CSR อย่างจริงจัง ส่วนกลางขบวนควรใช้วิธี ‘Encourage’ ที่ช่วยผลักดันให้มีการทำ CSR ที่บูรณาการมากยิ่งขึ้น และส่วนหัวขบวนนั้น จะต้องมีการ ‘Enable’ เพื่อเปิดทางให้องค์กรได้มีโอกาสพัฒนาเพื่อก้าวสู่ความเป็นผู้นำด้าน CSR ทั้งในระดับภูมิภาคและในระดับโลก เช่น เวที AEC ได้อย่างเต็มภาคภูมิ
และเมื่อพิจารณาถึงความพร้อมของไทยในการขับเคลื่อนเรื่อง CSR ในระดับภูมิภาค ข้อมูลจากการสำรวจในหลายแหล่ง ชี้ให้เห็นว่าองค์กรธุรกิจไทยมีความสามารถในการขับเคลื่อน CSR ไม่แพ้ประเทศอื่น เช่น ผลการจัดอันดับของ ASIAN Sustainability Rating (ASR) ในปี 2554 ที่ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 2 รองจากเกาหลีใต้
ในระดับอาเซียนเอง ภาคเอกชนในภาพรวมยังคงมีข้อจำกัดในเรื่องของการรับรู้แนวปฏิบัติ CSR ที่อยู่ภายใต้แผนงานการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community: ASCC) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์เพื่อผลักดันให้ภาคธุรกิจผนวกเอาเรื่อง CSR ไว้ในวาระการดำเนินงานขององค์กร และสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาเชิงเศรษฐกิจ-สังคมที่ยั่งยืนในหมู่ประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งบทบาทของ CSR ในเสาของ ASCC นั้น ในท้ายที่สุด ก็จะต้องเดินควบคู่ไปกับการพัฒนาธุรกิจและเศรษฐกิจในเสาของ AEC กันอย่างแยกไม่ออก
อีกไม่ถึงสามปี ภาพของการขับเคลื่อน CSR ในหมู่ประเทศสมาชิกอาเซียน อาจจะเปลี่ยนโฉมหน้าไปจากปัจจุบัน การรั้งตำแหน่งผู้นำแถวหน้าทางธุรกิจในอาเซียน อาจจะเกิดขึ้นไม่ได้ หากไม่นำเรื่อง CSR เข้ามาอยู่ในสมการธุรกิจ และจัดวางกลยุทธื CSR ให้เป็นตัวแปรสำคัญในการเสริมสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขัน นอกเหนือจากตัวแปรอื่นๆ ในทางธุรกิจ...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
Subscribe to:
Posts (Atom)