ในการประชุมผู้นำอาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อเดือนตุลาคม 2546 ได้มีการร่วมลงนามในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียน ที่เรียกว่า ข้อตกลงบาหลี 2 (Bali Concord II) เห็นชอบให้อาเซียนรวมตัวกันเป็นชุมชนหรือประชาคมเดียวกันภายในปี 2563
ต่อมาในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 12 ที่เมืองเซบู ประเทศฟิลิปปินส์ เมื่อเดือนมกราคม 2550 ที่ประชุมผู้นำอาเซียนได้ตกลงร่นระยะเวลาการจัดตั้งประชาคมอาเซียนจากกำหนดเดิมในปี 2563 เป็นให้แล้วเสร็จภายในปี 2558
ประชาคมอาเซียนที่จะจัดตั้งขึ้น ประกอบด้วยสามเสาหลัก คือ ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Security Community: ASC) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community: ASCC)
ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASC) มุ่งให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติ มีระบบแก้ไขความขัดแย้งระหว่างกันได้ด้วยดี มีเสถียรภาพอย่างรอบด้าน มีกรอบความร่วมมือเพื่อรับมือกับภัยคุกคามความมั่นคงทั้งรูปแบบเดิมและรูปแบบใหม่ๆ เพื่อให้ประชาชนมีความปลอดภัยและมั่นคง
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) มุ่งให้เกิดการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจ และการอำนวยความสะดวกในการติดต่อค้าขายระหว่างกัน อันจะทำให้ภูมิภาคมีความเจริญมั่งคั่ง และสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่นๆ ได้ เพื่อความอยู่ดีกินดีของประชาชนในประเทศอาเซียน
ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASCC) มีเป้าหมายให้อาเซียนเป็นประชาคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง สังคมที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน ประชากรอาเซียนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีและมีการพัฒนาในทุกด้านเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ส่งเสริมการให้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน รวมทั้งส่งเสริมอัตลักษณ์ของอาเซียน
สำหรับการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรม หรือ ASCC อาเซียนได้จัดทำแผนงานการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community Blueprint) โดยที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2552 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ได้ให้การรับรองแผนงานฯ หรือพิมพ์เขียวฉบับดังกล่าว ซึ่งประกอบด้วยความร่วมมือใน 6 ด้าน ได้แก่ การพัฒนามนุษย์ การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม สิทธิและความยุติธรรมทางสังคม ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน และการลดช่องว่างทางการพัฒนา
ในพิมพ์เขียวด้านสิทธิและความยุติธรรมทางสังคม (Social Justice and Rights) ได้ระบุถึงมาตรการส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ (Promoting CSR) ที่มีเป้าหมายหลัก 2 ประการ คือ ผลักดันให้ภาคธุรกิจผนวกเอาเรื่อง CSR ไว้ในวาระการดำเนินงานขององค์กร และสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนในเชิงเศรษฐกิจ-สังคมในหมู่ประเทศสมาชิกอาเซียน
จะเห็นว่า เรื่อง CSR ได้ถูกบรรจุให้เป็นมาตรการหนึ่งในแผนงานการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน และมุ่งหวังให้ภาคธุรกิจมีบทบาทสำคัญในการนำ CSR ไปผนวกกับการดำเนินงานขององค์กรตามแนวทางที่เป็นมาตรฐานสากล ดังนั้น ภาคธุรกิจที่ต้องการขยายตลาดเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือต้องการเป็นผู้นำในภูมิภาคอาเซียน คงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องคำนึงถึงการพัฒนาเชิงเศรษฐกิจ-สังคมที่ยั่งยืนควบคู่กันจากนี้ไป
ใครที่สนใจรายละเอียดพิมพ์เขียวการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนที่กล่าวถึงเรื่อง CSR เอาไว้ สามารถดาวน์โหลดได้ที่ http://bit.ly/ASCCblueprint...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
Thursday, June 30, 2011
Thursday, June 16, 2011
ทำ CSR แบบมาตรฐานโลก ISO
องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (International Organization for Standardization: ISO) เป็นองค์กรอิสระซึ่งจัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.2490 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการกำหนดมาตรฐานระหว่างประเทศ (international standard) และกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง ปัจจุบัน ประกอบด้วยสมาชิก 163 ประเทศ และมีมาตรฐานที่ประกาศเผยแพร่แล้วกว่า 18,400 ฉบับ ครอบคลุมการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
ISO 26000 ได้ประมวลข้อแนะนำเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคม ที่มาจากคณะทำงานซึ่งประกอบด้วยตัวแทนผู้มีส่วนได้เสียจากภาคีต่างๆ มากที่สุดและกว้างขวางที่สุดเท่าที่เคยมีมา (จาก 99 ประเทศสมาชิกและ 42 องค์กรร่วมทำงาน) พัฒนาเป็นนิยาม ประเด็น และแนวปฏิบัติที่ดีสำหรับองค์กร ในการใช้เป็นเครื่องมือสนับสนุนการขับเคลื่อนความรับผิดชอบต่อสังคมจากเจตนาที่ดี (good intentions) ไปสู่ การกระทำที่ดี (good actions)
เนื้อหาในมาตรฐาน ISO 26000 ประกอบด้วยหลักการว่าด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม 7 ประการ คือ หลักความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ หลักความโปร่งใส หลักการปฏิบัติอย่างมีจริยธรรม หลักการเคารพถึงผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสีย หลักการเคารพต่อหลักนิติธรรม หลักการเคารพต่อหลักปฏิบัติที่เป็นบรรทัดฐานสากล และหลักการเคารพต่อสิทธิมนุษยชน
ส่วนขอบเขตของการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการที่ระบุไว้ในมาตรฐาน จะครอบคลุมใน 7 เรื่องหลัก ได้แก่ การกำกับดูแลองค์กร สิทธิมนุษยชน การปฏิบัติด้านแรงงาน สิ่งแวดล้อม การปฏิบัติดำเนินงานอย่างเป็นธรรม ประเด็นด้านผู้บริโภค การมีส่วนร่วมและพัฒนาชุมชน
สำหรับแนวทางการบูรณาการความรับผิดชอบต่อสังคมทั่วทั้งองค์กรมีอยู่ด้วยกัน 7 ส่วนสำคัญ ประกอบด้วย ความสัมพันธ์ของลักษณะกิจการกับความรับผิดชอบต่อสังคม ความเข้าใจเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ แนวปฏิบัติในการบูรณาการความรับผิดชอบต่อสังคมทั่วทั้งองค์กร การสื่อสารที่เกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคม การเพิ่มความน่าเชื่อถือในการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคม การทบทวนและปรับปรุงการปฏิบัติดำเนินงานขององค์กรที่เกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคม และการเข้าร่วมในกิจกรรมหรือความริเริ่มที่เกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคมโดยสมัครใจ
ทั้งนี้ องค์กรควรเริ่มจากการพิจารณาคุณลักษณะของความรับผิดชอบต่อสังคมและความสัมพันธ์กับการพัฒนาที่ยั่งยืน ทบทวนหลักการความรับผิดชอบต่อสังคมสำหรับนำไปดำเนินการควบคู่กับหลักการเฉพาะในแต่ละเรื่องหลัก
ในการวิเคราะห์เรื่องหลักและประเด็นความรับผิดชอบต่อสังคม รวมถึงการดำเนินการที่เกี่ยวข้องและการตอบสนองความคาดหวังนั้น องค์กรควรพิจารณาศึกษาวิธีการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมขั้นพื้นฐานใน 2 เรื่อง คือ การยอมรับในบทบาทความรับผิดชอบต่อสังคมภายใต้เขตอิทธิพลขององค์กร การระบุและการร่วมดำเนินงานกับผู้มีส่วนได้เสียของกิจการ
เมื่อองค์กรเข้าใจในหลักการ สามารถระบุเรื่องหลักและประเด็นความรับผิดชอบต่อสังคมที่มีนัยสำคัญและเกี่ยวเนื่องได้แล้ว องค์กรควรค้นหาวิธีในการผนวกหรือบูรณาการความรับผิดชอบต่อสังคมเข้าในกระบวนการตัดสินใจและกิจกรรมทั่วทั้งองค์กร
การประยุกต์ใช้มาตรฐาน ISO 26000 องค์กรควรคำนึงถึงความหลากหลายที่มีผลมาจากโครงสร้างองค์กร ประเด็นทางสังคม สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม การเมือง และกฎหมาย รวมทั้งความแตกต่างของเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ ควบคู่กับความสอดคล้องกับหลักปฏิบัติที่เป็นบรรทัดฐานสากลด้วย...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
ISO 26000 ได้ประมวลข้อแนะนำเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคม ที่มาจากคณะทำงานซึ่งประกอบด้วยตัวแทนผู้มีส่วนได้เสียจากภาคีต่างๆ มากที่สุดและกว้างขวางที่สุดเท่าที่เคยมีมา (จาก 99 ประเทศสมาชิกและ 42 องค์กรร่วมทำงาน) พัฒนาเป็นนิยาม ประเด็น และแนวปฏิบัติที่ดีสำหรับองค์กร ในการใช้เป็นเครื่องมือสนับสนุนการขับเคลื่อนความรับผิดชอบต่อสังคมจากเจตนาที่ดี (good intentions) ไปสู่ การกระทำที่ดี (good actions)
เนื้อหาในมาตรฐาน ISO 26000 ประกอบด้วยหลักการว่าด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม 7 ประการ คือ หลักความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ หลักความโปร่งใส หลักการปฏิบัติอย่างมีจริยธรรม หลักการเคารพถึงผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสีย หลักการเคารพต่อหลักนิติธรรม หลักการเคารพต่อหลักปฏิบัติที่เป็นบรรทัดฐานสากล และหลักการเคารพต่อสิทธิมนุษยชน
ส่วนขอบเขตของการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการที่ระบุไว้ในมาตรฐาน จะครอบคลุมใน 7 เรื่องหลัก ได้แก่ การกำกับดูแลองค์กร สิทธิมนุษยชน การปฏิบัติด้านแรงงาน สิ่งแวดล้อม การปฏิบัติดำเนินงานอย่างเป็นธรรม ประเด็นด้านผู้บริโภค การมีส่วนร่วมและพัฒนาชุมชน
สำหรับแนวทางการบูรณาการความรับผิดชอบต่อสังคมทั่วทั้งองค์กรมีอยู่ด้วยกัน 7 ส่วนสำคัญ ประกอบด้วย ความสัมพันธ์ของลักษณะกิจการกับความรับผิดชอบต่อสังคม ความเข้าใจเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ แนวปฏิบัติในการบูรณาการความรับผิดชอบต่อสังคมทั่วทั้งองค์กร การสื่อสารที่เกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคม การเพิ่มความน่าเชื่อถือในการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคม การทบทวนและปรับปรุงการปฏิบัติดำเนินงานขององค์กรที่เกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคม และการเข้าร่วมในกิจกรรมหรือความริเริ่มที่เกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคมโดยสมัครใจ
ทั้งนี้ องค์กรควรเริ่มจากการพิจารณาคุณลักษณะของความรับผิดชอบต่อสังคมและความสัมพันธ์กับการพัฒนาที่ยั่งยืน ทบทวนหลักการความรับผิดชอบต่อสังคมสำหรับนำไปดำเนินการควบคู่กับหลักการเฉพาะในแต่ละเรื่องหลัก
ในการวิเคราะห์เรื่องหลักและประเด็นความรับผิดชอบต่อสังคม รวมถึงการดำเนินการที่เกี่ยวข้องและการตอบสนองความคาดหวังนั้น องค์กรควรพิจารณาศึกษาวิธีการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมขั้นพื้นฐานใน 2 เรื่อง คือ การยอมรับในบทบาทความรับผิดชอบต่อสังคมภายใต้เขตอิทธิพลขององค์กร การระบุและการร่วมดำเนินงานกับผู้มีส่วนได้เสียของกิจการ
เมื่อองค์กรเข้าใจในหลักการ สามารถระบุเรื่องหลักและประเด็นความรับผิดชอบต่อสังคมที่มีนัยสำคัญและเกี่ยวเนื่องได้แล้ว องค์กรควรค้นหาวิธีในการผนวกหรือบูรณาการความรับผิดชอบต่อสังคมเข้าในกระบวนการตัดสินใจและกิจกรรมทั่วทั้งองค์กร
การประยุกต์ใช้มาตรฐาน ISO 26000 องค์กรควรคำนึงถึงความหลากหลายที่มีผลมาจากโครงสร้างองค์กร ประเด็นทางสังคม สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม การเมือง และกฎหมาย รวมทั้งความแตกต่างของเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ ควบคู่กับความสอดคล้องกับหลักปฏิบัติที่เป็นบรรทัดฐานสากลด้วย...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
Thursday, June 02, 2011
องค์กรได้อะไรจากการทำ ISO 26000
เรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม เป็นสิ่งที่องค์กรทั่วโลก รวมถึงผู้มีส่วนได้เสียขององค์กรต่างๆ รับรู้ว่ามีความจำเป็นและมีประโยชน์ จากการที่ส่งผลต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
ผลกระทบจากการดำเนินงานขององค์กรที่มีต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมที่อยู่รายรอบ ได้กลายเป็นตัวแปรสำคัญที่บ่งชี้ถึงสมรรถนะและขีดความสามารถที่องค์กรจะดำเนินงานได้ต่อเนื่องอย่างมีประสิทธิผล ความตระหนักที่เพิ่มขึ้นเหล่านี้สะท้อนถึงความจำเป็นที่จะต้องธำรงไว้ซึ่งสุขภาวะของระบบนิเวศ ความเสมอภาคทางสังคม และการกำกับดูแลองค์กรที่ดี ซึ่งจากนี้ ไปทุกๆ กิจกรรมขององค์กรจำต้องคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ ไปพร้อมๆ กับการถูกตรวจสอบอย่างใกล้ชิดจากผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่างๆ
องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (International Organization for Standardization: ISO) โดยคณะกรรมการด้านนโยบายผู้บริโภค จึงได้มีความคิดริเริ่มในการจัดทำร่างข้อแนะนำเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคม เมื่อปี 2544 และมีการประชุมภาคีผู้มีส่วนได้เสียในปี 2547 จนนำไปสู่การจัดตั้งคณะทำงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม (ISO/WG SR) ในปลายปีเดียวกัน เพื่อพัฒนาเป็นมาตรฐาน ISO 26000 และใช้เวลาร่างเกือบ 10 ปี ก่อนที่จะมีการประกาศเป็นมาตรฐานระหว่างประเทศเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
ISO 26000 เป็นมาตรฐานระหว่างประเทศ ที่ให้คำแนะนำเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคมแก่องค์กรทุกประเภททั้งในประเทศที่พัฒนาแล้วและในประเทศกำลังพัฒนา ในการสนองตอบความต้องการของสังคมที่ให้ความสำคัญเพิ่มขึ้น กับการประกอบการอย่างรับผิดชอบต่อสังคม
ในมาตรฐาน ISO 26000 ประกอบด้วยข้อแนะนำที่ให้หน่วยงานนำไปปฏิบัติโดยสมัครใจ มิใช่ข้อกำหนด (requirements) ดังเช่นที่ปรากฏในมาตรฐานการรับรอง อาทิ ISO 9001 หรือ ISO 14001 ด้วยเหตุนี้ ISO 26000 จึงมิใช่มาตรฐานสำหรับนำไปใช้ หรือนำมาพัฒนาเป็นข้อกำหนดอ้างอิงเพื่อการรับรอง (certification)
มาตรฐาน ISO 26000 นั้น มีจุดประสงค์ที่ต้องการเกื้อหนุนองค์กรเข้ามีส่วนร่วมสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน มีเจตนาที่จะยุยงส่งเสริมให้องค์กรดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมมากกว่าข้อกำหนดทางกฎหมาย ด้วยตระหนักว่าการปฏิบัติตามกฎหมายถือเป็นหน้าที่ขั้นพื้นฐานของกิจการและเป็นส่วนที่จำเป็นของความรับผิดชอบต่อสังคม นอกจากนี้ยังมีความต้องการที่จะส่งเสริมให้เกิดความเข้าใจเดียวกันในเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม และใช้เป็นส่วนเติมเต็ม มิใช่เพื่อนำไปใช้ทดแทนเครื่องมือและความริเริ่มอื่นๆ ในด้านความรับผิดชอบต่อสังคม
การนำ ISO 26000 ไปใช้จะช่วยสร้างให้เกิดทั้งการรับรู้และสมรรถนะการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร รวมทั้งการเสริมสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน ชื่อเสียง ความสามารถในการดึงดูดและเหนี่ยวรั้งแรงงาน / สมาชิก ลูกค้า / ผู้ใช้ ให้คงอยู่กับองค์กร การธำรงรักษาขวัญกำลังใจ ข้อผูกพัน และผลิตภาพของพนักงาน ทัศนะที่เป็นบวกของผู้ลงทุน เจ้าของ ผู้บริจาค ผู้อุปถัมภ์ และแวดวงการเงิน ตลอดจนความสัมพันธ์อันดีกับบริษัท ภาครัฐ สื่อ ผู้ส่งมอบ ผู้ร่วมงาน ลูกค้า และชุมชนที่สถานประกอบการตั้งอยู่
เหนือสิ่งอื่นใด การดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมนั้น พุ่งเป้าไปที่การสร้างผลได้สูงสุดจากความทุ่มเทขององค์กร อันนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
ผลกระทบจากการดำเนินงานขององค์กรที่มีต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมที่อยู่รายรอบ ได้กลายเป็นตัวแปรสำคัญที่บ่งชี้ถึงสมรรถนะและขีดความสามารถที่องค์กรจะดำเนินงานได้ต่อเนื่องอย่างมีประสิทธิผล ความตระหนักที่เพิ่มขึ้นเหล่านี้สะท้อนถึงความจำเป็นที่จะต้องธำรงไว้ซึ่งสุขภาวะของระบบนิเวศ ความเสมอภาคทางสังคม และการกำกับดูแลองค์กรที่ดี ซึ่งจากนี้ ไปทุกๆ กิจกรรมขององค์กรจำต้องคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ ไปพร้อมๆ กับการถูกตรวจสอบอย่างใกล้ชิดจากผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่างๆ
องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (International Organization for Standardization: ISO) โดยคณะกรรมการด้านนโยบายผู้บริโภค จึงได้มีความคิดริเริ่มในการจัดทำร่างข้อแนะนำเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคม เมื่อปี 2544 และมีการประชุมภาคีผู้มีส่วนได้เสียในปี 2547 จนนำไปสู่การจัดตั้งคณะทำงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม (ISO/WG SR) ในปลายปีเดียวกัน เพื่อพัฒนาเป็นมาตรฐาน ISO 26000 และใช้เวลาร่างเกือบ 10 ปี ก่อนที่จะมีการประกาศเป็นมาตรฐานระหว่างประเทศเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
ISO 26000 เป็นมาตรฐานระหว่างประเทศ ที่ให้คำแนะนำเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคมแก่องค์กรทุกประเภททั้งในประเทศที่พัฒนาแล้วและในประเทศกำลังพัฒนา ในการสนองตอบความต้องการของสังคมที่ให้ความสำคัญเพิ่มขึ้น กับการประกอบการอย่างรับผิดชอบต่อสังคม
ในมาตรฐาน ISO 26000 ประกอบด้วยข้อแนะนำที่ให้หน่วยงานนำไปปฏิบัติโดยสมัครใจ มิใช่ข้อกำหนด (requirements) ดังเช่นที่ปรากฏในมาตรฐานการรับรอง อาทิ ISO 9001 หรือ ISO 14001 ด้วยเหตุนี้ ISO 26000 จึงมิใช่มาตรฐานสำหรับนำไปใช้ หรือนำมาพัฒนาเป็นข้อกำหนดอ้างอิงเพื่อการรับรอง (certification)
มาตรฐาน ISO 26000 นั้น มีจุดประสงค์ที่ต้องการเกื้อหนุนองค์กรเข้ามีส่วนร่วมสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน มีเจตนาที่จะยุยงส่งเสริมให้องค์กรดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมมากกว่าข้อกำหนดทางกฎหมาย ด้วยตระหนักว่าการปฏิบัติตามกฎหมายถือเป็นหน้าที่ขั้นพื้นฐานของกิจการและเป็นส่วนที่จำเป็นของความรับผิดชอบต่อสังคม นอกจากนี้ยังมีความต้องการที่จะส่งเสริมให้เกิดความเข้าใจเดียวกันในเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม และใช้เป็นส่วนเติมเต็ม มิใช่เพื่อนำไปใช้ทดแทนเครื่องมือและความริเริ่มอื่นๆ ในด้านความรับผิดชอบต่อสังคม
การนำ ISO 26000 ไปใช้จะช่วยสร้างให้เกิดทั้งการรับรู้และสมรรถนะการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร รวมทั้งการเสริมสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน ชื่อเสียง ความสามารถในการดึงดูดและเหนี่ยวรั้งแรงงาน / สมาชิก ลูกค้า / ผู้ใช้ ให้คงอยู่กับองค์กร การธำรงรักษาขวัญกำลังใจ ข้อผูกพัน และผลิตภาพของพนักงาน ทัศนะที่เป็นบวกของผู้ลงทุน เจ้าของ ผู้บริจาค ผู้อุปถัมภ์ และแวดวงการเงิน ตลอดจนความสัมพันธ์อันดีกับบริษัท ภาครัฐ สื่อ ผู้ส่งมอบ ผู้ร่วมงาน ลูกค้า และชุมชนที่สถานประกอบการตั้งอยู่
เหนือสิ่งอื่นใด การดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมนั้น พุ่งเป้าไปที่การสร้างผลได้สูงสุดจากความทุ่มเทขององค์กร อันนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
Subscribe to:
Posts (Atom)