สัปดาห์ที่ผ่านมา ผมต้องไปบรรยายที่คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ ในวิชาการสื่อสารทางธุรกิจ หัวข้อเรื่อง “แนวคิดและการทำแผนธุรกิจเพื่อสังคม” ซึ่งก็ต้องบอกว่า ผมมิได้มีคอนเทนต์เรื่องการจัดทำแผนธุรกิจแบบที่เป็นเรื่องเป็นราวจะมาถ่ายทอดได้ จะเกี่ยวบ้างก็ตรงที่เป็นเรื่องธุรกิจเพื่อสังคม ซึ่งพอจะบรรยายได้ เพราะมีงานที่ขับเคลื่อนแนวคิด Social Business ของ ศ.มูฮัมหมัด ยูนุส กับภาคเอกชนในประเทศไทย
ไปลงมือค้นในอินเทอร์เน็ตเรื่องการจัดทำแผนธุรกิจเพื่อสังคม เผื่อจะสามารถหาวัตถุดิบมาประกอบร่างได้ ก็ไม่มีอันไหนที่พอจะอ้างอิงได้ เลยนึกถึงเครื่องมือชิ้นหนึ่งที่ชื่อว่า Business Model Canvas (BMC) ด้วยความที่เคยได้ยินมาบ้าง แต่ไม่เคยศึกษาจริงจัง มาผ่านหูอีกครั้งเมื่อสัปดาห์ก่อนหน้า ตอนที่ไปให้ความเห็นงานกลุ่มในหลักสูตร LFC (Leadership for Change) ของมูลนิธิสัมมาชีพ จึงได้ถือโอกาสเข้าไปค้นคว้าแนวคิดของเครื่องมือ BMC นี้ เผื่อจะนำมาใช้ในการบรรยายได้
ท้ายสุด มาลงเอยตรงที่ต้องคิดเครื่องมือขึ้นใหม่ โดยใช้เลย์เอาต์ของ BMC เป็นกรอบ เพราะตัว BMC มีฐานคิดที่มุ่งเน้นเรื่องลูกค้าเป็นโจทย์หลัก แต่ขาดองค์ประกอบที่เป็นมิติทางสังคม ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องผิดปกติ เนื่องจากตัวเครื่องมือถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้พัฒนาตัวแบบทางธุรกิจที่เป็นไปเพื่อธุรกิจ
หน้าตาของเครื่องมือที่คิดขึ้นใหม่ในชื่อว่า Social Business Model Canvas ขอเรียกเป็นภาษาไทยว่า “แผ่นขึงตัวแบบธุรกิจเพื่อสังคม” แบ่งออกเป็น 7 กล่อง ประกอบด้วย ความมุ่งประสงค์ (Purpose) กระบวนการ (Processes) ผลิตภัณฑ์ (Products) กำไร (Profit) ผู้คนและโลก (People and Planet) เครื่องจับฉวยตลาด (Market Handles) และเครื่องกีดขวางตลาด (Market Hurdles)
ในกล่องที่เป็นความมุ่งประสงค์ หรือ Purpose กิจการต้องตอบคำถามให้ได้ว่า เหตุใดเราจึงยังคงอยู่ (Why do we exist?) หรือธุรกิจเราอยู่เพื่อทำสิ่งใดที่เป็นความมุ่งประสงค์หลัก ใช่การแสวงหากำไรสูงสุดหรือไม่ หรือเป็นการสร้างคุณค่าทางเศรษฐกิจไปพร้อมกับการสร้างคุณค่าร่วมให้แก่สังคม และคุณค่าที่กิจการจะส่งมอบมีความสอดคล้องกับสินทรัพย์และความเชี่ยวชาญที่มีอยู่ในองค์กรมากน้อยเพียงใด โดยปัจจัยสนับสนุนในส่วนนี้ ได้แก่ ทรัพยากรและทุน (Resources/Capital) 6 ด้าน คือ ด้านการเงิน ด้านการผลิต ด้าน(ทรัพย์สินทาง)ปัญญา ด้าน(ทรัพยากร)มนุษย์ ด้านสังคมและความสัมพันธ์ และด้าน(ทรัพยากร)ธรรมชาติ
ในกล่องที่เป็นกระบวนการ หรือ Processes กิจการใช้เพื่อพิจารณาวิธีในการดำเนินงานระหว่างทางเลือก 3 แบบหลัก ได้แก่ แบบ OEM (Original Equipment Manufacturer) เป็นการผลิตชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์ให้บริษัทอื่นประกอบเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อจำหน่าย แบบ ODM (Original Design Manufacturer) เป็นการออกแบบ ผลิตและประกอบผลิตภัณฑ์ให้บริษัทผู้เป็นเจ้าของตราสินค้าเพื่อจำหน่าย โดยอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์หรือสิทธิบัตรการออกแบบของตน และแบบ OBM (Original Brand Manufacturer) เป็นการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ (ที่อาจจ้างบริษัทอื่นผลิตหรือออกแบบ) ภายใต้ตราสินค้าของตนเอง โดยปัจจัยสนับสนุนในส่วนนี้ ได้แก่ ผู้ส่งมอบ (Suppliers) คู่ค้าหรือหุ้นส่วนการค้า (Partners) ในห่วงโซ่ธุรกิจที่มีคุณภาพและเหมาะสมกับลักษณะธุรกิจ
ในกล่องที่เป็นผลิตภัณฑ์ หรือ Products กิจการใช้เพื่อค้นหาสินค้าและบริการหลักในธุรกิจ สินค้าและบริการเสริม สายผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวเนื่อง รวมทั้งผลผลิตพลอยได้ (By-product) โดยปัจจัยสนับสนุนในส่วนนี้ ได้แก่ ปัจจัยด้านช่องทางการจำหน่าย (Channels) ตั้งแต่ ช่องทางเดี่ยว (Single-channel) ที่มีจุดสัมผัส (Touch Point) ของการบริการแหล่งเดียว ช่องทางประสม (Multi-channel) ที่มีหลายจุดสัมผัสให้ลูกค้าได้เข้าถึงบริการ แต่ยังไม่เชื่อมโยงระหว่างกัน ช่องทางไขว้ (Cross-channel) ที่เชื่อมโยงข้อมูลลูกค้าข้ามช่องทางได้ แต่บริการยังมีลักษณะเป็นเอกเทศในแต่ละช่องทาง และช่องทางสารพัน (Omni-channel) ที่ทั้งการเชื่อมโยงข้อมูลลูกค้าและบริการในแต่ละช่องทางสอดประสานกันอย่างมีกลยุทธ์ รวมถึงปัจจัยด้านแพลตฟอร์ม (Platforms) โดยเฉพาะในส่วนที่เป็นดิจิทัลแพลตฟอร์ม (อาทิ เฟซบุ๊ก ไลน์ ไอจี ยูทูบ ฯลฯ)
ในกล่องที่เป็นกำไร หรือ Profit กิจการต้องตอบคำถามให้ได้ว่า รายได้มาจากแหล่งไหน (Where does revenue come from?) เพราะกิจการจะมีกำไร ก็ต่อเมื่อมีรายได้สูงกว่ารายจ่าย การระบุแหล่งที่มาของรายได้ จึงเป็นเรื่องสำคัญ ตัวอย่างของแหล่งรายได้ อาทิ ค่าขายสินค้า ค่าใช้บริการ ค่าสมาชิก ค่าเช่า ค่าสิทธิ ค่าตอบแทนการให้ใช้สิทธิ ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า ค่าโฆษณา ฯลฯ รวมถึงการกำหนดราคาที่เป็นได้ทั้งแบบตายตัว (Fixed Pricing) หรือแบบที่เปลี่ยนแปลงตามสภาวการณ์ (Dynamic Pricing) โดยปัจจัยสนับสนุนในส่วนนี้ ได้แก่ ความประทับใจและประสบการณ์ (Impressions/Experiences) ของลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย
ในกล่องที่เป็นผู้คนและโลก หรือ People and Planet กิจการต้องระบุให้ได้ว่า การดำเนินธุรกิจมีส่วนในการสร้างผลกระทบ (ทางบวกและทางลบ) ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างไร และสอดรับกับความมุ่งประสงค์ (Purpose) ในกล่องแรกมากน้อยเพียงใด โดยปัจจัยสนับสนุนในส่วนนี้ ได้แก่ รูปแบบของการมีส่วนช่วยเหลือและความเสี่ยง (Contributions/Risks) ที่มีต่อผู้คนและโลก
ในกล่องที่เป็นเครื่องจับฉวยตลาด (Market Handles) จะเป็นการวิเคราะห์ปัจจัยภายใน คือ ความสามารถของกิจการต่อโอกาสตลาดใน 4 รูปแบบ ได้แก่ การใช้คุณลักษณะของความ “ถูกกว่า-คุ้มกว่า-ดีกว่า-เหนือกว่า” ในการช่วงชิงส่วนแบ่งตลาด ส่วนในกล่องที่เป็นเครื่องกีดขวางตลาด (Market Hurdles) จะเป็นการวิเคราะห์ปัจจัยภายนอก คือ อุปสรรคในการเข้าถึงตลาดจาก 4 ปัจจัยสำคัญ ได้แก่ คู่แข่ง (Competitors) สินค้าทดแทน (Substitutes) ผู้เล่นหน้าใหม่ (New Entrants) และความเพิกเฉยของผู้ซื้อ (Negligence of Buyers)
เลยขออนุญาตนำเอาเครื่องมือ Social Business Model Canvas มาแชร์ให้กับผู้ประกอบการสังคม หรือองค์กรธุรกิจทั่วไป ที่กำลังจะผันตัวเองไปในบทบาทที่เป็นการสร้างธุรกิจเพื่อสังคม ภายในเครือ ให้ได้ประโยชน์กันอย่างถ้วนหน้า ไม่มากก็น้อยครับ
จากบทความ 'Sustainpreneur' ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ [Archived]
Sunday, October 27, 2019
Sunday, October 13, 2019
คนบนฟ้า
วันนี้เป็นวันครบรอบปีที่ 3 เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ขอน้อมรำลึกถึงพระองค์ที่ทรงสถิตอยู่บนฟากฟ้า นำสิ่งที่ข้าพระพุทธเจ้าได้ดำเนินการและอานิสงส์จากการทำงานตามบทบาทหน้าที่ที่ได้รับ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มารายงานถ่ายทอดไว้ ณ ที่นี้
เริ่มจากการเป็นตัวแทนจากประเทศไทย นำเสนอบทความในหัวข้อ “การดำเนินธุรกิจตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงในประเทศไทย” ในการประชุม New Asian Leaders’ Retreat ให้แก่ผู้เข้าร่วมประชุม 54 คนจาก 12 ประเทศ ณ กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ เมื่อปี พ.ศ.2546 จัดโดย World Economic Forum (WEF)
งานแรกที่รับหน้าที่เป็นหัวหน้าโครงการ เป็นการศึกษาและจัดทำฐานข้อมูลกลุ่ม องค์กร พื้นที่ ที่ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิต (พ.ศ. 2547 – 2550) ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ก่อให้เกิดเป็นแหล่งข้อมูลแรกที่ได้พยายามรวบรวมข้อมูลกลุ่ม องค์กร พื้นที่ ที่ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิต เพื่อประโยชน์ในการศึกษา วิจัย ค้นคว้า และการเรียนรู้ ขยายผลให้เกิดกระบวนการขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรมในวงกว้าง ตกผลึกเป็นเกณฑ์ความเกี่ยวเนื่องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงใน 3 ระดับ ได้แก่ เข้าข่าย-เข้าใจ-เข้าถึง คือ จากระดับที่มีวิถีชีวิตที่สอดคล้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยธรรมชาติ (เข้าข่าย) สู่ระดับที่มีการศึกษาและทำความเข้าใจปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (เข้าใจ) และปฏิบัติตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างสมบูรณ์แบบ จนสามารถนำมาเป็นกรณีศึกษาตัวอย่างได้ (เข้าถึง)
ต่อมาเป็นการวิจัยและพัฒนาเครื่องมือและเครือข่ายสนับสนุนการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในภาคเมือง โดยมีเครื่องมือและเครือข่ายการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น 2 ส่วน ได้แก่ บัญชีแก้มลิง เพื่อช่วยชะลอการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นและแปลงกลับมาเป็นเงินออม โดยเน้นการบันทึกและบริหารเงินในฝั่งรายจ่าย เพราะปัญหาหนี้สินส่วนใหญ่ เกิดจากการขาดวินัยในการใช้จ่าย (แตกต่างจากบัญชีครัวเรือน ที่มีการบันทึกและบริหารเงินทั้งฝั่งรายรับและรายจ่าย) และโมโซไซตี้ หรือสังคมพอประมาณ (MOderation SOciety) ที่ย่อสั้นๆ ว่า “โมโซ” สำหรับผู้ที่ต้องการปรับวิถีชีวิตให้สอดคล้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยคติพจน์ "เน้นสติ เหนือสตางค์"
ในปี พ.ศ. 2550 ได้มีการผลักดันให้เกิดเครือข่ายความเข้าใจเศรษฐกิจพอเพียงระหว่างประเทศเป็นครั้งแรก ภายใต้โครงการจัดทำแผนที่เดินทางเศรษฐกิจพอเพียง (Road map) โดยใช้วิธีศึกษาและแลกเปลี่ยนแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงกับแนวคิดที่คล้ายกันในต่างประเทศ เช่น ธนาคารประชาชน (Grameen Bank) ของบังกลาเทศ ขบวนการสรรโวทัยของศรีลังกา ระบบเศรษฐกิจแบบคานธี (Gandhian Economics) เศรษฐกิจที่ว่าด้วยความสุข (Economics of Happiness) ของภูฏาน เศรษฐกิจอิสลาม (Islamic Economics) ของมาเลเซียและอินโดนีเซีย เศรษฐกิจสมานฉันท์ (Solidarity Economy) ของประเทศในแถบละตินอเมริกา เศรษฐศาสตร์สีเขียว (Green Economics) ในยุโรป และเศรษฐศาสตร์มนุษย์นิยม (Humanistic Economics) ตามแนวคิดของ Schumacher ฯลฯ
จากนั้นเป็นการศึกษาวิจัยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในฐานะเครื่องมือสำหรับการวางแผนในภาคธุรกิจเอกชน เพื่อให้ได้มาซึ่งกรอบแนวคิดในการจัดทำเครื่องมือทางธุรกิจที่สอดคล้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อาทิ แผนที่กลยุทธ์ความพอเพียง (Sufficiency Strategy Map) และผังการปรับวางระดับความพอเพียง (Sufficiency Alignment Map) ซึ่งได้ถูกนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยประกอบการจัดทำรายงานการพัฒนาคนของประเทศไทย เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาคน (Sufficiency Economy and Human Development) ของสำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) เมื่อปี พ.ศ.2550
ตามมาด้วยการวิจัยเพื่อการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในภาคธุรกิจ ระยะที่ 1 (พ.ศ.2551) และระยะที่ 2 (พ.ศ.2554-2555) ซึ่งเป็นการศึกษาหลักการและรูปแบบการดำเนินงานขององค์กรธุรกิจที่กำลังดำเนินกิจการ เพื่อแสวงหาความสำเร็จอย่างยั่งยืนในกรอบของความพอประมาณ ความมีเหตุผล การมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี และคุณธรรมในการประกอบการ มีเครื่องมือที่เกิดขึ้นจากโครงการ 2 ชิ้น ได้แก่ วุฒิระดับความพอเพียง (Sufficiency Maturity Level) 5 ระดับ สำหรับใช้ประเมินระดับการดำเนินงานที่สอดคล้องกับเศรษฐกิจพอเพียงขององค์กรธุรกิจ เพื่อใช้ยกระดับจาก “วิธี” การปฏิบัติดำเนินงาน ให้กลายเป็น “วิถี” แห่งการดำเนินธุรกิจตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และ กรอบการจัดทำรายงานความเป็นเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy Reporting Framework) สำหรับองค์กรธุรกิจใน 3 ระดับ จำแนกตามเศรษฐกิจพอเพียงแบบพื้นฐานที่เน้นถึงการดำรงอยู่ของกิจการหรือความอยู่รอดในธุรกิจ (Competence) เศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้าที่เน้นถึงการรวมกลุ่มในรูปแบบต่างๆ (Cooperation) และเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้าที่เน้นการทำงานร่วมกันในลักษณะของเครือข่าย (Collaboration)
ผลจากการศึกษาและเครื่องมือที่ได้จากการวิจัยส่วนใหญ่ ได้ถูกบรรจุไว้ในหนังสือ 3 เล่ม ได้แก่ เศรษฐกิจพอเพียงหมายถึงอะไร เศรษฐกิจพอเพียงกับการดำเนินธุรกิจ และเศรษฐกิจพอเพียงในทัศนะโลก ซึ่งสามารถขอรับได้ที่สถาบันไทยพัฒน์ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ หรือดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://sufficiencyeconomy.com
ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณฯ ข้าพระพุทธเจ้า จะขอตั้งมั่นในเจตจำนงอันประกอบด้วยธรรม ยึดมั่นในการปฏิบัติดี และสร้างสรรค์คุณประโยชน์ให้แก่สังคมและส่วนรวม สานพระราชปณิธานของคนบนฟ้าสืบไป
จากบทความ 'Sustainpreneur' ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ [Archived]
เริ่มจากการเป็นตัวแทนจากประเทศไทย นำเสนอบทความในหัวข้อ “การดำเนินธุรกิจตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงในประเทศไทย” ในการประชุม New Asian Leaders’ Retreat ให้แก่ผู้เข้าร่วมประชุม 54 คนจาก 12 ประเทศ ณ กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ เมื่อปี พ.ศ.2546 จัดโดย World Economic Forum (WEF)
งานแรกที่รับหน้าที่เป็นหัวหน้าโครงการ เป็นการศึกษาและจัดทำฐานข้อมูลกลุ่ม องค์กร พื้นที่ ที่ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิต (พ.ศ. 2547 – 2550) ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ก่อให้เกิดเป็นแหล่งข้อมูลแรกที่ได้พยายามรวบรวมข้อมูลกลุ่ม องค์กร พื้นที่ ที่ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิต เพื่อประโยชน์ในการศึกษา วิจัย ค้นคว้า และการเรียนรู้ ขยายผลให้เกิดกระบวนการขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรมในวงกว้าง ตกผลึกเป็นเกณฑ์ความเกี่ยวเนื่องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงใน 3 ระดับ ได้แก่ เข้าข่าย-เข้าใจ-เข้าถึง คือ จากระดับที่มีวิถีชีวิตที่สอดคล้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยธรรมชาติ (เข้าข่าย) สู่ระดับที่มีการศึกษาและทำความเข้าใจปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (เข้าใจ) และปฏิบัติตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างสมบูรณ์แบบ จนสามารถนำมาเป็นกรณีศึกษาตัวอย่างได้ (เข้าถึง)
ต่อมาเป็นการวิจัยและพัฒนาเครื่องมือและเครือข่ายสนับสนุนการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในภาคเมือง โดยมีเครื่องมือและเครือข่ายการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น 2 ส่วน ได้แก่ บัญชีแก้มลิง เพื่อช่วยชะลอการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นและแปลงกลับมาเป็นเงินออม โดยเน้นการบันทึกและบริหารเงินในฝั่งรายจ่าย เพราะปัญหาหนี้สินส่วนใหญ่ เกิดจากการขาดวินัยในการใช้จ่าย (แตกต่างจากบัญชีครัวเรือน ที่มีการบันทึกและบริหารเงินทั้งฝั่งรายรับและรายจ่าย) และโมโซไซตี้ หรือสังคมพอประมาณ (MOderation SOciety) ที่ย่อสั้นๆ ว่า “โมโซ” สำหรับผู้ที่ต้องการปรับวิถีชีวิตให้สอดคล้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยคติพจน์ "เน้นสติ เหนือสตางค์"
ในปี พ.ศ. 2550 ได้มีการผลักดันให้เกิดเครือข่ายความเข้าใจเศรษฐกิจพอเพียงระหว่างประเทศเป็นครั้งแรก ภายใต้โครงการจัดทำแผนที่เดินทางเศรษฐกิจพอเพียง (Road map) โดยใช้วิธีศึกษาและแลกเปลี่ยนแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงกับแนวคิดที่คล้ายกันในต่างประเทศ เช่น ธนาคารประชาชน (Grameen Bank) ของบังกลาเทศ ขบวนการสรรโวทัยของศรีลังกา ระบบเศรษฐกิจแบบคานธี (Gandhian Economics) เศรษฐกิจที่ว่าด้วยความสุข (Economics of Happiness) ของภูฏาน เศรษฐกิจอิสลาม (Islamic Economics) ของมาเลเซียและอินโดนีเซีย เศรษฐกิจสมานฉันท์ (Solidarity Economy) ของประเทศในแถบละตินอเมริกา เศรษฐศาสตร์สีเขียว (Green Economics) ในยุโรป และเศรษฐศาสตร์มนุษย์นิยม (Humanistic Economics) ตามแนวคิดของ Schumacher ฯลฯ
จากนั้นเป็นการศึกษาวิจัยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในฐานะเครื่องมือสำหรับการวางแผนในภาคธุรกิจเอกชน เพื่อให้ได้มาซึ่งกรอบแนวคิดในการจัดทำเครื่องมือทางธุรกิจที่สอดคล้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อาทิ แผนที่กลยุทธ์ความพอเพียง (Sufficiency Strategy Map) และผังการปรับวางระดับความพอเพียง (Sufficiency Alignment Map) ซึ่งได้ถูกนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยประกอบการจัดทำรายงานการพัฒนาคนของประเทศไทย เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาคน (Sufficiency Economy and Human Development) ของสำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) เมื่อปี พ.ศ.2550
ตามมาด้วยการวิจัยเพื่อการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในภาคธุรกิจ ระยะที่ 1 (พ.ศ.2551) และระยะที่ 2 (พ.ศ.2554-2555) ซึ่งเป็นการศึกษาหลักการและรูปแบบการดำเนินงานขององค์กรธุรกิจที่กำลังดำเนินกิจการ เพื่อแสวงหาความสำเร็จอย่างยั่งยืนในกรอบของความพอประมาณ ความมีเหตุผล การมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี และคุณธรรมในการประกอบการ มีเครื่องมือที่เกิดขึ้นจากโครงการ 2 ชิ้น ได้แก่ วุฒิระดับความพอเพียง (Sufficiency Maturity Level) 5 ระดับ สำหรับใช้ประเมินระดับการดำเนินงานที่สอดคล้องกับเศรษฐกิจพอเพียงขององค์กรธุรกิจ เพื่อใช้ยกระดับจาก “วิธี” การปฏิบัติดำเนินงาน ให้กลายเป็น “วิถี” แห่งการดำเนินธุรกิจตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และ กรอบการจัดทำรายงานความเป็นเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy Reporting Framework) สำหรับองค์กรธุรกิจใน 3 ระดับ จำแนกตามเศรษฐกิจพอเพียงแบบพื้นฐานที่เน้นถึงการดำรงอยู่ของกิจการหรือความอยู่รอดในธุรกิจ (Competence) เศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้าที่เน้นถึงการรวมกลุ่มในรูปแบบต่างๆ (Cooperation) และเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้าที่เน้นการทำงานร่วมกันในลักษณะของเครือข่าย (Collaboration)
ผลจากการศึกษาและเครื่องมือที่ได้จากการวิจัยส่วนใหญ่ ได้ถูกบรรจุไว้ในหนังสือ 3 เล่ม ได้แก่ เศรษฐกิจพอเพียงหมายถึงอะไร เศรษฐกิจพอเพียงกับการดำเนินธุรกิจ และเศรษฐกิจพอเพียงในทัศนะโลก ซึ่งสามารถขอรับได้ที่สถาบันไทยพัฒน์ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ หรือดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://sufficiencyeconomy.com
ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณฯ ข้าพระพุทธเจ้า จะขอตั้งมั่นในเจตจำนงอันประกอบด้วยธรรม ยึดมั่นในการปฏิบัติดี และสร้างสรรค์คุณประโยชน์ให้แก่สังคมและส่วนรวม สานพระราชปณิธานของคนบนฟ้าสืบไป
จากบทความ 'Sustainpreneur' ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ [Archived]
Subscribe to:
Posts (Atom)