Saturday, April 24, 2021

ธุรกิจเตรียมรับแรงกระแทกใหญ่ !

การระบาดของโควิดระลอกใหม่ ที่กำลังเกิดขึ้นในบ้านเราขณะนี้ มีความเป็นไปได้ว่า จะทิ้งผลกระทบทางเศรษฐกิจระลอกใหม่ที่รุนแรงกว่าครั้งก่อนหน้า

ประสบการณ์จากการรับมือกับการระบาดครั้งก่อน มิได้เป็นตัวช่วยในการเผชิญกับการระบาดรอบนี้มากเท่าใดนัก

ในการระบาดครั้งแรก เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2563 การตื่นตัวของทุกภาคส่วน และการพร้อมใจกันล็อกดาวน์ตัวเองของประชาชน เป็นเงื่อนไขสำคัญที่ทำให้สถานการณ์ไม่ขยายวง อยู่ในวิสัยที่ทรัพยากรและบุคลากรทางการแพทย์ดูแลรักษาได้

ส่วนการระบาดรอบใหม่ครั้งที่สองในเดือนธันวาคม 2563 มีการล็อกดาวน์พื้นที่เสี่ยงเป็นรายจังหวัด การจำกัดการเดินทางเข้าออกพื้นที่เสี่ยง ทำให้สถานการณ์ไม่ลุกลาม และสามารถดูแลควบคุมการแพร่กระจายได้

สำหรับการระบาดในรอบนี้ ไม่มีการล็อกดาวน์ จึงยากต่อการควบคุมการแพร่กระจายจากผู้ติดเชื้อซึ่งไม่มีการแสดงอาการ จนตัวเลขของผู้ติดเชื้อใหม่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและเกิดขึ้นในวงกว้าง ซึ่งกำลังส่งผลกระทบต่อความเพียงพอและความทั่วถึงทางทรัพยากรและบุคลากรทางการแพทย์ที่จะให้การดูแลรักษาอย่างทันท่วงที

การชั่งน้ำหนักระหว่างการล็อกดาวน์กับการเปิดให้มีการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้สำหรับการบริหารจัดการในภาพรวม โดยทุกประเทศที่เผชิญกับการระบาด ต่างก็ต้องประเมินทางเลือกเพื่อให้ได้ผลรวมที่ดีที่สุดภายใต้เงื่อนไขในขณะนั้น

สิ่งที่ภาคธุรกิจ ในฐานะผู้ผลิตและผู้ให้บริการในระบบเศรษฐกิจ จำเป็นต้องมีในขณะนี้ คือ ภาวะพร้อมผัน (Resilience) หมายถึง กิจการยังมีขีดความสามารถที่จะดำเนินงานต่อไป ไม่ว่าสถานการณ์จะพัฒนาไปในทิศทางใด

ขอขยายความคำว่า ขีดความสามารถที่จะดำเนินงานต่อไป ในบริบทนี้ ครอบคลุมทั้งการดำเนินงานในรูปแบบเดิม และการที่กิจการต้องปรับตัวไปสู่การดำเนินงานในรูปแบบใหม่

ตัวอย่างแรก ในช่วงเกิดสถานการณ์ กิจการมีการประคองตัวและยังคงอยู่ได้ โดยหากสถานการณ์คืนสู่ภาวะปกติ กิจการสามารถกลับมาขายสินค้าหรือให้บริการ สร้างรายได้ ต่อเนื่องดังเดิม กรณีนี้เป็นระดับต่ำสุดของภาวะพร้อมผัน เนื่องจากกิจการไม่ได้มีการปรับตัวจากเดิมเท่าใดนัก

ตัวอย่างต่อมา แม้สถานการณ์ยังไม่กลับมาสู่ภาวะปกติ แต่กิจการสามารถสร้างรายได้จากลูกค้ากลุ่มเดิม (และกลุ่มใหม่) ด้วยช่องทางใหม่ๆ เช่น การใช้ช่องทางออนไลน์รับคำสั่งซื้อ และบริการจัดส่งสินค้าถึงมือ กรณีนี้เป็นการปรับตัวของกิจการที่มีระดับของภาวะพร้อมผันที่ดีกว่ากรณีแรก เป็นการดำเนินธุรกิจเดิมด้วยช่องทางใหม่ โดยไม่รอให้สถานการณ์ฟื้นตัว

สำหรับกิจการที่มีโอกาสในการแสวงหารายได้จากธุรกิจใหม่ ในช่วงสถานการณ์ ถือว่ามีระดับของภาวะพร้อมผันสูงกว่าทุกกรณี เพราะแม้ธุรกิจเดิมจะได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ แต่กิจการสามารถปรับตัวไปสู่การดำเนินธุรกิจใหม่ที่สร้างรายได้ขึ้นมาทดแทนธุรกิจเดิมได้

ในความเป็นจริง จะมีกิจการจำนวนไม่มากที่มีสายป่านในการประคับประคองธุรกิจให้อยู่รอดในสถานการณ์ที่เกิดการระบาดซ้ำหลายระลอก และไม่ใช่ทุกกิจการที่สามารถปรับตัวสู่การดำเนินงานในรูปแบบใหม่ และยิ่งมีกิจการน้อยรายที่สามารถผันตัวไปสู่ธุรกิจใหม่

หมายความว่า กิจการโดยส่วนใหญ่ที่ไม่มีภาวะพร้อมผัน ก็จำต้องเตรียมรับแรงกระแทกใหญ่ จากการระบาดใหม่ในรอบนี้ ซึ่งยังไม่มีทีท่าว่าจะจบลงโดยเร็ว แม้แต่เงื่อนไขเรื่องวัคซีน ที่มีทั้งตัวแปรของการได้รับไม่ทันการณ์ และประสิทธิภาพของตัววัคซีนเอง

ทางเดียวที่ภาคธุรกิจทำได้ และไม่มีทางเลือกอื่น คือ การสร้างภาวะพร้อมผันให้เกิดขึ้นในกิจการ ไม่ว่าจะอยู่ในระดับที่มากหรือน้อย ก็จำเป็นที่จะต้องมีในเวลานี้แล้ว เพื่อที่จะรักษากิจการไว้ในวันข้างหน้า


จากบทความ 'Sustainpreneur' ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ External Link [Archived]

Saturday, April 10, 2021

โควิดมาใหม่ ธุรกิจจะไปทางไหน

ผลพวงจากสถานการณ์โควิดในประเทศไทย ที่กลับมาระบาดระลอกใหม่ ทำให้ธุรกิจจำต้องมีการปรับองคาพยพเพื่อความอยู่รอด โดยไม่สามารถนั่งรอให้สถานการณ์คลี่คลายไปตามธรรมชาติ

การระบาดในครั้งนี้ ยิ่งเป็นตัวเร่งเร้าให้ภาคธุรกิจ ต้องหันมาใช้เครื่องมือดิจิทัล เป็นช่องทางในการติดต่อ ทำธุรกรรม นำเสนอสินค้าและบริการ มากยิ่งขึ้นไปอีก

จากการสำรวจบทบาทของคณะกรรมการบริษัท โดยการ์ตเนอร์ กรุ๊ป พบว่าเจ็ดในสิบของคณะกรรมการบริษัท เร่งให้มีการดำเนินความริเริ่มทางธุรกิจดิจิทัลจากความตื่นตัวต่อภาวะชะงักงันที่เกิดจากสถานการณ์โควิด

ดิจิทัลจะช่วยสร้างเสถียรภาพพิสัยไกล (Remote-stabilize) ให้องค์กรได้มีความผสมผสานลงตัวระหว่างธุรกิจในแบบที่ต้องพบปะบุคคล (In-person) และแบบที่ไม่จำเป็นต้องพบปะซึ่งหน้า (Remote) ซึ่งเป็นที่ต้องการอย่างยิ่งในช่วงแรกเริ่มของการระบาด ทำให้องค์กรมีความสามารถในการจัดวางทรัพยากรที่ตอบสนองต่อความจำเป็นฉุกเฉินทางสังคม และยังสามารถใช้เป็นแบบแผนในการขยายผลเพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกันในอนาคต

การปรับธุรกิจให้รองรับดิจิทัล เพื่อรับมือกับสถานการณ์อย่างทันท่วงที ประกอบด้วย 5 ช่องทาง เริ่มจากช่องทางเร่งด่วน (Fast Lane) ด้วยการทำเรื่องดิจิทัลที่ริเริ่มไว้ช่วงล็อกดาวน์ให้เสร็จสิ้นหรือนำไปต่อยอดขยายผล เช่น พื้นที่ทำงานระยะไกล/ผสมผสาน การปฏิบัติงานระยะไกล ช่องทางการปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าทางดิจิทัล ช่องทางเติบโต (Growth Lane) ด้วยการคว้าโอกาสที่มากับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหรือกฎระเบียบ เช่น การคิดค่าบริการลูกค้าผ่านช่องทางดิจิทัล การพัฒนาสินค้าและบริการทางดิจิทัลที่กฎหมายรองรับ ช่องทางแก้ไข (Fix-it Lane) จากการเห็นข้อพกพร่องที่ปรากฏในช่วงสถานการณ์ เช่น ระบบงานที่อุ้ยอ้ายเทอะทะ ความไม่สอดคล้องในสายอุปทานที่ไม่สามารถตอบสนองต่ออุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงในช่วงสถานการณ์ ช่องทางเดินเบา (Slow Lane) ด้วยการชะลอหรือทยอยดำเนินงานดิจิทัลบางเรื่องที่ได้ให้น้ำหนักความสำคัญไว้ก่อนเกิดสถานการณ์ เพื่อเปิดทางสำหรับการดำเนินงานที่มีความจำเป็นมากกว่า และทางออก (Exit) สำหรับยุติหรือยกเลิกการดำเนินงานทางดิจิทัลบางเรื่อง เพื่อดึงงบประมาณและทรัพยากรกลับมาใช้ในความริเริ่มอื่น
ขณะที่การปรับธุรกิจให้รองรับดิจิทัล ด้วยการสร้างสมรรถภาพระยะยาว ประกอบด้วย ลูกค้าสารพัน (Everything customer) ที่คาดหวังการปฏิสัมพันธ์ทั้งในช่องทางดิจิทัลที่สะดวกรวดเร็วและในช่องทางที่เห็นหน้าไปลามาไหว้แบบเดิม แรงงานที่ปรับตัวได้ (Adaptable workforce) ซึ่งไม่ได้จำกัดเฉพาะทีมงานดิจิทัลหรือไอที แต่เป็นแรงงานที่ใฝ่รู้ปรับฝีไม้ลายมือให้เข้ากับทุกความต้องการได้อย่างคล่องแคล่ว สามารถทำงานผสานเวลาทั้งในสำนักงานและจากระยะไกลได้ สถานประกอบการไม่อิงขนาด (Any-scale operations) สามารถปรับขนาดหรือเปลี่ยนแนวโดยไม่กระทบจำนวนหัวพนักงาน สัดส่วนค่าใช้จ่ายดำเนินงาน หรือการปรับเปลี่ยนโครงสร้าง รวมถึงกระบวนงานที่สามารถทำได้ในหลายสถานที่ตั้ง ทั้งในระยะไกล หรือโดยหุ้นส่วนดำเนินการ รากฐานเทคโนโลยีที่ถอดประกอบได้ (Composable technology foundation) เป็นแกนเทคโนโลยีและข้อมูลสมัยใหม่ ที่ไม่เพียงแต่ลดต้นทุนทั่วทั้งกิจการ แต่ยังคงไว้ซึ่งความปราดเปรียว (Agility) ในการตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงเร็ว หรือรับมือกับความท้าทายในระดับภัยพิบัติได้ การเติบโตตรงวิสัย (Right-scoped growth) กิจการควรมีความพร้อมต่อการซักถามและปรับขอบเขตการดำเนินงานหรือให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ภาครัฐในอนาคต ทั้งการเติบโตในแบบค่อยเป็นค่อยไปและการเปลี่ยนในแบบพลิกผันคุณค่าที่ส่งมอบให้แก่ลูกค้าโดยรวม

ธุรกิจที่รอดพ้นจากวิกฤตการณ์โควิด จำต้องดำเนินการปรับองค์กรเพื่อให้มีความเป็นดิจิทัลธรรมชาติ (Digital Nature) สามารถรองรับธุรกรรมที่มีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นฐาน รวมถึงเพิ่มเติมขีดสมรรถภาพในการดูแลลูกค้าผ่านช่องทางดิจิทัล ตลอดจนการพัฒนาพนักงานให้มีทักษะและความรู้ด้านดิจิทัลให้สามารถทำงานในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปได้อย่างราบรื่น


จากบทความ 'Sustainpreneur' ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ External Link [Archived]

Thursday, April 01, 2021

รายการ CEO Vision +

19 มีนาคม 2567 | 3 คำถาม เมื่อ SMEs ต้องใช้โมเดล BCG ทำธุรกิจ
16 มีนาคม 2567 (วันเสาร์) | ทิศทางความยั่งยืนในภาคธุรกิจ
12 มีนาคม 2567 | พลิกอุตสาหกรรมแฟชั่นให้ยั่งยืน ด้วยแนวคิด "Fairshion"
5 มีนาคม 2567 | ธุรกิจเครื่องดื่มโปรตีนทางเลือกจากไข่ขาว.. ยากหรือง่าย

27 กุมภาพันธ์ 2567 | ธุรกิจรับสร้างบ้าน ปรับทัพ แบ่งเค้ก 2 แสนล้าน
20 กุมภาพันธ์ 2567 | Pet Economy: เศรษฐกิจของคนรักสัตว์เลี้ยง เติบโตต่อเนื่อง
13 กุมภาพันธ์ 2567 | ร้านซูชิจะโตอย่างไร เมื่ออัตราการปิดร้านมีมากกว่าการเปิดใหม่ (ผลสำรวจร้านอาหารญี่ปุ่นในไทย โดย Jetro)
6 กุมภาพันธ์ 2567 | กางเกงลายช้างไทย มองให้ไกลกว่าเรื่องลิขสิทธิ์

30 มกราคม 2567 | ตลาดปลูกผมกำลังเติบโต
23 มกราคม 2567 | จัดงานไมซ์ให้แตกต่างอย่างยั่งยืน
16 มกราคม 2567 | ดึงดูดการลงทุนเข้าไทยด้วย 3ท. และ 3M
9 มกราคม 2567 | โอกาสธุรกิจในตลาดที่อยู่อาศัย ปีมังกร
2 มกราคม 2567 | เทรนด์สินค้ายุคใหม่: จากคุณภาพและสุขภาพ สู่ผลิตภาพ (ที่ดีต่อโลก)

26 ธันวาคม 2566 | SME สร้างความต่าง+วางตำแหน่งอย่างไร ให้เติบโตในปี 2024
19 ธันวาคม 2566 | จับตามองแนวโน้มตลาดชาในจีน
12 ธันวาคม 2566 | SME ต้องเผชิญอะไรบ้าง นับจากปี 2024 เป็นต้นไป
9 ธันวาคม 2566 (วันเสาร์) | ซอฟต์พาวเวอร์: ที่มา องค์ประกอบ และวิธีการขับเคลื่อน
5 ธันวาคม 2566 | พอเพียงในโลกใหม่...พลวัตทางเศรษฐกิจที่จำเป็นในปี 2024

28 พฤศจิกายน 2566 | การอยู่แบบย้อนวัย ช่วยลดอายุร่างกาย (Metabolic Age)
21 พฤศจิกายน 2566 | ขจัด-ลด-งด-ถอน: มาตรการช่วยลดโลกร้อน
14 พฤศจิกายน 2566 | โลกโซเชียลคอมเมิร์ซ ทำให้ผู้ซื้อผันตัวเป็นผู้ขายได้
7 พฤศจิกายน 2566 | จากต้นสู่ปลายของวงจรการแก้หนี้

31 ตุลาคม 2566 | มองเศรษฐกิจอู่ฮั่น-จีน ยุคหลังโควิด
24 ตุลาคม 2566 | ราคาทองคำขยับขึ้นกับอะไร - ไทยสำรองทองคำไว้แค่ไหน
17 ตุลาคม 2566 | ร้านสมุนไพรจีน: ใช้ออนไลน์ค้ำจุนยอดขาย-ชดเชยลูกค้าหน้าร้าน
10 ตุลาคม 2566 | ความไม่สงบในอิสราเอลกับความปลอดภัยของแรงงานไทย
3 ตุลาคม 2566 | ปลาคาร์ป: สินทรัพย์ทางเลือกกลุ่มงานศิลปะที่มีชีวิต

30 กันยายน 2566 (วันเสาร์) | ต้องนึกถึงอะไรบ้าง เมื่อต้องการส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์
26 กันยายน 2566 | โครงการแลนด์บริดจ์เชื่อมโยงระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน
19 กันยายน 2566 | จ้างงานผู้สูงวัยอย่างไร ให้สมศักดิ์ศรี และมีประสิทธิผล
12 กันยายน 2566 | 5.6 แสนล้าน ผ่าน Digital Wallet: หามาคืนได้? ไม่ว้าวุ่น
5 กันยายน 2566 | กรณี..ปังชา: บทเรียนสำหรับธุรกิจกับการใช้ทรัพย์สินทางปัญญา

29 สิงหาคม 2566 | เงินดิจิทัล 10,000 บาท ใบเบิกทางการสร้างบล็อกเชนแห่งชาติ
22 สิงหาคม 2566 | สำรวจเทรนด์ความยั่งยืนกับพฤติกรรมผู้บริโภค ฉบับอาลีบาบา
15 สิงหาคม 2566 | การเปลี่ยนกระบวนทัศน์รับมือธุรกิจยุคดิจิทัล
8 สิงหาคม 2566 | Nuttybox: บรรจุภัณฑ์...สร้างเงินล้าน

25 กรกฎาคม 2566 | สร้างนิเวศรถยนต์ไฟฟ้าต้องคำนึงถึงไลฟ์สไตล์ผู้บริโภค
18 กรกฎาคม 2566 | ตลาดแรงงานกับการจ่ายค่าตอบแทน 3 รูปแบบ
11 กรกฎาคม 2566 | TikTok: แพลตฟอร์มเขย่าโลกออนไลน์
4 กรกฎาคม 2566 | ท่องเที่ยวไทย ยังไปต่อได้หรือไม่

27 มิถุนายน 2566 | ออกแบบกลยุทธ์เศรษฐกิจเมืองโคราช: Tech-Touch-Trade
20 มิถุนายน 2566 | สมุนไพรไทย: เพชรเม็ดงามที่รอการเจียระไน
13 มิถุนายน 2566 | ปม ITV กับความพยายามรื้อฟื้นสถานะสื่อ เพื่อผลทางการเมือง
6 มิถุนายน 2566 | SME ต้องปรับตัวในยุคสังคมแห่งการชี้นำ

30 พฤษภาคม 2566 | เปิดแนวคิดขับรถยนต์ไฟฟ้า ได้เงินคืนจากคาร์บอนเครดิต
23 พฤษภาคม 2566 | เข้าใจเศรษฐกิจ BCG ในแบบ SMEs
16 พฤษภาคม 2566 | ส่องนโยบาย SME พรรคก้าวไกล
9 พฤษภาคม 2566 (ECON PLUS) | ESG: เทรนด์การลงทุนเปลี่ยนโลก ทางเลือกหรือทางรอด
9 พฤษภาคม 2566 | ตลาดหลักทรัพย์ฯ ร่วมมือกับ Nasdaq พัฒนาระบบเทรดใหม่
2 พฤษภาคม 2566 | Climate Change: โลกรวน เพราะเรารวนโลก

25 เมษายน 2566 | โซลาร์รูฟ: ทางเลือกหรือทางแก้ค่าไฟแพง
18 เมษายน 2566 | ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก: ใครรับผิดชอบ
11 เมษายน 2566 | Start-up สำเร็จ แต่ทำไม Scale-up ไม่ได้
4 เมษายน 2566 | TikTok สร้างรายได้บนโมเดลธุรกิจแบบ C2C (Consumer-to-Consumer)

29 มีนาคม 2566 | ปลุกกระแสท่องเที่ยวด้วยแนวคิด Vibe และการเดินทางแบบ Mixed Trip
21 มีนาคม 2566 | การปรับตัวของโรงพยาบาลต่อการให้บริการทางการแพทย์
14 มีนาคม 2566 | การจัดการโรงแรม โดยใส่มูลค่า Soft Power
7 มีนาคม 2566 | รับมือก๊าซหุงต้มแพง แก้ที่นโยบายหรือผู้บริโภค

28 กุมภาพันธ์ 2566 | พัฒนาการด้าน HR ใน 3 ยุค
21 กุมภาพันธ์ 2566 | ไม่ต้องรู้ VUCA หรือ BANI ก็พาธุรกิจให้รอดและโตได้
14 กุมภาพันธ์ 2566 | วาเลนไทน์ปีนี้ คึกคักแค่ไหน
7 กุมภาพันธ์ 2566 | ไขปมเมนูแกงส้มจากการจัดอันดับของ TasteAtlas

31 มกราคม 2566 | ปลูกต้นไม้เพื่อสะสมคาร์บอนเครดิตไว้ขาย
24 มกราคม 2566 | ปัญหาการครอบงำธุรกิจท้องถิ่นของทุนต่างด้าว
10 มกราคม 2566 | การ Bundle ธุรกิจ Wellness: รพ. + ห้าง + ห้อง(พัก)
3 มกราคม 2566 | ESG เวอร์ชัน สำหรับ SME รับปี 66

27 ธันวาคม 2565 | SME เตรียมปรับตัว รับ Pent-up Demand ในปีหน้า
20 ธันวาคม 2565 | สร้างกิจการ SME ให้พร้อมผันตัวรับความเปลี่ยนแปลง
13 ธันวาคม 2565 | อนาตตข้าวไทย กับหลายปัจจัยรุมเร้า
6 ธันวาคม 2565 | อัปเดตการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพงาน Specialised Expo 2028

29 พฤศจิกายน 2565 | 4 เทรนด์ การตลาดคอนโดมิเนียม
22 พฤศจิกายน 2565 | ไขโจทย์ SME ก่อนขึ้นปี 2023
15 พฤศจิกายน 2565 | CSR ระหว่างสิ่งที่ต้องทำ กับสิ่งที่ควรทำ
8 พฤศจิกายน 2565 | เช็กสถานการณ์สตาร์ตอัปไทย จะไปต่อแบบไหน
1 พฤศจิกายน 2565 | ภูเก็ต เสนอตัวเป็นเจ้าภาพงานระดับโลก ปี ค.ศ.2028

25 ตุลาคม 2565 | Petriarchy: ทาสหมา ทาสแมว ดันมูลค่าตลาดสัตว์เลี้ยงโต
18 ตุลาคม 2565 | ความน่าสนใจของตลาดจักรยาน
11 ตุลาคม 2565 | ปลูกพืชบำรุงผัก ด้วยชีวภัณฑ์ แทนเคมีภัณฑ์
4 ตุลาคม 2565 | ขายอะไรได้บ้าง ในตู้กดสินค้าอัตโนมัติ

27 กันยายน 2565 | Lithium ผู้กุมชะตาอนาคต รถ EV
20 กันยายน 2565 | ตลาดสินค้าแม่และเด็ก เข้าให้ถึงและให้ถูกกลุ่มเป้าหมาย
13 กันยายน 2565 | จีนเร่งเกมข้อริเริ่มว่าด้วยการพัฒนาระดับโลก (GDI)
6 กันยายน 2565 | สุขทุกคำ: เมนูอินทรีย์ ดีต่อสุขภาพ

30 สิงหาคม 2565 | คิกออฟการพัฒนาภาคการเงินให้ตอบโจทย์ ESG ประเทศ
23 สิงหาคม 2565 | การรุกคืบของยักษ์ค้าปลีกที่จะมาแปลงโฉมร้านโชห่วยชุมชน
16 สิงหาคม 2565 | ตลาดโปรตีนทางเลือกจากดักแด้ไหม อนาคตไกล
9 สิงหาคม 2565 | ธุรกิจแปรรูป ปลาสลิดส่งออก สดใส
2 สิงหาคม 2565 | ธุรกิจ Hair Care ขนาดตลาดใหญ่และเติบโตสูง

26 กรกฎาคม 2565 | กลยุทธ์ Product-Market Fit รับมือ สู้เศรษฐกิจถดถอย
19 กรกฎาคม 2565 | สปป.ลาว ยังเป็นตลาดที่น่าสนใจของธุรกิจไทย
12 กรกฎาคม 2565 | อุตสาหกรรมกาแฟกับตัวคูณทางเศรษฐกิจ
5 กรกฎาคม 2565 | เปิดเสรีกัญชา: เศรษฐกิจได้ - สังคมจะได้ด้วยหรือไม่

28 มิถุนายน 2565 | ธุรกิจเตรียมรับและรุกอย่างไร ในภาวะเศรษฐกิจครึ่งปีหลัง
21 มิถุนายน 2565 | เศรษฐกิจจะไปทางไหน แล้วเราจะทำอย่างไร
14 มิถุนายน 2565 | เมื่อจีนใช้ ZERO COVID เป็นมาตรการดูแลเศรษฐกิจ
7 มิถุนายน 2565 | อนาคตโรงเรือนปลูกพืชในระบบปิด (Plant Factory) กำลังมา

31 พฤษภาคม 2565 | One Kitchen One Road (OKOR): วิกฤติอาหารโลก โอกาสส่งออกสินค้าไทย
24 พฤษภาคม 2565 | FOOD PROTECTION: นัยต่อการส่งออกการลงทุนของไทย
17 พฤษภาคม 2565 | ความท้าทายของสตาร์ตอัปจักรยานยนต์ไฟฟ้าสัญชาติไทย
10 พฤษภาคม 2565 | แนวคิดบริษัทพัฒนาเมือง: เอกชนนำ-รัฐหนุน
3 พฤษภาคม 2565 | กลยุทธ์ทางรอด SME ยุคข้าวยากหมากแพง

26 เมษายน 2565 | นวัตกรรมหม้อแปลงไฟฟ้าใต้น้ำของคนไทย
19 เมษายน 2565 | ถอดบทเรียน เฉาก๊วย เต็งหนึ่ง ที่ทุก SMEs ต้องรู้
12 เมษายน 2565 | ผลกระทบจากราคาปุ๋ย สู่จานข้าว
5 เมษายน 2565 | ภาครัฐกับบทบาทการดูแลนโยบายเศรษฐกิจ

29 มีนาคม 2565 | จังหวะเวลา ตัวกำหนดโอกาสกัญชา
22 มีนาคม 2565 | ขาย "ทรายแมว" เข้าถึงลูกค้าอย่างไรดี
15 มีนาคม 2565 | ยานยนต์ไฟฟ้า: เมื่ออนาคตไล่ล่าเรา
8 มีนาคม 2565 | อ่านให้ขาด เรื่องวัฎจักรธุรกิจ-แนวโน้มสังคม-จุดสำเร็จในอาชีพ
1 มีนาคม 2565 | สงครามมาแล้ว จะถือทองคำหรืออะไรดี

22 กุมภาพันธ์ 2565 | โควิดยังไม่ไป สงครามก็จะมาแล้ว SME จะอยู่อย่างไร ให้รอด
15 กุมภาพันธ์ 2565 | อนาคตอีกไกลของรถยนต์ไฟฟ้า EV ในประเทศไทย
8 กุมภาพันธ์ 2565 | โอกาสการลงทุนกับโลกเมตาเวิร์ส: 'รอ' หรือ 'เริ่ม'
2 กุมภาพันธ์ 2565 | 2565 ปีทอง ESG เทรนด์ธุรกิจยั่งยืน SMEs ได้ประโยชน์อะไร? (Thinking Network)
1 กุมภาพันธ์ 2565 | Mantra กับโอกาสเจาะตลาด Local Community ในต่างประเทศ

25 มกราคม 2565 | แนวคิดกระตุ้นเศรษฐกิจด้วย 'คนละครึ่ง' ภาคเอกชน
18 มกราคม 2565 | มุมมองการลงทุนและขนาดธุรกิจในธีม 'กัญชานิยม'
11 มกราคม 2565 | ธุรกิจยุคใหม่กับวิธีคิดแบบ Nature-based Solution
4 มกราคม 2565 | ฝ่าโควิดระลอกใหม่ ด้วยการวิเคราะห์ Resilience Matrix

28 ธันวาคม 2564 | กลยุทธ์ SMEs ปีหน้า: Location->Attention, Brand->Bond
21 ธันวาคม 2564 | บทวิเคราะห์: พิมรี่พาย ควรไปต่อด้วยจิกซอว์ Startup
14 ธันวาคม 2564 | ธุรกิจ Air Care โควิดหนุน เติบโตสูง
7 ธันวาคม 2564 | มาตรการปีหน้า: เยียวยาตามก็อก (ผู้ประกอบการ) - กระตุ้นตามเก๊ะ (ผู้บริโภค)

30 พฤศจิกายน 2564 | รับมือการค้ายุค "กำแพงคาร์บอน"
23 พฤศจิกายน 2564 | Metaverse: จากการเชื่อมเครื่อง สู่เชื่อมคน ไปถึงการเชื่อมชุมชน
16 พฤศจิกายน 2564 | ท่องเที่ยวไทย จะไปต่ออย่างไร
9 พฤศจิกายน 2564 | ปัญหาราคาข้าวตกต่ำในมุมผู้บริโภค
2 พฤศจิกายน 2564 | Metaverse ยังไม่เกิด เพราะสองสิ่งนี้

26 ตุลาคม 2564 | กระตุ้นท่องเที่ยวด้วย 'รัสเซล โครว์' โมเดล
19 ตุลาคม 2564 | เปิดประเทศแล้ว ท่องเที่ยวจะกลับมาหรือไม่
12 ตุลาคม 2564 | 3 ดู (เพื่อให้กู้) กับ 3 อยู่ (ในโมเดลธุรกิจไหน)
5 ตุลาคม 2564 | การปรับตัวของธุรกิจสิ่งทอ: จาก Fashion สู่ Function

28 กันยายน 2564 | กรณีเดนทิสเต้ คว้า ลิซ่า Blackpink เป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์
21 กันยายน 2564 | เมื่อ 'Hospital' จะขยับขยายเป็น 'Health Cafe'
14 กันยายน 2564 | เมื่อบรรจุภัณฑ์ ไม่ได้มีไว้แค่ 'ใส่' แต่ยังเป็น 'สื่อ' กับผู้บริโภค
7 กันยายน 2564 | WFH Effect: เมื่อเวลางานทับเวลาส่วนตัว

31 สิงหาคม 2564 | Freshket บนทางแพร่ง ระหว่าง B2B กับ B2C
24 สิงหาคม 2564 | จุดเปลี่ยนธุรกิจแฟชั่น-สิ่งทอ หลังโควิด
17 สิงหาคม 2564 | เข้าสู่ยุค ดิจิทัล 4.0
10 สิงหาคม 2564 | หมูทอดเจ๊จง โตได้ในแบบ Cloud Kitchen
3 สิงหาคม 2564 | ฮาวทู-รอด: ไปต่อ-ปรับตัว-เปลี่ยนตั๋ว

27 กรกฎาคม 2564 | Market Need หรือ Product Push ถึงจะอยู่รอด
20 กรกฎาคม 2564 | ส่องทิศทางการส่งออกไทย ฟื้นตัวหรือถูกแช่แข็ง
13 กรกฎาคม 2564 | ถอดบทเรียนซีอีโอ Washbox24: จากความล้มเหลวทางธุรกิจ สู่โอกาสใหม่
6 กรกฎาคม 2564 | บีไฮฟ์ ภูเก็ต โอลด์ทาวน์ โฮสเทล: พลิกวิกฤต จนกลายเป็น “ผู้รอด”

29 มิถุนายน 2564 | Hostel สู่ Locall: บริการเดลิเวอรี่ ส่งทุกสิ่งจากชุมชน
22 มิถุนายน 2564 | PDPA ข้อมูลส่วนบุคคลสำคัญยังไง - SMEs ไม่รู้ไม่ได้
15 มิถุนายน 2564 | แนวทางช่วยร้านอาหารรายย่อยทั้งระบบ และตัวอย่างในย่านประตูผี
8 มิถุนายน 2564 | ภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ เปิดเพื่อเตรียมรองรับไฮซีซั่น
1 มิถุนายน 2564 | บ้านที่ตอบโจทย์ WFH กับโทเคนอสังหาฯ ฝ่าโควิด

25 พฤษภาคม 2564 | ไม้สอง-ไม้สาม ต้องมี หลังวัคซีน
18 พฤษภาคม 2564 | ทางออก วิกฤตราคาเหล็ก
11 พฤษภาคม 2564 | ต่อยอดแนวคิดจาก "ศิริวัฒน์แซนด์วิช" สู่ "ศิริวัฒน์แซนด์บ็อกซ์"
4 พฤษภาคม 2564 | ฟู้ดเดลิเวอรีสัญชาติไทย แพลตฟอร์มช่วยคนตัวเล็ก

27 เมษายน 2564 | การสร้างบุคลิกภาพด้วยการปลูกผม
20 เมษายน 2564 | เปิดแผนกระจายวัคซีน หนุนรัฐสกัดโควิด ฟื้นฟูเศรษฐกิจ
13 เมษายน 2564 | ประเมินสถานการณ์เศรษฐกิจ ภายใต้วิกฤติโควิดระลอกใหม่
6 เมษายน 2564 | ถอดรหัสธุรกิจสื่อ-สิ่งพิมพ์ให้รอดในยุคดิสรัปชั่น

30 มีนาคม 2564 | ธุรกิจไทยลงทุนในเมียนมา
23 มีนาคม 2564 | ภาษีดิจิทัล
16 มีนาคม 2564 | กัญชงกัญชาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์
9 มีนาคม 2564 | ไอติมเย็นๆในหลอดใส ใช้ชื่อแบรนด์ “ฟรีซช็อต”
2 มีนาคม 2564 | โรงคั่วกาแฟ วังน้ำเขียว

23 กุมภาพันธ์ 2564 | คลายล็อกกัญชาสู่ตำรับยาและอาหาร สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ
16 กุมภาพันธ์ 2564 | เปลือกมะม่วงเหลือทิ้งสู่เครื่องดื่มเงินล้าน
9 กุมภาพันธ์ 2564 | ธุรกิจน้ำดื่ม
2 กุมภาพันธ์ 2564 | ค้าปลีกไทยกับผลกระทบจากโควิดระลอกสอง

26 มกราคม 2564 | ตู้น้ำมันหยอดเหรียญ: โมเดลสร้างอาชีพให้ผู้ว่างงาน
19 มกราคม 2564 | เปิดร้านท่ามกลางโควิด ยังไงให้รอด: ไอเดียฝ่าวิกฤตโควิด
12 มกราคม 2564 | E-Market Place: ฝ่าวิกฤติโควิดยังไงให้รอด
5 มกราคม 2564 | สร้างภูมิคุ้มกันให้กับ SMEs

29 ธันวาคม 2563 | วิเคราะห์ SMEs ปี63-ฝากถึงคนทำธุรกิจ ปี64 (เต็มรายการ)
22 ธันวาคม 2563 | Reo’s Deli: จากขายอาหารมาสู่การขายเทคโนโลยีอุ่นอาหาร
15 ธันวาคม 2563 | เกษตรกรรุ่นใหม่: ฟาร์มจันทร์เรือง (JR Farm)
8 ธันวาคม 2563 | เฮียเอี่ยม รูดม่าน: ทรานส์ฟอร์มข้ามขั้วธุรกิจ
1 ธันวาคม 2563 | จิวเวลรี่ จังสุ่ยศิลป์: ใช้ Social Media สร้างการรับรู้และต่อยอดธุรกิจ

24 พฤศจิกายน 2563 | THAI LGBT CONNECT: แพลตฟอร์มท่องเที่ยวสำหรับชาว LGBT
17 พฤศจิกายน 2563 | สถานการณ์โควิดที่มีผลกระทบต่อผู้ประกอบการ
10 พฤศจิกายน 2563 | การปรับโมเดลธุรกิจใหม่ของแฟรนไชส์ระดับโลว์คอสต์
3 พฤศจิกายน 2563 | พริกค่ะ สไปซี่ คอฟฟี่

27 ตุลาคม 2563 | พรรัตภูมิ: จากฟาร์มไก่ไข่มาสู่การสร้างโรงงานเลี้ยงไก่ไข่อัตโนมัติ โดยใช้ AI
20 ตุลาคม 2563 | ชานมไข่มุก AMTEA: จากทำทัวร์ รุกตลาดเครื่องสำอางใน CLMV แล้วต่อยอดที่ธุรกิจชานม วิกฤตินี้ต้องรอด!!!
13 ตุลาคม 2563 | Laundry Bar: แฟรนไชส์ร้านสะดวกซัก 24 ชั่วโมง จากมาเลเซีย
6 ตุลาคม 2563 | Mantra: ลูกชิ้นกุ้งจากพืช

29 กันยายน 2563 | ก้าวสู่ New Era กลยุทธ์พลิกโฉมตลาดสี่มุมเมือง สู้ศึกออนไลน์-โมเดิร์นเทรด
22 กันยายน 2563 | จับทิศพิชิตตลาด CLMV การปรับตัวของผู้ส่งออกไทยหลังยุคโควิด
15 กันยายน 2563 | Happy Grocers แพลตฟอร์มร้านขายของชำออนไลน์
8 กันยายน 2563 | SuitCube (สูทคิวบ์): พลิกผันกลยุทธ์ (มาขายหมูย่าง) ช่วงโควิด
1 กันยายน 2563 | บ้านไร่ปอนด์หวาน: เปลี่ยนสวนผลไม้เป็นธุรกิจท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

25 สิงหาคม 2563 | Next Normal: การผจญภัยที่ไม่ธรรมดาของทายาทรุ่น 3 อ้วยอันโอสถ
18 สิงหาคม 2563 | เคล็ดลับ โมเดลธุรกิจ Aggie Home โตสวนกระแส สร้างยอดขายพุ่งหลักล้านช่วงโควิด
11 สิงหาคม 2563 | 75 ปี จิระพันธ์ไก่ย่าง...ตำนานเตาถ่านที่ไม่เคยดับ
4 สิงหาคม 2563 | ชีวิตวิถีใหม่ทำธุรกิจอย่างไรให้รอด...กับวิธีการรับมือวิกฤตเศรษฐกิจจากโควิด สไตล์ไทเชฟ

รับฟังคลิปย้อนหลังอื่น ๆ ได้ที่ ช่องยูทูป Thinkingradio