เมื่อเร็วๆ นี้ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้เปิดสถาบันธุรกิจเพื่อสังคม และมีการประกาศเจตนารมณ์ในการส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม นำโดยคุณไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พร้อมด้วยผู้นำเครือข่ายองค์กรภาคธุรกิจอีกนับสิบแห่ง
เรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ (CSR) ในปัจจุบัน ได้กลายเป็นประเด็นสำคัญอันดับต้นๆ ที่หลายองค์กรธุรกิจกำลังศึกษา เพื่อนำมาปฏิบัติใช้ในองค์กรกันอย่างขะมักเขม้น ประกอบกับแนวคิดของความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการได้ขยายวงจากภาคธุรกิจไปสู่ภาคส่วนอื่นๆ ของสังคม จนองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (ISO) กำลังยกร่างมาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคม (Social Responsibility) หมายเลข ISO-26000 และมีแผนจะประกาศใช้ในอีกสองปีข้างหน้า
Bjorn Stigson ประธานสภาธุรกิจโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (World Business Council for Sustainable Development หรือ WBCSD) ได้กล่าวไว้ว่า "ธุรกิจไม่สามารถประสบความสำเร็จได้ในสังคมที่ล้มเหลว" (Business cannot succeed in a society that fails.)
การดำเนินธุรกิจที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม โดยหลักคือการดำเนินธุรกิจภายใต้หลักจริยธรรมและการกำกับดูแลกิจการที่ดี ควบคู่ไปกับการใส่ใจและดูแลรักษาสังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อนำไปสู่การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน ซึ่งคำว่าธุรกิจนี้ ครอบคลุมถึงการประกอบการทุกประเภทที่มุ่งแสวงหาผลกำไร ไม่จำกัดเฉพาะกิจการขนาดใหญ่ แต่ยังรวมถึงกิจการขนาดกลางและขนาดเล็ก โดยคำนึงถึงการติดต่อสัมพันธ์กับกิจการอื่นๆ ที่ยึดหลักความรับผิดชอบต่อสังคมเช่นเดียวกัน
คณะทำงานส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมของบริษัทจดทะเบียน สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้จัดทำร่างคู่มือช่วยบอกพิกัดการดำเนินงานที่มีเป้าหมายด้านธุรกิจควบคู่กับความรับผิดชอบต่อสังคม ที่เรียกว่า "เข็มทิศธุรกิจเพื่อสังคม" (CSR Guidelines) โดยมีแนวปฏิบัติสำหรับการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคม 8 หมวด ดังนี้
หมวดที่ 1 การกำกับดูแลกิจการที่ดี - การกำกับดูแลกิจการที่ดี เป็นการจัดให้มีระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส ตรวจสอบได้ ซึ่งจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นและความมั่นใจต่อผู้ถือหุ้น ผู้ลงทุน ผู้มีส่วนได้เสีย และผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ซึ่งนำไปสู่ความเติบโตและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนของธุรกิจ
หมวดที่ 2 การประกอบธุรกิจด้วยความเป็นธรรม - การประกอบธุรกิจด้วยความเป็นธรรมย่อมก่อให้เกิดความเชื่อมั่นกับผู้เกี่ยวข้อง อันจะส่งผลดีต่อกิจการในระยะยาว ทั้งนี้ ธุรกิจควรถือปฏิบัติตามแนวทางเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการดำเนินธุรกิจ โดยไม่เห็นแก่ผลประโยชน์อื่นที่อาจได้มาจากการดำเนินงานที่ไม่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม
หมวดที่ 3 การเคารพสิทธิและการปฏิบัติต่อแรงงานอย่างเป็นธรรม - ทรัพยากรบุคคลเป็นปัจจัยสำคัญของธุรกิจในการสร้างมูลค่าเพิ่มและเพิ่มผลผลิต ดังนั้น ธุรกิจควรปรับปรุงสภาพแวดล้อมและเงื่อนไขในการทำงาน ให้พนักงานมีคุณภาพชีวิตที่ดี และได้มีโอกาสแสดงศักยภาพ ตลอดจนได้รับโอกาสในการฝึกฝนและเพิ่มพูนทักษะในการทำงาน
หมวดที่ 4 ความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค - สินค้า และ/หรือบริการของธุรกิจไม่ควรก่อให้เกิดความเสี่ยงหรืออันตรายต่อผู้บริโภค ทั้งนี้ ธุรกิจควรปรับปรุงมาตรฐานของสินค้า และ/หรือบริการให้มีความเป็นสากลและให้ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ รวมทั้งควรพัฒนาสินค้า และ/หรือบริการเพื่อเป็นประโยชน์ในการช่วยแก้ไขปัญหาของสังคมด้วย
หมวดที่ 5 การร่วมพัฒนาชุมชนและสังคม - ชุมชนและสังคมที่เข้มแข็งและมีการพัฒนาที่ยั่งยืนนั้น มีความสำคัญยิ่งในฐานะเป็นปัจจัยเอื้อต่อการดำเนินงานของธุรกิจ ดังนั้น ธุรกิจควรจัดกิจกรรมทางสังคม และ/หรือ มีส่วนร่วมในการส่งเสริมความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากกระบวนการผลิตสินค้า และ/หรือบริการของธุรกิจโดยการแสดงตัวเป็นพลเมืองที่ดีของชุมชนนั้น พร้อมกับคิดค้นวิธีการที่จะลดและหยุดผลกระทบในทางลบต่อชุมชนและสังคมที่เกิดจากกระบวนการดำเนินงานของธุรกิจในที่สุด
หมวดที่ 6 การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม - การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรโลก บวกกับปัจจัยความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ นอกจากเป็นสาเหตุของการบริโภคทรัพยากรธรรมชาติจำนวนมหาศาลจนเกินกว่าความจำเป็น ยังก่อให้เกิดมลภาวะทั้งทางน้ำ อากาศ ขยะ สารพิษ ฯลฯ ซึ่งส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อนตามมา โดยภาวะโลกร้อนดังกล่าวจะกระทบต่อมนุษย์และระบบนิเวศต่อไป ดังนั้น ธุรกิจจึงมีหน้าที่ในการปรับปรุงคุณภาพชีวิตมนุษย์ด้วยการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยถือว่าการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมเป็นหน้าที่ร่วมกันของทุกคน
หมวดที่ 7 การเผยแพร่นวัตกรรมจากการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคม - ในการดำเนินธุรกิจสามารถผนวกความคิดเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมกับการวางแผนกลยุทธ์ทางธุรกิจได้อย่างกลมกลืน โดยการพัฒนาความรู้ที่เกิดจากประสบการณ์การดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมและนำมาปรับใช้ คิดค้นให้เกิดนวัตกรรมในธุรกิจที่สามารถสร้างประโยชน์สูงสุด ทั้งต่อธุรกิจและสังคมไปพร้อมๆ กัน (innovative business)
หมวดที่ 8 การจัดทำรายงานด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม - ธุรกิจควรให้ความสำคัญกับการเปิดเผยข้อมูลที่สะท้อนให้เห็นการปฏิบัติในเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมที่กล่าวมาอย่างครบถ้วน โดยข้อมูลที่เปิดเผยนี้ นอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อผู้มีส่วนได้เสีย (stakeholders) ทุกฝ่ายแล้ว ยังช่วยในการสอบทานให้ธุรกิจทราบได้ว่า ได้ดำเนินการในเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมตรงกับเป้าหมายที่วางไว้
ท่านสามารถร่วมแสดงความคิดเห็นต่อร่างคู่มือฉบับนี้ได้ทางโทรสารหมายเลข 0-2263-6099 เพื่อที่คณะทำงานส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมของบริษัทจดทะเบียน จะได้นำไปปรับปรุงก่อนจัดพิมพ์เผยแพร่ต่อกลุ่มเป้าหมายและผู้สนใจต่อไป... (จากคอลัมน์ พอเพียงภิวัตน์)
Tuesday, September 25, 2007
Tuesday, September 18, 2007
ศีล 4 กับเศรษฐกิจพอเพียง
ความต้องการ เป็นมูลฐานสำคัญที่ทำให้เกิดวิชาเศรษฐศาสตร์ เมื่อความต้องการของมนุษย์มีไม่จำกัด ไม่มีที่สิ้นสุด ในขณะที่สิ่งของและบริการที่มนุษย์ต้องการมีจำนวนจำกัด เศรษฐศาสตร์จึงเข้ามามีส่วนในการจัดการ จัดแบ่งให้มีการบริโภคที่จะสนองความต้องการของมนุษย์ให้มากที่สุด ความต้องการนี้เองเป็นตัวบังคับให้มนุษย์ทำงาน ให้มนุษย์ผลิตคิดค้นจนเกิดมีความมั่งคั่งและมีสวัสดิการ
ในเศรษฐศาสตร์กระแสหลักที่พัฒนามาจากอารยธรรมตะวันตก ถือว่าความต้องการของมนุษย์ไม่มีที่สิ้นสุด เป็นสัญชาตญาณตามปกติของมนุษย์ กิจกรรมทางเศรษฐกิจตามสายการพัฒนานี้ จึงมุ่งตอบสนองความต้องการเพื่อให้มนุษย์ได้รับความพึงพอใจมากที่สุด โดยเชื่อว่ายิ่งได้บริโภคมากยิ่งมีความพึงพอใจมาก
ค่านิยมการดำเนินชีวิตในกระแสนี้ ได้ให้ความสำคัญกับความอุดมสมบูรณ์และความหลากหลายของสินค้าและบริการว่าเป็นตัวชี้วัดที่สำคัญของความกินดีอยู่ดีของคนในสังคม ยิ่งมีสินค้าและบริการที่สามารถรองรับการบริโภคมากก็ยิ่งแสดงถึงความกินอยู่ที่บริบูรณ์มาก จึงไม่น่าแปลกใจว่าเครื่องชี้สภาวะทางเศรษฐกิจหลักในทุกวันนี้ ได้แก่ ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ที่เป็นการวัดมูลค่าของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายทั้งหมดที่ผลิตได้ภายในอาณาเขตประเทศในช่วงระยะเวลาหนึ่ง... (อ่านรายละเอียดในคอลัมน์ พอเพียงภิวัตน์) [Archived]
ในเศรษฐศาสตร์กระแสหลักที่พัฒนามาจากอารยธรรมตะวันตก ถือว่าความต้องการของมนุษย์ไม่มีที่สิ้นสุด เป็นสัญชาตญาณตามปกติของมนุษย์ กิจกรรมทางเศรษฐกิจตามสายการพัฒนานี้ จึงมุ่งตอบสนองความต้องการเพื่อให้มนุษย์ได้รับความพึงพอใจมากที่สุด โดยเชื่อว่ายิ่งได้บริโภคมากยิ่งมีความพึงพอใจมาก
ค่านิยมการดำเนินชีวิตในกระแสนี้ ได้ให้ความสำคัญกับความอุดมสมบูรณ์และความหลากหลายของสินค้าและบริการว่าเป็นตัวชี้วัดที่สำคัญของความกินดีอยู่ดีของคนในสังคม ยิ่งมีสินค้าและบริการที่สามารถรองรับการบริโภคมากก็ยิ่งแสดงถึงความกินอยู่ที่บริบูรณ์มาก จึงไม่น่าแปลกใจว่าเครื่องชี้สภาวะทางเศรษฐกิจหลักในทุกวันนี้ ได้แก่ ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ที่เป็นการวัดมูลค่าของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายทั้งหมดที่ผลิตได้ภายในอาณาเขตประเทศในช่วงระยะเวลาหนึ่ง... (อ่านรายละเอียดในคอลัมน์ พอเพียงภิวัตน์) [Archived]
Tuesday, September 11, 2007
ธรรมะในเศรษฐกิจพอเพียง
ความใคร่รู้ประการหนึ่งสำหรับบุคคลที่สนใจศึกษาเรื่องปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คือ คำถามที่ว่า ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนั้น มีความสัมพันธ์กับหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามากน้อยเพียงใด ซึ่งหากจะตอบอย่างผู้ที่ยังไม่ได้ทำการศึกษาค้นคว้าหรือใช้วิธีคาดเดาเบื้องต้น ก็จะได้คำตอบว่า ต้องมีความเกี่ยวข้องกันไม่มากก็น้อยอย่างแน่นอน
บทความนี้ จะขอหยิบยกหลักพุทธธรรมที่สำคัญ ได้แก่ มัชฌิมาปฏิปทา โยนิโสมนสิการ และอัปปมาทธรรม มาสำรวจเปรียบเทียบกับคุณลักษณะที่สำคัญในปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกัน เพื่อค้นหาว่ามีความสัมพันธ์ระหว่างกันมากน้อยเพียงใด ... (อ่านรายละเอียดในคอลัมน์ พอเพียงภิวัตน์) [Archived]
บทความนี้ จะขอหยิบยกหลักพุทธธรรมที่สำคัญ ได้แก่ มัชฌิมาปฏิปทา โยนิโสมนสิการ และอัปปมาทธรรม มาสำรวจเปรียบเทียบกับคุณลักษณะที่สำคัญในปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกัน เพื่อค้นหาว่ามีความสัมพันธ์ระหว่างกันมากน้อยเพียงใด ... (อ่านรายละเอียดในคอลัมน์ พอเพียงภิวัตน์) [Archived]
Subscribe to:
Posts (Atom)