เมื่อเร็วๆ นี้ ผมได้รับรายงานการวิจัยเรื่องการสังเคราะห์งานวิจัย ข้อเขียน และบทความเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง โดยสถาบันการจัดการเพื่อชนบทและสังคม มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เอกสารฉบับนี้เป็นความพยายามที่จะเรียนรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงจากงานวิจัย ข้อเขียน และบทความจำนวน 204 ชิ้นในช่วงเวลา 9 ปี (2542-2550) ทั้งมิติทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การบริหารจัดการ การศึกษา ตลอดจนมิติที่เกี่ยวกับกฎหมาย สุขภาพ และสิ่งแวดล้อม
งานวิจัยส่วนใหญ่ได้ชี้ให้เห็นว่า เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเรื่องที่มีอยู่ดั้งเดิมในสังคมไทย มีพื้นฐานมาจากศาสนธรรมและวิถีความเป็นอยู่ของชาวไทย ในข้อเขียนและบทความต่างๆ ได้มีความพยายามที่จะเปรียบเทียบเศรษฐกิจพอเพียงกับเศรษฐศาสตร์กระแสหลักหรือที่บางครั้งเรียกกันว่าระบบทุนนิยม มีความพยายามที่จะอธิบายปัญหาเศรษฐกิจที่ดำรงอยู่จากมุมมองของเศรษฐกิจพอเพียง ในแง่ที่เป็นทั้งเศรษฐกิจเชิงมหภาค การเกษตรและชนบท อุตสาหกรรมและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ตลอดจนการเผยแพร่กรณีศึกษาของกลุ่มที่มีการปฏิบัติตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ตั้งแต่ระดับปัจเจกบุคคล ครัวเรือน องค์กรธุรกิจ ชุมชน ไปจนถึงระดับประเทศ รวมทั้งมีความพยายามในการสร้างตัวบ่งชี้เพื่อใช้วัดความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงในระดับต่างๆ
ในด้านการเมืองและการปกครองตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ได้มีความพยายามที่จะเชื่อมโยงยุทธศาสตร์การเมืองและการปกครองเข้ากับการบริหารราชการส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น ขณะที่ในด้านการศึกษายังปรากฏถึงความไม่เข้าใจในการประยุกต์เศรษฐกิจพอเพียงเข้ากับการศึกษาอยู่มากพอสมควร
ส่วนในด้านกฎหมายได้มีความพยายามในการผลักดันกฎหมายและกฎระเบียบต่างๆ เพื่อสนับสนุนการปรับทิศทางของประเทศไปสู่แนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ในด้านสุขภาพมักเป็นเรื่องของการให้บริการด้านสุขภาวะองค์รวมโดยเน้นที่คุณธรรมและจริยธรรมเพื่อความสุขของทั้งผู้ให้และผู้รับบริการ และในด้านสิ่งแวดล้อมจะอยู่ภายใต้เรื่องของการพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นส่วนใหญ่
ในการทบทวนวรรณกรรมครั้งนี้ ยังไม่พบงานวิจัยที่ศึกษาบทบาทของครอบครัว สถาบันศาสนาในการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรม แม้จะมีการศึกษาบทบาทของสถาบันการศึกษาในการดำเนินกิจกรรมที่มีรูปแบบสอดคล้องกับหลักการเศรษฐกิจพอเพียง แต่ก็ยังไม่สามารถสรุปได้ว่ากิจกรรมดังกล่าว มีผลในการพัฒนาทางความคิดและความรู้คู่คุณธรรม ได้อย่างมีนัยสำคัญหรือไม่
ส่วนการศึกษาในระดับครัวเรือนจะเป็นการศึกษาลักษณะการเป็นเศรษฐกิจพอเพียง และผลลัพธ์ที่เน้นความพอเพียงมากกว่าศึกษาผลกระทบในแง่การถ่ายทอดแนวคิดดังกล่าว สู่สมาชิกรุ่นใหม่ในครัวเรือนหรือการสร้างผลกระทบในแง่การเป็นตัวอย่างต่อเพื่อนบ้าน
ขณะที่สถาบันดั้งเดิมคือ ครอบครัวและวัดอ่อนแอลง ส่วนสถาบันการศึกษาก็เป็นสถาบันที่มีรูปแบบที่ไม่กลมกลืนกับวิถีชุมชนนัก การศึกษาวิจัยในระดับชุมชนกลับพบว่ากิจกรรมและกระบวนการในระดับกลุ่มชุมชน สามารถมีผลต่อการสร้างการเรียนรู้และการปรับพฤติกรรมของสมาชิกในกลุ่มหรือชุมชนได้ แต่ในอนาคตหากสถานศึกษาจะพัฒนาหลักสูตรและกิจกรรมการเรียนการสอน ไปในแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงเพิ่มมากขึ้น เหมือนเช่นที่มีการริเริ่มดำเนินการในการศึกษาทุกระดับอยู่แล้ว
ในขณะนี้ข้อเชื่อมต่อที่ยังไม่ปรากฏความเข้มแข็งอย่างชัดเจน คือ วัด ถ้ายังไม่สามารถสร้างสถาบันวัดให้เข้มแข็งด้วยระบบการศึกษาของพระสงฆ์ได้ในระยะปานกลาง อาจจะต้องอาศัยชุมชนเป็นหลัก และถ้าทิศทางของการพัฒนาสถาบันศึกษาในแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงยังไม่เปลี่ยนแปลง อาจจะพึ่งสถาบันการศึกษาได้บ้างในระยะปานกลาง
การทบทวนวรรณกรรมในส่วนเกี่ยวข้องกับภาคเศรษฐกิจสมัยใหม่ ที่สามารถประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้ พบว่า การพัฒนาองค์ความรู้ในด้านนี้ยังจำกัดอยู่มาก ส่วนมากจะเป็นการศึกษาภาคเกษตรและชนบทกับเกษตรทฤษฎีใหม่ แม้ว่าจะมีการยกตัวอย่างบริษัทธุรกิจเอกชนที่มีแนวคิดและปฏิบัติสอดคล้องกับเศรษฐกิจพอเพียง แต่ก็เป็นการศึกษาเชิงบรรยายที่ไม่ได้สร้างผลกระทบในเชิงวิชาการมากนัก
ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีการศึกษาในมิติการพัฒนาที่ยั่งยืนอยู่มากพอสมควร ทั้งโดยนักเศรษฐศาสตร์ (ที่คำนวณดัชนีชี้วัด ISEW และคำนวณ GREEN GDP ที่สะท้อนต้นทุนสิ่งแวดล้อมในการคำนวณสวัสดิการสังคมและในการคำนวณผลผลิตมวลรวมประชาชาติ ตามลำดับ) และนักมานุษยวิทยา (ที่ให้ความสำคัญกับบทบาทของชุมชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ) ส่วนการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับสนธิสัญญาระหว่างประเทศก็กำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินการ
อย่างไรก็ดี มีคำถามว่า การพัฒนาที่ยั่งยืนมีแนวคิดที่ต่างจากปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หรือไม่อย่างไร คำตอบในเรื่องนี้อยู่ที่ข้อเท็จจริงที่ว่าการพัฒนาที่ยั่งยืนที่พัฒนามาจากตะวันตก ยังมิได้เน้นมิติของจริยธรรม ซึ่งเป็นศาสตร์หนึ่งของจริยธรรมที่ว่าด้วยสิ่งแวดล้อม (ENVIRONMENTAL ETHICS) และงานศึกษาวิจัยของไทยในมิติที่ผสมผสานแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืนบนพื้นฐาน พุทธเศรษฐศาสตร์และจริยธรรมสิ่งแวดล้อมก็ยังมีจำกัด
หลังการทบทวนงานวิจัย ข้อเขียน และบทความเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงเกือบทศวรรษหลังจากวิกฤติเศรษฐกิจ พบว่า เรายังไม่สามารถสร้างองค์ความรู้เพิ่มเติมขึ้นเพียงพอที่จะตอบโจทย์เหล่านี้ได้อย่างชัดเจน รวมทั้งยังมีองค์ความรู้จำกัดที่จะช่วยในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อตอบวัตถุประสงค์ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 จึงยังคงมีความจำเป็นที่จะต้องส่งเสริมให้มีการพัฒนาความรู้ด้านนี้เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ควรมีการจัดทำดัชนีชี้วัดความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงของประเทศในระดับต่างๆ โดยในระหว่างการจัดทำนี้ หากพบว่ายังมีความรู้ในเรื่องใดที่ยังมีความไม่กระจ่างชัด และสามารถหาคำตอบได้ด้วยงานวิจัย ก็ควรส่งเสริมให้มีการจัดทำวิจัยในเรื่องนั้นๆ เพิ่มเติม พร้อมกับการลงมือปฏิบัติอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ โดยงานวิจัยในส่วนที่เป็นการพัฒนาทฤษฎีที่เป็นผลจากการปฏิบัติจริงจะเป็นสิ่งที่มีคุณค่ายิ่งต่อการนำไปใช้พัฒนาสังคมและประเทศในวงกว้าง... (จากคอลัมน์ พอเพียงภิวัตน์)
Tuesday, October 30, 2007
Wednesday, October 24, 2007
เรื่อง CSR ที่ CEO ควรรู้
องค์กรหลายแห่ง ได้นำเรื่อง Corporate Social Responsibility หรือ "ซีเอสอาร์" มาเป็นประเด็นสื่อสารทางการตลาด ขณะที่บางองค์กรขยายผลเพื่อใช้ซีเอสอาร์เป็นรูปแบบในการกีดกันการแข่งขันการค้า จนทำให้ ซีเอสอาร์ กลายเป็นเครื่องมือที่ใช้สนองประโยชน์ทางธุรกิจ แทนที่จะใช้เพื่อเจตนารมณ์ของการมีสำนึกรับผิดชอบต่อสังคมอย่างแท้จริง การดำเนินกิจกรรมซีเอสอาร์ ของกิจการในทุกวันนี้ จึงมีทั้งที่เกิดขึ้นโดยความเต็มใจและเกิดขึ้นจากความจำเป็นทางธุรกิจ
การดำเนินกิจกรรม ซีเอสอาร์ ขององค์กรธุรกิจที่ประกอบด้วยความสำนึกรับผิดชอบต่อสังคม ก็ยังมีข้อถกเถียงเพิ่มเติมอีกว่า ควรเป็นการดำเนินตามหน้าที่ ตามกฎหมาย ที่ไม่สร้างให้เกิดความเดือดร้อนแก่สังคมก็เพียงพอแล้ว หรือว่าต้องเกิดขึ้นจากการอาสาหรือสมัครใจยินดีในการดำเนินกิจกรรมดูแลรับผิดชอบสังคม ซึ่งอยู่เหนือการปฏิบัติตามหน้าที่หรือตามกฎหมายเท่านั้น... (อ่านรายละเอียดในคอลัมน์ 20CEOs 20IDEAs) [Archived]
การดำเนินกิจกรรม ซีเอสอาร์ ขององค์กรธุรกิจที่ประกอบด้วยความสำนึกรับผิดชอบต่อสังคม ก็ยังมีข้อถกเถียงเพิ่มเติมอีกว่า ควรเป็นการดำเนินตามหน้าที่ ตามกฎหมาย ที่ไม่สร้างให้เกิดความเดือดร้อนแก่สังคมก็เพียงพอแล้ว หรือว่าต้องเกิดขึ้นจากการอาสาหรือสมัครใจยินดีในการดำเนินกิจกรรมดูแลรับผิดชอบสังคม ซึ่งอยู่เหนือการปฏิบัติตามหน้าที่หรือตามกฎหมายเท่านั้น... (อ่านรายละเอียดในคอลัมน์ 20CEOs 20IDEAs) [Archived]
Tuesday, October 23, 2007
อรรถประโยชน์กับข่าวการเมือง
คำว่า อรรถ หมายถึง ความมุ่งหมาย เมื่อมาสมาสเป็น อรรถประโยชน์ (Utility) จึงหมายถึง ประโยชน์ที่มุ่งหมาย หรือประโยชน์ที่ต้องการ เรื่องอรรถประโยชน์มีความหมายอยู่ 2 นัยด้วยกัน คือ อรรถประโยชน์เชิงวัตถุวิสัย (Objective Utility) กับอรรถประโยชน์เชิงจิตวิสัย (Subjective Utility)
ในส่วนที่เป็นอรรถประโยชน์เชิงวัตถุวิสัยนั้น จะเกี่ยวข้องกับความเป็นประโยชน์ (Usefulness) หรือคุณค่าของสิ่งต่างๆ ในลักษณะที่เป็นอยู่ตามจริงโดยธรรมชาติ เป็น "คุณค่าแท้" ที่มีอยู่แต่เดิม โดยมิได้ถูกเพิ่มเติมเสริมแต่งหรือดัดแปลงตามความคิดเห็นของมนุษย์ เช่น
น้ำมีคุณค่ามากกว่าเพชร เพราะน้ำมีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ตามธรรมชาติมากกว่าเพชร คุณค่าของน้ำ ในที่นี้เรียกว่า คุณค่าในการใช้สอย (Value in Use) ในขณะที่ คุณค่าของเพชร เป็นคุณค่าที่ถูกให้โดยมนุษย์ ถูกเพิ่มเติมเสริมแต่งให้มีคุณค่าสูง ด้วยเงื่อนไขของความหายาก (Scarcity) ซึ่งถือเป็นปัจจัยหนึ่งในการใช้กำหนดคุณค่าของเพชร ในที่นี้ที่เรียกว่า คุณค่าในการแลกเปลี่ยน (Value in Exchange) เนื่องจากเพชรเพียงส่วนน้อยสามารถแลกเป็นน้ำได้จำนวนมหาศาล
ในส่วนที่เป็นอรรถประโยชน์เชิงจิตวิสัยนั้น จะเกี่ยวข้องกับความเป็นประโยชน์หรือคุณค่าของสิ่งต่างๆ ในลักษณะที่เป็นการให้คุณค่าโดยมนุษย์ คือ การที่แต่ละบุคคลจะให้คุณค่ากับสิ่งเหล่านั้นตามความคิดเห็นของตนเอง คุณค่า (ในการแลกเปลี่ยน) ตามความหมายนี้ จึงขึ้นอยู่กับปริมาณของสิ่งนั้นๆ ด้วย ถ้าของบางอย่างมีมากเกินไป การให้คุณค่าแก่สิ่งนั้นๆ ก็จะลดลง เพราะหาได้ง่าย ถึงแม้จะมีคุณค่าในการใช้สอยก็ตาม
หรือการที่มนุษย์สามารถสร้างความมั่งคั่งได้โดยการลดความต้องการของตัวเองลงให้เป็นสัดส่วนลงตัวกับสิ่งที่มีอยู่ แทนการขวนขวายหาสิ่งต่างๆ เพิ่มตามความต้องการที่ไม่จำกัด ซึ่งก็คือ การให้คุณค่าอย่างสูงแก่สิ่งของที่ตนมีอยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องขวนขวายหาสิ่งอื่นมาเพิ่มเติม
เมื่อเงินเข้ามามีบทบาทมากขึ้น และสิ่งของทุกสิ่งทุกอย่างสามารถกำหนดคุณค่าเทียบกับเงินได้ ความหมายของคุณค่าจึงค่อยๆ ถูกเปลี่ยนไปเป็น "มูลค่า" หรือ "ราคา" ของสิ่งของ อันเป็นจุดเบี่ยงเบนสำคัญจากความเป็นจริงตามธรรมชาติของความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งของนั้นๆ เพราะมูลค่าหรือราคาเป็น "คุณค่าเทียม" ที่มนุษย์ตกลงหรือสมยอมกันเอง (Human Convention) ไม่ใช่ คุณค่าแท้ หรือ คุณค่าในการใช้สอย ซึ่งเป็นคุณค่าตามธรรมชาติที่แท้จริงของสิ่งนั้นๆ
คำที่มีความเกี่ยวเนื่องกับอรรถประโยชน์อีกคำหนึ่ง คือ Utilization หรือการใช้ประโยชน์ ซึ่งแปลว่า การทำให้เกิดประโยชน์ตามที่ต้องการ ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นคือ ประโยชน์ที่ได้รับ ซึ่งในทางปฏิบัติ ประโยชน์ที่ได้รับตามความเป็นจริง (Actual) อาจจะไม่เท่ากับประโยชน์ที่มุ่งหมายหรือที่คาดว่าจะได้รับ (Expected) ก็ได้
ขอให้สังเกตว่า มูลค่าที่บุคคลได้รับจากการใช้ประโยชน์ จะต่างจากคุณค่าในการใช้สอยในอรรถประโยชน์ คือ มูลค่าในการใช้ประโยชน์จะแปรเปลี่ยนตามบุคคลผู้ใช้ประโยชน์ โดยขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพหรือความสามารถในการใช้ประโยชน์ของบุคคลนั้นๆ ขณะที่คุณค่าในการใช้สอยในอรรถประโยชน์หรือประโยชน์ที่มุ่งหมาย ยังคงมีคุณค่าในสภาพเดิมตามธรรมชาติ ไม่ว่าจะมีการใช้สอยเกิดขึ้นแล้วหรือยังไม่มีการใช้สอยเกิดขึ้นโดยบุคคลใดๆ ก็ตาม ถือเป็นคุณค่าในตัวของสิ่งต่างๆ ที่ยังมิได้ถูกใช้ประโยชน์
จากข้อเท็จจริงที่ปรากฏนี้ เราสามารถนำไปสู่การพิจารณาคุณค่าเปรียบเทียบ (Comparative Value) ระหว่างคุณค่าที่มนุษย์กำหนดขึ้นในอรรถประโยชน์เชิงจิตวิสัยกับคุณค่าเดิมแท้ของสิ่งต่างๆ ในอรรถประโยชน์เชิงวัตถุวิสัย เพื่อนำไปประยุกต์กับเรื่องราวที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันได้
การพิจารณาเรื่องอรรถประโยชน์ของข่าวการเมืองที่ออกมาในช่วงนี้ ดูจะหาคุณค่าที่แท้จริงได้น้อย เพราะยังเป็นช่วงที่ "พรรคการเมือง" และ "นักการเมือง" ส่วนใหญ่กำลังสร้างมูลค่าหรือราคาให้แก่ตนเองเพื่อแลกเปลี่ยนกับเม็ดเงินจากผู้สนับสนุนเป็นหลัก
วิธีการสร้างมูลค่าทางการเมือง หากใช้อรรถประโยชน์เชิงวัตถุวิสัยจะได้ราคาน้อย เนื่องจากพรรคการเมืองและนักการเมืองในปัจจุบัน ขาดการพัฒนาเพื่อสร้างคุณค่าแท้ให้แก่สังคมมาเป็นเวลานาน ทำให้การสร้างมูลค่าจึงต้องอ้างอิงอรรถประโยชน์เชิงจิตวิสัย คือการให้คุณค่าโดยใช้ภาพลักษณ์ที่โหมกระพือทางสื่อต่างๆ เป็นระลอก ยิ่งไปกว่านั้น บรรดาพรรคการเมืองและนักการเมืองต่างก็พยายามที่จะเพิ่มคุณค่าในการแลกเปลี่ยนด้วยการเพ่งเล็งไปที่การใช้ประโยชน์หรือประโยชน์ที่ผู้ใช้ได้รับ
โดยในเบื้องหน้าจะแสดงให้เห็นถึงประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับ และในเบื้องหลังจะชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ที่ผู้สนับสนุนจะได้รับ หากตนเองหรือพรรคการเมืองที่ตนเองสังกัดอยู่ได้รับเลือกตั้งให้เข้ามารับใช้บ้านเมือง
การเปรียบเทียบคุณค่าของกิจกรรมทางการเมืองระหว่างพรรคการเมืองเพื่อประโยชน์ที่มุ่งหมายเชิงจิตวิสัยหรือคุณค่าเทียม กับพรรคการเมืองเพื่อประโยชน์ที่มุ่งหมายเชิงวัตถุวิสัยหรือคุณค่าแท้ พบว่า ในกรณีแรก ประโยชน์ที่มุ่งหมายจากกิจกรรมทางการเมืองนั้น เน้นผลลัพธ์ที่ต้องให้มูลค่าสูงหรือสามารถแลกเป็นเงินสนับสนุนซึ่งเป็นผลตอบแทนจากกิจกรรมทางการเมืองดังกล่าวได้ ขณะที่ ประโยชน์ที่มุ่งหมายจากกิจกรรมทางการเมืองในกรณีหลัง ไม่จำเป็นต้องให้มูลค่าที่สูงหรือแลกเปลี่ยนเป็นเงินสนับสนุน แต่สามารถสร้างคุณค่าให้แก่ประชาชนเป็นหลัก อีกทั้งไม่จำเป็นต้องยึดผลตอบแทนทางการเมืองเป็นที่ตั้งในทุกกรณี เป็นการเน้นที่ความคุ้มค่ามากกว่าความคุ้มทุน
การติดตามข่าวการเมืองในเวลานี้ จึงควรพิจารณาที่คุณค่าแท้หรืออรรถประโยชน์เชิงวัตถุวิสัย มิใช่การพิจารณาว่าพรรคการเมืองใดต้อนนักการเมืองโดยใช้มูลค่าหรือราคาเป็นเครื่องตัดสิน ซึ่งท้ายที่สุด จะทำให้ประชาชนต้องจ่ายในราคาที่แพง เพื่อแลกกับประชาธิปไตยในแบบเทียมๆ ที่หาคุณค่าแท้ให้แก่สังคมมิได้... (จากคอลัมน์ พอเพียงภิวัตน์)
ในส่วนที่เป็นอรรถประโยชน์เชิงวัตถุวิสัยนั้น จะเกี่ยวข้องกับความเป็นประโยชน์ (Usefulness) หรือคุณค่าของสิ่งต่างๆ ในลักษณะที่เป็นอยู่ตามจริงโดยธรรมชาติ เป็น "คุณค่าแท้" ที่มีอยู่แต่เดิม โดยมิได้ถูกเพิ่มเติมเสริมแต่งหรือดัดแปลงตามความคิดเห็นของมนุษย์ เช่น
น้ำมีคุณค่ามากกว่าเพชร เพราะน้ำมีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ตามธรรมชาติมากกว่าเพชร คุณค่าของน้ำ ในที่นี้เรียกว่า คุณค่าในการใช้สอย (Value in Use) ในขณะที่ คุณค่าของเพชร เป็นคุณค่าที่ถูกให้โดยมนุษย์ ถูกเพิ่มเติมเสริมแต่งให้มีคุณค่าสูง ด้วยเงื่อนไขของความหายาก (Scarcity) ซึ่งถือเป็นปัจจัยหนึ่งในการใช้กำหนดคุณค่าของเพชร ในที่นี้ที่เรียกว่า คุณค่าในการแลกเปลี่ยน (Value in Exchange) เนื่องจากเพชรเพียงส่วนน้อยสามารถแลกเป็นน้ำได้จำนวนมหาศาล
ในส่วนที่เป็นอรรถประโยชน์เชิงจิตวิสัยนั้น จะเกี่ยวข้องกับความเป็นประโยชน์หรือคุณค่าของสิ่งต่างๆ ในลักษณะที่เป็นการให้คุณค่าโดยมนุษย์ คือ การที่แต่ละบุคคลจะให้คุณค่ากับสิ่งเหล่านั้นตามความคิดเห็นของตนเอง คุณค่า (ในการแลกเปลี่ยน) ตามความหมายนี้ จึงขึ้นอยู่กับปริมาณของสิ่งนั้นๆ ด้วย ถ้าของบางอย่างมีมากเกินไป การให้คุณค่าแก่สิ่งนั้นๆ ก็จะลดลง เพราะหาได้ง่าย ถึงแม้จะมีคุณค่าในการใช้สอยก็ตาม
หรือการที่มนุษย์สามารถสร้างความมั่งคั่งได้โดยการลดความต้องการของตัวเองลงให้เป็นสัดส่วนลงตัวกับสิ่งที่มีอยู่ แทนการขวนขวายหาสิ่งต่างๆ เพิ่มตามความต้องการที่ไม่จำกัด ซึ่งก็คือ การให้คุณค่าอย่างสูงแก่สิ่งของที่ตนมีอยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องขวนขวายหาสิ่งอื่นมาเพิ่มเติม
เมื่อเงินเข้ามามีบทบาทมากขึ้น และสิ่งของทุกสิ่งทุกอย่างสามารถกำหนดคุณค่าเทียบกับเงินได้ ความหมายของคุณค่าจึงค่อยๆ ถูกเปลี่ยนไปเป็น "มูลค่า" หรือ "ราคา" ของสิ่งของ อันเป็นจุดเบี่ยงเบนสำคัญจากความเป็นจริงตามธรรมชาติของความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งของนั้นๆ เพราะมูลค่าหรือราคาเป็น "คุณค่าเทียม" ที่มนุษย์ตกลงหรือสมยอมกันเอง (Human Convention) ไม่ใช่ คุณค่าแท้ หรือ คุณค่าในการใช้สอย ซึ่งเป็นคุณค่าตามธรรมชาติที่แท้จริงของสิ่งนั้นๆ
คำที่มีความเกี่ยวเนื่องกับอรรถประโยชน์อีกคำหนึ่ง คือ Utilization หรือการใช้ประโยชน์ ซึ่งแปลว่า การทำให้เกิดประโยชน์ตามที่ต้องการ ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นคือ ประโยชน์ที่ได้รับ ซึ่งในทางปฏิบัติ ประโยชน์ที่ได้รับตามความเป็นจริง (Actual) อาจจะไม่เท่ากับประโยชน์ที่มุ่งหมายหรือที่คาดว่าจะได้รับ (Expected) ก็ได้
ขอให้สังเกตว่า มูลค่าที่บุคคลได้รับจากการใช้ประโยชน์ จะต่างจากคุณค่าในการใช้สอยในอรรถประโยชน์ คือ มูลค่าในการใช้ประโยชน์จะแปรเปลี่ยนตามบุคคลผู้ใช้ประโยชน์ โดยขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพหรือความสามารถในการใช้ประโยชน์ของบุคคลนั้นๆ ขณะที่คุณค่าในการใช้สอยในอรรถประโยชน์หรือประโยชน์ที่มุ่งหมาย ยังคงมีคุณค่าในสภาพเดิมตามธรรมชาติ ไม่ว่าจะมีการใช้สอยเกิดขึ้นแล้วหรือยังไม่มีการใช้สอยเกิดขึ้นโดยบุคคลใดๆ ก็ตาม ถือเป็นคุณค่าในตัวของสิ่งต่างๆ ที่ยังมิได้ถูกใช้ประโยชน์
จากข้อเท็จจริงที่ปรากฏนี้ เราสามารถนำไปสู่การพิจารณาคุณค่าเปรียบเทียบ (Comparative Value) ระหว่างคุณค่าที่มนุษย์กำหนดขึ้นในอรรถประโยชน์เชิงจิตวิสัยกับคุณค่าเดิมแท้ของสิ่งต่างๆ ในอรรถประโยชน์เชิงวัตถุวิสัย เพื่อนำไปประยุกต์กับเรื่องราวที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันได้
การพิจารณาเรื่องอรรถประโยชน์ของข่าวการเมืองที่ออกมาในช่วงนี้ ดูจะหาคุณค่าที่แท้จริงได้น้อย เพราะยังเป็นช่วงที่ "พรรคการเมือง" และ "นักการเมือง" ส่วนใหญ่กำลังสร้างมูลค่าหรือราคาให้แก่ตนเองเพื่อแลกเปลี่ยนกับเม็ดเงินจากผู้สนับสนุนเป็นหลัก
วิธีการสร้างมูลค่าทางการเมือง หากใช้อรรถประโยชน์เชิงวัตถุวิสัยจะได้ราคาน้อย เนื่องจากพรรคการเมืองและนักการเมืองในปัจจุบัน ขาดการพัฒนาเพื่อสร้างคุณค่าแท้ให้แก่สังคมมาเป็นเวลานาน ทำให้การสร้างมูลค่าจึงต้องอ้างอิงอรรถประโยชน์เชิงจิตวิสัย คือการให้คุณค่าโดยใช้ภาพลักษณ์ที่โหมกระพือทางสื่อต่างๆ เป็นระลอก ยิ่งไปกว่านั้น บรรดาพรรคการเมืองและนักการเมืองต่างก็พยายามที่จะเพิ่มคุณค่าในการแลกเปลี่ยนด้วยการเพ่งเล็งไปที่การใช้ประโยชน์หรือประโยชน์ที่ผู้ใช้ได้รับ
โดยในเบื้องหน้าจะแสดงให้เห็นถึงประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับ และในเบื้องหลังจะชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ที่ผู้สนับสนุนจะได้รับ หากตนเองหรือพรรคการเมืองที่ตนเองสังกัดอยู่ได้รับเลือกตั้งให้เข้ามารับใช้บ้านเมือง
การเปรียบเทียบคุณค่าของกิจกรรมทางการเมืองระหว่างพรรคการเมืองเพื่อประโยชน์ที่มุ่งหมายเชิงจิตวิสัยหรือคุณค่าเทียม กับพรรคการเมืองเพื่อประโยชน์ที่มุ่งหมายเชิงวัตถุวิสัยหรือคุณค่าแท้ พบว่า ในกรณีแรก ประโยชน์ที่มุ่งหมายจากกิจกรรมทางการเมืองนั้น เน้นผลลัพธ์ที่ต้องให้มูลค่าสูงหรือสามารถแลกเป็นเงินสนับสนุนซึ่งเป็นผลตอบแทนจากกิจกรรมทางการเมืองดังกล่าวได้ ขณะที่ ประโยชน์ที่มุ่งหมายจากกิจกรรมทางการเมืองในกรณีหลัง ไม่จำเป็นต้องให้มูลค่าที่สูงหรือแลกเปลี่ยนเป็นเงินสนับสนุน แต่สามารถสร้างคุณค่าให้แก่ประชาชนเป็นหลัก อีกทั้งไม่จำเป็นต้องยึดผลตอบแทนทางการเมืองเป็นที่ตั้งในทุกกรณี เป็นการเน้นที่ความคุ้มค่ามากกว่าความคุ้มทุน
การติดตามข่าวการเมืองในเวลานี้ จึงควรพิจารณาที่คุณค่าแท้หรืออรรถประโยชน์เชิงวัตถุวิสัย มิใช่การพิจารณาว่าพรรคการเมืองใดต้อนนักการเมืองโดยใช้มูลค่าหรือราคาเป็นเครื่องตัดสิน ซึ่งท้ายที่สุด จะทำให้ประชาชนต้องจ่ายในราคาที่แพง เพื่อแลกกับประชาธิปไตยในแบบเทียมๆ ที่หาคุณค่าแท้ให้แก่สังคมมิได้... (จากคอลัมน์ พอเพียงภิวัตน์)
Tuesday, October 16, 2007
โรดแมพประเทศไทยฉบับพอเพียง
วานนี้ (15 ต.ค.) ได้มีการจัดประชุมระดมสมองเพื่อพิจารณารายละเอียด ร่างแผนที่เดินทาง (road map) เศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งประกอบด้วย ตัวแทนจากหน่วยงานภาครัฐ เอกชน นักวิชาการ ผู้แทนจากพรรคการเมือง องค์กรอิสระ และภาคประชาสังคมเข้าร่วมให้ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ สำหรับการประชุมระดมสมองครั้งนี้ถูกจัดขึ้นเป็นครั้งที่สาม โดยสถาบันการจัดการเพื่อชนบทและสังคม มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ภายใต้โครงการจัดทำแผนที่เดินทางเศรษฐกิจพอเพียง และการสร้างเครือข่ายเศรษฐกิจพอเพียงระหว่างประเทศ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
แม้ว่าประเทศไทยจะมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 (2550-2554) ซึ่งเป็นแผนที่นำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมากำหนดเป็นวิสัยทัศน์ของการพัฒนาประเทศ ต่อเนื่องจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 9 ซึ่งจัดทำขึ้นภายใต้วิสัยทัศน์เดียวกัน แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ ยังไม่มีแผนที่นำทางไปสู่เป้าหมายดังกล่าวอย่างชัดเจน และมีการดำเนินการเป็นขั้นตอนตามคุณลักษณะและเงื่อนไขที่สำคัญในปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างแท้จริง
แผนที่เดินทางเศรษฐกิจพอเพียงฉบับนี้ จึงถูกยกร่างขึ้นเพื่อสร้างให้เกิดความตระหนัก และความเข้าใจของคนในชาติต่อการพัฒนาตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงในขั้นตอนต่างๆ และเพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนประเทศในลักษณะที่บรรสานไปในทิศทางเดียวกัน สอดคล้องกับเงื่อนไขคุณธรรมและความรอบรู้ ตลอดจนคุณลักษณะของความพอประมาณ ความมีเหตุมีผล และการมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี
เนื้อหาของร่างโรดแมพประเทศไทยฉบับพอเพียงนี้ เริ่มจากวิสัยทัศน์ที่ว่า "ประเทศไทยมีวิถีชีวิตและสังคมตามแนวทางพอเพียง มีภูมิคุ้มกันที่ทำให้อยู่ได้อย่างมีความสุขและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ โดยมีระบบเศรษฐกิจที่เป็นธรรม มีความมั่นคงทางสังคม มีความยั่งยืนทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และมีความสมดุลของการพัฒนาทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม" ภายใต้ยุทธศาสตร์สามประการ ได้แก่ การสร้างระบบเศรษฐกิจที่เป็นธรรม การสร้างความมั่นคงทางสังคม และการสร้างความยั่งยืนทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
แนวทางหลักในการขับเคลื่อนตามยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย การยกระดับคุณธรรมในสังคมและธรรมาภิบาลในการบริหารภาครัฐ การพัฒนาองค์กรชุมชนและเครือข่ายให้เข้มแข็ง การส่งเสริมการเมืองแบบมีส่วนร่วมและการเมืองท้องถิ่นแบบสมานฉันท์ การฟื้นฟูดินน้ำป่าและการจัดการขยะ และการลดช่องว่างและสร้างภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจ โดยมีตัวชี้วัดการดำเนินงานที่สำคัญ 15 ตัวชี้วัด ประกอบด้วย ตัวชี้วัดด้านคุณธรรม 5 ตัวชี้วัด ตัวชี้วัดด้านความรอบรู้ 4 ตัวชี้วัด และตัวชี้วัดด้านความพอประมาณ มีเหตุมีผล มีภูมิคุ้มกัน 6 ตัวชี้วัด
ในด้านคุณธรรม ได้แก่ สังคมที่มีความโปร่งใส มีปัญหาสังคมต่ำ ภาครัฐมีธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการทั้งส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น มีระดับการคอร์รัปชันลดลง การเมืองท้องถิ่นมีความสมานฉันท์ เพราะคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม คดีความและความขัดแย้งในท้องถิ่นลดลง การมีส่วนร่วมของประชาชนมีมากขึ้น ภาคธุรกิจมีความรับผิดชอบต่อสังคม ประชาชนมีความซื่อสัตย์ มีความเพียร มีสัมมาอาชีวะ และมีจิตสำนึกสาธารณะ
ในด้านความรอบรู้ ได้แก่ สังคมที่มีความรอบรู้ มีกระบวนการเรียนรู้ที่ดี และเป็นการเรียนรู้ที่นำไปสู่การสร้างความพอเพียงความสมดุลในการดำเนินชีวิต การรู้จักตนเอง รู้จักชุมชนของตนเอง และรู้จักโลก ชุมชนมีศักยภาพในการจัดการการเรียนรู้จากบริบทชุมชนและบริบทสังคมที่เป็นจริง การมีวิทยาลัยชุมชนที่ผสมผสานการเรียนรู้ในระบบ นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย มีการเรียนรู้ผ่านกระบวนการแผนแม่บทชุมชน มีการปรับเปลี่ยนเป้าหมายการศึกษาในระบบให้สอดคล้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ประชาชนมีการทำบัญชีครัวเรือน ประชาชนมีโอกาสในการศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาที่จัดการหลักสูตรอย่างเหมาะสม เป็นพื้นฐานสำหรับการพัฒนาคนให้รู้เท่าทันโลกาภิวัตน์ และเพื่อให้สามารถพัฒนาตนเองในด้านเทคโนโลยีอย่างเหมาะสมได้
ในด้านความพอประมาณ มีเหตุมีผล มีภูมิคุ้มกัน ได้แก่ สังคมที่พอประมาณ มีเหตุมีผล มีภูมิคุ้มกัน ไม่มุ่งเน้นการพัฒนาจนทำลายฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีทั้งปริมาณและคุณภาพทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น สัดส่วนการใช้จ่าย/รายได้ลดลง และมีอัตราการออมเพิ่มขึ้น สถาบันครอบครัวเข้มแข็ง มีอัตราการหย่าร้างเด็กถูกทอดทิ้งลดลง ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ลดลง และมีอัตราการเปิดประเทศอยู่ในระดับที่เหมาะสม สามารถพึ่งตนเองในด้านทุน และเทคโนโลยีได้ในบางระดับ
โรดแมพประเทศไทยใน 5 ปีแรก จะเป็นการสร้างรากฐานของเศรษฐกิจพอเพียงในสองส่วน ส่วนแรก เป็นการสร้างเงื่อนไขที่ก่อให้เกิด "การเปลี่ยนแปลงหรือการระเบิดจากภายใน" คือ การสร้างคุณธรรมและความรู้ ซึ่งเป็นเงื่อนไขหรือปัจจัยนำเข้าที่สำคัญของความเป็นเศรษฐกิจพอเพียง ส่วนที่สอง เป็น "การปรับเปลี่ยนกลไกหรือโครงสร้างแวดล้อมภายนอก" ที่เอื้อให้บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรธุรกิจ และหน่วยงานของรัฐ มีความพอประมาณ มีเหตุมีผล และมีภูมิคุ้มกัน ตามขั้นตอนที่เริ่มจากการปลูกฝังคุณธรรม การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้
การสร้างกลไกที่สนับสนุนความพอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน การปรับปรุง/ขจัดกลไกที่ขัดขวางความพอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน และการติดตามผล ทบทวนการดำเนินงาน และปรับปรุงกลยุทธ์ตามลำดับ ด้วยการใช้วัฒนธรรมชุมชน วัฒนธรรมองค์กร (ทุนทางสังคม) และทรัพยากรธรรมชาติ (ทุนทรัพยากรธรรมชาติ) เป็นเครื่องมือในการสร้างจริยธรรม การเรียนรู้ และพื้นที่ให้ประชาชนมีส่วนร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อสร้างการเมืองสมานฉันท์ ส่วนกลไกภายนอกที่ควรสร้างเสริมหรือปรับเปลี่ยน จะมีทั้งกลไกที่เป็นกฎหมาย นโยบาย และงบประมาณ เป็นต้น
ข้อสรุปที่ได้จากการระดมสมองครั้งนี้ จะนำไปใช้เพื่อปรับปรุงเนื้อหาในแผนที่เดินทางฉบับสมบูรณ์ ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนพฤศจิกายนนี้ ผู้ที่สนใจสามารถติดตามรายละเอียดของร่างแผนที่เดินทางเศรษฐกิจพอเพียงฉบับนี้ได้ทางเวบไซต์ www.SEroadmap.org ... (จากคอลัมน์ พอเพียงภิวัตน์)
ฟังรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทาง MCOT dot Net
แม้ว่าประเทศไทยจะมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 (2550-2554) ซึ่งเป็นแผนที่นำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมากำหนดเป็นวิสัยทัศน์ของการพัฒนาประเทศ ต่อเนื่องจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 9 ซึ่งจัดทำขึ้นภายใต้วิสัยทัศน์เดียวกัน แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ ยังไม่มีแผนที่นำทางไปสู่เป้าหมายดังกล่าวอย่างชัดเจน และมีการดำเนินการเป็นขั้นตอนตามคุณลักษณะและเงื่อนไขที่สำคัญในปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างแท้จริง
แผนที่เดินทางเศรษฐกิจพอเพียงฉบับนี้ จึงถูกยกร่างขึ้นเพื่อสร้างให้เกิดความตระหนัก และความเข้าใจของคนในชาติต่อการพัฒนาตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงในขั้นตอนต่างๆ และเพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนประเทศในลักษณะที่บรรสานไปในทิศทางเดียวกัน สอดคล้องกับเงื่อนไขคุณธรรมและความรอบรู้ ตลอดจนคุณลักษณะของความพอประมาณ ความมีเหตุมีผล และการมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี
เนื้อหาของร่างโรดแมพประเทศไทยฉบับพอเพียงนี้ เริ่มจากวิสัยทัศน์ที่ว่า "ประเทศไทยมีวิถีชีวิตและสังคมตามแนวทางพอเพียง มีภูมิคุ้มกันที่ทำให้อยู่ได้อย่างมีความสุขและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ โดยมีระบบเศรษฐกิจที่เป็นธรรม มีความมั่นคงทางสังคม มีความยั่งยืนทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และมีความสมดุลของการพัฒนาทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม" ภายใต้ยุทธศาสตร์สามประการ ได้แก่ การสร้างระบบเศรษฐกิจที่เป็นธรรม การสร้างความมั่นคงทางสังคม และการสร้างความยั่งยืนทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
แนวทางหลักในการขับเคลื่อนตามยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย การยกระดับคุณธรรมในสังคมและธรรมาภิบาลในการบริหารภาครัฐ การพัฒนาองค์กรชุมชนและเครือข่ายให้เข้มแข็ง การส่งเสริมการเมืองแบบมีส่วนร่วมและการเมืองท้องถิ่นแบบสมานฉันท์ การฟื้นฟูดินน้ำป่าและการจัดการขยะ และการลดช่องว่างและสร้างภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจ โดยมีตัวชี้วัดการดำเนินงานที่สำคัญ 15 ตัวชี้วัด ประกอบด้วย ตัวชี้วัดด้านคุณธรรม 5 ตัวชี้วัด ตัวชี้วัดด้านความรอบรู้ 4 ตัวชี้วัด และตัวชี้วัดด้านความพอประมาณ มีเหตุมีผล มีภูมิคุ้มกัน 6 ตัวชี้วัด
ในด้านคุณธรรม ได้แก่ สังคมที่มีความโปร่งใส มีปัญหาสังคมต่ำ ภาครัฐมีธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการทั้งส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น มีระดับการคอร์รัปชันลดลง การเมืองท้องถิ่นมีความสมานฉันท์ เพราะคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม คดีความและความขัดแย้งในท้องถิ่นลดลง การมีส่วนร่วมของประชาชนมีมากขึ้น ภาคธุรกิจมีความรับผิดชอบต่อสังคม ประชาชนมีความซื่อสัตย์ มีความเพียร มีสัมมาอาชีวะ และมีจิตสำนึกสาธารณะ
ในด้านความรอบรู้ ได้แก่ สังคมที่มีความรอบรู้ มีกระบวนการเรียนรู้ที่ดี และเป็นการเรียนรู้ที่นำไปสู่การสร้างความพอเพียงความสมดุลในการดำเนินชีวิต การรู้จักตนเอง รู้จักชุมชนของตนเอง และรู้จักโลก ชุมชนมีศักยภาพในการจัดการการเรียนรู้จากบริบทชุมชนและบริบทสังคมที่เป็นจริง การมีวิทยาลัยชุมชนที่ผสมผสานการเรียนรู้ในระบบ นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย มีการเรียนรู้ผ่านกระบวนการแผนแม่บทชุมชน มีการปรับเปลี่ยนเป้าหมายการศึกษาในระบบให้สอดคล้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ประชาชนมีการทำบัญชีครัวเรือน ประชาชนมีโอกาสในการศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาที่จัดการหลักสูตรอย่างเหมาะสม เป็นพื้นฐานสำหรับการพัฒนาคนให้รู้เท่าทันโลกาภิวัตน์ และเพื่อให้สามารถพัฒนาตนเองในด้านเทคโนโลยีอย่างเหมาะสมได้
ในด้านความพอประมาณ มีเหตุมีผล มีภูมิคุ้มกัน ได้แก่ สังคมที่พอประมาณ มีเหตุมีผล มีภูมิคุ้มกัน ไม่มุ่งเน้นการพัฒนาจนทำลายฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีทั้งปริมาณและคุณภาพทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น สัดส่วนการใช้จ่าย/รายได้ลดลง และมีอัตราการออมเพิ่มขึ้น สถาบันครอบครัวเข้มแข็ง มีอัตราการหย่าร้างเด็กถูกทอดทิ้งลดลง ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ลดลง และมีอัตราการเปิดประเทศอยู่ในระดับที่เหมาะสม สามารถพึ่งตนเองในด้านทุน และเทคโนโลยีได้ในบางระดับ
โรดแมพประเทศไทยใน 5 ปีแรก จะเป็นการสร้างรากฐานของเศรษฐกิจพอเพียงในสองส่วน ส่วนแรก เป็นการสร้างเงื่อนไขที่ก่อให้เกิด "การเปลี่ยนแปลงหรือการระเบิดจากภายใน" คือ การสร้างคุณธรรมและความรู้ ซึ่งเป็นเงื่อนไขหรือปัจจัยนำเข้าที่สำคัญของความเป็นเศรษฐกิจพอเพียง ส่วนที่สอง เป็น "การปรับเปลี่ยนกลไกหรือโครงสร้างแวดล้อมภายนอก" ที่เอื้อให้บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรธุรกิจ และหน่วยงานของรัฐ มีความพอประมาณ มีเหตุมีผล และมีภูมิคุ้มกัน ตามขั้นตอนที่เริ่มจากการปลูกฝังคุณธรรม การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้
การสร้างกลไกที่สนับสนุนความพอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน การปรับปรุง/ขจัดกลไกที่ขัดขวางความพอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน และการติดตามผล ทบทวนการดำเนินงาน และปรับปรุงกลยุทธ์ตามลำดับ ด้วยการใช้วัฒนธรรมชุมชน วัฒนธรรมองค์กร (ทุนทางสังคม) และทรัพยากรธรรมชาติ (ทุนทรัพยากรธรรมชาติ) เป็นเครื่องมือในการสร้างจริยธรรม การเรียนรู้ และพื้นที่ให้ประชาชนมีส่วนร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อสร้างการเมืองสมานฉันท์ ส่วนกลไกภายนอกที่ควรสร้างเสริมหรือปรับเปลี่ยน จะมีทั้งกลไกที่เป็นกฎหมาย นโยบาย และงบประมาณ เป็นต้น
ข้อสรุปที่ได้จากการระดมสมองครั้งนี้ จะนำไปใช้เพื่อปรับปรุงเนื้อหาในแผนที่เดินทางฉบับสมบูรณ์ ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนพฤศจิกายนนี้ ผู้ที่สนใจสามารถติดตามรายละเอียดของร่างแผนที่เดินทางเศรษฐกิจพอเพียงฉบับนี้ได้ทางเวบไซต์ www.SEroadmap.org ... (จากคอลัมน์ พอเพียงภิวัตน์)
ฟังรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทาง MCOT dot Net
Tuesday, October 09, 2007
อยากเห็นพรรคธัมมิกสังคมนิยม
การที่ผู้คนในสังคมจะสามารถอยู่รวมกันได้อย่างเป็นปกติสุขนั้น จำต้องมีหลักการดำเนินชีวิตในสังคมที่สอดคล้องกับความเป็นไปตามธรรมชาติ เมื่อไรก็ตาม ที่การดำเนินกิจกรรมในสังคมเริ่มเบี่ยงเบนหรือผิดแผกไปจากธรรมชาติ ไม่เป็นไปอย่างปกติ สังคมนั้นก็จะเดือดร้อนวุ่นวาย เกิดปัญหาของการเบียดเบียนซึ่งกันและกันไม่รู้จบสิ้น
ท่านพุทธทาสภิกขุ ได้กล่าวไว้ในหนังสือชื่อ ธัมมิกสังคมนิยม ว่า คำว่า "ธมฺมิก" แปลว่า ประกอบอยู่ด้วยธรรม "สังคม" คือ คนหมู่มาก "นิยม" คือ เพ่งเล็งในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
"ธัมมิกสังคมนิยม" จึงเป็นการเพ่งเล็งเรื่องที่เกี่ยวกับคนหมู่มาก ที่ประกอบอยู่ด้วยธรรม เป็นธรรมชาติที่ต้องอาศัยซึ่งกันและกัน ไม่มีการกอบโกยอย่างเสรี เสรีภาพในการกอบโกยส่วนเกินถูกควบคุมไว้โดยธรรมชาติอย่างเฉียบขาด เป็นสังคมนิยมโดยอัตโนมัติของธรรมชาติ เป็นความถูกต้องที่จุนเจือให้มนุษย์อยู่รอดมาได้ทุกวันนี้
ปัญหาเกิดเมื่อมนุษย์เริ่มรู้จัก "เอาส่วนเกิน" เริ่มเก็บสะสม กักตุนเอาไว้มากขึ้นๆ จนเกิดการไม่พอ มีการแย่งกันสะสมส่วนเกินจนต้องมีหัวหน้าที่จะแสวงหากอบโกยส่วนเกิน ต้องทะเลาะเบาะแว้ง รบพุ่งกัน
ธรรมชาติได้มีกฎวางไว้ให้ทุกคนเอาแต่เท่าที่จำเป็น แต่เมื่อมนุษย์ไม่เชื่อฟังธรรมชาติ แข่งกันกอบโกยส่วนเกิน จิตใจขยายไปในทางที่ต้องการส่วนเกินนั้น จนเป็นการริบเอาประโยชน์ของสังคมมาเป็นของตน แทนที่ส่วนเกินนั้นจะตกทอดไปถึงคนอื่นๆ เกิดเป็นความขาดแคลนขึ้นในสังคม จนทำให้พวกที่เหลือส่วนใหญ่กลายเป็นคนยากจน
สังคมปัจจุบันจึงต้องการผู้ปกครองที่รื้อฟื้นธรรมสัจจะของธรรมชาติในข้อนี้มาใช้ให้บังเกิดผล คือ ต้องทำให้เป็นระบบสังคมนิยมที่มีความหมายว่า "เห็นแก่สังคม" ทั้งโดยการพูดและการกระทำ มิใช่เพียงปากว่าเพื่อสังคม เพื่อประเทศ เพื่อส่วนรวม แต่ใจและการกระทำนั้น ยังเป็นไปเพื่อตนเองหรือพวกพ้อง
ส่วนเครื่องมือสำหรับระบบสังคมนิยมที่มีผู้ปกครองดี คือ วิธีปฏิบัติงานที่เป็นเผด็จการ เมื่อไรก็ตาม ที่เห็นว่าเป็นเรื่องถูกต้อง จะดำเนินการและลงมือทำโดยทันที ไม่ยอมให้โอ้เอ้หรือผิดเพี้ยนแก่เวลา ในทางตรงข้าม สังคมที่ได้ผู้นำดี แต่กลับไม่ลงมือทำในเรื่องที่ถูกต้องให้ควรแก่เวลา ก็จะนำพาประเทศชาติให้เสื่อมถอยอย่างอันตราย
แต่ถ้าสังคมได้ผู้ปกครองที่ไม่ดีหรือไม่ประกอบอยู่ด้วยธรรมแล้ว ไม่ว่าวิธีการปกครองจะเป็นแบบเผด็จการหรือประชาธิปไตย สังคมหรือประเทศชาติก็จะล่มจมไปในทางเดียว โดยเหตุที่ประชาธิปไตยเสรีทำให้ประเทศล่มจมได้นั้น ก็เพราะผู้นำจะฉวยโอกาสใช้เสรีภาพไปตามอำนาจของกิเลส พอมีอำนาจอยู่ในมือแล้ว จิตใจจะขยายไปในทางที่ต้องการเอาส่วนเกิน เกิดการกอบโกยประโยชน์ของสังคมมาเป็นของตนในระหว่างที่อยู่ในอำนาจ ประชาธิปไตยเสรีนี้ ก็เป็นอันตรายร้ายแรงต่อประเทศได้
คำว่าสังคมนิยมตามทัศนะของท่านพุทธทาส จึงเป็นเรื่องตรงกันข้ามกับเสรีนิยมที่เล็งถึงบุคคล ปัจเจกชน ต่างคนต่างมีเสรี สังคมนิยมจะเล็งถึงประโยชน์ของสังคม คำนึงถึงปัญหาของสังคม แล้วก็ทำสิ่งต่างๆ ที่เป็นการแก้ปัญหาของสังคม ในขณะที่เสรีนิยมทำไม่ได้ เนื่องด้วยความเห็นแก่ตัว มีช่องโหว่ตรงที่เปิดโอกาสให้ตามใจกิเลส ชักจูงไปสู่การกอบโกย การเบียดเบียนผู้อื่น ศีลธรรมหายไป ปัญหาเกิดขึ้นแก่สังคม แล้วในที่สุด ก็ย้อนกลับมาเบียดเบียนตนเอง จนกลายเป็นปัญหาของตัวเองด้วย
หากคนในสังคมเอาแต่เพียงพอดี ปัญหาเหล่านี้ก็จะไม่เกิด การเบียดเบียนก็จะไม่เกิด การเอาเปรียบกันก็จะไม่มี แต่จะมีคำถามต่อมา คือ แค่ไหนจึงเรียกว่าพอดี แค่ไหนจึงไม่เรียกว่าส่วนเกิน คำว่าส่วนเกินนี้ยืดหยุ่นได้มาก ที่เข้าใจว่าไม่เป็นส่วนเกินนั้น ก็ยังเป็นส่วนเกินได้ เช่น เราจะเจียดประโยชน์ของเราที่กินที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้ออกไปสัก 4% ก็ยังอยู่ได้และไม่ตาย ดังนั้น การรู้จักเจียดออกให้เป็นส่วนเกินจากสิ่งที่เราไม่เห็นว่าเป็นส่วนเกิน นั่นคือ ศีลธรรมที่ช่วยธำรงสังคม
สี-ละ ตามความหมายเดิมแปลว่า ปกติ ถ้าสิ่งใดเป็นไปเพื่อความปกติ ไม่วุ่นวาย ก็เรียกว่า สี-ละ และธรรมที่ทำให้มีความเป็นอย่างนั้น จึงเรียกว่า ศีลธรรม คำว่าปกติตามความหมายของศีลธรรม หมายความว่า ไม่กระทบกระทั่งใครหรือไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน และไม่กระทบกระทั่งตัวเองหรือไม่ทำให้ตัวเองเดือดร้อน
คนในสังคมจึงควรยึดหลักปฏิบัติตามธรรมชาติ คือ พยายามอย่ากอบโกยส่วนเกิน พยายามเจียดส่วนเกินออกไปเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่นให้ได้ และอย่าเข้าใจผิดว่าธรรมชาติห้ามผลิตส่วนเกิน ทุกคนมีสิทธิและสมควรอย่างยิ่งที่จะผลิตส่วนเกินขึ้นมา แต่ว่าส่วนเกินนั้น ควรจะเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่สังคม และควรระมัดระวังอย่างยิ่งว่า ที่เราเข้าใจว่า ไม่เกินๆ นี้ ก็ยังเกิน ยังเจียดได้
สังคมไทยปัจจุบัน เป็นสังคมนิยมที่ผิดไปจากธรรมสัจจะของธรรมชาติ มีบุคคลบางพวกบางหมู่ที่ได้ประพฤติตัวเป็นขบถต่อธรรมชาติ เกิดแตกแยกขึ้นเป็น 2 ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งมีอำนาจทางการเงิน ฝ่ายหนึ่งมีอำนาจทางเรี่ยวแรงกำลัง เกิดการทะเลาะเบาะแว้งกัน เห็นแก่พวกตัวเกินไป ไม่เห็นพวกอื่นว่าเป็นมนุษย์ที่อยู่ร่วมสังคมเดียวกัน บางพวกชอบพูดว่าเอาธรรมนำหน้า แต่เวลาทำกลับทิ้งธรรมไว้ข้างหลัง
การแบ่งแยกมนุษย์ออกเป็นพวกๆ แล้วทำตนเป็นศัตรูกันนั้น ไม่ใช่ความต้องการของธรรมชาติ สิ่งนี้เกิดขึ้นเพราะความเสื่อมทรามทางศีลธรรมในจิตใจของมนุษย์ ไม่ว่าฝ่ายไหนต่างก็แสวงหาพื้นที่ทางการเมือง พร้อมที่จะกอบโกยส่วนเกินกันทั้งนั้น
ความมุ่งหมายของการเมืองของท่านพุทธทาส ต้องเป็นไปเพื่อสันติสุขของคนในสังคม ถ้าผิดไปจากนี้แล้วเป็นการเมืองคดโกงของภูตผีปีศาจ ไม่ว่าจะเขียนไว้โดยนักการเมืองที่มีชื่อเสียงสูงสุดคนไหนก็ตาม หรือจากตำราเล่มไหนก็ตาม ถ้ามันเป็นไปเพื่อผลแก่ตนแก่พวกของตนแล้ว มันไม่ใช่การเมือง (เรียบเรียงจาก หนังสือธัมมิกสังคมนิยม ของท่านพุทธทาสภิกขุ บรรยายไว้ในช่วงปี 2516-2518)... (จากคอลัมน์ พอเพียงภิวัตน์)
ท่านพุทธทาสภิกขุ ได้กล่าวไว้ในหนังสือชื่อ ธัมมิกสังคมนิยม ว่า คำว่า "ธมฺมิก" แปลว่า ประกอบอยู่ด้วยธรรม "สังคม" คือ คนหมู่มาก "นิยม" คือ เพ่งเล็งในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
"ธัมมิกสังคมนิยม" จึงเป็นการเพ่งเล็งเรื่องที่เกี่ยวกับคนหมู่มาก ที่ประกอบอยู่ด้วยธรรม เป็นธรรมชาติที่ต้องอาศัยซึ่งกันและกัน ไม่มีการกอบโกยอย่างเสรี เสรีภาพในการกอบโกยส่วนเกินถูกควบคุมไว้โดยธรรมชาติอย่างเฉียบขาด เป็นสังคมนิยมโดยอัตโนมัติของธรรมชาติ เป็นความถูกต้องที่จุนเจือให้มนุษย์อยู่รอดมาได้ทุกวันนี้
ปัญหาเกิดเมื่อมนุษย์เริ่มรู้จัก "เอาส่วนเกิน" เริ่มเก็บสะสม กักตุนเอาไว้มากขึ้นๆ จนเกิดการไม่พอ มีการแย่งกันสะสมส่วนเกินจนต้องมีหัวหน้าที่จะแสวงหากอบโกยส่วนเกิน ต้องทะเลาะเบาะแว้ง รบพุ่งกัน
ธรรมชาติได้มีกฎวางไว้ให้ทุกคนเอาแต่เท่าที่จำเป็น แต่เมื่อมนุษย์ไม่เชื่อฟังธรรมชาติ แข่งกันกอบโกยส่วนเกิน จิตใจขยายไปในทางที่ต้องการส่วนเกินนั้น จนเป็นการริบเอาประโยชน์ของสังคมมาเป็นของตน แทนที่ส่วนเกินนั้นจะตกทอดไปถึงคนอื่นๆ เกิดเป็นความขาดแคลนขึ้นในสังคม จนทำให้พวกที่เหลือส่วนใหญ่กลายเป็นคนยากจน
สังคมปัจจุบันจึงต้องการผู้ปกครองที่รื้อฟื้นธรรมสัจจะของธรรมชาติในข้อนี้มาใช้ให้บังเกิดผล คือ ต้องทำให้เป็นระบบสังคมนิยมที่มีความหมายว่า "เห็นแก่สังคม" ทั้งโดยการพูดและการกระทำ มิใช่เพียงปากว่าเพื่อสังคม เพื่อประเทศ เพื่อส่วนรวม แต่ใจและการกระทำนั้น ยังเป็นไปเพื่อตนเองหรือพวกพ้อง
ส่วนเครื่องมือสำหรับระบบสังคมนิยมที่มีผู้ปกครองดี คือ วิธีปฏิบัติงานที่เป็นเผด็จการ เมื่อไรก็ตาม ที่เห็นว่าเป็นเรื่องถูกต้อง จะดำเนินการและลงมือทำโดยทันที ไม่ยอมให้โอ้เอ้หรือผิดเพี้ยนแก่เวลา ในทางตรงข้าม สังคมที่ได้ผู้นำดี แต่กลับไม่ลงมือทำในเรื่องที่ถูกต้องให้ควรแก่เวลา ก็จะนำพาประเทศชาติให้เสื่อมถอยอย่างอันตราย
แต่ถ้าสังคมได้ผู้ปกครองที่ไม่ดีหรือไม่ประกอบอยู่ด้วยธรรมแล้ว ไม่ว่าวิธีการปกครองจะเป็นแบบเผด็จการหรือประชาธิปไตย สังคมหรือประเทศชาติก็จะล่มจมไปในทางเดียว โดยเหตุที่ประชาธิปไตยเสรีทำให้ประเทศล่มจมได้นั้น ก็เพราะผู้นำจะฉวยโอกาสใช้เสรีภาพไปตามอำนาจของกิเลส พอมีอำนาจอยู่ในมือแล้ว จิตใจจะขยายไปในทางที่ต้องการเอาส่วนเกิน เกิดการกอบโกยประโยชน์ของสังคมมาเป็นของตนในระหว่างที่อยู่ในอำนาจ ประชาธิปไตยเสรีนี้ ก็เป็นอันตรายร้ายแรงต่อประเทศได้
คำว่าสังคมนิยมตามทัศนะของท่านพุทธทาส จึงเป็นเรื่องตรงกันข้ามกับเสรีนิยมที่เล็งถึงบุคคล ปัจเจกชน ต่างคนต่างมีเสรี สังคมนิยมจะเล็งถึงประโยชน์ของสังคม คำนึงถึงปัญหาของสังคม แล้วก็ทำสิ่งต่างๆ ที่เป็นการแก้ปัญหาของสังคม ในขณะที่เสรีนิยมทำไม่ได้ เนื่องด้วยความเห็นแก่ตัว มีช่องโหว่ตรงที่เปิดโอกาสให้ตามใจกิเลส ชักจูงไปสู่การกอบโกย การเบียดเบียนผู้อื่น ศีลธรรมหายไป ปัญหาเกิดขึ้นแก่สังคม แล้วในที่สุด ก็ย้อนกลับมาเบียดเบียนตนเอง จนกลายเป็นปัญหาของตัวเองด้วย
หากคนในสังคมเอาแต่เพียงพอดี ปัญหาเหล่านี้ก็จะไม่เกิด การเบียดเบียนก็จะไม่เกิด การเอาเปรียบกันก็จะไม่มี แต่จะมีคำถามต่อมา คือ แค่ไหนจึงเรียกว่าพอดี แค่ไหนจึงไม่เรียกว่าส่วนเกิน คำว่าส่วนเกินนี้ยืดหยุ่นได้มาก ที่เข้าใจว่าไม่เป็นส่วนเกินนั้น ก็ยังเป็นส่วนเกินได้ เช่น เราจะเจียดประโยชน์ของเราที่กินที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้ออกไปสัก 4% ก็ยังอยู่ได้และไม่ตาย ดังนั้น การรู้จักเจียดออกให้เป็นส่วนเกินจากสิ่งที่เราไม่เห็นว่าเป็นส่วนเกิน นั่นคือ ศีลธรรมที่ช่วยธำรงสังคม
สี-ละ ตามความหมายเดิมแปลว่า ปกติ ถ้าสิ่งใดเป็นไปเพื่อความปกติ ไม่วุ่นวาย ก็เรียกว่า สี-ละ และธรรมที่ทำให้มีความเป็นอย่างนั้น จึงเรียกว่า ศีลธรรม คำว่าปกติตามความหมายของศีลธรรม หมายความว่า ไม่กระทบกระทั่งใครหรือไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน และไม่กระทบกระทั่งตัวเองหรือไม่ทำให้ตัวเองเดือดร้อน
คนในสังคมจึงควรยึดหลักปฏิบัติตามธรรมชาติ คือ พยายามอย่ากอบโกยส่วนเกิน พยายามเจียดส่วนเกินออกไปเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่นให้ได้ และอย่าเข้าใจผิดว่าธรรมชาติห้ามผลิตส่วนเกิน ทุกคนมีสิทธิและสมควรอย่างยิ่งที่จะผลิตส่วนเกินขึ้นมา แต่ว่าส่วนเกินนั้น ควรจะเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่สังคม และควรระมัดระวังอย่างยิ่งว่า ที่เราเข้าใจว่า ไม่เกินๆ นี้ ก็ยังเกิน ยังเจียดได้
สังคมไทยปัจจุบัน เป็นสังคมนิยมที่ผิดไปจากธรรมสัจจะของธรรมชาติ มีบุคคลบางพวกบางหมู่ที่ได้ประพฤติตัวเป็นขบถต่อธรรมชาติ เกิดแตกแยกขึ้นเป็น 2 ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งมีอำนาจทางการเงิน ฝ่ายหนึ่งมีอำนาจทางเรี่ยวแรงกำลัง เกิดการทะเลาะเบาะแว้งกัน เห็นแก่พวกตัวเกินไป ไม่เห็นพวกอื่นว่าเป็นมนุษย์ที่อยู่ร่วมสังคมเดียวกัน บางพวกชอบพูดว่าเอาธรรมนำหน้า แต่เวลาทำกลับทิ้งธรรมไว้ข้างหลัง
การแบ่งแยกมนุษย์ออกเป็นพวกๆ แล้วทำตนเป็นศัตรูกันนั้น ไม่ใช่ความต้องการของธรรมชาติ สิ่งนี้เกิดขึ้นเพราะความเสื่อมทรามทางศีลธรรมในจิตใจของมนุษย์ ไม่ว่าฝ่ายไหนต่างก็แสวงหาพื้นที่ทางการเมือง พร้อมที่จะกอบโกยส่วนเกินกันทั้งนั้น
ความมุ่งหมายของการเมืองของท่านพุทธทาส ต้องเป็นไปเพื่อสันติสุขของคนในสังคม ถ้าผิดไปจากนี้แล้วเป็นการเมืองคดโกงของภูตผีปีศาจ ไม่ว่าจะเขียนไว้โดยนักการเมืองที่มีชื่อเสียงสูงสุดคนไหนก็ตาม หรือจากตำราเล่มไหนก็ตาม ถ้ามันเป็นไปเพื่อผลแก่ตนแก่พวกของตนแล้ว มันไม่ใช่การเมือง (เรียบเรียงจาก หนังสือธัมมิกสังคมนิยม ของท่านพุทธทาสภิกขุ บรรยายไว้ในช่วงปี 2516-2518)... (จากคอลัมน์ พอเพียงภิวัตน์)
Tuesday, October 02, 2007
สังคหวัตถุ 4 กับการนำไปใช้ในเรื่อง CSR
แนวคิดดั้งเดิมในเรื่อง ซีเอสอาร์ มีรากฐานมาจากหลักทางศาสนา และดำรงอยู่ในสังคมตะวันออกมาช้านาน การพินิจพิจารณาถึงบริบทของเรื่องมีความสำคัญมากกว่าถ้อยคำที่เรียก ในการศึกษาหลายต่อหลายครั้งค้นพบว่า สังคมไทยในยุคสมัยที่ผ่านมามีการดำเนินกิจกรรมซีเอสอาร์ ที่มีความเข้มข้นมากกว่าสังคมในตะวันตกเสียอีก
อย่างกรณีของการช่วยเหลือเอื้อเฟื้อกันในงานที่ทำ จนกลายเป็นประเพณีที่เรียกว่า "การลงแขก" ก็เป็นตัวอย่างหนึ่ง ที่เมื่อเปรียบเทียบกับวัฒนธรรมตะวันตกซึ่งค่อนไปทางต่างคนต่างอยู่ ตัวใครตัวมัน ต้องแข่งขันกันเอาตัวรอด จึงด้อยในเรื่องความสนิทสนมเกื้อกูลกันทางสังคม ด้วยเหตุนี้ สังคมตะวันตกหรือกระทั่งสังคมในประเทศตะวันออกหลายประเทศที่ได้รับเอาวัฒนธรรมการแข่งขัน การชิงดีชิงเด่นอย่างเอาเป็นเอาตาย จนเกิดความเครียด เกิดปัญหาทางจิตใจ กำลังถวิลหาวิธีการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจที่มีความรับผิดชอบต่อผู้อื่นมากขึ้น คำนึงถึงสังคมส่วนรวมมากขึ้น
เป็นที่น่าสังเกตว่า ปัจจุบันกลุ่มคนชั้นปัญญาชนชาติตะวันตกได้เดินทางเข้ามาศึกษา และปฏิบัติธรรมในประเทศไทย เพื่อค้นหาวิธีแก้ปัญหาทางจิตใจเพิ่มมากขึ้น เหล่าบรรดานักคิดชาวตะวันตกที่มีชื่อเสียงในวงการธุรกิจ ก็ได้เขียนตำราการบริหารจัดการซึ่งมีองค์ประกอบของการบริหารเชิงพุทธอยู่อย่างชัดแจ้ง ฉะนั้น องค์กรธุรกิจในสังคมไทยแทนที่จะไปค้นหาความรู้จากตะวันตก ก็สามารถที่จะศึกษาความรู้ที่มีอยู่ในข้อธรรมทั้งหลาย เช่น สังคหวัตถุ 4 ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องความรับผิดชอบทางสังคม แล้วนำมาใช้กับการดำเนินธุรกิจได้โดยตรงทันที ไม่ต้องรอให้ฝรั่งเขามาศึกษาแล้วถึงนำกลับมาถ่ายทอดอีกต่อหนึ่ง
สังคหวัตถุ 4 คือ หลักอันเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวบุคคล ซึ่งในที่นี้รวมถึงพลเมืองบรรษัท (Corporate Citizen) ให้อยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างปกติสุข สามารถใช้เป็นตัวแบบหรือวิธีการในการดำเนินกิจกรรมซีเอสอาร์ขององค์กร โดยมีความสอดคล้องกับบริบทของสังคมไทย ที่มีอุปนิสัยของการสงเคราะห์เกื้อกูลเป็นพื้นฐาน ประกอบด้วย
1. Corporate Philanthropy คือ การให้ หรือการบริจาคในสิ่งที่ควรให้แก่ผู้ยากไร้ หรือแก่ผู้ที่ขาดแคลนกว่า ทั้งในรูปของวัตถุสิ่งของ เช่น การนำสิ่งของเครื่องใช้ไปแจกแก่ผู้ประสบภัย การทำบุญตามหลักศาสนา การให้โอกาสทางธุรกิจ การแบ่งปันตลาด หรือการให้อภัย ตลอดจนการให้ความรู้ คำแนะนำต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ เปรียบได้กับ ทาน
2. Corporate Communication คือ การสื่อสารในสิ่งที่เป็นคุณประโยชน์ สิ่งที่เป็นสาระข้อเท็จจริง ประกอบด้วย เหตุผล และความจริงใจ โดยไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิด เช่น การให้ข้อมูลผลิตภัณฑ์ที่ถูกต้องครบถ้วนแก่ผู้บริโภค การไม่โฆษณาประชาสัมพันธ์คุณลักษณะของสินค้าเกินจริง หรือการไม่หลอกลวงมอมเมาประชาชน เปรียบได้กับ ปิยวาจา
3. Community Volunteering คือ การเสียสละแรงงาน แรงใจ และเวลา เพื่อบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ เช่น การเข้าร่วมเป็นอาสาสมัครช่วยเหลือสังคมในโอกาสต่างๆ การระแวดระวังในการดำเนินงานที่อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เป็นไปโดยสมัครใจ เป็นการแสดงออกถึงความรับผิดชอบต่อสังคมในรูปแบบหนึ่ง เปรียบได้กับ อัตถจริยา
4. Equitable Treatment คือ การปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งเป็นหนึ่งในหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี (Good Corporate Governance) ไม่ถือว่าองค์กรตนเป็นใหญ่ เอาใจใส่ในสุขทุกข์ของผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆ และร่วมแก้ไขโดยไม่เลือกปฏิบัติ ซึ่งหมายถึง การมีส่วนร่วม (Participation) ขององค์กรในการดูแลสังคมอย่างสม่ำเสมอ เช่น การดูแลสิทธิประโยชน์ของผู้ถือหุ้นรายใหญ่รายย่อยอย่างเสมอภาค การบริการลูกค้าอย่างเสมอต้นเสมอปลาย โดยไม่เลือกว่าเป็นรายใหญ่หรือรายย่อย การทำหน้าที่ในการเสียภาษีอากรให้รัฐอย่างตรงไปตรงมา เปรียบได้กับ สมานัตตตา
ตัวแบบสังคหวัตถุ 4 นี้ พิสูจน์ให้เห็นว่า สามารถนำมาอธิบายและพัฒนาเป็นวิธีการในการดำเนินกิจกรรมซีเอสอาร์ขององค์กร โดยไม่ได้มีความล้าสมัยเลยแม้แต่น้อย... (จากคอลัมน์ พอเพียงภิวัตน์)
อย่างกรณีของการช่วยเหลือเอื้อเฟื้อกันในงานที่ทำ จนกลายเป็นประเพณีที่เรียกว่า "การลงแขก" ก็เป็นตัวอย่างหนึ่ง ที่เมื่อเปรียบเทียบกับวัฒนธรรมตะวันตกซึ่งค่อนไปทางต่างคนต่างอยู่ ตัวใครตัวมัน ต้องแข่งขันกันเอาตัวรอด จึงด้อยในเรื่องความสนิทสนมเกื้อกูลกันทางสังคม ด้วยเหตุนี้ สังคมตะวันตกหรือกระทั่งสังคมในประเทศตะวันออกหลายประเทศที่ได้รับเอาวัฒนธรรมการแข่งขัน การชิงดีชิงเด่นอย่างเอาเป็นเอาตาย จนเกิดความเครียด เกิดปัญหาทางจิตใจ กำลังถวิลหาวิธีการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจที่มีความรับผิดชอบต่อผู้อื่นมากขึ้น คำนึงถึงสังคมส่วนรวมมากขึ้น
เป็นที่น่าสังเกตว่า ปัจจุบันกลุ่มคนชั้นปัญญาชนชาติตะวันตกได้เดินทางเข้ามาศึกษา และปฏิบัติธรรมในประเทศไทย เพื่อค้นหาวิธีแก้ปัญหาทางจิตใจเพิ่มมากขึ้น เหล่าบรรดานักคิดชาวตะวันตกที่มีชื่อเสียงในวงการธุรกิจ ก็ได้เขียนตำราการบริหารจัดการซึ่งมีองค์ประกอบของการบริหารเชิงพุทธอยู่อย่างชัดแจ้ง ฉะนั้น องค์กรธุรกิจในสังคมไทยแทนที่จะไปค้นหาความรู้จากตะวันตก ก็สามารถที่จะศึกษาความรู้ที่มีอยู่ในข้อธรรมทั้งหลาย เช่น สังคหวัตถุ 4 ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องความรับผิดชอบทางสังคม แล้วนำมาใช้กับการดำเนินธุรกิจได้โดยตรงทันที ไม่ต้องรอให้ฝรั่งเขามาศึกษาแล้วถึงนำกลับมาถ่ายทอดอีกต่อหนึ่ง
สังคหวัตถุ 4 คือ หลักอันเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวบุคคล ซึ่งในที่นี้รวมถึงพลเมืองบรรษัท (Corporate Citizen) ให้อยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างปกติสุข สามารถใช้เป็นตัวแบบหรือวิธีการในการดำเนินกิจกรรมซีเอสอาร์ขององค์กร โดยมีความสอดคล้องกับบริบทของสังคมไทย ที่มีอุปนิสัยของการสงเคราะห์เกื้อกูลเป็นพื้นฐาน ประกอบด้วย
1. Corporate Philanthropy คือ การให้ หรือการบริจาคในสิ่งที่ควรให้แก่ผู้ยากไร้ หรือแก่ผู้ที่ขาดแคลนกว่า ทั้งในรูปของวัตถุสิ่งของ เช่น การนำสิ่งของเครื่องใช้ไปแจกแก่ผู้ประสบภัย การทำบุญตามหลักศาสนา การให้โอกาสทางธุรกิจ การแบ่งปันตลาด หรือการให้อภัย ตลอดจนการให้ความรู้ คำแนะนำต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ เปรียบได้กับ ทาน
2. Corporate Communication คือ การสื่อสารในสิ่งที่เป็นคุณประโยชน์ สิ่งที่เป็นสาระข้อเท็จจริง ประกอบด้วย เหตุผล และความจริงใจ โดยไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิด เช่น การให้ข้อมูลผลิตภัณฑ์ที่ถูกต้องครบถ้วนแก่ผู้บริโภค การไม่โฆษณาประชาสัมพันธ์คุณลักษณะของสินค้าเกินจริง หรือการไม่หลอกลวงมอมเมาประชาชน เปรียบได้กับ ปิยวาจา
3. Community Volunteering คือ การเสียสละแรงงาน แรงใจ และเวลา เพื่อบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ เช่น การเข้าร่วมเป็นอาสาสมัครช่วยเหลือสังคมในโอกาสต่างๆ การระแวดระวังในการดำเนินงานที่อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เป็นไปโดยสมัครใจ เป็นการแสดงออกถึงความรับผิดชอบต่อสังคมในรูปแบบหนึ่ง เปรียบได้กับ อัตถจริยา
4. Equitable Treatment คือ การปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งเป็นหนึ่งในหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี (Good Corporate Governance) ไม่ถือว่าองค์กรตนเป็นใหญ่ เอาใจใส่ในสุขทุกข์ของผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆ และร่วมแก้ไขโดยไม่เลือกปฏิบัติ ซึ่งหมายถึง การมีส่วนร่วม (Participation) ขององค์กรในการดูแลสังคมอย่างสม่ำเสมอ เช่น การดูแลสิทธิประโยชน์ของผู้ถือหุ้นรายใหญ่รายย่อยอย่างเสมอภาค การบริการลูกค้าอย่างเสมอต้นเสมอปลาย โดยไม่เลือกว่าเป็นรายใหญ่หรือรายย่อย การทำหน้าที่ในการเสียภาษีอากรให้รัฐอย่างตรงไปตรงมา เปรียบได้กับ สมานัตตตา
ตัวแบบสังคหวัตถุ 4 นี้ พิสูจน์ให้เห็นว่า สามารถนำมาอธิบายและพัฒนาเป็นวิธีการในการดำเนินกิจกรรมซีเอสอาร์ขององค์กร โดยไม่ได้มีความล้าสมัยเลยแม้แต่น้อย... (จากคอลัมน์ พอเพียงภิวัตน์)
Subscribe to:
Posts (Atom)