สัปดาห์นี้ ผมเดินทางมาร่วมประชุมเวทีจริยธรรมโลก หรือ Global Ethics Forum 2012 ณ กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 3 ในระหว่างวันที่ 28-30 มิถุนายน 2555 โดยใช้ชื่อธีมว่า ‘The Value of Values in Responsible Business’
การประชุมเวทีจริยธรรมโลกจัดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 2552 ที่สำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติ ในกรุงเจนีวา โดยมีวิทยากรนำการประชุมจากทั่วโลกจำนวน 37 ท่าน และครั้งที่สอง เมื่อปี 2554 ที่กรุงเจนีวาเช่นเดียวกัน ในครั้งนี้มีวิทยากรเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว หรือราว 68 ท่าน สำหรับครั้งที่สามนี้ มีผู้ที่ตอบรับเข้าร่วมเป็นวิทยากรหลักถึง 79 ท่าน
เวทีจริยธรรมโลก เป็นโครงการที่มิใช่มีเพียงการจัดประชุมประจำปี แต่มีการดำเนินงานต่อเนื่องใน 4 กิจกรรมหลัก คือ การประชุม การวิจัย การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการจัดทำเอกสารเผยแพร่ โดยมีเป้าประสงค์ที่ต้องการให้เกิดวงสนทนาในกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียต่างๆ เพื่อค้นหาทางออกหรือแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เผชิญอยู่ ของภาคธุรกิจและภาคีที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบของกิจการ (Corporate Responsibility) อย่างสร้างสรรค์และเป็นรูปธรรม
ผมได้มีโอกาสรู้จักกับ Prof. Dr. Christoph Stückelberger ผู้อำนวยการและเป็นผู้ก่อตั้ง Globethics.net ซึ่งเป็นแม่งานจัดประชุมเวทีจริยธรรมโลก เมื่อครั้งที่มาเชื้อเชิญให้ไปเป็นวิทยากรร่วมอภิปรายในการประชุมนานาชาติว่าด้วยเรื่อง “Globalization for the Common Good” ในหัวข้อ “Ethical Investments for a Sufficiency Economy” ที่มหาวิทยาลัย California Lutheran ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อสองปีที่แล้ว ซึ่งในครั้งนั้น เป็นการร่วมอภิปรายถึงประเด็นการลงทุนเชิงจริยธรรมกับเศรษฐกิจพอเพียงในมุมมองของศาสนาพุทธ คริสต์ และอิสลาม
ในการประชุมคราวนี้ ผมได้รับเชิญให้เข้าร่วมเป็นวิทยากรในประเด็นการเงินที่ยังยืน (Sustainable Finance) โดยจะอภิปรายในหัวเรื่อง “The Time Horizons of Sufficiency Strategy in Dealing with Economic Recovery” ซึ่งจะเป็นการนำเสนอมุมมองของเศรษฐกิจพอเพียงกับนโยบายการเงินต่อการฟื้นฟูและรับมือกับภาวการณ์ทางเศรษฐกิจในระยะสั้นและระยะยาว ร่วมกับผู้อภิปรายจากเยอรมนี อังกฤษ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
เนื่องจากการประชุมเวทีจริยธรรมโลกครั้งนี้ เกิดขึ้นถัดจากการประชุม Rio+20 มาสัปดาห์เดียว เจ้าภาพจึงจัดให้มีการอภิปรายหลัก (Plenary Panel) ในหัวข้อ ‘Managing the Sustainability Crisis: Next Steps after Rio+20’ ที่วิพากษ์ถึงผลลัพธ์ที่เดินทางไปไม่ถึงความคาดหมายของการประชุม Rio+20 แบบสดๆ ร้อนๆ ในแง่มุมของการแปลงสภาพเชิงจริยธรรม (Ethical Transformation) ของภาคการเมือง ภาคธุรกิจ และภาคสังคม
อีกหัวข้อหนึ่งที่น่าสนใจ คือ ‘Business Schools with a new Paradigm of Sustainable Global Responsibility’ ซึ่งนับตั้งแต่วิกฤตเศรษฐกิจในปี 2550 แวดวงการศึกษาด้านการบริหารจัดการทั่วโลก ถูกกดดันให้มีการปรับรื้อตัวแบบและค่านิยมใหม่ ที่สะท้อนถึงจริยธรรมและความรับผิดชอบของนักบริหารอย่างจริงจัง ความริเริ่มในโครงการ 50+20 ซึ่งได้มีการนำเสนอในการประชุม Rio+20 ด้วยความร่วมมือขององค์กรสำคัญอย่างเช่น World Business School Council for Sustainable Business (WBSCSB), Globally Responsible Leadership Initiative (GRLI), และ Principles for Responsible Management Education (PRME) จะถูกหยิบยกขึ้นเป็นประเด็นสำคัญสำหรับการอภิปรายในเวทีจริยธรรมโลกครั้งนี้ด้วย
ส่วนหัวข้ออภิปรายอื่นๆ ในเวทีนี้ อาทิ การแก้ปัญหาสถานการณ์เชิงจริยธรรมในธุรกิจ ความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ (CSR) ในกลุ่มประเทศในแอฟริกาที่พูดภาษาฝรั่งเศส (Francophone Africa) สื่อสังคมออนไลน์กับการแปรรูปและสันติภาพ ฯ โดยหลังจากการประชุมเสร็จสิ้น ทางผู้จัดงานคงจะมีการจัดทำรายงานสรุปผลการประชุมเผยแพร่ให้ได้ติดตามกันในเร็ววัน
สำหรับผู้ที่สนใจการประชุมเวทีจริยธรรมโลก ประจำปี 2555 สามารถติดตามจากลิงค์ http://bit.ly/gef2012 ได้ตามอัธยาศัยครับ...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
Thursday, June 28, 2012
Thursday, June 21, 2012
Rio+20 กับอนาคตที่พึงปรารถนา
การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน (UNCSD) หรือ Rio+20 ที่เมืองริโอ เดอ จาเนโร ประเทศบราซิล ได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อวานนี้ (20 มิถุนายน) โดยมีผู้นำประเทศ/หัวหน้ารัฐบาล/หัวหน้าคณะผู้แทนประเทศเข้าร่วมกว่า 100 ประเทศทั่วโลก และคาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งในการประชุมเตรียมการ การประชุมหลัก และกิจกรรมคู่ขนาน (Side Event) ซึ่งจัดโดยองค์กรต่างๆ ในห้วงเวลาของการประชุม Rio+20 ครั้งนี้ ทั้งสิ้นราว 50,000 คน
ผมได้มีโอกาสเดินทางมาเข้าร่วมกิจกรรมตั้งแต่วันจันทร์ โดยลำพังกิจกรรมคู่ขนานซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นหัวข้อที่จัดให้เข้ากับธีมของการประชุม ซึ่งได้แก่เรื่องเศรษฐกิจสีเขียว และการพัฒนาที่ยั่งยืน ก็มีให้เลือกมากกว่า 500 กิจกรรมเข้าไปแล้ว เรียกได้ว่าเป็นตลาดนัดกิจกรรมสัมมนาสำหรับผู้ที่คลั่งไคล้เรื่องดังกล่าวได้จนลืมเวลาทีเดียว แม้แต่คณะของผมเองก็ได้กระจายไปเข้าร่วมตั้งแต่เช้ายันค่ำทุกวัน
ไฮไลท์หนึ่งของกิจกรรมที่ผมได้เข้าร่วม คือ การประชุมเต็มคณะ (Plenary Meeting) เพื่อให้ความเห็นชอบในเอกสารผลลัพธ์ (Outcome Document) การประชุม Rio+ 20 ที่ใช้ชื่อว่า “The Future We Want” ซึ่งในวันพรุ่งนี้เอกสารฉบับดังกล่าวจะถูกพิจารณากลั่นกรองและให้การรับรองโดยผู้แทนในแต่ละประเทศ และจะกลายเป็นพิมพ์เขียวสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืนบทใหม่ ที่จะถูกอ้างอิงอย่างกว้างขวางนับจากนี้ไปอีก 20 ปี
กว่าที่เอกสารผลลัพธ์จะได้รับความเห็นชอบนั้น ได้ผ่านการปรับปรุงแก้ไขในระหว่างกระบวนการเจรจาต่อรองที่เข้มข้นอย่างยิ่ง จากความเห็นที่ไม่ลงรอยกันในสารัตถะและท่าทีของแต่ละประเทศ โดยเฉพาะเนื้อหาเรื่องเศรษฐกิจสีเขียวที่มีการโต้เถียงกันอย่างกว้างขวาง กระทั่งในการประชุมเต็มคณะเมื่อวันอังคารก็ยังร้อนระอุไปทั้งห้องประชุม
เหตุผลหลักของฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับเอกสารผลลัพธ์ฉบับนี้ ประการแรก ไม่เชื่อว่าการผลักดันเรื่องเศรษฐกิจสีเขียวตามกรอบเนื้อหาที่เสนอ จะสามารถขจัดความยากจนและนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนได้ ประการต่อมา ไม่เห็นความชัดเจนของกลไกและวิธีการที่นำไปสู่การปฏิบัติได้จริงในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน และประการสุดท้าย ไม่ได้เปิดโอกาสให้ภาคประชาสังคมและกลุ่มที่สำคัญๆ (Major Groups) ได้เข้ามีส่วนร่วมในกระบวนการเจรจาต่อรองอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม (ดูความเคลื่อนไหวของภาคประชาสังคมในการจัดทำเอกสารคำร้องที่มีชื่อว่า “The Future We Don’t Want” ได้ที่ http://bit.ly/rio20petition)
อย่างไรก็ดี เป็นที่คาดหมายว่า ที่ประชุม Rio+20 ในวันพรุ่งนี้ จะพิจารณาให้การรับรองเอกสารผลลัพธ์ฉบับดังกล่าว ซึ่งประกอบไปด้วย 6 ส่วน ได้แก่ วิสัยทัศน์ร่วม การยืนยันพันธกรณีทางการเมือง เศรษฐกิจสีเขียวในบริบทของการพัฒนาที่ยั่งยืนและการขจัดความยากจน กรอบเชิงสถาบันเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน กรอบการดำเนินงานและการติดตามผล วิธีการนำไปปฏิบัติ โดยเนื้อหาส่วนใหญ่ยังคงไม่ต่างจากฉบับที่ได้รับการเห็นชอบจากที่ประชุมเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา (อ่านรายละเอียดของเอกสารผลลัพธ์ฉบับล่าสุดได้ที่ www.uncsd2012.org)
และนับว่าโชคดีที่ผมได้มีโอกาสรับคัดเลือกให้เป็นผู้แทนในคณะสังเกตการณ์ในสังกัดกลุ่มองค์กรพัฒนาเอกชนเข้าร่วมในการประชุมหลักด้วย เลยจะได้สัมผัสกับบรรยากาศของการประชุมสำคัญครั้งนี้เพื่อนำมาถ่ายทอดในโอกาสต่อไป...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
ผมได้มีโอกาสเดินทางมาเข้าร่วมกิจกรรมตั้งแต่วันจันทร์ โดยลำพังกิจกรรมคู่ขนานซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นหัวข้อที่จัดให้เข้ากับธีมของการประชุม ซึ่งได้แก่เรื่องเศรษฐกิจสีเขียว และการพัฒนาที่ยั่งยืน ก็มีให้เลือกมากกว่า 500 กิจกรรมเข้าไปแล้ว เรียกได้ว่าเป็นตลาดนัดกิจกรรมสัมมนาสำหรับผู้ที่คลั่งไคล้เรื่องดังกล่าวได้จนลืมเวลาทีเดียว แม้แต่คณะของผมเองก็ได้กระจายไปเข้าร่วมตั้งแต่เช้ายันค่ำทุกวัน
ไฮไลท์หนึ่งของกิจกรรมที่ผมได้เข้าร่วม คือ การประชุมเต็มคณะ (Plenary Meeting) เพื่อให้ความเห็นชอบในเอกสารผลลัพธ์ (Outcome Document) การประชุม Rio+ 20 ที่ใช้ชื่อว่า “The Future We Want” ซึ่งในวันพรุ่งนี้เอกสารฉบับดังกล่าวจะถูกพิจารณากลั่นกรองและให้การรับรองโดยผู้แทนในแต่ละประเทศ และจะกลายเป็นพิมพ์เขียวสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืนบทใหม่ ที่จะถูกอ้างอิงอย่างกว้างขวางนับจากนี้ไปอีก 20 ปี
กว่าที่เอกสารผลลัพธ์จะได้รับความเห็นชอบนั้น ได้ผ่านการปรับปรุงแก้ไขในระหว่างกระบวนการเจรจาต่อรองที่เข้มข้นอย่างยิ่ง จากความเห็นที่ไม่ลงรอยกันในสารัตถะและท่าทีของแต่ละประเทศ โดยเฉพาะเนื้อหาเรื่องเศรษฐกิจสีเขียวที่มีการโต้เถียงกันอย่างกว้างขวาง กระทั่งในการประชุมเต็มคณะเมื่อวันอังคารก็ยังร้อนระอุไปทั้งห้องประชุม
เหตุผลหลักของฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับเอกสารผลลัพธ์ฉบับนี้ ประการแรก ไม่เชื่อว่าการผลักดันเรื่องเศรษฐกิจสีเขียวตามกรอบเนื้อหาที่เสนอ จะสามารถขจัดความยากจนและนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนได้ ประการต่อมา ไม่เห็นความชัดเจนของกลไกและวิธีการที่นำไปสู่การปฏิบัติได้จริงในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน และประการสุดท้าย ไม่ได้เปิดโอกาสให้ภาคประชาสังคมและกลุ่มที่สำคัญๆ (Major Groups) ได้เข้ามีส่วนร่วมในกระบวนการเจรจาต่อรองอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม (ดูความเคลื่อนไหวของภาคประชาสังคมในการจัดทำเอกสารคำร้องที่มีชื่อว่า “The Future We Don’t Want” ได้ที่ http://bit.ly/rio20petition)
อย่างไรก็ดี เป็นที่คาดหมายว่า ที่ประชุม Rio+20 ในวันพรุ่งนี้ จะพิจารณาให้การรับรองเอกสารผลลัพธ์ฉบับดังกล่าว ซึ่งประกอบไปด้วย 6 ส่วน ได้แก่ วิสัยทัศน์ร่วม การยืนยันพันธกรณีทางการเมือง เศรษฐกิจสีเขียวในบริบทของการพัฒนาที่ยั่งยืนและการขจัดความยากจน กรอบเชิงสถาบันเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน กรอบการดำเนินงานและการติดตามผล วิธีการนำไปปฏิบัติ โดยเนื้อหาส่วนใหญ่ยังคงไม่ต่างจากฉบับที่ได้รับการเห็นชอบจากที่ประชุมเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา (อ่านรายละเอียดของเอกสารผลลัพธ์ฉบับล่าสุดได้ที่ www.uncsd2012.org)
และนับว่าโชคดีที่ผมได้มีโอกาสรับคัดเลือกให้เป็นผู้แทนในคณะสังเกตการณ์ในสังกัดกลุ่มองค์กรพัฒนาเอกชนเข้าร่วมในการประชุมหลักด้วย เลยจะได้สัมผัสกับบรรยากาศของการประชุมสำคัญครั้งนี้เพื่อนำมาถ่ายทอดในโอกาสต่อไป...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
Thursday, June 14, 2012
CG กับ CSR เหมือนหรือต่างกัน
สำหรับคนในองค์กรที่ต้องเกี่ยวข้องกับเรื่องการกำกับดูแลกิจการ (Corporate Governance: CG) มาระยะหนึ่ง วันนี้ยังต้องศึกษาและเข้าใจเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ (Corporate Social Responsibility: CSR) เพิ่มเติม เพื่อที่จะตอบคำถามหรืออธิบายให้ผู้บริหารหรือผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าใจได้ว่า เรื่องทั้งสองนี้ มีความเหมือนหรือต่างกันอย่างไร และนำพาองค์กรไปสู่เป้าหมายเดียวกันหรือไม่
เรื่องการกำกับดูแลกิจการ หรือเรียกในอีกชื่อหนึ่งว่า บรรษัทภิบาล เป็นโครงสร้างและกระบวนการภายในกิจการ ที่จัดให้มีขึ้นสำหรับการกำหนดทิศทางและสอดส่องดูแลการปฏิบัติงานของกิจการให้มีความถูกต้อง โปร่งใส ตรวจสอบได้ เจริญรุดหน้าอย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อความเสียหายของกิจการ พร้อมกันกับความสามารถในการสร้างมูลค่าเพิ่มและส่งเสริมการเติบโตของกิจการอย่างมั่นคง
ในประเทศไทย หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับบริษัทจดทะเบียนตามที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้ประกาศเผยแพร่นั้น มีอยู่ด้วยกัน 5 หมวด ได้แก่ 1) สิทธิของผู้ถือหุ้น 2) การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน 3) บทบาทของผู้มีส่วนได้เสีย 4) การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส และ 5) ความรับผิดชอบของคณะกรรมการ
หลักการกำกับดูแลกิจการทั้ง 5 หมวดนี้ หมวด 1 และหมวด 2 เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับผู้ถือหุ้น หมวด 4 และหมวด 5 เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับคณะกรรมการ ซึ่งทั้งผู้ถือหุ้นและคณะกรรมการถือเป็นผู้มีส่วนได้เสียในกิจการ ขณะที่หมวดที่ 3 เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการดูแลผู้มีส่วนได้เสียจากบริษัทตามสิทธิที่มีตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งถือเป็นการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมขั้นพื้นฐานของกิจการ
การดำเนินงานของกิจการซึ่งมีเป้าหมายที่ผู้ถือหุ้น ผู้บริหาร คณะกรรมการ หรือพนักงาน (คือ ผู้มีส่วนได้เสียในกิจการ) เป็นเรื่องของความรับผิดชอบต่อสังคมที่อยู่ภายในองค์กร ซึ่งจัดอยู่ในหัวข้อการกำกับดูแลกิจการภายในให้มีความโปร่งใส สามารถให้สังคมภายนอกตรวจสอบได้
ส่วนการดำเนินงานของกิจการซึ่งมีเป้าหมายที่ครอบครัวของพนักงาน ชุมชนที่องค์กรตั้งอยู่ (รวมถึงสิ่งแวดล้อม) ลูกค้า คู่ค้า คู่แข่งขัน และประชาชนทั่วไป (คือ ผู้มีส่วนได้เสียนอกกิจการ) เป็นเรื่องของความรับผิดชอบต่อสังคมที่อยู่ภายนอกองค์กร ดังนั้น กิจการใดที่มีการกำกับดูแลกิจการที่ดีอยู่แล้ว ถือว่าได้มีส่วนในการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมอยู่ด้วย
ขณะที่ความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ หรือที่เรียกว่า บรรษัทบริบาล เป็นกลไกการดำเนินงานในกิจการที่เชื่อมโยงสู่กระบวนการภายนอก ที่องค์กรจัดให้มีขึ้นภายใต้จุดมุ่งหมายที่ต้องการสร้างประโยชน์แก่กิจการและส่วนรวมบนพื้นฐานของการไม่เบียดเบียนกัน การสงเคราะห์ช่วยเหลือส่วนรวมตามกำลังและความสามารถของกิจการ อันจะนำไปสู่ความยั่งยืนของกิจการในระยะยาว
บรรษัทบริบาล จึงเป็นการดูแลรักษาไม่เฉพาะในส่วนที่เป็นกิจการ แต่ยังแผ่ขยายกว้างออกไปครอบคลุมในส่วนที่เป็นผู้มีส่วนได้เสียทั้งหมดที่อยู่โดยรอบกิจการ ด้วยเงื่อนไขของความสำนึกรับผิดชอบต่อสังคมในฐานะนิติพลเมือง (Corporate Citizen) โดยคำนึงถึงประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสียทั้งภายในและภายนอกกิจการอย่างเป็นธรรม
หลักการความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้ยกร่างขึ้นเพื่อเป็นแนวปฏิบัติให้แก่บริษัทจดทะเบียนและกิจการทั่วไป มีอยู่ด้วยกัน 8 หมวด ได้แก่ 1) การกำกับดูแลกิจการที่ดี 2) การประกอบธุรกิจด้วยความเป็นธรรม 3) การเคารพสิทธิมนุษยชนและการปฏิบัติต่อแรงงานอย่างเป็นธรรม 4) ความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค 5) การร่วมพัฒนาชุมชนและสังคม 6) การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม 7) นวัตกรรมและการเผยแพร่นวัตกรรมจากการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคม และ 8) การจัดทำรายงานด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม
กล่าวได้ว่า เรื่องการกำกับดูแลกิจการ (CG) จะมีลักษณะที่สำคัญ 3 ประการ คือ
1) เป็นเรื่องของการนำหลักคุณธรรม จริยธรรม ซึ่งจะต้องปลูกฝังให้เกิดกับบุคลากรในองค์กร มาเป็นฐานแห่งการพัฒนาระบบและกระบวนการภายในองค์กรสำหรับใช้กำกับดูแลการดำเนินงานของบุคลากรเพื่อให้เป็นไปตามหลักคุณธรรม จริยธรรม
2) เป็นการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมขั้นพื้นฐานของกิจการ ที่คำนึงถึงการปฏิบัติตามกฎหมาย และดูแลผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องภายใต้สิทธิที่พึงได้รับตามที่กฎหมายกำหนด
3) มุ่งหมายให้กิจการมีขีดความสามารถในการสร้างมูลค่าเพิ่ม และส่งเสริมการเติบโตของกิจการอย่างมั่นคง สังคมภายนอกตรวจสอบได้
ขณะที่เรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ (CSR) จะประกอบด้วยคุณลักษณะที่เกี่ยวเนื่องกับ CG อยู่ 3 ประการ คือ
1) เป็นเรื่องของการคำนึงถึงผลกระทบจากการดำเนินงานที่จะเกิดแก่ผู้มีส่วนได้เสีย ตามหลักศีลธรรม หรือการอยู่ร่วมกันอย่างปกติสุข ซึ่งองค์กรใช้เป็นแนวการดำเนินงานที่เชื่อมโยงสู่กระบวนการภายนอก โดยมีฐานที่พัฒนาขึ้นจากกลไกการกำกับดูแลกิจการที่ดี
2) เป็นการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมที่มากกว่าการคำนึงถึงเพียงการปฏิบัติตามกฎหมาย และการดูแลผลกระทบที่มีต่อผู้มีส่วนได้เสียอย่างเป็นธรรม นอกเหนือจากสิทธิที่พึงได้รับตามกฎหมาย
3) มุ่งหมายให้กิจการมีขีดความสามารถในการสร้างคุณค่าร่วมจากการส่งมอบประโยชน์ให้แก่กิจการและสังคมส่วนรวม อันจะนำไปสู่ความยั่งยืนของกิจการในระยะยาว
จากบทเรียนในการขับเคลื่อนเรื่อง CSR ในองค์กรธุรกิจหลายแห่ง พบว่า องค์กรจะไม่สามารถดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมภายนอกให้ประสบผลสำเร็จหรือก้าวหน้าได้ หากปราศจากการกำกับดูแลกิจการภายในที่ดีและเข้มแข็ง หรืออีกนัยหนึ่ง ธุรกิจทำ CSR โดยละเลยเรื่อง CG มิได้...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
เรื่องการกำกับดูแลกิจการ หรือเรียกในอีกชื่อหนึ่งว่า บรรษัทภิบาล เป็นโครงสร้างและกระบวนการภายในกิจการ ที่จัดให้มีขึ้นสำหรับการกำหนดทิศทางและสอดส่องดูแลการปฏิบัติงานของกิจการให้มีความถูกต้อง โปร่งใส ตรวจสอบได้ เจริญรุดหน้าอย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อความเสียหายของกิจการ พร้อมกันกับความสามารถในการสร้างมูลค่าเพิ่มและส่งเสริมการเติบโตของกิจการอย่างมั่นคง
ในประเทศไทย หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับบริษัทจดทะเบียนตามที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้ประกาศเผยแพร่นั้น มีอยู่ด้วยกัน 5 หมวด ได้แก่ 1) สิทธิของผู้ถือหุ้น 2) การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน 3) บทบาทของผู้มีส่วนได้เสีย 4) การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส และ 5) ความรับผิดชอบของคณะกรรมการ
หลักการกำกับดูแลกิจการทั้ง 5 หมวดนี้ หมวด 1 และหมวด 2 เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับผู้ถือหุ้น หมวด 4 และหมวด 5 เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับคณะกรรมการ ซึ่งทั้งผู้ถือหุ้นและคณะกรรมการถือเป็นผู้มีส่วนได้เสียในกิจการ ขณะที่หมวดที่ 3 เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการดูแลผู้มีส่วนได้เสียจากบริษัทตามสิทธิที่มีตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งถือเป็นการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมขั้นพื้นฐานของกิจการ
การดำเนินงานของกิจการซึ่งมีเป้าหมายที่ผู้ถือหุ้น ผู้บริหาร คณะกรรมการ หรือพนักงาน (คือ ผู้มีส่วนได้เสียในกิจการ) เป็นเรื่องของความรับผิดชอบต่อสังคมที่อยู่ภายในองค์กร ซึ่งจัดอยู่ในหัวข้อการกำกับดูแลกิจการภายในให้มีความโปร่งใส สามารถให้สังคมภายนอกตรวจสอบได้
ส่วนการดำเนินงานของกิจการซึ่งมีเป้าหมายที่ครอบครัวของพนักงาน ชุมชนที่องค์กรตั้งอยู่ (รวมถึงสิ่งแวดล้อม) ลูกค้า คู่ค้า คู่แข่งขัน และประชาชนทั่วไป (คือ ผู้มีส่วนได้เสียนอกกิจการ) เป็นเรื่องของความรับผิดชอบต่อสังคมที่อยู่ภายนอกองค์กร ดังนั้น กิจการใดที่มีการกำกับดูแลกิจการที่ดีอยู่แล้ว ถือว่าได้มีส่วนในการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมอยู่ด้วย
ขณะที่ความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ หรือที่เรียกว่า บรรษัทบริบาล เป็นกลไกการดำเนินงานในกิจการที่เชื่อมโยงสู่กระบวนการภายนอก ที่องค์กรจัดให้มีขึ้นภายใต้จุดมุ่งหมายที่ต้องการสร้างประโยชน์แก่กิจการและส่วนรวมบนพื้นฐานของการไม่เบียดเบียนกัน การสงเคราะห์ช่วยเหลือส่วนรวมตามกำลังและความสามารถของกิจการ อันจะนำไปสู่ความยั่งยืนของกิจการในระยะยาว
บรรษัทบริบาล จึงเป็นการดูแลรักษาไม่เฉพาะในส่วนที่เป็นกิจการ แต่ยังแผ่ขยายกว้างออกไปครอบคลุมในส่วนที่เป็นผู้มีส่วนได้เสียทั้งหมดที่อยู่โดยรอบกิจการ ด้วยเงื่อนไขของความสำนึกรับผิดชอบต่อสังคมในฐานะนิติพลเมือง (Corporate Citizen) โดยคำนึงถึงประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสียทั้งภายในและภายนอกกิจการอย่างเป็นธรรม
หลักการความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้ยกร่างขึ้นเพื่อเป็นแนวปฏิบัติให้แก่บริษัทจดทะเบียนและกิจการทั่วไป มีอยู่ด้วยกัน 8 หมวด ได้แก่ 1) การกำกับดูแลกิจการที่ดี 2) การประกอบธุรกิจด้วยความเป็นธรรม 3) การเคารพสิทธิมนุษยชนและการปฏิบัติต่อแรงงานอย่างเป็นธรรม 4) ความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค 5) การร่วมพัฒนาชุมชนและสังคม 6) การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม 7) นวัตกรรมและการเผยแพร่นวัตกรรมจากการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคม และ 8) การจัดทำรายงานด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม
กล่าวได้ว่า เรื่องการกำกับดูแลกิจการ (CG) จะมีลักษณะที่สำคัญ 3 ประการ คือ
1) เป็นเรื่องของการนำหลักคุณธรรม จริยธรรม ซึ่งจะต้องปลูกฝังให้เกิดกับบุคลากรในองค์กร มาเป็นฐานแห่งการพัฒนาระบบและกระบวนการภายในองค์กรสำหรับใช้กำกับดูแลการดำเนินงานของบุคลากรเพื่อให้เป็นไปตามหลักคุณธรรม จริยธรรม
2) เป็นการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมขั้นพื้นฐานของกิจการ ที่คำนึงถึงการปฏิบัติตามกฎหมาย และดูแลผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องภายใต้สิทธิที่พึงได้รับตามที่กฎหมายกำหนด
3) มุ่งหมายให้กิจการมีขีดความสามารถในการสร้างมูลค่าเพิ่ม และส่งเสริมการเติบโตของกิจการอย่างมั่นคง สังคมภายนอกตรวจสอบได้
ขณะที่เรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ (CSR) จะประกอบด้วยคุณลักษณะที่เกี่ยวเนื่องกับ CG อยู่ 3 ประการ คือ
1) เป็นเรื่องของการคำนึงถึงผลกระทบจากการดำเนินงานที่จะเกิดแก่ผู้มีส่วนได้เสีย ตามหลักศีลธรรม หรือการอยู่ร่วมกันอย่างปกติสุข ซึ่งองค์กรใช้เป็นแนวการดำเนินงานที่เชื่อมโยงสู่กระบวนการภายนอก โดยมีฐานที่พัฒนาขึ้นจากกลไกการกำกับดูแลกิจการที่ดี
2) เป็นการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมที่มากกว่าการคำนึงถึงเพียงการปฏิบัติตามกฎหมาย และการดูแลผลกระทบที่มีต่อผู้มีส่วนได้เสียอย่างเป็นธรรม นอกเหนือจากสิทธิที่พึงได้รับตามกฎหมาย
3) มุ่งหมายให้กิจการมีขีดความสามารถในการสร้างคุณค่าร่วมจากการส่งมอบประโยชน์ให้แก่กิจการและสังคมส่วนรวม อันจะนำไปสู่ความยั่งยืนของกิจการในระยะยาว
จากบทเรียนในการขับเคลื่อนเรื่อง CSR ในองค์กรธุรกิจหลายแห่ง พบว่า องค์กรจะไม่สามารถดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมภายนอกให้ประสบผลสำเร็จหรือก้าวหน้าได้ หากปราศจากการกำกับดูแลกิจการภายในที่ดีและเข้มแข็ง หรืออีกนัยหนึ่ง ธุรกิจทำ CSR โดยละเลยเรื่อง CG มิได้...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
Thursday, June 07, 2012
CSR กับ SD เหมือนหรือต่างกัน
ในแวดวงของผู้ที่ทำ CSR (Corporate Social Responsibility) ปัจจุบัน จะเริ่มได้รับคำถามที่เกี่ยวเนื่องกับเรื่อง SD (Sustainable Development) ว่ามีความเหมือนหรือแตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ บทความตอนนี้ จะพยายามอธิบายให้เห็นภาพความเกี่ยวเนื่องและความสัมพันธ์ระหว่างเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ กับเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืน
ปัญหาเรื่องความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมที่สะสมต่อเนื่องมาในหลายทศวรรษที่ผ่านมา ได้เป็นแรงผลักดันให้เกิดแนวคิดของการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเริ่มจากการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยเรื่องสิ่งแวดล้อมของมนุษย์ (UNCHE) เมื่อปี 2515 ที่จุดประกายให้เรื่องสิ่งแวดล้อมได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางในประชาคมระหว่างประเทศ และนำไปสู่การจัดตั้งหน่วยงานที่รับผิดชอบทางด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศต่าง ๆ รวมถึงการจัดตั้งโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP)
ต่อมาในปี 2535 ในการประชุมสุดยอดโลก (Earth Summit 1992) ทำให้มีข้อสรุปที่สำคัญเกิดขึ้นหลายประการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน มีการระบุถึงบูรณาการระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมควบคู่ไปกับการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม และกล่าวถึงกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อสนับสนุนให้ประเทศกำลังพัฒนาบรรลุถึงการพัฒนาที่ยั่งยืน
ในปี พ.ศ. 2545 ได้มีการจัดประชุมสุดยอดระดับโลกว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน (WSSD) ซึ่งประเทศสมาชิกจำนวน 180 ประเทศ รวมทั้งประเทศไทยได้ลงนามรับรองปฏิญญาโจฮันเนสเบอร์กในเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งเป็นเอกสารประกาศเจตนารมณ์ทางการเมืองของประเทศต่างๆ ที่จะร่วมกันปฏิบัติตามพันธกรณีและมาตรการจากผลการประชุม Earth Summit 1992 ให้เกิดผลที่เป็นรูปธรรม
หลักการของการพัฒนาที่ยั่งยืนซึ่งนิยามโดย Brundtland Commission เมื่อปี 2520 ระบุว่า เป็น “การพัฒนาที่สามารถสนองความต้องการที่จำเป็นของคนรุ่นปัจจุบัน โดยไม่กระทบต่อขีดความสามารถในการสนองความต้องการที่จำเป็นของคนในรุ่นต่อไป” ซึ่งแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนจะคำนึงถึงมิติด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม หรือ Profit-People-Planet ในมุมมองของ Triple Bottom Line ที่มีความเชื่อมโยงกัน หรือกล่าวได้ว่า แนวคิดแห่งการพัฒนาที่ยั่งยืน มีลักษณะที่สำคัญ 3 ประการ คือ
1) เป็นเรื่องของการพัฒนาเพื่อตอบสนองความต้องการของสังคมภายใต้ข้อจำกัดทางสภาพแวดล้อมที่ไม่ส่งผลกระทบต่อขีดความสามารถในการสนองความต้องการที่จำเป็นของคนในรุ่นต่อไป
2) คำนึงถึงมิติด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ที่มีความเชื่อมโยงกัน เช่น การขจัดความยากจน จำเป็นต้องคำนึงถึงการพิทักษ์สิ่งแวดล้อมและความเป็นธรรมทางสังคมประกอบกัน
3) มุ่งหมายที่จะบรรลุถึงสถานะแห่งความยั่งยืนของสังคมโลกโดยรวม ไม่ใช่เพื่อความยั่งยืนหรือความสามารถในการอยู่รอดขององค์กรใดองค์กรหนึ่ง ซึ่งหมายรวมถึง วิถีการบริโภคอย่างยั่งยืน และแหล่งทรัพยากรที่ยั่งยืน
สถานะแห่งความยั่งยืนนั้น ถูกจัดให้เป็น “ผล” การดำเนินงาน ขณะที่ความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ จะเป็นปัจจัยหลักหรือ “เหตุ” ที่เกื้อหนุนให้ได้มาซึ่งความยั่งยืนจากการประกอบการที่คำนึงถึงความรับผิดชอบทั้งในมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
ด้วยเหตุนี้ ความรับผิดชอบต่อสังคมกับการพัฒนาที่ยั่งยืนนั้น จึงมิใช่เรื่องเดียวกัน แต่มีความเกี่ยวเนื่องกันอย่างใกล้ชิด โดยที่ CSR จะประกอบด้วยคุณลักษณะที่เกี่ยวเนื่องกับ SD อยู่ 3 ประการ คือ
1) เป็นเรื่องระดับองค์กรที่คำนึงถึงการดำเนินงานอย่างรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีส่วนสนับสนุนเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืน
2) การสร้างความยั่งยืนหรือขีดความสามารถในการอยู่รอดขององค์กร อาจมีวิธีการที่แตกต่างหรือสวนทางกับการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยรวม
3) สามารถใช้เป็นเครื่องมือขององค์กร ทั้งในการสร้างความยั่งยืนให้แก่องค์กร และในการสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน
ทั้งนี้ กลไกสำคัญซึ่งนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของภาคธุรกิจ ได้แก่ ความรับผิดชอบต่อสังคม ที่ไม่ใช่เพียงแค่การทำกิจกรรมเพื่อสังคมที่อยู่นอกกระบวนการธุรกิจ หรือเพียงเพื่อประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์องค์กร แต่ต้องสามารถผนวกความรับผิดชอบต่อสังคมเข้าไปในทุกกระบวนการทางธุรกิจจนพัฒนาเป็นส่วนหนึ่งของขีดความสามารถขององค์กร...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
ปัญหาเรื่องความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมที่สะสมต่อเนื่องมาในหลายทศวรรษที่ผ่านมา ได้เป็นแรงผลักดันให้เกิดแนวคิดของการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเริ่มจากการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยเรื่องสิ่งแวดล้อมของมนุษย์ (UNCHE) เมื่อปี 2515 ที่จุดประกายให้เรื่องสิ่งแวดล้อมได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางในประชาคมระหว่างประเทศ และนำไปสู่การจัดตั้งหน่วยงานที่รับผิดชอบทางด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศต่าง ๆ รวมถึงการจัดตั้งโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP)
ต่อมาในปี 2535 ในการประชุมสุดยอดโลก (Earth Summit 1992) ทำให้มีข้อสรุปที่สำคัญเกิดขึ้นหลายประการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน มีการระบุถึงบูรณาการระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมควบคู่ไปกับการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม และกล่าวถึงกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อสนับสนุนให้ประเทศกำลังพัฒนาบรรลุถึงการพัฒนาที่ยั่งยืน
ในปี พ.ศ. 2545 ได้มีการจัดประชุมสุดยอดระดับโลกว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน (WSSD) ซึ่งประเทศสมาชิกจำนวน 180 ประเทศ รวมทั้งประเทศไทยได้ลงนามรับรองปฏิญญาโจฮันเนสเบอร์กในเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งเป็นเอกสารประกาศเจตนารมณ์ทางการเมืองของประเทศต่างๆ ที่จะร่วมกันปฏิบัติตามพันธกรณีและมาตรการจากผลการประชุม Earth Summit 1992 ให้เกิดผลที่เป็นรูปธรรม
หลักการของการพัฒนาที่ยั่งยืนซึ่งนิยามโดย Brundtland Commission เมื่อปี 2520 ระบุว่า เป็น “การพัฒนาที่สามารถสนองความต้องการที่จำเป็นของคนรุ่นปัจจุบัน โดยไม่กระทบต่อขีดความสามารถในการสนองความต้องการที่จำเป็นของคนในรุ่นต่อไป” ซึ่งแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนจะคำนึงถึงมิติด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม หรือ Profit-People-Planet ในมุมมองของ Triple Bottom Line ที่มีความเชื่อมโยงกัน หรือกล่าวได้ว่า แนวคิดแห่งการพัฒนาที่ยั่งยืน มีลักษณะที่สำคัญ 3 ประการ คือ
1) เป็นเรื่องของการพัฒนาเพื่อตอบสนองความต้องการของสังคมภายใต้ข้อจำกัดทางสภาพแวดล้อมที่ไม่ส่งผลกระทบต่อขีดความสามารถในการสนองความต้องการที่จำเป็นของคนในรุ่นต่อไป
2) คำนึงถึงมิติด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ที่มีความเชื่อมโยงกัน เช่น การขจัดความยากจน จำเป็นต้องคำนึงถึงการพิทักษ์สิ่งแวดล้อมและความเป็นธรรมทางสังคมประกอบกัน
3) มุ่งหมายที่จะบรรลุถึงสถานะแห่งความยั่งยืนของสังคมโลกโดยรวม ไม่ใช่เพื่อความยั่งยืนหรือความสามารถในการอยู่รอดขององค์กรใดองค์กรหนึ่ง ซึ่งหมายรวมถึง วิถีการบริโภคอย่างยั่งยืน และแหล่งทรัพยากรที่ยั่งยืน
สถานะแห่งความยั่งยืนนั้น ถูกจัดให้เป็น “ผล” การดำเนินงาน ขณะที่ความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ จะเป็นปัจจัยหลักหรือ “เหตุ” ที่เกื้อหนุนให้ได้มาซึ่งความยั่งยืนจากการประกอบการที่คำนึงถึงความรับผิดชอบทั้งในมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
ด้วยเหตุนี้ ความรับผิดชอบต่อสังคมกับการพัฒนาที่ยั่งยืนนั้น จึงมิใช่เรื่องเดียวกัน แต่มีความเกี่ยวเนื่องกันอย่างใกล้ชิด โดยที่ CSR จะประกอบด้วยคุณลักษณะที่เกี่ยวเนื่องกับ SD อยู่ 3 ประการ คือ
1) เป็นเรื่องระดับองค์กรที่คำนึงถึงการดำเนินงานอย่างรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีส่วนสนับสนุนเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืน
2) การสร้างความยั่งยืนหรือขีดความสามารถในการอยู่รอดขององค์กร อาจมีวิธีการที่แตกต่างหรือสวนทางกับการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยรวม
3) สามารถใช้เป็นเครื่องมือขององค์กร ทั้งในการสร้างความยั่งยืนให้แก่องค์กร และในการสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน
ทั้งนี้ กลไกสำคัญซึ่งนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของภาคธุรกิจ ได้แก่ ความรับผิดชอบต่อสังคม ที่ไม่ใช่เพียงแค่การทำกิจกรรมเพื่อสังคมที่อยู่นอกกระบวนการธุรกิจ หรือเพียงเพื่อประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์องค์กร แต่ต้องสามารถผนวกความรับผิดชอบต่อสังคมเข้าไปในทุกกระบวนการทางธุรกิจจนพัฒนาเป็นส่วนหนึ่งของขีดความสามารถขององค์กร...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
Friday, June 01, 2012
มีอะไรใน WEF ที่กรุงเทพฯ
ในสัปดาห์นี้ ประเทศไทยจะร่วมกับเวทีเศรษฐกิจโลก หรือ World Economic Forum (WEF) เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเวทีเศรษฐกิจโลกว่าด้วยเอเชียตะวันออก หรือ WEF on East Asia (30 พ.ค. - 1 มิ.ย. 55) ณ โรงแรมแชงกรีลา กรุงเทพฯ โดยมีธีมหลักของการประชุมคือ การกำหนดอนาคตภูมิภาคโดยการเชื่อมโยง ที่จะร่วมกันหารือใน 3 เรื่อง ได้แก่ การทบทวนรูปแบบของภูมิภาคสำหรับโลกยุคใหม่ การรับมือกับความเสี่ยงในภูมิภาค และการบรรลุความเชื่อมโยงในภูมิภาค ซึ่งคาดว่าจะมีผู้นำภาครัฐบาล ผู้บริหารเอกชน นักวิชาการ และสื่อมวลชนระดับโลกกว่า 700 คน เข้าร่วมงาน
ไทยได้แสดงความประสงค์จะเป็นเจ้าภาพการประชุม WEF on East Asia มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2552 โดยเห็นว่า จะเป็นเครื่องแสดงความเชื่อมั่นของประชาคมธุรกิจโลกต่อการฟื้นตัวจากวิกฤตเศรษฐกิจและการเมืองของไทย โดยเมื่อต้นปี 2554 WEF ได้เลือกให้ไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม WEF on East Asia เป็นครั้งแรกในปีนี้ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นของประชาคมเศรษฐกิจโลก ที่มีต่อศักยภาพทางเศรษฐกิจ และเสถียรภาพในการฟื้นตัวจากวิกฤตการเมืองไทย
การเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมฯ ครั้งนี้ จะเป็นการสร้างความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจและการเมืองของไทยให้แก่นักธุรกิจและนักลงทุนชั้นนำของโลก รวมถึงการเสริมสร้างรายได้ให้แก่ภาคธุรกิจไทยจากการจับจ่ายใช้สอยและการท่องเที่ยวของผู้เข้าร่วมการประชุมและเจ้าหน้าที่ WEF ไม่ต่ำกว่า 31.5 ล้านบาท (ประเมินขั้นต่ำจากผู้เข้าร่วมประชุมพร้อมผู้ติดตามและเจ้าหน้าที่ทั้งหมด 700 คน)
นอกจากนี้ ยังมีการจัดกิจกรรมย่อย หรือที่เรียกว่า Private Session ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยได้พิจารณาจัดกิจกรรมในสาขาที่ไทยมีศักยภาพ ทั้งหมด 5 สาขา ได้แก่ การท่องเที่ยว เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร การสาธารณสุข การเกษตร และพลังงาน ซึ่งจะมีรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมในแต่ละกิจกรรมย่อย
ปัจจุบัน มีภาคเอกชนไทยที่ได้เข้าเป็นสมาชิก WEF แล้วจำนวน 16 แห่ง ได้แก่ ปตท. การบินไทย ไทยเบฟเวอร์เรจ ธนาคารกรุงเทพ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ช.การช่าง ธนาคารกรุงไทย เซ็นทรัลพัฒนา ไออาร์พีซี ธนาคารไทยพาณิชย์ เจริญโภคภัณฑ์อาหาร บ้านปู แอดวานซ์อินโฟร์เซอร์วิส บางจากปิโตรเลียม น้ำตาลมิตรผล และศรีไทยซุปเปอร์แวร์
ผลประโยชน์อื่นที่ได้หลังจากการจัดประชุมฯ หากประเมินจากที่อินโดนีเซียจัดเมื่อครั้งที่แล้ว มีตัวเลขรายได้การลงทุนจากต่างประเทศที่หน่วยงาน BOI ของอินโดนีเซียระบุว่า หลังจากจัดการประชุม WEF on East Asia ในปี 2554 ประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และสาธารณรัฐเกาหลี ได้ให้คำมั่นในการลงทุนประมาณ 6.2 แสนล้านบาท หรือราว 2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ในด้านโครงสร้างพื้นฐาน อุตสาหกรรมรถยนต์ และสินค้าอุปโภคบริโภค แก่ประเทศอินโดนีเซีย
การจัดประชุมฯ ครั้งนี้ ยังเป็นโอกาสดีในการถ่ายทอดองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญในด้านต่างๆ เช่น การจัดทำรายงานพิเศษด้านขีดความสามารถในการแข่งขัน ประสบการณ์ในด้านการจัดประชุมระหว่างประเทศ และการขยายโอกาสทางธุรกิจและการชักจูงการค้าการลงทุนสู่ไทยอีกด้วย...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR)
ไทยได้แสดงความประสงค์จะเป็นเจ้าภาพการประชุม WEF on East Asia มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2552 โดยเห็นว่า จะเป็นเครื่องแสดงความเชื่อมั่นของประชาคมธุรกิจโลกต่อการฟื้นตัวจากวิกฤตเศรษฐกิจและการเมืองของไทย โดยเมื่อต้นปี 2554 WEF ได้เลือกให้ไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม WEF on East Asia เป็นครั้งแรกในปีนี้ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นของประชาคมเศรษฐกิจโลก ที่มีต่อศักยภาพทางเศรษฐกิจ และเสถียรภาพในการฟื้นตัวจากวิกฤตการเมืองไทย
การเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมฯ ครั้งนี้ จะเป็นการสร้างความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจและการเมืองของไทยให้แก่นักธุรกิจและนักลงทุนชั้นนำของโลก รวมถึงการเสริมสร้างรายได้ให้แก่ภาคธุรกิจไทยจากการจับจ่ายใช้สอยและการท่องเที่ยวของผู้เข้าร่วมการประชุมและเจ้าหน้าที่ WEF ไม่ต่ำกว่า 31.5 ล้านบาท (ประเมินขั้นต่ำจากผู้เข้าร่วมประชุมพร้อมผู้ติดตามและเจ้าหน้าที่ทั้งหมด 700 คน)
นอกจากนี้ ยังมีการจัดกิจกรรมย่อย หรือที่เรียกว่า Private Session ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยได้พิจารณาจัดกิจกรรมในสาขาที่ไทยมีศักยภาพ ทั้งหมด 5 สาขา ได้แก่ การท่องเที่ยว เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร การสาธารณสุข การเกษตร และพลังงาน ซึ่งจะมีรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมในแต่ละกิจกรรมย่อย
ปัจจุบัน มีภาคเอกชนไทยที่ได้เข้าเป็นสมาชิก WEF แล้วจำนวน 16 แห่ง ได้แก่ ปตท. การบินไทย ไทยเบฟเวอร์เรจ ธนาคารกรุงเทพ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ช.การช่าง ธนาคารกรุงไทย เซ็นทรัลพัฒนา ไออาร์พีซี ธนาคารไทยพาณิชย์ เจริญโภคภัณฑ์อาหาร บ้านปู แอดวานซ์อินโฟร์เซอร์วิส บางจากปิโตรเลียม น้ำตาลมิตรผล และศรีไทยซุปเปอร์แวร์
ผลประโยชน์อื่นที่ได้หลังจากการจัดประชุมฯ หากประเมินจากที่อินโดนีเซียจัดเมื่อครั้งที่แล้ว มีตัวเลขรายได้การลงทุนจากต่างประเทศที่หน่วยงาน BOI ของอินโดนีเซียระบุว่า หลังจากจัดการประชุม WEF on East Asia ในปี 2554 ประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และสาธารณรัฐเกาหลี ได้ให้คำมั่นในการลงทุนประมาณ 6.2 แสนล้านบาท หรือราว 2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ในด้านโครงสร้างพื้นฐาน อุตสาหกรรมรถยนต์ และสินค้าอุปโภคบริโภค แก่ประเทศอินโดนีเซีย
การจัดประชุมฯ ครั้งนี้ ยังเป็นโอกาสดีในการถ่ายทอดองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญในด้านต่างๆ เช่น การจัดทำรายงานพิเศษด้านขีดความสามารถในการแข่งขัน ประสบการณ์ในด้านการจัดประชุมระหว่างประเทศ และการขยายโอกาสทางธุรกิจและการชักจูงการค้าการลงทุนสู่ไทยอีกด้วย...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR)
Subscribe to:
Posts (Atom)