วันนี้ สถาบันไทยพัฒน์ ร่วมกับสถาบันธุรกิจเพื่อสังคม (CSRI) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) จัดงานทิศทาง CSR & Sustainability ปี 2556 เตรียมเข้าสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนยุค 2.0 ด้วยหลักการ ‘เปิดเผย’ และ ‘เปิดกว้าง’ เพื่อตอบโจทย์ความคาดหวังของสังคมอย่างรอบด้าน
การขับเคลื่อนเรื่อง CSR ขององค์กรธุรกิจไทย โดยเฉพาะบริษัทจดทะเบียนและกิจการขนาดใหญ่ ในปีนี้ จะได้รับอิทธิพลจากกรอบการพัฒนาที่ยั่งยืน อันเป็นผลจากการประชุม Rio+20 เมื่อกลางปีที่แล้ว ซึ่งได้มีการเสนอให้เปลี่ยนกรอบคิดการพัฒนาที่ยั่งยืนด้วยการคำนึงถึงเรื่องเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม จากแบบเสาหลัก (pillars) แห่งการพัฒนา มาเป็นมิติ (dimensions) แห่งการพัฒนา นับจากปี ค.ศ. 2015 เป็นต้นไป
เรียกได้ว่า การพัฒนาที่ยั่งยืนยุค 2.0 หรือ Sustainable Development ฉบับ 2.0 ได้ถือกำเนิดขึ้น เพื่อพยายามลดข้อจำกัดของการส่งเสริมการพัฒนาซึ่งใช้ตัวแบบตั้งแต่เมื่อ 20 ปีที่แล้ว ที่มีส่วนทำให้เกิดการพัฒนาในแบบแยกส่วน มาเป็นการเน้นให้เกิดผลของการพัฒนาที่คำนึงถึงความเชื่อมโยงระหว่างมิติในทุกระดับของการพัฒนา
หลักการ CSR ของภาคธุรกิจ ที่เกื้อหนุนให้เกิดความยั่งยืนของกิจการและการพัฒนาที่ยั่งยืนยุค 2.0 ที่สำคัญ คือ การ ‘เปิดเผย’ และ ‘เปิดกว้าง’ เพื่อตอบโจทย์ความคาดหวังของสังคมในแบบ 360° คำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียอย่างรอบด้าน โดยหนึ่งในรูปธรรมที่เกิดขึ้น คือ การผลักดันภาคธุรกิจ โดยเฉพาะบริษัทจดทะเบียนและกิจการขนาดใหญ่ ให้มีการรายงานข้อมูลความยั่งยืนของกิจการ (Corporate Sustainability Reporting)
ในปีนี้ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) จะสนับสนุนให้บริษัทจดทะเบียนดำเนินธุรกิจภายใต้หลัก CSR เพื่อนำไปสู่การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืนตามหลักการที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล และเพื่อเป็นแบบอย่างแก่ภาคเอกชนและธุรกิจอื่นต่อไป รวมทั้งเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ลงทุนทั่วโลกที่ปัจจุบันมีแนวโน้มให้น้ำหนักการลงทุนในบริษัทที่ดำเนินธุรกิจภายใต้หลัก CSR มากขึ้น
ขณะนี้ ก.ล.ต. อยู่ระหว่างเตรียมออกประกาศเพื่อให้บริษัทจดทะเบียนเปิดเผยข้อมูลการดำเนินงานด้าน CSR ไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1) และรายงานประจำปี ส่วนบริษัทที่จะออกและเสนอขายหลักทรัพย์ใหม่ ก็ให้เปิดเผยข้อมูลไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (แบบ 69-1) โดยข้อมูลดังกล่าวจะสะท้อนว่าบริษัทมีนโยบายการดำเนินงานที่คำนึงถึงผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสีย เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมแล้วหรือไม่ อย่างไร ซึ่งจะเป็นไปตามเอกสารแนวทางความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ (พ.ศ. 2555) ที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ จัดทำขึ้น
ทั้งนี้ การเปิดเผยข้อมูลดังกล่าว จะทำให้ผู้ลงทุนมีข้อมูลสำคัญที่ใช้ประกอบการตัดสินใจลงทุนมากขึ้น ขณะที่บริษัทจดทะเบียนก็จะได้สอบทานตัวเองว่าได้ดำเนินการเรื่อง CSR ตรงกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์กรแล้วหรือไม่ โดยประกาศนี้คาดว่าจะเริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2557 เป็นต้นไป
สำหรับรายละเอียดการประมวลแนวโน้ม CSR & Sustainability ปี 2556 สามารถศึกษาได้จากรายงาน “6 ทิศทาง CSR & Sustainability ปี 2556: Sustainable Development 2.0” ซึ่งจัดทำขึ้นโดยสถาบันไทยพัฒน์ ดูเพิ่มเติมได้ที่ www.thaipat.org...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
Thursday, January 31, 2013
Thursday, January 24, 2013
ความไม่ยั่งยืนของการพัฒนาที่ยั่งยืน
ในคราวที่สหประชาชาติได้จัดการประชุมว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือที่เรียกว่า Rio+20 ณ นครริโอ เดอ จาเนโร สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล เมื่อเดือนมิถุนายน ปี 2555 ทำให้เกิดกรอบการทำงานเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืนฉบับใหม่ ภายใต้เอกสารผลลัพธ์การประชุม ความหนา 53 หน้า ที่มีชื่อว่า “The Future We Want” ซึ่งได้รับการเห็นชอบจากชาติสมาชิก 193 ประเทศ
หลังจากการประชุม Rio+20 สหประชาชาติได้วางกรอบแนวทางการพัฒนาสำหรับการเปลี่ยนผ่านเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals: MDGs) ซึ่งจะสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 2015 ไปสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ (Sustainable Development Goals: SDGs) โดยระบุให้เป็นวาระการพัฒนาหลังจากปี ค.ศ. 2015 (Post-2015 Development Agenda) ไว้ในเอกสารชื่อ ‘Realizing the Future We Want for All’ ซึ่งประกอบด้วยหลักการพื้นฐาน 3 ประการ ได้แก่ สิทธิมนุษยชน (Human Rights) ความเสมอภาค (Equality) และความยั่งยืน (Sustainability)
ภาคธุรกิจ จะมีการปรับตัวเพื่อรองรับกับวาระการพัฒนาหลังจากปี ค.ศ. 2015 ด้วยความพยายามในการแปลงหลักการดังกล่าวให้เกิดเป็นรูปธรรมแห่งการปฏิบัติ ตามบทบาทที่ธุรกิจพึงจะดำเนินการได้ในขอบเขตของตนเอง ทั้งนี้ หลักการแนวทางที่ส่งเสริมหลักสิทธิมนุษยชน เรื่องความเสมอภาค และประเด็นความยั่งยืน ก็มิใช่ว่าจะไม่มีการปฏิบัติมาแต่ก่อน เพียงแต่ธุรกิจ อาจต้องวางแนวทางการขับเคลื่อนอย่างบูรณาการมากกว่าที่เคยเป็นมา ในที่นี้ จะขอยกตัวอย่างแนวทางของการขับเคลื่อนหลักการทั้งสามประการนี้ มาให้เป็นข้อมูลพอสังเขป ดังนี้
ในเรื่องสิทธิมนุษยชนกับบทบาทของภาคธุรกิจ คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (HRC) ได้เผยแพร่หลักการแนวทางของสหประชาชาติภายใต้กรอบ “คุ้มครอง-เคารพ-เยียวยา” สำหรับการปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชนในภาคธุรกิจ เมื่อเดือนมิถุนายน ปี 2554 โดยองค์กรธุรกิจในทุกขนาดและทุกประเภทกิจการสามารถนำหลักการแนวทางดังกล่าวมาพิจารณาดำเนินการกำหนดนโยบาย มาตรการ และแนวทางการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมโดยคำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชนได้เป็นอย่างดี
สำหรับเรื่องความเสมอภาคกับบทบาทของภาคธุรกิจ สภาธุรกิจโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (WBCSD) ได้นิยามคำว่า “Inclusive Business” ขึ้นในปี 2548 เพื่อใช้เป็นแนวทางในการประกอบธุรกิจอย่างยั่งยืน โดยคำนึงถึงชุมชนในระดับฐานราก ด้วยการสร้างงานแก่คนในท้องถิ่นที่มีรายได้น้อย การมอบโอกาสให้แก่สมาชิกชุมชนในการเป็นผู้ส่งมอบ ผู้จัดจำหน่าย ผู้ค้าปลีก ผู้ให้บริการในห่วงโซ่ธุรกิจ และการพัฒนาและส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการตามกำลังซื้อของผู้บริโภคในระดับฐานราก ให้สามารถเข้าถึงสินค้าและบริการเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต
ส่วนเรื่องความยั่งยืนกับบทบาทของภาคธุรกิจที่หลายองค์กรได้มีการขับเคลื่อนมาระยะหนึ่งแล้วนั้น จากผลการรับฟังความคิดเห็นแรกเริ่มที่ถูกส่งไปยังคณะทำงานว่าด้วยเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ของสหประชาชาติ เมื่อเดือนธันวาคม ปี 2555 ได้เสนอให้มีการเปลี่ยนกรอบคิดการพัฒนาที่ยั่งยืนด้วยการคำนึงถึงเรื่องเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมให้เกิดความสมดุล จากแบบเสาหลัก (pillars) แห่งการพัฒนา ที่ยึดเป็นตัวแบบตั้งแต่เมื่อ 20 ปีที่แล้ว มาเป็นมิติ (dimensions) แห่งการพัฒนา สู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) นับจากปี ค.ศ. 2015 เป็นต้นไป เพื่อหลีกเลี่ยงการส่งเสริมการพัฒนาในแบบแยกส่วน และเน้นให้เกิดผลของการพัฒนาที่คำนึงถึงความเชื่อมโยงระหว่างมิติในทุกระดับของการพัฒนา
จะเห็นว่าแบบแผนของการพัฒนาที่ยั่งยืน ในอดีตที่ดำเนินมา ก็ยังมีความไม่ยั่งยืนอยู่ และยังต้องอาศัยการปรับปรุงให้เข้ากับปัจจัยแวดล้อมและสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงในช่วง 20 ปีข้างหน้าอยู่อีกมาก
เพื่อให้องค์กรธุรกิจไทยได้รับทราบข้อมูลในกรอบการทำงานเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืนฉบับใหม่ ที่นานาประเทศได้ให้ความเห็นชอบ ซึ่งจะเรียกว่าเป็นแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ Sustainable Development ฉบับ 2.0 ในเบื้องต้น พร้อมกับการรับทราบสถานการณ์ด้าน CSR ภายในประเทศ สถาบันไทยพัฒน์ สถาบันธุรกิจเพื่อสังคม (CSRI) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) จะจัดงานแถลง “ทิศทาง CSR & Sustainability ปี 2556: Sustainable Development 2.0” ในวันพฤหัสที่ 31 มกราคม 2556 เวลา 9.00 - 12.00 น. ณ หอประชุมศาสตราจารย์สังเวียน อินทรวิชัย ชั้น 3 อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ถนนรัชดาภิเษก สำหรับเป็นข้อมูลประกอบการกำหนดแนวทางขับเคลื่อนเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมและความยั่งยืนของกิจการในปี 2556 นี้...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
หลังจากการประชุม Rio+20 สหประชาชาติได้วางกรอบแนวทางการพัฒนาสำหรับการเปลี่ยนผ่านเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals: MDGs) ซึ่งจะสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 2015 ไปสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ (Sustainable Development Goals: SDGs) โดยระบุให้เป็นวาระการพัฒนาหลังจากปี ค.ศ. 2015 (Post-2015 Development Agenda) ไว้ในเอกสารชื่อ ‘Realizing the Future We Want for All’ ซึ่งประกอบด้วยหลักการพื้นฐาน 3 ประการ ได้แก่ สิทธิมนุษยชน (Human Rights) ความเสมอภาค (Equality) และความยั่งยืน (Sustainability)
ภาคธุรกิจ จะมีการปรับตัวเพื่อรองรับกับวาระการพัฒนาหลังจากปี ค.ศ. 2015 ด้วยความพยายามในการแปลงหลักการดังกล่าวให้เกิดเป็นรูปธรรมแห่งการปฏิบัติ ตามบทบาทที่ธุรกิจพึงจะดำเนินการได้ในขอบเขตของตนเอง ทั้งนี้ หลักการแนวทางที่ส่งเสริมหลักสิทธิมนุษยชน เรื่องความเสมอภาค และประเด็นความยั่งยืน ก็มิใช่ว่าจะไม่มีการปฏิบัติมาแต่ก่อน เพียงแต่ธุรกิจ อาจต้องวางแนวทางการขับเคลื่อนอย่างบูรณาการมากกว่าที่เคยเป็นมา ในที่นี้ จะขอยกตัวอย่างแนวทางของการขับเคลื่อนหลักการทั้งสามประการนี้ มาให้เป็นข้อมูลพอสังเขป ดังนี้
ในเรื่องสิทธิมนุษยชนกับบทบาทของภาคธุรกิจ คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (HRC) ได้เผยแพร่หลักการแนวทางของสหประชาชาติภายใต้กรอบ “คุ้มครอง-เคารพ-เยียวยา” สำหรับการปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชนในภาคธุรกิจ เมื่อเดือนมิถุนายน ปี 2554 โดยองค์กรธุรกิจในทุกขนาดและทุกประเภทกิจการสามารถนำหลักการแนวทางดังกล่าวมาพิจารณาดำเนินการกำหนดนโยบาย มาตรการ และแนวทางการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมโดยคำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชนได้เป็นอย่างดี
สำหรับเรื่องความเสมอภาคกับบทบาทของภาคธุรกิจ สภาธุรกิจโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (WBCSD) ได้นิยามคำว่า “Inclusive Business” ขึ้นในปี 2548 เพื่อใช้เป็นแนวทางในการประกอบธุรกิจอย่างยั่งยืน โดยคำนึงถึงชุมชนในระดับฐานราก ด้วยการสร้างงานแก่คนในท้องถิ่นที่มีรายได้น้อย การมอบโอกาสให้แก่สมาชิกชุมชนในการเป็นผู้ส่งมอบ ผู้จัดจำหน่าย ผู้ค้าปลีก ผู้ให้บริการในห่วงโซ่ธุรกิจ และการพัฒนาและส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการตามกำลังซื้อของผู้บริโภคในระดับฐานราก ให้สามารถเข้าถึงสินค้าและบริการเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต
ส่วนเรื่องความยั่งยืนกับบทบาทของภาคธุรกิจที่หลายองค์กรได้มีการขับเคลื่อนมาระยะหนึ่งแล้วนั้น จากผลการรับฟังความคิดเห็นแรกเริ่มที่ถูกส่งไปยังคณะทำงานว่าด้วยเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ของสหประชาชาติ เมื่อเดือนธันวาคม ปี 2555 ได้เสนอให้มีการเปลี่ยนกรอบคิดการพัฒนาที่ยั่งยืนด้วยการคำนึงถึงเรื่องเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมให้เกิดความสมดุล จากแบบเสาหลัก (pillars) แห่งการพัฒนา ที่ยึดเป็นตัวแบบตั้งแต่เมื่อ 20 ปีที่แล้ว มาเป็นมิติ (dimensions) แห่งการพัฒนา สู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) นับจากปี ค.ศ. 2015 เป็นต้นไป เพื่อหลีกเลี่ยงการส่งเสริมการพัฒนาในแบบแยกส่วน และเน้นให้เกิดผลของการพัฒนาที่คำนึงถึงความเชื่อมโยงระหว่างมิติในทุกระดับของการพัฒนา
จะเห็นว่าแบบแผนของการพัฒนาที่ยั่งยืน ในอดีตที่ดำเนินมา ก็ยังมีความไม่ยั่งยืนอยู่ และยังต้องอาศัยการปรับปรุงให้เข้ากับปัจจัยแวดล้อมและสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงในช่วง 20 ปีข้างหน้าอยู่อีกมาก
เพื่อให้องค์กรธุรกิจไทยได้รับทราบข้อมูลในกรอบการทำงานเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืนฉบับใหม่ ที่นานาประเทศได้ให้ความเห็นชอบ ซึ่งจะเรียกว่าเป็นแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ Sustainable Development ฉบับ 2.0 ในเบื้องต้น พร้อมกับการรับทราบสถานการณ์ด้าน CSR ภายในประเทศ สถาบันไทยพัฒน์ สถาบันธุรกิจเพื่อสังคม (CSRI) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) จะจัดงานแถลง “ทิศทาง CSR & Sustainability ปี 2556: Sustainable Development 2.0” ในวันพฤหัสที่ 31 มกราคม 2556 เวลา 9.00 - 12.00 น. ณ หอประชุมศาสตราจารย์สังเวียน อินทรวิชัย ชั้น 3 อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ถนนรัชดาภิเษก สำหรับเป็นข้อมูลประกอบการกำหนดแนวทางขับเคลื่อนเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมและความยั่งยืนของกิจการในปี 2556 นี้...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
Thursday, January 10, 2013
License แบบไหนดี
ปี 2556 การดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ (CSR) ยังเป็นตัวแปรที่มีนัยสำคัญในสมการธุรกิจ และดูเหมือนจะมีค่าสัมประสิทธิ์ที่เพิ่มขึ้นยิ่งกว่าปีก่อน ด้วยปัจจัยขับดันจากสามกลุ่มสำคัญ คือ ภาคประชาสังคมที่ใช้กลไกและเครื่องมือในการตรวจสอบการดำเนินงานขององค์กรธุรกิจที่มีความเข้มข้นเพิ่มมากขึ้น ภาครัฐหรือหน่วยงานกำกับดูแลที่คาดว่าจะมีการออกระเบียบกฎเกณฑ์การประกอบธุรกิจให้มีความรับผิดชอบต่อสังคมที่เข้มงวดรัดกุมยิ่งขึ้น และกลุ่มผู้บริโภคที่เป็นกำลังซื้อหลักในตลาดมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมาสู่แบบแผนการใช้ชีวิตที่ใส่ใจเรื่องสุขภาพและความยั่งยืนเพิ่มมากขึ้น
นอกจากการบริหารธุรกิจให้ดำเนินไปตามแผนและบรรลุเป้าประสงค์ทางธุรกิจ กิจการยังต้องใส่ใจกับการบริหารความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียในสามกลุ่มสำคัญข้างต้นด้วย ซึ่งในแต่ละกลุ่มจะมีแนวทางการดำเนินงานที่แตกต่างกัน แต่ด้วยจุดมุ่งหมายเดียวกัน คือ ทำให้ธุรกิจดำเนินหรือเติบโตต่อไปด้วยความยั่งยืน
ในการบริหารความคาดหวังของภาคประชาสังคม แนวทางหรือกลยุทธ์ที่แนะนำ คือ การสานสัมพันธ์หรือสร้างข้อผูกพันร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้มาซึ่ง “License to operate” เป้าหมายการดำเนินงานจะมุ่งไปที่ ‘สังคมใกล้’ หรือชุมชนที่อยู่รายรอบแหล่งดำเนินงานของกิจการ โดยมี ‘ผลกระทบ’ (ทางลบ) จากการประกอบการ เป็นโจทย์สำคัญของการดำเนินงาน
การอนุญาตให้ประกอบกิจการจากสังคมในกรณีนี้ ไม่เหมือนกับการได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการจากทางการที่มีความตายตัวและมีผลรองรับตามกฎหมาย แต่เป็นการยอมรับจากสังคมหรือชุมชนที่อยู่รายรอบในตัวของสถานประกอบการที่ไม่ตายตัว (อาจเปลี่ยนแปลงได้ เมื่อเวลาผ่านไป) และอาจไม่มีผลทางกฎหมาย
เมื่อเป็นเรื่องที่ไม่ตายตัว การสานสัมพันธ์กับชุมชนที่ได้รับผลกระทบ จึงต้องเป็นไปอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ เพื่อบริหารความคาดหวังที่มีต่อกิจการ บนพื้นฐานของการยอมรับจากสังคมหรือชุมชนเป็นที่ตั้ง
ข้อผิดพลาดประการหนึ่งที่องค์กรธุรกิจมักใช้ในการบริหารความคาดหวังของชุมชนที่ได้รับผลกระทบ คือ การสร้างหรือให้ผลกระทบทางบวก (เช่น เงิน สิ่งของเครื่องใช้ สันทนาการ ฯลฯ) เพื่อมุ่งหมายที่จะให้ชุมชนยอมรับ (ในระยะเวลาอันสั้น) โดยมิได้มุ่งแก้ไขหรือจัดการกับผลกระทบทางลบที่มีต่อชุมชนอย่างจริงจัง (ในระยะยาว)
เมื่อผลกระทบทางลบได้รับการสะสมหรือสร้างปัญหาอย่างเรื้อรังแก่ชุมชนที่อยู่รายรอบแหล่งดำเนินงานของกิจการ การเสริมพลังจากองค์กรภาคประชาชนจากภายนอกก็จะเกิดขึ้นติดตามมา เพราะมีเหตุอันควรที่จะเข้ามาปกป้องสิทธิของประชาชนที่ได้รับผลต่อการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมขององค์กรธุรกิจที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างต่อเนื่องหรืออย่างรุนแรง
มาถึงขั้นนี้ การใช้ช่องทางกฎหมาย หรือรัฐธรรมนูญ ในมาตรา 67 โดยภาคประชาชน ดังเช่นที่เคยมีการใช้เพื่อระงับโครงการหรือกิจกรรมที่ดำเนินการอยู่ในพื้นที่มาบตาพุด บ้านฉาง และใกล้เคียง โดยศาลปกครองกลาง เมื่อปี 2552 ก็จะเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงได้ยาก
แทนที่ธุรกิจจะได้มาซึ่ง License to operate จากชุมชน กลับกลายเป็นว่า ชุมชนและองค์กรภาคประชาชน ได้เหตุซึ่งเป็น License to terminate การประกอบกิจการนั้นๆ ให้พ้นไปจากชุมชนแทน
แนวทางหรือกลยุทธ์การสานสัมพันธ์หรือสร้างข้อผูกพันร่วมกับชุมชน จากบทเรียนข้างต้น ไม่ได้เป็นเรื่องเหนือวิสัยที่องค์กรธุรกิจจะทำความเข้าใจและดำเนินการ โดยเริ่มจากการจัดการที่ผลกระทบทางลบให้เกิดเป็นความเชื่อมั่นและความไว้วางใจสำหรับเป็นฐานในการทำงาน จากนั้นจึงค่อยพัฒนาหรือสร้างผลกระทบทางบวกให้เกิดความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นยิ่งๆ ขึ้นไป
ทราบดังนี้แล้ว ก็อยู่ที่ธุรกิจแล้วว่า จะเลือก License แบบไหนดี !!...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
นอกจากการบริหารธุรกิจให้ดำเนินไปตามแผนและบรรลุเป้าประสงค์ทางธุรกิจ กิจการยังต้องใส่ใจกับการบริหารความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียในสามกลุ่มสำคัญข้างต้นด้วย ซึ่งในแต่ละกลุ่มจะมีแนวทางการดำเนินงานที่แตกต่างกัน แต่ด้วยจุดมุ่งหมายเดียวกัน คือ ทำให้ธุรกิจดำเนินหรือเติบโตต่อไปด้วยความยั่งยืน
ในการบริหารความคาดหวังของภาคประชาสังคม แนวทางหรือกลยุทธ์ที่แนะนำ คือ การสานสัมพันธ์หรือสร้างข้อผูกพันร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้มาซึ่ง “License to operate” เป้าหมายการดำเนินงานจะมุ่งไปที่ ‘สังคมใกล้’ หรือชุมชนที่อยู่รายรอบแหล่งดำเนินงานของกิจการ โดยมี ‘ผลกระทบ’ (ทางลบ) จากการประกอบการ เป็นโจทย์สำคัญของการดำเนินงาน
การอนุญาตให้ประกอบกิจการจากสังคมในกรณีนี้ ไม่เหมือนกับการได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการจากทางการที่มีความตายตัวและมีผลรองรับตามกฎหมาย แต่เป็นการยอมรับจากสังคมหรือชุมชนที่อยู่รายรอบในตัวของสถานประกอบการที่ไม่ตายตัว (อาจเปลี่ยนแปลงได้ เมื่อเวลาผ่านไป) และอาจไม่มีผลทางกฎหมาย
เมื่อเป็นเรื่องที่ไม่ตายตัว การสานสัมพันธ์กับชุมชนที่ได้รับผลกระทบ จึงต้องเป็นไปอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ เพื่อบริหารความคาดหวังที่มีต่อกิจการ บนพื้นฐานของการยอมรับจากสังคมหรือชุมชนเป็นที่ตั้ง
ข้อผิดพลาดประการหนึ่งที่องค์กรธุรกิจมักใช้ในการบริหารความคาดหวังของชุมชนที่ได้รับผลกระทบ คือ การสร้างหรือให้ผลกระทบทางบวก (เช่น เงิน สิ่งของเครื่องใช้ สันทนาการ ฯลฯ) เพื่อมุ่งหมายที่จะให้ชุมชนยอมรับ (ในระยะเวลาอันสั้น) โดยมิได้มุ่งแก้ไขหรือจัดการกับผลกระทบทางลบที่มีต่อชุมชนอย่างจริงจัง (ในระยะยาว)
เมื่อผลกระทบทางลบได้รับการสะสมหรือสร้างปัญหาอย่างเรื้อรังแก่ชุมชนที่อยู่รายรอบแหล่งดำเนินงานของกิจการ การเสริมพลังจากองค์กรภาคประชาชนจากภายนอกก็จะเกิดขึ้นติดตามมา เพราะมีเหตุอันควรที่จะเข้ามาปกป้องสิทธิของประชาชนที่ได้รับผลต่อการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมขององค์กรธุรกิจที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างต่อเนื่องหรืออย่างรุนแรง
มาถึงขั้นนี้ การใช้ช่องทางกฎหมาย หรือรัฐธรรมนูญ ในมาตรา 67 โดยภาคประชาชน ดังเช่นที่เคยมีการใช้เพื่อระงับโครงการหรือกิจกรรมที่ดำเนินการอยู่ในพื้นที่มาบตาพุด บ้านฉาง และใกล้เคียง โดยศาลปกครองกลาง เมื่อปี 2552 ก็จะเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงได้ยาก
แทนที่ธุรกิจจะได้มาซึ่ง License to operate จากชุมชน กลับกลายเป็นว่า ชุมชนและองค์กรภาคประชาชน ได้เหตุซึ่งเป็น License to terminate การประกอบกิจการนั้นๆ ให้พ้นไปจากชุมชนแทน
แนวทางหรือกลยุทธ์การสานสัมพันธ์หรือสร้างข้อผูกพันร่วมกับชุมชน จากบทเรียนข้างต้น ไม่ได้เป็นเรื่องเหนือวิสัยที่องค์กรธุรกิจจะทำความเข้าใจและดำเนินการ โดยเริ่มจากการจัดการที่ผลกระทบทางลบให้เกิดเป็นความเชื่อมั่นและความไว้วางใจสำหรับเป็นฐานในการทำงาน จากนั้นจึงค่อยพัฒนาหรือสร้างผลกระทบทางบวกให้เกิดความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นยิ่งๆ ขึ้นไป
ทราบดังนี้แล้ว ก็อยู่ที่ธุรกิจแล้วว่า จะเลือก License แบบไหนดี !!...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
Thursday, January 03, 2013
การบริหาร CSR เชิงกลยุทธ์
การขับเคลื่อนเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ (CSR) ในปัจจุบัน มีแนวทางที่หลากหลายตามกรอบคิดของผู้เสนอแนะในแต่ละสำนัก แนวคิดหนึ่งที่ถูกนำมาประยุกต์ใช้ คือ การบริหารเชิงกลยุทธ์ (Strategic Management) ซึ่งใช้การกำหนดทิศทางการขับเคลื่อนที่ชัดเจน ใช้การระบุแนวทางการปฏิบัติเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์อย่างเป็นระบบ โดยมีวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ ตัวชี้วัดการดำเนินงาน การระบุกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง และการแปลงกลยุทธ์สู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม
การบริหาร CSR เชิงกลยุทธ์ ที่ประมวลจากแนวคิดดังกล่าว สามารถจำแนกได้เป็น 6 ประการ คือ 1)วิสัยทัศน์ 2)วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ 3)ตัวชี้วัดผลการดำเนินงานหลัก 4)กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้เสีย 5)ความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมและวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ 6)การลงมือปฏิบัติ โดยอธิบายได้ดังนี้
ประการที่ 1 วิสัยทัศน์ คือ ข้อความที่สะท้อนให้เห็นถึงเจตนารมณ์ในการดำเนินงานของกิจการ แม้องค์กรจะได้ดำเนินงานโดยคำนึงถึงผลกระทบด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมอยู่แล้ว แต่พึงระลึกว่า สำหรับบุคคลหรือหน่วยงานภายนอก อาจมิได้ล่วงรู้เจตนารมณ์ขององค์กรดีเท่ากับผู้ที่อยู่ในองค์กร การที่บุคคลหรือหน่วยงานภายนอก จะพิจารณาว่า องค์กรได้ให้ความสำคัญในเรื่อง CSR มากน้อยเพียงใด จำต้องอาศัยจากข้อมูลเอกสารที่ปรากฏเผยแพร่ ฉะนั้นการแสดงให้เห็นถึงเจตนารมณ์อย่างเป็นรูปธรรมทางหนึ่ง ก็คือ การระบุในข้อความที่เป็นวิสัยทัศน์และพันธกิจขององค์กร
ประการที่ 2 วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ คือ สิ่งซึ่งเกี่ยวเนื่องกับสถานภาพของกิจการที่องค์กรจำเป็นจะต้องบรรลุ และมีนัยสำคัญเหนือวัตถุประสงค์ในการปฏิบัติงานที่เป็นปกติประจำวัน องค์กรจำต้องมีการกำหนดวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมที่สามารถบูรณาการเข้ากับการดำเนินงานทางธุรกิจ โดยให้ความสำคัญกับความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่างๆ ไม่เฉพาะแต่ผู้ถือหุ้น หรือลูกค้า เพื่อสร้างให้เกิดการยอมรับของสังคมในวงกว้าง ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความยั่งยืนของกิจการ
ประการที่ 3 ตัวชี้วัดผลการดำเนินงานหลัก คือ เกณฑ์ที่บ่งบอกถึงสิ่งซึ่งส่งผลกระทบสูงต่อผลการดำเนินงานที่ต้องดำเนินการ ตัวชี้วัดผลการดำเนินงานที่ดี ควรจะต้องเป็นตัวชี้วัดที่สมเหตุสมผล (Valid) มีผลใช้ได้ แม้เวลาผ่านไป สามารถให้ข้อมูลที่ชัดเจน (Informative) ไม่ซับซ้อน และไม่ยากต่อการทำความเข้าใจ สามารถวัดได้จริง (Practical) มีความเหมาะสมกับองค์กร ไม่ใช้ต้นทุนการวัดที่สูงเกินไป เป็นที่น่าเชื่อถือ (Credible) พร้อมต่อการตรวจสอบและพิสูจน์ และไว้วางใจได้ (Reliable) บิดเบือนยาก มีความคงเส้นคงวาสูง
ประการที่ 4 การพิจารณากิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้เสีย คือ การทบทวนกิจกรรมที่ดำเนินอยู่ในปัจจุบันว่ามีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และตัวชี้วัดผลการดำเนินงานมากน้อยเพียงใด องค์กรไม่มีความจำเป็นต้องดำเนินกิจกรรม CSR กับผู้มีส่วนได้เสียในทุกกลุ่มพร้อมกัน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับลักษณะของธุรกิจ ขนาดของกิจการ และความพร้อมขององค์กร การทดสอบสารัตถภาพด้วยการใช้เกณฑ์ “ความเกี่ยวเนื่อง-ความมีนัยสำคัญ” จะช่วยองค์กรในการระบุกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้ทรัพยากรที่สิ้นเปลืองสูญเปล่าไปกับกิจกรรมที่สังคมเองก็มิได้รับประโยชน์หรือคุณค่าอย่างเต็มที่
ประการที่ 5 การตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมและวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ คือ การเฟ้นหาหรือยกระดับกิจกรรมที่องค์กรดำเนินอยู่ในปัจจุบันให้สามารถสนองตอบต่อวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ เพื่อให้ได้มาซึ่งประสิทธิภาพในการดำเนินกิจกรรม CSR ซึ่งหมายรวมถึง การพิจารณายุบหรือควบรวมกิจกรรม CSR ที่มีความซ้ำซ้อน และมุ่งตอบสนองต่อวัตถุประสงค์ในข้อใดข้อหนึ่งจนมีปริมาณมากเกิน กลายเป็นภาระหรือเป็นอุปสรรคต่อการบริหารดูแล ทั้งนี้ การคัดกรอง ยุบ ควบรวม หรือยกระดับกิจกรรม ควรพิจารณาถึงความสำคัญของวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ซึ่งมีค่าน้ำหนักที่มากน้อยต่างกันด้วย
ประการที่ 6 การลงมือปฏิบัติ สำหรับกิจกรรมที่เป็นงานในกระบวนการธุรกิจ หรือที่เข้าข่าย CSR-in-process องค์กรสามารถขับเคลื่อนกิจกรรมดังกล่าวผ่านทางสายงานที่รับผิดชอบ ภายใต้โครงสร้างหรือผังองค์กรที่เป็นปัจจุบันโดยปราศจากการจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติม หรือไม่ต้องใช้เงินเพิ่ม ส่วนการลงมือปฏิบัติสำหรับกิจกรรมซึ่งอยู่นอกกระบวนการธุรกิจ หรือที่เข้าข่าย CSR-after-process องค์กรอาจต้องตั้งเป็นโครงการเฉพาะกิจ อาจต้องดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานอื่น หรืออาจต้องมอบหมายให้หน่วยงานภายนอกดำเนินการให้ ซึ่งแน่นอนว่าต้องมีการจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมในการดำเนินงาน การขับเคลื่อนกิจกรรมดังกล่าว องค์กรควรคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของพนักงาน และผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่เริ่มดำเนินงาน เพื่อเพิ่มโอกาสความสำเร็จในกิจกรรม
การบริหาร CSR เชิงกลยุทธ์ทั้ง 6 ประการข้างต้น เป็นขั้นตอนหรือกระบวนการที่มีพลวัต ที่ควรมีการทวนสอบเพื่อให้แน่ใจว่า การขับเคลื่อนเรื่อง CSR ให้ผลที่ตรงกับเป้าประสงค์และสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ขององค์กรอยู่ตลอดเวลา...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
การบริหาร CSR เชิงกลยุทธ์ ที่ประมวลจากแนวคิดดังกล่าว สามารถจำแนกได้เป็น 6 ประการ คือ 1)วิสัยทัศน์ 2)วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ 3)ตัวชี้วัดผลการดำเนินงานหลัก 4)กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้เสีย 5)ความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมและวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ 6)การลงมือปฏิบัติ โดยอธิบายได้ดังนี้
ประการที่ 1 วิสัยทัศน์ คือ ข้อความที่สะท้อนให้เห็นถึงเจตนารมณ์ในการดำเนินงานของกิจการ แม้องค์กรจะได้ดำเนินงานโดยคำนึงถึงผลกระทบด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมอยู่แล้ว แต่พึงระลึกว่า สำหรับบุคคลหรือหน่วยงานภายนอก อาจมิได้ล่วงรู้เจตนารมณ์ขององค์กรดีเท่ากับผู้ที่อยู่ในองค์กร การที่บุคคลหรือหน่วยงานภายนอก จะพิจารณาว่า องค์กรได้ให้ความสำคัญในเรื่อง CSR มากน้อยเพียงใด จำต้องอาศัยจากข้อมูลเอกสารที่ปรากฏเผยแพร่ ฉะนั้นการแสดงให้เห็นถึงเจตนารมณ์อย่างเป็นรูปธรรมทางหนึ่ง ก็คือ การระบุในข้อความที่เป็นวิสัยทัศน์และพันธกิจขององค์กร
ประการที่ 2 วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ คือ สิ่งซึ่งเกี่ยวเนื่องกับสถานภาพของกิจการที่องค์กรจำเป็นจะต้องบรรลุ และมีนัยสำคัญเหนือวัตถุประสงค์ในการปฏิบัติงานที่เป็นปกติประจำวัน องค์กรจำต้องมีการกำหนดวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมที่สามารถบูรณาการเข้ากับการดำเนินงานทางธุรกิจ โดยให้ความสำคัญกับความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่างๆ ไม่เฉพาะแต่ผู้ถือหุ้น หรือลูกค้า เพื่อสร้างให้เกิดการยอมรับของสังคมในวงกว้าง ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความยั่งยืนของกิจการ
ประการที่ 3 ตัวชี้วัดผลการดำเนินงานหลัก คือ เกณฑ์ที่บ่งบอกถึงสิ่งซึ่งส่งผลกระทบสูงต่อผลการดำเนินงานที่ต้องดำเนินการ ตัวชี้วัดผลการดำเนินงานที่ดี ควรจะต้องเป็นตัวชี้วัดที่สมเหตุสมผล (Valid) มีผลใช้ได้ แม้เวลาผ่านไป สามารถให้ข้อมูลที่ชัดเจน (Informative) ไม่ซับซ้อน และไม่ยากต่อการทำความเข้าใจ สามารถวัดได้จริง (Practical) มีความเหมาะสมกับองค์กร ไม่ใช้ต้นทุนการวัดที่สูงเกินไป เป็นที่น่าเชื่อถือ (Credible) พร้อมต่อการตรวจสอบและพิสูจน์ และไว้วางใจได้ (Reliable) บิดเบือนยาก มีความคงเส้นคงวาสูง
ประการที่ 4 การพิจารณากิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้เสีย คือ การทบทวนกิจกรรมที่ดำเนินอยู่ในปัจจุบันว่ามีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และตัวชี้วัดผลการดำเนินงานมากน้อยเพียงใด องค์กรไม่มีความจำเป็นต้องดำเนินกิจกรรม CSR กับผู้มีส่วนได้เสียในทุกกลุ่มพร้อมกัน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับลักษณะของธุรกิจ ขนาดของกิจการ และความพร้อมขององค์กร การทดสอบสารัตถภาพด้วยการใช้เกณฑ์ “ความเกี่ยวเนื่อง-ความมีนัยสำคัญ” จะช่วยองค์กรในการระบุกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้ทรัพยากรที่สิ้นเปลืองสูญเปล่าไปกับกิจกรรมที่สังคมเองก็มิได้รับประโยชน์หรือคุณค่าอย่างเต็มที่
ประการที่ 5 การตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมและวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ คือ การเฟ้นหาหรือยกระดับกิจกรรมที่องค์กรดำเนินอยู่ในปัจจุบันให้สามารถสนองตอบต่อวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ เพื่อให้ได้มาซึ่งประสิทธิภาพในการดำเนินกิจกรรม CSR ซึ่งหมายรวมถึง การพิจารณายุบหรือควบรวมกิจกรรม CSR ที่มีความซ้ำซ้อน และมุ่งตอบสนองต่อวัตถุประสงค์ในข้อใดข้อหนึ่งจนมีปริมาณมากเกิน กลายเป็นภาระหรือเป็นอุปสรรคต่อการบริหารดูแล ทั้งนี้ การคัดกรอง ยุบ ควบรวม หรือยกระดับกิจกรรม ควรพิจารณาถึงความสำคัญของวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ซึ่งมีค่าน้ำหนักที่มากน้อยต่างกันด้วย
ประการที่ 6 การลงมือปฏิบัติ สำหรับกิจกรรมที่เป็นงานในกระบวนการธุรกิจ หรือที่เข้าข่าย CSR-in-process องค์กรสามารถขับเคลื่อนกิจกรรมดังกล่าวผ่านทางสายงานที่รับผิดชอบ ภายใต้โครงสร้างหรือผังองค์กรที่เป็นปัจจุบันโดยปราศจากการจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติม หรือไม่ต้องใช้เงินเพิ่ม ส่วนการลงมือปฏิบัติสำหรับกิจกรรมซึ่งอยู่นอกกระบวนการธุรกิจ หรือที่เข้าข่าย CSR-after-process องค์กรอาจต้องตั้งเป็นโครงการเฉพาะกิจ อาจต้องดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานอื่น หรืออาจต้องมอบหมายให้หน่วยงานภายนอกดำเนินการให้ ซึ่งแน่นอนว่าต้องมีการจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมในการดำเนินงาน การขับเคลื่อนกิจกรรมดังกล่าว องค์กรควรคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของพนักงาน และผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่เริ่มดำเนินงาน เพื่อเพิ่มโอกาสความสำเร็จในกิจกรรม
การบริหาร CSR เชิงกลยุทธ์ทั้ง 6 ประการข้างต้น เป็นขั้นตอนหรือกระบวนการที่มีพลวัต ที่ควรมีการทวนสอบเพื่อให้แน่ใจว่า การขับเคลื่อนเรื่อง CSR ให้ผลที่ตรงกับเป้าประสงค์และสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ขององค์กรอยู่ตลอดเวลา...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
Subscribe to:
Posts (Atom)