ปี 2558 ผ่านพันไป พร้อมกับสุดเส้นทางการพัฒนาที่ยั่งยืนในโค้งแรกที่ใช้เวลาเดินทาง 15 ปี ด้วยเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals - MDGs) ซึ่งเริ่มต้นในปี พ.ศ.2543
บทสรุปของการเดินทางในโค้งแรกของการพัฒนาที่ยั่งยืนสำหรับประเทศไทย สามารถหาอ่านได้จากบทความที่แล้ว ในชื่อตอนว่า ‘สุดโค้งแรกการพัฒนาที่ยั่งยืน’
โลกกำลังเริ่มต้นศักราชใหม่ ในเส้นทางการพัฒนาที่ยั่งยืน ด้วยโค้งตัดใหม่ที่ใช้เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals - SDGs) 17 ข้อ เป็นแผนที่นำทาง ซึ่งจะใช้เวลาเดินทางนับจากนี้ไปอีก 15 ปี จวบจนปี พ.ศ.2573
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ SDGs ชุดนี้ ได้ผ่านการรับรองโดย 193 ประเทศสมาชิกองค์กรสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ.2558 ภายใต้เอกสารวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ.2030 ที่ชื่อว่า ‘Transforming our world: the 2030 Agenda for Sustainable Development’
ทางโค้งตัดใหม่ SDGs ประกอบไปด้วยถนน 5 สาย (Areas) 17 แยก (Goals) โดยมีรายละเอียด ดังนี้
ในถนนสายที่ 1 - สายพหุชน (People) มี 5 แยก คือ แยก 1: การขจัดความยากจนในทุกรูปแบบ ทุกที่ แยก 2: การขจัดความหิวโหย บรรลุเป้าความมั่นคงทางอาหารและโภชนาการที่ดีขึ้น และส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืน แยก 3: การทำให้แน่ใจถึงการมีสุขภาวะในการดำรงชีวิต และส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของทุกคนในทุกช่วงอายุ แยก 4: การทำให้แน่ใจถึงการได้รับการศึกษาที่ได้คุณภาพอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง และส่งเสริมโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิตแก่ทุกคน และแยก 5: การบรรลุถึงความเท่าเทียมทางเพศ และเสริมสร้างพลังให้แก่สตรีและเด็กหญิงทุกคน
ในถนนสายที่ 2 - สายพิภพ (Planet) มี 6 แยก คือ แยก 1: การทำให้แน่ใจว่าเรื่องน้ำและการสุขาภิบาลได้รับการจัดการอย่างยั่งยืน และมีสภาพพร้อมใช้สำหรับทุกคน แยก 2: การทำให้แน่ใจว่าทุกคนสามารถเข้าถึงพลังงานที่ทันสมัย ยั่งยืน เชื่อถือได้ ตามกำลังซื้อของตน แยก 3: การทำให้แน่ใจถึงการมีแบบแผนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน แยก 4: การดำเนินการอย่างเร่งด่วนเพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบที่เกิดขึ้น แยก 5: การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทร ทะเล และทรัพยากรทางทะเลสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน ให้เป็นไปอย่างยั่งยืน และแยก 6: การพิทักษ์ บูรณะ และส่งเสริมการใช้ประโยชน์ที่ยั่งยืนของระบบนิเวศบนบก จัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน ต่อสู้กับการแปรสภาพเป็นทะเลทราย หยุดยั้งและฟื้นฟูความเสื่อมโทรมของที่ดิน และหยุดยั้งการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ
ในถนนสายที่ 3 - สายพิพรรธน์ (Prosperity) มี 4 แยก คือ แยก 1: การส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนและทั่วถึงให้เป็นไปอย่างยั่งยืน ส่งเสริมศักยภาพการมีงานทำและการจ้างงานเต็มที่ และงานที่มีคุณค่าสำหรับทุกคน แยก 2: การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง ส่งเสริมการปรับตัวให้เป็นอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืนและทั่วถึง และสนับสนุนนวัตกรรม แยก 3: การลดความเหลื่อมล้ำทั้งภายในและระหว่างประเทศ และแยก 4: การทำให้เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มีความปลอดภัย ทั่วถึง พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและยั่งยืน
ในถนนสายที่ 4 - สายปัสสัทธิ (Peace) มี 1 แยก คือ การส่งเสริมให้สังคมมีความเป็นปกติสุข ไม่แบ่งแยก เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน มีการเข้าถึงความยุติธรรมโดยถ้วนหน้า และสร้างให้เกิดสถาบันอันเป็นที่พึ่งของส่วนรวม มีประสิทธิผล และเป็นที่ยอมรับในทุกระดับ
ในถนนสายที่ 5 - สายภาคี (Partnership) มี 1 แยก คือ การเสริมสร้างความเข้มแข็งในวิธีการปฏิบัติให้เกิดผล และสร้างพลังแห่งการเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือระดับสากลต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
สำหรับถนนสายที่ 5 นี้ ประเทศไทย สามารถริเริ่มบทบาทความเป็นผู้นำในการเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือในรูปของแนวพื้นที่การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Corridor) กับประเทศเพื่อนบ้านในหมู่ประเทศสมาชิกอาเซียน โดยเฉพาะความร่วมมือในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 5 ประเทศ (กัมพูชา สปป. ลาว เมียนมาร์ ไทย และเวียดนาม) โดยใช้ประโยชน์จากความแข็งแกร่งและความหลากหลายของทั้งห้าประเทศในอนุภูมิภาค ซึ่งมีพื้นที่รวมกันราว 2 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรรวมกันราว 240 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 40 ของอาเซียนโดยประมาณ (ทั้งขนาดพื้นที่และประชากร) และมีจีดีพีรวมกันประมาณ 5.6 แสนล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นหนึ่งในสี่ ของอาเซียน
ถัดจากนั้น ไทยสามารถใช้การเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือระดับภูมิภาคต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Regional Partnership for Sustainable Development) เป็นคานงัด (Leverage) ไปสู่การสร้างยุทธศาสตร์ความร่วมมือกับประเทศสำคัญๆ นอกภูมิภาค ที่มีข้อตกลงอยู่แล้ว อาทิ GMS (กับจีน) Mekong-Ganga (กับอินเดีย) Mekong-Japan (กับญี่ปุ่น) Mekong-ROK (กับสาธารณรัฐเกาหลี)
หวังเอาไว้ว่า การเข้าโค้งตัดใหม่การพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย นับจากปี พ.ศ.2559 เป็นต้นไป จะบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดในกรอบ SDGs ในอีก 15 ปีข้างหน้า!
จากบทความ 'หน้าต่าง CSR' ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ [Archived]
Thursday, December 31, 2015
Thursday, December 24, 2015
สุดโค้งแรกการพัฒนาที่ยั่งยืน
เมื่อ 15 ปีที่แล้ว ในเดือนกันยายน พ.ศ.2543 องค์กรสหประชาชาติ ได้จัดการประชุมสุดยอดแห่งสหัสวรรษ ณ สำนักงานใหญ่ กรุงนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา ที่ซึ่งผู้นำจาก 189 ประเทศสมาชิก ได้รับรองปฏิญญาแห่งสหัสวรรษ และประกาศร่วมกันที่จะดำเนินตามเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals - MDGs)
อาจกล่าวได้ว่า MDGs เป็นเส้นทางการพัฒนาที่ยั่งยืนในโค้งแรก หรือ First S (Sustainability) Curve ที่ใช้เวลาเดินทาง 15 ปี และกำลังสิ้นสุดลงในปี พ.ศ.2558 นี้
ทางโค้ง MDGs ประกอบไปด้วย 8 แยก (เป้าประสงค์) 18 ตรอก (เป้าหมาย) และ 48 ซอย (ตัวชี้วัด)
ในส่วนของประเทศไทย ได้พัฒนาต่อยอด MDGs ให้มีความท้าทายยิ่งขึ้น ด้วยแนวคิด MDG ‘Plus’ ภายใต้การสนับสนุนของสหประชาชาติ เพื่อเน้นความสำคัญของการเคลื่อนต่อไปข้างหน้าหลังจากผ่านตรอก (บรรลุเป้าหมาย) ที่กำหนดแล้ว
ทั้งนี้ ทางแยก (เป้าประสงค์) จะเป็นตัวกำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ที่ประเทศต่างๆ ทั่วโลก ยึดถือเป็นเรื่องสำคัญอันดับแรก ขณะที่ เป้าหมาย MDG ‘Plus’ จะเปิดโอกาสให้แต่ละประเทศสามารถแปลความหมายตามสภาพการณ์และบริบทเฉพาะ และเป็นการแสดงการรับรู้ว่าเป้าหมายแรกเป็นเป้าหมายพื้นฐานมากกว่าเป็นเพดาน และไทยเป็นหนึ่งในประเทศแรกๆ ที่พิเคราะห์ยุทธศาสตร์ MDG ‘Plus’ โดยเพิ่มตรอก (เป้าหมาย) พิเศษขึ้น เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ.2546
ในโค้งแรกของการพัฒนาที่ยั่งยืน ที่ประเทศไทยใช้เวลาเดินทางมา 15 ปี มาดูกันว่า ในแต่ละแยก (เป้าประสงค์) เราได้ผ่านตรอก (บรรลุเป้าหมาย) มากน้อยเพียงใด
ในแยกที่ 1 การขจัดความยากจนและความหิวโหย มี 2 ตรอก คือ (1) การลดสัดส่วนประชากรยากจนลงครึ่งหนึ่งในช่วงปี พ.ศ.2553-2558 และ (2) การลดสัดส่วนประชากรที่หิวโหยลงครึ่งหนึ่งในช่วงปี พ.ศ.2553-2558 ปรากฏว่า ไทยผ่านทั้ง 2 ตรอก
ในแยกที่ 2 การให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาระดับประถมศึกษา มี 1 ตรอก คือ การให้เด็กทุกคนทั้งชายและหญิงสำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษา ภายในปี พ.ศ.2558 ปรากฏว่า ไทยไม่ผ่านตรอกนี้
ในแยกที่ 3 การส่งเสริมความเท่าเทียมกันทางเพศและบทบาทสตรี มี 1 ตรอก คือ การขจัดความไม่เท่าเทียมทางเพศในการศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ภายในปี พ.ศ.2548 และในทุกระดับการศึกษา ภายในปี พ.ศ.2558 ปรากฏว่า ไทยผ่านตรอกนี้
ในแยกที่ 4 การลดอัตราการตายของเด็ก มี 1 ตรอก คือ การลดอัตราการตายของเด็กอายุต่ากว่าห้าปีลง สองในสาม ในช่วงปี พ.ศ.2533-2558 ปรากฏว่า ไทยไม่ผ่านตรอกนี้
ในแยกที่ 5 การพัฒนาสุขภาพของสตรีมีครรภ์ มี 1 ตรอก คือ การลดอัตราการตายของมารดาลง สามในสี่ ในช่วงปี พ.ศ.2533-2558 ปรากฏว่า ไทยไม่ผ่านตรอกนี้
ในแยกที่ 6 การต่อสู้กับโรคเอดส์ มาลาเรีย และโรคสำคัญอื่นๆ มี 2 ตรอก คือ (1) การชะลอและลดการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ ภายในปี พ.ศ.2558 และ (2) การป้องกันและลดการเกิดโรคมาลาเรียและโรคสำคัญอื่นๆ ภายในปี พ.ศ.2558 ปรากฏว่า ไทยไม่ผ่านทั้ง 2 ตรอก
ในแยกที่ 7 การรักษาและจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน มี 3 ตรอก คือ (1) การกำหนดนโยบายและแผนพัฒนาประเทศให้สอดคล้องกับแนวทางพัฒนาที่ยั่งยืนและลดการสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (2) การลดสัดส่วนประชากรที่ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งน้ำสะอาดและส้วมที่ถูกสุขลักษณะลงครึ่งหนึ่งภายในปี พ.ศ.2558 และ (3) การยกระดับคุณภาพชีวิตประชากรในชุมชนแออัด 100 ล้านคนทั่วโลก ภายในปี พ.ศ.2563 ปรากฏว่า ไทยผ่าน 1 ตรอก (เรื่องแหล่งน้ำและส้วม) และยังไม่ผ่าน 2 ตรอก
ในแยกที่ 8 การส่งเสริมการเป็นหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาในประชาคมโลก มี 7 ตรอก คือ (1) การพัฒนาระบบการค้าและการเงินให้เป็นระบบเสรี ตั้งอยู่บนกฎระเบียบ คาดการณ์ได้ และไม่แบ่งแยก (2) การให้ความสำคัญกับประเทศที่มีการพัฒนาน้อยที่สุด (3) การให้ความสำคัญกับประเทศที่ไม่มีทางออกทะเล และประเทศกำลังพัฒนาขนาดเล็กที่เป็นเกาะ (4) การแก้ปัญหาหนี้ในประเทศกำลังพัฒนาผ่านนโยบายระดับประเทศและระหว่างประเทศเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนในระยะยาว (5) การร่วมมือกับประเทศกำลังพัฒนาจัดทำและนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติเพื่อให้เยาวชนได้รับงานที่มีคุณค่าและมีประสิทธิภาพ (6) การร่วมมือกับบริษัทเวชภัณฑ์ดำเนินการให้ประเทศกำลังพัฒนาสามารถเข้าถึงยาที่จำเป็น (7) การร่วมมือกับภาคเอกชนดำเนินการให้ประชาชนเข้าถึงเทคโนโลยีใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีและการสื่อสาร ปรากฏว่า ไทยผ่านตรอก (1)-(4) ไม่มีข้อมูลในตรอก (5) ไม่ผ่านในตรอก (6) และผ่านบางส่วนในตรอก (7)
หากไม่ได้นำน้ำหนักความสำคัญของแต่และตรอกมาพิจารณา โดยรวมแล้วไทยผ่าน 8 ตรอกเศษ ไม่ผ่าน 8 ตรอกเศษ และไม่มีข้อมูล 1 ตรอก ทำให้ความสำเร็จของการเดินทางในโค้งแรกของการพัฒนาที่ยั่งยืน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 46 ของเป้าหมายทั้งหมด ถือว่า หลุดโค้ง!
(ข้อมูลอ้างอิง: สภาพัฒน์, รายงานผลการพัฒนาตามเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ ปี 2558)
จากบทความ 'หน้าต่าง CSR' ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ [Archived]
อาจกล่าวได้ว่า MDGs เป็นเส้นทางการพัฒนาที่ยั่งยืนในโค้งแรก หรือ First S (Sustainability) Curve ที่ใช้เวลาเดินทาง 15 ปี และกำลังสิ้นสุดลงในปี พ.ศ.2558 นี้
ทางโค้ง MDGs ประกอบไปด้วย 8 แยก (เป้าประสงค์) 18 ตรอก (เป้าหมาย) และ 48 ซอย (ตัวชี้วัด)
ในส่วนของประเทศไทย ได้พัฒนาต่อยอด MDGs ให้มีความท้าทายยิ่งขึ้น ด้วยแนวคิด MDG ‘Plus’ ภายใต้การสนับสนุนของสหประชาชาติ เพื่อเน้นความสำคัญของการเคลื่อนต่อไปข้างหน้าหลังจากผ่านตรอก (บรรลุเป้าหมาย) ที่กำหนดแล้ว
ทั้งนี้ ทางแยก (เป้าประสงค์) จะเป็นตัวกำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ที่ประเทศต่างๆ ทั่วโลก ยึดถือเป็นเรื่องสำคัญอันดับแรก ขณะที่ เป้าหมาย MDG ‘Plus’ จะเปิดโอกาสให้แต่ละประเทศสามารถแปลความหมายตามสภาพการณ์และบริบทเฉพาะ และเป็นการแสดงการรับรู้ว่าเป้าหมายแรกเป็นเป้าหมายพื้นฐานมากกว่าเป็นเพดาน และไทยเป็นหนึ่งในประเทศแรกๆ ที่พิเคราะห์ยุทธศาสตร์ MDG ‘Plus’ โดยเพิ่มตรอก (เป้าหมาย) พิเศษขึ้น เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ.2546
ในโค้งแรกของการพัฒนาที่ยั่งยืน ที่ประเทศไทยใช้เวลาเดินทางมา 15 ปี มาดูกันว่า ในแต่ละแยก (เป้าประสงค์) เราได้ผ่านตรอก (บรรลุเป้าหมาย) มากน้อยเพียงใด
ในแยกที่ 1 การขจัดความยากจนและความหิวโหย มี 2 ตรอก คือ (1) การลดสัดส่วนประชากรยากจนลงครึ่งหนึ่งในช่วงปี พ.ศ.2553-2558 และ (2) การลดสัดส่วนประชากรที่หิวโหยลงครึ่งหนึ่งในช่วงปี พ.ศ.2553-2558 ปรากฏว่า ไทยผ่านทั้ง 2 ตรอก
ในแยกที่ 2 การให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาระดับประถมศึกษา มี 1 ตรอก คือ การให้เด็กทุกคนทั้งชายและหญิงสำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษา ภายในปี พ.ศ.2558 ปรากฏว่า ไทยไม่ผ่านตรอกนี้
ในแยกที่ 3 การส่งเสริมความเท่าเทียมกันทางเพศและบทบาทสตรี มี 1 ตรอก คือ การขจัดความไม่เท่าเทียมทางเพศในการศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ภายในปี พ.ศ.2548 และในทุกระดับการศึกษา ภายในปี พ.ศ.2558 ปรากฏว่า ไทยผ่านตรอกนี้
ในแยกที่ 4 การลดอัตราการตายของเด็ก มี 1 ตรอก คือ การลดอัตราการตายของเด็กอายุต่ากว่าห้าปีลง สองในสาม ในช่วงปี พ.ศ.2533-2558 ปรากฏว่า ไทยไม่ผ่านตรอกนี้
ในแยกที่ 5 การพัฒนาสุขภาพของสตรีมีครรภ์ มี 1 ตรอก คือ การลดอัตราการตายของมารดาลง สามในสี่ ในช่วงปี พ.ศ.2533-2558 ปรากฏว่า ไทยไม่ผ่านตรอกนี้
ในแยกที่ 6 การต่อสู้กับโรคเอดส์ มาลาเรีย และโรคสำคัญอื่นๆ มี 2 ตรอก คือ (1) การชะลอและลดการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ ภายในปี พ.ศ.2558 และ (2) การป้องกันและลดการเกิดโรคมาลาเรียและโรคสำคัญอื่นๆ ภายในปี พ.ศ.2558 ปรากฏว่า ไทยไม่ผ่านทั้ง 2 ตรอก
ในแยกที่ 7 การรักษาและจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน มี 3 ตรอก คือ (1) การกำหนดนโยบายและแผนพัฒนาประเทศให้สอดคล้องกับแนวทางพัฒนาที่ยั่งยืนและลดการสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (2) การลดสัดส่วนประชากรที่ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งน้ำสะอาดและส้วมที่ถูกสุขลักษณะลงครึ่งหนึ่งภายในปี พ.ศ.2558 และ (3) การยกระดับคุณภาพชีวิตประชากรในชุมชนแออัด 100 ล้านคนทั่วโลก ภายในปี พ.ศ.2563 ปรากฏว่า ไทยผ่าน 1 ตรอก (เรื่องแหล่งน้ำและส้วม) และยังไม่ผ่าน 2 ตรอก
ในแยกที่ 8 การส่งเสริมการเป็นหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาในประชาคมโลก มี 7 ตรอก คือ (1) การพัฒนาระบบการค้าและการเงินให้เป็นระบบเสรี ตั้งอยู่บนกฎระเบียบ คาดการณ์ได้ และไม่แบ่งแยก (2) การให้ความสำคัญกับประเทศที่มีการพัฒนาน้อยที่สุด (3) การให้ความสำคัญกับประเทศที่ไม่มีทางออกทะเล และประเทศกำลังพัฒนาขนาดเล็กที่เป็นเกาะ (4) การแก้ปัญหาหนี้ในประเทศกำลังพัฒนาผ่านนโยบายระดับประเทศและระหว่างประเทศเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนในระยะยาว (5) การร่วมมือกับประเทศกำลังพัฒนาจัดทำและนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติเพื่อให้เยาวชนได้รับงานที่มีคุณค่าและมีประสิทธิภาพ (6) การร่วมมือกับบริษัทเวชภัณฑ์ดำเนินการให้ประเทศกำลังพัฒนาสามารถเข้าถึงยาที่จำเป็น (7) การร่วมมือกับภาคเอกชนดำเนินการให้ประชาชนเข้าถึงเทคโนโลยีใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีและการสื่อสาร ปรากฏว่า ไทยผ่านตรอก (1)-(4) ไม่มีข้อมูลในตรอก (5) ไม่ผ่านในตรอก (6) และผ่านบางส่วนในตรอก (7)
หากไม่ได้นำน้ำหนักความสำคัญของแต่และตรอกมาพิจารณา โดยรวมแล้วไทยผ่าน 8 ตรอกเศษ ไม่ผ่าน 8 ตรอกเศษ และไม่มีข้อมูล 1 ตรอก ทำให้ความสำเร็จของการเดินทางในโค้งแรกของการพัฒนาที่ยั่งยืน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 46 ของเป้าหมายทั้งหมด ถือว่า หลุดโค้ง!
(ข้อมูลอ้างอิง: สภาพัฒน์, รายงานผลการพัฒนาตามเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ ปี 2558)
จากบทความ 'หน้าต่าง CSR' ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ [Archived]
Wednesday, December 23, 2015
ปรับโจทย์ CSR ปี 59: ศักราช 'ความยั่งยืน'
องค์การสหประชาชาติได้ประกาศเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals) โดยการรับรองของชาติสมาชิก 193 ประเทศ เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2558 เพื่อใช้เป็นทิศทางการพัฒนาที่นานาประเทศ รวมทั้งไทย จะใช้อ้างอิงนับจากนี้ไป จวบจนปี ค.ศ.2030 ครอบคลุมระยะเวลา 15 ปีข้างหน้า
ทำให้ ปี ค.ศ.2016 จะเป็นการเริ่มต้นศักราชแห่งการพัฒนาที่ยั่งยืน ปีที่ 1 (A.D. 2016 = S.D. 1) ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 17 ข้อ ที่ได้ประกาศใช้ ซึ่งประกอบด้วย การพัฒนาหรือการแก้ไขปัญหาในเรื่อง (1) ความยากจน (2) ความหิวโหย (3) สุขภาวะ (4) การศึกษา (5) ความเท่าเทียมทางเพศ (6) น้ำและการสุขาภิบาล (7) พลังงาน (8) เศรษฐกิจและการจ้างงาน (9) โครงสร้างพื้นฐานและการปรับให้เป็นอุตสาหกรรม (10) ความเหลื่อมล้ำ (11) เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ (12) แบบแผนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน (13) การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบ (14) ทรัพยากรทางทะเล (15) ระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ (16) สังคมและความยุติธรรม (17) หุ้นส่วนความร่วมมือและการปฏิบัติให้เกิดผล
ภาคธุรกิจ จะมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ภายใต้การดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ที่จำต้องมีการปรับโจทย์ใหม่ (Re-proposition) ให้สอดคล้องกับเงื่อนไขและสภาพการณ์ทางสังคมที่แปรเปลี่ยนไปจากเดิม
ในประเทศไทย เงื่อนไขแรก ที่เป็นเหตุให้ภาคธุรกิจต้องปรับโจทย์ใหม่ เพื่อนำวิธีการที่ต่างจากเดิมมาใช้พัฒนาหรือแก้ไขปัญหาสังคม คือ การให้ (Philanthropy) ที่ทำให้ผู้รับอ่อนแอลง เป็นความช่วยเหลือที่ให้ผลตรงกันข้ามกับการสร้างความเข้มแข็ง และไม่ได้นำไปสู่ความยั่งยืนที่แท้จริง (เทียบเคียงได้กับโครงการประชานิยมของภาครัฐ)
เนื่องจากงบประมาณและทรัพยากรในฝั่งผู้ให้ ที่ไม่ได้มีอย่างไม่จำกัด หรือสามารถจัดสรรให้ได้ตลอดกาล พร้อมกับเงื่อนไขที่ต้องการเปลี่ยนจาก ‘การให้แบบพึ่งพา’ มาเป็น ‘การให้แบบยั่งยืน’ เพื่อให้ฝั่งผู้รับเกิดความเข้มแข็ง และยืนอยู่บนขาตนเองได้ในที่สุด
ธุรกิจที่ดำเนินตามวิถีการพัฒนาที่ยั่งยืน ต้องมุ่งแก้โจทย์ว่า ทำอย่างไร ผู้รับจึงจะสามารถพึ่งพาตนเองได้ในปลายทางของความช่วยเหลือที่งบประมาณ ทรัพยากร และระยะเวลา มีอยู่อย่างจำกัด
ที่ดีไปกว่านั้น คือ ธุรกิจสามารถนำงบประมาณและทรัพยากรที่ใช้ช่วยเหลือ คืนกลับมาใช้ใหม่ เพื่อมอบให้แก่ผู้รอรับความช่วยเหลือรายอื่นๆ ต่อไป (ตรงกับแนวคิด Social Business ของมูฮัมหมัด ยูนุส)
ความช่วยเหลือในแบบ Philanthropy (การทำบุญสุนทาน) ที่เป็นการให้เปล่า โดยใช้เงินต้นทั้งก้อนไปในโครงการเดียว จึงควรได้รับการปรับโจทย์ใหม่ เป็นความช่วยเหลือในแบบ Philanthropic Investments (การลงทุนสุนทาน) ที่เป็นการใช้เงินต้นก้อนเดียวกันในโครงการ พัฒนาจนสัมฤทธิ์ผล และสามารถนำเงินต้นก้อนดังกล่าว กลับคืนเพื่อไปใช้ในโครงการอื่นต่อไป
ธุรกิจที่ให้ความช่วยเหลือในแบบ Philanthropic Investments สามารถจะเติมงบประมาณที่ใช้ช่วยเหลือให้มีขนาดใหญ่ขึ้นในแต่ละปี เพื่อพัฒนาโครงการที่ตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในข้อใดข้อหนึ่ง หรือหลายข้อพร้อมกัน ให้แก่ผู้รอรับความช่วยเหลือได้หลายกลุ่มหลายโครงการ ด้วยเงินงบประมาณก้อนเดิมที่ใช้หมุนได้หลายรอบ โดยไม่สูญเปล่า ไม่สะเปะสะปะ
เงื่อนไขประการต่อมา ที่เป็นเหตุให้ภาคธุรกิจต้องปรับโจทย์ใหม่ คือ การบริหารความคาดหวังที่มิได้มีเพียงเรื่องผลประกอบการหรือผลตอบแทนที่ตอบโจทย์ผู้ถือหุ้น (Shareholders) หรือการปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง แต่ต้องครอบคลุมไปถึงความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholders) ของกิจการโดยรวม ที่เกี่ยวข้องกับมิติทางสังคมและสิ่งแวดล้อม หรือการดูแลผู้มีส่วนได้เสียอย่างเป็นธรรม นอกเหนือจากที่กฎหมายกำหนด (อาทิ การเลียนแบบสินค้าที่ผู้ค้ารายใหญ่มีอิทธิพลเหนือคู่ค้ารายย่อย)
เนื่องจาก CG (Corporate Governance) เป็นการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมขั้นพื้นฐานของกิจการ ที่คำนึงถึงการปฏิบัติตามกฎหมาย และดูแลผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องภายใต้สิทธิที่พึงได้รับตามที่กฎหมายกำหนด กระนั้นก็ตาม องค์กรที่มี CG ดี อาจไม่ได้รับการยอมรับจากสังคม หรือได้รับการอนุญาตให้ประกอบกิจการจากสังคม (License to operate) เพียงเพราะได้ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด
ประกอบกับในแวดวงผู้ลงทุนที่ตระหนักถึงการลงทุนอย่างมีความรับผิดชอบ ได้ให้น้ำหนักความสำคัญกับผลกระทบจากการประกอบการที่มีต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และผู้มีส่วนได้เสียอย่างรอบด้าน นอกเหนือจากผลตอบแทนที่ได้รับภายใต้การกำกับดูแลกิจการที่ดีหรือที่เป็นไปตามกฎหมาย ผนวกรวมเข้าด้วยกันเป็นหลักการลงทุนที่คำนึงถึงประเด็น ESG (Environmental, Social and Governance) ซึ่งส่งผลต่อกิจการในแง่ของผลประกอบการที่มิใช่ตัวเลขทางการเงิน ควบคู่ไปกับการพิจารณาผลประกอบการทางการเงิน
คำเรียก ESG ถูกบัญญัตขึ้นครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ.2547 ในเอกสารรายงานชื่อ “Who Cares Wins” ที่องค์การสหประชาชาติผลักดันให้มีการศึกษา และในปีถัดมา ได้ถูกพัฒนาเป็น “หลักการลงทุนที่รับผิดชอบ” (Principles for Responsible Investment - PRI) ที่ในปัจจุบันมีสมาชิกที่เป็นสถาบันการเงินและผู้ถือสินทรัพย์ ให้การรับรองหลักการดังกล่าวกว่า 1,400 แห่ง มีขนาดสินทรัพย์ภายใต้การบริหาร (AUM) รวมกันกว่า 50 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ
ธุรกิจที่ดำเนินตามวิถีการพัฒนาที่ยั่งยืน ต้องมุ่งแก้โจทย์ว่า ทำอย่างไร องค์กรจึงจะสามารถสร้างการยอมรับทั้งจากกลุ่มผู้ลงทุนและกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียในวงกว้าง ด้วยการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมที่มากกว่าการคำนึงถึงเพียงการปฏิบัติตามกฎหมาย ในทางที่ขจัดหรือลดข้อขัดแย้งกับผู้มีส่วนได้เสียที่ได้รับผลกระทบ และเป็นที่น่าเชื่อถือต่อผู้ลงทุน มีทั้งผลประกอบการทางการเงินอันเป็นที่น่าพอใจต่อผู้ลงทุน และผลประกอบการที่มิใช่ตัวเลขทางการเงินอันเป็นที่ยอมรับต่อผู้มีส่วนได้เสีย
การนำประเด็น ESG มาพิจารณาเป็นส่วนหนึ่งของการวางกลยุทธ์องค์กร สามารถใช้เป็นข้อมูลนำเข้าสำหรับการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม (SWOT) ที่มีความเชื่อมโยงกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในข้อที่เกี่ยวเนื่องกับองค์กร ซึ่งจะช่วยให้องค์กรมีมุมมองที่กว้างขึ้นสำหรับการจัดทำประเด็นยุทธศาสตร์ (Strategic Theme) ที่เอื้อต่อการพัฒนาความยั่งยืนของกิจการในระยะยาว
เงื่อนไขประการล่าสุด ที่เป็นเหตุให้ภาคธุรกิจต้องปรับโจทย์ใหม่ คือ ความคาดหวังของสังคมที่เพ่งเล็งไปยังจุดซึ่งแกนของธุรกิจ (Core Business) ต้องสร้างให้เกิดคุณค่าทางสังคมร่วมด้วย นอกเหนือจากการสร้างมูลค่าให้แก่องค์กรเพียงลำพัง (อาทิ ธุรกิจผลิตไฟฟ้าที่ต้องคำนึงถึงการใช้พลังงานทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิล)
เนื่องจากความรับผิดชอบต่อสังคมในกระบวนการ (CSR-in-process) มิได้มุ่งแต่ตอบสนอง แก้ไข หรือเยียวยาเฉพาะผลกระทบ “เชิงลบ” ที่เกิดจากการประกอบการเท่านั้น แต่กิจการต้องสามารถใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์และความเชี่ยวชาญที่มีในธุรกิจ ส่งมอบคุณค่าหรือผลกระทบ “เชิงบวก” ให้แก่สังคม ควบคู่ไปพร้อมกันกับคุณค่าที่องค์กรได้รับ
พัฒนาการที่เกิดขึ้นเพื่อสนองตอบต่อแนวคิดดังกล่าว คือ ความพยายามในการสร้างกิจการรูปแบบใหม่ ที่มีหลายชื่อเรียก อาทิ Benefit Corporation, Low-profit Limited Liability Company (L3C), Social Purpose Corporation (SPC), Flexible Purpose Corporation (FPC) ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มของกิจการที่ในบ้านเรา เรียกว่า วิสาหกิจเพื่อสังคม หรือ Social Enterprise
แม้กิจการรูปแบบใหม่ดังกล่าว จะเป็นความหวังในการส่งมอบคุณค่าหลักทางสังคม (โดยตัวกิจการเอง สามารถปันผลกำไรแก่ผู้ถือหุ้นได้) แต่ในทางปฏิบัติ ยังไม่สามารถสร้างให้เกิดผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากจำนวนและโมเมนตัมของกิจการประเภทดังกล่าว ยังไม่มากพอถึงขีดที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และยังส่งผลไปถึงความจำกัดของตัวเลือกสำหรับการลงทุนที่รับผิดชอบ ที่ทำให้ปริมาณเม็ดเงินลงทุนสำหรับสนับสนุนกิจการประเภทนี้ ไม่สามารถขยายตัวได้เท่าที่ควร (วิสาหกิจเพื่อสังคม ต้องพิสูจน์ความสำเร็จของโมเดลธุรกิจหรือความอยู่รอดของกิจการ ไม่ต่างจากวิสาหกิจทั่วไป ยังไม่ต้องนับว่า ได้สร้างคุณค่าทางสังคมมากน้อยเพียงใด เพราะหากวิสาหกิจนั้น ไม่สามารถอยู่รอด คุณค่าทางสังคมที่เป็นวัตถุประสงค์หลักของการส่งมอบ ก็ไม่เกิดขึ้นเช่นกัน)
ด้วยเหตุนี้ จุดสนใจในปัจจุบัน จึงอยู่ที่การผลักดันให้วิสาหกิจทั่วไปหรือธุรกิจปกติ สร้างคุณค่าร่วม (Creating Shared Value - CSV) ระหว่างองค์กรและสังคมไปพร้อมกัน โดยคำนึงถึงการใช้ทรัพยากรและความเชี่ยวชาญที่เป็นแกนของธุรกิจนั้นๆ อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสูง ซึ่งต่างจากเรื่อง CSR ที่สังคมหรือผู้มีส่วนได้เสียของกิจการคาดหวังให้องค์กรดำเนินการ โดยไม่คำนึงว่าเรื่องและประเด็นเหล่านั้น องค์กรจะมีสินทรัพย์หรือมีความเชี่ยวชาญเป็นทุนเดิมอยู่หรือไม่ก็ตาม
ธุรกิจที่ดำเนินตามวิถีการพัฒนาที่ยั่งยืน ต้องมุ่งแก้โจทย์ว่า ทำอย่างไร องค์กรจึงจะสามารถนำประเด็นปัญหาทางสังคมที่รอการแก้ไขหรือที่อยู่ในความสนใจขององค์กร ภายใต้บริบทของการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน มาเป็นโจทย์ทางธุรกิจที่องค์กรสามารถใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์และความเชี่ยวชาญที่เป็นแกนธุรกิจของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะเมื่อองค์กรสามารถตอบโจทย์ทางธุรกิจนั้นได้ ก็เท่ากับว่า สามารถแก้ไขปัญหาทางสังคมนั้นได้ไปในตัว เกิดเป็นคุณค่าร่วมระหว่างองค์กรและสังคมไปพร้อมกัน
ในปี 2559 ที่กำลังจะมาถึงนี้ ภาคธุรกิจ สามารถมีส่วนร่วมในการเริ่มต้นศักราชแห่งการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเลือกตอบสนองเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนใน 17 ข้อ ได้ตามที่องค์กรเห็นว่ามีส่วนเกี่ยวเนื่องต่อการสร้างคุณค่า เป็นเรื่องซึ่งมีนัยสำคัญที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และเป็นเรื่องที่ถูกให้ลำดับความสำคัญโดยองค์กรและผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง
สวัสดีปีใหม่ครับ!
จากบทความในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ [Archived]
ทำให้ ปี ค.ศ.2016 จะเป็นการเริ่มต้นศักราชแห่งการพัฒนาที่ยั่งยืน ปีที่ 1 (A.D. 2016 = S.D. 1) ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 17 ข้อ ที่ได้ประกาศใช้ ซึ่งประกอบด้วย การพัฒนาหรือการแก้ไขปัญหาในเรื่อง (1) ความยากจน (2) ความหิวโหย (3) สุขภาวะ (4) การศึกษา (5) ความเท่าเทียมทางเพศ (6) น้ำและการสุขาภิบาล (7) พลังงาน (8) เศรษฐกิจและการจ้างงาน (9) โครงสร้างพื้นฐานและการปรับให้เป็นอุตสาหกรรม (10) ความเหลื่อมล้ำ (11) เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ (12) แบบแผนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน (13) การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบ (14) ทรัพยากรทางทะเล (15) ระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ (16) สังคมและความยุติธรรม (17) หุ้นส่วนความร่วมมือและการปฏิบัติให้เกิดผล
ภาคธุรกิจ จะมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ภายใต้การดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ที่จำต้องมีการปรับโจทย์ใหม่ (Re-proposition) ให้สอดคล้องกับเงื่อนไขและสภาพการณ์ทางสังคมที่แปรเปลี่ยนไปจากเดิม
ในประเทศไทย เงื่อนไขแรก ที่เป็นเหตุให้ภาคธุรกิจต้องปรับโจทย์ใหม่ เพื่อนำวิธีการที่ต่างจากเดิมมาใช้พัฒนาหรือแก้ไขปัญหาสังคม คือ การให้ (Philanthropy) ที่ทำให้ผู้รับอ่อนแอลง เป็นความช่วยเหลือที่ให้ผลตรงกันข้ามกับการสร้างความเข้มแข็ง และไม่ได้นำไปสู่ความยั่งยืนที่แท้จริง (เทียบเคียงได้กับโครงการประชานิยมของภาครัฐ)
จาก Philanthropy สู่ Philanthropic Investments
เนื่องจากงบประมาณและทรัพยากรในฝั่งผู้ให้ ที่ไม่ได้มีอย่างไม่จำกัด หรือสามารถจัดสรรให้ได้ตลอดกาล พร้อมกับเงื่อนไขที่ต้องการเปลี่ยนจาก ‘การให้แบบพึ่งพา’ มาเป็น ‘การให้แบบยั่งยืน’ เพื่อให้ฝั่งผู้รับเกิดความเข้มแข็ง และยืนอยู่บนขาตนเองได้ในที่สุด
ธุรกิจที่ดำเนินตามวิถีการพัฒนาที่ยั่งยืน ต้องมุ่งแก้โจทย์ว่า ทำอย่างไร ผู้รับจึงจะสามารถพึ่งพาตนเองได้ในปลายทางของความช่วยเหลือที่งบประมาณ ทรัพยากร และระยะเวลา มีอยู่อย่างจำกัด
ที่ดีไปกว่านั้น คือ ธุรกิจสามารถนำงบประมาณและทรัพยากรที่ใช้ช่วยเหลือ คืนกลับมาใช้ใหม่ เพื่อมอบให้แก่ผู้รอรับความช่วยเหลือรายอื่นๆ ต่อไป (ตรงกับแนวคิด Social Business ของมูฮัมหมัด ยูนุส)
ความช่วยเหลือในแบบ Philanthropy (การทำบุญสุนทาน) ที่เป็นการให้เปล่า โดยใช้เงินต้นทั้งก้อนไปในโครงการเดียว จึงควรได้รับการปรับโจทย์ใหม่ เป็นความช่วยเหลือในแบบ Philanthropic Investments (การลงทุนสุนทาน) ที่เป็นการใช้เงินต้นก้อนเดียวกันในโครงการ พัฒนาจนสัมฤทธิ์ผล และสามารถนำเงินต้นก้อนดังกล่าว กลับคืนเพื่อไปใช้ในโครงการอื่นต่อไป
ธุรกิจที่ให้ความช่วยเหลือในแบบ Philanthropic Investments สามารถจะเติมงบประมาณที่ใช้ช่วยเหลือให้มีขนาดใหญ่ขึ้นในแต่ละปี เพื่อพัฒนาโครงการที่ตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในข้อใดข้อหนึ่ง หรือหลายข้อพร้อมกัน ให้แก่ผู้รอรับความช่วยเหลือได้หลายกลุ่มหลายโครงการ ด้วยเงินงบประมาณก้อนเดิมที่ใช้หมุนได้หลายรอบ โดยไม่สูญเปล่า ไม่สะเปะสะปะ
เงื่อนไขประการต่อมา ที่เป็นเหตุให้ภาคธุรกิจต้องปรับโจทย์ใหม่ คือ การบริหารความคาดหวังที่มิได้มีเพียงเรื่องผลประกอบการหรือผลตอบแทนที่ตอบโจทย์ผู้ถือหุ้น (Shareholders) หรือการปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง แต่ต้องครอบคลุมไปถึงความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholders) ของกิจการโดยรวม ที่เกี่ยวข้องกับมิติทางสังคมและสิ่งแวดล้อม หรือการดูแลผู้มีส่วนได้เสียอย่างเป็นธรรม นอกเหนือจากที่กฎหมายกำหนด (อาทิ การเลียนแบบสินค้าที่ผู้ค้ารายใหญ่มีอิทธิพลเหนือคู่ค้ารายย่อย)
จาก CG สู่ ESG
เนื่องจาก CG (Corporate Governance) เป็นการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมขั้นพื้นฐานของกิจการ ที่คำนึงถึงการปฏิบัติตามกฎหมาย และดูแลผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องภายใต้สิทธิที่พึงได้รับตามที่กฎหมายกำหนด กระนั้นก็ตาม องค์กรที่มี CG ดี อาจไม่ได้รับการยอมรับจากสังคม หรือได้รับการอนุญาตให้ประกอบกิจการจากสังคม (License to operate) เพียงเพราะได้ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด
ประกอบกับในแวดวงผู้ลงทุนที่ตระหนักถึงการลงทุนอย่างมีความรับผิดชอบ ได้ให้น้ำหนักความสำคัญกับผลกระทบจากการประกอบการที่มีต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และผู้มีส่วนได้เสียอย่างรอบด้าน นอกเหนือจากผลตอบแทนที่ได้รับภายใต้การกำกับดูแลกิจการที่ดีหรือที่เป็นไปตามกฎหมาย ผนวกรวมเข้าด้วยกันเป็นหลักการลงทุนที่คำนึงถึงประเด็น ESG (Environmental, Social and Governance) ซึ่งส่งผลต่อกิจการในแง่ของผลประกอบการที่มิใช่ตัวเลขทางการเงิน ควบคู่ไปกับการพิจารณาผลประกอบการทางการเงิน
คำเรียก ESG ถูกบัญญัตขึ้นครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ.2547 ในเอกสารรายงานชื่อ “Who Cares Wins” ที่องค์การสหประชาชาติผลักดันให้มีการศึกษา และในปีถัดมา ได้ถูกพัฒนาเป็น “หลักการลงทุนที่รับผิดชอบ” (Principles for Responsible Investment - PRI) ที่ในปัจจุบันมีสมาชิกที่เป็นสถาบันการเงินและผู้ถือสินทรัพย์ ให้การรับรองหลักการดังกล่าวกว่า 1,400 แห่ง มีขนาดสินทรัพย์ภายใต้การบริหาร (AUM) รวมกันกว่า 50 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ
ธุรกิจที่ดำเนินตามวิถีการพัฒนาที่ยั่งยืน ต้องมุ่งแก้โจทย์ว่า ทำอย่างไร องค์กรจึงจะสามารถสร้างการยอมรับทั้งจากกลุ่มผู้ลงทุนและกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียในวงกว้าง ด้วยการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมที่มากกว่าการคำนึงถึงเพียงการปฏิบัติตามกฎหมาย ในทางที่ขจัดหรือลดข้อขัดแย้งกับผู้มีส่วนได้เสียที่ได้รับผลกระทบ และเป็นที่น่าเชื่อถือต่อผู้ลงทุน มีทั้งผลประกอบการทางการเงินอันเป็นที่น่าพอใจต่อผู้ลงทุน และผลประกอบการที่มิใช่ตัวเลขทางการเงินอันเป็นที่ยอมรับต่อผู้มีส่วนได้เสีย
การนำประเด็น ESG มาพิจารณาเป็นส่วนหนึ่งของการวางกลยุทธ์องค์กร สามารถใช้เป็นข้อมูลนำเข้าสำหรับการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม (SWOT) ที่มีความเชื่อมโยงกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในข้อที่เกี่ยวเนื่องกับองค์กร ซึ่งจะช่วยให้องค์กรมีมุมมองที่กว้างขึ้นสำหรับการจัดทำประเด็นยุทธศาสตร์ (Strategic Theme) ที่เอื้อต่อการพัฒนาความยั่งยืนของกิจการในระยะยาว
เงื่อนไขประการล่าสุด ที่เป็นเหตุให้ภาคธุรกิจต้องปรับโจทย์ใหม่ คือ ความคาดหวังของสังคมที่เพ่งเล็งไปยังจุดซึ่งแกนของธุรกิจ (Core Business) ต้องสร้างให้เกิดคุณค่าทางสังคมร่วมด้วย นอกเหนือจากการสร้างมูลค่าให้แก่องค์กรเพียงลำพัง (อาทิ ธุรกิจผลิตไฟฟ้าที่ต้องคำนึงถึงการใช้พลังงานทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิล)
จาก CSR สู่ CSV
เนื่องจากความรับผิดชอบต่อสังคมในกระบวนการ (CSR-in-process) มิได้มุ่งแต่ตอบสนอง แก้ไข หรือเยียวยาเฉพาะผลกระทบ “เชิงลบ” ที่เกิดจากการประกอบการเท่านั้น แต่กิจการต้องสามารถใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์และความเชี่ยวชาญที่มีในธุรกิจ ส่งมอบคุณค่าหรือผลกระทบ “เชิงบวก” ให้แก่สังคม ควบคู่ไปพร้อมกันกับคุณค่าที่องค์กรได้รับ
พัฒนาการที่เกิดขึ้นเพื่อสนองตอบต่อแนวคิดดังกล่าว คือ ความพยายามในการสร้างกิจการรูปแบบใหม่ ที่มีหลายชื่อเรียก อาทิ Benefit Corporation, Low-profit Limited Liability Company (L3C), Social Purpose Corporation (SPC), Flexible Purpose Corporation (FPC) ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มของกิจการที่ในบ้านเรา เรียกว่า วิสาหกิจเพื่อสังคม หรือ Social Enterprise
แม้กิจการรูปแบบใหม่ดังกล่าว จะเป็นความหวังในการส่งมอบคุณค่าหลักทางสังคม (โดยตัวกิจการเอง สามารถปันผลกำไรแก่ผู้ถือหุ้นได้) แต่ในทางปฏิบัติ ยังไม่สามารถสร้างให้เกิดผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากจำนวนและโมเมนตัมของกิจการประเภทดังกล่าว ยังไม่มากพอถึงขีดที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และยังส่งผลไปถึงความจำกัดของตัวเลือกสำหรับการลงทุนที่รับผิดชอบ ที่ทำให้ปริมาณเม็ดเงินลงทุนสำหรับสนับสนุนกิจการประเภทนี้ ไม่สามารถขยายตัวได้เท่าที่ควร (วิสาหกิจเพื่อสังคม ต้องพิสูจน์ความสำเร็จของโมเดลธุรกิจหรือความอยู่รอดของกิจการ ไม่ต่างจากวิสาหกิจทั่วไป ยังไม่ต้องนับว่า ได้สร้างคุณค่าทางสังคมมากน้อยเพียงใด เพราะหากวิสาหกิจนั้น ไม่สามารถอยู่รอด คุณค่าทางสังคมที่เป็นวัตถุประสงค์หลักของการส่งมอบ ก็ไม่เกิดขึ้นเช่นกัน)
ด้วยเหตุนี้ จุดสนใจในปัจจุบัน จึงอยู่ที่การผลักดันให้วิสาหกิจทั่วไปหรือธุรกิจปกติ สร้างคุณค่าร่วม (Creating Shared Value - CSV) ระหว่างองค์กรและสังคมไปพร้อมกัน โดยคำนึงถึงการใช้ทรัพยากรและความเชี่ยวชาญที่เป็นแกนของธุรกิจนั้นๆ อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสูง ซึ่งต่างจากเรื่อง CSR ที่สังคมหรือผู้มีส่วนได้เสียของกิจการคาดหวังให้องค์กรดำเนินการ โดยไม่คำนึงว่าเรื่องและประเด็นเหล่านั้น องค์กรจะมีสินทรัพย์หรือมีความเชี่ยวชาญเป็นทุนเดิมอยู่หรือไม่ก็ตาม
ธุรกิจที่ดำเนินตามวิถีการพัฒนาที่ยั่งยืน ต้องมุ่งแก้โจทย์ว่า ทำอย่างไร องค์กรจึงจะสามารถนำประเด็นปัญหาทางสังคมที่รอการแก้ไขหรือที่อยู่ในความสนใจขององค์กร ภายใต้บริบทของการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน มาเป็นโจทย์ทางธุรกิจที่องค์กรสามารถใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์และความเชี่ยวชาญที่เป็นแกนธุรกิจของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะเมื่อองค์กรสามารถตอบโจทย์ทางธุรกิจนั้นได้ ก็เท่ากับว่า สามารถแก้ไขปัญหาทางสังคมนั้นได้ไปในตัว เกิดเป็นคุณค่าร่วมระหว่างองค์กรและสังคมไปพร้อมกัน
ในปี 2559 ที่กำลังจะมาถึงนี้ ภาคธุรกิจ สามารถมีส่วนร่วมในการเริ่มต้นศักราชแห่งการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเลือกตอบสนองเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนใน 17 ข้อ ได้ตามที่องค์กรเห็นว่ามีส่วนเกี่ยวเนื่องต่อการสร้างคุณค่า เป็นเรื่องซึ่งมีนัยสำคัญที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และเป็นเรื่องที่ถูกให้ลำดับความสำคัญโดยองค์กรและผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง
สวัสดีปีใหม่ครับ!
จากบทความในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ [Archived]
Thursday, December 03, 2015
รายงานเพิ่มพูนความยั่งยืน
เมื่อพูดถึงกรอบการจัดทำรายงานแห่งความยั่งยืน หรือ (Sustainability Report) ซึ่งเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางนั้น หนีไม่พ้นที่จะต้องกล่าวถึงองค์การแห่งความริเริ่มว่าด้วยการรายงานสากล (Global Reporting Initiative: GRI) องค์กรอิสระ ที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2540 ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มจัดทำและประกาศกรอบการรายงานสากลฉบับ G1 เป็นฉบับแรก ในปี พ.ศ.2543 พัฒนาเรื่อยมาจนเป็นฉบับ G4 ในปี พ.ศ.2556 ซึ่งเป็นฉบับที่ใช้อ้างอิงอยู่ในปัจจุบัน และได้กลายเป็นมาตรฐานตามความนิยม (de facto standard) สำหรับการรายงานแห่งความยั่งยืน ที่ถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลายทั่วโลก
รายงานแห่งความยั่งยืน เป็นรายงานที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับกลยุทธ์การดำเนินงาน การกำกับดูแล แนวการบริหารจัดการ และผลการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ที่สะท้อนทั้งในทางบวกและทางลบ โดยมุ่งเป้าสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
ปัจจุบัน มีองค์กรทั่วโลกที่จัดทำรายงานแห่งความยั่งยืนตามกรอบของ GRI แล้วมากกว่า 5,000 แห่ง ใน 90 กว่าประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะบริษัทขนาดใหญ่ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในภูมิภาคต่างๆ
หัวใจหลักของกรอบการรายงานสากลของ GRI ฉบับ G4 คือ การสร้างให้เกิดกระบวนการรายงาน (Reporting Process) ขึ้นในองค์กร มิใช่มุ่งหวังเพียงเพื่อให้องค์กรได้มาซึ่งเล่มรายงาน (Report) เป็นเรื่องหลัก รวมทั้งการตอกย้ำเรื่องสารัตถภาพ (Materiality) ที่ให้องค์กรดำเนินงานและเปิดเผยข้อมูลเฉพาะในเรื่องที่สำคัญ (What matters) และตรงส่วนงานที่เรื่องนั้นมีความสำคัญ (Where it matters) ตลอดจนสามารถใช้กระบวนการรายงานดังกล่าวในการบูรณาการความยั่งยืนให้เป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์องค์กร
เมื่อเร็วๆ นี้ องค์การสหประชาชาติ โดยชาติสมาชิก 193 ประเทศ ได้ให้การรับรองเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals - SDGs) จำนวน 17 ข้อ ที่ได้จัดทำขึ้น ต่อจากเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals - MDGs) จำนวน 8 ข้อ ที่กำลังจะสิ้นสุดลงในปี พ.ศ.2558 ทั้งนี้ เพื่อใช้สานต่อภารกิจที่ยังไม่บรรลุผลสำเร็จภายใต้เป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ และเพื่อใช้เป็นเป้าหมายสำหรับการพัฒนาที่สมดุลระหว่างเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืนใน 3 มิติที่เอื้อต่อกันและแบ่งแยกมิได้
องค์กรทั้งในภาคธุรกิจและภาคสังคม ที่ได้มีการจัดทำรายงานแห่งความยั่งยืนตามกรอบ GRI อยู่แล้ว สามารถประมวลและเพิ่มเติมการเปิดเผยข้อมูลการดำเนินงานขององค์กร ให้มีความเชื่อมโยงกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ยกระดับสู่รายงานเพิ่มพูนความยั่งยืน (Enhanced Sustainability Report) สำหรับสื่อสารกับผู้มีส่วนได้เสียและสังคมในวงกว้าง เพื่อแสดงให้เห็นถึงคำมั่นและการดำเนินงาน ในอันที่จะตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างเป็นรูปธรรม
ตัวบ่งชี้การดำเนินงานของ GRI ที่ถูกจำแนกในมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม สามารถจัดจำพวกให้อยู่ภายใต้เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นรายเป้าประสงค์ (Goals) ทั้ง 17 ข้อ โดยมีเป้าหมาย (Targets) รองรับตามธีมธุรกิจ (Business Theme) ที่เกี่ยวเนื่อง
ตัวอย่างของ SDG ข้อที่ 1 เรื่องการขจัดความยากจน จะสอดรับกับธีมธุรกิจด้านการพัฒนาทางเศรษฐกิจในพื้นที่ยากไร้ และด้านการเข้าถึงผลิตภัณฑ์และบริการสำหรับผู้มีรายได้น้อย ซึ่งมีตัวชี้วัด G4-EC8 ผลกระทบทางอ้อมเชิงเศรษฐกิจ รวมถึงการขยายผลกระทบ เป็นตัวบ่งชี้การดำเนินงานขององค์กร ที่ให้ผลสนับสนุนต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในข้อดังกล่าว
ตัวอย่างของ SDG ข้อที่ 2 เรื่องการขจัดความหิวโหย บรรลุเป้าความมั่นคงทางอาหารและโภชนาการที่ดีขึ้น และส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืน จะสอดรับกับธีมธุรกิจด้านการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งมีตัวชี้วัด G4-EC7 การพัฒนาและผลกระทบจากการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและบริการสนับสนุน เป็นตัวบ่งชี้การดำเนินงานขององค์กร ที่ให้ผลสนับสนุนต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในข้อดังกล่าว
ตัวอย่างของ SDG ข้อที่ 3 เรื่องการมีสุขภาวะในการดำรงชีวิต และส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของทุกคนในทุกช่วงอายุ จะสอดรับกับธีมธุรกิจด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ซึ่งมีตัวชี้วัด G4-LA6 ชนิดและอัตราของการบาดเจ็บ โรคจากการทำงาน จำนวนวันสูญเสียและการขาดงาน และจำนวนผู้ที่เสียชีวิตเนื่องจากการปฏิบัติงาน จำแนกตามภูมิภาค และเพศ รวมถึงตัวชี้วัด G4-LA7 แรงงานที่มีโอกาสหรือความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงาน เป็นตัวบ่งชี้การดำเนินงานขององค์กร ที่ให้ผลสนับสนุนต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในข้อดังกล่าว
จะเห็นได้ว่า ภาคธุรกิจสามารถเริ่มต้นตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนได้ทันที ด้วยสิ่งที่องค์กรตนเองได้ดำเนินการอยู่แล้ว โดยการประมวลและเพิ่มเติมการเปิดเผยข้อมูลการดำเนินงานขององค์กร ให้มีความเชื่อมโยงกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หลังจากนั้น องค์กรธุรกิจจึงค่อยพิจารณาเพิ่มเติมการดำเนินงานให้มีความสอดคล้องหรือตอบสนองต่อ SDG ในข้อที่มีการดำเนินการบ้างแล้ว แต่ยังทำไม่ได้เต็มที่ และในข้อที่ยังมิได้มีการดำเนินการ
ทั้งนี้ มิได้หมายความว่า องค์กรธุรกิจทุกแห่ง จะต้องดำเนินการตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนครบทั้ง 17 ข้อ แต่กิจการต้องสามารถเลือกเรื่องที่มีความเกี่ยวเนื่องต่อการสร้างคุณค่า เป็นเรื่องซึ่งมีนัยสำคัญที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และเป็นเรื่องที่ถูกให้ลำดับความสำคัญโดยองค์กรและผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง...(หน้าต่าง CSR) [Archived]
รายงานแห่งความยั่งยืน เป็นรายงานที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับกลยุทธ์การดำเนินงาน การกำกับดูแล แนวการบริหารจัดการ และผลการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ที่สะท้อนทั้งในทางบวกและทางลบ โดยมุ่งเป้าสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
ปัจจุบัน มีองค์กรทั่วโลกที่จัดทำรายงานแห่งความยั่งยืนตามกรอบของ GRI แล้วมากกว่า 5,000 แห่ง ใน 90 กว่าประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะบริษัทขนาดใหญ่ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในภูมิภาคต่างๆ
หัวใจหลักของกรอบการรายงานสากลของ GRI ฉบับ G4 คือ การสร้างให้เกิดกระบวนการรายงาน (Reporting Process) ขึ้นในองค์กร มิใช่มุ่งหวังเพียงเพื่อให้องค์กรได้มาซึ่งเล่มรายงาน (Report) เป็นเรื่องหลัก รวมทั้งการตอกย้ำเรื่องสารัตถภาพ (Materiality) ที่ให้องค์กรดำเนินงานและเปิดเผยข้อมูลเฉพาะในเรื่องที่สำคัญ (What matters) และตรงส่วนงานที่เรื่องนั้นมีความสำคัญ (Where it matters) ตลอดจนสามารถใช้กระบวนการรายงานดังกล่าวในการบูรณาการความยั่งยืนให้เป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์องค์กร
เมื่อเร็วๆ นี้ องค์การสหประชาชาติ โดยชาติสมาชิก 193 ประเทศ ได้ให้การรับรองเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals - SDGs) จำนวน 17 ข้อ ที่ได้จัดทำขึ้น ต่อจากเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals - MDGs) จำนวน 8 ข้อ ที่กำลังจะสิ้นสุดลงในปี พ.ศ.2558 ทั้งนี้ เพื่อใช้สานต่อภารกิจที่ยังไม่บรรลุผลสำเร็จภายใต้เป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ และเพื่อใช้เป็นเป้าหมายสำหรับการพัฒนาที่สมดุลระหว่างเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืนใน 3 มิติที่เอื้อต่อกันและแบ่งแยกมิได้
องค์กรทั้งในภาคธุรกิจและภาคสังคม ที่ได้มีการจัดทำรายงานแห่งความยั่งยืนตามกรอบ GRI อยู่แล้ว สามารถประมวลและเพิ่มเติมการเปิดเผยข้อมูลการดำเนินงานขององค์กร ให้มีความเชื่อมโยงกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ยกระดับสู่รายงานเพิ่มพูนความยั่งยืน (Enhanced Sustainability Report) สำหรับสื่อสารกับผู้มีส่วนได้เสียและสังคมในวงกว้าง เพื่อแสดงให้เห็นถึงคำมั่นและการดำเนินงาน ในอันที่จะตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างเป็นรูปธรรม
ตัวบ่งชี้การดำเนินงานของ GRI ที่ถูกจำแนกในมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม สามารถจัดจำพวกให้อยู่ภายใต้เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นรายเป้าประสงค์ (Goals) ทั้ง 17 ข้อ โดยมีเป้าหมาย (Targets) รองรับตามธีมธุรกิจ (Business Theme) ที่เกี่ยวเนื่อง
ตัวอย่างของ SDG ข้อที่ 1 เรื่องการขจัดความยากจน จะสอดรับกับธีมธุรกิจด้านการพัฒนาทางเศรษฐกิจในพื้นที่ยากไร้ และด้านการเข้าถึงผลิตภัณฑ์และบริการสำหรับผู้มีรายได้น้อย ซึ่งมีตัวชี้วัด G4-EC8 ผลกระทบทางอ้อมเชิงเศรษฐกิจ รวมถึงการขยายผลกระทบ เป็นตัวบ่งชี้การดำเนินงานขององค์กร ที่ให้ผลสนับสนุนต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในข้อดังกล่าว
ตัวอย่างของ SDG ข้อที่ 2 เรื่องการขจัดความหิวโหย บรรลุเป้าความมั่นคงทางอาหารและโภชนาการที่ดีขึ้น และส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืน จะสอดรับกับธีมธุรกิจด้านการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งมีตัวชี้วัด G4-EC7 การพัฒนาและผลกระทบจากการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและบริการสนับสนุน เป็นตัวบ่งชี้การดำเนินงานขององค์กร ที่ให้ผลสนับสนุนต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในข้อดังกล่าว
ตัวอย่างของ SDG ข้อที่ 3 เรื่องการมีสุขภาวะในการดำรงชีวิต และส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของทุกคนในทุกช่วงอายุ จะสอดรับกับธีมธุรกิจด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ซึ่งมีตัวชี้วัด G4-LA6 ชนิดและอัตราของการบาดเจ็บ โรคจากการทำงาน จำนวนวันสูญเสียและการขาดงาน และจำนวนผู้ที่เสียชีวิตเนื่องจากการปฏิบัติงาน จำแนกตามภูมิภาค และเพศ รวมถึงตัวชี้วัด G4-LA7 แรงงานที่มีโอกาสหรือความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงาน เป็นตัวบ่งชี้การดำเนินงานขององค์กร ที่ให้ผลสนับสนุนต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในข้อดังกล่าว
จะเห็นได้ว่า ภาคธุรกิจสามารถเริ่มต้นตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนได้ทันที ด้วยสิ่งที่องค์กรตนเองได้ดำเนินการอยู่แล้ว โดยการประมวลและเพิ่มเติมการเปิดเผยข้อมูลการดำเนินงานขององค์กร ให้มีความเชื่อมโยงกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หลังจากนั้น องค์กรธุรกิจจึงค่อยพิจารณาเพิ่มเติมการดำเนินงานให้มีความสอดคล้องหรือตอบสนองต่อ SDG ในข้อที่มีการดำเนินการบ้างแล้ว แต่ยังทำไม่ได้เต็มที่ และในข้อที่ยังมิได้มีการดำเนินการ
ทั้งนี้ มิได้หมายความว่า องค์กรธุรกิจทุกแห่ง จะต้องดำเนินการตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนครบทั้ง 17 ข้อ แต่กิจการต้องสามารถเลือกเรื่องที่มีความเกี่ยวเนื่องต่อการสร้างคุณค่า เป็นเรื่องซึ่งมีนัยสำคัญที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และเป็นเรื่องที่ถูกให้ลำดับความสำคัญโดยองค์กรและผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง...(หน้าต่าง CSR) [Archived]
Subscribe to:
Posts (Atom)