สัปดาห์ที่แล้ว (19 ก.พ.) สถาบันไทยพัฒน์ ร่วมกับ Yunus Center AIT และ บริษัท อิมเมจพลัส คอมมิวนิเคชั่น จำกัด ลงนามความร่วมมือในการก่อตั้ง "Thailand Social Business Initiative (TSBI)" เพื่อส่งเสริมความริเริ่มด้าน Social Business หรือ ธุรกิจเพื่อสังคมในประเทศไทย ตามแนวคิดของ ศ.มูฮัมมัด ยูนุส สำหรับใช้พัฒนาและแก้ไขปัญหาสังคมด้วยรูปแบบทางธุรกิจ ในลักษณะที่ไม่สูญเงินต้น-ไม่ปันผลกำไร (non-loss, non-dividend) ซึ่งถือเป็นจุดแข็งที่เป็นเอกลักษณ์ของ Social Business
ความตั้งใจของทีเอสบีไอในช่วงแรก ต้องการที่จะสื่อสารและสร้างความเข้าใจในเรื่อง Social Business ในฉบับที่เป็นต้นตำรับของยูนุสให้ถูกต้องถ่องแท้ เพื่อที่จะได้นำแนวคิดดังกล่าว มาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาสังคมให้เกิดผลอย่างเต็มที่
เริ่มจากการแก้ความกำกวม ที่เชื่อว่ายังมีหลายท่านหลายหน่วยงานเข้าใจไปว่า Social Business กับ Social Enterprise คือเรื่องเดียวกัน ไม่ได้มีความแตกต่าง สามารถใช้เรียกแทนกันได้ ซึ่งอันที่จริงแล้ว มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ
ถามต่อว่า แล้วทำไมถึงต้องเป็น Social Business แล้วโมเดลหรือตัวแบบอื่นไม่ตอบโจทย์หรือ ต้องเรียนว่าทุกตัวแบบที่มีการนำไปใช้และดำรงคงอยู่ แสดงว่าต้องมีจุดที่สร้างคุณค่าบางอย่างในตัวแบบนั้น และให้ประโยชน์ที่สอดคล้องกับความมุ่งประสงค์ (Purpose) ของผู้ที่นำไปใช้
Social Business เป็นการประกอบการที่ตั้งอยู่บนความมุ่งประสงค์เดียว (Sole Purpose) คือ การแก้ไขปัญหาสังคมด้วยวิถีทางที่สามารถเลี้ยงตัวเองได้
ถ้าอิงตามนิยามนี้ กิจการที่เป็นมูลนิธิหรือองค์กรสาธารณกุศล เชื่อแน่ว่าเป็นการประกอบการที่มุ่งแก้ไขปัญหาสังคม แต่หากหมดเงินบริจาคหรือขาดผู้อุปถัมภ์เมื่อใด แล้วมูลนิธิอยู่ไม่ได้ แสดงว่า ไม่ใช่ Social Business
กิจการที่เป็นบริษัทหรือธุรกิจปกติ เชื่อแน่ว่าเป็นการประกอบการด้วยวิถีทางที่สามารถเลี้ยงตัวเองได้ แต่เป็นไปเพื่อความมุ่งหมายที่จะแสวงหากำไรและนำมาแบ่งปันกันระหว่างผู้ถือหุ้น จึงไม่ใช่ Social Business
ส่วนวิสาหกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) ที่ตั้งขึ้นเพื่อต้องการแก้ไขปัญหาสังคมเป็นหลักแบบมูลนิธิ แต่มีหนทางที่เลี้ยงตัวเองได้แบบบริษัท โดยยังคงสามารถแบ่งปันผลกำไรให้ผู้ถือหุ้นได้ด้วย เข้าข่ายเป็นลูกผสมระหว่างมูลนิธิกับบริษัท แสดงว่า มิได้มีความมุ่งประสงค์เดียว (Sole Purpose) ในกรณีนี้ จึงไม่ใช่ Social Business (วิสาหกิจเพื่อสังคมที่ไม่มีนโยบายปันผลกำไร ถึงจะจัดเป็น Social Business)
ด้วยความที่ยูนุสต้องการสร้างโมเดลทางธุรกิจที่โฟกัสในจุดที่เน้นการแก้ไขปัญหาสังคมจริงๆ โดยไม่ให้ผู้ประกอบการวอกแวก หรือไม่เปิดช่องให้มีการชั่งใจเลือกระหว่าง “ประโยชน์ส่วนรวม” กับ “ปันผลส่วนตัว”
เพราะมีฐานคิดว่า ถ้าปล่อยให้เกิดขึ้น ความโน้มเอียงจะไปในทางที่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนก่อน แล้วประโยชน์ส่วนรวมค่อยมาทีหลัง (กรณีนี้ เกิดขึ้นแล้วกับโมเดล Community Interest Company หรือ CIC ในประเทศอังกฤษ จนถึงกับต้องแก้กฎหมายเพื่อขอขยายเพดานการปันผลกำไรให้ผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้น)
มาถึงตรงนี้ ต้องขยายการอธิบายความ ไม่ใช่ว่า โมเดล Social Enterprise จะด้อยกว่า Social Business เพราะอย่างที่เรียนตอนต้นว่า แต่ละโมเดลมีจุดที่สร้างคุณค่าบางอย่างไม่เหมือนกัน มีความเหมาะสมแตกต่างกันตามจริตของผู้ที่นำไปใช้
ผู้ประกอบการที่มาจากสายธุรกิจ และต้องการขยายบทบาทมาสู่การช่วยเหลือแก้ไขปัญหาสังคม อาจจะถูกจริตกับโมเดล Social Enterprise มากกว่า เพราะยังคงสามารถรับรู้กำไรผ่านปันผลที่พึงได้
ขณะที่ ผู้ประกอบการสังคม สายเอ็นจีโอ ที่ไม่ต้องการถูกครหาว่า มีประโยชน์ส่วนตัวบนการแก้ไขปัญหาชุมชนหรือการช่วยเหลือสังคมส่วนรวม อาจจะถูกจริตกับโมเดล Social Business มากกว่า
หรือกรณีที่ ภาครัฐ เชิญชวนเอกชนให้เข้าร่วมแก้ไขปัญหาสังคมในรูปแบบความร่วมมือทวิภาคี หรือรัฐร่วมเอกชน อะไรก็แล้วแต่ โดยภาคเอกชนต่างออกมาขานรับว่า ยินดีที่จะเสียสละเพื่อส่วนรวม ไม่ต้องการแสวงหาประโยชน์จากงบประมาณของรัฐ หรือคิดที่จะหาประโยชน์แอบแฝงกับโครงการช่วยเหลือชุมชนใดๆ ทั้งสิ้น ในกรณีนี้ โมเดลที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการนำไปใช้ คือ Social Business
สำหรับธุรกิจปกติทั่วไป เมื่ออ่านถึงจุดนี้ อาจจะด่วนสรุปความว่า ถ้างั้น โมเดล Social Business คงไม่เหมาะกับตนเอง และนำมาใช้ประโยชน์ไม่ได้ ก็ต้องขอเรียนว่า ผิดครับ เพราะถ้าธุรกิจท่านมีการทำ CSR-after-process ในรูปของการบริจาคหรือการกุศลอยู่ทุกปี Social Business จะเป็นทางเลือกใหม่ในการทำ CSR แบบที่ท่านเคยทำในรูป Philanthropy โดยไม่สูญเงินต้น!
ไว้จะได้ขยายความให้ฟัง ในโอกาสต่อไปครับ
จากบทความ 'หน้าต่าง CSR' ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ [Archived]
Thursday, February 25, 2016
Thursday, February 18, 2016
รายงานความยั่งยืนในมิติ SDGs
แม้การประกาศใช้เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ Sustainable Development Goals (SDGs) โดยองค์การสหประชาชาติ จะเพิ่งล่วงมาได้ยังไม่ถึงสองไตรมาส (193 ประเทศสมาชิกได้ให้การรับรองไปเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2558) แต่ความเคลื่อนไหวของการดำเนินงานและการรายงานโดยใช้เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นกรอบอ้างอิงของบรรดาองค์กรธุรกิจที่ตระหนักในความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) อยู่แล้ว ดูจะมีความคึกคักไม่น้อยเลยทีเดียว
จากการคลุกคลีและติดตามความเคลื่อนไหวของภาคธุรกิจไทยต่อเรื่อง SDGs โดยเฉพาะวิสาหกิจขนาดใหญ่ที่มีการดำเนินงานโดยอ้างอิงกรอบการพัฒนาที่ยั่งยืนอยู่แล้ว ต่างให้การตอบรับที่จะนำ SDGs จำนวน 17 ข้อ มาใช้เป็นโจทย์ในการพิจารณาปรับวิถีการดำเนินงานให้มีความสอดคล้องและเชื่อมโยงกับ SDGs ในข้อที่องค์กรตนเองมีความเกี่ยวข้อง
สำหรับองค์กรที่มีการตอบสนองสูง พบว่า ได้มีการปรับปรุงรูปแบบการนำเสนอข้อมูลในเล่มรายงานแห่งความยั่งยืน หรือ Sustainability Report ปี 2558 ด้วยการแสดงให้เห็นความเชื่อมโยงของข้อมูลการดำเนินงานที่ตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนข้อที่เกี่ยวข้อง ในเล่มรายงานที่กำลังจะเผยแพร่ในไตรมาสแรกของปีนี้เลย
อันที่จริง การเปิดเผยข้อมูลการดำเนินงานของภาคธุรกิจ ผ่านช่องทางที่เป็นรายงานแห่งความยั่งยืน โดยเฉพาะองค์กรที่ใช้กรอบการรายงานที่สากลยอมรับ อาทิ Global Reporting Initiative (GRI) จะมีข้อกำหนดในการเปิดเผยเนื้อหา ตั้งแต่นโยบายและการดำเนินงานในภาพรวม ประเด็นที่มีสาระสำคัญต่อองค์กรและผู้มีส่วนได้เสีย แนวการบริหารจัดการกับประเด็นที่เลือกดำเนินการ ไปจนถึงตัวบ่งชี้การดำเนินงานที่ใช้วัดความก้าวหน้าของการจัดการในประเด็นดังกล่าว โดยประเด็นและตัวบ่งชี้การดำเนินงานเหล่านั้น มีส่วนในการตอบโจทย์การแก้ปัญหาที่ระบุใน SDGs ทั้ง 17 ข้อ ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม และไม่มากก็น้อย เพียงแต่ยังไม่มีการเชื่อมโยงให้เห็นก่อนหน้าที่ SDGs จะประกาศใช้
ยกตัวอย่างในเรื่องการศึกษา ที่ SDGs ระบุให้หญิงชายได้รับโอกาสและความเสมอภาคในการศึกษาเรียนรู้วิชาชีพและทักษะในอาชีพ เยาวชน คนหนุ่มสาวได้รับการจ้างงาน งานที่มีคุณค่า และทักษะในการประกอบการ เป็นต้น ขณะที่ องค์กรธุรกิจที่มีการเปิดเผยข้อมูลตามกรอบ GRI ในหมวดที่เกี่ยวกับแรงงาน จะมีการรายงานเรื่องการฝึกอบรมและการให้ความรู้แก่พนักงาน จำนวนชั่วโมงโดยเฉลี่ยที่พนักงานได้รับการฝึกอบรมต่อคนต่อปี จำแนกตามเพศ และประเภทของพนักงาน เป็นต้น
เมื่อเร็วๆ นี้ องค์การแห่งความริเริ่มว่าด้วยการรายงานสากล (GRI) ได้จัดทำเอกสารเชื่อมโยงเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน กับตัวบ่งชี้การดำเนินงานตามกรอบการรายงานสากล GRI ที่มีชื่อว่า 'Linking the SDGs and GRI' เพื่อช่วยให้องค์กรเปิดเผยข้อมูลการดำเนินงานที่สอดคล้องกับ SDGs ในเล่มรายงานแห่งความยั่งยืนผ่านช่องทางที่มีอยู่ในปัจจุบัน โดยไม่เป็นการสร้างภาระการรายงานเพิ่มจากรายงานแห่งความยั่งยืนฉบับเดิม เผยแพร่ให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียทั้งภายในและภายนอกองค์กร ในรูปแบบที่สถาบันไทยพัฒน์ เรียกว่า Enhanced Sustainability Report
เอกสารฉบับนี้ จะเป็นตัวช่วยชั้นดีสำหรับองค์กรที่มีการดำเนินงานสนองตอบต่อ SDGs และมีการรายงานตามกรอบ GRI อยู่แล้ว ให้สามารถจัดทำข้อมูลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดความยั่งยืนของ GRI เชื่อมโยงกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของ UN ได้อย่างเป็นระบบและอยู่ในบรรทัดฐานที่ยอมรับในวงกว้าง
องค์กรที่สนใจจะปรับรายงานแห่งความยั่งยืนตามกรอบ GRI เพื่อสะท้อนความเชื่อมโยงกับ SDGs ให้ทันในรอบการรายงานปี 58 ฉบับที่กำลังจะเผยแพร่ในไตรมาสนี้ หรือเตรียมปรับสำหรับปี 59 สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ผ่านทาง http://bit.ly/SDGmapping
นอกจากนี้ GRI ยังได้เปิดให้บริการ 'SDG Mapping' สำหรับยืนยันความถูกต้องในการเชื่อมโยงเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน กับการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืนตามกรอบ GRI เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นในการสืบค้นและใช้ประโยชน์ข้อมูลการดำเนินงานด้านความยั่งยืนที่สอดคล้องกับ SDGs ในเล่มรายงานที่ได้รับการตรวจสอบจาก GRI ด้วย
ต้นปีนี้ คาดว่าจะได้เห็นรายงานแห่งความยั่งยืนในมิติ SDGs ของไทย จากองค์กรธุรกิจที่เป็นผู้นำขบวนความยั่งยืน แน่นอนครับ
จากบทความ 'หน้าต่าง CSR' ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ [Archived]
จากการคลุกคลีและติดตามความเคลื่อนไหวของภาคธุรกิจไทยต่อเรื่อง SDGs โดยเฉพาะวิสาหกิจขนาดใหญ่ที่มีการดำเนินงานโดยอ้างอิงกรอบการพัฒนาที่ยั่งยืนอยู่แล้ว ต่างให้การตอบรับที่จะนำ SDGs จำนวน 17 ข้อ มาใช้เป็นโจทย์ในการพิจารณาปรับวิถีการดำเนินงานให้มีความสอดคล้องและเชื่อมโยงกับ SDGs ในข้อที่องค์กรตนเองมีความเกี่ยวข้อง
สำหรับองค์กรที่มีการตอบสนองสูง พบว่า ได้มีการปรับปรุงรูปแบบการนำเสนอข้อมูลในเล่มรายงานแห่งความยั่งยืน หรือ Sustainability Report ปี 2558 ด้วยการแสดงให้เห็นความเชื่อมโยงของข้อมูลการดำเนินงานที่ตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนข้อที่เกี่ยวข้อง ในเล่มรายงานที่กำลังจะเผยแพร่ในไตรมาสแรกของปีนี้เลย
อันที่จริง การเปิดเผยข้อมูลการดำเนินงานของภาคธุรกิจ ผ่านช่องทางที่เป็นรายงานแห่งความยั่งยืน โดยเฉพาะองค์กรที่ใช้กรอบการรายงานที่สากลยอมรับ อาทิ Global Reporting Initiative (GRI) จะมีข้อกำหนดในการเปิดเผยเนื้อหา ตั้งแต่นโยบายและการดำเนินงานในภาพรวม ประเด็นที่มีสาระสำคัญต่อองค์กรและผู้มีส่วนได้เสีย แนวการบริหารจัดการกับประเด็นที่เลือกดำเนินการ ไปจนถึงตัวบ่งชี้การดำเนินงานที่ใช้วัดความก้าวหน้าของการจัดการในประเด็นดังกล่าว โดยประเด็นและตัวบ่งชี้การดำเนินงานเหล่านั้น มีส่วนในการตอบโจทย์การแก้ปัญหาที่ระบุใน SDGs ทั้ง 17 ข้อ ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม และไม่มากก็น้อย เพียงแต่ยังไม่มีการเชื่อมโยงให้เห็นก่อนหน้าที่ SDGs จะประกาศใช้
ยกตัวอย่างในเรื่องการศึกษา ที่ SDGs ระบุให้หญิงชายได้รับโอกาสและความเสมอภาคในการศึกษาเรียนรู้วิชาชีพและทักษะในอาชีพ เยาวชน คนหนุ่มสาวได้รับการจ้างงาน งานที่มีคุณค่า และทักษะในการประกอบการ เป็นต้น ขณะที่ องค์กรธุรกิจที่มีการเปิดเผยข้อมูลตามกรอบ GRI ในหมวดที่เกี่ยวกับแรงงาน จะมีการรายงานเรื่องการฝึกอบรมและการให้ความรู้แก่พนักงาน จำนวนชั่วโมงโดยเฉลี่ยที่พนักงานได้รับการฝึกอบรมต่อคนต่อปี จำแนกตามเพศ และประเภทของพนักงาน เป็นต้น
เมื่อเร็วๆ นี้ องค์การแห่งความริเริ่มว่าด้วยการรายงานสากล (GRI) ได้จัดทำเอกสารเชื่อมโยงเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน กับตัวบ่งชี้การดำเนินงานตามกรอบการรายงานสากล GRI ที่มีชื่อว่า 'Linking the SDGs and GRI' เพื่อช่วยให้องค์กรเปิดเผยข้อมูลการดำเนินงานที่สอดคล้องกับ SDGs ในเล่มรายงานแห่งความยั่งยืนผ่านช่องทางที่มีอยู่ในปัจจุบัน โดยไม่เป็นการสร้างภาระการรายงานเพิ่มจากรายงานแห่งความยั่งยืนฉบับเดิม เผยแพร่ให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียทั้งภายในและภายนอกองค์กร ในรูปแบบที่สถาบันไทยพัฒน์ เรียกว่า Enhanced Sustainability Report
เอกสารฉบับนี้ จะเป็นตัวช่วยชั้นดีสำหรับองค์กรที่มีการดำเนินงานสนองตอบต่อ SDGs และมีการรายงานตามกรอบ GRI อยู่แล้ว ให้สามารถจัดทำข้อมูลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดความยั่งยืนของ GRI เชื่อมโยงกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของ UN ได้อย่างเป็นระบบและอยู่ในบรรทัดฐานที่ยอมรับในวงกว้าง
องค์กรที่สนใจจะปรับรายงานแห่งความยั่งยืนตามกรอบ GRI เพื่อสะท้อนความเชื่อมโยงกับ SDGs ให้ทันในรอบการรายงานปี 58 ฉบับที่กำลังจะเผยแพร่ในไตรมาสนี้ หรือเตรียมปรับสำหรับปี 59 สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ผ่านทาง http://bit.ly/SDGmapping
นอกจากนี้ GRI ยังได้เปิดให้บริการ 'SDG Mapping' สำหรับยืนยันความถูกต้องในการเชื่อมโยงเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน กับการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืนตามกรอบ GRI เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นในการสืบค้นและใช้ประโยชน์ข้อมูลการดำเนินงานด้านความยั่งยืนที่สอดคล้องกับ SDGs ในเล่มรายงานที่ได้รับการตรวจสอบจาก GRI ด้วย
ต้นปีนี้ คาดว่าจะได้เห็นรายงานแห่งความยั่งยืนในมิติ SDGs ของไทย จากองค์กรธุรกิจที่เป็นผู้นำขบวนความยั่งยืน แน่นอนครับ
จากบทความ 'หน้าต่าง CSR' ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ [Archived]
Thursday, February 11, 2016
เรียกชื่อไหน ก็ยังเป็น CSR
หากย้อนมองพัฒนาการซีเอสอาร์ของภาคธุรกิจในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา หนึ่งในเรื่องที่ควรหยิบยกมากล่าวถึง คือ ซีเอสอาร์เชิงกลยุทธ์ หรือ Strategic CSR ที่ได้พัฒนากลายมาเป็นเรื่องการสร้างคุณค่าร่วม หรือ Creating Shared Value ในปัจจุบัน
ในการพัฒนาซีเอสอาร์เชิงกลยุทธ์ จะมีองค์ประกอบสองส่วนสำคัญ ประการแรก คือ การให้ความสำคัญกับความต้องการของสังคม (ฝั่งอุปสงค์) ที่เป็นการสำรวจความต้องการของสังคมหรือชุมชนในพื้นที่ที่องค์กรต้องการเข้าไปดำเนินงาน เป็นลักษณะของการวิเคราะห์ในแบบ Outside-In ที่มีการพิจารณาถึงปัญหาของชุมชนหรือประเด็นทางสังคมที่แท้จริง เพื่อให้ได้มาซึ่งประสิทธิผล (Effectiveness) ที่สูงกว่าการที่องค์กรนึกอยากจะช่วยเหลือสังคมแล้วนำอะไรต่อมิอะไรไปมอบ
ประการที่สอง คือ การคำนึงถึงความเชี่ยวชาญขององค์กรในการตอบสนองต่อประเด็นทางสังคม (ฝั่งอุปทาน) เป็นการสำรวจขีดความสามารถหรือทรัพยากรที่องค์กรมีอยู่ ว่าสามารถเข้าไปดำเนินงานซีเอสอาร์นั้นได้ดีเพียงใด เป็นลักษณะของการวิเคราะห์ในแบบ Inside-Out ซึ่งคล้ายกับการวิเคราะห์ SWOT ในทางธุรกิจซึ่งจะทำให้การดำเนินงานด้านซีเอสอาร์ได้มาเกิดประสิทธิภาพ (Efficiency) ที่สูงแก่สังคม เพราะหากสำรวจแล้วพบว่ายังขาดทรัพยากรหรือความเชี่ยวชาญที่ต้องใช้องค์กรก็จำต้องแสวงหาทรัพยากรจากภายนอกด้วยการหาหุ้นส่วน (Partnership) หรือมอบหมายให้หน่วยงานภายนอกที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆ ดำเนินงานให้ โดยไม่จำเป็นต้องลงมือทำเองโดยลำพัง
การดำเนินงานซีเอสอาร์เชิงกลยุทธ์ทั้งสององค์ประกอบนี้ นอกจากสังคมจะได้ทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผลจากการดำเนินกิจกรรมซีเอสอาร์แล้วยังสามารถวางตำแหน่งองค์กรและสร้างความได้เปรียบในทางธุรกิจที่เหนือกว่าองค์กรอื่นจากผลลัพธ์และอรรถประโยชน์ที่ให้แก่สังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่เหนือกว่า
วิธีการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมภายใต้รูปแบบที่เป็นซีเอสอาร์เชิงกลยุทธ์นี้ กิจการไม่เพียงแต่สามารถปฏิบัติได้ตามข้อกำหนดหรือมาตรฐานอันเป็นที่ยอมรับเท่านั้น แต่ยังมีการกำหนดจุดยืนที่เป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่างจากแนวปฏิบัติขององค์กรอื่นๆ มีการสร้างความแตกต่าง (Differentiation) ในวิธีการ มีอิสรภาพในการคัดเลือกประเด็นทางสังคม โดยที่ปลอดจากพันธนาการหรือข้อเรียกร้องดังเช่นความรับผิดชอบต่อสังคมที่เป็นการรับมือกับผลกระทบทางลบอันเกิดจากการดำเนินงานปกติประจำวัน
ซีเอสอาร์เชิงกลยุทธ์ เป็นกลไกหรือเครื่องมือในการปรับทิศทางของธุรกิจและสังคมให้ไปในทิศเดียวกัน เป็นการผสานคุณค่าระหว่างองค์กรกับสังคมไปด้วยกัน เป็นกลยุทธ์ที่ใช้ไม่เพียงเพื่อให้องค์กรได้รับการยอมรับเท่านั้น แต่ทำให้องค์กรสามารถเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้วย จากการสร้างความแตกต่างในกิจกรรม โดยไม่มองเพียงความต้องการของผู้มีส่วนได้เสีย แต่ยังมองว่ากิจการมี Core Value หรือ Competency อะไรบ้าง ที่สามารถส่งมอบให้แก่สังคมได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย จึงเป็นการมองทั้งแบบ Outside-In และแบบ Inside-Out เป็นการทำซีเอสอาร์ในเชิงรุก โดยไม่ได้รอให้ปัญหาเกิดขึ้นก่อนแล้วค่อยไปแก้ไข หรือทำโครงการที่เป็นในลักษณะของการเยียวยา แต่เป็นการพยายามสร้างความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้เสียเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
ในการพัฒนาซีเอสอาร์เชิงกลยุทธ์ จะต้องเข้าใจหลักการ (Principle) และประเด็นที่เกี่ยวเนื่องกับซีเอสอาร์ทั้งหมด และต้องรู้ความสัมพันธ์ของซีเอสอาร์ระหว่างองค์กร สังคม และผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่างๆ ตลอดจนต้องเข้าใจว่าซีเอสอาร์ของแต่ละองค์กรนั้น มีความแตกต่างกันด้วยสามปัจจัยหลัก คือ ความเกี่ยวเนื่อง (Relevance) ความมีนัยสำคัญ (Significance) และลำดับความสำคัญ (Priorities) ของแต่ละประเด็นความรับผิดชอบต่อสังคม
องค์กรที่ไม่ได้สร้างผลกระทบในเชิงสิ่งแวดล้อม อาจไม่จำเป็นต้องดำเนินการซีเอสอาร์ในด้านสิ่งแวดล้อม เหมือนกับโรงงานหรือกิจการที่มีกระบวนการที่ก่อให้เกิดการทำลายสิ่งแวดล้อมทางใดทางหนึ่ง แต่อาจเน้นหนักหรือให้ความสำคัญกับเรื่องคน/พนักงานซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่สำคัญ เป็นต้น
ในการวางนโยบาย (Policy) ด้านซีเอสอาร์ นอกเหนือจากการระบุผู้มีส่วนได้เสีย หรือ Stakeholder Identification ที่บอกว่ามีใคร (who) บ้างที่เกี่ยวข้องหลัก/รองแล้ว องค์กรต้องสามารถจัดกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย หรือ Stakeholder Segmentation เพื่อให้ทราบว่าความสัมพันธ์ระหว่างกิจการกับผู้มีส่วนได้เสียเหล่านั้นเป็นอย่างไร (how) ถัดจากนั้น จึงทำการวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้เสียเป้าหมาย หรือ Targeted Stakeholder Analysis เพื่อให้ทราบถึงสาเหตุ (why) ที่ทำให้เกิดความสัมพันธ์อย่างนั้น (ทั้งดีและไม่ดี) เพื่อนำไปสู่การกำหนดจุดยืนทางกลยุทธ์ หรือ Strategic Positioning ที่จะเป็นกรอบในการพัฒนากลยุทธ์การดำเนินงานกับผู้มีส่วนได้เสียนั้นๆ ได้อย่างตรงจุด
ในการนำไปสู่การปฏิบัติ (Practice) หลังจากที่ได้นโยบายแล้ว ผู้บริหารต้องนำนโยบายนั้นมาทำให้เกิดสามสิ่ง คือ ก่อนทำต้องสร้าง Credibility เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือในการดำเนินงานซีเอสอาร์ ระหว่างทำต้องได้ Performance โดยมีเครื่องมือในการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานซีเอสอาร์อย่างเป็นระบบ และหลังทำต้องให้เกิด Recognition มิฉะนั้น สิ่งที่ลงทุนลงแรงทำอย่างตั้งใจและทุ่มเทก็อาจจะสูญเปล่า
ด้วยวิธีการที่แตกต่างและกิจกรรมซีเอสอาร์ที่เหมาะสม ผลลัพธ์จากการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมภายใต้รูปแบบที่เป็นซีเอสอาร์เชิงกลยุทธ์ จะทำให้เอื้อต่อการพัฒนาขีดความสามารถทางการแข่งขันขององค์กรในระยะยาว
ทั้งนี้ เป้าประสงค์ของซีเอสอาร์เชิงกลยุทธ์ ที่ผสมผสานการริเริ่มทั้งจากภายในและการเชื่อมโยงจากภายนอกจะก่อให้เกิดคุณค่าร่วมกัน (Shared Value) ระหว่างธุรกิจและสังคมไปพร้อมกัน
จึงไม่แปลกใจที่เรื่อง Shared Value จะยังมีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ ทอดยาวไปในทศวรรษหน้าอีกอย่างไม่ต้องสงสัย
จากบทความ 'หน้าต่าง CSR' ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ [Archived]
ในการพัฒนาซีเอสอาร์เชิงกลยุทธ์ จะมีองค์ประกอบสองส่วนสำคัญ ประการแรก คือ การให้ความสำคัญกับความต้องการของสังคม (ฝั่งอุปสงค์) ที่เป็นการสำรวจความต้องการของสังคมหรือชุมชนในพื้นที่ที่องค์กรต้องการเข้าไปดำเนินงาน เป็นลักษณะของการวิเคราะห์ในแบบ Outside-In ที่มีการพิจารณาถึงปัญหาของชุมชนหรือประเด็นทางสังคมที่แท้จริง เพื่อให้ได้มาซึ่งประสิทธิผล (Effectiveness) ที่สูงกว่าการที่องค์กรนึกอยากจะช่วยเหลือสังคมแล้วนำอะไรต่อมิอะไรไปมอบ
ประการที่สอง คือ การคำนึงถึงความเชี่ยวชาญขององค์กรในการตอบสนองต่อประเด็นทางสังคม (ฝั่งอุปทาน) เป็นการสำรวจขีดความสามารถหรือทรัพยากรที่องค์กรมีอยู่ ว่าสามารถเข้าไปดำเนินงานซีเอสอาร์นั้นได้ดีเพียงใด เป็นลักษณะของการวิเคราะห์ในแบบ Inside-Out ซึ่งคล้ายกับการวิเคราะห์ SWOT ในทางธุรกิจซึ่งจะทำให้การดำเนินงานด้านซีเอสอาร์ได้มาเกิดประสิทธิภาพ (Efficiency) ที่สูงแก่สังคม เพราะหากสำรวจแล้วพบว่ายังขาดทรัพยากรหรือความเชี่ยวชาญที่ต้องใช้องค์กรก็จำต้องแสวงหาทรัพยากรจากภายนอกด้วยการหาหุ้นส่วน (Partnership) หรือมอบหมายให้หน่วยงานภายนอกที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆ ดำเนินงานให้ โดยไม่จำเป็นต้องลงมือทำเองโดยลำพัง
การดำเนินงานซีเอสอาร์เชิงกลยุทธ์ทั้งสององค์ประกอบนี้ นอกจากสังคมจะได้ทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผลจากการดำเนินกิจกรรมซีเอสอาร์แล้วยังสามารถวางตำแหน่งองค์กรและสร้างความได้เปรียบในทางธุรกิจที่เหนือกว่าองค์กรอื่นจากผลลัพธ์และอรรถประโยชน์ที่ให้แก่สังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่เหนือกว่า
วิธีการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมภายใต้รูปแบบที่เป็นซีเอสอาร์เชิงกลยุทธ์นี้ กิจการไม่เพียงแต่สามารถปฏิบัติได้ตามข้อกำหนดหรือมาตรฐานอันเป็นที่ยอมรับเท่านั้น แต่ยังมีการกำหนดจุดยืนที่เป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่างจากแนวปฏิบัติขององค์กรอื่นๆ มีการสร้างความแตกต่าง (Differentiation) ในวิธีการ มีอิสรภาพในการคัดเลือกประเด็นทางสังคม โดยที่ปลอดจากพันธนาการหรือข้อเรียกร้องดังเช่นความรับผิดชอบต่อสังคมที่เป็นการรับมือกับผลกระทบทางลบอันเกิดจากการดำเนินงานปกติประจำวัน
ซีเอสอาร์เชิงกลยุทธ์ เป็นกลไกหรือเครื่องมือในการปรับทิศทางของธุรกิจและสังคมให้ไปในทิศเดียวกัน เป็นการผสานคุณค่าระหว่างองค์กรกับสังคมไปด้วยกัน เป็นกลยุทธ์ที่ใช้ไม่เพียงเพื่อให้องค์กรได้รับการยอมรับเท่านั้น แต่ทำให้องค์กรสามารถเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้วย จากการสร้างความแตกต่างในกิจกรรม โดยไม่มองเพียงความต้องการของผู้มีส่วนได้เสีย แต่ยังมองว่ากิจการมี Core Value หรือ Competency อะไรบ้าง ที่สามารถส่งมอบให้แก่สังคมได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย จึงเป็นการมองทั้งแบบ Outside-In และแบบ Inside-Out เป็นการทำซีเอสอาร์ในเชิงรุก โดยไม่ได้รอให้ปัญหาเกิดขึ้นก่อนแล้วค่อยไปแก้ไข หรือทำโครงการที่เป็นในลักษณะของการเยียวยา แต่เป็นการพยายามสร้างความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้เสียเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
ในการพัฒนาซีเอสอาร์เชิงกลยุทธ์ จะต้องเข้าใจหลักการ (Principle) และประเด็นที่เกี่ยวเนื่องกับซีเอสอาร์ทั้งหมด และต้องรู้ความสัมพันธ์ของซีเอสอาร์ระหว่างองค์กร สังคม และผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่างๆ ตลอดจนต้องเข้าใจว่าซีเอสอาร์ของแต่ละองค์กรนั้น มีความแตกต่างกันด้วยสามปัจจัยหลัก คือ ความเกี่ยวเนื่อง (Relevance) ความมีนัยสำคัญ (Significance) และลำดับความสำคัญ (Priorities) ของแต่ละประเด็นความรับผิดชอบต่อสังคม
องค์กรที่ไม่ได้สร้างผลกระทบในเชิงสิ่งแวดล้อม อาจไม่จำเป็นต้องดำเนินการซีเอสอาร์ในด้านสิ่งแวดล้อม เหมือนกับโรงงานหรือกิจการที่มีกระบวนการที่ก่อให้เกิดการทำลายสิ่งแวดล้อมทางใดทางหนึ่ง แต่อาจเน้นหนักหรือให้ความสำคัญกับเรื่องคน/พนักงานซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่สำคัญ เป็นต้น
ในการวางนโยบาย (Policy) ด้านซีเอสอาร์ นอกเหนือจากการระบุผู้มีส่วนได้เสีย หรือ Stakeholder Identification ที่บอกว่ามีใคร (who) บ้างที่เกี่ยวข้องหลัก/รองแล้ว องค์กรต้องสามารถจัดกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย หรือ Stakeholder Segmentation เพื่อให้ทราบว่าความสัมพันธ์ระหว่างกิจการกับผู้มีส่วนได้เสียเหล่านั้นเป็นอย่างไร (how) ถัดจากนั้น จึงทำการวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้เสียเป้าหมาย หรือ Targeted Stakeholder Analysis เพื่อให้ทราบถึงสาเหตุ (why) ที่ทำให้เกิดความสัมพันธ์อย่างนั้น (ทั้งดีและไม่ดี) เพื่อนำไปสู่การกำหนดจุดยืนทางกลยุทธ์ หรือ Strategic Positioning ที่จะเป็นกรอบในการพัฒนากลยุทธ์การดำเนินงานกับผู้มีส่วนได้เสียนั้นๆ ได้อย่างตรงจุด
ในการนำไปสู่การปฏิบัติ (Practice) หลังจากที่ได้นโยบายแล้ว ผู้บริหารต้องนำนโยบายนั้นมาทำให้เกิดสามสิ่ง คือ ก่อนทำต้องสร้าง Credibility เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือในการดำเนินงานซีเอสอาร์ ระหว่างทำต้องได้ Performance โดยมีเครื่องมือในการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานซีเอสอาร์อย่างเป็นระบบ และหลังทำต้องให้เกิด Recognition มิฉะนั้น สิ่งที่ลงทุนลงแรงทำอย่างตั้งใจและทุ่มเทก็อาจจะสูญเปล่า
ด้วยวิธีการที่แตกต่างและกิจกรรมซีเอสอาร์ที่เหมาะสม ผลลัพธ์จากการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมภายใต้รูปแบบที่เป็นซีเอสอาร์เชิงกลยุทธ์ จะทำให้เอื้อต่อการพัฒนาขีดความสามารถทางการแข่งขันขององค์กรในระยะยาว
ทั้งนี้ เป้าประสงค์ของซีเอสอาร์เชิงกลยุทธ์ ที่ผสมผสานการริเริ่มทั้งจากภายในและการเชื่อมโยงจากภายนอกจะก่อให้เกิดคุณค่าร่วมกัน (Shared Value) ระหว่างธุรกิจและสังคมไปพร้อมกัน
จึงไม่แปลกใจที่เรื่อง Shared Value จะยังมีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ ทอดยาวไปในทศวรรษหน้าอีกอย่างไม่ต้องสงสัย
จากบทความ 'หน้าต่าง CSR' ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ [Archived]
Thursday, February 04, 2016
กระบวนทัศน์การพัฒนาที่ยั่งยืน
การพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ Sustainable Development (SD) เป็นการพัฒนาที่คำนึงถึงมิติทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ประกอบกันอย่างสมดุล เกิดจากการทำงานของภาคส่วนต่างๆ ในสังคม ไม่เฉพาะเพียงภาคธุรกิจเอกชน
ในบริบทของการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยรวม มุ่งหมายที่จะบรรลุถึงสถานะแห่งความยั่งยืนของสังคมโลก ไม่ใช่เพื่อความยั่งยืนหรือความสามารถในการอยู่รอดขององค์กรใดองค์กรหนึ่ง ซึ่งหมายรวมถึง วิถีการบริโภคอย่างยั่งยืน และแหล่งทรัพยากรที่ยั่งยืน
เมื่อไล่เรียงพัฒนาการในกระบวนทัศน์ (Paradigm) การพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์กรธุรกิจ โดยใช้กรอบผู้มีส่วนได้เสียของกิจการเป็นเกณฑ์ในการพิจารณา จะสามารถจับคู่กระบวนทัศน์การพัฒนาที่สัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้เสีย ได้เป็น 5 คู่ความสัมพันธ์ ได้แก่ CG กับผู้ถือหุ้น, ESG กับผู้ลงทุนสถาบัน, CSR กับผู้มีส่วนได้เสียรอบกิจการ, SD กับสังคม, และ Sustainability กับองค์กร
กระบวนทัศน์เรื่องธรรมาภิบาลหรือการกำกับดูแลกิจการ (CG) จัดเป็นหลักการเบื้องต้นที่ธุรกิจคำนึงถึงการรักษาประโยชน์ของผู้ถือหุ้นผ่านทางตัวแทนที่เป็นคณะกรรมการบริษัท ธรรมาภิบาลถือเป็นโครงสร้างและกระบวนการภายในกิจการ ที่จัดให้มีขึ้นสำหรับการกำหนดทิศทางและสอดส่องดูแลการปฏิบัติงานของกิจการให้มีความถูกต้อง โปร่งใส ตรวจสอบได้ เจริญรุดหน้าอย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อความเสียหายของกิจการ พร้อมกันกับความสามารถในการสร้างมูลค่าเพิ่มและส่งเสริมการเติบโตของกิจการอย่างมั่นคง
เนื่องจาก CG เป็นการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมขั้นพื้นฐานของกิจการ ที่คำนึงถึงการปฏิบัติตามกฎหมาย และดูแลผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องภายใต้สิทธิที่พึงได้รับตามที่กฎหมายกำหนด กระนั้นก็ตาม องค์กรที่มี CG ดี อาจไม่ได้รับการยอมรับจากสังคม หรือได้รับการอนุญาตให้ประกอบกิจการจากสังคม (License to operate) เพียงเพราะได้ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด
กระบวนทัศน์เรื่อง ESG เป็นพัฒนาการที่เกิดขึ้นในแวดวงผู้ลงทุน โดยเฉพาะผู้ลงทุนประเภทสถาบัน ที่ตระหนักถึงการลงทุนอย่างมีความรับผิดชอบ โดยให้น้ำหนักความสำคัญทั้งในแง่ผลประกอบการทางการเงิน และผลกระทบจากการประกอบการที่มิใช่ตัวเลขทางการเงินในประเด็นสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล หรือ ESG (Environmental, Social and Governance)
ขณะที่กระบวนทัศน์เรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ หรือ CSR เป็นกลไกการดำเนินงานในกิจการที่เชื่อมโยงสู่การปฏิสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้เสียรอบกิจการ ที่องค์กรจัดให้มีขึ้นภายใต้จุดมุ่งหมายที่ต้องการสร้างประโยชน์แก่กิจการและผู้มีส่วนได้เสียบนพื้นฐานของการไม่เบียดเบียนกัน การสงเคราะห์ช่วยเหลือตามกำลังและความสามารถของกิจการ อันจะนำไปสู่การยอมรับจากสังคมและความยั่งยืนของกิจการ
CSR จึงเป็นการดูแลรักษาไม่เฉพาะในส่วนที่เป็นกิจการ แต่ยังแผ่ขยายกว้างออกไปครอบคลุมในส่วนที่เป็นผู้มีส่วนได้เสียทั้งหมดที่อยู่โดยรอบกิจการ ด้วยเงื่อนไขของความสำนึกรับผิดชอบต่อสังคมในฐานะนิติพลเมือง (Corporate Citizen) โดยคำนึงถึงประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสียทั้งภายในและภายนอกกิจการอย่างเป็นธรรม เป็นการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมที่มากกว่าการคำนึงถึงเพียงการปฏิบัติตามกฎหมาย
สำหรับบทบาทของธุรกิจต่อกระบวนทัศน์เรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืน (SD) คือ การดำเนินงานอย่างรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมควบคู่กันไปพร้อมกัน ในอันที่จะช่วยเสริมหนุนการทำงานของภาคส่วนอื่นๆ ในสังคม ให้เกิดเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยรวม
เนื่องจาก การประกอบธุรกิจ มีเป้าประสงค์ในการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจเป็นหลัก ความคาดหวังที่จะให้ภาคธุรกิจ ดำเนินงานด้านการพัฒนาสังคมหรือการดูแลสิ่งแวดล้อม จึงไม่อยู่ในวิสัยที่ธุรกิจจะดำเนินงานในแบบเต็มตัว
กลยุทธ์ SD ที่ธุรกิจนำมาใช้ในปัจจุบัน ส่วนใหญ่จึงเป็นการจำกัดความหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน ให้เป็นการประกอบธุรกิจหรือการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจอย่างรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมโดยคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อผู้มีส่วนได้เสียของกิจการ ซึ่งไม่ได้แตกต่างจากกลยุทธ์ CSR แต่ประการใด (กลายเป็นว่า กลยุทธ์ SD = CSR)
ขณะที่เรื่องความยั่งยืน หรือ Sustainability เป็นอีกหนึ่งคำ ที่ภาคธุรกิจหยิบฉวยมาใช้ เพื่อแสดงถึงสถานะของผลการดำเนินงาน ที่สามารถนำไปสู่การสร้างความยั่งยืนของสังคมโดยรวม หรือความยั่งยืนในระดับองค์กร ตามแต่กลยุทธ์ที่นำมาใช้
กระบวนทัศน์เรื่องความยั่งยืน ตามนัยที่ภาคธุรกิจนำมาใช้ เป็นการจัดการในระดับองค์กรหรือระดับห่วงโซ่ธุรกิจ ที่มุ่งหมายให้องค์กรเกิดความยั่งยืนเป็นหลัก โดยมุ่งพัฒนาขีดความสามารถในการรองรับการเติบโตทางธุรกิจ (Carrying Capacity) ซึ่งอาจเกี่ยวข้องหรือไม่เกี่ยวข้องกับการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการก็ได้
กลยุทธ์ความยั่งยืนที่พัฒนาขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการทางธุรกิจหรือประโยชน์ขององค์กร ในกรณีนี้ จึงมีขอบเขตที่แคบกว่ากลยุทธ์ความรับผิดชอบต่อสังคมที่ใช้เพื่อตอบสนองต่อความคาดหวังหรือประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสียในวงกว้าง (กลายเป็นว่า กลยุทธ์ Sustainability < CSR)
หวังว่า คงจะช่วยให้ท่านผู้อ่านคลายความสับสนต่อคำเรียกหลายคำที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้นะครับ
จากบทความ 'หน้าต่าง CSR' ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ [Archived]
ในบริบทของการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยรวม มุ่งหมายที่จะบรรลุถึงสถานะแห่งความยั่งยืนของสังคมโลก ไม่ใช่เพื่อความยั่งยืนหรือความสามารถในการอยู่รอดขององค์กรใดองค์กรหนึ่ง ซึ่งหมายรวมถึง วิถีการบริโภคอย่างยั่งยืน และแหล่งทรัพยากรที่ยั่งยืน
เมื่อไล่เรียงพัฒนาการในกระบวนทัศน์ (Paradigm) การพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์กรธุรกิจ โดยใช้กรอบผู้มีส่วนได้เสียของกิจการเป็นเกณฑ์ในการพิจารณา จะสามารถจับคู่กระบวนทัศน์การพัฒนาที่สัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้เสีย ได้เป็น 5 คู่ความสัมพันธ์ ได้แก่ CG กับผู้ถือหุ้น, ESG กับผู้ลงทุนสถาบัน, CSR กับผู้มีส่วนได้เสียรอบกิจการ, SD กับสังคม, และ Sustainability กับองค์กร
กระบวนทัศน์เรื่องธรรมาภิบาลหรือการกำกับดูแลกิจการ (CG) จัดเป็นหลักการเบื้องต้นที่ธุรกิจคำนึงถึงการรักษาประโยชน์ของผู้ถือหุ้นผ่านทางตัวแทนที่เป็นคณะกรรมการบริษัท ธรรมาภิบาลถือเป็นโครงสร้างและกระบวนการภายในกิจการ ที่จัดให้มีขึ้นสำหรับการกำหนดทิศทางและสอดส่องดูแลการปฏิบัติงานของกิจการให้มีความถูกต้อง โปร่งใส ตรวจสอบได้ เจริญรุดหน้าอย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อความเสียหายของกิจการ พร้อมกันกับความสามารถในการสร้างมูลค่าเพิ่มและส่งเสริมการเติบโตของกิจการอย่างมั่นคง
เนื่องจาก CG เป็นการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมขั้นพื้นฐานของกิจการ ที่คำนึงถึงการปฏิบัติตามกฎหมาย และดูแลผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องภายใต้สิทธิที่พึงได้รับตามที่กฎหมายกำหนด กระนั้นก็ตาม องค์กรที่มี CG ดี อาจไม่ได้รับการยอมรับจากสังคม หรือได้รับการอนุญาตให้ประกอบกิจการจากสังคม (License to operate) เพียงเพราะได้ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด
กระบวนทัศน์เรื่อง ESG เป็นพัฒนาการที่เกิดขึ้นในแวดวงผู้ลงทุน โดยเฉพาะผู้ลงทุนประเภทสถาบัน ที่ตระหนักถึงการลงทุนอย่างมีความรับผิดชอบ โดยให้น้ำหนักความสำคัญทั้งในแง่ผลประกอบการทางการเงิน และผลกระทบจากการประกอบการที่มิใช่ตัวเลขทางการเงินในประเด็นสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล หรือ ESG (Environmental, Social and Governance)
ขณะที่กระบวนทัศน์เรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ หรือ CSR เป็นกลไกการดำเนินงานในกิจการที่เชื่อมโยงสู่การปฏิสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้เสียรอบกิจการ ที่องค์กรจัดให้มีขึ้นภายใต้จุดมุ่งหมายที่ต้องการสร้างประโยชน์แก่กิจการและผู้มีส่วนได้เสียบนพื้นฐานของการไม่เบียดเบียนกัน การสงเคราะห์ช่วยเหลือตามกำลังและความสามารถของกิจการ อันจะนำไปสู่การยอมรับจากสังคมและความยั่งยืนของกิจการ
CSR จึงเป็นการดูแลรักษาไม่เฉพาะในส่วนที่เป็นกิจการ แต่ยังแผ่ขยายกว้างออกไปครอบคลุมในส่วนที่เป็นผู้มีส่วนได้เสียทั้งหมดที่อยู่โดยรอบกิจการ ด้วยเงื่อนไขของความสำนึกรับผิดชอบต่อสังคมในฐานะนิติพลเมือง (Corporate Citizen) โดยคำนึงถึงประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสียทั้งภายในและภายนอกกิจการอย่างเป็นธรรม เป็นการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมที่มากกว่าการคำนึงถึงเพียงการปฏิบัติตามกฎหมาย
สำหรับบทบาทของธุรกิจต่อกระบวนทัศน์เรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืน (SD) คือ การดำเนินงานอย่างรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมควบคู่กันไปพร้อมกัน ในอันที่จะช่วยเสริมหนุนการทำงานของภาคส่วนอื่นๆ ในสังคม ให้เกิดเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยรวม
เนื่องจาก การประกอบธุรกิจ มีเป้าประสงค์ในการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจเป็นหลัก ความคาดหวังที่จะให้ภาคธุรกิจ ดำเนินงานด้านการพัฒนาสังคมหรือการดูแลสิ่งแวดล้อม จึงไม่อยู่ในวิสัยที่ธุรกิจจะดำเนินงานในแบบเต็มตัว
กลยุทธ์ SD ที่ธุรกิจนำมาใช้ในปัจจุบัน ส่วนใหญ่จึงเป็นการจำกัดความหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน ให้เป็นการประกอบธุรกิจหรือการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจอย่างรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมโดยคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อผู้มีส่วนได้เสียของกิจการ ซึ่งไม่ได้แตกต่างจากกลยุทธ์ CSR แต่ประการใด (กลายเป็นว่า กลยุทธ์ SD = CSR)
ขณะที่เรื่องความยั่งยืน หรือ Sustainability เป็นอีกหนึ่งคำ ที่ภาคธุรกิจหยิบฉวยมาใช้ เพื่อแสดงถึงสถานะของผลการดำเนินงาน ที่สามารถนำไปสู่การสร้างความยั่งยืนของสังคมโดยรวม หรือความยั่งยืนในระดับองค์กร ตามแต่กลยุทธ์ที่นำมาใช้
กระบวนทัศน์เรื่องความยั่งยืน ตามนัยที่ภาคธุรกิจนำมาใช้ เป็นการจัดการในระดับองค์กรหรือระดับห่วงโซ่ธุรกิจ ที่มุ่งหมายให้องค์กรเกิดความยั่งยืนเป็นหลัก โดยมุ่งพัฒนาขีดความสามารถในการรองรับการเติบโตทางธุรกิจ (Carrying Capacity) ซึ่งอาจเกี่ยวข้องหรือไม่เกี่ยวข้องกับการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการก็ได้
กลยุทธ์ความยั่งยืนที่พัฒนาขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการทางธุรกิจหรือประโยชน์ขององค์กร ในกรณีนี้ จึงมีขอบเขตที่แคบกว่ากลยุทธ์ความรับผิดชอบต่อสังคมที่ใช้เพื่อตอบสนองต่อความคาดหวังหรือประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสียในวงกว้าง (กลายเป็นว่า กลยุทธ์ Sustainability < CSR)
หวังว่า คงจะช่วยให้ท่านผู้อ่านคลายความสับสนต่อคำเรียกหลายคำที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้นะครับ
จากบทความ 'หน้าต่าง CSR' ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ [Archived]
Subscribe to:
Posts (Atom)