นับจากที่สถาบันไทยพัฒน์ ในฐานะผู้บุกเบิกการพัฒนาฐานข้อมูลความยั่งยืนของธุรกิจ ได้ริเริ่มสำรวจข้อมูลสถานภาพความยั่งยืนของกิจการในประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2561 ขณะนั้นมีประชากรในกลุ่มสำรวจจำนวน 100 ราย และได้ทยอยเพิ่มกิจการที่ทำการสำรวจเรื่อยมาเป็นลำดับ จนในปีปัจจุบัน มีกิจการที่ได้ทำการสำรวจ อยู่จำนวน 930 ราย
วัตถุประสงค์ของการสำรวจนี้ เป็นไปเพื่อต้องการประมวลพัฒนาการด้านความยั่งยืนของธุรกิจไทย สะท้อนผ่านผลสำรวจของกลุ่มกิจการที่ดำเนินการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืนทั้งในมุมมองที่สอดคล้องกับมาตรฐานการรายงานสากล (GRI) การคำนึงถึงปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) และการตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) ในบริบทของกิจการ
ผลสำรวจปี 67 ครอบคลุม 930 กิจการ
ในปี 2567 สถาบันไทยพัฒน์ ได้ทำการสำรวจข้อมูลความยั่งยืนจากบริษัทจดทะเบียน 838 แห่ง กองทุนและกิจการอื่น ๆ อีก 92 ราย รวมทั้งสิ้น 930 ราย (เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว ที่ทำการสำรวจ 904 ราย) พบว่า การเปิดเผยข้อมูลซึ่งมีสัดส่วนมากสุดอยู่ที่ด้านสังคม 52.68% ด้านสิ่งแวดล้อม 28.70% และด้านเศรษฐกิจ 18.62% ตามลำดับ
หากวิเคราะห์ข้อมูลกิจการที่สำรวจ จำแนกตามกลุ่มอุตสาหกรรม พบว่า กิจการที่ได้คะแนนการดำเนินงาน ESG รวมสูงสุดในสามอันดับแรก ได้แก่ กิจการในกลุ่มธุรกิจการเงิน (4.98 คะแนนจากคะแนนเต็ม 10) รองลงมาเป็นกิจการในกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม (4.83 คะแนน) และกิจการในกลุ่มเทคโนโลยี (4.73 คะแนน) ตามลำดับ
สำหรับประเด็นความยั่งยืนที่มีการเปิดเผยสูงสุดในสามอันดับแรก ได้แก่ การต้านทุจริต 83.33% อาชีวอนามัยและความปลอดภัย 73.33% และการจ้างงาน 71.29% ส่วนการตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ที่ภาคธุรกิจมีการเปิดเผยสูงสุดในสามอันดับแรก ได้แก่ เป้าหมายที่ 5 ความเท่าเทียมทางเพศ เป้าหมายที่ 8 งานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ และเป้าหมายที่ 9 อุตสาหกรรม นวัตกรรม และโครงสร้างพื้นฐาน ตามลำดับ
ไฮไลต์ผลสำรวจความยั่งยืนที่น่าสนใจ
ในการประเมินสถานภาพการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืนของกิจการที่ทำการสำรวจทั้งหมด 930 ราย พบว่า ในปี 2567 มีคะแนนรวมโดยเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 4.13 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วและปีก่อนหน้าที่มีคะแนนรวมโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 3.53 คะแนน (ปี 2566 จากการสำรวจ 904 ราย) และ 2.46 คะแนน (ปี 2565 จากการสำรวจ 854 ราย)
เมื่อพิจารณาผลสำรวจโดยใช้ประเด็นความยั่งยืนตามมาตรฐาน GRI พบว่ากิจการกว่าครึ่ง (52.15%) มีการเปิดเผยข้อมูลในประเด็นมลอากาศ (Emissions) แต่มีเพียง 7.63% ที่มีการรายงานเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) และพบว่า ยังมีไม่ถึง 10% ที่เปิดเผยข้อมูลการประเมินด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมของผู้ส่งมอบ (Supplier Environmental / Social Assessment)
สำหรับการประเมินสาระสำคัญ (Materiality Assessment) เพื่อระบุประเด็นความยั่งยืนสำหรับการดำเนินงานและการรายงานของกิจการ พบว่า 61% ของกิจการที่ถูกสำรวจ ยังไม่มีการประเมินสาระสำคัญ ส่วนกิจการที่มีการประเมินสาระสำคัญมีจำนวน 37% และมีเพียง 2% ที่มีการประเมินสาระสำคัญสองนัย (Double Materiality Assessment)
โดยในจำนวน 2% ที่มีการประเมินสาระสำคัญสองนัย พบว่า มีกิจการถึง 4 ใน 5 แห่ง ที่ยังมีการประเมินสาระสำคัญสองนัย ไม่สอดคล้องตามหลักการที่ควรจะเป็น
สาระสำคัญสองนัย (Double Materiality) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ‘ทวิสารัตถภาพ’ เป็นการระบุประเด็นสาระสำคัญตามนัยทางการเงิน (Financial) อันเกิดจากปัจจัยความยั่งยืนที่มีต่อการสร้างคุณค่ากิจการ และประเด็นสาระสำคัญตามนัยของผลกระทบ (Impact) อันเกิดจากการประกอบการที่มีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม สำหรับเป็นข้อมูลให้กิจการนำไปใช้ดำเนินการเพื่อมุ่งสู่ความยั่งยืน ซึ่งได้กลายเป็นหลักการที่ถูกบรรจุอยู่ในมาตรฐานระหว่างประเทศ อาทิ มาตรฐาน ESRS (European Sustainability Reporting Standards) ที่กำหนดให้กิจการซึ่งอยู่ในข่ายต้องดำเนินการตามหลักการดังกล่าว
โดยหลักการสำคัญ 2 ประการของทวิสารัตถภาพ ได้แก่ ประการแรก การประเมินประเด็นที่เป็นสาระสำคัญตามนัยทางการเงินและตามนัยของผลกระทบ ควรได้รับการพิจารณาให้ลำดับความสำคัญตามเกณฑ์ที่ขึ้นกับนัยนั้น ๆ แยกต่างหากจากกัน (ไม่ใช้เกณฑ์ร่วม) และประการที่สอง ประเด็นที่เป็นสาระสำคัญมาจากการรวมประเด็น (Union) ที่ได้จากการประเมินว่าสำคัญในแต่ละนัย มิได้มาจากการคัดเฉพาะประเด็นสำคัญที่ตรงกัน (Intersection) ในทั้งสองนัย
สำหรับข้อมูลผลสำรวจอื่น ๆ ที่น่าสนใจ สามารถติดตามได้ทางเว็บไซต์ของสถาบันไทยพัฒน์ (https://thaipat.org) ในเมนู ‘ความยั่งยืน’ ภายใต้หัวข้อ ‘รายงานสถานภาพความยั่งยืน’ ได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
จากบทความ 'Sustainpreneur' ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ [Archived]
Saturday, November 30, 2024
Saturday, November 16, 2024
เวที COP 29 ไฟเขียวรับมาตรฐานกลไกตลาดคาร์บอน
ในช่วงสองสัปดาห์นี้ (11-22 พ.ย.) ได้มีการจัดประชุม COP 29 หรือการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 29 ณ กรุงบากู สาธารณรัฐอาเซอร์ไบจาน
COP หรือ Conference of Parties เป็นการประชุมประจำปีเพื่อหารือรายละเอียดความร่วมมือ และกำหนดทิศทางการดำเนินงานเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศของประชาคมโลก โดยหนึ่งในความคืบหน้าสำคัญในการประชุมครั้งนี้ (ณ วันที่เผยแพร่บทความ) ได้แก่ การรับมาตรฐานกลไกตลาดคาร์บอนที่เป็นไปตามบทบัญญัติของความตกลงปารีส ในข้อ 6 ย่อหน้า 4 (Article 6.4)
ด้วยการซื้อขายคาร์บอนเครดิตผ่านกลไกที่เห็นชอบโดยองค์กรกำกับดูแล (Supervisory Body) ที่แต่งตั้งขึ้นโดยรัฐภาคีความตกลงปารีส (CMA) จะเปิดโอกาสให้เกิดการไหลเวียนของเงินทุนไปยังผู้พัฒนาโครงการลดก๊าซเรือนกระจกที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะสามารถช่วยลดต้นทุนในการดำเนินงานตามการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด (NDC) ภายใต้ความตกลงปารีส ลงได้ราว 2.5 แสนล้านเหรียญต่อปี
ก่อนหน้านี้ ข้อเสนอแนะเรื่องกลไกตลาดคาร์บอนที่จัดทำโดยองค์กรกำกับดูแล ไม่ได้ถูกรับรอง (Adopt) จากที่ประชุมรัฐภาคีความตกลงปารีส ติดต่อกัน 2 สมัย (ค.ศ. 2022-2023) ทำให้ในสมัยประชุมนี้ องค์กรกำกับดูแลเลือกใช้วิธีรับรองข้อเสนอแนะของตนเอง และแปลงเป็นมาตรฐาน 2 ฉบับ คือ มาตรฐานข้อกำหนดสำหรับการพัฒนาและการประเมินระเบียบวิธี (Methodologies) ตามกลไกข้อ 6.4 และมาตรฐานข้อกำหนดสำหรับกิจกรรมที่เกี่ยวกับการกำจัดก๊าซเรือนกระจก (Removals) ภายใต้กลไกข้อ 6.4 โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 9 ตุลาคม 2567 ก่อนสมัยประชุม CMA จากนั้น จึงส่งให้ที่ประชุมรัฐภาคีความตกลงฯ รับทราบ
ทั้งนี้ ได้มีข้อสังเกตจากหลายฝ่ายว่า กระบวนการรับรองดังกล่าว รวบรัดและขาดความโปร่งใส เนื่องจากไม่เปิดให้รัฐภาคีได้มีโอกาสพิจารณาเนื้อหาและสามารถอภิปรายในวงกว้าง
ผลที่คาดว่าจะตามมาในบริบทของธุรกิจ คือ การซื้อขายคาร์บอนเครดิตผ่านกลไกที่เห็นชอบโดยองค์กรกำกับดูแลที่แต่งตั้งขึ้นโดยรัฐภาคีความตกลงปารีส จะกลายเป็นบรรทัดฐานของตลาดซื้อขายคาร์บอนภายใต้กลไกที่เป็นทางการ ซึ่งเป็นที่ยอมรับมากกว่ากลไกตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจ (Voluntary Carbon Market: VCM) ที่ใช้มาตรฐานอิสระ ดังที่มีอยู่ในปัจจุบัน
โดยจะเห็นได้จากมูลค่าตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจ ในปีที่ผ่านมา (ค.ศ. 2023) มีตัวเลขอยู่ที่ 723 ล้านเหรียญ ลดลงจากมูลค่าในปีก่อนหน้า (ค.ศ. 2022) ที่มีอยู่ราว 2 พันล้านเหรียญ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลจากข้อกังวลในเรื่องคุณภาพเครดิต รวมถึงระเบียบวิธีและความน่าเชื่อถือของโครงการ และยังส่งผลไปถึงการกดดันราคาซื้อขายคาร์บอนเครดิตในตลาดภาคสมัครใจด้วย
ด้วยกลไกตลาดคาร์บอนที่มีการรับรองโดยองค์กรกำกับดูแลภายใต้ความตกลงปารีส เชื่อว่าน่าจะส่งผลดีต่อการซื้อขายคาร์บอนเครดิตในเรื่องเสถียรภาพราคา และการพัฒนาโครงการลดก๊าซเรือนกระจก (Reductions) และโครงการกำจัดก๊าซเรือนกระจก (Removals) ในเรื่องมาตรฐานของกลไกที่จัดตั้งขึ้นภายใต้อนุสัญญาฯ ซึ่งเป็นที่ยอมรับร่วมกัน
โดยการประกาศรับรองกลไกตลาดคาร์บอนที่เกิดขึ้นในสมัยประชุมนี้ จะเอื้อให้องค์กรกำกับดูแลสามารถเตรียมการเพื่อเปิดให้ขึ้นทะเบียนระเบียบวิธีตามกลไกข้อ 6.4 ได้ภายในครึ่งหลังของปีหน้า (ค.ศ. 2025) หลังจากที่หาข้อยุติไม่ได้มาร่วม 2 ปี
อย่างไรก็ดี ยังมีเอกสารร่างข้อบท (draft text) เกี่ยวกับกลไกตลาดตามข้อ 6.4 จากองค์กรย่อยเพื่อคำแนะนำทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (SBSTA) ซึ่งทำหน้าที่นำเสนอข้อมูลและคำแนะนำให้ CMA ที่ยังคงเว้นทางเลือกไว้ในหลายหัวข้อ และเนื้อหาในวงเล็บอีกหลายเรื่องที่รอการตัดสินใจ
ทั้งนี้ การเร่งรัดดำเนินการรับมาตรฐานที่เกี่ยวกับกลไกตลาดตามข้อ 6.4 ในสมัยประชุมนี้ ก็เป็นไปเพื่อสนับสนุนเป้าหมายที่จะต้องบรรลุ Carbon Halving ให้ได้ภายในทศวรรษนี้ หรือ คือการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ครึ่งหนึ่งในปี ค.ศ. 2030 เพื่อให้สามารถควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิของโลกไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียส
สำหรับผู้สนใจเนื้อหาการประชุมในส่วนที่เป็นเอกสารร่างข้อตัดสินใจ (draft decision) ว่าด้วยการแนะแนวกลไกตามความตกลงปารีส ข้อ 6 ย่อหน้า 4 สามารถติดตามได้จากลิงก์ https://unfccc.int/documents/642623
จากบทความ 'Sustainpreneur' ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ [Archived]
COP หรือ Conference of Parties เป็นการประชุมประจำปีเพื่อหารือรายละเอียดความร่วมมือ และกำหนดทิศทางการดำเนินงานเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศของประชาคมโลก โดยหนึ่งในความคืบหน้าสำคัญในการประชุมครั้งนี้ (ณ วันที่เผยแพร่บทความ) ได้แก่ การรับมาตรฐานกลไกตลาดคาร์บอนที่เป็นไปตามบทบัญญัติของความตกลงปารีส ในข้อ 6 ย่อหน้า 4 (Article 6.4)
ด้วยการซื้อขายคาร์บอนเครดิตผ่านกลไกที่เห็นชอบโดยองค์กรกำกับดูแล (Supervisory Body) ที่แต่งตั้งขึ้นโดยรัฐภาคีความตกลงปารีส (CMA) จะเปิดโอกาสให้เกิดการไหลเวียนของเงินทุนไปยังผู้พัฒนาโครงการลดก๊าซเรือนกระจกที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะสามารถช่วยลดต้นทุนในการดำเนินงานตามการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด (NDC) ภายใต้ความตกลงปารีส ลงได้ราว 2.5 แสนล้านเหรียญต่อปี
ก่อนหน้านี้ ข้อเสนอแนะเรื่องกลไกตลาดคาร์บอนที่จัดทำโดยองค์กรกำกับดูแล ไม่ได้ถูกรับรอง (Adopt) จากที่ประชุมรัฐภาคีความตกลงปารีส ติดต่อกัน 2 สมัย (ค.ศ. 2022-2023) ทำให้ในสมัยประชุมนี้ องค์กรกำกับดูแลเลือกใช้วิธีรับรองข้อเสนอแนะของตนเอง และแปลงเป็นมาตรฐาน 2 ฉบับ คือ มาตรฐานข้อกำหนดสำหรับการพัฒนาและการประเมินระเบียบวิธี (Methodologies) ตามกลไกข้อ 6.4 และมาตรฐานข้อกำหนดสำหรับกิจกรรมที่เกี่ยวกับการกำจัดก๊าซเรือนกระจก (Removals) ภายใต้กลไกข้อ 6.4 โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 9 ตุลาคม 2567 ก่อนสมัยประชุม CMA จากนั้น จึงส่งให้ที่ประชุมรัฐภาคีความตกลงฯ รับทราบ
ทั้งนี้ ได้มีข้อสังเกตจากหลายฝ่ายว่า กระบวนการรับรองดังกล่าว รวบรัดและขาดความโปร่งใส เนื่องจากไม่เปิดให้รัฐภาคีได้มีโอกาสพิจารณาเนื้อหาและสามารถอภิปรายในวงกว้าง
ผลที่คาดว่าจะตามมาในบริบทของธุรกิจ คือ การซื้อขายคาร์บอนเครดิตผ่านกลไกที่เห็นชอบโดยองค์กรกำกับดูแลที่แต่งตั้งขึ้นโดยรัฐภาคีความตกลงปารีส จะกลายเป็นบรรทัดฐานของตลาดซื้อขายคาร์บอนภายใต้กลไกที่เป็นทางการ ซึ่งเป็นที่ยอมรับมากกว่ากลไกตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจ (Voluntary Carbon Market: VCM) ที่ใช้มาตรฐานอิสระ ดังที่มีอยู่ในปัจจุบัน
โดยจะเห็นได้จากมูลค่าตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจ ในปีที่ผ่านมา (ค.ศ. 2023) มีตัวเลขอยู่ที่ 723 ล้านเหรียญ ลดลงจากมูลค่าในปีก่อนหน้า (ค.ศ. 2022) ที่มีอยู่ราว 2 พันล้านเหรียญ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลจากข้อกังวลในเรื่องคุณภาพเครดิต รวมถึงระเบียบวิธีและความน่าเชื่อถือของโครงการ และยังส่งผลไปถึงการกดดันราคาซื้อขายคาร์บอนเครดิตในตลาดภาคสมัครใจด้วย
ด้วยกลไกตลาดคาร์บอนที่มีการรับรองโดยองค์กรกำกับดูแลภายใต้ความตกลงปารีส เชื่อว่าน่าจะส่งผลดีต่อการซื้อขายคาร์บอนเครดิตในเรื่องเสถียรภาพราคา และการพัฒนาโครงการลดก๊าซเรือนกระจก (Reductions) และโครงการกำจัดก๊าซเรือนกระจก (Removals) ในเรื่องมาตรฐานของกลไกที่จัดตั้งขึ้นภายใต้อนุสัญญาฯ ซึ่งเป็นที่ยอมรับร่วมกัน
โดยการประกาศรับรองกลไกตลาดคาร์บอนที่เกิดขึ้นในสมัยประชุมนี้ จะเอื้อให้องค์กรกำกับดูแลสามารถเตรียมการเพื่อเปิดให้ขึ้นทะเบียนระเบียบวิธีตามกลไกข้อ 6.4 ได้ภายในครึ่งหลังของปีหน้า (ค.ศ. 2025) หลังจากที่หาข้อยุติไม่ได้มาร่วม 2 ปี
อย่างไรก็ดี ยังมีเอกสารร่างข้อบท (draft text) เกี่ยวกับกลไกตลาดตามข้อ 6.4 จากองค์กรย่อยเพื่อคำแนะนำทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (SBSTA) ซึ่งทำหน้าที่นำเสนอข้อมูลและคำแนะนำให้ CMA ที่ยังคงเว้นทางเลือกไว้ในหลายหัวข้อ และเนื้อหาในวงเล็บอีกหลายเรื่องที่รอการตัดสินใจ
ทั้งนี้ การเร่งรัดดำเนินการรับมาตรฐานที่เกี่ยวกับกลไกตลาดตามข้อ 6.4 ในสมัยประชุมนี้ ก็เป็นไปเพื่อสนับสนุนเป้าหมายที่จะต้องบรรลุ Carbon Halving ให้ได้ภายในทศวรรษนี้ หรือ คือการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ครึ่งหนึ่งในปี ค.ศ. 2030 เพื่อให้สามารถควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิของโลกไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียส
สำหรับผู้สนใจเนื้อหาการประชุมในส่วนที่เป็นเอกสารร่างข้อตัดสินใจ (draft decision) ว่าด้วยการแนะแนวกลไกตามความตกลงปารีส ข้อ 6 ย่อหน้า 4 สามารถติดตามได้จากลิงก์ https://unfccc.int/documents/642623
จากบทความ 'Sustainpreneur' ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ [Archived]
Saturday, November 02, 2024
15 บริษัทใน SET50 ต้องเปิดข้อมูล Biodiversity ภายในปี 2573
เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม – 1 พฤศจิกายน 2567 ได้มีการจัดประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ สมัยที่ 16 (Sixteenth meeting of the Conference of the Parties to the Convention on Biological Diversity : CBD COP 16) ณ เมืองซานเตียโก เด กาลิ สาธารณรัฐโคลอมเบีย
CBD มีการจัดประชุมสมัชชาภาคี หรือ Conference of the Parties: COP เป็นประจำทุก 2 ปี เพื่อกำหนดทิศทางและติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานด้านความหลากหลายทางชีวภาพของประชาคมโลก รวมทั้งเสนอแนวทางต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนประเทศภาคีจำนวน 196 ประเทศ ให้สามารถดำเนินการเพื่อบรรลุตามวัตถุประสงค์ของอนุสัญญาฯ
สืบเนื่องจากการประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ สมัยที่ 15 (CBD COP 15) เมื่อเดือนธันวาคม 2565 ได้รับรองกรอบงานคุนหมิง-มอนทรีออลว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพของโลก (Kunming-Montreal Global Biodiversity Framework: KM-GBF) เพื่อเป็นกรอบให้ภาคีนำไปจัดทำเป้าหมายชาติ (National Targets) และแผนปฏิบัติการด้านความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศ (National Biodiversity Strategies and Action Plans: NBSAP)
เลขาธิการสหประชาชาติ Antonio Guterres ได้กล่าวถึงความสำคัญของการประชุม CBD COP 16 ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการดำเนินงานตาม KM-GBF โดยขอให้ภาคีอนุสัญญาฯ หารือถึงวิธีการที่จะนำแผนไปสู่การปฏิบัติ การระดมทรัพยากรทางการเงินให้เพียงพอสำหรับการดำเนินงาน การพิจารณากลไกสำหรับข้อมูลดิจิทัลของลำดับพันธุกรรมที่จะส่งผลต่อเศรษฐกิจและภาคอุตสาหกรรม รวมถึงการปฏิบัติของชนพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่นในการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน
โดยประเทศไทย ได้เข้าร่วมขับเคลื่อนการดำเนินงานตามกรอบงานคุนหมิง-มอนทรีออลว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพของโลก ใน 3 ประเด็นสำคัญระหว่างการประชุม CBD COP 16 ได้แก่
ประเด็นกลไกการเงินด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ได้มีการนำเสนอเเละเเลกเปลี่ยนการดำเนินงาน ร่วมกับภาคการเงินการธนาคารในการระดมทุน เพื่อมุ่งสู่ธรรมชาติเชิงบวก (nature positive) เพื่อปิดช่องว่างทางการเงิน ผ่านทางผลิตภัณฑ์และการศึกษา เพื่อวางเเนวทางการออกตราสารหนี้เพื่อธรรมชาติ การจัดทำอนุกรมวิธานทางการเงิน การศึกษาประเมินความเสี่ยง และการพึ่งพาความหลากหลายทางชีวภาพของภาคธุรกิจ
ประเด็นแผนปฏิบัติการด้านความหลากหลายทางชีวภาพและเป้าหมายระดับชาติด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ได้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การจัดทำแผนปฏิบัติการด้านความหลากหลายทางชีวภาพ และเป้าหมายระดับชาติด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ร่วมกับประเทศสมาชิกอาเซียน และร่วมเปิดตัวแผนอาเซียนว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ
ประเด็นการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพนอกเขตพื้นที่คุ้มครอง (OECMs) ได้มีการเเลกเปลี่ยนประสบการณ์การดำเนินงานด้านพื้นที่ OECMs โดยเน้นย้ำบทบาทของภาครัฐในการส่งเสริม สนับสนุนให้เกิดหุ้นส่วนความร่วมมือและเครือข่ายการทำงาน เพื่อปิดช่องว่าง ขยายโอกาส และแสวงหากลไกสนับสนุนการทำงาน
ก่อนหน้านี้ ได้มีการประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านการดำเนินงาน ครั้งที่ 5 (the Fifth meeting of the Subsidiary Body on Implementation: SBI5) ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 15-18 ตุลาคม 2567 ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อยกร่างเอกสารการวิเคราะห์เป้าหมายและแผนปฏิบัติการด้านความหลากหลายทางชีวภาพระดับชาติ รวมถึงเอกสารข้อเสนอแนะในการดำเนินงานตามเป้าหมายและแผนปฏิบัติการฯ ได้มีข้อเสนอให้ริเริ่มกลไกการระดมทรัพยากรทางการเงินรูปแบบใหม่ ๆ เพื่อใช้ในการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน เช่น biodiversity finance, investment for green initiatives, synergies carbon credit for biodiversity conservation เพื่อนำเสนอให้ CBD COP 16 พิจารณาเป็นมติที่ประชุม สำหรับภาคีอนุสัญญาฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปดำเนินงานต่อไป
และเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2567 คณะรัฐมนตรี ได้มีมติเห็นชอบ (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านความหลากหลายทางชีวภาพระดับชาติ พ.ศ. 2566 - 2570 (ประกอบด้วย 3 ยุทธศาสตร์ 12 เป้าหมาย) และเป้าหมายระดับชาติด้านความหลากหลายทางชีวภาพ พ.ศ. 2573 (ค.ศ. 2030) จำนวน 4 เป้าหมาย ได้แก่ เป้าหมายแรก มีพื้นที่คุ้มครองและพื้นที่อนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพนอกเขตพื้นที่คุ้มครอง (OECMs) ของประเทศ ทั้งบนบกและในทะเล อย่างน้อยร้อยละ 30 เป้าหมายที่สอง ดัชนีสถานภาพชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคาม (Red List index) ไม่น้อยลง จากข้อมูลปีฐาน พ.ศ. 2568 เป้าหมายที่สาม มีมาตรการในการจัดการสิ่งมีชีวิตต่างถิ่นที่รุกรานที่มีลำดับความสำคัญสูงอย่างน้อยร้อยละ 35 และเป้าหมายที่สี่ สัดส่วนของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในกลุ่ม SET50 ที่เปิดเผยข้อมูลการดำเนินธุรกิจที่เชื่อมโยงกับความหลากหลายทางชีวภาพโดยสมัครใจ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 30
โดยในเป้าหมายที่สี่นี้ หมายความว่า จะมีอย่างน้อย 15 บริษัทจดทะเบียน ที่ต้องมีการเปิดเผยข้อมูลการดำเนินธุรกิจที่เชื่อมโยงกับความหลากหลายทางชีวภาพโดยสมัครใจ ภายในปี พ.ศ. 2573 หรือภายในอีก 6 ปี นับจากนี้
องค์การแห่งความริเริ่มว่าด้วยการรายงานสากล (Global Reporting Initiative: GRI) ในฐานะผู้กำหนดมาตรฐานการรายงานแห่งความยั่งยืน (Sustainability Report) ได้ออกมาตรฐาน GRI 101: Biodiversity 2024 ที่สอดคล้องกับกรอบงานคุนหมิง-มอนทรีออลว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพของโลก เพื่อช่วยองค์กรธุรกิจทำความเข้าใจถึงการตัดสินใจและการดำเนินงานทางธุรกิจที่อาจนำไปสู่การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ ผลกระทบที่เกิดขึ้นในสายคุณค่า และวิธีการในการจัดการผลกระทบดังกล่าว
มาตรฐาน GRI 101: Biodiversity 2024 ประกอบด้วยรายการเปิดเผยข้อมูล 8 รายการ ได้แก่ Disclosure 101-1: นโยบายการหยุดหรือผันกลับการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ Disclosure 101-2: การจัดการผลกระทบด้านความหลากหลายทางชีวภาพ Disclosure 101-3: การเข้าถึงและปันส่วนประโยชน์ Disclosure 101-4: การระบุผลกระทบด้านความหลากหลายทางชีวภาพ Disclosure 101-5: ทำเลที่ตั้งกับผลกระทบด้านความหลากหลายทางชีวภาพ Disclosure 101-6: ปัจจัยขับทางตรงต่อการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ Disclosure 101-7: การเปลี่ยนแปลงภาวะความหลากหลายทางชีวภาพ Disclosure 101-8: บริการทางระบบนิเวศ
องค์กรธุรกิจที่สนใจในมาตรฐานดังกล่าว สามารถดาวน์โหลดได้ที่ GRI Topic Standard for Biodiversity (ไม่มีค่าใช้จ่าย) ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
จากบทความ 'Sustainpreneur' ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ [Archived]
CBD มีการจัดประชุมสมัชชาภาคี หรือ Conference of the Parties: COP เป็นประจำทุก 2 ปี เพื่อกำหนดทิศทางและติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานด้านความหลากหลายทางชีวภาพของประชาคมโลก รวมทั้งเสนอแนวทางต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนประเทศภาคีจำนวน 196 ประเทศ ให้สามารถดำเนินการเพื่อบรรลุตามวัตถุประสงค์ของอนุสัญญาฯ
สืบเนื่องจากการประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ สมัยที่ 15 (CBD COP 15) เมื่อเดือนธันวาคม 2565 ได้รับรองกรอบงานคุนหมิง-มอนทรีออลว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพของโลก (Kunming-Montreal Global Biodiversity Framework: KM-GBF) เพื่อเป็นกรอบให้ภาคีนำไปจัดทำเป้าหมายชาติ (National Targets) และแผนปฏิบัติการด้านความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศ (National Biodiversity Strategies and Action Plans: NBSAP)
เลขาธิการสหประชาชาติ Antonio Guterres ได้กล่าวถึงความสำคัญของการประชุม CBD COP 16 ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการดำเนินงานตาม KM-GBF โดยขอให้ภาคีอนุสัญญาฯ หารือถึงวิธีการที่จะนำแผนไปสู่การปฏิบัติ การระดมทรัพยากรทางการเงินให้เพียงพอสำหรับการดำเนินงาน การพิจารณากลไกสำหรับข้อมูลดิจิทัลของลำดับพันธุกรรมที่จะส่งผลต่อเศรษฐกิจและภาคอุตสาหกรรม รวมถึงการปฏิบัติของชนพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่นในการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน
โดยประเทศไทย ได้เข้าร่วมขับเคลื่อนการดำเนินงานตามกรอบงานคุนหมิง-มอนทรีออลว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพของโลก ใน 3 ประเด็นสำคัญระหว่างการประชุม CBD COP 16 ได้แก่
ประเด็นกลไกการเงินด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ได้มีการนำเสนอเเละเเลกเปลี่ยนการดำเนินงาน ร่วมกับภาคการเงินการธนาคารในการระดมทุน เพื่อมุ่งสู่ธรรมชาติเชิงบวก (nature positive) เพื่อปิดช่องว่างทางการเงิน ผ่านทางผลิตภัณฑ์และการศึกษา เพื่อวางเเนวทางการออกตราสารหนี้เพื่อธรรมชาติ การจัดทำอนุกรมวิธานทางการเงิน การศึกษาประเมินความเสี่ยง และการพึ่งพาความหลากหลายทางชีวภาพของภาคธุรกิจ
ประเด็นแผนปฏิบัติการด้านความหลากหลายทางชีวภาพและเป้าหมายระดับชาติด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ได้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การจัดทำแผนปฏิบัติการด้านความหลากหลายทางชีวภาพ และเป้าหมายระดับชาติด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ร่วมกับประเทศสมาชิกอาเซียน และร่วมเปิดตัวแผนอาเซียนว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ
ประเด็นการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพนอกเขตพื้นที่คุ้มครอง (OECMs) ได้มีการเเลกเปลี่ยนประสบการณ์การดำเนินงานด้านพื้นที่ OECMs โดยเน้นย้ำบทบาทของภาครัฐในการส่งเสริม สนับสนุนให้เกิดหุ้นส่วนความร่วมมือและเครือข่ายการทำงาน เพื่อปิดช่องว่าง ขยายโอกาส และแสวงหากลไกสนับสนุนการทำงาน
ก่อนหน้านี้ ได้มีการประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านการดำเนินงาน ครั้งที่ 5 (the Fifth meeting of the Subsidiary Body on Implementation: SBI5) ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 15-18 ตุลาคม 2567 ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อยกร่างเอกสารการวิเคราะห์เป้าหมายและแผนปฏิบัติการด้านความหลากหลายทางชีวภาพระดับชาติ รวมถึงเอกสารข้อเสนอแนะในการดำเนินงานตามเป้าหมายและแผนปฏิบัติการฯ ได้มีข้อเสนอให้ริเริ่มกลไกการระดมทรัพยากรทางการเงินรูปแบบใหม่ ๆ เพื่อใช้ในการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน เช่น biodiversity finance, investment for green initiatives, synergies carbon credit for biodiversity conservation เพื่อนำเสนอให้ CBD COP 16 พิจารณาเป็นมติที่ประชุม สำหรับภาคีอนุสัญญาฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปดำเนินงานต่อไป
และเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2567 คณะรัฐมนตรี ได้มีมติเห็นชอบ (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านความหลากหลายทางชีวภาพระดับชาติ พ.ศ. 2566 - 2570 (ประกอบด้วย 3 ยุทธศาสตร์ 12 เป้าหมาย) และเป้าหมายระดับชาติด้านความหลากหลายทางชีวภาพ พ.ศ. 2573 (ค.ศ. 2030) จำนวน 4 เป้าหมาย ได้แก่ เป้าหมายแรก มีพื้นที่คุ้มครองและพื้นที่อนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพนอกเขตพื้นที่คุ้มครอง (OECMs) ของประเทศ ทั้งบนบกและในทะเล อย่างน้อยร้อยละ 30 เป้าหมายที่สอง ดัชนีสถานภาพชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคาม (Red List index) ไม่น้อยลง จากข้อมูลปีฐาน พ.ศ. 2568 เป้าหมายที่สาม มีมาตรการในการจัดการสิ่งมีชีวิตต่างถิ่นที่รุกรานที่มีลำดับความสำคัญสูงอย่างน้อยร้อยละ 35 และเป้าหมายที่สี่ สัดส่วนของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในกลุ่ม SET50 ที่เปิดเผยข้อมูลการดำเนินธุรกิจที่เชื่อมโยงกับความหลากหลายทางชีวภาพโดยสมัครใจ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 30
โดยในเป้าหมายที่สี่นี้ หมายความว่า จะมีอย่างน้อย 15 บริษัทจดทะเบียน ที่ต้องมีการเปิดเผยข้อมูลการดำเนินธุรกิจที่เชื่อมโยงกับความหลากหลายทางชีวภาพโดยสมัครใจ ภายในปี พ.ศ. 2573 หรือภายในอีก 6 ปี นับจากนี้
องค์การแห่งความริเริ่มว่าด้วยการรายงานสากล (Global Reporting Initiative: GRI) ในฐานะผู้กำหนดมาตรฐานการรายงานแห่งความยั่งยืน (Sustainability Report) ได้ออกมาตรฐาน GRI 101: Biodiversity 2024 ที่สอดคล้องกับกรอบงานคุนหมิง-มอนทรีออลว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพของโลก เพื่อช่วยองค์กรธุรกิจทำความเข้าใจถึงการตัดสินใจและการดำเนินงานทางธุรกิจที่อาจนำไปสู่การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ ผลกระทบที่เกิดขึ้นในสายคุณค่า และวิธีการในการจัดการผลกระทบดังกล่าว
มาตรฐาน GRI 101: Biodiversity 2024 ประกอบด้วยรายการเปิดเผยข้อมูล 8 รายการ ได้แก่ Disclosure 101-1: นโยบายการหยุดหรือผันกลับการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ Disclosure 101-2: การจัดการผลกระทบด้านความหลากหลายทางชีวภาพ Disclosure 101-3: การเข้าถึงและปันส่วนประโยชน์ Disclosure 101-4: การระบุผลกระทบด้านความหลากหลายทางชีวภาพ Disclosure 101-5: ทำเลที่ตั้งกับผลกระทบด้านความหลากหลายทางชีวภาพ Disclosure 101-6: ปัจจัยขับทางตรงต่อการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ Disclosure 101-7: การเปลี่ยนแปลงภาวะความหลากหลายทางชีวภาพ Disclosure 101-8: บริการทางระบบนิเวศ
องค์กรธุรกิจที่สนใจในมาตรฐานดังกล่าว สามารถดาวน์โหลดได้ที่ GRI Topic Standard for Biodiversity (ไม่มีค่าใช้จ่าย) ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
จากบทความ 'Sustainpreneur' ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ [Archived]
Saturday, October 19, 2024
รายงานความยั่งยืน ช่วยเพิ่มผลลัพธ์ทางสังคม
องค์การแห่งความริเริ่มว่าด้วยการรายงานสากล (Global Reporting Initiative: GRI) และกลุ่มพันธมิตรเกณฑ์เทียบระดับโลก (World Benchmarking Alliance: WBA) ได้เผยแพร่เอกสารรายงานวิจัยร่วม ที่มีชื่อว่า How to strengthen corporate accountability: The case for unlocking sustainable corporate performance through mandatory corporate reporting
รายงานวิจัยฉบับนี้ เป็นการสำรวจความเชื่อมโยงระหว่างการใช้มาตรฐาน GRI และผลการดำเนินงานด้านสังคมของกิจการ ผ่านตัวชี้วัดหลักด้านสังคม (Core Social Indicators: CSI) ในระบบเทียบสมรรถนะของ WBA ที่ใช้จัดอันดับบริษัทที่โดดเด่นจำนวน 2,000 แห่ง ซึ่งมีส่วนสนับสนุนความยั่งยืนทางสังคม โดยมุ่งเน้นเรื่องสิทธิมนุษยชน งานที่มีคุณค่า และการปฏิบัติอย่างมีจริยธรรม
โดยตัวชี้วัดหลักด้านสังคมของ WBA ที่ใช้ประเมินในการวิจัย ประกอบด้วย ตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนจำนวน 8 ตัว ตัวชี้วัดงานที่มีคุณค่าจำนวน 6 ตัว และตัวชี้วัดการปฏิบัติอย่างมีจริยธรรมจำนวน 4 ตัว รวมทั้งสิ้น 18 ตัวชี้วัด
ผลวิจัยชี้ให้เห็นถึงความเกี่ยวโยงที่เข้มแข็งระหว่างการใช้มาตรฐานการรายงานที่สากลยอมรับ กับการปรับปรุงผลลัพธ์ด้านความยั่งยืนทางสังคม ทั้งนี้ มีหลักฐานชี้ชัดว่าบริษัทที่เผยแพร่รายงานแห่งความยั่งยืนที่มีดัชนีสารบัญ GRI จะมีค่าตัวชี้วัดหลักด้านสังคม หรือ CSI สูงกว่าบริษัทอื่น อยู่ไม่น้อยกว่า 47% จากการเทียบสมรรถนะทางสังคมของ WBA
ขณะที่กิจการซึ่งมีการรายงานที่เป็นไปตาม (in accordance) มาตรฐาน GRI มีผลการดำเนินงานที่โดดเด่นอย่างสม่ำเสมอ เหนือกว่ากิจการที่มีเพียงการอ้างอิง (with reference) ตัวมาตรฐาน โดยบริษัทที่มีผลคะแนน CSI สูงสุด มีค่าสหสัมพันธ์กับกลุ่มที่ใช้มาตรฐาน GRI สำหรับการรายงาน
จากข้อมูล CSI ที่รวบรวมทั้งหมด 1,665 กิจการ จากบริษัทที่โดดเด่นจำนวน 2,000 แห่ง พบว่า บริษัทที่มีการจัดทำมีดัชนีสารบัญ GRI ในรายงาน มีจำนวน 977 กิจการ (59%) และที่ไม่มีการจัดทำมีดัชนีสารบัญ GRI ในรายงาน มีจำนวน 688 กิจการ (41%)
ในกลุ่มที่มีการเผยแพร่ดัชนีสารบัญ GRI พบว่า มีบริษัทที่ระบุถึงการใช้มาตรฐาน GRI ด้วยรูปแบบ In accordance จำนวน 436 กิจการ (26%) รองลงมาเป็นรูปแบบ With reference จำนวน 254 กิจการ (15%) ตามด้วยรูปแบบอื่น จำนวน 274 กิจการ (17%) และแบบที่ไม่มีการระบุ จำนวน 13 กิจการ (1%) ตามลำดับ
ในกลุ่มที่ไม่มีการเผยแพร่ดัชนีสารบัญ GRI พบว่า มีบริษัทที่ไม่มีการระบุถึงรูปแบบการใช้มาตรฐาน GRI จำนวน 606 กิจการ (36%) และมีบริษัทที่มีการระบุถึงการใช้มาตรฐาน GRI ด้วยรูปแบบอื่น จำนวน 82 กิจการ (5%) ตามลำดับ
โดยค่าเฉลี่ย CSI ในกลุ่มบริษัทที่มีการเผยแพร่ดัชนีสารบัญ GRI พบว่า กลุ่มที่มีการระบุถึงการใช้มาตรฐาน GRI ด้วยรูปแบบ In accordance มีคะแนนสูงสุดอยู่ที่ 6.6 คะแนน รองลงมาเป็นกลุ่มที่มีการระบุถึงการใช้มาตรฐาน GRI ด้วยรูปแบบ With reference อยู่ที่ 6.1 คะแนน ตามด้วยกลุ่มที่มีการระบุถึงการใช้มาตรฐาน GRI ด้วยรูปแบบอื่น 5.3 คะแนน และกลุ่มที่ไม่มีการระบุถึงรูปแบบการใช้มาตรฐาน GRI 4.8 คะแนน ตามลำดับ
ขณะที่ ค่าเฉลี่ย CSI ในกลุ่มบริษัทที่ไม่มีการเผยแพร่ดัชนีสารบัญ GRI พบว่า กลุ่มที่มีการระบุถึงการใช้มาตรฐาน GRI ด้วยรูปแบบอื่น มีคะแนนอยู่ที่ 3.9 คะแนน ตามด้วยกลุ่มที่ไม่มีการระบุถึงรูปแบบการใช้มาตรฐาน GRI 2.8 คะแนน ตามลำดับ
ที่น่าสนใจ คือ เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย CSI และสัดส่วนบริษัทที่มีการเผยแพร่ดัชนีสารบัญ GRI จำแนกตามประเทศ พบว่า กลุ่มบริษัทในประเทศไทย มีค่าเฉลี่ย CSI อยู่ราว 7.7 คะแนน และมีสัดส่วนบริษัทที่มีการเผยแพร่ดัชนีสารบัญ GRI อยู่ประมาณ 87% สูงที่สุดในกลุ่มประเทศอาเซียน และมีค่าเฉลี่ย CSI สูงกว่าประเทศออสเตรเลีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และไต้หวัน
สาเหตุหลักเป็นผลมาจากการส่งเสริมการเปิดเผยรายงานแห่งความยั่งยืนของบริษัทจดทะเบียนในประเทศ ที่แนะนำให้มีความสอดคล้องและอ้างอิงได้กับมาตรฐานสากล GRI นั่นเอง
สำหรับรายละเอียดของชุดตัวชี้วัดหลักด้านสังคมของ WBA ที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ คำมั่นที่จะเคารพสิทธิมนุษยชน คำมั่นที่จะเคารพสิทธิมนุษยชนของคนงาน การระบุผลกระทบและความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน การประเมินผลกระทบและความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน การผนวกและดำเนินการตามผลการประเมินผลกระทบและความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน การสานสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้เสียที่ได้รับหรือที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ กลไกการร้องทุกข์สำหรับคนงาน กลไกการร้องทุกข์สำหรับปัจเจกและชุมชนภายนอก สุขภาพและความปลอดภัยขั้นพื้นฐาน ค่าครองชีพขั้นพื้นฐาน ชั่วโมงทำงาน สภาพการจ้าง การเปิดเผยข้อมูลความหลากหลายแรงงาน ความเสมอภาคทางเพศและการเสริมสร้างศักยภาพสตรี การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ภาระรับผิดชอบในการเสียภาษี การต้านสินบนและการต้านทุจริต การผลักดันนโยบายสาธารณะและการมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างรับผิดชอบ
ผู้สนใจเอกสารรายงานวิจัยฉบับดังกล่าว สามารถดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์ World Benchmarking Alliance
จากบทความ 'Sustainpreneur' ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ [Archived]
รายงานวิจัยฉบับนี้ เป็นการสำรวจความเชื่อมโยงระหว่างการใช้มาตรฐาน GRI และผลการดำเนินงานด้านสังคมของกิจการ ผ่านตัวชี้วัดหลักด้านสังคม (Core Social Indicators: CSI) ในระบบเทียบสมรรถนะของ WBA ที่ใช้จัดอันดับบริษัทที่โดดเด่นจำนวน 2,000 แห่ง ซึ่งมีส่วนสนับสนุนความยั่งยืนทางสังคม โดยมุ่งเน้นเรื่องสิทธิมนุษยชน งานที่มีคุณค่า และการปฏิบัติอย่างมีจริยธรรม
โดยตัวชี้วัดหลักด้านสังคมของ WBA ที่ใช้ประเมินในการวิจัย ประกอบด้วย ตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนจำนวน 8 ตัว ตัวชี้วัดงานที่มีคุณค่าจำนวน 6 ตัว และตัวชี้วัดการปฏิบัติอย่างมีจริยธรรมจำนวน 4 ตัว รวมทั้งสิ้น 18 ตัวชี้วัด
ผลวิจัยชี้ให้เห็นถึงความเกี่ยวโยงที่เข้มแข็งระหว่างการใช้มาตรฐานการรายงานที่สากลยอมรับ กับการปรับปรุงผลลัพธ์ด้านความยั่งยืนทางสังคม ทั้งนี้ มีหลักฐานชี้ชัดว่าบริษัทที่เผยแพร่รายงานแห่งความยั่งยืนที่มีดัชนีสารบัญ GRI จะมีค่าตัวชี้วัดหลักด้านสังคม หรือ CSI สูงกว่าบริษัทอื่น อยู่ไม่น้อยกว่า 47% จากการเทียบสมรรถนะทางสังคมของ WBA
ขณะที่กิจการซึ่งมีการรายงานที่เป็นไปตาม (in accordance) มาตรฐาน GRI มีผลการดำเนินงานที่โดดเด่นอย่างสม่ำเสมอ เหนือกว่ากิจการที่มีเพียงการอ้างอิง (with reference) ตัวมาตรฐาน โดยบริษัทที่มีผลคะแนน CSI สูงสุด มีค่าสหสัมพันธ์กับกลุ่มที่ใช้มาตรฐาน GRI สำหรับการรายงาน
จากข้อมูล CSI ที่รวบรวมทั้งหมด 1,665 กิจการ จากบริษัทที่โดดเด่นจำนวน 2,000 แห่ง พบว่า บริษัทที่มีการจัดทำมีดัชนีสารบัญ GRI ในรายงาน มีจำนวน 977 กิจการ (59%) และที่ไม่มีการจัดทำมีดัชนีสารบัญ GRI ในรายงาน มีจำนวน 688 กิจการ (41%)
ในกลุ่มที่มีการเผยแพร่ดัชนีสารบัญ GRI พบว่า มีบริษัทที่ระบุถึงการใช้มาตรฐาน GRI ด้วยรูปแบบ In accordance จำนวน 436 กิจการ (26%) รองลงมาเป็นรูปแบบ With reference จำนวน 254 กิจการ (15%) ตามด้วยรูปแบบอื่น จำนวน 274 กิจการ (17%) และแบบที่ไม่มีการระบุ จำนวน 13 กิจการ (1%) ตามลำดับ
ในกลุ่มที่ไม่มีการเผยแพร่ดัชนีสารบัญ GRI พบว่า มีบริษัทที่ไม่มีการระบุถึงรูปแบบการใช้มาตรฐาน GRI จำนวน 606 กิจการ (36%) และมีบริษัทที่มีการระบุถึงการใช้มาตรฐาน GRI ด้วยรูปแบบอื่น จำนวน 82 กิจการ (5%) ตามลำดับ
โดยค่าเฉลี่ย CSI ในกลุ่มบริษัทที่มีการเผยแพร่ดัชนีสารบัญ GRI พบว่า กลุ่มที่มีการระบุถึงการใช้มาตรฐาน GRI ด้วยรูปแบบ In accordance มีคะแนนสูงสุดอยู่ที่ 6.6 คะแนน รองลงมาเป็นกลุ่มที่มีการระบุถึงการใช้มาตรฐาน GRI ด้วยรูปแบบ With reference อยู่ที่ 6.1 คะแนน ตามด้วยกลุ่มที่มีการระบุถึงการใช้มาตรฐาน GRI ด้วยรูปแบบอื่น 5.3 คะแนน และกลุ่มที่ไม่มีการระบุถึงรูปแบบการใช้มาตรฐาน GRI 4.8 คะแนน ตามลำดับ
ขณะที่ ค่าเฉลี่ย CSI ในกลุ่มบริษัทที่ไม่มีการเผยแพร่ดัชนีสารบัญ GRI พบว่า กลุ่มที่มีการระบุถึงการใช้มาตรฐาน GRI ด้วยรูปแบบอื่น มีคะแนนอยู่ที่ 3.9 คะแนน ตามด้วยกลุ่มที่ไม่มีการระบุถึงรูปแบบการใช้มาตรฐาน GRI 2.8 คะแนน ตามลำดับ
ที่น่าสนใจ คือ เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย CSI และสัดส่วนบริษัทที่มีการเผยแพร่ดัชนีสารบัญ GRI จำแนกตามประเทศ พบว่า กลุ่มบริษัทในประเทศไทย มีค่าเฉลี่ย CSI อยู่ราว 7.7 คะแนน และมีสัดส่วนบริษัทที่มีการเผยแพร่ดัชนีสารบัญ GRI อยู่ประมาณ 87% สูงที่สุดในกลุ่มประเทศอาเซียน และมีค่าเฉลี่ย CSI สูงกว่าประเทศออสเตรเลีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และไต้หวัน
สาเหตุหลักเป็นผลมาจากการส่งเสริมการเปิดเผยรายงานแห่งความยั่งยืนของบริษัทจดทะเบียนในประเทศ ที่แนะนำให้มีความสอดคล้องและอ้างอิงได้กับมาตรฐานสากล GRI นั่นเอง
สำหรับรายละเอียดของชุดตัวชี้วัดหลักด้านสังคมของ WBA ที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ คำมั่นที่จะเคารพสิทธิมนุษยชน คำมั่นที่จะเคารพสิทธิมนุษยชนของคนงาน การระบุผลกระทบและความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน การประเมินผลกระทบและความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน การผนวกและดำเนินการตามผลการประเมินผลกระทบและความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน การสานสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้เสียที่ได้รับหรือที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ กลไกการร้องทุกข์สำหรับคนงาน กลไกการร้องทุกข์สำหรับปัจเจกและชุมชนภายนอก สุขภาพและความปลอดภัยขั้นพื้นฐาน ค่าครองชีพขั้นพื้นฐาน ชั่วโมงทำงาน สภาพการจ้าง การเปิดเผยข้อมูลความหลากหลายแรงงาน ความเสมอภาคทางเพศและการเสริมสร้างศักยภาพสตรี การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ภาระรับผิดชอบในการเสียภาษี การต้านสินบนและการต้านทุจริต การผลักดันนโยบายสาธารณะและการมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างรับผิดชอบ
ผู้สนใจเอกสารรายงานวิจัยฉบับดังกล่าว สามารถดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์ World Benchmarking Alliance
จากบทความ 'Sustainpreneur' ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ [Archived]
Saturday, October 05, 2024
AI กับการขับเคลื่อนธุรกิจสู่ความยั่งยืน
ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) ได้กลายเป็นเทคโนโลยีที่ร้อนแรงที่สุด และน่าจับตายิ่งในเวลานี้ เนื่องจากตัวเทคโนโลยีเองได้พิสูจน์ให้เห็นถึงขีดความสามารถที่พัฒนาขึ้นอย่างก้าวกระโดด จากกำลังของฮาร์ดแวร์ที่สามารถรองรับการประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ได้อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน และสมรรถนะของซอฟต์แวร์ตัวแบบภาษาขนาดใหญ่ (Large Language Model: LLM) ที่ถือเป็นพื้นฐานของปัญญาประดิษฐ์เพิ่มพูน (Generative AI) ซึ่งสามารถโต้ตอบและสร้างรูปแบบการสนทนาได้เสมือนมนุษย์ และตัวปัญญาประดิษฐ์เอง กำลังเรียนรู้เพิ่มเติมทั้งความฉลาดและความแม่นยำขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผ่านข้อมูลจำนวนมหาศาลที่ป้อนเข้าได้อย่างไม่จำกัด
ขณะเดียวกัน การทุ่มเททรัพยากรจำนวนมาก เพื่อใช้พัฒนาปัญญาประดิษฐ์อย่างขนานใหญ่ในเวลานี้ ก็ทำให้เกิดข้อกังขาถึงความคุ้มค่าในเชิงเศรษฐศาสตร์ เช่น ขนาดการลงทุนที่ไม่สัมพันธ์กับรายได้ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดภาวะฟองสบู่ หรือการลงทุนที่กระจุกตัวในบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่เพียงไม่กี่รายที่ไม่ก่อให้เกิดการกระจายรายได้และความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจ ฯลฯ รวมทั้งผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมจากการพัฒนาและการใช้งานปัญญาประดิษฐ์ เช่น การละเมิดความเป็นส่วนตัวหรือทรัพย์สินทางปัญญา การล่อลวงให้เกิดความเสียหายทางทรัพย์สินและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ความตึงตัวทางพลังงานไฟฟ้าและทรัพยากรน้ำที่เพิ่มขึ้น (จากการใช้ประมวลผลข้อมูล) ฯลฯ ซึ่งเป็นประเด็นที่จำเป็นต้องมีการกำกับดูแลเพื่อให้เกิดการใช้ปัญญาประดิษฐ์อย่างรับผิดชอบ (Responsible AI) และเป็นเทคโนโลยีที่มีความยั่งยืน
บทความนี้ จะเป็นการประมวล 10 แนวทางการใช้ปัญญาประดิษฐ์ ช่วยธุรกิจและอุตสาหกรรม ยกระดับสู่ความยั่งยืน ได้แก่
1. การรายงานที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืน
แม้ว่าจะยังอยู่ในขั้นแรกเริ่ม Generative AI มีศักยภาพที่จะช่วยนำทางธุรกิจสู่ดินแดนแห่งวิวัฒนาการของความยั่งยืน แพลตฟอร์มฐานปัญญาประดิษฐ์เพิ่มพูนในระดับองค์กร ไม่เพียงแต่จะใช้ติดตาม วัดผล และสรุปข้อสนเทศทางธุรกิจได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ แต่ยังช่วยให้มีกลยุทธ์การรายงานความยั่งยืนได้อย่างทั่วถึงทุกภูมิภาค โดยที่เครื่องมือดังกล่าวช่วยสร้างความมั่นใจ เมื่อต้องมีการติดตามความก้าวหน้าในประเด็นสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG)
2. การแปรสภาพเพื่อใช้ใหม่ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ปัญญาประดิษฐ์ สามารถใช้ในการจัดการของเสียและกระบวนการแปรสภาพเพื่อใช้ใหม่ ไปจนถึงการแยกจำพวกอัตโนมัติ การป้องกันการปนเปื้อน และการทำนายความต้องการซ่อมบำรุง แนวทางดังกล่าว ช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการแปรสภาพเพื่อใช้ใหม่ และเพิ่มความยั่งยืนโดยการส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน
3. การจัดการสายอุปทาน
การปฏิบัติและการหาความเหมาะสมต่อปริมาณสินค้าคงคลังที่ขับเคลื่อนด้วยปัญญาประดิษฐ์ สามารถใช้ลดสินค้าคงคลังส่วนเกิน การขนส่งที่เหมาะสม และเพิ่มความลงตัวและการทำงานร่วมกันระหว่างโรงงานและผู้ส่งมอบ แนวทางดังกล่าว เอื้อให้ผู้ผลิตระดับโลกปรับแนวการดำเนินการล้อตามลำดับความสำคัญที่มีนัยต่อการผลิตที่มีประสิทธิภาพและการส่งมอบที่ตรงเวลา ทั้งนี้ ยังช่วยลดของเสีย และปรับปรุงความยั่งยืนตลอดสายอุปทานและในการผลิต
4. การตรวจสอบการดำเนินการทางธุรกิจ
ด้วยการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยียานที่ควบคุมจากระยะไกลให้เคลื่อนที่ได้โดยอัตโนมัติ (Dynamic remotely operated navigation equipment: Drone) แฝงกำลังของปัญญาประดิษฐ์ ที่ติดตั้งอุปกรณ์รับรู้ทางสิ่งแวดล้อม ธุรกิจสามารถดำเนินการตรวจสอบสภาพแหล่งดำเนินงานทางอากาศตามเวลาจริง พร้อมระบุแหล่งกำเนิดมลพิษ และประเมินผลกระทบเชิงนิเวศ แนวทางเชิงรุกดังกล่าว ช่วยเสริมกำลังให้บริษัทสามารถรับมือกับประเด็นสิ่งแวดล้อมได้อย่างฉับพลัน ทำให้แน่ใจว่าได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎระเบียบด้านความยั่งยืน และลดรอยเท้าคาร์บอนให้เหลือน้อยที่สุด
5. การปรับปรุงการค้นพบวัสดุ และการออกแบบแบตเตอรี่
ในสาขาการค้นพบวัสดุและเคมีดิจิทัล ปัญญาประดิษฐ์สามารถให้การหยั่งรู้ที่แม่นยำ ซึ่งช่วยให้นักวิจัยทำนายคุณสมบัติทางเคมี ที่อำนวยต่อการใช้ประโยชน์ของทรัพยากรได้ดีขึ้น รวมถึงยังช่วยทำนายความทนทานและสมรรถนะของแบตเตอรี่ ซึ่งช่วยปรับความเหมาะสมของกระบวนการผลิตพลังงานและหน่วยเก็บพลังงานให้ยั่งยืน อันนำไปสู่การอนุรักษ์ทรัพยากร และการสร้างของเสียที่ลดน้อยลง
6. การติดตามการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบแบบทันที
จากที่บรรทัดฐานด้าน ESG ได้มีวิวัฒนาการไปทั่วโลก ปัญญาประดิษฐ์สามารถช่วยกิจการในการติดตามการเปลี่ยนแปลงและข้อเสนอทางกฎระเบียบได้แบบทันท่วงที เพื่อให้แน่ใจว่าการปฏิบัติได้เป็นไปตามกฎระเบียบในทั่วทุกภูมิภาค แนวทางเชิงรุกดังกล่าว ช่วยลดเบี้ยปรับ และปกป้องชื่อเสียงของบริษัท ด้วยหลักประกันว่าได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎระเบียบ ไม่เพียงแต่ธุรกิจได้ชื่อว่ามีมาตรฐานปฏิบัติตามกฎหมายแล้ว ยังได้สถานะผู้นำที่แสดงให้เห็นถึงคำมั่นในการปฏิบัติอย่างมีจริยธรรมและอย่างยั่งยืน
7. การวิเคราะห์ข้อมูลความยั่งยืน
เมื่อพิจารณาถึงพลังของปัญญาประดิษฐ์ในการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ เปรียบเสมือนมีผู้เชี่ยวชาญความยั่งยืน คอยช่วยทบทวนการดำเนินการในทุกแง่มุม ตลอด 24 ชั่วโมง ทุก ๆ วัน รวมทั้งให้ข้อเสนอแนะได้อย่างปัจจุบันทันที เพื่อให้แน่ใจว่ากิจการมีความเป็นสีเขียว (เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม) เท่าที่เป็นไปได้ ทั้งนี้ การตรวจสอบดูแลอย่างต่อเนื่อง หมายถึง ธุรกิจสามารถปรับตัวและมีวิวัฒนาการอย่างยั่งยืนในแบบทันที ซึ่งช่วยให้ก้าวพ้นภยันตรายทางสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้น
8. การทำนายวงจรชีวิตอุปกรณ์
การทำนายวงจรชีวิตที่แม่นยำสำหรับอุปกรณ์ ช่วยปรับปรุงความยั่งยืนอย่างมีนัยสำคัญ บริษัทส่วนใหญ่ มีอุปกรณ์ที่ไม่สามารถมีช่วงเวลาหยุดทำงาน หรือไม่สามารถที่จะทำการสำรองอุปกรณ์ทดแทนไว้ เป็นผลให้ระบบที่ยังทำงานได้ จำต้องถูกขายหรือทิ้ง เมื่อครบกำหนดตามตัวเลขอายุที่ระบุไว้ ด้วยเหตุนี้ การปรับปรุงการทำนายวงจรชีวิต และการใช้ประโยชน์จากระบบให้ได้ยาวนานขึ้น จะสามารถช่วยลดผลกระทบของธรรมเนียมปฏิบัติดังกล่าวได้อย่างมีนัยสำคัญ
9. การจัดการกำลังไฟฟ้าที่ใช้ในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
บ่อยครั้งที่การปฏิบัติการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ มิได้ถูกพิจารณาให้เป็นประเด็นในการผลักดันความยั่งยืนขององค์กร ด้วยการทำงานผ่านปัญญาประดิษฐ์ องค์กรสามารถพยากรณ์ การใช้ขีดความสามารถของอสังหาริมทรัพย์ รายการซอฟต์แวร์ และที่สำคัญคือ ขีดความสามารถของศูนย์ข้อมูล ด้วยระดับความแม่นยำสูง แนวทางดังกล่าว เปิดทางให้องค์กรเคลื่อนจากการจัดการกำลังไฟฟ้าเชิงรับ มาสู่การจัดการกำลังไฟฟ้าเชิงรุก ที่ตอบสนองต่อการบรรลุเป้าหมายความยั่งยืนได้ดียิ่งขึ้น
10. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืน
ปัญญาประดิษฐ์ สามารถเพิ่มแรงงัดในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ยั่งยืน ผ่านทางการวิเคราะห์ชุดข้อมูลขนาดใหญ่ เพื่อระบุงานออกแบบที่ยั่งยืน และบรรจุภัณฑ์สำหรับการขนส่งผลิตภัณฑ์ใหม่ดังกล่าว อีกทั้งปัญญาประดิษฐ์ สามารถมองหาเส้นทางการใช้วัสดุที่หมุนเวียนได้ดีกว่าในกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งช่วยในการพัฒนาปรับปรุงความยั่งยืน
อย่างไรก็ดี ศ.ดารอน อะเซโมกลู จากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) ให้ความเห็นไว้ว่า ความสามารถของปัญญาประดิษฐ์ในปัจจุบันยังห่างไกลจากที่คาดหวัง โดยเชื่อว่าปัญญาประดิษฐ์จะมาทำงานแทนมนุษย์ได้เพียง 5% ของงานทั้งหมด ซึ่งหมายความว่าศักยภาพของปัญญาประดิษฐ์ไม่เพียงพอที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาลในอนาคตอันใกล้ และด้วยการลงทุนอย่างมหาศาลเมื่อเทียบกับสิ่งที่ปัญญาประดิษฐ์จะมาทำงานแทนได้เพียง 5% อาจส่งผลให้เงินจำนวนมากถูกใช้ไปโดยเปล่าประโยชน์
ในความเป็นจริง ปัญญาประดิษฐ์ ตามชื่อก็คือ สิ่งประดิษฐ์ที่มนุษย์คิดค้นและพัฒนาขึ้น เพื่อใช้ ‘ทุ่นแรง-ทุ่นเวลา’ ในการทำงานและการดำเนินชีวิต แต่จะไม่สามารถใช้งานเพื่อ ‘ทดแทนมนุษย์’ ได้เฉกเช่นปัญญาจริงของมนุษย์
จากบทความ 'Sustainpreneur' ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ [Archived]
ขณะเดียวกัน การทุ่มเททรัพยากรจำนวนมาก เพื่อใช้พัฒนาปัญญาประดิษฐ์อย่างขนานใหญ่ในเวลานี้ ก็ทำให้เกิดข้อกังขาถึงความคุ้มค่าในเชิงเศรษฐศาสตร์ เช่น ขนาดการลงทุนที่ไม่สัมพันธ์กับรายได้ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดภาวะฟองสบู่ หรือการลงทุนที่กระจุกตัวในบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่เพียงไม่กี่รายที่ไม่ก่อให้เกิดการกระจายรายได้และความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจ ฯลฯ รวมทั้งผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมจากการพัฒนาและการใช้งานปัญญาประดิษฐ์ เช่น การละเมิดความเป็นส่วนตัวหรือทรัพย์สินทางปัญญา การล่อลวงให้เกิดความเสียหายทางทรัพย์สินและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ความตึงตัวทางพลังงานไฟฟ้าและทรัพยากรน้ำที่เพิ่มขึ้น (จากการใช้ประมวลผลข้อมูล) ฯลฯ ซึ่งเป็นประเด็นที่จำเป็นต้องมีการกำกับดูแลเพื่อให้เกิดการใช้ปัญญาประดิษฐ์อย่างรับผิดชอบ (Responsible AI) และเป็นเทคโนโลยีที่มีความยั่งยืน
บทความนี้ จะเป็นการประมวล 10 แนวทางการใช้ปัญญาประดิษฐ์ ช่วยธุรกิจและอุตสาหกรรม ยกระดับสู่ความยั่งยืน ได้แก่
1. การรายงานที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืน
แม้ว่าจะยังอยู่ในขั้นแรกเริ่ม Generative AI มีศักยภาพที่จะช่วยนำทางธุรกิจสู่ดินแดนแห่งวิวัฒนาการของความยั่งยืน แพลตฟอร์มฐานปัญญาประดิษฐ์เพิ่มพูนในระดับองค์กร ไม่เพียงแต่จะใช้ติดตาม วัดผล และสรุปข้อสนเทศทางธุรกิจได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ แต่ยังช่วยให้มีกลยุทธ์การรายงานความยั่งยืนได้อย่างทั่วถึงทุกภูมิภาค โดยที่เครื่องมือดังกล่าวช่วยสร้างความมั่นใจ เมื่อต้องมีการติดตามความก้าวหน้าในประเด็นสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG)
2. การแปรสภาพเพื่อใช้ใหม่ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ปัญญาประดิษฐ์ สามารถใช้ในการจัดการของเสียและกระบวนการแปรสภาพเพื่อใช้ใหม่ ไปจนถึงการแยกจำพวกอัตโนมัติ การป้องกันการปนเปื้อน และการทำนายความต้องการซ่อมบำรุง แนวทางดังกล่าว ช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการแปรสภาพเพื่อใช้ใหม่ และเพิ่มความยั่งยืนโดยการส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน
3. การจัดการสายอุปทาน
การปฏิบัติและการหาความเหมาะสมต่อปริมาณสินค้าคงคลังที่ขับเคลื่อนด้วยปัญญาประดิษฐ์ สามารถใช้ลดสินค้าคงคลังส่วนเกิน การขนส่งที่เหมาะสม และเพิ่มความลงตัวและการทำงานร่วมกันระหว่างโรงงานและผู้ส่งมอบ แนวทางดังกล่าว เอื้อให้ผู้ผลิตระดับโลกปรับแนวการดำเนินการล้อตามลำดับความสำคัญที่มีนัยต่อการผลิตที่มีประสิทธิภาพและการส่งมอบที่ตรงเวลา ทั้งนี้ ยังช่วยลดของเสีย และปรับปรุงความยั่งยืนตลอดสายอุปทานและในการผลิต
4. การตรวจสอบการดำเนินการทางธุรกิจ
ด้วยการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยียานที่ควบคุมจากระยะไกลให้เคลื่อนที่ได้โดยอัตโนมัติ (Dynamic remotely operated navigation equipment: Drone) แฝงกำลังของปัญญาประดิษฐ์ ที่ติดตั้งอุปกรณ์รับรู้ทางสิ่งแวดล้อม ธุรกิจสามารถดำเนินการตรวจสอบสภาพแหล่งดำเนินงานทางอากาศตามเวลาจริง พร้อมระบุแหล่งกำเนิดมลพิษ และประเมินผลกระทบเชิงนิเวศ แนวทางเชิงรุกดังกล่าว ช่วยเสริมกำลังให้บริษัทสามารถรับมือกับประเด็นสิ่งแวดล้อมได้อย่างฉับพลัน ทำให้แน่ใจว่าได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎระเบียบด้านความยั่งยืน และลดรอยเท้าคาร์บอนให้เหลือน้อยที่สุด
5. การปรับปรุงการค้นพบวัสดุ และการออกแบบแบตเตอรี่
ในสาขาการค้นพบวัสดุและเคมีดิจิทัล ปัญญาประดิษฐ์สามารถให้การหยั่งรู้ที่แม่นยำ ซึ่งช่วยให้นักวิจัยทำนายคุณสมบัติทางเคมี ที่อำนวยต่อการใช้ประโยชน์ของทรัพยากรได้ดีขึ้น รวมถึงยังช่วยทำนายความทนทานและสมรรถนะของแบตเตอรี่ ซึ่งช่วยปรับความเหมาะสมของกระบวนการผลิตพลังงานและหน่วยเก็บพลังงานให้ยั่งยืน อันนำไปสู่การอนุรักษ์ทรัพยากร และการสร้างของเสียที่ลดน้อยลง
6. การติดตามการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบแบบทันที
จากที่บรรทัดฐานด้าน ESG ได้มีวิวัฒนาการไปทั่วโลก ปัญญาประดิษฐ์สามารถช่วยกิจการในการติดตามการเปลี่ยนแปลงและข้อเสนอทางกฎระเบียบได้แบบทันท่วงที เพื่อให้แน่ใจว่าการปฏิบัติได้เป็นไปตามกฎระเบียบในทั่วทุกภูมิภาค แนวทางเชิงรุกดังกล่าว ช่วยลดเบี้ยปรับ และปกป้องชื่อเสียงของบริษัท ด้วยหลักประกันว่าได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎระเบียบ ไม่เพียงแต่ธุรกิจได้ชื่อว่ามีมาตรฐานปฏิบัติตามกฎหมายแล้ว ยังได้สถานะผู้นำที่แสดงให้เห็นถึงคำมั่นในการปฏิบัติอย่างมีจริยธรรมและอย่างยั่งยืน
7. การวิเคราะห์ข้อมูลความยั่งยืน
เมื่อพิจารณาถึงพลังของปัญญาประดิษฐ์ในการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ เปรียบเสมือนมีผู้เชี่ยวชาญความยั่งยืน คอยช่วยทบทวนการดำเนินการในทุกแง่มุม ตลอด 24 ชั่วโมง ทุก ๆ วัน รวมทั้งให้ข้อเสนอแนะได้อย่างปัจจุบันทันที เพื่อให้แน่ใจว่ากิจการมีความเป็นสีเขียว (เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม) เท่าที่เป็นไปได้ ทั้งนี้ การตรวจสอบดูแลอย่างต่อเนื่อง หมายถึง ธุรกิจสามารถปรับตัวและมีวิวัฒนาการอย่างยั่งยืนในแบบทันที ซึ่งช่วยให้ก้าวพ้นภยันตรายทางสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้น
8. การทำนายวงจรชีวิตอุปกรณ์
การทำนายวงจรชีวิตที่แม่นยำสำหรับอุปกรณ์ ช่วยปรับปรุงความยั่งยืนอย่างมีนัยสำคัญ บริษัทส่วนใหญ่ มีอุปกรณ์ที่ไม่สามารถมีช่วงเวลาหยุดทำงาน หรือไม่สามารถที่จะทำการสำรองอุปกรณ์ทดแทนไว้ เป็นผลให้ระบบที่ยังทำงานได้ จำต้องถูกขายหรือทิ้ง เมื่อครบกำหนดตามตัวเลขอายุที่ระบุไว้ ด้วยเหตุนี้ การปรับปรุงการทำนายวงจรชีวิต และการใช้ประโยชน์จากระบบให้ได้ยาวนานขึ้น จะสามารถช่วยลดผลกระทบของธรรมเนียมปฏิบัติดังกล่าวได้อย่างมีนัยสำคัญ
9. การจัดการกำลังไฟฟ้าที่ใช้ในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
บ่อยครั้งที่การปฏิบัติการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ มิได้ถูกพิจารณาให้เป็นประเด็นในการผลักดันความยั่งยืนขององค์กร ด้วยการทำงานผ่านปัญญาประดิษฐ์ องค์กรสามารถพยากรณ์ การใช้ขีดความสามารถของอสังหาริมทรัพย์ รายการซอฟต์แวร์ และที่สำคัญคือ ขีดความสามารถของศูนย์ข้อมูล ด้วยระดับความแม่นยำสูง แนวทางดังกล่าว เปิดทางให้องค์กรเคลื่อนจากการจัดการกำลังไฟฟ้าเชิงรับ มาสู่การจัดการกำลังไฟฟ้าเชิงรุก ที่ตอบสนองต่อการบรรลุเป้าหมายความยั่งยืนได้ดียิ่งขึ้น
10. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืน
ปัญญาประดิษฐ์ สามารถเพิ่มแรงงัดในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ยั่งยืน ผ่านทางการวิเคราะห์ชุดข้อมูลขนาดใหญ่ เพื่อระบุงานออกแบบที่ยั่งยืน และบรรจุภัณฑ์สำหรับการขนส่งผลิตภัณฑ์ใหม่ดังกล่าว อีกทั้งปัญญาประดิษฐ์ สามารถมองหาเส้นทางการใช้วัสดุที่หมุนเวียนได้ดีกว่าในกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งช่วยในการพัฒนาปรับปรุงความยั่งยืน
อย่างไรก็ดี ศ.ดารอน อะเซโมกลู จากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) ให้ความเห็นไว้ว่า ความสามารถของปัญญาประดิษฐ์ในปัจจุบันยังห่างไกลจากที่คาดหวัง โดยเชื่อว่าปัญญาประดิษฐ์จะมาทำงานแทนมนุษย์ได้เพียง 5% ของงานทั้งหมด ซึ่งหมายความว่าศักยภาพของปัญญาประดิษฐ์ไม่เพียงพอที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาลในอนาคตอันใกล้ และด้วยการลงทุนอย่างมหาศาลเมื่อเทียบกับสิ่งที่ปัญญาประดิษฐ์จะมาทำงานแทนได้เพียง 5% อาจส่งผลให้เงินจำนวนมากถูกใช้ไปโดยเปล่าประโยชน์
ในความเป็นจริง ปัญญาประดิษฐ์ ตามชื่อก็คือ สิ่งประดิษฐ์ที่มนุษย์คิดค้นและพัฒนาขึ้น เพื่อใช้ ‘ทุ่นแรง-ทุ่นเวลา’ ในการทำงานและการดำเนินชีวิต แต่จะไม่สามารถใช้งานเพื่อ ‘ทดแทนมนุษย์’ ได้เฉกเช่นปัญญาจริงของมนุษย์
จากบทความ 'Sustainpreneur' ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ [Archived]
Saturday, September 21, 2024
จาก ‘สามเหลี่ยม-เขยื้อนภูเขา’ สู่ ‘สามวง-นวัตสังคม’
ผมได้รับหนังสือ ทฤษฎีและการปฏิบัติการของนวัตกรรมสังคม จาก ดร.สุนทร คุณชัยมัง ซึ่งเป็นผู้แต่งหนังสือเล่มนี้ ในฐานะอาจารย์ผู้สอนวิชาทฤษฎีและการปฏิบัติการของนวัตกรรมสังคม ที่วิทยาลัยผู้นำและนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต
แม้หนังสือเล่มนี้ จะใช้เป็นเอกสารประกอบการเรียนการสอนของวิชาเรียนในหลักสูตรระดับปริญญาเอก แต่ก็เป็นหนังสือที่อ่านไม่ยาก โดยได้ประมวลความรู้ที่เกี่ยวกับนวัตกรรมสังคมที่ครอบคลุมทั้งมิติของนวัตกรรมที่เป็นเรื่องของเทคโนโลยี กระบวนการและแบบแผนของการจัดการ และมิติของสังคมที่เป็นเรื่องของความสัมพันธ์ทางสังคม ทุนทางสังคม ปทัสถานทางสังคม และโครงสร้างทางสังคม ความหนาทั้งหมด 245 หน้า
เนื้อหาที่น่าสนใจในหนังสือเล่มนี้ นอกจากการประมวลที่มาและประวัติศาสตร์ของนวัตกรรมสังคมในส่วนที่หนึ่งซึ่งมี 3 บท รวมทั้งรูปแบบต่าง ๆ ของนวัตกรรมสังคม รวมทั้งกรณีศึกษาที่น่าสนใจประจำบท ในส่วนที่สองซึ่งมีถึง 8 บทด้วยกัน ผมให้ความสนใจเนื้อหาในส่วนที่สามที่เกี่ยวกับ Soft Power กับการปฏิบัติการเชิงนวัตกรรมสังคม และการขับเคลื่อนนวัตกรรมสังคม ซึ่งเป็น 2 บทสุดท้ายของหนังสือ
โดยการปฏิบัติการเชิงนวัตกรรมสังคม ด้วยการใช้ Hard & Soft Power จะมีความแตกต่างกัน ตามลักษณะของพฤติกรรม เริ่มจาก Hard Power จะใช้รูปแบบสั่งการหรือใช้อำนาจ และการกำหนดระเบียบปฏิบัติ โดยอาศัยมาตรการบังคับและการลงโทษ ขณะที่ Soft Power จะใช้รูปแบบการนำเสนอด้วยวาระหรือบทบาทที่ถูกกำหนดขึ้น และการดึงดูดให้ปฏิบัติตามความสมัครใจ โดยอาศัยการผลักดันให้เป็นค่านิยม วัฒนธรรม และนโยบาย
ทั้งนี้ ในหนังสือยังชี้ให้เห็นถึงการจัดแบ่งอำนาจ ออกเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่ อำนาจในรูปแบบทางทหาร (Military Power) ด้วยการบีบบังคับ การป้องปราม และการคุ้มครอง โดยใช้การขู่ขวัญและแสนยานุภาพเป็นกระแสหลัก อำนาจในรูปแบบทางเศรษฐกิจ (Economic Power) ด้วยการจูงใจและการบีบคั้น โดยใช้การให้คุณให้โทษเป็นกระแสหลัก และอำนาจในรูปแบบที่นุ่มนวล (Soft Power) ด้วยการดึงดูดและการกำหนดให้เป็นวาระ โดยใช้ค่านิยม วัฒนธรรม นโยบาย และการทำให้เป็นสถาบัน เป็นกระแสหลัก
ซึ่งหากพิจารณาบริบทในสังคมยุคใหม่ที่ได้รับอิทธิพลอย่างกว้างขวางจากแพลตฟอร์มที่เป็นสื่อสังคมออนไลน์ประกอบเข้าด้วยแล้ว การแพร่กระจายของนวัตกรรมสังคมหนึ่ง ๆ ไปยังสังคมวงกว้างหรือสู่สังคมโลก ย่อมสามารถเกิดขึ้นโดยการใช้ Soft Power ได้อย่างสะดวกง่ายดายกว่าในยุคก่อน ๆ มาก อาทิ กระแส Korean Wave ที่เป็นกรณีตัวอย่างในหนังสือ ซึ่งได้แจกแจงให้เห็นถึงการปฏิบัติการทั้งการผลิต การสร้างสรรค์ และการร่วมผลิต และร่วมสร้างสรรค์ของผู้บริโภค/ผู้ชม และแฟนคลับ (จากประเทศต่าง ๆ) รวมไปถึงการเชื่อมโยงเรื่องของการสื่อสารของงานวัฒนธรรมไปสู่การทำหน้าที่เป็นเครื่องมือส่งเสริมการท่องเที่ยวทั้งทางตรงและทางอ้อม
สำหรับการขับเคลื่อนนวัตกรรมสังคม ผู้เขียนได้ชี้ให้เห็นถึงการปฏิบัติการทางสังคมใน 3 รูปแบบ ได้แก่
แบบ Niche (วิถีเฉพาะ) เป็นกรณีที่มีการสร้างสรรค์นวัตกรรมในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เกิดขึ้นในพื้นที่หนึ่ง ๆ ด้วยเงื่อนไขที่มีความเฉพาะเจาะจง แล้วนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงขยายตัวใน 3 แนวทาง ประกอบด้วย การขยายวง (Scale Out) โดยการทำซ้ำและการแพร่กระจายเพื่อเพิ่มจำนวนผู้คนหรือชุมชนที่ได้รับผล การขยายไต่ระดับ (Scale Up) โดยการเปลี่ยนแปลงเชิงสถาบันขึ้นไปถึงระดับนโยบาย กฎระเบียบ และกฎหมาย และการขยายลงฐานราก (Scale Deep) โดยการเปลี่ยนความเชื่อ ค่านิยม วัฒนธรรม และมโนคติ
แบบ Regime (ระบอบ) เป็นการจัดการตามชุดความสัมพันธ์และโครงสร้างทางสังคมที่ยึดโยงกับเทคโนโลยีและความรู้ โดยที่การเปลี่ยนแปลงตามแบบแผนนี้จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีเทคโนโลยีและความรู้ชุดใหม่ที่เป็นปัจจัยจากภายนอกไปกดดัน-บังคับ-สร้างผลต่อการเปลี่ยนการรับรู้บรรทัดฐานและกฎกติกาในทางปฏิบัติที่มีอยู่เดิมของสังคม
แบบ Landscape (ภูมิภาพ) เป็นเรื่องพื้นฐานความยั่งยืนของสังคม มีความเกี่ยวข้องทั้งเรื่องการจัดการกายภาพสิ่งแวดล้อม ไปจนถึงการเมือง วงจรเศรษฐกิจ และกระแสทางสังคม เป็นเสมือนเงื่อนไขพื้นฐานของทรัพยากรที่จะสนับสนุนและเป็น Big Idea ที่ทรงอิทธิพล ที่จะแสดงผ่านความก้าวหน้าของประชาธิปไตย ระบบทุนนิยม และวิทยาศาสตร์
ท้ายที่สุด ผู้เขียนสรุปให้เห็นถึงองค์ประกอบของนวัตกรรมสังคม ที่ต้องประกอบด้วย
จากแนวคิด สามเหลี่ยม-เขยื้อนภูเขา ที่มีองค์ประกอบ 3 ด้าน ได้แก่ การสร้างความรู้ การเคลื่อนไหวทางสังคม และการเชื่อมต่อกับการเมือง ซึ่งถูกนำเสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี เมื่อปี 2545 ในฐานะที่เป็นเครื่องมือการปฏิรูปซึ่งมีฐานคิดอยู่บนเงื่อนไขและบริบทของสังคมในขณะนั้น หนังสือเล่มนี้ได้เสนอแนวคิด สามวง-นวัตสังคม ตามที่ ดร.สุนทร คุณชัยมัง ชี้ให้เห็นว่าต้องพิจารณาทั้งวิถีทาง พื้นที่ดำเนินงาน และจุดหมายปลายทาง ที่นำไปสู่การผลิต “ทุนก้อนใหม่” ตามนัยของการเปลี่ยนแปลงทางสังคม และรวมความถึงพื้นที่ความสัมพันธ์ทางสังคมดิจิทัลที่ผลักดันให้เกิดปรากฏการณ์ทางสังคมในรูปแบบใหม่ ๆ อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน
สำหรับผู้ใดที่สนใจหนังสือเล่มนี้ ปัจจุบัน มีจำหน่ายตามศูนย์หนังสือในมหาวิทยาลัยทั่วไป และร้านออนไลน์ของศูนย์หนังสือจุฬา ซึ่งมีทั้งแบบเล่มหนังสือและอีบุ๊ก ให้ได้ศึกษาค้นคว้าและทำความเข้าใจในเรื่องนวัตกรรมสังคมอย่างรอบด้าน
จากบทความ 'Sustainpreneur' ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ [Archived]
แม้หนังสือเล่มนี้ จะใช้เป็นเอกสารประกอบการเรียนการสอนของวิชาเรียนในหลักสูตรระดับปริญญาเอก แต่ก็เป็นหนังสือที่อ่านไม่ยาก โดยได้ประมวลความรู้ที่เกี่ยวกับนวัตกรรมสังคมที่ครอบคลุมทั้งมิติของนวัตกรรมที่เป็นเรื่องของเทคโนโลยี กระบวนการและแบบแผนของการจัดการ และมิติของสังคมที่เป็นเรื่องของความสัมพันธ์ทางสังคม ทุนทางสังคม ปทัสถานทางสังคม และโครงสร้างทางสังคม ความหนาทั้งหมด 245 หน้า
เนื้อหาที่น่าสนใจในหนังสือเล่มนี้ นอกจากการประมวลที่มาและประวัติศาสตร์ของนวัตกรรมสังคมในส่วนที่หนึ่งซึ่งมี 3 บท รวมทั้งรูปแบบต่าง ๆ ของนวัตกรรมสังคม รวมทั้งกรณีศึกษาที่น่าสนใจประจำบท ในส่วนที่สองซึ่งมีถึง 8 บทด้วยกัน ผมให้ความสนใจเนื้อหาในส่วนที่สามที่เกี่ยวกับ Soft Power กับการปฏิบัติการเชิงนวัตกรรมสังคม และการขับเคลื่อนนวัตกรรมสังคม ซึ่งเป็น 2 บทสุดท้ายของหนังสือ
โดยการปฏิบัติการเชิงนวัตกรรมสังคม ด้วยการใช้ Hard & Soft Power จะมีความแตกต่างกัน ตามลักษณะของพฤติกรรม เริ่มจาก Hard Power จะใช้รูปแบบสั่งการหรือใช้อำนาจ และการกำหนดระเบียบปฏิบัติ โดยอาศัยมาตรการบังคับและการลงโทษ ขณะที่ Soft Power จะใช้รูปแบบการนำเสนอด้วยวาระหรือบทบาทที่ถูกกำหนดขึ้น และการดึงดูดให้ปฏิบัติตามความสมัครใจ โดยอาศัยการผลักดันให้เป็นค่านิยม วัฒนธรรม และนโยบาย
ทั้งนี้ ในหนังสือยังชี้ให้เห็นถึงการจัดแบ่งอำนาจ ออกเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่ อำนาจในรูปแบบทางทหาร (Military Power) ด้วยการบีบบังคับ การป้องปราม และการคุ้มครอง โดยใช้การขู่ขวัญและแสนยานุภาพเป็นกระแสหลัก อำนาจในรูปแบบทางเศรษฐกิจ (Economic Power) ด้วยการจูงใจและการบีบคั้น โดยใช้การให้คุณให้โทษเป็นกระแสหลัก และอำนาจในรูปแบบที่นุ่มนวล (Soft Power) ด้วยการดึงดูดและการกำหนดให้เป็นวาระ โดยใช้ค่านิยม วัฒนธรรม นโยบาย และการทำให้เป็นสถาบัน เป็นกระแสหลัก
ซึ่งหากพิจารณาบริบทในสังคมยุคใหม่ที่ได้รับอิทธิพลอย่างกว้างขวางจากแพลตฟอร์มที่เป็นสื่อสังคมออนไลน์ประกอบเข้าด้วยแล้ว การแพร่กระจายของนวัตกรรมสังคมหนึ่ง ๆ ไปยังสังคมวงกว้างหรือสู่สังคมโลก ย่อมสามารถเกิดขึ้นโดยการใช้ Soft Power ได้อย่างสะดวกง่ายดายกว่าในยุคก่อน ๆ มาก อาทิ กระแส Korean Wave ที่เป็นกรณีตัวอย่างในหนังสือ ซึ่งได้แจกแจงให้เห็นถึงการปฏิบัติการทั้งการผลิต การสร้างสรรค์ และการร่วมผลิต และร่วมสร้างสรรค์ของผู้บริโภค/ผู้ชม และแฟนคลับ (จากประเทศต่าง ๆ) รวมไปถึงการเชื่อมโยงเรื่องของการสื่อสารของงานวัฒนธรรมไปสู่การทำหน้าที่เป็นเครื่องมือส่งเสริมการท่องเที่ยวทั้งทางตรงและทางอ้อม
สำหรับการขับเคลื่อนนวัตกรรมสังคม ผู้เขียนได้ชี้ให้เห็นถึงการปฏิบัติการทางสังคมใน 3 รูปแบบ ได้แก่
แบบ Niche (วิถีเฉพาะ) เป็นกรณีที่มีการสร้างสรรค์นวัตกรรมในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เกิดขึ้นในพื้นที่หนึ่ง ๆ ด้วยเงื่อนไขที่มีความเฉพาะเจาะจง แล้วนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงขยายตัวใน 3 แนวทาง ประกอบด้วย การขยายวง (Scale Out) โดยการทำซ้ำและการแพร่กระจายเพื่อเพิ่มจำนวนผู้คนหรือชุมชนที่ได้รับผล การขยายไต่ระดับ (Scale Up) โดยการเปลี่ยนแปลงเชิงสถาบันขึ้นไปถึงระดับนโยบาย กฎระเบียบ และกฎหมาย และการขยายลงฐานราก (Scale Deep) โดยการเปลี่ยนความเชื่อ ค่านิยม วัฒนธรรม และมโนคติ
แบบ Regime (ระบอบ) เป็นการจัดการตามชุดความสัมพันธ์และโครงสร้างทางสังคมที่ยึดโยงกับเทคโนโลยีและความรู้ โดยที่การเปลี่ยนแปลงตามแบบแผนนี้จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีเทคโนโลยีและความรู้ชุดใหม่ที่เป็นปัจจัยจากภายนอกไปกดดัน-บังคับ-สร้างผลต่อการเปลี่ยนการรับรู้บรรทัดฐานและกฎกติกาในทางปฏิบัติที่มีอยู่เดิมของสังคม
แบบ Landscape (ภูมิภาพ) เป็นเรื่องพื้นฐานความยั่งยืนของสังคม มีความเกี่ยวข้องทั้งเรื่องการจัดการกายภาพสิ่งแวดล้อม ไปจนถึงการเมือง วงจรเศรษฐกิจ และกระแสทางสังคม เป็นเสมือนเงื่อนไขพื้นฐานของทรัพยากรที่จะสนับสนุนและเป็น Big Idea ที่ทรงอิทธิพล ที่จะแสดงผ่านความก้าวหน้าของประชาธิปไตย ระบบทุนนิยม และวิทยาศาสตร์
ท้ายที่สุด ผู้เขียนสรุปให้เห็นถึงองค์ประกอบของนวัตกรรมสังคม ที่ต้องประกอบด้วย
(1) | วิถีทาง (Means) ซึ่งเป็นกลไกการทำงานที่นำไปสู่การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ บริการ และกระบวนการที่ไปตอบสนองต่อการแก้ปัญหาสังคมให้แล้วเสร็จ |
(2) | จุดหมายปลายทาง (Ends) ซึ่งเป็นความแล้วเสร็จของประเด็น/ปัญหาทางสังคมที่แก้ไขได้เป็นผลให้ระบบเศรษฐกิจและสังคม มีทุนก้อนใหม่ ที่มีขีดความสามารถทางการแข่งขันมากกว่าเดิม ตามนัยของการเปลี่ยนแปลงทางสังคม |
(3) | พื้นที่ดำเนินงาน (Space) ในที่นี้ หมายถึง พื้นที่ชุมชน เมือง ประเทศ ซึ่งเป็นพื้นที่ปฏิบัติจริงภาคสนาม (ที่แตกต่างจากพื้นที่ทางวิชาการทั่วไป-นามธรรม) รวมทั้งการยืนยันความเป็นพื้นที่ในแง่มุมของวิธีดำเนินการตั้งแต่การคิด ลงมือทำ ไปจนถึงความสำเร็จ และผลของความสำเร็จต่อการเปลี่ยนแปลงของระบบ |
สำหรับผู้ใดที่สนใจหนังสือเล่มนี้ ปัจจุบัน มีจำหน่ายตามศูนย์หนังสือในมหาวิทยาลัยทั่วไป และร้านออนไลน์ของศูนย์หนังสือจุฬา ซึ่งมีทั้งแบบเล่มหนังสือและอีบุ๊ก ให้ได้ศึกษาค้นคว้าและทำความเข้าใจในเรื่องนวัตกรรมสังคมอย่างรอบด้าน
จากบทความ 'Sustainpreneur' ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ [Archived]
Saturday, September 07, 2024
ตัวชี้วัด ESG สำหรับธุรกิจครอบครัว
ในบรรดากิจการที่มีอยู่ทั่วโลก ธุรกิจครอบครัวมีสัดส่วนอยู่ถึงสองในสาม โดยมีมูลค่ามากกว่า 70% ของจีดีพีโลก และครองสัดส่วนการจ้างงานอยู่ราว 60% นอกจากนี้ 85% ของธุรกิจสตาร์ตอัปทั่วโลก ถูกก่อตั้งขึ้นด้วยเงินจากครอบครัว (ที่มา: FFI Global Data Points)
จากข้อมูลการสำรวจของ Family Business Network องค์กรเครือข่ายธุรกิจครอบครัวที่ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1989 มีสมาชิกรวมกันกว่า 4,500 ครอบครัวธุรกิจ ใน 65 ประเทศทั่วโลก ระบุว่า แม้กิจการครอบครัวจะให้ความสำคัญเพิ่มขึ้นกับประเด็นสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) แต่เกือบ 60% ของ 191 กิจการครอบครัวที่ทำการสำรวจ ยังมิได้มีการจัดทำรายงานประจำปี
โดย 16% ของกิจการที่ถูกสำรวจ มีการเปิดเผยตัวเลขการดำเนินงานตามตัวชี้วัดทางสังคมและสิ่งแวดล้อมต่อสาธารณะ และมีเพียง 5% ที่มีการรับฟังกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อใช้กำหนดเนื้อหาในรายงาน
เครือข่ายธุรกิจครอบครัว (FBN) ได้ร่วมกับองค์การภายใต้สหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (UNCTAD) ทำความริเริ่มว่าด้วยธุรกิจครอบครัวเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน เมื่อปี ค.ศ. 2019 และได้มีการจัดทำชุดตัวชี้วัดความยั่งยืนสำหรับธุรกิจครอบครัว หรือ Sustainability Indicators for Family Businesses (SIFB) ขึ้น เพื่อส่งเสริมการเปิดเผยข้อมูลการดำเนินงานในประเด็นด้าน ESG ในหมู่กิจการครอบครัวทั่วโลก
ด้วยความเข้าใจในบริบทของธุรกิจครอบครัว ซึ่งมีโครงสร้างการกำกับดูแลที่มีลักษณะเฉพาะตัว มีบรรทัดฐานแห่งความเป็นเจ้าของที่เด่นชัด และมีพลวัตสูง ทำให้ชุดตัวชี้วัดความยั่งยืนที่จัดทำขึ้น จำเป็นต้องตอบสนองต่อคุณลักษณะเฉพาะของตัวแบบธุรกิจครอบครัว และคำนึงถึงการวัดผลที่สามารถชี้แนวทางการดำเนินงาน การยกระดับการปฏิบัติด้านความยั่งยืน และการมีส่วนสนับสนุนต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
ชุดตัวชี้วัดความยั่งยืนสำหรับธุรกิจครอบครัว แบ่งออกเป็น 4 หมวด ประกอบด้วย 9 ตัวชี้วัดหลัก และ 2 ตัวชี้วัดเผื่อเลือก โดยตัวชี้วัดหมวดธรรมาภิบาล ได้แก่ การสนับสนุนมาตรฐานด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม การทบทวนการปฏิบัติงานด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ความโปร่งใสในการปฏิบัติงานด้านความยั่งยืน กรรมการอิสระ การกำกับดูแลครอบครัว และความเป็นเจ้าของอย่างรับผิดชอบ
ตัวชี้วัดหมวดสายอุปทาน ได้แก่ นโยบายด้านจริยธรรมในสายอุปทาน และการปฏิบัติด้านจริยธรรมในสายอุปทาน ตัวชี้วัดหมวดผลกระทบชุมชน ได้แก่ การบริจาคเพื่อการกุศล และตัวชี้วัดหมวดผลิตภัณฑ์และบริการที่ยั่งยืน (เผื่อเลือก) ได้แก่ การสร้างผลได้ทางสังคม และการปรับพฤติกรรมที่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมของลูกค้า
ในหมวดธรรมาภิบาล คำถามที่ใช้วัดผลการดำเนินงาน ประกอบด้วย
ในหมวดสายอุปทาน คำถามที่ใช้วัดผลการดำเนินงาน ประกอบด้วย
ในหมวดผลกระทบชุมชน คำถามที่ใช้วัดผลการดำเนินงาน ประกอบด้วย
ในหมวดผลิตภัณฑ์และบริการที่ยั่งยืน (เผื่อเลือก) คำถามที่ใช้วัดผลการดำเนินงาน ประกอบด้วย
สถาบันไทยพัฒน์ ในฐานะหน่วยงานที่มุ่งเน้นการส่งเสริมความยั่งยืนของกิจการ และขับเคลื่อนประเด็นด้าน ESG ร่วมกับภาคเอกชนมาอย่างต่อเนื่องกว่า 20 ปี กำลังอยู่ระหว่างการจัดทำหลักสูตร ESG Private สำหรับธุรกิจครอบครัว เพื่อให้ความรู้ในเรื่องดังกล่าวอย่างเป็นระบบ และเป็นการเตรียมธุรกิจครอบครัวให้พร้อมต่อการเปลี่ยนผ่านสู่อนาคตอย่างยั่งยืน
หวังว่า ชุดตัวชี้วัด ESG สำหรับธุรกิจครอบครัว และคำถามที่ใช้วัดผลการดำเนินงานข้างต้น จะเป็นประโยชน์กับธุรกิจครอบครัวในประเทศไทย สำหรับใช้เป็นแนวทางการขับเคลื่อนธุรกิจครอบครัวของท่านสู่ความยั่งยืนตามกรอบ SIFB ซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับสากลได้ไม่มากก็น้อย
จากบทความ 'Sustainpreneur' ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ [Archived]
จากข้อมูลการสำรวจของ Family Business Network องค์กรเครือข่ายธุรกิจครอบครัวที่ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1989 มีสมาชิกรวมกันกว่า 4,500 ครอบครัวธุรกิจ ใน 65 ประเทศทั่วโลก ระบุว่า แม้กิจการครอบครัวจะให้ความสำคัญเพิ่มขึ้นกับประเด็นสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) แต่เกือบ 60% ของ 191 กิจการครอบครัวที่ทำการสำรวจ ยังมิได้มีการจัดทำรายงานประจำปี
โดย 16% ของกิจการที่ถูกสำรวจ มีการเปิดเผยตัวเลขการดำเนินงานตามตัวชี้วัดทางสังคมและสิ่งแวดล้อมต่อสาธารณะ และมีเพียง 5% ที่มีการรับฟังกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อใช้กำหนดเนื้อหาในรายงาน
เครือข่ายธุรกิจครอบครัว (FBN) ได้ร่วมกับองค์การภายใต้สหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (UNCTAD) ทำความริเริ่มว่าด้วยธุรกิจครอบครัวเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน เมื่อปี ค.ศ. 2019 และได้มีการจัดทำชุดตัวชี้วัดความยั่งยืนสำหรับธุรกิจครอบครัว หรือ Sustainability Indicators for Family Businesses (SIFB) ขึ้น เพื่อส่งเสริมการเปิดเผยข้อมูลการดำเนินงานในประเด็นด้าน ESG ในหมู่กิจการครอบครัวทั่วโลก
ด้วยความเข้าใจในบริบทของธุรกิจครอบครัว ซึ่งมีโครงสร้างการกำกับดูแลที่มีลักษณะเฉพาะตัว มีบรรทัดฐานแห่งความเป็นเจ้าของที่เด่นชัด และมีพลวัตสูง ทำให้ชุดตัวชี้วัดความยั่งยืนที่จัดทำขึ้น จำเป็นต้องตอบสนองต่อคุณลักษณะเฉพาะของตัวแบบธุรกิจครอบครัว และคำนึงถึงการวัดผลที่สามารถชี้แนวทางการดำเนินงาน การยกระดับการปฏิบัติด้านความยั่งยืน และการมีส่วนสนับสนุนต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
ชุดตัวชี้วัดความยั่งยืนสำหรับธุรกิจครอบครัว แบ่งออกเป็น 4 หมวด ประกอบด้วย 9 ตัวชี้วัดหลัก และ 2 ตัวชี้วัดเผื่อเลือก โดยตัวชี้วัดหมวดธรรมาภิบาล ได้แก่ การสนับสนุนมาตรฐานด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม การทบทวนการปฏิบัติงานด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ความโปร่งใสในการปฏิบัติงานด้านความยั่งยืน กรรมการอิสระ การกำกับดูแลครอบครัว และความเป็นเจ้าของอย่างรับผิดชอบ
ตัวชี้วัดหมวดสายอุปทาน ได้แก่ นโยบายด้านจริยธรรมในสายอุปทาน และการปฏิบัติด้านจริยธรรมในสายอุปทาน ตัวชี้วัดหมวดผลกระทบชุมชน ได้แก่ การบริจาคเพื่อการกุศล และตัวชี้วัดหมวดผลิตภัณฑ์และบริการที่ยั่งยืน (เผื่อเลือก) ได้แก่ การสร้างผลได้ทางสังคม และการปรับพฤติกรรมที่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมของลูกค้า
ในหมวดธรรมาภิบาล คำถามที่ใช้วัดผลการดำเนินงาน ประกอบด้วย
• | บริษัทมีการทำงานกับผู้ออกนโยบาย และ/หรือผู้มีส่วนได้เสียในการพัฒนาหรือสนับสนุนการนำมาตรฐาน ESG มาดำเนินการเพิ่มขึ้นหรือไม่ |
• | คณะกรรมการมีการทบทวนการปฏิบัติงานด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมของบริษัท เป็นประจำทุกปีเป็นอย่างน้อย เพื่อกำหนดว่าบริษัทได้บรรลุวัตถุประสงค์ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมหรือไม่ |
• | บริษัทมีการเปิดเผยผลการทบทวนไว้ในรายงานสำหรับเผยแพร่ให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง อาทิ พนักงาน ผู้ส่งมอบ ลูกค้า และเจ้าของกิจการ หรือไม่ |
• | จำนวนและสัดส่วนของกรรมการอิสระในคณะกรรมการบริษัท |
• | บริษัทมีธรรมนูญครอบครัว (ข้อควรและข้อห้ามในการปฏิบัติ) เพื่อให้แน่ใจว่าได้ใช้เป็นหลักการกำกับดูแลที่ดีของธุรกิจและครอบครัวในระยะยาวหรือไม่ |
• | ในฐานะที่เป็นธุรกิจครอบครัว ท่านได้มีการใช้ทรัพยากรและจัดเตรียมแนวทางในการส่งเสริมนโยบายที่เน้นการพัฒนา และเตรียมตัวให้แก่ทายาทรุ่นต่อไปเพื่อการเป็นเจ้าของอย่างรับผิดชอบหรือไม่ |
ในหมวดสายอุปทาน คำถามที่ใช้วัดผลการดำเนินงาน ประกอบด้วย
• | บริษัทมีการจัดทำจรรยาบรรณผู้ส่งมอบเป็นลายลักษณ์อักษร โดยใช้เป็นข้อปฏิบัติด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมสำหรับให้ผู้ส่งมอบดำเนินการ ซึ่งรวมถึงนโยบายการค้าที่เป็นธรรม การต่อต้านการใช้แรงงานทาส แรงงานบังคับ แรงงานเด็ก ฯลฯ หรือไม่ |
• | ประมาณการร้อยละของวัสดุหรือผลิตภัณฑ์ที่จัดซื้อโดยบริษัท หรือมาจากแหล่งที่ยั่งยืน ตามนโยบายด้านจริยธรรมในสายอุปทาน |
ในหมวดผลกระทบชุมชน คำถามที่ใช้วัดผลการดำเนินงาน ประกอบด้วย
• | ท่านได้ใช้กองทุนครอบครัว (อาทิ ผ่านทางมูลนิธิในสังกัด) เพื่อให้การสนับสนุนชุมชนท้องถิ่น หรือชุมชนซึ่งเป็นถิ่นที่ตั้งของสถานประกอบการหรือไม่ (ความจำเป็นขั้นพื้นฐาน ความเป็นอยู่ที่ดี งานที่มีคุณค่า ความมั่นคงทางทรัพยากร ระบบนิเวศทางสุขภาพ เสถียรภาพทางภูมิอากาศ ฯลฯ) |
ในหมวดผลิตภัณฑ์และบริการที่ยั่งยืน (เผื่อเลือก) คำถามที่ใช้วัดผลการดำเนินงาน ประกอบด้วย
• | ผลิตภัณฑ์และบริการของบริษัท ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมในด้านใด (บริการขั้นพื้นฐาน การศึกษา การสร้างโอกาสและความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ การเข้าถึงตลาด การเสริมสร้างขีดความสามารถแก่องค์กรไม่แสวงหากำไร/วิสาหกิจเพื่อสังคม) |
• | ผลิตภัณฑ์และบริการของบริษัท เอื้อให้ลูกค้าประจำและ/หรือผู้ใช้บริการปกป้องสิ่งแวดล้อม หรือปรับพฤติกรรมที่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมในด้านใด (การใช้พลังงานหมุนเวียน การอนุรักษ์ทรัพยากร การลดของเสีย การปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ การลดสารพิษ/สารที่ก่ออันตราย การศึกษา ตรวจวัด วิจัย หรือจัดหาข้อมูลเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม) |
สถาบันไทยพัฒน์ ในฐานะหน่วยงานที่มุ่งเน้นการส่งเสริมความยั่งยืนของกิจการ และขับเคลื่อนประเด็นด้าน ESG ร่วมกับภาคเอกชนมาอย่างต่อเนื่องกว่า 20 ปี กำลังอยู่ระหว่างการจัดทำหลักสูตร ESG Private สำหรับธุรกิจครอบครัว เพื่อให้ความรู้ในเรื่องดังกล่าวอย่างเป็นระบบ และเป็นการเตรียมธุรกิจครอบครัวให้พร้อมต่อการเปลี่ยนผ่านสู่อนาคตอย่างยั่งยืน
หวังว่า ชุดตัวชี้วัด ESG สำหรับธุรกิจครอบครัว และคำถามที่ใช้วัดผลการดำเนินงานข้างต้น จะเป็นประโยชน์กับธุรกิจครอบครัวในประเทศไทย สำหรับใช้เป็นแนวทางการขับเคลื่อนธุรกิจครอบครัวของท่านสู่ความยั่งยืนตามกรอบ SIFB ซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับสากลได้ไม่มากก็น้อย
จากบทความ 'Sustainpreneur' ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ [Archived]
Saturday, August 24, 2024
การเปิดเผยข้อมูลผลกระทบความยั่งยืน
ผลกระทบความยั่งยืน (Sustainability Impacts) ตามความเข้าใจของผู้ที่ทำงานในสาขาวิชาชีพด้านความยั่งยืน ประกอบด้วย ผลกระทบทางเศรษฐกิจ ผลกระทบทางสังคม และผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม
ผลกระทบทางเศรษฐกิจ มุ่งหมายถึง ผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ และในระดับโลก โดยองค์กรสามารถสร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจผ่านทางวิธีปฏิบัติในการแข่งขัน วิธีปฏิบัติในการจัดหา ภาษีและเงินจ่ายแก่รัฐ เป็นต้น
ผลกระทบทางสังคม มุ่งหมายถึง ผลกระทบที่มีต่อปัจเจกและกลุ่มคนที่รวมกันเป็นชุมชน กลุ่มเปราะบาง หรือสังคม ฯลฯ รวมทั้งผลกระทบที่มีต่อสิทธิมนุษยชนของผู้คนในสังคม โดยองค์กรสามารถสร้างผลกระทบต่อผู้คนผ่านทางวิธีปฏิบัติในการจ้างงาน (เช่น ค่าจ้างที่จ่ายแก่พนักงาน) ทางสายอุปทาน (เช่น เงื่อนไขสภาพการทำงานของคนงานของผู้ส่งมอบ) ทางผลิตภัณฑ์และบริการ (เช่น ความปลอดภัยและการเข้าถึงได้) เป็นต้น
ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม มุ่งหมายถึง ผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตและองค์ประกอบที่ไม่มีชีวิต รวมทั้งอากาศ แผ่นดิน น้ำ และระบบนิเวศ โดยองค์กรสามารถสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมผ่านทางการใช้พลังงาน การใช้ที่ดิน การใช้น้ำ และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ เป็นต้น
GRI (Global Reporting Initiative) เป็นมาตรฐานโลกว่าด้วยการรายงานผลกระทบ (Impact Reporting) ซึ่งถูกพัฒนามาจากความริเริ่มในปี ค.ศ. 1997 โดยมีการออกกรอบการรายงานความยั่งยืนสากลฉบับแรก เมื่อปี ค.ศ. 2000 และได้กลายเป็นรากฐานในการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืนมาจวบจนปัจจุบัน
หัวใจสำคัญหนึ่งในมาตรฐาน GRI คือ การระบุและประเมินผลกระทบ (Impacts) อย่างสม่ำเสมอ ที่เอื้อให้องค์กรล่วงรู้และสามารถจัดการกับผลกระทบที่กำลังดำเนินอยู่และที่เกิดขึ้นใหม่ได้อย่างเท่าทัน เสมือนเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมประจำวัน และในระหว่างสานสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้เสียและผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง
ต่อจากนั้นองค์กรจึงนำผลกระทบที่ถูกระบุมาจัดลำดับโดยเลือกชุดประเด็นที่มีนัยสำคัญสูงสุดเข้าสู่กระบวนการรายงาน ซึ่งในที่นี้ เรียกว่า การกำหนดประเด็นสาระสำคัญ (Material Topics) หรือสารัตถภาพสำหรับการรายงาน
ปัจจุบัน ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก เริ่มจากกลุ่มประเทศในสหภาพยุโรป ได้นำเอาสารัตถภาพเชิงผลกระทบ หรือ Impact Materiality (ตามแนวทางในมาตรฐาน GRI) มาบรรจุไว้เป็นข้อกำหนดของการประเมินทวิสารัตถภาพ (Double Materiality) คู่กับสารัตถภาพเชิงการเงิน หรือ Financial Materiality (ตามแนวทางในมาตรฐาน IFRS) ออกเป็นมาตรฐานการรายงานความยั่งยืนในประเทศของตน
เหตุที่การประเมินประเด็นสาระสำคัญต้องพิจารณาทั้งสารัตถภาพในเชิงผลกระทบและในเชิงการเงินควบคู่กัน เพราะประเด็นสาระสำคัญเชิงผลกระทบ ใช้ตอบสนองต่อความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียในมิติที่เป็นความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมโดยรวม ขณะที่ประเด็นสาระสำคัญเชิงการเงิน ใช้ตอบสนองต่อความคาดหวังของผู้ถือหุ้นในมิติที่เป็นการสร้างมูลค่าและความยั่งยืนของกิจการ
ฉะนั้น การที่องค์กรใด มีแนวคิดในการเปิดเผยข้อมูลการเงินที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืน ตามแนวทางในมาตรฐาน IFRS อย่างเดียว แสดงว่า ยังขาดความเข้าใจในเรื่องทวิสารัตถภาพ เพราะองค์กรคงมิได้มีความมุ่งประสงค์ที่จะสื่อสารกับผู้ถือหุ้นหรือผู้ลงทุนกลุ่มเดียวอย่างแน่นอน แต่ยังคงต้องการที่จะสานสัมพันธ์กับกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง ด้วยการเปิดเผยข้อมูลผลกระทบความยั่งยืน ที่ซึ่งมาตรฐาน GRI ได้ให้แนวทางดังกล่าวไว้
ทั้งนี้ คำว่า Impact หรือผลกระทบ ในความหมายตามมาตรฐาน GRI ที่ได้ให้นิยามไว้ คือ ผลที่องค์กรมีต่อหรือที่สามารถมีต่อเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และผู้คนในสังคม รวมถึงผลที่มีต่อสิทธิมนุษยชนของคนเหล่านั้น ซึ่งเกิดจากกิจกรรมหรือความสัมพันธ์ทางธุรกิจขององค์กร
ผลกระทบ สามารถเป็นได้ทั้ง ผลที่กำลังเกิดขึ้นหรือที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ผลในทางบวกหรือในทางลบ ผลในระยะสั้นหรือในระยะยาว ผลโดยเจตนาหรือโดยไม่เจตนา และผลที่ย้อนกลับได้หรือที่ย้อนกลับไม่ได้ โดยผลกระทบเหล่านี้ แสดงถึงส่วนร่วมขององค์กร ทั้งในทางบวกและทางลบ ที่มีต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
การสานสัมพันธ์ผู้มีส่วนได้เสียที่ได้รับหรือคาดว่าจะได้รับผลกระทบอย่างครอบคลุมและทั่วถึง จึงเป็นกุญแจสำคัญในการบริหารผลกระทบความยั่งยืนให้เป็นไปตามที่คาดหวัง รวมทั้งสามารถโน้มน้าวให้ผู้มีส่วนได้เสียเข้ามาเป็นคู่ความร่วมมือ แทนการผลักไสให้กลายเป็นคู่พิพาทกับกิจการโดยไม่ตั้งใจ
จากบทความ 'Sustainpreneur' ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ [Archived]
ผลกระทบทางเศรษฐกิจ มุ่งหมายถึง ผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ และในระดับโลก โดยองค์กรสามารถสร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจผ่านทางวิธีปฏิบัติในการแข่งขัน วิธีปฏิบัติในการจัดหา ภาษีและเงินจ่ายแก่รัฐ เป็นต้น
ผลกระทบทางสังคม มุ่งหมายถึง ผลกระทบที่มีต่อปัจเจกและกลุ่มคนที่รวมกันเป็นชุมชน กลุ่มเปราะบาง หรือสังคม ฯลฯ รวมทั้งผลกระทบที่มีต่อสิทธิมนุษยชนของผู้คนในสังคม โดยองค์กรสามารถสร้างผลกระทบต่อผู้คนผ่านทางวิธีปฏิบัติในการจ้างงาน (เช่น ค่าจ้างที่จ่ายแก่พนักงาน) ทางสายอุปทาน (เช่น เงื่อนไขสภาพการทำงานของคนงานของผู้ส่งมอบ) ทางผลิตภัณฑ์และบริการ (เช่น ความปลอดภัยและการเข้าถึงได้) เป็นต้น
ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม มุ่งหมายถึง ผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตและองค์ประกอบที่ไม่มีชีวิต รวมทั้งอากาศ แผ่นดิน น้ำ และระบบนิเวศ โดยองค์กรสามารถสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมผ่านทางการใช้พลังงาน การใช้ที่ดิน การใช้น้ำ และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ เป็นต้น
GRI (Global Reporting Initiative) เป็นมาตรฐานโลกว่าด้วยการรายงานผลกระทบ (Impact Reporting) ซึ่งถูกพัฒนามาจากความริเริ่มในปี ค.ศ. 1997 โดยมีการออกกรอบการรายงานความยั่งยืนสากลฉบับแรก เมื่อปี ค.ศ. 2000 และได้กลายเป็นรากฐานในการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืนมาจวบจนปัจจุบัน
หัวใจสำคัญหนึ่งในมาตรฐาน GRI คือ การระบุและประเมินผลกระทบ (Impacts) อย่างสม่ำเสมอ ที่เอื้อให้องค์กรล่วงรู้และสามารถจัดการกับผลกระทบที่กำลังดำเนินอยู่และที่เกิดขึ้นใหม่ได้อย่างเท่าทัน เสมือนเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมประจำวัน และในระหว่างสานสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้เสียและผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง
ต่อจากนั้นองค์กรจึงนำผลกระทบที่ถูกระบุมาจัดลำดับโดยเลือกชุดประเด็นที่มีนัยสำคัญสูงสุดเข้าสู่กระบวนการรายงาน ซึ่งในที่นี้ เรียกว่า การกำหนดประเด็นสาระสำคัญ (Material Topics) หรือสารัตถภาพสำหรับการรายงาน
ปัจจุบัน ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก เริ่มจากกลุ่มประเทศในสหภาพยุโรป ได้นำเอาสารัตถภาพเชิงผลกระทบ หรือ Impact Materiality (ตามแนวทางในมาตรฐาน GRI) มาบรรจุไว้เป็นข้อกำหนดของการประเมินทวิสารัตถภาพ (Double Materiality) คู่กับสารัตถภาพเชิงการเงิน หรือ Financial Materiality (ตามแนวทางในมาตรฐาน IFRS) ออกเป็นมาตรฐานการรายงานความยั่งยืนในประเทศของตน
เหตุที่การประเมินประเด็นสาระสำคัญต้องพิจารณาทั้งสารัตถภาพในเชิงผลกระทบและในเชิงการเงินควบคู่กัน เพราะประเด็นสาระสำคัญเชิงผลกระทบ ใช้ตอบสนองต่อความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียในมิติที่เป็นความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมโดยรวม ขณะที่ประเด็นสาระสำคัญเชิงการเงิน ใช้ตอบสนองต่อความคาดหวังของผู้ถือหุ้นในมิติที่เป็นการสร้างมูลค่าและความยั่งยืนของกิจการ
ฉะนั้น การที่องค์กรใด มีแนวคิดในการเปิดเผยข้อมูลการเงินที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืน ตามแนวทางในมาตรฐาน IFRS อย่างเดียว แสดงว่า ยังขาดความเข้าใจในเรื่องทวิสารัตถภาพ เพราะองค์กรคงมิได้มีความมุ่งประสงค์ที่จะสื่อสารกับผู้ถือหุ้นหรือผู้ลงทุนกลุ่มเดียวอย่างแน่นอน แต่ยังคงต้องการที่จะสานสัมพันธ์กับกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง ด้วยการเปิดเผยข้อมูลผลกระทบความยั่งยืน ที่ซึ่งมาตรฐาน GRI ได้ให้แนวทางดังกล่าวไว้
ทั้งนี้ คำว่า Impact หรือผลกระทบ ในความหมายตามมาตรฐาน GRI ที่ได้ให้นิยามไว้ คือ ผลที่องค์กรมีต่อหรือที่สามารถมีต่อเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และผู้คนในสังคม รวมถึงผลที่มีต่อสิทธิมนุษยชนของคนเหล่านั้น ซึ่งเกิดจากกิจกรรมหรือความสัมพันธ์ทางธุรกิจขององค์กร
ผลกระทบ สามารถเป็นได้ทั้ง ผลที่กำลังเกิดขึ้นหรือที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ผลในทางบวกหรือในทางลบ ผลในระยะสั้นหรือในระยะยาว ผลโดยเจตนาหรือโดยไม่เจตนา และผลที่ย้อนกลับได้หรือที่ย้อนกลับไม่ได้ โดยผลกระทบเหล่านี้ แสดงถึงส่วนร่วมขององค์กร ทั้งในทางบวกและทางลบ ที่มีต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
การสานสัมพันธ์ผู้มีส่วนได้เสียที่ได้รับหรือคาดว่าจะได้รับผลกระทบอย่างครอบคลุมและทั่วถึง จึงเป็นกุญแจสำคัญในการบริหารผลกระทบความยั่งยืนให้เป็นไปตามที่คาดหวัง รวมทั้งสามารถโน้มน้าวให้ผู้มีส่วนได้เสียเข้ามาเป็นคู่ความร่วมมือ แทนการผลักไสให้กลายเป็นคู่พิพาทกับกิจการโดยไม่ตั้งใจ
จากบทความ 'Sustainpreneur' ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ [Archived]
Saturday, August 10, 2024
กรรมการพิชาน : บทบาทใหม่ด้านความยั่งยืน
ข้อแถลงผลกระทบ (Impact Statement) ที่จัดทำขึ้น สามารถใช้เป็น ‘สารจากกรรมการ’ ที่บรรจุไว้ในรายงานแห่งความยั่งยืน เพื่อแถลงถึงความคืบหน้าในการปฏิบัติหน้าที่กรรมการพิชานประจำปี เพิ่มเติมจากที่กิจการมี Income Statement ไว้สื่อสารกับผู้ถือหุ้นและผู้ลงทุน
คำว่า พิชาน ตามพจนานุกรม แปลว่า ความรู้สึกตัว, การรับรู้อารมณ์หรือสิ่งเร้า กรรมการพิชาน ในที่นี้ มุ่งหมายถึง ผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่กรรมการได้สมกับความเป็นผู้ที่ได้รับความไว้วางใจ (Fiduciary Duty) ด้วยความระมัดระวัง ซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ต่อผู้ถือหุ้น โดยมีความตระหนักรู้ในผลกระทบด้านความยั่งยืน (Sustainability Impacts) ที่มีต่อตัวกิจการและที่มีต่อผู้มีส่วนได้เสียของกิจการอย่างรอบด้าน
คุณลักษณะเด่นของกรรมการพิชาน คือ สามารถที่จะประเมินผลกระทบด้านความยั่งยืนในสองทาง ทั้งผลกระทบที่มีต่อตัวกิจการเอง (Outside-in) ซึ่งจะส่งผลต่อความยั่งยืนของกิจการ และผลกระทบจากกิจกรรมขององค์กรที่มีต่อโลกภายนอก (Inside-out) ซึ่งจะส่งผลต่อความยั่งยืนของสังคมและสิ่งแวดล้อมโดยรวม
ผลจากการประเมินดังกล่าว จะทำให้ได้มาซึ่งประเด็นสาระสำคัญ 2 ชุด ที่เรียกว่า ชุดสารัตถภาพเชิงการเงิน (Financial Materiality) ซึ่งเป็นความเสี่ยงและโอกาสที่มีต่อตัวกิจการ และชุดสารัตถภาพเชิงผลกระทบ (Impact Materiality) ซึ่งเป็นผลกระทบที่มีต่อส่วนรวม รวมเรียกว่า ทวิสารัตถภาพ (Double Materiality) ที่ประกอบขึ้นจากผลกระทบ ความเสี่ยงและโอกาส (Impacts, Risks and Opportunities: IROs) ที่เป็นสาระสำคัญของกิจการนั้น ๆ
ทั้งนี้ ข้อมูลที่เป็นสาระสำคัญทางการเงิน สำหรับใช้จัดทำรายงานทางการเงินที่เป็นงบดุล งบกําไรขาดทุน งบกระแสเงินสด จะมีความแตกต่างจากข้อมูลที่เป็นสาระสำคัญทางการเงิน สำหรับใช้จัดทำรายงานแห่งความยั่งยืน ในส่วนที่เป็นการเปิดเผยผลทางการเงินที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากความเสี่ยงและโอกาสที่สำคัญ ซึ่งมิได้ถูกรวมอยู่ในรายงานทางการเงิน ณ วันที่เผยแพร่ เนื่องจากมิใช่ข้อมูลสาระสำคัญตามเกณฑ์การบันทึกบัญชีการเงินในรอบการรายงานปัจจุบัน แต่จัดเป็นข้อมูลสาระสำคัญที่คาดว่าจะส่งผลทางการเงินในอนาคต
กล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ รายงานทางการเงินอิงการเปิดเผยชุดข้อมูลสาระสำคัญที่สะท้อนความเสี่ยงและโอกาสจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต (past events / historical information) ขณะที่รายงานแห่งความยั่งยืน ยังคำนึงถึงการเปิดเผยชุดข้อมูลสาระสำคัญที่สะท้อนความเสี่ยงและโอกาสจากเหตุการณ์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต (forward-looking information) เพิ่มเติม
นอกจากนี้ ขอบเขตการเปิดเผยข้อมูลสาระสำคัญในรายงานแห่งความยั่งยืน ยังได้ขยายครอบคลุมไปถึงความเสี่ยงและโอกาสที่เกิดจากความสัมพันธ์ทางธุรกิจ อาทิ ในสายคุณค่า (value chain) ทั้งฝั่งต้นน้ำ / ปลายน้ำ นอกเหนือจากตัวกิจการเอง ที่ซึ่งในรายงานทางการเงิน อาจมิได้จัดเป็นข้อมูลที่เป็นสาระสำคัญทางการเงินที่ต้องเปิดเผยตามมาตรฐานการบัญชีและแนวปฏิบัติทางการบัญชี
จะเห็นว่า บทบาทของกรรมการ จากเดิมซึ่งทำหน้าที่กำกับดูแลเพื่อพิทักษ์ประโยชน์ของผู้ถือหุ้นและผู้ลงทุนเป็นหลัก จำเป็นต้องเสริมสร้างขีดสมรรถนะและเพิ่มพูนคุณสมบัติให้สามารถทำหน้าที่กำกับดูแลกิจการในบทบาทใหม่ โดยยังประโยชน์ทั้งแก่ผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียในวงกว้าง เพื่อตอบโจทย์ความยั่งยืนทั้งต่อกิจการและต่อส่วนรวมควบคู่ไปพร้อมกัน
ทั้งนี้ บทบาทใหม่ด้านความยั่งยืน ของผู้ที่เป็นกรรมการพิชาน ตามความหมายในที่นี้ จะต้องมีคุณสมบัติที่ประกอบด้วย
1) เข้าใจเรื่องผลกระทบสองทาง เนื่องจาก ปัจจัยด้านความยั่งยืน ก่อให้เกิดความเสี่ยงและโอกาสทางธุรกิจที่ส่งผลต่อความยั่งยืนของกิจการ (Outside-in) ขณะเดียวกัน ยังก่อให้เกิดผลกระทบสู่ภายนอกที่ส่งผลต่อความยั่งยืนของสังคมและสิ่งแวดล้อมโดยรวม (Inside-out)
2) รู้จักเครื่องมือ Double Materiality สำหรับใช้ประเมินความเสี่ยงและโอกาสที่เป็นชุดประเด็นสารัตถภาพเชิงการเงิน (Financial Materiality) และใช้ประเมินผลกระทบที่เป็นชุดประเด็นสารัตถภาพเชิงผลกระทบ (Impact Materiality) เพื่อระบุผลกระทบ ความเสี่ยงและโอกาส (IROs) ที่เป็นสาระสำคัญ สำหรับกรรมการในการกำกับดูแลและติดตาม
3) สามารถจัดทำ Impact Statement สื่อสารกับผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อบอกกล่าวถึงประเด็นสาระสำคัญที่เป็นผลกระทบ ความเสี่ยงและโอกาส (Material IROs) ของกิจการ รวมถึงการกำกับดูแล (Governance) ในบทบาทของกรรมการพิชาน พร้อมการเปิดเผยถึงตัววัดและผลลัพธ์ (Metrics and Results) ในรอบปี
ข้อแถลงผลกระทบ (Impact Statement) ที่จัดทำขึ้น สามารถใช้เป็น ‘สารจากกรรมการ’ ที่บรรจุไว้ในรายงานแห่งความยั่งยืน เพื่อแถลงถึงความคืบหน้าในการปฏิบัติหน้าที่กรรมการพิชานประจำปี เพิ่มเติมจากที่กิจการมี Income Statement ไว้สื่อสารกับผู้ถือหุ้นและผู้ลงทุน (ซึ่งในรายงานประจำปีบริษัท มักจะมีการจัดทำ Message from President หรือ ‘สารจากประธาน’ เพื่อบอกกล่าวความเคลื่อนไหวสำคัญในรอบปีถึงสิ่งที่เผชิญ การดำเนินงานโดยสรุป และภารกิจที่จะผลักดันต่อไป)
จากบทความ 'Sustainpreneur' ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ [Archived]
Saturday, July 27, 2024
การพัฒนาความยั่งยืนจาก 'องค์กร' สู่ 'องค์รวม'
การวางเส้นทางความยั่งยืนขององค์กร เป็นการเดินทางใน ‘โลกคู่ผสม’ ที่ความยั่งยืนของกิจการกับความยั่งยืนของส่วนรวม สามารถขับเคลื่อนสอดประสานไปด้วยกัน
เวลาที่เราพูดเรื่องความยั่งยืนในบริบทของการทำธุรกิจ ประเด็นที่มักถกเถียงกันโดยไม่มีข้อยุติ คือ การดำเนินธุรกิจควรเป็นไปเพื่อความยั่งยืนของใคร จะเป็นความยั่งยืนของกิจการ หรือความยั่งยืนของสังคมและสิ่งแวดล้อมโดยรวม
คำตอบแรกในใจของผู้บริหาร เชื่อว่า ความยั่งยืนของกิจการต้องมาก่อน ส่วนความยั่งยืนอื่นใด จะพิจารณาเป็นลำดับถัดไป ซึ่งมักจะตรงข้ามกับสิ่งที่ผู้บริหารแถลงกับสาธารณะ ในทางที่สร้างภาพลักษณ์ว่า กิจการที่ตนดูแลประกอบธุรกิจโดยคำนึงถึงความยั่งยืนของส่วนรวม ก่อนความยั่งยืนของกิจการ
แน่นอนว่า หากผู้บริหารยึดประโยชน์โดยใช้เกณฑ์วัดที่เป็นผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้น กรณีแรกนี้ การดำเนินงานจะมุ่งที่ความยั่งยืนของกิจการเป็นหลัก แต่หากผู้บริหารใช้เกณฑ์วัดที่เป็นผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสีย กรณีหลังนี้ การดำเนินงานจะมุ่งที่ความยั่งยืนของสังคมและสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ
ที่ผ่านมา การดำเนินงานหรือการตัดสินใจทางธุรกิจในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง มักต้องเลือกระหว่างผลตอบแทนหรือผลกระทบ ทำให้เส้นทางความยั่งยืนที่องค์กรวางไว้ จึงเป็นเหมือนการเดินทางใน ‘โลกคู่ขนาน’ ที่ความยั่งยืนของกิจการ กับความยั่งยืนของส่วนรวม ไม่อาจมาบรรจบกันได้
ความพยายามที่จะให้ธุรกิจดำเนินงานโดยคำนึงถึงความยั่งยืนในทั้งสองทาง ได้มาถึงจุดที่มีการพัฒนาเครื่องมือหนึ่ง ที่เรียกว่า การประเมินทวิสารัตถภาพ (Double Materiality) เพื่อให้ได้ผลลัพธ์เป็นประเด็นความยั่งยืนทั้งในแง่ที่เป็นผลกระทบ (Impacts) ความเสี่ยง (Risks) และโอกาส (Opportunities) รวมเรียกว่า ชุดประเด็น IROs ที่สำคัญกับกิจการ
ตั้งต้นจากการพิจารณาการดำเนินงานของกิจการที่มีผลกระทบสู่ภายนอก (Inside-out) เช่น ประเด็นมลอากาศ ของเสีย หรือความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อใช้เป็นข้อมูลนำเข้าในการจัดทำกลยุทธ์องค์กร การปรับปรุงตัวแบบทางธุรกิจ รวมทั้งการตัดสินใจของฝ่ายจัดการ (และในการลงทุน) ตลอดจนใช้ในการสื่อสารกับผู้มีส่วนได้เสียผ่านการรายงานความยั่งยืน
ถัดมาเป็นการพิจารณาผลกระทบภายนอกที่มีต่อตัวกิจการ (Outside-in) เช่น ประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภูมิรัฐศาสตร์ หรือเงินเฟ้อ เพื่อใช้เป็นข้อมูลนำเข้าในการระบุความเสี่ยงและโอกาสต่อการดำเนินงานทางธุรกิจ สำหรับวางแผนจัดการความเสี่ยง หรือแผนพัฒนาธุรกิจใหม่ เป็นต้น
ทั้งนี้ ผลกระทบที่เกิดจากกิจการในแบบ Inside-out ซึ่งมีนัยสำคัญและมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจและการดำเนินงานของฝ่ายจัดการโดยคำนึงถึงผลกระทบเหล่านั้น อาจส่งผลย้อนกลับหรือถูกยกขึ้นเป็นความเสี่ยงและโอกาสที่สำคัญในแบบ Outside-in ได้ด้วย
โดยความเกี่ยวโยงระหว่างการดำเนินงานของกิจการที่มีผลกระทบสู่ภายนอก กับความเสี่ยงและโอกาสที่มีต่อตัวกิจการ ในตัวอย่างประเด็นมลอากาศ ได้แก่ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จะช่วยลดความเสี่ยงด้านการปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และอาจช่วยเพิ่มโอกาสทางรายได้ใหม่จากการพัฒนาโครงการคาร์บอนเครดิต
ในตัวอย่างประเด็นของเสีย ได้แก่ การนำของเสียมาแปรสภาพใช้ใหม่ มาใช้ผลิตใหม่ หรือนำกลับมาใช้ซ้ำ ที่ช่วยเพิ่มโอกาสทางธุรกิจรองรับการเติบโตของเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือในตัวอย่างประเด็นความหลากหลายทางชีวภาพ เช่น กรณีการระบาดของปลาหมอคางดำในแหล่งน้ำ เป็นความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงานที่มีผลกระทบสูงต่อระบบนิเวศ ซึ่งสามารถย้อนกลับมาเป็นภาระรับผิดชอบที่กิจการต้องดำเนินการป้องกัน แก้ไข และเยียวยาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อเกิดข้อผิดพลาด
ดังนั้น การประเมินทวิสารัตถภาพ โดยมีจุดตั้งต้นจากการวิเคราะห์ผลกระทบความยั่งยืน (Sustainability Impact) เพื่อให้ได้มาซึ่งชุดประเด็น IROs ที่สำคัญกับกิจการ จึงมีความจำเป็นยิ่งต่อการพัฒนากลยุทธ์การดำเนินงานขององค์กรให้สามารถตอบโจทย์ความยั่งยืนได้ในทั้งสองทาง
และจะทำให้การวางเส้นทางความยั่งยืนขององค์กร เป็นการเดินทางใน ‘โลกคู่ผสม’ ที่ความยั่งยืนของกิจการกับความยั่งยืนของส่วนรวม สามารถขับเคลื่อนสอดประสานไปด้วยกัน ภายใต้ชุดประเด็น IROs ที่กิจการคัดเลือกมาดำเนินการ ด้วยเห็นว่ามีความเกี่ยวเนื่อง มีนัยสำคัญสูง สอดคล้องกับบริบทความยั่งยืนขององค์กร และที่สำคัญ สามารถตอบสนองต่อความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียได้อย่างรอบด้าน
สถาบันไทยพัฒน์ องค์กรที่มุ่งเน้นงานส่งเสริมความยั่งยืนของกิจการ และขับเคลื่อนประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ร่วมกับภาคเอกชนมาอย่างต่อเนื่องกว่า 20 ปี เล็งเห็นถึงความสำคัญในการปูพื้นความเข้าใจเรื่องทวิสารัตถภาพ จึงได้พัฒนา Double Materiality Course ที่สอดคล้องกับแนวทางการนำไปปฏิบัติตามมาตรฐาน ESRS ขึ้นเพื่อจัดอบรมในเดือนสิงหาคมนี้ องค์กรที่สนใจสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ thaipat.org
จากบทความ 'Sustainpreneur' ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ [Archived]
Saturday, July 13, 2024
10 ปี การเดินทางของหุ้น ESG100
นับตั้งแต่ที่สถาบันไทยพัฒน์บุกเบิกการพัฒนาฐานข้อมูลความยั่งยืนของธุรกิจ และเป็นผู้ริเริ่มการประเมินข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environmental, Social and Governance: ESG) ของบริษัทจดทะเบียนในปี พ.ศ. 2558 ได้ทำการประกาศรายชื่อหลักทรัพย์จดทะเบียนที่มีการดำเนินงานโดดเด่นด้าน ESG จำนวน 100 บริษัท หรือที่เรียกว่า กลุ่มหลักทรัพย์ ESG100 ซึ่งถือเป็นการจัดอันดับหลักทรัพย์ด้านการพัฒนาความยั่งยืนของธุรกิจครั้งแรกในประเทศไทย
ปัจจุบัน หน่วยงาน ESG Rating ของสถาบันไทยพัฒน์ ได้ดำเนินการประเมินข้อมูลด้านความยั่งยืนของหลักทรัพย์จดทะเบียนต่อเนื่องมาเป็นปีที่สิบในปีนี้ ด้วยการคัดเลือกจาก 567 หลักทรัพย์ในปีแรก เพิ่มจำนวนมาเป็น 920 หลักทรัพย์ในปี 2567 โดยใช้ข้อมูลที่เกี่ยวกับ ESG จาก 6 แหล่ง จำนวนกว่า 17,037 จุดข้อมูล ตามที่บริษัทผู้ออกหลักทรัพย์เผยแพร่ไว้ต่อสาธารณะ
เกณฑ์ในการประเมินหลักทรัพย์ ESG100 ใช้การวิเคราะห์ข้อมูล ESG ผนวกเข้ากับข้อมูลทางการเงิน ที่เรียกว่า Integrated ESG Assessment เพื่อประเมินตัวเลขผลประกอบการหรือผลการดำเนินงานที่สัมพันธ์กับประเด็นด้าน ESG ของบริษัท สำหรับตอบโจทย์ผู้ลงทุนในมิติของการลงทุนที่ยั่งยืนว่า บริษัทที่มี ESG ดี จะสามารถสร้างผลตอบแทนการลงทุนที่ดีด้วย
โดยในปี พ.ศ. 2561 หลังจากที่ได้รวบรวมข้อมูลการประเมินมาสามปี ได้ขยายผลมาสู่การจัดทำดัชนีอีเอสจี ไทยพัฒน์ โดยมี S&P Dow Jones เป็นผู้คำนวณและเผยแพร่ข้อมูลดัชนี ผ่านหน้าจอ Bloomberg และ Reuters ให้แก่ผู้ลงทุนทั่วโลก
Thaipat ESG Index เป็นดัชนีอีเอสจีแรกในประเทศไทย ที่ใช้การคำนวณดัชนีด้วยวิธีถ่วงน้ำหนักหลักทรัพย์เท่ากัน (Equal Weighed Index) คือ ให้ความสำคัญกับหลักทรัพย์ที่เป็นสมาชิกของดัชนีเท่ากันทุกหลักทรัพย์ โดยไม่ขึ้นกับขนาดของหลักทรัพย์ ทำให้ดัชนีสามารถสะท้อนความเคลื่อนไหวของราคาหลักทรัพย์ได้อย่างเท่าเทียมกันในทุกหลักทรัพย์ และเปิดโอกาสให้หลักทรัพย์คุณภาพขนาดเล็กที่ผ่านเกณฑ์ด้าน ESG สามารถส่งผลต่อค่าของดัชนีได้ ในสัดส่วนที่เท่ากับหลักทรัพย์ขนาดใหญ่
ดัชนีอีเอสจี ไทยพัฒน์ ในรอบเดือน ก.พ.-ก.ค 67 ประกอบด้วยหลักทรัพย์จำนวน 48 หลักทรัพย์ โดย 10 อันดับหลักทรัพย์ที่เป็นองค์ประกอบของดัชนี ได้แก่ BEM BH CKP CPALL CPF DELTA KTB RCL SCGP TFG คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 24.3 ของดัชนี (ข้อมูล ณ วันที่ 28 มิ.ย. 67)
ประโยชน์ของการจัดทำดัชนีในฝั่งของผู้ลงทุน (Investors) จะช่วยให้บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน และผู้ลงทุนสถาบัน สามารถใช้ทำเนียบหุ้น ESG100 และดัชนีอีเอสจี ไทยพัฒน์ เป็นดัชนีอ้างอิงและเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจลงทุนตามหลักธรรมาภิบาลการลงทุนสำหรับผู้ลงทุนสถาบัน (Investment Governance Code) ในบริษัทที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยยังได้รับผลตอบแทนที่มิได้ด้อยไปกว่าการลงทุนในแบบทั่วไป
ตัวเลขผลตอบแทนเฉลี่ยของดัชนีผลตอบแทนรวม Thaipat ESG Index TR ตั้งแต่จัดทำดัชนี (30 มิ.ย. 58) อยู่ที่ 1.88% ต่อปี โดยยังมีผลตอบแทนเป็นบวก และชนะดัชนีผลตอบแทนรวม SET TRI ซึ่งให้ผลตอบแทนเฉลี่ยอยู่ที่ 1.74% ต่อปี ในช่วงเวลาเดียวกัน (ข้อมูล ณ วันที่ 11 ก.ค. 67)
ส่วนในฝั่งของบริษัทที่ได้รับการลงทุน (Investees) ประโยชน์ที่บริษัทได้รับจากการประเมินหลักทรัพย์ ESG100 ประการแรก ได้แก่ การที่บริษัทจะได้รับทราบสถานะการดำเนินงานด้าน ESG ในปัจจุบันของกิจการ ด้วยชุดตัวชี้วัดด้าน ESG ซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับสากล และเป็นการประเมินอย่างอิสระโดยหน่วยงานภายนอก โดยใช้เกณฑ์และหลักการที่อ้างอิงตามแนวทางการประเมินและมาตรฐานการรายงานสากล อาทิ WFE, GRI, ISSB, UN PRI
ประการที่สอง เนื่องจากการประเมินหลักทรัพย์ ESG100 คำนึงถึงประเด็น ESG ที่มีนัยสำคัญตามบริบทของแต่ละอุตสาหกรรม และต้องเชื่อมโยงสัมพันธ์กับธุรกิจแกนหลัก (Core Business) ขององค์กร นอกเหนือจากประเด็น ESG พื้นฐาน ทำให้บริษัทสามารถนำผลการประเมินในรูปแบบของรายงานวิเคราะห์เชิงลึก ไปใช้เป็นข้อมูลสำหรับการวางแผนพัฒนาปรับปรุงเพื่อยกระดับการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับ ESG ได้อย่างตรงจุด สอดคล้องกับบริบทเฉพาะองค์กร (Company-specific) และบริบทเฉพาะอุตสาหกรรม (Industry-specific) ควบคู่ไปพร้อมกัน
ประการที่สาม ด้วยเหตุที่การประเมินหลักทรัพย์ ESG100 ใช้ข้อมูลที่บริษัทเปิดเผยต่อสาธารณะตามช่องทางที่บริษัทเผยแพร่เป็นปกติ ทำให้ไม่เป็นภาระแก่บริษัทในการจัดเตรียมข้อมูลสำหรับการประเมินเพิ่มเติม ขณะเดียวกัน ก็เป็นการกระตุ้นให้บริษัทพัฒนาการเปิดเผยข้อมูล ESG ต่อสาธารณะ ในรูปแบบรายงานความยั่งยืน หรือในแบบ 56-1 (One Report) เพื่อให้มีข้อมูลที่สมบูรณ์และเพียงพอต่อการประเมิน ESG100 อันจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ลงทุนและผู้มีส่วนได้เสียอื่นที่สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูล ESG ดังกล่าวด้วย
สำหรับการประเมินหลักทรัพย์ ESG100 ประจำปี 2567 ที่ได้แล้วเสร็จในเดือนพฤษภาคม ประกอบด้วยหลักทรัพย์เข้าใหม่ (กลุ่ม ESG Emerging) ซึ่งได้เข้าอยู่ในทำเนียบ ESG100 เป็นครั้งแรก จำนวน 19 หลักทรัพย์ ได้แก่ ADVICE BBGI COCOCO CPNREIT GFC HUMAN KCG LHHOTEL LPF NSL Q-CON SAFE SECURE SHR TPBI TTA UP WHAUP WPH
โดยจะถูกนำไปใช้ทบทวนรายการหลักทรัพย์ที่ใช้ในการคำนวณดัชนี อีเอสจี ไทยพัฒน์ หรือ Thaipat ESG Index สำหรับรอบการปรับหลักทรัพย์ (Rebalance) ในเดือนกรกฎาคม ปี 67 โดยมีผลในวันทำการแรกของเดือนถัดไป
จากบทความ 'Sustainpreneur' ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ [Archived]
ปัจจุบัน หน่วยงาน ESG Rating ของสถาบันไทยพัฒน์ ได้ดำเนินการประเมินข้อมูลด้านความยั่งยืนของหลักทรัพย์จดทะเบียนต่อเนื่องมาเป็นปีที่สิบในปีนี้ ด้วยการคัดเลือกจาก 567 หลักทรัพย์ในปีแรก เพิ่มจำนวนมาเป็น 920 หลักทรัพย์ในปี 2567 โดยใช้ข้อมูลที่เกี่ยวกับ ESG จาก 6 แหล่ง จำนวนกว่า 17,037 จุดข้อมูล ตามที่บริษัทผู้ออกหลักทรัพย์เผยแพร่ไว้ต่อสาธารณะ
เกณฑ์ในการประเมินหลักทรัพย์ ESG100 ใช้การวิเคราะห์ข้อมูล ESG ผนวกเข้ากับข้อมูลทางการเงิน ที่เรียกว่า Integrated ESG Assessment เพื่อประเมินตัวเลขผลประกอบการหรือผลการดำเนินงานที่สัมพันธ์กับประเด็นด้าน ESG ของบริษัท สำหรับตอบโจทย์ผู้ลงทุนในมิติของการลงทุนที่ยั่งยืนว่า บริษัทที่มี ESG ดี จะสามารถสร้างผลตอบแทนการลงทุนที่ดีด้วย
โดยในปี พ.ศ. 2561 หลังจากที่ได้รวบรวมข้อมูลการประเมินมาสามปี ได้ขยายผลมาสู่การจัดทำดัชนีอีเอสจี ไทยพัฒน์ โดยมี S&P Dow Jones เป็นผู้คำนวณและเผยแพร่ข้อมูลดัชนี ผ่านหน้าจอ Bloomberg และ Reuters ให้แก่ผู้ลงทุนทั่วโลก
Thaipat ESG Index เป็นดัชนีอีเอสจีแรกในประเทศไทย ที่ใช้การคำนวณดัชนีด้วยวิธีถ่วงน้ำหนักหลักทรัพย์เท่ากัน (Equal Weighed Index) คือ ให้ความสำคัญกับหลักทรัพย์ที่เป็นสมาชิกของดัชนีเท่ากันทุกหลักทรัพย์ โดยไม่ขึ้นกับขนาดของหลักทรัพย์ ทำให้ดัชนีสามารถสะท้อนความเคลื่อนไหวของราคาหลักทรัพย์ได้อย่างเท่าเทียมกันในทุกหลักทรัพย์ และเปิดโอกาสให้หลักทรัพย์คุณภาพขนาดเล็กที่ผ่านเกณฑ์ด้าน ESG สามารถส่งผลต่อค่าของดัชนีได้ ในสัดส่วนที่เท่ากับหลักทรัพย์ขนาดใหญ่
ดัชนีอีเอสจี ไทยพัฒน์ ในรอบเดือน ก.พ.-ก.ค 67 ประกอบด้วยหลักทรัพย์จำนวน 48 หลักทรัพย์ โดย 10 อันดับหลักทรัพย์ที่เป็นองค์ประกอบของดัชนี ได้แก่ BEM BH CKP CPALL CPF DELTA KTB RCL SCGP TFG คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 24.3 ของดัชนี (ข้อมูล ณ วันที่ 28 มิ.ย. 67)
ประโยชน์ของการจัดทำดัชนีในฝั่งของผู้ลงทุน (Investors) จะช่วยให้บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน และผู้ลงทุนสถาบัน สามารถใช้ทำเนียบหุ้น ESG100 และดัชนีอีเอสจี ไทยพัฒน์ เป็นดัชนีอ้างอิงและเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจลงทุนตามหลักธรรมาภิบาลการลงทุนสำหรับผู้ลงทุนสถาบัน (Investment Governance Code) ในบริษัทที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยยังได้รับผลตอบแทนที่มิได้ด้อยไปกว่าการลงทุนในแบบทั่วไป
ตัวเลขผลตอบแทนเฉลี่ยของดัชนีผลตอบแทนรวม Thaipat ESG Index TR ตั้งแต่จัดทำดัชนี (30 มิ.ย. 58) อยู่ที่ 1.88% ต่อปี โดยยังมีผลตอบแทนเป็นบวก และชนะดัชนีผลตอบแทนรวม SET TRI ซึ่งให้ผลตอบแทนเฉลี่ยอยู่ที่ 1.74% ต่อปี ในช่วงเวลาเดียวกัน (ข้อมูล ณ วันที่ 11 ก.ค. 67)
ส่วนในฝั่งของบริษัทที่ได้รับการลงทุน (Investees) ประโยชน์ที่บริษัทได้รับจากการประเมินหลักทรัพย์ ESG100 ประการแรก ได้แก่ การที่บริษัทจะได้รับทราบสถานะการดำเนินงานด้าน ESG ในปัจจุบันของกิจการ ด้วยชุดตัวชี้วัดด้าน ESG ซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับสากล และเป็นการประเมินอย่างอิสระโดยหน่วยงานภายนอก โดยใช้เกณฑ์และหลักการที่อ้างอิงตามแนวทางการประเมินและมาตรฐานการรายงานสากล อาทิ WFE, GRI, ISSB, UN PRI
ประการที่สอง เนื่องจากการประเมินหลักทรัพย์ ESG100 คำนึงถึงประเด็น ESG ที่มีนัยสำคัญตามบริบทของแต่ละอุตสาหกรรม และต้องเชื่อมโยงสัมพันธ์กับธุรกิจแกนหลัก (Core Business) ขององค์กร นอกเหนือจากประเด็น ESG พื้นฐาน ทำให้บริษัทสามารถนำผลการประเมินในรูปแบบของรายงานวิเคราะห์เชิงลึก ไปใช้เป็นข้อมูลสำหรับการวางแผนพัฒนาปรับปรุงเพื่อยกระดับการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับ ESG ได้อย่างตรงจุด สอดคล้องกับบริบทเฉพาะองค์กร (Company-specific) และบริบทเฉพาะอุตสาหกรรม (Industry-specific) ควบคู่ไปพร้อมกัน
ประการที่สาม ด้วยเหตุที่การประเมินหลักทรัพย์ ESG100 ใช้ข้อมูลที่บริษัทเปิดเผยต่อสาธารณะตามช่องทางที่บริษัทเผยแพร่เป็นปกติ ทำให้ไม่เป็นภาระแก่บริษัทในการจัดเตรียมข้อมูลสำหรับการประเมินเพิ่มเติม ขณะเดียวกัน ก็เป็นการกระตุ้นให้บริษัทพัฒนาการเปิดเผยข้อมูล ESG ต่อสาธารณะ ในรูปแบบรายงานความยั่งยืน หรือในแบบ 56-1 (One Report) เพื่อให้มีข้อมูลที่สมบูรณ์และเพียงพอต่อการประเมิน ESG100 อันจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ลงทุนและผู้มีส่วนได้เสียอื่นที่สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูล ESG ดังกล่าวด้วย
สำหรับการประเมินหลักทรัพย์ ESG100 ประจำปี 2567 ที่ได้แล้วเสร็จในเดือนพฤษภาคม ประกอบด้วยหลักทรัพย์เข้าใหม่ (กลุ่ม ESG Emerging) ซึ่งได้เข้าอยู่ในทำเนียบ ESG100 เป็นครั้งแรก จำนวน 19 หลักทรัพย์ ได้แก่ ADVICE BBGI COCOCO CPNREIT GFC HUMAN KCG LHHOTEL LPF NSL Q-CON SAFE SECURE SHR TPBI TTA UP WHAUP WPH
โดยจะถูกนำไปใช้ทบทวนรายการหลักทรัพย์ที่ใช้ในการคำนวณดัชนี อีเอสจี ไทยพัฒน์ หรือ Thaipat ESG Index สำหรับรอบการปรับหลักทรัพย์ (Rebalance) ในเดือนกรกฎาคม ปี 67 โดยมีผลในวันทำการแรกของเดือนถัดไป
จากบทความ 'Sustainpreneur' ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ [Archived]
Saturday, June 29, 2024
AI กับการรายงานข้อมูลความยั่งยืน
กระแสเรื่อง ESG (Environmental, Social and Governance) และการนำเทคโนโลยีมาใช้ในแวดวงความยั่งยืน เป็นหนึ่งในประเด็นร้อนแรงที่องค์กรในภาคเอกชนต่างเริ่มเห็นความสำคัญและจำเป็นต้องพิจารณาเป็นวาระเร่งด่วนสำหรับเตรียมพร้อมปรับตัวเพื่อรับกับแนวโน้มที่เกิดขึ้น
S&P Global คาดการณ์ว่า ภาคธุรกิจจะยกระดับการวัดและจัดการประเด็นความยั่งยืนที่เป็นสาระสำคัญ เช่น ปริมาณการใช้พลาสติกตลอดห่วงโซ่คุณค่า ภายใต้มาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลที่เป็นข้อบังคับในบางประเทศ ขณะที่การประเมินผลกระทบในห่วงโซ่คุณค่ามีความซับซ้อน ทำให้มีความจำเป็นที่ต้องมีระเบียบวิธีที่โปร่งใสและการรวบรวมข้อมูลที่มีคุณภาพ
ประเด็นเรื่องการพึ่งพิงเทคโนโลยีเกิดใหม่ เช่น การเติบโตของปัญญาประดิษฐ์ (AI) ทำให้ไปเพิ่มแรงกดดันที่ต้องมีระบบกำกับดูแลที่เข้มแข็งเพื่อเป็นหลักประกันในการจัดการกับโอกาสและความเสี่ยงต่อการมีอยู่ของปัญญาประดิษฐ์
จากแนวโน้มที่ภาคธุรกิจเริ่มจับตาการเข้ามาของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ในรอบล่าสุด สิ่งที่ทั้งภาคธุรกิจรวมถึงภาครัฐต่างต้องเผชิญในระยะเวลาอันใกล้นี้ คือ แรงกดดันที่จะต้องทำให้แน่ใจว่าได้มีการกำกับดูแลอย่างเข้มแข็งในการจัดการกับโอกาสและความเสี่ยงที่มากับเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์
การใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์สามารถใช้ช่วยสนับสนุนเป้าหมายความยั่งยืนและนำไปสู่ประสิทธิภาพการดำเนินงานแบบใหม่ อาทิ การค้นพบวิธีใหม่ ๆ ในการติดตามและทำความเข้าใจกับประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) จากความสามารถของเทคโนโลยีในการประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ และสามารถลดกำแพงต้นทุนที่ใช้ติดตามและรายงานประเด็น ESG ให้ต่ำลงได้
เมื่อเร็ว ๆ นี้ สถาบันไทยพัฒน์ ได้จัดสัมมนาในรูปแบบ Webinar หัวข้อ “Innovating Sustainability: the Generative AI Revolution” ให้แก่องค์กรสมาชิกในประชาคมการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืน (SDC) ที่ปัจจุบันมีสมาชิกกว่า 160 องค์กร
ในการสัมมนาครั้งนี้ ได้มีการแนะนำร่าง GRI Sustainability Taxonomy ที่พัฒนาขึ้นโดยองค์การแห่งความริเริ่มว่าด้วยการรายงานสากล (Global Reporting Initiative) เพื่อใช้สำหรับการจัดทำรายงานดิจิทัล หรือ Digital Reporting โดยใช้ภาษา XBRL (eXtensible Business Reporting Language) สำหรับการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืน รองรับมาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืนของ IFRS (International Financial Reporting Standards) และบทบัญญัติการรายงานข้อมูลความยั่งยืนของกิจการ (CSRD) ของสหภาพยุโรป
การเข้าถึงข้อมูลความยั่งยืนดังกล่าว จะเอื้อให้เกิดการใช้ประโยชน์จาก Generative AI ในการร่างรายงานความยั่งยืน ซึ่งจะช่วยองค์กรผู้จัดทำรายงานลดภาระและเวลาในการจัดทำรายงาน รวมทั้งช่วยให้องค์กรมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาคุณภาพของข้อมูลที่เปิดเผย ตลอดจนเพิ่มผลิตภาพของการรายงานจากการมีระบบข้อมูลที่แข็งแกร่ง แม่นยำ และครบถ้วน
อย่างไรก็ดี การรับเอาปัญญาประดิษฐ์มาใช้อย่างกว้างขวาง อาจนำมาซึ่งความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการชะงักงันด้านแรงงาน การละเมิดลิขสิทธ์หรือความเป็นส่วนตัว ทำให้การมีข้อปฏิบิติทางจริยธรรมและการกำกับดูแลที่มีประสิทธิผลจึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่งยวด
กฎหมายและกฎระเบียบว่าด้วยการกำกับดูแลปัญญาประดิษฐ์กำลังเกิดขึ้นในหลายประเทศ โดยสหภาพยุโรปได้อนุมัติกฎหมายว่าด้วยปัญญาประดิษฐ์ (AI Act) เป็นฉบับแรกของโลก เมื่อเดือนมีนาคม ปี 2567 โดยกฎหมายฉบับนี้จะช่วยส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรม และปกป้องสิทธิขั้นพื้นฐานในเวลาเดียวกัน
กฎหมายว่าด้วยปัญญาประดิษฐ์ของสหภาพยุโรป แบ่งหมวดหมู่เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ตามระดับความเสี่ยง ได้แก่ 1) AI ที่ไม่สามารถยอมรับได้ (Unacceptable AI) ห้ามใช้งานในสหภาพยุโรป เช่น การใช้ AI ในการให้คะแนนบุคคล (social scoring) โดยหน่วยงานรัฐ 2) AI ที่มีความเสี่ยงสูง (High-risk AI) ผู้ให้บริการจะต้องนำระบบ AI ขึ้นทะเบียนและเข้ารับการตรวจสอบรับรองก่อนนำออกสู่ตลาด เช่น เครื่องจักร ของเล่น อุปกรณ์วิทยุ และ 3) AI ที่มีความเสี่ยงต่ำ (Limited-risk AI) หรือไม่มีความเสี่ยง (No-risk AI) สามารถใช้ได้โดยไม่มีเงื่อนไข เช่น แอปพลิเคชันมือถือ วีดีโอเกม ระบบกรองสแปม เป็นต้น
โดยข้อบังคับทางกฎหมาย จะครอบคลุมการใช้งานและการควบคุมระบบ AI ในประเทศที่ไม่ใช่สมาชิกสหภาพยุโรปหลายมิติ อาทิ 1) ห้ามส่งออกระบบ AI เพื่อการกระทำต้องห้ามตามร่างกฎหมายฯ 2) บังคับใช้ข้อกำหนดต่าง ๆ โดยไม่เลือกปฏิบัติต่อผู้ให้บริการระบบ AI 3) ต้องปฏิบัติตามข้อบังคับเกี่ยวกับการสร้างผลงานจาก AI ที่จะนำเข้ามาใช้ในเขตสหภาพยุโรป และ 4) หากระบบ AI ที่มีผู้ดำเนินการอยู่นอกเขตมีแนวโน้มกระทบต่อบุคคลในเขตสหภาพยุโรป จะต้องปฏิบัติตามข้อบังคับเช่นเดียวกัน
ในอนาคตอันใกล้ การใช้ประโยชน์ GenAI ในการพัฒนาความยั่งยืนของกิจการผ่านการดำเนินการทางข้อมูลในรูปของรายงานดิจิทัล จะเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และจะส่งผลกระทบต่อการทำงานของบุคลากรในแวดวงความยั่งยืนที่ไม่พร้อมปรับตัวนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์มาใช้ประโยชน์ จนอาจเกิดการทดแทนตำแหน่งงานทางวิชาชีพด้านความยั่งยืนไม่มากก็น้อย
จากบทความ 'Sustainpreneur' ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ [Archived]
S&P Global คาดการณ์ว่า ภาคธุรกิจจะยกระดับการวัดและจัดการประเด็นความยั่งยืนที่เป็นสาระสำคัญ เช่น ปริมาณการใช้พลาสติกตลอดห่วงโซ่คุณค่า ภายใต้มาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลที่เป็นข้อบังคับในบางประเทศ ขณะที่การประเมินผลกระทบในห่วงโซ่คุณค่ามีความซับซ้อน ทำให้มีความจำเป็นที่ต้องมีระเบียบวิธีที่โปร่งใสและการรวบรวมข้อมูลที่มีคุณภาพ
ประเด็นเรื่องการพึ่งพิงเทคโนโลยีเกิดใหม่ เช่น การเติบโตของปัญญาประดิษฐ์ (AI) ทำให้ไปเพิ่มแรงกดดันที่ต้องมีระบบกำกับดูแลที่เข้มแข็งเพื่อเป็นหลักประกันในการจัดการกับโอกาสและความเสี่ยงต่อการมีอยู่ของปัญญาประดิษฐ์
จากแนวโน้มที่ภาคธุรกิจเริ่มจับตาการเข้ามาของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ในรอบล่าสุด สิ่งที่ทั้งภาคธุรกิจรวมถึงภาครัฐต่างต้องเผชิญในระยะเวลาอันใกล้นี้ คือ แรงกดดันที่จะต้องทำให้แน่ใจว่าได้มีการกำกับดูแลอย่างเข้มแข็งในการจัดการกับโอกาสและความเสี่ยงที่มากับเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์
การใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์สามารถใช้ช่วยสนับสนุนเป้าหมายความยั่งยืนและนำไปสู่ประสิทธิภาพการดำเนินงานแบบใหม่ อาทิ การค้นพบวิธีใหม่ ๆ ในการติดตามและทำความเข้าใจกับประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) จากความสามารถของเทคโนโลยีในการประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ และสามารถลดกำแพงต้นทุนที่ใช้ติดตามและรายงานประเด็น ESG ให้ต่ำลงได้
เมื่อเร็ว ๆ นี้ สถาบันไทยพัฒน์ ได้จัดสัมมนาในรูปแบบ Webinar หัวข้อ “Innovating Sustainability: the Generative AI Revolution” ให้แก่องค์กรสมาชิกในประชาคมการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืน (SDC) ที่ปัจจุบันมีสมาชิกกว่า 160 องค์กร
ในการสัมมนาครั้งนี้ ได้มีการแนะนำร่าง GRI Sustainability Taxonomy ที่พัฒนาขึ้นโดยองค์การแห่งความริเริ่มว่าด้วยการรายงานสากล (Global Reporting Initiative) เพื่อใช้สำหรับการจัดทำรายงานดิจิทัล หรือ Digital Reporting โดยใช้ภาษา XBRL (eXtensible Business Reporting Language) สำหรับการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืน รองรับมาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืนของ IFRS (International Financial Reporting Standards) และบทบัญญัติการรายงานข้อมูลความยั่งยืนของกิจการ (CSRD) ของสหภาพยุโรป
การเข้าถึงข้อมูลความยั่งยืนดังกล่าว จะเอื้อให้เกิดการใช้ประโยชน์จาก Generative AI ในการร่างรายงานความยั่งยืน ซึ่งจะช่วยองค์กรผู้จัดทำรายงานลดภาระและเวลาในการจัดทำรายงาน รวมทั้งช่วยให้องค์กรมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาคุณภาพของข้อมูลที่เปิดเผย ตลอดจนเพิ่มผลิตภาพของการรายงานจากการมีระบบข้อมูลที่แข็งแกร่ง แม่นยำ และครบถ้วน
อย่างไรก็ดี การรับเอาปัญญาประดิษฐ์มาใช้อย่างกว้างขวาง อาจนำมาซึ่งความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการชะงักงันด้านแรงงาน การละเมิดลิขสิทธ์หรือความเป็นส่วนตัว ทำให้การมีข้อปฏิบิติทางจริยธรรมและการกำกับดูแลที่มีประสิทธิผลจึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่งยวด
กฎหมายและกฎระเบียบว่าด้วยการกำกับดูแลปัญญาประดิษฐ์กำลังเกิดขึ้นในหลายประเทศ โดยสหภาพยุโรปได้อนุมัติกฎหมายว่าด้วยปัญญาประดิษฐ์ (AI Act) เป็นฉบับแรกของโลก เมื่อเดือนมีนาคม ปี 2567 โดยกฎหมายฉบับนี้จะช่วยส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรม และปกป้องสิทธิขั้นพื้นฐานในเวลาเดียวกัน
กฎหมายว่าด้วยปัญญาประดิษฐ์ของสหภาพยุโรป แบ่งหมวดหมู่เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ตามระดับความเสี่ยง ได้แก่ 1) AI ที่ไม่สามารถยอมรับได้ (Unacceptable AI) ห้ามใช้งานในสหภาพยุโรป เช่น การใช้ AI ในการให้คะแนนบุคคล (social scoring) โดยหน่วยงานรัฐ 2) AI ที่มีความเสี่ยงสูง (High-risk AI) ผู้ให้บริการจะต้องนำระบบ AI ขึ้นทะเบียนและเข้ารับการตรวจสอบรับรองก่อนนำออกสู่ตลาด เช่น เครื่องจักร ของเล่น อุปกรณ์วิทยุ และ 3) AI ที่มีความเสี่ยงต่ำ (Limited-risk AI) หรือไม่มีความเสี่ยง (No-risk AI) สามารถใช้ได้โดยไม่มีเงื่อนไข เช่น แอปพลิเคชันมือถือ วีดีโอเกม ระบบกรองสแปม เป็นต้น
โดยข้อบังคับทางกฎหมาย จะครอบคลุมการใช้งานและการควบคุมระบบ AI ในประเทศที่ไม่ใช่สมาชิกสหภาพยุโรปหลายมิติ อาทิ 1) ห้ามส่งออกระบบ AI เพื่อการกระทำต้องห้ามตามร่างกฎหมายฯ 2) บังคับใช้ข้อกำหนดต่าง ๆ โดยไม่เลือกปฏิบัติต่อผู้ให้บริการระบบ AI 3) ต้องปฏิบัติตามข้อบังคับเกี่ยวกับการสร้างผลงานจาก AI ที่จะนำเข้ามาใช้ในเขตสหภาพยุโรป และ 4) หากระบบ AI ที่มีผู้ดำเนินการอยู่นอกเขตมีแนวโน้มกระทบต่อบุคคลในเขตสหภาพยุโรป จะต้องปฏิบัติตามข้อบังคับเช่นเดียวกัน
ในอนาคตอันใกล้ การใช้ประโยชน์ GenAI ในการพัฒนาความยั่งยืนของกิจการผ่านการดำเนินการทางข้อมูลในรูปของรายงานดิจิทัล จะเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และจะส่งผลกระทบต่อการทำงานของบุคลากรในแวดวงความยั่งยืนที่ไม่พร้อมปรับตัวนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์มาใช้ประโยชน์ จนอาจเกิดการทดแทนตำแหน่งงานทางวิชาชีพด้านความยั่งยืนไม่มากก็น้อย
จากบทความ 'Sustainpreneur' ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ [Archived]
Saturday, June 15, 2024
เทคโนโลยี ในฐานะปัจจัยคู่ของความยั่งยืน
เทคโนโลยี ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตสถาน หมายถึง วิทยาการที่นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติ เช่น ใช้ในอุตสาหกรรม
ในบริบทความยั่งยืนระดับองค์กร เทคโนโลยีมีบทบาทที่เป็นได้ทั้งปัจจัยความยั่งยืนโดยตัวเอง และเป็นปัจจัยที่สร้างให้เกิดความยั่งยืนของกิจการ จึงเรียกว่าเป็นปัจจัยคู่ของความยั่งยืน หรือ Twin Factor of Sustainability
เทคโนโลยีในฐานะที่เป็นปัจจัยความยั่งยืนในตัวเอง หมายถึง การได้มาและมีอยู่ของเทคโนโลยี จะมีผลกระทบทางตรงต่อสังคมและ/หรือสิ่งแวดล้อม ที่สามารถคำนวณเป็นฟุตพรินต์ปริมาณก๊าซเรือนกระจก ฟุตพรินต์ปริมาณการใช้น้ำ หรือฟุตพรินต์ปริมาณการใช้พลาสติก ฯลฯ โดยองค์กรสามารถใช้ประเมินและจัดระดับว่าเป็นเทคโนโลยีที่มีความยั่งยืน (Technology as Sustainability) มากน้อยเพียงใด
ข้อมูลตัวอย่างจากกระทรวงพลังงานสหรัฐ ระบุว่า ศูนย์ข้อมูล (Data Center) มีการใช้พลังงานไฟฟ้ามากถึง 10-50 เท่าของการใช้ไฟฟ้าต่อพื้นที่ใช้สอยเมื่อเทียบกับอาคารพาณิชย์ทั่วไป ขณะที่การใช้น้ำในการระบายความร้อนของศูนย์ข้อมูล พบว่า ปริมาณการใช้น้ำสำหรับศูนย์ข้อมูลของกูเกิล ที่เปิดเผยเมื่อปลายปี ค.ศ. 2022 มีปริมาณสูงถึง 1.7 ล้านลิตรต่อวัน เป็นต้น
ตามข้อเสนอแนะในภาคการกำหนดมาตรฐานโทรคมนาคมของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU-T L.1480) นิยามให้ฟุตพรินต์ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการได้มาและมีอยู่ของเทคโนโลยี คือ ผลอันดับแรก (First Order Effect) ที่จัดเป็นผลกระทบทางตรง
สำหรับเทคโนโลยีในฐานะปัจจัยที่สร้างให้เกิดความยั่งยืนของกิจการ หมายถึง การใช้งานเทคโนโลยีที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงกิจกรรมในองค์กร ในทางที่เกิดเป็นผลกระทบเชิงบวกหรือผลกระทบเชิงลบ อันส่งผลต่อความยั่งยืนของกิจการโดยรวม โดยองค์กรสามารถใช้ตัดสินใจว่าเป็นเทคโนโลยีเพื่อความยั่งยืน (Technology for Sustainability) มากน้อยเพียงใด
การเปลี่ยนแปลงซึ่งเป็นผลอันเกิดจากการใช้งานเทคโนโลยีดังกล่าว อาจก่อให้เกิดการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก (จากกิจกรรมเดิมที่ยุติหรือลดลง) หรือไปเพิ่มปริมาณก๊าซเรือนกระจก (จากกิจกรรมใหม่ที่เพิ่มขึ้น หรือจากกิจกรรมเดิมที่แก้ไขเพิ่มเติม) โดยพิจารณาผลที่เกิดขึ้นจริง หรือที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ซึ่งคือ ผลอันดับสอง (Second Order Effect) ที่จัดเป็นผลกระทบทางอ้อม
ตัวอย่างการใช้งานอีคอมเมิร์ซโซลูชัน จะก่อให้เกิดผลอันดับสองที่เป็นบวกจากปริมาณการเดินทางที่ลดลงของลูกค้ามายังร้านค้า แต่ก็ไปเพิ่มผลอันดับสองที่เป็นลบจากปริมาณการขนส่งที่เพิ่มขึ้นเพื่อส่งมอบสินค้าไปยังลูกค้า รวมถึงไปเพิ่มภาระด้านบรรจุภัณฑ์และการบำบัดของเสีย เป็นต้น
นอกเหนือจากต้นทุนทางเทคโนโลยีที่องค์กรต้องคำนึงถึงและส่งผลต่อบรรทัดสุดท้ายที่เป็นกำไรสุทธิ (Net Profit) แล้ว การพิจารณาถึงผลรวมของ First Order และ Second Order Effect จะช่วยให้องค์กรหยั่งรู้ถึงมูลค่าเชิงบวกสุทธิ (Net Positive) ซึ่งเป็นมูลค่าแฝงเพิ่มเติมจากกำไรสุทธิ ที่นำไปใช้ประเมินความคุ้มค่าของการตัดสินใจลงทุนในเทคโนโลยีดังกล่าวได้อย่างแม่นยำยิ่งขึ้น
ตัวอย่างโครงการเทคโนโลยีที่หากบริษัทมีการลงทุน จะมียอดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกใน First Order Effect เพิ่มขึ้น 41 tCO2e ขณะที่ยอดการลดก๊าซเรือนกระจกใน Second Order Effect จากกิจกรรมที่ลดลง มีจำนวน 426 tCO2e คิดเป็นผลรวมของ First Order และ Second Order Effect สุทธิที่ลดลงได้ 385 tCO2e เมื่อใช้ราคาคาร์บอนอ้างอิงของตลาดคาร์บอนภาคบังคับในสหภาพยุโรปที่ 66 ยูโร/ tCO2e หรือคิดเป็น 2,600 บาท/ tCO2e กิจการจะมีมูลค่าเชิงบวกสุทธิเพิ่มจากกำไรสุทธิอีก 1 ล้านบาท
นอกจากนี้ หากมีการพิจารณา ผลอันดับขั้นสูง (Higher Order Effect) ซึ่งเป็นผลกระทบทางอ้อมระยะยาวของผลอันดับสอง ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงแบบแผนการบริโภค รูปแบบการดำเนินชีวิต และระบบค่านิยมร่วมด้วย เช่น ความนิยมในการบริโภคสินค้าสีเขียวเพิ่มขึ้น จะเปิดโอกาสให้องค์กรเติบโตจากอุปสงค์หรือขนาดตลาดที่เพิ่มขึ้น โดยคำนวณเป็นตัวเลขมูลค่าศักย์เชิงบวกสุทธิ (Net Positive Potential) ที่ชี้ได้ว่าโครงการเทคโนโลยีดังกล่าวควรค่าแก่การลงทุนจริงมากน้อยเพียงใด
ตัวอย่างร้านอาหารเก่าแก่ที่หันมาใช้แอปพลิเคชันสั่งอาหารออนไลน์และระบบเดลิเวอรี ก่อให้เกิดผลซึ่งไม่เพียงช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการเดินทางของลูกค้าแต่ละรายมายังร้านอาหาร (Second Order Effect) แล้ว ยังส่งผลให้สามารถขยายตลาดและรับลูกค้าในระบบเดลิเวอรีได้เพิ่มขึ้นจากพฤติกรรมผู้บริโภคที่นิยมสั่งอาหารออนไลน์เติบโตขึ้น (Higher Order Effect) ทำให้ร้านมียอดขายและกำไรเพิ่มขึ้น โดยไม่ต้องขยายหน้าร้านหรือเสียค่าเช่าพื้นที่เพิ่มจากเดิม
จะเห็นว่า การพิจารณาผลกระทบทางตรงที่เป็น First Order Effect โดยมุ่งลดฟุตพรินต์ปริมาณก๊าซเรือนกระจกจากการได้มาและมีอยู่ของเทคโนโลยี มิใช่คำตอบสุดท้ายของเรื่องความยั่งยืน แต่เป็นการใช้ข้อมูล Second Order และ Higher Order Effect จากการใช้งานเทคโนโลยีที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงกิจกรรมในองค์กรและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคในทางที่เกิดเป็นผลบวกสุทธิ (Net Positive) ต่างหาก ที่จะตอบโจทย์ความยั่งยืนได้อย่างครบถ้วน
จากบทความ 'Sustainpreneur' ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ [Archived]
ในบริบทความยั่งยืนระดับองค์กร เทคโนโลยีมีบทบาทที่เป็นได้ทั้งปัจจัยความยั่งยืนโดยตัวเอง และเป็นปัจจัยที่สร้างให้เกิดความยั่งยืนของกิจการ จึงเรียกว่าเป็นปัจจัยคู่ของความยั่งยืน หรือ Twin Factor of Sustainability
เทคโนโลยีในฐานะที่เป็นปัจจัยความยั่งยืนในตัวเอง หมายถึง การได้มาและมีอยู่ของเทคโนโลยี จะมีผลกระทบทางตรงต่อสังคมและ/หรือสิ่งแวดล้อม ที่สามารถคำนวณเป็นฟุตพรินต์ปริมาณก๊าซเรือนกระจก ฟุตพรินต์ปริมาณการใช้น้ำ หรือฟุตพรินต์ปริมาณการใช้พลาสติก ฯลฯ โดยองค์กรสามารถใช้ประเมินและจัดระดับว่าเป็นเทคโนโลยีที่มีความยั่งยืน (Technology as Sustainability) มากน้อยเพียงใด
ข้อมูลตัวอย่างจากกระทรวงพลังงานสหรัฐ ระบุว่า ศูนย์ข้อมูล (Data Center) มีการใช้พลังงานไฟฟ้ามากถึง 10-50 เท่าของการใช้ไฟฟ้าต่อพื้นที่ใช้สอยเมื่อเทียบกับอาคารพาณิชย์ทั่วไป ขณะที่การใช้น้ำในการระบายความร้อนของศูนย์ข้อมูล พบว่า ปริมาณการใช้น้ำสำหรับศูนย์ข้อมูลของกูเกิล ที่เปิดเผยเมื่อปลายปี ค.ศ. 2022 มีปริมาณสูงถึง 1.7 ล้านลิตรต่อวัน เป็นต้น
ตามข้อเสนอแนะในภาคการกำหนดมาตรฐานโทรคมนาคมของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU-T L.1480) นิยามให้ฟุตพรินต์ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการได้มาและมีอยู่ของเทคโนโลยี คือ ผลอันดับแรก (First Order Effect) ที่จัดเป็นผลกระทบทางตรง
สำหรับเทคโนโลยีในฐานะปัจจัยที่สร้างให้เกิดความยั่งยืนของกิจการ หมายถึง การใช้งานเทคโนโลยีที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงกิจกรรมในองค์กร ในทางที่เกิดเป็นผลกระทบเชิงบวกหรือผลกระทบเชิงลบ อันส่งผลต่อความยั่งยืนของกิจการโดยรวม โดยองค์กรสามารถใช้ตัดสินใจว่าเป็นเทคโนโลยีเพื่อความยั่งยืน (Technology for Sustainability) มากน้อยเพียงใด
การเปลี่ยนแปลงซึ่งเป็นผลอันเกิดจากการใช้งานเทคโนโลยีดังกล่าว อาจก่อให้เกิดการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก (จากกิจกรรมเดิมที่ยุติหรือลดลง) หรือไปเพิ่มปริมาณก๊าซเรือนกระจก (จากกิจกรรมใหม่ที่เพิ่มขึ้น หรือจากกิจกรรมเดิมที่แก้ไขเพิ่มเติม) โดยพิจารณาผลที่เกิดขึ้นจริง หรือที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ซึ่งคือ ผลอันดับสอง (Second Order Effect) ที่จัดเป็นผลกระทบทางอ้อม
ตัวอย่างการใช้งานอีคอมเมิร์ซโซลูชัน จะก่อให้เกิดผลอันดับสองที่เป็นบวกจากปริมาณการเดินทางที่ลดลงของลูกค้ามายังร้านค้า แต่ก็ไปเพิ่มผลอันดับสองที่เป็นลบจากปริมาณการขนส่งที่เพิ่มขึ้นเพื่อส่งมอบสินค้าไปยังลูกค้า รวมถึงไปเพิ่มภาระด้านบรรจุภัณฑ์และการบำบัดของเสีย เป็นต้น
นอกเหนือจากต้นทุนทางเทคโนโลยีที่องค์กรต้องคำนึงถึงและส่งผลต่อบรรทัดสุดท้ายที่เป็นกำไรสุทธิ (Net Profit) แล้ว การพิจารณาถึงผลรวมของ First Order และ Second Order Effect จะช่วยให้องค์กรหยั่งรู้ถึงมูลค่าเชิงบวกสุทธิ (Net Positive) ซึ่งเป็นมูลค่าแฝงเพิ่มเติมจากกำไรสุทธิ ที่นำไปใช้ประเมินความคุ้มค่าของการตัดสินใจลงทุนในเทคโนโลยีดังกล่าวได้อย่างแม่นยำยิ่งขึ้น
ตัวอย่างโครงการเทคโนโลยีที่หากบริษัทมีการลงทุน จะมียอดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกใน First Order Effect เพิ่มขึ้น 41 tCO2e ขณะที่ยอดการลดก๊าซเรือนกระจกใน Second Order Effect จากกิจกรรมที่ลดลง มีจำนวน 426 tCO2e คิดเป็นผลรวมของ First Order และ Second Order Effect สุทธิที่ลดลงได้ 385 tCO2e เมื่อใช้ราคาคาร์บอนอ้างอิงของตลาดคาร์บอนภาคบังคับในสหภาพยุโรปที่ 66 ยูโร/ tCO2e หรือคิดเป็น 2,600 บาท/ tCO2e กิจการจะมีมูลค่าเชิงบวกสุทธิเพิ่มจากกำไรสุทธิอีก 1 ล้านบาท
นอกจากนี้ หากมีการพิจารณา ผลอันดับขั้นสูง (Higher Order Effect) ซึ่งเป็นผลกระทบทางอ้อมระยะยาวของผลอันดับสอง ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงแบบแผนการบริโภค รูปแบบการดำเนินชีวิต และระบบค่านิยมร่วมด้วย เช่น ความนิยมในการบริโภคสินค้าสีเขียวเพิ่มขึ้น จะเปิดโอกาสให้องค์กรเติบโตจากอุปสงค์หรือขนาดตลาดที่เพิ่มขึ้น โดยคำนวณเป็นตัวเลขมูลค่าศักย์เชิงบวกสุทธิ (Net Positive Potential) ที่ชี้ได้ว่าโครงการเทคโนโลยีดังกล่าวควรค่าแก่การลงทุนจริงมากน้อยเพียงใด
ตัวอย่างร้านอาหารเก่าแก่ที่หันมาใช้แอปพลิเคชันสั่งอาหารออนไลน์และระบบเดลิเวอรี ก่อให้เกิดผลซึ่งไม่เพียงช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการเดินทางของลูกค้าแต่ละรายมายังร้านอาหาร (Second Order Effect) แล้ว ยังส่งผลให้สามารถขยายตลาดและรับลูกค้าในระบบเดลิเวอรีได้เพิ่มขึ้นจากพฤติกรรมผู้บริโภคที่นิยมสั่งอาหารออนไลน์เติบโตขึ้น (Higher Order Effect) ทำให้ร้านมียอดขายและกำไรเพิ่มขึ้น โดยไม่ต้องขยายหน้าร้านหรือเสียค่าเช่าพื้นที่เพิ่มจากเดิม
จะเห็นว่า การพิจารณาผลกระทบทางตรงที่เป็น First Order Effect โดยมุ่งลดฟุตพรินต์ปริมาณก๊าซเรือนกระจกจากการได้มาและมีอยู่ของเทคโนโลยี มิใช่คำตอบสุดท้ายของเรื่องความยั่งยืน แต่เป็นการใช้ข้อมูล Second Order และ Higher Order Effect จากการใช้งานเทคโนโลยีที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงกิจกรรมในองค์กรและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคในทางที่เกิดเป็นผลบวกสุทธิ (Net Positive) ต่างหาก ที่จะตอบโจทย์ความยั่งยืนได้อย่างครบถ้วน
จากบทความ 'Sustainpreneur' ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ [Archived]
Saturday, June 01, 2024
ทำเนียบบริษัทกลุ่ม ESG Emerging ปี 2567
ปัจจุบัน กิจการที่หวังจะให้การดำเนินธุรกิจของตนได้รับการยอมรับจากสังคม และมีหลักทรัพย์ที่ได้รับการตอบรับจากผู้ลงทุน หนีไม่พ้นที่จะต้องได้รับการประเมินเรื่อง ESG (Environmental, Social and Governance) จากหน่วยงานประเมินภายนอกที่มีความน่าเชื่อถือและมีความเป็นกลางในการประเมิน ปลอดจากการแทรกแซงโดยกิจการที่ถูกประเมิน
จากผลการสำรวจหน่วยงานผู้ประเมินและจัดระดับด้าน ESG ทั่วโลก พบว่า มีอยู่มากกว่า 600 แห่ง และมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตามการเติบโตของตลาด (SustainAbility, 2020)
โดยที่แต่ละสำนักผู้ประเมิน ต่างก็มีระเบียบวิธีและเกณฑ์ที่ใช้ประเมินแตกต่างกัน จึงมีความหลากหลายในผลประเมินที่ทั้งองค์กรผู้เป็นเจ้าของข้อมูลที่ถูกประเมิน และผู้ลงทุน รวมทั้งบุคคลทั่วไปที่สนใจ จะนำไปใช้ประโยชน์จากผลประเมินที่ได้รับ
จากผลสำรวจของ Institutional Shareholder Services ที่เผยแพร่ผ่านเอกสาร ESG Corporate Rating Survey เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 ระบุว่า ผู้ลงทุนใช้ประโยชน์จากการประเมิน ESG ของกิจการ สูงสุดสามอันดับแรก ได้แก่ การใช้เพื่อประเมินความเสี่ยงด้าน ESG (83%) การใช้เพื่อจัดทำรายงาน (79%) และการใช้เพื่อพิจารณาผลกระทบด้านความยั่งยืน (77%) ตามลำดับ
ขณะที่ผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มที่มิใช่ผู้ลงทุนใช้ประโยชน์จากการประเมิน ESG ของกิจการ สูงสุดสามอันดับแรก ได้แก่ การใช้เพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะการดำเนินงาน หรือ Benchmarking (71%) การใช้เพื่อจัดการความเสี่ยงด้านความเชื่อมั่น (63%) และการใช้เพื่อรับทราบประเด็นสำคัญสำหรับการรายงานความยั่งยืน (62%) ตามลำดับ
สถาบันไทยพัฒน์ โดยหน่วยงาน ESG Rating ซึ่งเป็นผู้พัฒนาข้อมูลด้านความยั่งยืนของธุรกิจในประเทศไทย และเป็นผู้จัดทำข้อมูลกลุ่มหลักทรัพย์ ESG100 นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 ได้จัดทำรายชื่อหลักทรัพย์จดทะเบียนที่น่าลงทุนในกลุ่ม ESG Emerging ปี 2567 ด้วยการคัดเลือกจาก 920 บริษัท/กองทุน/ทรัสต์เพื่อการลงทุน ทำการประเมินโดยใช้ข้อมูลที่เกี่ยวกับ ESG จาก 6 แหล่ง จำนวนกว่า 17,037 จุดข้อมูล
สำหรับการคัดเลือกหลักทรัพย์ที่น่าลงทุนกลุ่ม ESG Emerging ในปีนี้ นับเป็นปีที่ 5 ของการประเมิน โดยพิจารณาจากข้อมูลการดำเนินงานที่สะท้อนปัจจัยด้าน ESG ตามที่บริษัทเปิดเผยต่อสาธารณะ และผ่านเกณฑ์คัดกรองเบื้องต้นที่ใช้ในการประเมินหลักทรัพย์ ESG100 ตามหลักการ CORE Framework เพื่อเพิ่มโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะยาวแก่ผู้ลงทุน
โดยหลักทรัพย์ที่ติดกลุ่ม ESG Emerging ปี 2567 ซึ่งได้เข้าอยู่ในทำเนียบ ESG100 เป็นครั้งแรก มีจำนวน 19 หลักทรัพย์ ประกอบด้วย ADVICE BBGI COCOCO CPNREIT GFC HUMAN KCG LHHOTEL LPF NSL Q-CON SAFE SECURE SHR TPBI TTA UP WHAUP WPH
ทั้งนี้ ผู้ลงทุนที่สนใจ สามารถเข้าลงทุนในหลักทรัพย์ที่คัดเลือกจากยูนิเวิร์สของกลุ่ม ESG Emerging ปี พ.ศ. 2563-2567 จำนวน 44 หลักทรัพย์ ในรูปแบบกองทุนส่วนบุคคล Thaipat ESG Emerging Private Fund ซึ่งเป็นการลงทุนในแบบ Passive Strategy ที่ให้น้ำหนักการลงทุนในหลักทรัพย์ขนาดกลางและขนาดเล็ก (Small-Mid Cap) เท่าเทียมกับหลักทรัพย์ขนาดใหญ่ (Large Cap) โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงในช่วงราคาที่กว้างของหลักทรัพย์ขนาดกลางและขนาดเล็ก และการปรับสัดส่วนการลงทุน (Rebalance) ทุก 3 เดือน เพื่อการสร้างโอกาสได้รับผลตอบแทนที่สูงกว่าดัชนีอ้างอิงพื้นฐาน
ในปี 2567 นี้ นอกจากการคัดเลือกหลักทรัพย์กลุ่ม ESG Emerging แล้ว ยังได้ทำการคัดเลือกและจัดทำรายชื่อหลักทรัพย์ที่มีผลประกอบการพลิกฟื้นกลุ่ม ESG Turnaround เป็นปีที่ 2 เพื่อเป็นทางเลือกเพิ่มเติมสำหรับการลงทุนที่คำนึงถึงประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ด้วยโอกาสการสร้างผลตอบแทนจากหลักทรัพย์ที่กำลังอยู่ในช่วงฟื้นตัวและมีปัจจัย ESG สนับสนุน
โดยหลักทรัพย์ในกลุ่ม ESG Turnaround ปี 2567 ประกอบด้วย AOT BA BAFS CPF DUSIT ERW MALEE SEAFCO SPA THRE รวมจำนวน 10 หลักทรัพย์
ทั้งนี้ หลักทรัพย์กลุ่ม ESG100 ที่ได้รับคัดเลือกในปี 2567 จะใช้เป็นข้อมูลนำเข้าในการปรับหลักทรัพย์ที่เป็นองค์ประกอบของ Thaipat ESG Index ประจำปี สำหรับใช้เป็นดัชนีเปรียบเทียบผลตอบแทนจากการลงทุน (Benchmark Index) และใช้เป็นดัชนีอ้างอิงสำหรับการลงทุนแก่บริษัทจัดการลงทุนที่มีการให้บริการผลิตภัณฑ์การลงทุนในธีม ESG โดยผู้ที่สนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ S&P Dow Jones' Custom Indices
สำหรับรายชื่อหลักทรัพย์กลุ่ม ESG100 ที่ได้รับคัดเลือกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558-2566 ได้ทำการเปิดเผยผ่านเว็บไซต์ https://thaipat.esgrating.com ให้แก่ผู้ลงทุนและผู้สนใจทั่วไป โดยไม่มีค่าใช้จ่าย
หมายเหตุ: การนำเสนอข้อมูลกลุ่มหลักทรัพย์ ESG100 รวมถึงข้อมูลอื่นๆ ที่สถาบันไทยพัฒน์เป็นผู้ประเมิน เพื่อวัตถุประสงค์ในการให้เป็นข้อมูลเท่านั้น ไม่ถือว่าเป็นคำแนะนำในการลงทุน หรือการเสนอซื้อเสนอขายใดๆ ทั้งสิ้น
จากบทความ 'Sustainpreneur' ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ [Archived]
จากผลการสำรวจหน่วยงานผู้ประเมินและจัดระดับด้าน ESG ทั่วโลก พบว่า มีอยู่มากกว่า 600 แห่ง และมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตามการเติบโตของตลาด (SustainAbility, 2020)
โดยที่แต่ละสำนักผู้ประเมิน ต่างก็มีระเบียบวิธีและเกณฑ์ที่ใช้ประเมินแตกต่างกัน จึงมีความหลากหลายในผลประเมินที่ทั้งองค์กรผู้เป็นเจ้าของข้อมูลที่ถูกประเมิน และผู้ลงทุน รวมทั้งบุคคลทั่วไปที่สนใจ จะนำไปใช้ประโยชน์จากผลประเมินที่ได้รับ
จากผลสำรวจของ Institutional Shareholder Services ที่เผยแพร่ผ่านเอกสาร ESG Corporate Rating Survey เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 ระบุว่า ผู้ลงทุนใช้ประโยชน์จากการประเมิน ESG ของกิจการ สูงสุดสามอันดับแรก ได้แก่ การใช้เพื่อประเมินความเสี่ยงด้าน ESG (83%) การใช้เพื่อจัดทำรายงาน (79%) และการใช้เพื่อพิจารณาผลกระทบด้านความยั่งยืน (77%) ตามลำดับ
ขณะที่ผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มที่มิใช่ผู้ลงทุนใช้ประโยชน์จากการประเมิน ESG ของกิจการ สูงสุดสามอันดับแรก ได้แก่ การใช้เพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะการดำเนินงาน หรือ Benchmarking (71%) การใช้เพื่อจัดการความเสี่ยงด้านความเชื่อมั่น (63%) และการใช้เพื่อรับทราบประเด็นสำคัญสำหรับการรายงานความยั่งยืน (62%) ตามลำดับ
สถาบันไทยพัฒน์ โดยหน่วยงาน ESG Rating ซึ่งเป็นผู้พัฒนาข้อมูลด้านความยั่งยืนของธุรกิจในประเทศไทย และเป็นผู้จัดทำข้อมูลกลุ่มหลักทรัพย์ ESG100 นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 ได้จัดทำรายชื่อหลักทรัพย์จดทะเบียนที่น่าลงทุนในกลุ่ม ESG Emerging ปี 2567 ด้วยการคัดเลือกจาก 920 บริษัท/กองทุน/ทรัสต์เพื่อการลงทุน ทำการประเมินโดยใช้ข้อมูลที่เกี่ยวกับ ESG จาก 6 แหล่ง จำนวนกว่า 17,037 จุดข้อมูล
สำหรับการคัดเลือกหลักทรัพย์ที่น่าลงทุนกลุ่ม ESG Emerging ในปีนี้ นับเป็นปีที่ 5 ของการประเมิน โดยพิจารณาจากข้อมูลการดำเนินงานที่สะท้อนปัจจัยด้าน ESG ตามที่บริษัทเปิดเผยต่อสาธารณะ และผ่านเกณฑ์คัดกรองเบื้องต้นที่ใช้ในการประเมินหลักทรัพย์ ESG100 ตามหลักการ CORE Framework เพื่อเพิ่มโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะยาวแก่ผู้ลงทุน
โดยหลักทรัพย์ที่ติดกลุ่ม ESG Emerging ปี 2567 ซึ่งได้เข้าอยู่ในทำเนียบ ESG100 เป็นครั้งแรก มีจำนวน 19 หลักทรัพย์ ประกอบด้วย ADVICE BBGI COCOCO CPNREIT GFC HUMAN KCG LHHOTEL LPF NSL Q-CON SAFE SECURE SHR TPBI TTA UP WHAUP WPH
ทั้งนี้ ผู้ลงทุนที่สนใจ สามารถเข้าลงทุนในหลักทรัพย์ที่คัดเลือกจากยูนิเวิร์สของกลุ่ม ESG Emerging ปี พ.ศ. 2563-2567 จำนวน 44 หลักทรัพย์ ในรูปแบบกองทุนส่วนบุคคล Thaipat ESG Emerging Private Fund ซึ่งเป็นการลงทุนในแบบ Passive Strategy ที่ให้น้ำหนักการลงทุนในหลักทรัพย์ขนาดกลางและขนาดเล็ก (Small-Mid Cap) เท่าเทียมกับหลักทรัพย์ขนาดใหญ่ (Large Cap) โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงในช่วงราคาที่กว้างของหลักทรัพย์ขนาดกลางและขนาดเล็ก และการปรับสัดส่วนการลงทุน (Rebalance) ทุก 3 เดือน เพื่อการสร้างโอกาสได้รับผลตอบแทนที่สูงกว่าดัชนีอ้างอิงพื้นฐาน
ในปี 2567 นี้ นอกจากการคัดเลือกหลักทรัพย์กลุ่ม ESG Emerging แล้ว ยังได้ทำการคัดเลือกและจัดทำรายชื่อหลักทรัพย์ที่มีผลประกอบการพลิกฟื้นกลุ่ม ESG Turnaround เป็นปีที่ 2 เพื่อเป็นทางเลือกเพิ่มเติมสำหรับการลงทุนที่คำนึงถึงประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ด้วยโอกาสการสร้างผลตอบแทนจากหลักทรัพย์ที่กำลังอยู่ในช่วงฟื้นตัวและมีปัจจัย ESG สนับสนุน
โดยหลักทรัพย์ในกลุ่ม ESG Turnaround ปี 2567 ประกอบด้วย AOT BA BAFS CPF DUSIT ERW MALEE SEAFCO SPA THRE รวมจำนวน 10 หลักทรัพย์
ทั้งนี้ หลักทรัพย์กลุ่ม ESG100 ที่ได้รับคัดเลือกในปี 2567 จะใช้เป็นข้อมูลนำเข้าในการปรับหลักทรัพย์ที่เป็นองค์ประกอบของ Thaipat ESG Index ประจำปี สำหรับใช้เป็นดัชนีเปรียบเทียบผลตอบแทนจากการลงทุน (Benchmark Index) และใช้เป็นดัชนีอ้างอิงสำหรับการลงทุนแก่บริษัทจัดการลงทุนที่มีการให้บริการผลิตภัณฑ์การลงทุนในธีม ESG โดยผู้ที่สนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ S&P Dow Jones' Custom Indices
สำหรับรายชื่อหลักทรัพย์กลุ่ม ESG100 ที่ได้รับคัดเลือกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558-2566 ได้ทำการเปิดเผยผ่านเว็บไซต์ https://thaipat.esgrating.com ให้แก่ผู้ลงทุนและผู้สนใจทั่วไป โดยไม่มีค่าใช้จ่าย
หมายเหตุ: การนำเสนอข้อมูลกลุ่มหลักทรัพย์ ESG100 รวมถึงข้อมูลอื่นๆ ที่สถาบันไทยพัฒน์เป็นผู้ประเมิน เพื่อวัตถุประสงค์ในการให้เป็นข้อมูลเท่านั้น ไม่ถือว่าเป็นคำแนะนำในการลงทุน หรือการเสนอซื้อเสนอขายใดๆ ทั้งสิ้น
จากบทความ 'Sustainpreneur' ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ [Archived]
Saturday, May 18, 2024
ก.ล.ต. ยุโรป ออกกฎตีตรากองทุน ESG
ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ ความต้องการของผู้ลงทุนที่มีต่อกองทุนซึ่งนำปัจจัยด้าน ESG (Environmental, Social and Governance) มาผนวกในการตัดสินใจลงทุน ได้มีอัตราการเติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดดและมีแนวโน้มที่จะเติบโตต่อเนื่องในอนาคต ความต้องการนี้ได้สร้างแรงจูงใจให้ผู้จัดการสินทรัพย์และบริษัทจัดการลงทุนเพิ่มเติมชื่อกองทุนให้เกี่ยวข้องกับ ESG หรือความยั่งยืน เพื่อดึงดูดเม็ดเงินลงทุน จนเข้าข่ายเป็นการฟอกเขียว (Greenwashing) เนื่องจากคุณสมบัติของหลักทรัพย์ที่อยู่ในกองทุนมิได้เป็นไปตามข้อกำหนดและมาตรฐานด้านความยั่งยืนอย่างเพียงพอ
สำนักงานกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของยุโรป (ESMA) ได้แสดงความกังวลต่อเรื่องดังกล่าว และได้นำไปสู่การหารือ (Consultation Paper) ถึงแนวทางสำหรับกองทุนที่ใช้ชื่อที่เกี่ยวข้องกับ ESG หรือความยั่งยืน เมื่อเดือนพฤศจิกายน ปี ค.ศ. 2022 และได้มีถ้อยแถลง (Public Statement) ต่อเรื่องนี้เมื่อเดือนธันวาคม ปี ค.ศ. 2023 จนนำมาสู่การออกเป็นรายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report) ในเดือนพฤษภาคม ปี ค.ศ. 2024
โดยเนื้อหาสำคัญในแนวทางสำหรับกองทุนที่ใช้ชื่อที่เกี่ยวข้องกับ ESG หรือความยั่งยืน ที่กำลังจะประกาศใช้ ประกอบด้วย
เกณฑ์ขีดแบ่ง (Threshold) ขั้นต่ำ
ในเอกสารแนวทางการใช้ชื่อกองทุนที่เกี่ยวข้องกับ ESG หรือความยั่งยืน กำหนดให้ผู้จัดการสินทรัพย์และบริษัทจัดการลงทุน ที่ออกกองทุนที่เกี่ยวข้องกับ ESG หรือความยั่งยืน ต้องมีการลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีคุณลักษณะเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อมและ/หรือสังคม หรือเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการลงทุนที่ยั่งยืนตามข้อบังคับว่าด้วยการเปิดเผยข้อมูลการเงินที่ยั่งยืน (SFDR) ไม่น้อยกว่า 80% ในกองทุนดังกล่าว
เกณฑ์ปกป้อง (Safeguard) ขั้นต่ำ
กองทุนสามารถเพิ่มคำว่า Transition หรือ Social และ Governance ในชื่อกองทุน โดยต้องไม่มีการลงทุนในหลักทรัพย์ที่เข้าเกณฑ์คัดออกของดัชนี Climate Transition Benchmarks (CTB) โดยเกณฑ์ในการคัดหลักทรัพย์ออกที่ระบุใน CTB ประกอบด้วย 1) บริษัทที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการค้าอาวุธต้องห้าม (Controversial Weapons) ตามที่ระบุในอนุสัญญาออสโล 2) บริษัทที่เกี่ยวข้องกับการเพาะปลูกและผลิตยาสูบ 3) บริษัทซึ่งผู้ดูแลดัชนีที่ใช้เป็นเกณฑ์มาตรฐาน (Benchmark Administrators) พบว่ามีการละเมิดหลักการในข้อตกลงสากลแห่งสหประชาชาติ (UNGC) หรือแนวทางขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) สำหรับบรรษัทข้ามชาติ
ประเภท (Category) กองทุนที่ใช้คำที่เกี่ยวข้องกับ Transition
กองทุนประเภทนี้ สามารถใช้คำที่แสดงถึงการลงทุนเพื่อการปรับเปลี่ยน (Transition) เช่น คำว่า improving, progress/ion, evolution, transformation ในชื่อกองทุน เพื่อเปิดโอกาสให้สามารถลงทุนในบริษัทที่มีส่วนของรายได้มาจากเชื้อเพลงฟอสซิล และมีกลยุทธ์ที่ส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจสีเขียว โดยกองทุนยังคงต้องดำรงสัดส่วน 80% ตามเกณฑ์ขีดแบ่ง และเกณฑ์ปกป้องขั้นต่ำตาม CTB
เกณฑ์สำหรับจำแนกกองทุน “E” ออกจาก “S” และ “G”
กองทุนที่ใช้คำที่เกี่ยวข้องกับ Social (S) และ Governance (G) ถือว่าอยู่ในประเภทกองทุนเดียวกันกับกองทุน Transition ที่สอดคล้องกับเกณฑ์ปกป้องขั้นต่ำตาม CTB แต่สำหรับกองทุนที่ใช้คำที่เกี่ยวข้องกับ Environmental (E) รวมทั้งคำว่า ESG และ SRI จะต้องปฏิบัติตามเกณฑ์ของดัชนี Paris-aligned Benchmarks (PAB) ที่กำหนดให้ระดับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวมของดัชนีเป็นไปตามความตกลงปารีส (มีเป้าหมายที่จะรักษาอุณหภูมิเฉลี่ยของโลก ให้ต่ำกว่า 2°C เหนืออุณหภูมิในช่วงก่อนการพัฒนาอุตสาหกรรม และพยายามจำกัดไม่ให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเกิน 1.5°C)
เนื่องจากกองทุนที่ใช้คำที่เกี่ยวข้องกับ Social หรือ Governance ในชื่อกองทุน เพื่อส่งเสริมคุณลักษณะเฉพาะด้านหรือมีวัตถุประสงค์ทางสังคม (หรือมุ่งเน้นเรื่องธรรมาภิบาล) อาจมีตัวเลือกที่จำกัดเกินไป หากคัดหลักทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับเชื้อเพลิงฟอสซิลออกจากกรอบการลงทุน (Investment Universe) ขณะที่กองทุนที่ใช้คำที่เกี่ยวข้องกับ Environment ในชื่อกองทุน สมควรที่จะใช้ PAB เป็นเกณฑ์ในการคัดหลักทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับเชื้อเพลิงฟอสซิลออก เนื่องจากผู้ลงทุนคาดหวังที่จะมิให้กองทุนมีการลงทุนในกลุ่มดังกล่าวอย่างมีนัยสำคัญ
ในกรณีที่กองทุนมีการใช้คำที่เกี่ยวข้องกับ Environment ร่วมกับคำที่เกี่ยวข้องกับ Transition เพื่อส่งเสริมกลยุทธ์การปรับเปลี่ยน กองทุนสามารถใช้ CTB เป็นเกณฑ์ในการคัดเลือกหลักทรัพย์ แต่หากกองทุนมีการใช้คำที่เกี่ยวข้องกับ Sustainable ที่บ่งชี้ถึงความยั่งยืน กองทุนจะต้องใช้ PAB เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาคัดเลือกหลักทรัพย์
การวัดผลได้ (Measurability) ของกองทุนที่สื่อถึง Impact และ Transition
กรณีที่กองทุนมีการใช้คำที่เกี่ยวข้องกับ Impact ผู้จัดการกองทุนควรให้แน่ใจว่าภายใต้สัดส่วนการลงทุนตามเกณฑ์ขีดแบ่งขั้นต่ำมีความประสงค์ที่จะสร้างผลกระทบเชิงบวกทางสังคมและสิ่งแวดล้อมที่วัดผลได้ ควบคู่กับผลตอบแทนทางการเงิน ส่วนกองทุนที่มีการใช้คำที่เกี่ยวข้องกับ Transition ผู้จัดการกองทุนควรแสดงให้เห็นว่าการลงทุนเป็นไปตามแนวทางการปรับเปลี่ยนทางสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างชัดเจนและวัดผลได้
ระยะเวลาก่อนมีผลบังคับ
สำหรับกองทุนที่ดำเนินการอยู่แล้ว จะมีระยะเวลาในการเตรียมการ 6 เดือน โดยจะเริ่มบังคับใช้ในอีก 3 เดือน หลังจากการประกาศแนวทางฉบับแปลสำหรับแต่ละประเทศในสหภาพยุโรป ทำให้มีระยะเวลาสำหรับผู้จัดการกองทุนที่จะปฏิบัติให้เป็นไปตามแนวทางฉบับที่จะประกาศใช้ ไม่น้อยกว่า 9 เดือน ส่วนกองทุนที่ตั้งใหม่ ให้มีผลบังคับใช้ทันทีหลังวันประกาศใช้
จากบทความ 'Sustainpreneur' ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ [Archived]
สำนักงานกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของยุโรป (ESMA) ได้แสดงความกังวลต่อเรื่องดังกล่าว และได้นำไปสู่การหารือ (Consultation Paper) ถึงแนวทางสำหรับกองทุนที่ใช้ชื่อที่เกี่ยวข้องกับ ESG หรือความยั่งยืน เมื่อเดือนพฤศจิกายน ปี ค.ศ. 2022 และได้มีถ้อยแถลง (Public Statement) ต่อเรื่องนี้เมื่อเดือนธันวาคม ปี ค.ศ. 2023 จนนำมาสู่การออกเป็นรายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report) ในเดือนพฤษภาคม ปี ค.ศ. 2024
โดยเนื้อหาสำคัญในแนวทางสำหรับกองทุนที่ใช้ชื่อที่เกี่ยวข้องกับ ESG หรือความยั่งยืน ที่กำลังจะประกาศใช้ ประกอบด้วย
เกณฑ์ขีดแบ่ง (Threshold) ขั้นต่ำ
ในเอกสารแนวทางการใช้ชื่อกองทุนที่เกี่ยวข้องกับ ESG หรือความยั่งยืน กำหนดให้ผู้จัดการสินทรัพย์และบริษัทจัดการลงทุน ที่ออกกองทุนที่เกี่ยวข้องกับ ESG หรือความยั่งยืน ต้องมีการลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีคุณลักษณะเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อมและ/หรือสังคม หรือเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการลงทุนที่ยั่งยืนตามข้อบังคับว่าด้วยการเปิดเผยข้อมูลการเงินที่ยั่งยืน (SFDR) ไม่น้อยกว่า 80% ในกองทุนดังกล่าว
เกณฑ์ปกป้อง (Safeguard) ขั้นต่ำ
กองทุนสามารถเพิ่มคำว่า Transition หรือ Social และ Governance ในชื่อกองทุน โดยต้องไม่มีการลงทุนในหลักทรัพย์ที่เข้าเกณฑ์คัดออกของดัชนี Climate Transition Benchmarks (CTB) โดยเกณฑ์ในการคัดหลักทรัพย์ออกที่ระบุใน CTB ประกอบด้วย 1) บริษัทที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการค้าอาวุธต้องห้าม (Controversial Weapons) ตามที่ระบุในอนุสัญญาออสโล 2) บริษัทที่เกี่ยวข้องกับการเพาะปลูกและผลิตยาสูบ 3) บริษัทซึ่งผู้ดูแลดัชนีที่ใช้เป็นเกณฑ์มาตรฐาน (Benchmark Administrators) พบว่ามีการละเมิดหลักการในข้อตกลงสากลแห่งสหประชาชาติ (UNGC) หรือแนวทางขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) สำหรับบรรษัทข้ามชาติ
ประเภท (Category) กองทุนที่ใช้คำที่เกี่ยวข้องกับ Transition
กองทุนประเภทนี้ สามารถใช้คำที่แสดงถึงการลงทุนเพื่อการปรับเปลี่ยน (Transition) เช่น คำว่า improving, progress/ion, evolution, transformation ในชื่อกองทุน เพื่อเปิดโอกาสให้สามารถลงทุนในบริษัทที่มีส่วนของรายได้มาจากเชื้อเพลงฟอสซิล และมีกลยุทธ์ที่ส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจสีเขียว โดยกองทุนยังคงต้องดำรงสัดส่วน 80% ตามเกณฑ์ขีดแบ่ง และเกณฑ์ปกป้องขั้นต่ำตาม CTB
เกณฑ์สำหรับจำแนกกองทุน “E” ออกจาก “S” และ “G”
กองทุนที่ใช้คำที่เกี่ยวข้องกับ Social (S) และ Governance (G) ถือว่าอยู่ในประเภทกองทุนเดียวกันกับกองทุน Transition ที่สอดคล้องกับเกณฑ์ปกป้องขั้นต่ำตาม CTB แต่สำหรับกองทุนที่ใช้คำที่เกี่ยวข้องกับ Environmental (E) รวมทั้งคำว่า ESG และ SRI จะต้องปฏิบัติตามเกณฑ์ของดัชนี Paris-aligned Benchmarks (PAB) ที่กำหนดให้ระดับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวมของดัชนีเป็นไปตามความตกลงปารีส (มีเป้าหมายที่จะรักษาอุณหภูมิเฉลี่ยของโลก ให้ต่ำกว่า 2°C เหนืออุณหภูมิในช่วงก่อนการพัฒนาอุตสาหกรรม และพยายามจำกัดไม่ให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเกิน 1.5°C)
เนื่องจากกองทุนที่ใช้คำที่เกี่ยวข้องกับ Social หรือ Governance ในชื่อกองทุน เพื่อส่งเสริมคุณลักษณะเฉพาะด้านหรือมีวัตถุประสงค์ทางสังคม (หรือมุ่งเน้นเรื่องธรรมาภิบาล) อาจมีตัวเลือกที่จำกัดเกินไป หากคัดหลักทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับเชื้อเพลิงฟอสซิลออกจากกรอบการลงทุน (Investment Universe) ขณะที่กองทุนที่ใช้คำที่เกี่ยวข้องกับ Environment ในชื่อกองทุน สมควรที่จะใช้ PAB เป็นเกณฑ์ในการคัดหลักทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับเชื้อเพลิงฟอสซิลออก เนื่องจากผู้ลงทุนคาดหวังที่จะมิให้กองทุนมีการลงทุนในกลุ่มดังกล่าวอย่างมีนัยสำคัญ
ในกรณีที่กองทุนมีการใช้คำที่เกี่ยวข้องกับ Environment ร่วมกับคำที่เกี่ยวข้องกับ Transition เพื่อส่งเสริมกลยุทธ์การปรับเปลี่ยน กองทุนสามารถใช้ CTB เป็นเกณฑ์ในการคัดเลือกหลักทรัพย์ แต่หากกองทุนมีการใช้คำที่เกี่ยวข้องกับ Sustainable ที่บ่งชี้ถึงความยั่งยืน กองทุนจะต้องใช้ PAB เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาคัดเลือกหลักทรัพย์
การวัดผลได้ (Measurability) ของกองทุนที่สื่อถึง Impact และ Transition
กรณีที่กองทุนมีการใช้คำที่เกี่ยวข้องกับ Impact ผู้จัดการกองทุนควรให้แน่ใจว่าภายใต้สัดส่วนการลงทุนตามเกณฑ์ขีดแบ่งขั้นต่ำมีความประสงค์ที่จะสร้างผลกระทบเชิงบวกทางสังคมและสิ่งแวดล้อมที่วัดผลได้ ควบคู่กับผลตอบแทนทางการเงิน ส่วนกองทุนที่มีการใช้คำที่เกี่ยวข้องกับ Transition ผู้จัดการกองทุนควรแสดงให้เห็นว่าการลงทุนเป็นไปตามแนวทางการปรับเปลี่ยนทางสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างชัดเจนและวัดผลได้
ระยะเวลาก่อนมีผลบังคับ
สำหรับกองทุนที่ดำเนินการอยู่แล้ว จะมีระยะเวลาในการเตรียมการ 6 เดือน โดยจะเริ่มบังคับใช้ในอีก 3 เดือน หลังจากการประกาศแนวทางฉบับแปลสำหรับแต่ละประเทศในสหภาพยุโรป ทำให้มีระยะเวลาสำหรับผู้จัดการกองทุนที่จะปฏิบัติให้เป็นไปตามแนวทางฉบับที่จะประกาศใช้ ไม่น้อยกว่า 9 เดือน ส่วนกองทุนที่ตั้งใหม่ ให้มีผลบังคับใช้ทันทีหลังวันประกาศใช้
จากบทความ 'Sustainpreneur' ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ [Archived]
Saturday, May 04, 2024
Double Materiality: หลักการชี้แนะสำหรับการรายงานความยั่งยืน
ความคาดหวังของสังคมต่อประเด็นความยั่งยืนในรอบทศวรรษที่ผ่านมาได้เติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดด จนเป็นผลให้เกิดแรงผลักอย่างกว้างขวางไปยังบริษัทให้ต้องพิจารณาและเปิดเผยผลกระทบที่มีต่อผู้คนและผืนโลก ไม่น้อยไปกว่าผลกระทบจากประเด็นความยั่งยืนที่มีต่อธุรกิจหรือผลกำไรที่เป็นบรรทัดสุดท้ายของกิจการ
สหภาพยุโรปได้ขานรับแนวคิดเรื่อง Double Materiality (ทวิสารัตถภาพ) ที่เป็นการพิจารณาประเด็นสาระสำคัญด้านความยั่งยืนซึ่งส่งผลกระทบต่อตัวกิจการเอง และผลกระทบจากกิจกรรมขององค์กรที่มีต่อโลกภายนอก โดยกำหนดให้กิจการต้องจัดทำรายงานที่มีการเปิดเผยข้อมูลผลกระทบทั้งสองด้าน
ประกอบด้วย ด้านการรายงานผลกระทบจากการดำเนินงานของกิจการที่มีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีส่วนสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน และด้านการรายงานผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืนซึ่งมีนัยต่อผลประกอบการทางการเงิน
จากผลสำรวจ 2023 Annual Global Benchmark Policy Survey โดย Institutional Shareholder Services (ISS) พบว่า เมื่อถามถึงวิธีการกำหนดสารัตถภาพ ร้อยละ 75 ของผู้ลงทุนเห็นว่า การประเมินสารัตถภาพควรครอบคลุมถึงผลกระทบภายนอกที่เกิดจากกิจการ และมีเพียงร้อยละ 6 ของผู้ลงทุนที่ระบุว่า การประเมินสารัตถภาพควรจำกัดเฉพาะปัจจัยที่ส่งผลกระทบทางการเงินโดยตรงต่อตัวกิจการ
ทั้งนี้ การรายงานผลกระทบมีความเกี่ยวเนื่องอย่างใกล้ชิดกับผู้มีส่วนได้เสียหลายฝ่ายในแง่ที่เป็นกิจกรรมซึ่งสาธารณชนให้ความสนใจ และเป็นเหตุให้มีความสำคัญกับกิจการต่อการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าว แม้กิจการหรือผู้ลงทุนในตัวกิจการจะมิได้พิจารณาว่ามีนัยสำคัญทางการเงินในปัจจุบันหรือในอนาคตก็ตาม
และด้วยเหตุที่กิจการไม่สามารถได้รับการยอมรับว่าการขับเคลื่อนเรื่องความยั่งยืนบรรลุผลสำเร็จ ด้วยการ “คิดเอง เออเอง” โดยปราศจากการมีส่วนร่วมกับภาคีภายนอก การแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นด้านความยั่งยืนขององค์กร จึงจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง ทั้งในกระบวนการวางแผน การดำเนินการ การเก็บรวบรวมและการเปิดเผยข้อมูลการดำเนินงาน
ผู้มีส่วนได้เสีย ในที่นี้ จำแนกออกได้เป็นสองกลุ่มตามบริบทของทวิสารัตถภาพ ได้แก่ ผู้มีส่วนได้เสียที่ได้รับผลกระทบ (สำหรับการประเมินสารัตถภาพเชิงผลกระทบ) และผู้ใช้รายงานแห่งความยั่งยืน (สำหรับการประเมินสารัตถภาพเชิงการเงิน)
ในการสานสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้เสียที่ได้รับผลกระทบ เป็นไปเพื่อการแสวงหาข้อมูลนำเข้าและเสียงสะท้อนเพื่อทำความเข้าใจในข้อกังวล ตามมาด้วยหลักฐานแสดงผลกระทบที่เกิดขึ้นหรือที่คาดว่าจะเกิดขึ้นกับผู้คนและสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวโยงกับกิจการที่ซึ่งผู้มีส่วนได้เสียเหล่านั้นเป็นผู้ได้รับผลกระทบ
การปรึกษาหารือกับผู้มีส่วนได้เสียที่ได้รับผลกระทบ และนำเอามุมมองเหล่านั้นเข้าสู่กระบวนการประเมินสารัตถภาพจะช่วยยืนยันถึงการกำหนดประเด็นความยั่งยืนว่ามีความเกี่ยวเนื่องกับผู้มีส่วนได้เสียที่ได้รับผลกระทบ อาทิ ประเด็นด้านสุขภาพและความปลอดภัยที่มาจากการสานสัมพันธ์กับพนักงานหรือตัวแทนพนักงาน รวมทั้งการรับฟังเสียงสะท้อนจากผู้มีส่วนได้เสียในการสานสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอตามธรรมเนียมปฏิบัติทางธุรกิจ
การเก็บรวบรวมและการเปิดเผยข้อมูลการดำเนินงานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสารัตถภาพเชิงผลกระทบ ควรมุ่งเน้นที่การสานสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้เสียที่ได้รับผลกระทบในขั้นตอนที่เป็นการระบุผลกระทบที่เกี่ยวกับประเด็นความยั่งยืนที่เกิดขึ้นและที่คาดว่าจะเกิดขึ้น หรือในขั้นตอนที่เป็นการประเมินและกำหนดผลกระทบที่เกี่ยวกับประเด็นความยั่งยืนที่เป็นสาระสำคัญ
ขณะที่การเก็บรวบรวมและการเปิดเผยข้อมูลการดำเนินงานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสารัตถภาพเชิงการเงินของประเด็นความยั่งยืน ผู้ใช้รายงานแห่งความยั่งยืนจะเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการช่วยกิจการประเมินสารัตถภาพเชิงการเงินตามหลักฐานที่นำมาสนับสนุน อาทิ ความเห็นและความสนใจของผู้มีส่วนได้เสีย ซึ่งเป็นไปในแนวทางเดียวกันกับวิธีปฏิบัติในกระบวนการพิจารณาสาระสำคัญในรายงานทางการเงินที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน โดยที่มีการปรับปรุงหมายเหตุประกอบงบการเงินและเอกสารนำเสนอนักลงทุนอย่างสม่ำเสมอเพื่อสะท้อนประเด็นเกิดใหม่และประเด็นอื่น ๆ ที่นักลงทุนสนใจ ซึ่งในกรณีนี้ กิจการสามารถใช้ประโยชน์จากกลไกการสานเสวนาที่มีอยู่กับผู้ถือหุ้น ผู้ลงทุนอื่น และเจ้าหนี้ สำหรับสนับสนุนกระบวนการประเมินสารัตถภาพเชิงการเงิน
สำหรับแนวการสานเสวนากับผู้มีส่วนได้เสียที่อาจมีความสนใจต่อข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวกับความยั่งยืนโดยทั่วไป ที่มิได้จำกัดหรือจำเพาะเจาะจงเหมือนกลุ่มผู้ลงทุน บริษัทสามารถใช้ประโยชน์ในข้อมูลดังกล่าวสำหรับการประเมินวิธีจัดการกับผลกระทบที่เป็นสาระสำคัญ เช่น ชุมชนที่ได้รับผลกระทบอาจสนใจว่าบริษัทมีข้อกำหนดในการฟื้นฟูแหล่งดำเนินงานที่ปล่อยมลภาวะอย่างเพียงพอที่จะครอบคลุมกิจกรรมฟื้นฟูที่จำเป็น หรือพนักงานปัจจุบันและที่รอการบรรจุอาจต้องการรับทราบเกี่ยวกับผลทางการเงินที่คาดหมายที่สามารถกระทบต่อโอกาสที่มีในองค์กร (เช่น บำนาญ หรือการฝึกอบรม)
ในสถานการณ์ที่การปรึกษาหารือกับผู้มีส่วนได้เสียทำได้ยากหรือเป็นไปไม่ได้ (เช่น ทำแล้วเกิดความเสี่ยง) กิจการอาจพิจารณาทางเลือกอื่นที่เหมาะสม อาทิ การปรึกษาหารือกับผู้เชี่ยวชาญอิสระที่เชื่อถือได้ องค์กรภาคประชาสังคม (NGO) ซึ่งเป็นตัวแทนชุมชนที่ได้รับผลกระทบที่สามารถให้เสียงสะท้อนที่มีคุณค่า หรือการใช้รายงานและบทความทางวิทยาศาสตร์อ้างอิงสำหรับประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม
ที่สำคัญ ในกระบวนการเก็บและเปิดเผยข้อมูลเพื่อแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นด้านความยั่งยืนขององค์กร กิจการต้องดำเนินการปรึกษาหารือกับผู้มีส่วนได้เสียที่ได้รับผลกระทบอย่างโปร่งใส ด้วยการเปิดเผยวิธีการสานสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้เสียทั้งในขั้นตอนการระบุและประเมินผลกระทบทางลบที่เกิดขึ้นและที่คาดว่าจะเกิดขึ้น
จากบทความ 'Sustainpreneur' ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ [Archived]
สหภาพยุโรปได้ขานรับแนวคิดเรื่อง Double Materiality (ทวิสารัตถภาพ) ที่เป็นการพิจารณาประเด็นสาระสำคัญด้านความยั่งยืนซึ่งส่งผลกระทบต่อตัวกิจการเอง และผลกระทบจากกิจกรรมขององค์กรที่มีต่อโลกภายนอก โดยกำหนดให้กิจการต้องจัดทำรายงานที่มีการเปิดเผยข้อมูลผลกระทบทั้งสองด้าน
ประกอบด้วย ด้านการรายงานผลกระทบจากการดำเนินงานของกิจการที่มีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีส่วนสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน และด้านการรายงานผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืนซึ่งมีนัยต่อผลประกอบการทางการเงิน
จากผลสำรวจ 2023 Annual Global Benchmark Policy Survey โดย Institutional Shareholder Services (ISS) พบว่า เมื่อถามถึงวิธีการกำหนดสารัตถภาพ ร้อยละ 75 ของผู้ลงทุนเห็นว่า การประเมินสารัตถภาพควรครอบคลุมถึงผลกระทบภายนอกที่เกิดจากกิจการ และมีเพียงร้อยละ 6 ของผู้ลงทุนที่ระบุว่า การประเมินสารัตถภาพควรจำกัดเฉพาะปัจจัยที่ส่งผลกระทบทางการเงินโดยตรงต่อตัวกิจการ
ทั้งนี้ การรายงานผลกระทบมีความเกี่ยวเนื่องอย่างใกล้ชิดกับผู้มีส่วนได้เสียหลายฝ่ายในแง่ที่เป็นกิจกรรมซึ่งสาธารณชนให้ความสนใจ และเป็นเหตุให้มีความสำคัญกับกิจการต่อการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าว แม้กิจการหรือผู้ลงทุนในตัวกิจการจะมิได้พิจารณาว่ามีนัยสำคัญทางการเงินในปัจจุบันหรือในอนาคตก็ตาม
และด้วยเหตุที่กิจการไม่สามารถได้รับการยอมรับว่าการขับเคลื่อนเรื่องความยั่งยืนบรรลุผลสำเร็จ ด้วยการ “คิดเอง เออเอง” โดยปราศจากการมีส่วนร่วมกับภาคีภายนอก การแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นด้านความยั่งยืนขององค์กร จึงจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง ทั้งในกระบวนการวางแผน การดำเนินการ การเก็บรวบรวมและการเปิดเผยข้อมูลการดำเนินงาน
ผู้มีส่วนได้เสีย ในที่นี้ จำแนกออกได้เป็นสองกลุ่มตามบริบทของทวิสารัตถภาพ ได้แก่ ผู้มีส่วนได้เสียที่ได้รับผลกระทบ (สำหรับการประเมินสารัตถภาพเชิงผลกระทบ) และผู้ใช้รายงานแห่งความยั่งยืน (สำหรับการประเมินสารัตถภาพเชิงการเงิน)
ในการสานสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้เสียที่ได้รับผลกระทบ เป็นไปเพื่อการแสวงหาข้อมูลนำเข้าและเสียงสะท้อนเพื่อทำความเข้าใจในข้อกังวล ตามมาด้วยหลักฐานแสดงผลกระทบที่เกิดขึ้นหรือที่คาดว่าจะเกิดขึ้นกับผู้คนและสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวโยงกับกิจการที่ซึ่งผู้มีส่วนได้เสียเหล่านั้นเป็นผู้ได้รับผลกระทบ
การปรึกษาหารือกับผู้มีส่วนได้เสียที่ได้รับผลกระทบ และนำเอามุมมองเหล่านั้นเข้าสู่กระบวนการประเมินสารัตถภาพจะช่วยยืนยันถึงการกำหนดประเด็นความยั่งยืนว่ามีความเกี่ยวเนื่องกับผู้มีส่วนได้เสียที่ได้รับผลกระทบ อาทิ ประเด็นด้านสุขภาพและความปลอดภัยที่มาจากการสานสัมพันธ์กับพนักงานหรือตัวแทนพนักงาน รวมทั้งการรับฟังเสียงสะท้อนจากผู้มีส่วนได้เสียในการสานสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอตามธรรมเนียมปฏิบัติทางธุรกิจ
การเก็บรวบรวมและการเปิดเผยข้อมูลการดำเนินงานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสารัตถภาพเชิงผลกระทบ ควรมุ่งเน้นที่การสานสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้เสียที่ได้รับผลกระทบในขั้นตอนที่เป็นการระบุผลกระทบที่เกี่ยวกับประเด็นความยั่งยืนที่เกิดขึ้นและที่คาดว่าจะเกิดขึ้น หรือในขั้นตอนที่เป็นการประเมินและกำหนดผลกระทบที่เกี่ยวกับประเด็นความยั่งยืนที่เป็นสาระสำคัญ
ขณะที่การเก็บรวบรวมและการเปิดเผยข้อมูลการดำเนินงานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสารัตถภาพเชิงการเงินของประเด็นความยั่งยืน ผู้ใช้รายงานแห่งความยั่งยืนจะเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการช่วยกิจการประเมินสารัตถภาพเชิงการเงินตามหลักฐานที่นำมาสนับสนุน อาทิ ความเห็นและความสนใจของผู้มีส่วนได้เสีย ซึ่งเป็นไปในแนวทางเดียวกันกับวิธีปฏิบัติในกระบวนการพิจารณาสาระสำคัญในรายงานทางการเงินที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน โดยที่มีการปรับปรุงหมายเหตุประกอบงบการเงินและเอกสารนำเสนอนักลงทุนอย่างสม่ำเสมอเพื่อสะท้อนประเด็นเกิดใหม่และประเด็นอื่น ๆ ที่นักลงทุนสนใจ ซึ่งในกรณีนี้ กิจการสามารถใช้ประโยชน์จากกลไกการสานเสวนาที่มีอยู่กับผู้ถือหุ้น ผู้ลงทุนอื่น และเจ้าหนี้ สำหรับสนับสนุนกระบวนการประเมินสารัตถภาพเชิงการเงิน
สำหรับแนวการสานเสวนากับผู้มีส่วนได้เสียที่อาจมีความสนใจต่อข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวกับความยั่งยืนโดยทั่วไป ที่มิได้จำกัดหรือจำเพาะเจาะจงเหมือนกลุ่มผู้ลงทุน บริษัทสามารถใช้ประโยชน์ในข้อมูลดังกล่าวสำหรับการประเมินวิธีจัดการกับผลกระทบที่เป็นสาระสำคัญ เช่น ชุมชนที่ได้รับผลกระทบอาจสนใจว่าบริษัทมีข้อกำหนดในการฟื้นฟูแหล่งดำเนินงานที่ปล่อยมลภาวะอย่างเพียงพอที่จะครอบคลุมกิจกรรมฟื้นฟูที่จำเป็น หรือพนักงานปัจจุบันและที่รอการบรรจุอาจต้องการรับทราบเกี่ยวกับผลทางการเงินที่คาดหมายที่สามารถกระทบต่อโอกาสที่มีในองค์กร (เช่น บำนาญ หรือการฝึกอบรม)
ในสถานการณ์ที่การปรึกษาหารือกับผู้มีส่วนได้เสียทำได้ยากหรือเป็นไปไม่ได้ (เช่น ทำแล้วเกิดความเสี่ยง) กิจการอาจพิจารณาทางเลือกอื่นที่เหมาะสม อาทิ การปรึกษาหารือกับผู้เชี่ยวชาญอิสระที่เชื่อถือได้ องค์กรภาคประชาสังคม (NGO) ซึ่งเป็นตัวแทนชุมชนที่ได้รับผลกระทบที่สามารถให้เสียงสะท้อนที่มีคุณค่า หรือการใช้รายงานและบทความทางวิทยาศาสตร์อ้างอิงสำหรับประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม
ที่สำคัญ ในกระบวนการเก็บและเปิดเผยข้อมูลเพื่อแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นด้านความยั่งยืนขององค์กร กิจการต้องดำเนินการปรึกษาหารือกับผู้มีส่วนได้เสียที่ได้รับผลกระทบอย่างโปร่งใส ด้วยการเปิดเผยวิธีการสานสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้เสียทั้งในขั้นตอนการระบุและประเมินผลกระทบทางลบที่เกิดขึ้นและที่คาดว่าจะเกิดขึ้น
จากบทความ 'Sustainpreneur' ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ [Archived]
Subscribe to:
Posts (Atom)