การวางแผนรับสถานการณ์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Scenario Planning) ต่างจากการทำนายหรือการพยากรณ์ (Forecasting) ตรงที่ภาพที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Scenario) จะได้จากการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่สามารถเกิดขึ้น (What could be) ในอนาคตโดยมีภาพสรุปที่เป็นไปได้หลายทาง (Uncertain End) ในขณะที่การทำนาย จะวิเคราะห์แนวโน้มที่น่าจะเกิดขึ้น (What should be) จากข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบันเพื่อนำไปสู่ภาพสรุปที่มีลักษณะแน่ชัด (Certain End)
ในทางธุรกิจ การใช้วิธีการทำนายหรือการพยากรณ์มีความเสี่ยง เนื่องจากองค์กรมีโอกาสเกิดความผิดพลาดในการใช้จ่ายงบประมาณ สร้างสายการผลิต หรือเตรียมทรัพยากรบุคคลเพื่อรองรับสถานการณ์ในอนาคตที่อาจจะไม่เกิดขึ้นตามภาพสรุปนั้น ในขณะที่การใช้เครื่องมือ Scenario Planning จะพิจารณาถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นอย่างรอบด้าน สนับสนุนให้องค์กรสร้างความเชี่ยวชาญในการเฝ้าสังเกตความเปลี่ยนแปลงภาวะแวดล้อมทางธุรกิจ อันส่งผลต่อความสามารถในการปรับตัวขององค์กรทั้งในระยะสั้น และความสามารถในการพัฒนาระบบองค์กรที่มีความแข็งแรงและทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในด้านต่างๆ อย่างรวดเร็วและกว้างขวางในระยะยาว... (อ่านรายละเอียดในคอลัมน์ พอเพียงภิวัตน์) [Archived]
Tuesday, May 29, 2007
Tuesday, May 22, 2007
ก้าวแรก โรดแมพเศรษฐกิจพอเพียง
เมื่อเร็วๆนี้ สถาบันการจัดการเพื่อชนบทและสังคม มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ได้จัดให้มีการระดมสมองเพื่อจัดทำแผนที่เดินทาง (road map) เศรษฐกิจพอเพียง และการสร้างเครือข่ายเศรษฐกิจพอเพียงระหว่างประเทศ โดยมีผู้เข้าร่วมประกอบด้วยตัวแทนหน่วยงานภาครัฐ เอกชน นักวิชาการ ตัวแทนองค์กรอิสระ และภาคประชาสังคม ประมาณ 110 คน
ต้องยอมรับความจริงว่าในปัจจุบัน ยังไม่มีความชัดเจนว่าสถานภาพของประเทศไทย จะพัฒนาไปสู่ทิศทางการเป็นเศรษฐกิจพอเพียงอยู่ ณ จุดใด และหากจะก้าวต่อไปควรจะทำอย่างไร ขณะที่นโยบายระดับประเทศก็ยังไม่มีความชัดเจนในการจัดลำดับความสำคัญของนโยบายทางเศรษฐกิจเพื่อให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจพอเพียงในระดับต่างๆ ด้วยเหตุนี้ ประเทศไทยจึงจำเป็นจะต้องมียุทธศาสตร์ที่ดี มีแผนที่เดินทางที่ชัดเจนเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการดำเนินนโยบาย พร้อมกับการสร้างเครือข่ายและความเข้าใจระหว่างประเทศ
แผนที่เดินทางจะบอกแนวทางและเป้าหมายเศรษฐกิจพอเพียงในระดับประเทศ ข้อเสนอเชิงวิสัยทัศน์และจังหวะก้าวใน 5 ปี ปัจจัยวิกฤติที่บ่งบอกความสำเร็จ (critical success factors) ในแต่ละด้านตามลำดับความสำคัญ เพื่อช่วยให้หน่วยงานกำหนดยุทธศาสตร์ระดับประเทศ หน่วยงานปฏิบัติอื่นๆ และภาคประชาสังคม มีความเข้าใจและเห็นแนวทางพัฒนาประเทศที่ชัดเจน พร้อมจะดำเนินงานพัฒนาไปในแนวทางเดียวกัน
เป้าหมายในการจัดทำแผนที่เดินทางเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเป็นเครื่องนำทางให้ประเทศไทยสามารถโลดแล่นบนถนนโลกได้อย่างมั่นคงปลอดภัย โดยไม่ลืมว่า บนถนนสายนี้ ไม่ได้มีรถยนต์ประเทศไทยเพียงคันเดียวที่แล่นอยู่ แต่ยังมีรถยนต์อีกหลายคัน กำลังวิ่งไปในทางเดียวกัน เพียงแต่มีแผนที่ประจำรถกันคนละภาษา ซึ่งหมายความว่า ประเทศอื่นๆ ในโลกที่กำลังแล่นอยู่ในทิศทางนี้ ก็มีแผนที่เดินทางที่สอดคล้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเช่นกัน เพียงแต่ไม่ได้เรียกว่าเศรษฐกิจพอเพียงเหมือนประเทศไทย
การจัดทำแผนที่เดินทางและการสร้างเครือข่ายเศรษฐกิจพอเพียงระหว่างประเทศ จึงเป็นการค้นหาจุดร่วม การวิเคราะห์เปรียบเทียบในเชิงวิชาการ การเผยแพร่เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ ตลอดจนการสานเครือข่ายระหว่างประเทศเพื่อร่วมกันขับเคลื่อนรถยนต์ประเทศต่างๆ เหล่านี้ ให้ไปสู่จุดหมายแห่งเดียวกัน เป็นจุดหมายที่มีความสมดุล พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลง และก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์
การระดมสมองครั้งนี้ ประกอบด้วยกลุ่มย่อยด้านเศรษฐกิจ ทุนและเทคโนโลยี ด้านการเรียนรู้และสุขภาวะ ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านการกระจายอำนาจ มีข้อเสนอวิสัยทัศน์ภาพกว้างให้ประเทศไทยมีวิถีชีวิตและสังคมตามแนวทางพอเพียง มีภูมิคุ้มกันที่ทำให้อยู่ได้อย่างมีความสุขและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ โดยมีความสมดุลใน 5 ด้าน คือ การดูแลเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กันในสังคม การลดช่องว่างในสังคม ความสมดุลทางเศรษฐกิจระหว่างการพึ่งพาทุนและเทคโนโลยีในประเทศและต่างประเทศ ความสมดุลระหว่างสิ่งแวดล้อมกับการพัฒนา และการมีสุขภาวะที่ดีทั้งร่างกาย จิตใจ และสังคม
ขณะเดียวกัน ที่ประชุมกลุ่มย่อย ก็ได้เสนอประเด็นวิกฤติที่คล้ายคลึงกัน คือ ปัญหากลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงให้เกิดผลในทางปฏิบัติ ปัญหาค่านิยมและสื่อ ปัญหาการขาดความเข้าใจในเศรษฐกิจพอเพียง ปัญหาทางนโยบายที่ไม่ต่อเนื่อง ปัญหาทางการเมืองหรือความขัดแย้งที่บั่นทอนความเข้มแข็งของชุมชน และปัญหาความพร้อมของส่วนท้องถิ่นที่ต่างระดับกัน
ข้อสรุปในเบื้องต้นมีข้อเสนอแนะให้มีการจัดตั้งองค์การมหาชนเพื่อเป็นเจ้าภาพในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงอย่างต่อเนื่องและประสานงานกับหลายภาคส่วน การสร้างความเข็มแข็งให้กับภาคประชาชนผ่านกระบวนการศึกษาเรียนรู้และการจัดการความรู้ที่มีชุมชนเป็นศูนย์กลาง มีหลักสูตรเศรษฐกิจพอเพียงที่เน้นการปฏิบัติ เปลี่ยนเป้าหมายการศึกษาเป็นการศึกษาเพื่อวิถีชีวิต รัฐจัดสวัสดิการขั้นพื้นฐานที่พอเพียงให้ทุกคนเข้าถึงได้ ให้มีกลไกการทำงานร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรมระหว่างรัฐ เอกชน และชุมชน การพัฒนาองค์ความรู้ด้านการผลิตที่เกื้อกูลกับธรรมชาติ ใช้พื้นที่และทรัพยากรน้อยลงโดยใช้ฐานความรู้ท้องถิ่นและการรองรับสิทธิชุมชน การมีเกณฑ์ชี้วัดเพื่อใช้ตรวจสอบ กำกับดูแลการเลือกตั้งและการบริหารจัดการของรัฐ
ข้อมูลที่นำเสนอในการระดมสมองครั้งนี้ จะนำไปใช้ในการพิจารณาประเด็นวิกฤติและพัฒนาโจทย์วิจัยเพื่อสนับสนุนการจัดทำแผนที่เดินทางประกอบการระดมสมองครั้งต่อไป ซึ่งคาดว่าจะจัดขึ้นในอีก 2 เดือนข้างหน้า ผู้สนใจที่ต้องการเข้าร่วมจัดทำแผนที่เดินทาง สามารถแจ้งความจำนงได้ที่สถาบันการจัดการเพื่อชนบทและสังคม มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (www.rasmi-trrm.org)... (จากคอลัมน์ พอเพียงภิวัตน์)
ต้องยอมรับความจริงว่าในปัจจุบัน ยังไม่มีความชัดเจนว่าสถานภาพของประเทศไทย จะพัฒนาไปสู่ทิศทางการเป็นเศรษฐกิจพอเพียงอยู่ ณ จุดใด และหากจะก้าวต่อไปควรจะทำอย่างไร ขณะที่นโยบายระดับประเทศก็ยังไม่มีความชัดเจนในการจัดลำดับความสำคัญของนโยบายทางเศรษฐกิจเพื่อให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจพอเพียงในระดับต่างๆ ด้วยเหตุนี้ ประเทศไทยจึงจำเป็นจะต้องมียุทธศาสตร์ที่ดี มีแผนที่เดินทางที่ชัดเจนเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการดำเนินนโยบาย พร้อมกับการสร้างเครือข่ายและความเข้าใจระหว่างประเทศ
แผนที่เดินทางจะบอกแนวทางและเป้าหมายเศรษฐกิจพอเพียงในระดับประเทศ ข้อเสนอเชิงวิสัยทัศน์และจังหวะก้าวใน 5 ปี ปัจจัยวิกฤติที่บ่งบอกความสำเร็จ (critical success factors) ในแต่ละด้านตามลำดับความสำคัญ เพื่อช่วยให้หน่วยงานกำหนดยุทธศาสตร์ระดับประเทศ หน่วยงานปฏิบัติอื่นๆ และภาคประชาสังคม มีความเข้าใจและเห็นแนวทางพัฒนาประเทศที่ชัดเจน พร้อมจะดำเนินงานพัฒนาไปในแนวทางเดียวกัน
เป้าหมายในการจัดทำแผนที่เดินทางเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเป็นเครื่องนำทางให้ประเทศไทยสามารถโลดแล่นบนถนนโลกได้อย่างมั่นคงปลอดภัย โดยไม่ลืมว่า บนถนนสายนี้ ไม่ได้มีรถยนต์ประเทศไทยเพียงคันเดียวที่แล่นอยู่ แต่ยังมีรถยนต์อีกหลายคัน กำลังวิ่งไปในทางเดียวกัน เพียงแต่มีแผนที่ประจำรถกันคนละภาษา ซึ่งหมายความว่า ประเทศอื่นๆ ในโลกที่กำลังแล่นอยู่ในทิศทางนี้ ก็มีแผนที่เดินทางที่สอดคล้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเช่นกัน เพียงแต่ไม่ได้เรียกว่าเศรษฐกิจพอเพียงเหมือนประเทศไทย
การจัดทำแผนที่เดินทางและการสร้างเครือข่ายเศรษฐกิจพอเพียงระหว่างประเทศ จึงเป็นการค้นหาจุดร่วม การวิเคราะห์เปรียบเทียบในเชิงวิชาการ การเผยแพร่เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ ตลอดจนการสานเครือข่ายระหว่างประเทศเพื่อร่วมกันขับเคลื่อนรถยนต์ประเทศต่างๆ เหล่านี้ ให้ไปสู่จุดหมายแห่งเดียวกัน เป็นจุดหมายที่มีความสมดุล พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลง และก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์
การระดมสมองครั้งนี้ ประกอบด้วยกลุ่มย่อยด้านเศรษฐกิจ ทุนและเทคโนโลยี ด้านการเรียนรู้และสุขภาวะ ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านการกระจายอำนาจ มีข้อเสนอวิสัยทัศน์ภาพกว้างให้ประเทศไทยมีวิถีชีวิตและสังคมตามแนวทางพอเพียง มีภูมิคุ้มกันที่ทำให้อยู่ได้อย่างมีความสุขและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ โดยมีความสมดุลใน 5 ด้าน คือ การดูแลเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กันในสังคม การลดช่องว่างในสังคม ความสมดุลทางเศรษฐกิจระหว่างการพึ่งพาทุนและเทคโนโลยีในประเทศและต่างประเทศ ความสมดุลระหว่างสิ่งแวดล้อมกับการพัฒนา และการมีสุขภาวะที่ดีทั้งร่างกาย จิตใจ และสังคม
ขณะเดียวกัน ที่ประชุมกลุ่มย่อย ก็ได้เสนอประเด็นวิกฤติที่คล้ายคลึงกัน คือ ปัญหากลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงให้เกิดผลในทางปฏิบัติ ปัญหาค่านิยมและสื่อ ปัญหาการขาดความเข้าใจในเศรษฐกิจพอเพียง ปัญหาทางนโยบายที่ไม่ต่อเนื่อง ปัญหาทางการเมืองหรือความขัดแย้งที่บั่นทอนความเข้มแข็งของชุมชน และปัญหาความพร้อมของส่วนท้องถิ่นที่ต่างระดับกัน
ข้อสรุปในเบื้องต้นมีข้อเสนอแนะให้มีการจัดตั้งองค์การมหาชนเพื่อเป็นเจ้าภาพในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงอย่างต่อเนื่องและประสานงานกับหลายภาคส่วน การสร้างความเข็มแข็งให้กับภาคประชาชนผ่านกระบวนการศึกษาเรียนรู้และการจัดการความรู้ที่มีชุมชนเป็นศูนย์กลาง มีหลักสูตรเศรษฐกิจพอเพียงที่เน้นการปฏิบัติ เปลี่ยนเป้าหมายการศึกษาเป็นการศึกษาเพื่อวิถีชีวิต รัฐจัดสวัสดิการขั้นพื้นฐานที่พอเพียงให้ทุกคนเข้าถึงได้ ให้มีกลไกการทำงานร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรมระหว่างรัฐ เอกชน และชุมชน การพัฒนาองค์ความรู้ด้านการผลิตที่เกื้อกูลกับธรรมชาติ ใช้พื้นที่และทรัพยากรน้อยลงโดยใช้ฐานความรู้ท้องถิ่นและการรองรับสิทธิชุมชน การมีเกณฑ์ชี้วัดเพื่อใช้ตรวจสอบ กำกับดูแลการเลือกตั้งและการบริหารจัดการของรัฐ
ข้อมูลที่นำเสนอในการระดมสมองครั้งนี้ จะนำไปใช้ในการพิจารณาประเด็นวิกฤติและพัฒนาโจทย์วิจัยเพื่อสนับสนุนการจัดทำแผนที่เดินทางประกอบการระดมสมองครั้งต่อไป ซึ่งคาดว่าจะจัดขึ้นในอีก 2 เดือนข้างหน้า ผู้สนใจที่ต้องการเข้าร่วมจัดทำแผนที่เดินทาง สามารถแจ้งความจำนงได้ที่สถาบันการจัดการเพื่อชนบทและสังคม มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (www.rasmi-trrm.org)... (จากคอลัมน์ พอเพียงภิวัตน์)
Tuesday, May 15, 2007
เล่นหวย + ออมเงิน = หวยออม
ขอกลับไปตั้งต้นด้วยสัจจธรรมหรือหลักของความจริงกันก่อนว่า การเล่นหวยนั้น เป็น “อบายมุข” (แปลว่า ช่องทางแห่งความเสื่อม หรือเหตุที่ทำให้ทรัพย์สินหมดไป) หากพิจารณาด้วยหลักจริยธรรมหรือจารีตที่ดีงามในบ้านเมือง รัฐไม่ควรส่งเสริมหรืออนุญาตให้มีการเล่นหวยกันอย่างกว้างขวาง
แต่สัจจธรรมหรือความจริงอีกด้านหนึ่งก็คือ มนุษย์ในยุคปัจจุบันนี้ กำลังอยู่ในยุคที่เรียกว่า “กลิยุค” ซึ่งประกอบด้วยคนที่ใฝ่ดีใฝ่เจริญอยู่เพียงหนึ่งในสี่ส่วน ฉะนั้น ต้องยอมรับความจริงด้านนี้ด้วยว่า เรื่องสุรา เรื่องหวย จึงยังไม่หมดไปจากสังคมเป็นแน่แท้
การแก้ไขปัญหาด้วยการยกเลิกการออกหวยหรือขจัดการเล่นโดยเด็ดขาด ตามหลักของความจริงแล้ว ถือเป็นสิ่งที่พึงกระทำอย่างยิ่ง แต่เมื่อพิจารณาตามสภาพความเป็นจริงอีกด้านหนึ่งประกอบ จะเห็นว่าวิธีการที่ตึงเกินไปนี้ จะสร้างให้เกิดปัญหาใหม่ๆ ที่พัวพันกันเป็นลูกโซ่ เช่น หวยใต้ดิน ผู้มีอิทธิพล การทุจริตคอรัปชั่น ฯลฯ แต่ครั้นจะแก้ไขด้วยการแปลงหวยใต้ดินให้เป็นหวยบนดินดังเช่นที่รัฐบาลชุดที่แล้วได้กระทำ ก็ถือว่าเป็นวิธีการที่หย่อนเกินไป อีกทั้งเป็นความพยายามในการทำสิ่งที่ผิดกฎหมายให้ถูกกฎหมาย เรื่องนี้ต้องขอชมเชยรัฐบาลชุดปัจจุบันในเรื่องนี้ว่า ได้ตัดสินเรื่องหวยบนดินได้อย่างเที่ยงตรง โดยไม่ไปรับรองในสิ่งที่ผิดให้เป็นถูก และไม่เดินตามรอยของรัฐบาลชุดที่แล้ว ทีนี้ก็มาถึงคำถามที่กำลังเกิดขึ้นในสังคมไทยเวลานี้คือ รัฐควรจะมีวิธีการแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้อย่างไร
"หลักการ ที่คล้อยตาม "ธรรม"
ก่อนจะไปถึงเรื่องวิธีการ ขอให้พิจารณาถึงหลักการที่จะใช้ก่อน หลักการที่ควรจะเป็นคือ รัฐไม่ควรส่งเสริมหรืออนุญาตให้มีการเล่นหวยกันอย่างกว้างขวาง คำสำคัญ (Keyword) อยู่ตรงคำว่า “อย่างกว้างขวาง” เพราะหากบทบาทของรัฐไม่เป็นไปดังนี้ ก็เท่ากับว่ารัฐกำลังสร้างเครื่องมือที่ดึงเอาคนดีหรือเยาวชนที่ควรได้รับการปลูกฝังให้เป็นคนดี ออกมาจากกลุ่มของผู้ใฝ่ดีใฝ่เจริญมากขึ้น สังคมก็จะเสื่อมลงมากกว่าที่เป็นอยู่ คนในสังคมก็จะยากจนแร้นแค้นเพิ่มขึ้น ตามนัยของสิ่งที่เป็นผลจากอบายมุข
เมื่อเห็นหลักการที่ควรจะเป็นแล้ว วิธีการที่จะปฏิบัติให้สอดคล้องกับหลักการนั้นมีได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของสถานการณ์ และความพร้อมของสังคม ตัวอย่างเช่น ได้มีผู้เสนอให้จำกัดอายุของผู้ซื้อ หรือลดปริมาณของสลากกินแบ่งของรัฐบาลในแต่ละงวด หรือการลดงวดของการออกจากเดือนละสองครั้งเป็นเดือนละครั้งแทน วิธีการนี้แม้จะต้องตามหลักการ และเป็นสิ่งที่พึงกระทำ แต่ก็แก้ปัญหาได้ไม่ตรงจุดในเรื่องที่ไม่ได้ช่วยให้การเล่นหวยใต้ดินลดลง ที่แย่ไปกว่านั้นคือ อาจไปทำให้การเล่นหวยใต้ดินมีปริมาณเพิ่มขึ้นกว่าเดิม
"วิธีการ" ที่คล้อยตาม "อรรถ"
การออกแบบวิธีการให้บังเกิดผลในทางปฏิบัติ ควรนำข้อมูลด้านผู้ซื้อหวยมาพิจารณาประกอบว่า อะไรคือจุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ของการเล่น สำหรับผู้เล่นที่ซื้อเพื่อต้องการเสี่ยงโชคหรือความตื่นเต้นเป็นครั้งคราว ผู้เล่นกลุ่มนี้มิได้เป็นลูกค้าหลักของหวยใต้ดินและมักไม่มีปัญหาทางการเงินมากนัก ขณะที่ผู้เล่นอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งมีปัญหาทางการเงินมากกว่ากลับต้องเจียดเงินค่าครองชีพมาซื้อเป็นประจำทุกงวดโดยหวังได้เงินรางวัลเพื่อมาใช้จ่ายในครัวเรือน และเป็นผู้เล่นกลุ่มใหญ่ที่ต้องคำนึงถึงในการออกแบบวิธีการเพื่อให้บังเกิดผล
เมื่อพิจารณาประกอบข้อเสียของการเล่นหวย คือ นอกจากโอกาสในการถูกรางวัลจะมีไม่มากแล้ว ต้นเงินที่เป็นค่าหวยก็จะสูญไปด้วย ทำให้เงินค่าครองชีพของคนกลุ่มนี้ที่มีน้อยอยู่แล้วยิ่งหดหายลงไปอีก ฉะนั้น อรรถหรือความมุ่งหมายในกรณีนี้ คือ ต้องเปลี่ยนให้คนกลุ่มนี้เก็บเงินไว้เพื่อใช้จ่ายในครัวเรือนแทนที่จะสูญเงินไปกับค่าหวย
คำถามที่เกิดขึ้นคือ เราสามารถบอกให้คนกลุ่มนี้หยุดเล่นหวยแล้วเก็บเงินไว้แทนได้หรือไม่ คำตอบคือ ยากมาก เนื่องจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดังกล่าวนี้ ต้องเกิดจากความตระหนักรู้จากภายใน ซึ่งคนส่วนใหญ่ในกลุ่มนี้ยังไม่อยู่ในสภาพพร้อมเช่นนั้น คำถามต่อมาคือ แล้วรัฐสามารถใช้กลไกภายนอกเพื่อแปลงเงินค่าหวยให้เป็นเงินออมได้หรือไม่ คำตอบคือ ได้ และมีตัวอย่างจริงคือ สลากออมสินของธนาคารออมสิน และสลากออมทรัพย์ทวีสินของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
แปลง "หวยบนดิน" เป็น "สลากออมทรัพย์" ที่ถูกกฎหมาย
ในส่วนของรูปแบบหวยบนดินแบบเดิม ที่ยังผิดกฎหมายอยู่ แต่สามารถใช้สกัดหวยใต้ดินได้ดี รัฐอาจคงรูปแบบของเดิมไว้ทั้งหมด ตั้งแต่วิธีการออกสลาก คนเดินสลาก ส่วนแบ่งรายได้ ฯลฯ แต่ใช้วิธีถ่ายโอนไปให้ธนาคารออมสิน หรือ ธกส. ดำเนินการแทนสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ในทำนองเดียวกับสลากออมทรัพย์ ซึ่งวิธีการนี้จะทำให้หวยออมมีสถานภาพเป็น “เงินฝาก” ประเภทหนึ่งตามกฎหมาย
“หวยออม” ในรูปแบบนี้ สามารถใช้สกัดกั้นหวยใต้ดินได้ค่อนข้างเด็ดขาด เพราะนอกจากจะมีรูปแบบที่ไม่ด้อยไปจากเดิมแล้ว (และยังสามารถปรับพลิกแพลงได้ตามสถานการณ์เหมือนเดิม) เจ้ามือหวยใต้ดินเองจะไม่สามารถเสนอเงื่อนไขในเรื่องการออมเงินต้นและในเรื่องดอกเบี้ยเงินฝากเทียบเท่ากับหวยออมของรัฐบาลได้
สำหรับเรื่องสัดส่วนรายรับของค่าจำหน่ายหวยออมที่จะจัดสรรเป็นเงินรางวัล (รวมค่าดำเนินการ) ต่อเงินออม ว่าควรจะเป็นเท่าใดนั้น หน่วยงานที่ได้รับมอบหมายสามารถนำไปศึกษาเพื่อหาจุดที่เหมาะสมและทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้ไม่ยากนัก
ผลพลอยได้อีกประการหนึ่ง เมื่อหวยออมมีสถานภาพเป็นเงินฝากที่นอกจากจะได้รับดอกเบี้ย และอาจโชคดีได้รับเป็นเงินรางวัลในแต่ละงวดแล้ว รัฐยังสามารถประหยัดงบประมาณด้วยการใช้ประโยชน์จากสาขาและทรัพยากรของสถาบันการเงินที่ร่วมจำหน่ายหวยออมซึ่งมีกระจายอยู่ทั่วทุกหนทุกแห่ง ทั้งในการจำหน่าย รับเงินรางวัล บัญชีเงินออม ฯลฯ หรือหากในอนาคตจะเปิดให้บริการหวยออมออนไลน์ ก็สามารถใช้ตู้เอทีเอ็มที่มีอยู่แล้วเป็นจุดจำหน่าย โดยไม่ต้องลงทุนติดตั้งตู้หวยออนไลน์เป็นการเฉพาะ
เสมือนงบกระตุ้นเศรษฐกิจ ที่ลงตรงกลุ่มเป้าหมาย
เมื่อพิจารณาถึงการที่รัฐบาลต้องจัดสรรงบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจโดยพุ่งเป้าไปที่การสร้างรายรับให้แก่ชนชั้นฐานราก เพื่อสร้างให้เกิดการไหลเวียนของปริมาณการจับจ่ายใช้สอยในระบบที่ส่งผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจโดยรวม ชนชั้นฐานรากเหล่านี้ก็คือกลุ่มผู้เล่นหวยส่วนใหญ่ที่แต่เดิม เม็ดเงินในครัวเรือนถูกดึงออกไปเป็นค่าหวยกลับเข้าสู่รัฐ เมื่อคนกลุ่มนี้มีปัญหาการดำรงชีพ รัฐก็ต้องอัดฉีดเม็ดเงินกลับเข้ามาใหม่ ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของสินเชื่อที่ไปเพิ่มภาระเรื่องดอกเบี้ยให้กับคนเหล่านี้ยิ่งขึ้น ฉะนั้น เม็ดเงินออมที่เกิดขึ้นกับคนกลุ่มนี้ในระบบหวยออม รัฐยังสามารถระบุให้มีช่วงระยะเวลาที่แตกต่างกันของการเบิกถอนเงินออมนี้ตาม “ภาวะเศรษฐกิจ” หรือตาม “พื้นที่” เป้าหมาย เปรียบเสมือนงบกระตุ้นเศรษฐกิจที่ลงตรงไปยังกลุ่มเป้าหมายอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย ไม่รั่วไหลในระหว่างทาง และเป็นเม็ดเงินไหลเวียนเพื่อการจับจ่ายใช้สอยที่ส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจนั่นเอง... (จากคอลัมน์ พอเพียงภิวัตน์)
แต่สัจจธรรมหรือความจริงอีกด้านหนึ่งก็คือ มนุษย์ในยุคปัจจุบันนี้ กำลังอยู่ในยุคที่เรียกว่า “กลิยุค” ซึ่งประกอบด้วยคนที่ใฝ่ดีใฝ่เจริญอยู่เพียงหนึ่งในสี่ส่วน ฉะนั้น ต้องยอมรับความจริงด้านนี้ด้วยว่า เรื่องสุรา เรื่องหวย จึงยังไม่หมดไปจากสังคมเป็นแน่แท้
การแก้ไขปัญหาด้วยการยกเลิกการออกหวยหรือขจัดการเล่นโดยเด็ดขาด ตามหลักของความจริงแล้ว ถือเป็นสิ่งที่พึงกระทำอย่างยิ่ง แต่เมื่อพิจารณาตามสภาพความเป็นจริงอีกด้านหนึ่งประกอบ จะเห็นว่าวิธีการที่ตึงเกินไปนี้ จะสร้างให้เกิดปัญหาใหม่ๆ ที่พัวพันกันเป็นลูกโซ่ เช่น หวยใต้ดิน ผู้มีอิทธิพล การทุจริตคอรัปชั่น ฯลฯ แต่ครั้นจะแก้ไขด้วยการแปลงหวยใต้ดินให้เป็นหวยบนดินดังเช่นที่รัฐบาลชุดที่แล้วได้กระทำ ก็ถือว่าเป็นวิธีการที่หย่อนเกินไป อีกทั้งเป็นความพยายามในการทำสิ่งที่ผิดกฎหมายให้ถูกกฎหมาย เรื่องนี้ต้องขอชมเชยรัฐบาลชุดปัจจุบันในเรื่องนี้ว่า ได้ตัดสินเรื่องหวยบนดินได้อย่างเที่ยงตรง โดยไม่ไปรับรองในสิ่งที่ผิดให้เป็นถูก และไม่เดินตามรอยของรัฐบาลชุดที่แล้ว ทีนี้ก็มาถึงคำถามที่กำลังเกิดขึ้นในสังคมไทยเวลานี้คือ รัฐควรจะมีวิธีการแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้อย่างไร
"หลักการ ที่คล้อยตาม "ธรรม"
ก่อนจะไปถึงเรื่องวิธีการ ขอให้พิจารณาถึงหลักการที่จะใช้ก่อน หลักการที่ควรจะเป็นคือ รัฐไม่ควรส่งเสริมหรืออนุญาตให้มีการเล่นหวยกันอย่างกว้างขวาง คำสำคัญ (Keyword) อยู่ตรงคำว่า “อย่างกว้างขวาง” เพราะหากบทบาทของรัฐไม่เป็นไปดังนี้ ก็เท่ากับว่ารัฐกำลังสร้างเครื่องมือที่ดึงเอาคนดีหรือเยาวชนที่ควรได้รับการปลูกฝังให้เป็นคนดี ออกมาจากกลุ่มของผู้ใฝ่ดีใฝ่เจริญมากขึ้น สังคมก็จะเสื่อมลงมากกว่าที่เป็นอยู่ คนในสังคมก็จะยากจนแร้นแค้นเพิ่มขึ้น ตามนัยของสิ่งที่เป็นผลจากอบายมุข
เมื่อเห็นหลักการที่ควรจะเป็นแล้ว วิธีการที่จะปฏิบัติให้สอดคล้องกับหลักการนั้นมีได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของสถานการณ์ และความพร้อมของสังคม ตัวอย่างเช่น ได้มีผู้เสนอให้จำกัดอายุของผู้ซื้อ หรือลดปริมาณของสลากกินแบ่งของรัฐบาลในแต่ละงวด หรือการลดงวดของการออกจากเดือนละสองครั้งเป็นเดือนละครั้งแทน วิธีการนี้แม้จะต้องตามหลักการ และเป็นสิ่งที่พึงกระทำ แต่ก็แก้ปัญหาได้ไม่ตรงจุดในเรื่องที่ไม่ได้ช่วยให้การเล่นหวยใต้ดินลดลง ที่แย่ไปกว่านั้นคือ อาจไปทำให้การเล่นหวยใต้ดินมีปริมาณเพิ่มขึ้นกว่าเดิม
"วิธีการ" ที่คล้อยตาม "อรรถ"
การออกแบบวิธีการให้บังเกิดผลในทางปฏิบัติ ควรนำข้อมูลด้านผู้ซื้อหวยมาพิจารณาประกอบว่า อะไรคือจุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ของการเล่น สำหรับผู้เล่นที่ซื้อเพื่อต้องการเสี่ยงโชคหรือความตื่นเต้นเป็นครั้งคราว ผู้เล่นกลุ่มนี้มิได้เป็นลูกค้าหลักของหวยใต้ดินและมักไม่มีปัญหาทางการเงินมากนัก ขณะที่ผู้เล่นอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งมีปัญหาทางการเงินมากกว่ากลับต้องเจียดเงินค่าครองชีพมาซื้อเป็นประจำทุกงวดโดยหวังได้เงินรางวัลเพื่อมาใช้จ่ายในครัวเรือน และเป็นผู้เล่นกลุ่มใหญ่ที่ต้องคำนึงถึงในการออกแบบวิธีการเพื่อให้บังเกิดผล
เมื่อพิจารณาประกอบข้อเสียของการเล่นหวย คือ นอกจากโอกาสในการถูกรางวัลจะมีไม่มากแล้ว ต้นเงินที่เป็นค่าหวยก็จะสูญไปด้วย ทำให้เงินค่าครองชีพของคนกลุ่มนี้ที่มีน้อยอยู่แล้วยิ่งหดหายลงไปอีก ฉะนั้น อรรถหรือความมุ่งหมายในกรณีนี้ คือ ต้องเปลี่ยนให้คนกลุ่มนี้เก็บเงินไว้เพื่อใช้จ่ายในครัวเรือนแทนที่จะสูญเงินไปกับค่าหวย
คำถามที่เกิดขึ้นคือ เราสามารถบอกให้คนกลุ่มนี้หยุดเล่นหวยแล้วเก็บเงินไว้แทนได้หรือไม่ คำตอบคือ ยากมาก เนื่องจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดังกล่าวนี้ ต้องเกิดจากความตระหนักรู้จากภายใน ซึ่งคนส่วนใหญ่ในกลุ่มนี้ยังไม่อยู่ในสภาพพร้อมเช่นนั้น คำถามต่อมาคือ แล้วรัฐสามารถใช้กลไกภายนอกเพื่อแปลงเงินค่าหวยให้เป็นเงินออมได้หรือไม่ คำตอบคือ ได้ และมีตัวอย่างจริงคือ สลากออมสินของธนาคารออมสิน และสลากออมทรัพย์ทวีสินของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
แปลง "หวยบนดิน" เป็น "สลากออมทรัพย์" ที่ถูกกฎหมาย
ในส่วนของรูปแบบหวยบนดินแบบเดิม ที่ยังผิดกฎหมายอยู่ แต่สามารถใช้สกัดหวยใต้ดินได้ดี รัฐอาจคงรูปแบบของเดิมไว้ทั้งหมด ตั้งแต่วิธีการออกสลาก คนเดินสลาก ส่วนแบ่งรายได้ ฯลฯ แต่ใช้วิธีถ่ายโอนไปให้ธนาคารออมสิน หรือ ธกส. ดำเนินการแทนสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ในทำนองเดียวกับสลากออมทรัพย์ ซึ่งวิธีการนี้จะทำให้หวยออมมีสถานภาพเป็น “เงินฝาก” ประเภทหนึ่งตามกฎหมาย
“หวยออม” ในรูปแบบนี้ สามารถใช้สกัดกั้นหวยใต้ดินได้ค่อนข้างเด็ดขาด เพราะนอกจากจะมีรูปแบบที่ไม่ด้อยไปจากเดิมแล้ว (และยังสามารถปรับพลิกแพลงได้ตามสถานการณ์เหมือนเดิม) เจ้ามือหวยใต้ดินเองจะไม่สามารถเสนอเงื่อนไขในเรื่องการออมเงินต้นและในเรื่องดอกเบี้ยเงินฝากเทียบเท่ากับหวยออมของรัฐบาลได้
สำหรับเรื่องสัดส่วนรายรับของค่าจำหน่ายหวยออมที่จะจัดสรรเป็นเงินรางวัล (รวมค่าดำเนินการ) ต่อเงินออม ว่าควรจะเป็นเท่าใดนั้น หน่วยงานที่ได้รับมอบหมายสามารถนำไปศึกษาเพื่อหาจุดที่เหมาะสมและทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้ไม่ยากนัก
ผลพลอยได้อีกประการหนึ่ง เมื่อหวยออมมีสถานภาพเป็นเงินฝากที่นอกจากจะได้รับดอกเบี้ย และอาจโชคดีได้รับเป็นเงินรางวัลในแต่ละงวดแล้ว รัฐยังสามารถประหยัดงบประมาณด้วยการใช้ประโยชน์จากสาขาและทรัพยากรของสถาบันการเงินที่ร่วมจำหน่ายหวยออมซึ่งมีกระจายอยู่ทั่วทุกหนทุกแห่ง ทั้งในการจำหน่าย รับเงินรางวัล บัญชีเงินออม ฯลฯ หรือหากในอนาคตจะเปิดให้บริการหวยออมออนไลน์ ก็สามารถใช้ตู้เอทีเอ็มที่มีอยู่แล้วเป็นจุดจำหน่าย โดยไม่ต้องลงทุนติดตั้งตู้หวยออนไลน์เป็นการเฉพาะ
เสมือนงบกระตุ้นเศรษฐกิจ ที่ลงตรงกลุ่มเป้าหมาย
เมื่อพิจารณาถึงการที่รัฐบาลต้องจัดสรรงบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจโดยพุ่งเป้าไปที่การสร้างรายรับให้แก่ชนชั้นฐานราก เพื่อสร้างให้เกิดการไหลเวียนของปริมาณการจับจ่ายใช้สอยในระบบที่ส่งผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจโดยรวม ชนชั้นฐานรากเหล่านี้ก็คือกลุ่มผู้เล่นหวยส่วนใหญ่ที่แต่เดิม เม็ดเงินในครัวเรือนถูกดึงออกไปเป็นค่าหวยกลับเข้าสู่รัฐ เมื่อคนกลุ่มนี้มีปัญหาการดำรงชีพ รัฐก็ต้องอัดฉีดเม็ดเงินกลับเข้ามาใหม่ ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของสินเชื่อที่ไปเพิ่มภาระเรื่องดอกเบี้ยให้กับคนเหล่านี้ยิ่งขึ้น ฉะนั้น เม็ดเงินออมที่เกิดขึ้นกับคนกลุ่มนี้ในระบบหวยออม รัฐยังสามารถระบุให้มีช่วงระยะเวลาที่แตกต่างกันของการเบิกถอนเงินออมนี้ตาม “ภาวะเศรษฐกิจ” หรือตาม “พื้นที่” เป้าหมาย เปรียบเสมือนงบกระตุ้นเศรษฐกิจที่ลงตรงไปยังกลุ่มเป้าหมายอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย ไม่รั่วไหลในระหว่างทาง และเป็นเม็ดเงินไหลเวียนเพื่อการจับจ่ายใช้สอยที่ส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจนั่นเอง... (จากคอลัมน์ พอเพียงภิวัตน์)
Tuesday, May 08, 2007
จะเลือก ความผาสุก หรือ GDP
ผมยังประทับใจกับคำกล่าวของ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี เมื่อวันรับตำแหน่งในวันที่ 2 ตุลาคม 2549 ว่า “ผมจะยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานเอาไว้ … คงไม่ได้มุ่งในเรื่องของตัวเลขจีดีพีมากนัก แต่จะดูในตัวที่วัดความผาสุกของพี่น้องประชาชนมากกว่า”
ผ่านไป 7 เดือน มองในแง่ที่เข้าข้างรัฐบาล อาจกล่าวได้ว่ารัฐบาลไม่สามารถหลีกเลี่ยงการถูกตรวจการบ้านเศรษฐกิจผ่านทางตัวเลขจีดีพี แต่หากมองอย่างเป็นกลาง รัฐบาลชุดนี้ก็ไม่เคยเสนอตัววัดความผาสุกอย่างเป็นรูปธรรมที่สามารถอธิบายหรือสื่อสารงานของรัฐบาลให้แก่พี่น้องประชาชนได้เข้าใจอย่างถ้วนหน้า ทั้งที่ได้ประกาศตั้งธงไว้แล้วนับแต่วันแรกที่เข้ารับตำแหน่ง และที่น่าเสียดายยิ่งกว่า ก็คือ รัฐบาลกลับก้มหน้าก้มตาทำการบ้านอย่างขะมักขเม้นกับวาระทางเศรษฐกิจที่ยังยึดโยงอยู่กับตัวเลขจีดีพีอย่างเต็มสูบ
หากยังไม่สามารถตั้งต้นหาตัววัดความผาสุกของประชาชน มิพักต้องพูดถึงตัวชี้วัดความอยู่ดีมีสุขที่ประชาชนทั่วไปในระดับปัจเจกฟังไม่รู้เรื่อง ก็ขอให้ลองพิจารณาธรรมะในหมวดกามโภคีสุข 4 ที่ประกอบด้วย สุขที่เกิดจากความมีทรัพย์ (อัตถิสุข) สุขที่เกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์ (โภคสุข) สุขที่เกิดจากความไม่เป็นหนี้ (อนณสุข) และสุขที่เกิดจากความประพฤติไม่มีโทษ (อนวัชชสุข) ทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ เป็นเครื่องชี้ทางก็ได้
จะเห็นว่า ความสุขในสามข้อแรกเกี่ยวข้องโดยตรงกับเรื่องของเศรษฐกิจ เริ่มจากการที่สมาชิกในครัวเรือนมีงานทำ ประกอบอาชีพที่สุจริต สร้างให้เกิดรายได้เข้าสู่ครัวเรือน เมื่อมีทรัพย์ ก็นำส่วนของทรัพย์นั้นมาจับจ่ายใช้สอยเกิดเป็นโภคสุข โดยมีเงื่อนไขว่าต้องไม่เป็นการสร้างความสุขด้วยการใช้จ่ายเกินตัว หรือต้องพึ่งพาทรัพย์ที่กู้ยืมมาจากภายนอกเพื่อการใช้สอย (ซึ่งเป็นคนละกรณีกับการกู้ยืมในกิจการหรือสร้างงานเพื่อก่อให้เกิดรายได้ ที่ไม่อยู่ในข้อห้าม) และนำไปสู่อนณสุข หรือความสุขที่เกิดจากความไม่เป็นหนี้ ที่เป็นทั้งเครื่องกำกับและอานิสงส์จากการกระทำดังนี้อีกทอดหนึ่ง ส่วนความสุขในข้อที่สี่หรือ อนวัชชสุข จะครอบคลุมกว้างขวางไม่เฉพาะเรื่องเศรษฐกิจ เป็นความภูมิใจ เอิบอิ่มใจว่า ตนมีความประพฤติสุจริต ไม่บกพร่องเสียหาย ใครๆ ติเตียนไม่ได้ ถือเป็นความสุขที่มีค่ามากสุดในบรรดาสุข 4 อย่างนี้ (พระพรหมคุณาภรณ์: 2548)
จากกรอบของกามโภคีสุข 4 ทำให้เห็นว่า ครัวเรือนมิได้เป็นเพียงผู้บริโภคหลักในทางเศรษฐศาสตร์ดังที่ปรากฏโดยทั่วไป เนื่องจากความผาสุกของประชาชน มิได้จำกัดอยู่เพียงโภคสุขหรือสุขที่เกิดจากการบริโภค แต่ยังรวมถึงสุขที่เกิดจากการมีรายได้ในฐานะที่เป็นปัจจัยการผลิตหนึ่งในกระบวนการผลิต ในบทบาทนี้จึงเกี่ยวข้องกับการพัฒนาคนให้มีความรู้ความสามารถตรงกับงานที่ทำ มีความขยันหมั่นเพียร สามารถสร้างรายได้ให้แก่ตนเองได้เต็มตามอัตภาพ เกิดเป็นอัตถิสุขขึ้น
ความสุขที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของเศรษฐกิจในกามโภคีสุข 4 อีกข้อหนึ่ง คือ อนณสุข หรือความสุขที่เกิดจากความไม่เป็นหนี้ เป็นเรื่องของการจัดสรรทรัพย์ที่หามาได้สำหรับการใช้จ่ายและเก็บออม หรือเป็นเรื่องของการจัดสรรผลผลิตในครัวเรือนตามทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์
มีข้อสังเกตว่า ครัวเรือนยังอยู่ในฐานะที่เป็นเจ้าของกระบวนการผลิตอีกบทบาทหนึ่งด้วย งานหลายอย่างโดยเฉพาะงานบริการถูกผลิตขึ้นภายในครัวเรือน เช่น การทำความสะอาด การซักรีด การเตรียมอาหาร และการเลี้ยงดูบุตร ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการผลิตซ้ำโดยแม่บ้าน มิได้นำมาคำนวณเป็นตัวเลขทางเศรษฐกิจ เป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจที่มิได้ถูกจดบันทึก ฉะนั้น พึงสังวรณ์ว่า ตัวเลขทางเศรษฐกิจที่ปรากฏในทุกวันนี้ มิได้รวมเอากิจกรรมการผลิตในครัวเรือนซึ่งถูกจัดว่าเป็นเศรษฐกิจนอกระบบ (Informal Economy) เข้าไว้ในการคำนวณด้วย
หากลองพิจารณาตามกระบวนทัศน์ของนักเศรษฐศาสตร์กระแสหลักที่มีความต้องการเพิ่มตัวเลขจีดีพีให้สูงขึ้น ด้วยการนำมูลค่าการผลิตในครัวเรือนเข้าสู่ระบบ ก็เป็นหนทางหนึ่งที่ทำได้และอาจมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างมากด้วย ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นและดูเหมือนสอดคล้องกับทิศทางดังกล่าว ก็คือ วิวัฒนาการของการจ้างหน่วยงานหรือแรงงานภายนอกทำงานให้ (Outsourcing) ทั้งการทำความสะอาด การซักรีด การเตรียมอาหาร และแม้แต่การเลี้ยงดูบุตร ซึ่งทำให้มูลค่าของบริการเหล่านี้ สามารถบันทึกเป็นมูลค่าของเศรษฐกิจในระบบ (Formal Economy) ได้ง่ายขึ้น
ข้อดีที่เกิดขึ้นจากการให้หน่วยงานภายนอกทำงานให้คือ ผลิตภาพ จากความเชี่ยวชาญหรือความเป็นมืออาชีพของผู้ทำงานให้ (Outsourcee) และความสะดวกสบายหรือเวลาว่างที่เพิ่มมากขึ้นของผู้ให้งานทำ (Outsourcer)
แต่ทั้งผลิตภาพและความสะดวกสบายหรือเวลาว่างที่เพิ่มขึ้น อาจมิได้นำไปสู่เป้าหมายสุดท้าย คือ ความสุขที่เรียกว่า อนวัชชสุข หรือสุขที่เกิดจากความประพฤติไม่มีโทษ เป็นความภูมิใจ เอิบอิ่มใจว่า ตนมีความประพฤติสุจริต ไม่บกพร่องเสียหาย ใครๆ ติเตียนไม่ได้ ทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ เนื่องจาก สมมุติฐานแรก การเพิ่มขึ้นของรายจ่ายจากการจ้างผู้ทำงานให้ ทำให้ครัวเรือนต้องขวนขวายหารายได้เพิ่มด้วยการเป็นปัจจัยการผลิตของหน่วยการผลิตอื่นหรือต้องทำงานอิสระเพิ่มขึ้น ความสะดวกสบายหรือเวลาว่างที่เพิ่มขึ้น อาจต้องหมดไปกับการทำงานส่วนเพิ่มเหล่านี้
สมมุติฐานที่สอง ผลิตภาพที่ได้จากผู้ทำงานให้ อาจต้องแลกกับความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัว โดยเฉพาะตัวอย่างเรื่องของการเลี้ยงดูบุตรโดยบุคคลภายนอก ที่สร้างความวิตกกังวลขึ้นว่า พี่เลี้ยงจะดูแลได้ดีหรือไม่ โอกาสเกิดอุบัติเหตุหรืออันตรายจากการปล่อยให้เลี้ยงดูตามลำพังมีมากน้อยเพียงใด สิ่งเหล่านี้พัฒนามาเป็นความเครียด ระคนความทุกข์ที่เกิดจากการไม่ทำหน้าที่ตามบทบาทอันสมควร กังวลอยู่ลึกๆ ว่าจะมีผู้ใดมาติเตียนได้หรือไม่ เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ความภูมิใจ ความเอิบอิ่มใจ หรือ อนวัชชสุข ซึ่งถือว่าเป็นความสุขที่มีค่ามากสุดก็ยากที่จะเกิดขึ้นได้
การที่รัฐบาลจะรักษาหรือเพิ่มอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจโดยใช้มาตรการกระตุ้นการบริโภคเพื่อให้เกิดการจับจ่ายใช้สอยในระบบ หรือการสร้างหนี้ด้วยสารพันมาตรการที่กำลังออกมาจากสถาบันการเงินของรัฐ โดยไม่พัฒนาให้คนมีขีดความสามารถในการสร้างอัตถิสุขและส่งเสริมให้เกิดอนณสุขขึ้นพร้อมๆ กัน ก็เป็นที่เชื่อแน่ว่าเศรษฐกิจของประเทศที่อาจจะเติบโตขึ้นคงจะเป็นได้เพียงมายาภาพ และความผาสุกของพี่น้องประชาชนที่เป็นปณิธาณแรกเริ่มก็จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย... (จากคอลัมน์ พอเพียงภิวัตน์)
ผ่านไป 7 เดือน มองในแง่ที่เข้าข้างรัฐบาล อาจกล่าวได้ว่ารัฐบาลไม่สามารถหลีกเลี่ยงการถูกตรวจการบ้านเศรษฐกิจผ่านทางตัวเลขจีดีพี แต่หากมองอย่างเป็นกลาง รัฐบาลชุดนี้ก็ไม่เคยเสนอตัววัดความผาสุกอย่างเป็นรูปธรรมที่สามารถอธิบายหรือสื่อสารงานของรัฐบาลให้แก่พี่น้องประชาชนได้เข้าใจอย่างถ้วนหน้า ทั้งที่ได้ประกาศตั้งธงไว้แล้วนับแต่วันแรกที่เข้ารับตำแหน่ง และที่น่าเสียดายยิ่งกว่า ก็คือ รัฐบาลกลับก้มหน้าก้มตาทำการบ้านอย่างขะมักขเม้นกับวาระทางเศรษฐกิจที่ยังยึดโยงอยู่กับตัวเลขจีดีพีอย่างเต็มสูบ
หากยังไม่สามารถตั้งต้นหาตัววัดความผาสุกของประชาชน มิพักต้องพูดถึงตัวชี้วัดความอยู่ดีมีสุขที่ประชาชนทั่วไปในระดับปัจเจกฟังไม่รู้เรื่อง ก็ขอให้ลองพิจารณาธรรมะในหมวดกามโภคีสุข 4 ที่ประกอบด้วย สุขที่เกิดจากความมีทรัพย์ (อัตถิสุข) สุขที่เกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์ (โภคสุข) สุขที่เกิดจากความไม่เป็นหนี้ (อนณสุข) และสุขที่เกิดจากความประพฤติไม่มีโทษ (อนวัชชสุข) ทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ เป็นเครื่องชี้ทางก็ได้
จะเห็นว่า ความสุขในสามข้อแรกเกี่ยวข้องโดยตรงกับเรื่องของเศรษฐกิจ เริ่มจากการที่สมาชิกในครัวเรือนมีงานทำ ประกอบอาชีพที่สุจริต สร้างให้เกิดรายได้เข้าสู่ครัวเรือน เมื่อมีทรัพย์ ก็นำส่วนของทรัพย์นั้นมาจับจ่ายใช้สอยเกิดเป็นโภคสุข โดยมีเงื่อนไขว่าต้องไม่เป็นการสร้างความสุขด้วยการใช้จ่ายเกินตัว หรือต้องพึ่งพาทรัพย์ที่กู้ยืมมาจากภายนอกเพื่อการใช้สอย (ซึ่งเป็นคนละกรณีกับการกู้ยืมในกิจการหรือสร้างงานเพื่อก่อให้เกิดรายได้ ที่ไม่อยู่ในข้อห้าม) และนำไปสู่อนณสุข หรือความสุขที่เกิดจากความไม่เป็นหนี้ ที่เป็นทั้งเครื่องกำกับและอานิสงส์จากการกระทำดังนี้อีกทอดหนึ่ง ส่วนความสุขในข้อที่สี่หรือ อนวัชชสุข จะครอบคลุมกว้างขวางไม่เฉพาะเรื่องเศรษฐกิจ เป็นความภูมิใจ เอิบอิ่มใจว่า ตนมีความประพฤติสุจริต ไม่บกพร่องเสียหาย ใครๆ ติเตียนไม่ได้ ถือเป็นความสุขที่มีค่ามากสุดในบรรดาสุข 4 อย่างนี้ (พระพรหมคุณาภรณ์: 2548)
จากกรอบของกามโภคีสุข 4 ทำให้เห็นว่า ครัวเรือนมิได้เป็นเพียงผู้บริโภคหลักในทางเศรษฐศาสตร์ดังที่ปรากฏโดยทั่วไป เนื่องจากความผาสุกของประชาชน มิได้จำกัดอยู่เพียงโภคสุขหรือสุขที่เกิดจากการบริโภค แต่ยังรวมถึงสุขที่เกิดจากการมีรายได้ในฐานะที่เป็นปัจจัยการผลิตหนึ่งในกระบวนการผลิต ในบทบาทนี้จึงเกี่ยวข้องกับการพัฒนาคนให้มีความรู้ความสามารถตรงกับงานที่ทำ มีความขยันหมั่นเพียร สามารถสร้างรายได้ให้แก่ตนเองได้เต็มตามอัตภาพ เกิดเป็นอัตถิสุขขึ้น
ความสุขที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของเศรษฐกิจในกามโภคีสุข 4 อีกข้อหนึ่ง คือ อนณสุข หรือความสุขที่เกิดจากความไม่เป็นหนี้ เป็นเรื่องของการจัดสรรทรัพย์ที่หามาได้สำหรับการใช้จ่ายและเก็บออม หรือเป็นเรื่องของการจัดสรรผลผลิตในครัวเรือนตามทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์
มีข้อสังเกตว่า ครัวเรือนยังอยู่ในฐานะที่เป็นเจ้าของกระบวนการผลิตอีกบทบาทหนึ่งด้วย งานหลายอย่างโดยเฉพาะงานบริการถูกผลิตขึ้นภายในครัวเรือน เช่น การทำความสะอาด การซักรีด การเตรียมอาหาร และการเลี้ยงดูบุตร ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการผลิตซ้ำโดยแม่บ้าน มิได้นำมาคำนวณเป็นตัวเลขทางเศรษฐกิจ เป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจที่มิได้ถูกจดบันทึก ฉะนั้น พึงสังวรณ์ว่า ตัวเลขทางเศรษฐกิจที่ปรากฏในทุกวันนี้ มิได้รวมเอากิจกรรมการผลิตในครัวเรือนซึ่งถูกจัดว่าเป็นเศรษฐกิจนอกระบบ (Informal Economy) เข้าไว้ในการคำนวณด้วย
หากลองพิจารณาตามกระบวนทัศน์ของนักเศรษฐศาสตร์กระแสหลักที่มีความต้องการเพิ่มตัวเลขจีดีพีให้สูงขึ้น ด้วยการนำมูลค่าการผลิตในครัวเรือนเข้าสู่ระบบ ก็เป็นหนทางหนึ่งที่ทำได้และอาจมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างมากด้วย ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นและดูเหมือนสอดคล้องกับทิศทางดังกล่าว ก็คือ วิวัฒนาการของการจ้างหน่วยงานหรือแรงงานภายนอกทำงานให้ (Outsourcing) ทั้งการทำความสะอาด การซักรีด การเตรียมอาหาร และแม้แต่การเลี้ยงดูบุตร ซึ่งทำให้มูลค่าของบริการเหล่านี้ สามารถบันทึกเป็นมูลค่าของเศรษฐกิจในระบบ (Formal Economy) ได้ง่ายขึ้น
ข้อดีที่เกิดขึ้นจากการให้หน่วยงานภายนอกทำงานให้คือ ผลิตภาพ จากความเชี่ยวชาญหรือความเป็นมืออาชีพของผู้ทำงานให้ (Outsourcee) และความสะดวกสบายหรือเวลาว่างที่เพิ่มมากขึ้นของผู้ให้งานทำ (Outsourcer)
แต่ทั้งผลิตภาพและความสะดวกสบายหรือเวลาว่างที่เพิ่มขึ้น อาจมิได้นำไปสู่เป้าหมายสุดท้าย คือ ความสุขที่เรียกว่า อนวัชชสุข หรือสุขที่เกิดจากความประพฤติไม่มีโทษ เป็นความภูมิใจ เอิบอิ่มใจว่า ตนมีความประพฤติสุจริต ไม่บกพร่องเสียหาย ใครๆ ติเตียนไม่ได้ ทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ เนื่องจาก สมมุติฐานแรก การเพิ่มขึ้นของรายจ่ายจากการจ้างผู้ทำงานให้ ทำให้ครัวเรือนต้องขวนขวายหารายได้เพิ่มด้วยการเป็นปัจจัยการผลิตของหน่วยการผลิตอื่นหรือต้องทำงานอิสระเพิ่มขึ้น ความสะดวกสบายหรือเวลาว่างที่เพิ่มขึ้น อาจต้องหมดไปกับการทำงานส่วนเพิ่มเหล่านี้
สมมุติฐานที่สอง ผลิตภาพที่ได้จากผู้ทำงานให้ อาจต้องแลกกับความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัว โดยเฉพาะตัวอย่างเรื่องของการเลี้ยงดูบุตรโดยบุคคลภายนอก ที่สร้างความวิตกกังวลขึ้นว่า พี่เลี้ยงจะดูแลได้ดีหรือไม่ โอกาสเกิดอุบัติเหตุหรืออันตรายจากการปล่อยให้เลี้ยงดูตามลำพังมีมากน้อยเพียงใด สิ่งเหล่านี้พัฒนามาเป็นความเครียด ระคนความทุกข์ที่เกิดจากการไม่ทำหน้าที่ตามบทบาทอันสมควร กังวลอยู่ลึกๆ ว่าจะมีผู้ใดมาติเตียนได้หรือไม่ เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ความภูมิใจ ความเอิบอิ่มใจ หรือ อนวัชชสุข ซึ่งถือว่าเป็นความสุขที่มีค่ามากสุดก็ยากที่จะเกิดขึ้นได้
การที่รัฐบาลจะรักษาหรือเพิ่มอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจโดยใช้มาตรการกระตุ้นการบริโภคเพื่อให้เกิดการจับจ่ายใช้สอยในระบบ หรือการสร้างหนี้ด้วยสารพันมาตรการที่กำลังออกมาจากสถาบันการเงินของรัฐ โดยไม่พัฒนาให้คนมีขีดความสามารถในการสร้างอัตถิสุขและส่งเสริมให้เกิดอนณสุขขึ้นพร้อมๆ กัน ก็เป็นที่เชื่อแน่ว่าเศรษฐกิจของประเทศที่อาจจะเติบโตขึ้นคงจะเป็นได้เพียงมายาภาพ และความผาสุกของพี่น้องประชาชนที่เป็นปณิธาณแรกเริ่มก็จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย... (จากคอลัมน์ พอเพียงภิวัตน์)
Subscribe to:
Posts (Atom)