จากความต้องการของผู้ลงทุนที่มีต่อข้อมูลของบริษัทจดทะเบียนในปัจจุบัน ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงข้อมูลทางการเงิน ซึ่งเป็นการสะท้อนถึงผลประกอบการในอดีต ผู้ลงทุนได้ให้ความสำคัญของข้อมูลที่มิใช่ตัวเลขทางการเงินเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ คำว่า ESG ซึ่งย่อมาจาก Environmental, Social, and Governance จึงเกิดขึ้นในแวดวงตลาดทุน เพื่ออธิบายถึงประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ที่เกี่ยวข้องกับบริษัทและการดำเนินงานของบริษัท ซึ่งส่งผลต่อการตัดสินใจลงทุน
การพัฒนาข้อมูลความยั่งยืนในรูปของดัชนีหรือการจัดอันดับจากผู้ให้บริการข้อมูลในวงจรข้อมูลความยั่งยืน จึงเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เพื่อสนองตอบต่อความต้องการของผู้ลงทุน โดยมีผู้ให้บริการรายสำคัญ อย่างเช่น เอสแอนด์พี/ดาวโจนส์ (ควบรวมกันในปี 2554) ที่กำเนิดจากฝั่งอเมริกา และฟุตซี่ จากฝั่งยุโรป (อังกฤษ) ซึ่งนำข้อมูลที่ใช้จัดทำดัชนีมาจากบริษัทประเมินหรือบริษัทวิจัยที่ทั้งรวบรวมข้อมูลจากแหล่งปฐมภูมิเองและซื้อจากบริษัทขายข้อมูล อาทิ บลูมเบิร์ก หรือทอมสัน รอยเตอร์ส ซึ่งจะทำหน้าที่ประมวลข้อมูลจากแหล่งปฐมภูมิ เช่น รายงานประจำปี รายงานแห่งความยั่งยืนของกิจการ หรือจากแบบสอบถาม และข้อมูลจากแหล่งทุติยภูมิ เช่น เสียงสะท้อนจากผู้มีส่วนได้เสีย ภาคประชาสังคม และข้อเท็จจริงที่ปรากฏในสื่อต่างๆ
บริษัทที่ทำการเปิดเผยข้อมูลได้อย่างชัดเจน ครบถ้วน มีความน่าเชื่อถือ และเป็นไปตามบรรทัดฐานสากลตั้งแต่ต้นทาง ส่งทอดให้ผู้รวบรวมข้อมูล (Aggregators) ไปยังบริษัทวิจัยข้อมูล (Researchers) และบริษัทผู้ประเมิน (Raters) สู่การจัดทำข้อมูลดัชนี (Indexes) ส่งตรงไปยังผู้ใช้ข้อมูล (Users) ซึ่งเป็นผู้ลงทุนโดยส่วนใหญ่ และผู้ใช้ข้อมูลปลายทาง จะยังประโยชน์ให้แก่ตัวองค์กรต่อการเป็นที่ยอมรับและการตัดสินใจลงทุน
ในรอบปี 2557 มีบริษัทจดทะเบียนไทยที่ได้เข้าอยู่ในดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ (DJSI) จำนวน 10 แห่ง ประกอบด้วย BANPU CPN IRPC MINT PTT PTTEP PTTGC SCC TOP และ TUF
สำหรับความเคลื่อนไหวของการจัดทำข้อมูลความยั่งยืนของผู้ให้บริการในไทย สถาบันไทยพัฒน์ ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มพัฒนาข้อมูลด้านความยั่งยืนของธุรกิจ ได้ทำการประเมินข้อมูลด้านความยั่งยืนของหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และได้ประกาศหลักทรัพย์จดทะเบียนที่มีการดำเนินงานโดดเด่นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) จำนวน 100 บริษัท หรือที่เรียกว่ากลุ่มหลักทรัพย์ ESG100 เป็นครั้งแรกในประเทศไทย เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา (ดูรายละเอียดของ 100 บริษัทใน ESG100 ได้ที่ http://esg100.company)
ทั้งนี้ กลุ่มดัชนี DJSI เป็นดัชนีหลักทรัพย์ของบริษัทชั้นนำที่ได้รับการประเมินความยั่งยืน จากการคัดเลือกบริษัทในตลาดทุนทั่วโลกและในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ โดยพิจารณาจากมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด ส่วน ESG100 เป็น Universe ของหลักทรัพย์จดทะเบียน 100 บริษัทที่มีความโดดเด่นในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน จากการคัดกรองบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
DJSI มีหน่วยงาน RobecoSAM เป็นผู้ทำหน้าที่ประเมินด้วยการพิจารณาข้อมูลจากแบบสอบถาม (questionnaire) ที่บริษัทตอบกลับเป็นหลัก ส่วน ESG100 มีหน่วยงาน ESG Rating ของสถาบันไทยพัฒน์ เป็นผู้ทำหน้าที่ประเมินด้วยการพิจารณาข้อมูลที่บริษัทเผยแพร่ต่อสาธารณะเป็นหลัก โดยใช้ดัชนีสารบัญ (Content Index) ช่วยชี้ตำแหน่งข้อมูล
เป็นที่คาดหมายว่า ผู้จัดทำข้อมูลและให้บริการดัชนีด้านความยั่งยืน โดยใช้ข้อมูล ESG เป็นฐานในการพิจารณา จะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากปริมาณเม็ดเงินที่ถูกจัดสรรในหมวดการลงทุนที่ยั่งยืน (Sustainable Investment) ทั่วโลก มีอัตราเติบโตอย่างก้าวกระโดด
เฉพาะในสหรัฐอเมริกา ปริมาณเม็ดเงินที่ลงทุนในหมวดนี้ มีมากกว่า 6.57 ล้านล้านเหรียญ คิดเป็นร้อยละ 18 ของขนาดสินทรัพย์ภายใต้การบริหาร (AUM) ทั้งหมดที่ 36.8 ล้านล้านเหรียญ หรือเทียบอย่างง่าย คือ ในจำนวนเงินลงทุน 6 เหรียญ จะมีไม่ต่ำกว่า 1 เหรียญที่ลงทุนโดยใช้ข้อมูล ESG
สิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นต่อไปจากนี้ คือ การพัฒนาในฝั่งของผู้ลงทุน ต่อการลงทุนที่ยั่งยืน ครอบคลุมการพิจารณาถึงการกำกับดูแลกิจการที่ดี คำนึงถึงผลกระทบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และผู้มีส่วนได้เสียอย่างครบถ้วน โดยเฉพาะผู้ลงทุนประเภทสถาบัน หรือผู้จัดการลงทุนซึ่งทำหน้าที่ดูแลการลงทุนให้แก่ผู้ลงทุน จำเป็นต้องมีแนวปฏิบัติสำหรับการลงทุนที่ดี ใช้ข้อมูล ESG ที่กิจการเปิดเผย ประกอบการตัดสินใจลงทุนอย่างรอบด้าน...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
Thursday, March 26, 2015
Thursday, March 19, 2015
การต่อต้านทุจริต เฟส 2
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้ออกประกาศกำหนดให้บริษัทจดทะเบียนต้องเปิดเผยการดำเนินการเกี่ยวกับการป้องกันมิให้การดำเนินธุรกิจของบริษัทและบริษัทย่อยมีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริตในแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1) โดยเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ.2557 เป็นต้นมา
พร้อมกับได้สนับสนุนให้มีการประเมินระดับการพัฒนาของบริษัทจดทะเบียนต่อความคืบหน้าในด้านการป้องกันการมีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริต (Anti-corruption Progress Indicator) เป็นครั้งแรกในประเทศไทย ด้วยการใช้เกณฑ์ประเมินความคืบหน้าในเรื่องการต่อต้านการทุจริต 5 ระดับ ได้แก่ ระดับ 1: มีนโยบาย (Committed) ระดับ 2: ประกาศเจตนารมณ์ (Declared) ระดับ 3: มีมาตรการป้องกัน (Established) ระดับ 4: ได้รับการรับรอง (Certified) และระดับ 5: ขยายผลสู่ผู้ที่เกี่ยวข้อง (Extended)
ถือเป็นปฐมบทของการต่อต้านการทุจริต ในเฟสแรก (ปี 2557)
ผลประเมินความคืบหน้าในเรื่องการต่อต้านการทุจริตของบริษัทจดทะเบียน ประจำปี พ.ศ.2557 จากจำนวนบริษัทที่ทำการสำรวจทั้งสิ้น 567 แห่ง พบว่า มี 344 บริษัท หรือคิดเป็นร้อยละ 60.67 ได้คะแนนอยู่ที่ระดับ 1 ขึ้นไป (คือ บริษัทแสดงให้เห็นถึงคำมั่นจากผู้บริหารและขององค์กร ว่ามีนโยบายในการดำเนินธุรกิจที่จะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริต) และผลการสำรวจยังพบว่า มีบริษัทที่ยังมิได้เปิดเผยข้อมูลในเรื่องดังกล่าว จำนวน 176 บริษัท หรือคิดเป็นร้อยละ 31.04 ที่เหลือเป็นการเปิดเผยเพียงบางส่วน จำนวน 47 บริษัท หรือคิดเป็นร้อยละ 8.29
ตามแผนงานของสำนักงาน ก.ล.ต. จะมีการดำเนินการเปิดเผยข้อมูลความคืบหน้าในเรื่องการต่อต้านการทุจริตของบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) และบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ในรูปของดัชนีความคืบหน้า 5 ระดับ ด้วยเกณฑ์การประเมินเดียวกันกับที่ใช้ในบริษัทจดทะเบียน (บจ.) และจะทำการเปิดเผยดัชนีความคืบหน้าของบริษัทจดทะเบียนในบทวิเคราะห์ ภายในปี พ.ศ. 2558 ด้วย
นอกจากนี้ ยังมีความริเริ่มที่จะให้มีตราสัญลักษณ์ “กองทุนร่วมใจต่อต้านคอร์รัปชัน” เช่น กองทุนที่ลงทุนเฉพาะในบริษัทจดทะเบียนที่มีคะแนนความคืบหน้าเรื่องการต่อต้านการทุจริตในระดับ 3 ขึ้นไป โดยให้บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน แสดงตราสัญลักษณ์ในเอกสารของกองทุน เช่น ข้อมูลส่วนสาระสำคัญ (Fund Fact Sheet) หนังสือชี้ชวน และในเอกสารอื่นๆ ที่เผยแพร่ต่อผู้ลงทุนด้วย
การต่อต้านทุจริต ในเฟส 2 (ปี 2558) กำลังเริ่มต้นขึ้น นับจากนี้...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
พร้อมกับได้สนับสนุนให้มีการประเมินระดับการพัฒนาของบริษัทจดทะเบียนต่อความคืบหน้าในด้านการป้องกันการมีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริต (Anti-corruption Progress Indicator) เป็นครั้งแรกในประเทศไทย ด้วยการใช้เกณฑ์ประเมินความคืบหน้าในเรื่องการต่อต้านการทุจริต 5 ระดับ ได้แก่ ระดับ 1: มีนโยบาย (Committed) ระดับ 2: ประกาศเจตนารมณ์ (Declared) ระดับ 3: มีมาตรการป้องกัน (Established) ระดับ 4: ได้รับการรับรอง (Certified) และระดับ 5: ขยายผลสู่ผู้ที่เกี่ยวข้อง (Extended)
ถือเป็นปฐมบทของการต่อต้านการทุจริต ในเฟสแรก (ปี 2557)
ผลประเมินความคืบหน้าในเรื่องการต่อต้านการทุจริตของบริษัทจดทะเบียน ประจำปี พ.ศ.2557 จากจำนวนบริษัทที่ทำการสำรวจทั้งสิ้น 567 แห่ง พบว่า มี 344 บริษัท หรือคิดเป็นร้อยละ 60.67 ได้คะแนนอยู่ที่ระดับ 1 ขึ้นไป (คือ บริษัทแสดงให้เห็นถึงคำมั่นจากผู้บริหารและขององค์กร ว่ามีนโยบายในการดำเนินธุรกิจที่จะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริต) และผลการสำรวจยังพบว่า มีบริษัทที่ยังมิได้เปิดเผยข้อมูลในเรื่องดังกล่าว จำนวน 176 บริษัท หรือคิดเป็นร้อยละ 31.04 ที่เหลือเป็นการเปิดเผยเพียงบางส่วน จำนวน 47 บริษัท หรือคิดเป็นร้อยละ 8.29
ตามแผนงานของสำนักงาน ก.ล.ต. จะมีการดำเนินการเปิดเผยข้อมูลความคืบหน้าในเรื่องการต่อต้านการทุจริตของบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) และบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ในรูปของดัชนีความคืบหน้า 5 ระดับ ด้วยเกณฑ์การประเมินเดียวกันกับที่ใช้ในบริษัทจดทะเบียน (บจ.) และจะทำการเปิดเผยดัชนีความคืบหน้าของบริษัทจดทะเบียนในบทวิเคราะห์ ภายในปี พ.ศ. 2558 ด้วย
นอกจากนี้ ยังมีความริเริ่มที่จะให้มีตราสัญลักษณ์ “กองทุนร่วมใจต่อต้านคอร์รัปชัน” เช่น กองทุนที่ลงทุนเฉพาะในบริษัทจดทะเบียนที่มีคะแนนความคืบหน้าเรื่องการต่อต้านการทุจริตในระดับ 3 ขึ้นไป โดยให้บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน แสดงตราสัญลักษณ์ในเอกสารของกองทุน เช่น ข้อมูลส่วนสาระสำคัญ (Fund Fact Sheet) หนังสือชี้ชวน และในเอกสารอื่นๆ ที่เผยแพร่ต่อผู้ลงทุนด้วย
การต่อต้านทุจริต ในเฟส 2 (ปี 2558) กำลังเริ่มต้นขึ้น นับจากนี้...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
Thursday, March 12, 2015
หุ้นส่วนต้านทุจริตเพื่อประเทศไทย
จากผลสำรวจความคิดเห็นผู้บริหารระดับสูงภาคเอกชนจำนวน 425 คนในช่วงเดือน ต.ค.-พ.ย. 2557 โดยโครงการแนวร่วมปฏิบัติภาคเอกชนในการต่อต้านการทุจริต (CAC) พบว่า นักธุรกิจที่ตอบแบบสอบถามกว่าร้อยละ 75 มีความพร้อมมากถึงมากที่สุดที่จะผลักดันให้เกิดการต่อต้านการทุจริตที่เป็นระบบภายในบริษัทหรือองค์กรของตน
เพื่อเป็นการส่งเสริมการยกระดับการต่อต้านการทุจริตในภาคเอกชนอย่างเป็นรูปธรรม สถาบันไทยพัฒน์ จึงได้จับมือกับหน่วยร่วมดำเนินงานที่เห็นความสำคัญต่อการต้านทุจริตภาคปฏิบัติ (Anti-corruption in Practice) ริเริ่มการทำงานในลักษณะเครือข่ายที่เรียกว่า PACT สำหรับใช้เป็นแพลตฟอร์มในการพัฒนาระดับการต่อต้านทุจริตให้กับองค์กรที่เข้าเป็นสมาชิกเครือข่าย (โดยไม่มีค่าใช้จ่าย) ด้วยระเบียบวิธีการดำเนินงานที่อ้างอิงจากหลักการและแนวปฏิบัติในการต่อต้านการทุจริตที่เป็นสากล
หุ้นส่วนต้านทุจริตเพื่อประเทศไทย หรือ Partnership Against Corruption for Thailand (PACT) เป็นเครือข่ายขององค์กรจากหลากหลายสาขา ซึ่งมีเป้าประสงค์ในการต่อต้านการทุจริต ที่เน้นให้เกิดผลในทางปฏิบัติ ด้วยการดำเนินงานเป็นขั้นตอน ตั้งแต่การให้คำมั่นและจัดทำนโยบายการต่อต้านการทุจริต การวางกระบวนงานสำหรับการต่อต้านการทุจริตโดยเริ่มจากภายในองค์กร ขยายไปยังหุ้นส่วนทางธุรกิจ จนครอบคลุมตลอดถึงห่วงโซ่อุปทาน ตามลำดับ
เครือข่าย PACT ที่ริเริ่มขึ้น นับเป็นก้าวสำคัญสำหรับการต่อต้านทุจริตของภาคเอกชนในประเทศไทย ที่ทำงานในแบบหุ้นส่วนดำเนินงาน (Partnership) รองรับการขับเคลื่อนในระดับห่วงโซ่ธุรกิจ ด้วยแพลตฟอร์มที่พัฒนาขึ้นตามหลักการและแนวปฏิบัติที่แนะนำโดยข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ (United Nations Global Compact) และองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency International) โดยมีบริษัท ไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส คอนซัลติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด เป็นที่ปรึกษาเครือข่าย (Consulting Partner)
องค์กรสมาชิกที่เข้าร่วมในเครือข่าย PACT จะได้รับ “คู่มือแนวทางการต้านทุจริต สำหรับองค์กรธุรกิจ” ฉบับ How-to ที่เน้นให้เกิดผลในทางปฏิบัติ ด้วยการดำเนินงานเป็นขั้นตอน โดยกระบวนงานในการต่อต้านการทุจริต ตามแพลตฟอร์ม PACT แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่
1. Commit: ให้คำมั่น ด้วยการจัดทำถ้อยแถลงขององค์กรและสารของผู้บริหาร รวมทั้งตัวอย่างหรือรูปธรรมของการดำเนินการที่เกี่ยวกับการต่อต้านการทุจริตของฝ่ายบริหาร
2. Establish: ลงมือทำ ด้วยการแปลงคำมั่นขององค์กรไปสู่การปฏิบัติ ผ่านการวางนโยบายและระบบการควบคุมภายในที่ใช้ในการป้องกันและตรวจพบทุจริต
3. Extend: ขยายวง ด้วยการผลักดันให้หุ้นส่วนหรือคู่ค้าทางธุรกิจ ดำเนินนโยบายและแนวปฏิบัติที่จะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริต
บริษัทจดทะเบียนและองค์กรธุรกิจทั่วไปที่ต้องการเข้าร่วมในเครือข่าย PACT เพื่อรับคู่มือแนวทางการต้านทุจริต ฉบับ How-to สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.pact.network ได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
แนวทางการต้านทุจริต สำหรับองค์กรธุรกิจ ฉบับ How-to ความหนา 50 หน้า คู่มือช่วยองค์กรยกระดับการรับรู้เรื่องการต้านทุจริตในหมู่พนักงาน และทำให้ฝ่ายบริหารมีเครื่องมือและกติกาในการควบคุมดูแลการปฏิบัติงาน รวมทั้งเอื้อให้ผู้ประกอบการในห่วงโซ่อุปทานมีบรรทัดฐานในการติดตามและรายงานการปฏิบัติงานและการดำเนินการต่อต้านการทุจริตในภาษาเดียวกัน ตลอดจนช่วยเสริมสร้างบทบาทการต่อต้านการทุจริตของกิจการให้เป็นที่ยอมรับในสังคม
เพื่อเป็นการส่งเสริมการยกระดับการต่อต้านการทุจริตในภาคเอกชนอย่างเป็นรูปธรรม สถาบันไทยพัฒน์ จึงได้จับมือกับหน่วยร่วมดำเนินงานที่เห็นความสำคัญต่อการต้านทุจริตภาคปฏิบัติ (Anti-corruption in Practice) ริเริ่มการทำงานในลักษณะเครือข่ายที่เรียกว่า PACT สำหรับใช้เป็นแพลตฟอร์มในการพัฒนาระดับการต่อต้านทุจริตให้กับองค์กรที่เข้าเป็นสมาชิกเครือข่าย (โดยไม่มีค่าใช้จ่าย) ด้วยระเบียบวิธีการดำเนินงานที่อ้างอิงจากหลักการและแนวปฏิบัติในการต่อต้านการทุจริตที่เป็นสากล
หุ้นส่วนต้านทุจริตเพื่อประเทศไทย หรือ Partnership Against Corruption for Thailand (PACT) เป็นเครือข่ายขององค์กรจากหลากหลายสาขา ซึ่งมีเป้าประสงค์ในการต่อต้านการทุจริต ที่เน้นให้เกิดผลในทางปฏิบัติ ด้วยการดำเนินงานเป็นขั้นตอน ตั้งแต่การให้คำมั่นและจัดทำนโยบายการต่อต้านการทุจริต การวางกระบวนงานสำหรับการต่อต้านการทุจริตโดยเริ่มจากภายในองค์กร ขยายไปยังหุ้นส่วนทางธุรกิจ จนครอบคลุมตลอดถึงห่วงโซ่อุปทาน ตามลำดับ
เครือข่าย PACT ที่ริเริ่มขึ้น นับเป็นก้าวสำคัญสำหรับการต่อต้านทุจริตของภาคเอกชนในประเทศไทย ที่ทำงานในแบบหุ้นส่วนดำเนินงาน (Partnership) รองรับการขับเคลื่อนในระดับห่วงโซ่ธุรกิจ ด้วยแพลตฟอร์มที่พัฒนาขึ้นตามหลักการและแนวปฏิบัติที่แนะนำโดยข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ (United Nations Global Compact) และองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency International) โดยมีบริษัท ไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส คอนซัลติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด เป็นที่ปรึกษาเครือข่าย (Consulting Partner)
องค์กรสมาชิกที่เข้าร่วมในเครือข่าย PACT จะได้รับ “คู่มือแนวทางการต้านทุจริต สำหรับองค์กรธุรกิจ” ฉบับ How-to ที่เน้นให้เกิดผลในทางปฏิบัติ ด้วยการดำเนินงานเป็นขั้นตอน โดยกระบวนงานในการต่อต้านการทุจริต ตามแพลตฟอร์ม PACT แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่
1. Commit: ให้คำมั่น ด้วยการจัดทำถ้อยแถลงขององค์กรและสารของผู้บริหาร รวมทั้งตัวอย่างหรือรูปธรรมของการดำเนินการที่เกี่ยวกับการต่อต้านการทุจริตของฝ่ายบริหาร
2. Establish: ลงมือทำ ด้วยการแปลงคำมั่นขององค์กรไปสู่การปฏิบัติ ผ่านการวางนโยบายและระบบการควบคุมภายในที่ใช้ในการป้องกันและตรวจพบทุจริต
3. Extend: ขยายวง ด้วยการผลักดันให้หุ้นส่วนหรือคู่ค้าทางธุรกิจ ดำเนินนโยบายและแนวปฏิบัติที่จะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริต
บริษัทจดทะเบียนและองค์กรธุรกิจทั่วไปที่ต้องการเข้าร่วมในเครือข่าย PACT เพื่อรับคู่มือแนวทางการต้านทุจริต ฉบับ How-to สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.pact.network ได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
แนวทางการต้านทุจริต สำหรับองค์กรธุรกิจ ฉบับ How-to ความหนา 50 หน้า คู่มือช่วยองค์กรยกระดับการรับรู้เรื่องการต้านทุจริตในหมู่พนักงาน และทำให้ฝ่ายบริหารมีเครื่องมือและกติกาในการควบคุมดูแลการปฏิบัติงาน รวมทั้งเอื้อให้ผู้ประกอบการในห่วงโซ่อุปทานมีบรรทัดฐานในการติดตามและรายงานการปฏิบัติงานและการดำเนินการต่อต้านการทุจริตในภาษาเดียวกัน ตลอดจนช่วยเสริมสร้างบทบาทการต่อต้านการทุจริตของกิจการให้เป็นที่ยอมรับในสังคม
Thursday, March 05, 2015
กิจการวิถียั่งยืน
แต่ไหนแต่ไรมา องค์กรธุรกิจที่ตั้งขึ้นและอยู่รอดได้ในตลาดในช่วงตั้งต้น ล้วนมองไปข้างหน้า ด้วยการให้ความสำคัญกับการขยายกิจการให้เติบโต ซึ่งถือเป็นวัฏจักรปกติของธุรกิจ แต่สภาพการณ์แวดล้อมในยุคที่อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจทั้งในระดับโลก ระดับภูมิภาค และระดับท้องถิ่น ไม่ได้ขยายตัวมากและต่อเนื่องเช่นในอดีต วัฏจักรในช่วงที่แต่ละธุรกิจเพลิดเพลินอยู่กับการเติบโต ดูจะไม่ร้อนแรงและมีระยะเวลาที่สั้นลงตามไปด้วย
การใช้กลยุทธ์มุ่งการเติบโต (Growth) ไม่สามารถรับประกันได้ว่า เพียงพอต่อการนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จ เพราะในความเป็นจริง องค์กรไม่สามารถจะรักษาอัตราการเติบโตหรือการขยายตัวของกิจการได้ตลอด โดยเป็นไปตามวัฏจักรชีวิตที่มีรูปร่างเป็น S-Curve (ก่อตั้ง-เติบโต-อิ่มตัว-เสื่อมถอย) แม้กิจการจะพยายามสร้าง S-Curve ใหม่ขึ้นทดแทน แต่ก็ไม่จีรังอยู่ได้ตลอดรอดฝั่ง ในโลกธุรกิจ จึงเห็นการแปรเปลี่ยนทั้งการควบรวมกิจการ การขายกิจการ และการยุบหรือเลิกกิจการ
การบริหารกิจการให้ยั่งยืน หรือการทำให้กิจการมีความยั่งยืน ไม่ให้ล้มหายไปจากตลาด จึงเป็นทักษะที่ผู้ประกอบการสมัยใหม่ต่างแสวงหาและต้องการได้มาใช้ขับเคลื่อนธุรกิจ กลยุทธ์มุ่งความยั่งยืน (Sustainability) จึงกลายเป็นทางเลือกที่ได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ด้วยแนวคิดที่ไม่ได้เน้นการสร้าง S-Curve ใหม่ แต่ใช้วิธีการที่ทำให้ S-Curve ที่มีอยู่ขยายยืดออกไปให้ยาวที่สุด โดยเฉพาะในช่วงท้ายของการเติบโตและในช่วงอิ่มตัว โดยเป็นคนละเรื่องกับความพยายามในการจับเอาความยั่งยืนมาใส่ในกลยุทธ์การเติบโต กลายเป็น กลยุทธ์การเติบโตอย่างยั่งยืน หรือ Sustainable Growth ซึ่งฟังแล้วดูดี แต่อยู่เหนือวิสัยในทางปฏิบัติ
สิ่งที่ธุรกิจต้องทำความเข้าใจให้ถ่องแท้ คือ ปัจจัยแห่งการเติบโต ซึ่งหมายถึง ทรัพยากรที่ใส่เข้ามาเพื่อสนับสนุนกลยุทธ์มุ่งการเติบโตนั้น มีความแตกต่างจาก ทรัพยากรที่ใช้เพื่อสนับสนุนกลยุทธ์มุ่งความยั่งยืน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า ปัจจัยแห่งความยั่งยืน อาจไม่ใช่ทรัพยากรประเภทเดียวกันกับที่ใช้ในการสร้างกิจการให้เติบโต
มีหลายองค์กรธุรกิจที่ได้นำปัจจัยแห่งความยั่งยืน ซึ่งเกี่ยวข้องกับการคำนึงถึงประเด็นทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ที่มีความเกี่ยวโยงกันและส่งผลต่อความเป็นไปของกิจการ มาออกแบบและปรับแต่งโมเดลทางธุรกิจ วางกลยุทธ์มุ่งความยั่งยืน พร้อมกับพัฒนาแนวทางในการสื่อสารเรื่องความยั่งยืน เพื่อให้ผู้มีส่วนได้เสียทั้งภายในและภายนอกองค์กรได้รับทราบถึงทิศทางขององค์กร และตอบสนองต่อความจำกัดของกลยุทธ์มุ่งการเติบโตที่ไม่อาจใช้เป็นกลยุทธ์หลักเดียวของธุรกิจได้อีกต่อไป
การกำกับดูแลกิจการที่คณะกรรมการบริษัทคุ้นเคยกับการให้ความเห็นชอบในกลยุทธ์มุ่งการเติบโตของหลายกิจการ ในห้วงเวลาที่ผ่านมา กำลังเปลี่ยนจุดโฟกัสมาสู่การให้ความเห็นชอบในกลยุทธ์มุ่งความยั่งยืน ทั้งนี้ เพื่อรักษาเสถียรภาพของกิจการและความมั่งคั่งให้แก่ผู้ถือหุ้น โดยคำนึงถึงความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่างๆ ที่มีส่วนสร้างทั้งแรงหนุนและแรงต้านแก่องค์กร
กิจการที่เข้าใจบริบทของความยั่งยืนอย่างรอบด้าน สามารถพิสูจน์ให้เห็นว่า การวางกลยุทธ์มุ่งความยั่งยืนที่มักอ้างอิงด้วยคำว่า ESG (Environmental, Social and Governance) เป็นการดำเนินงานที่ตอบสนองต่อมิติทางธุรกิจ มิใช่เรื่องที่แปลกแยกไปจากการดำเนินธุรกิจ และมิได้เป็นภาระหรือค่าใช้จ่ายขององค์กร แต่กลับเป็นปัจจัยที่เสริมหนุนขีดความสามารถทางการแข่งขัน และการได้มาซึ่งกำไรที่มั่นคง
กิจการที่ก้าวมาสู่ขั้นนี้ได้ มักจะมีเข็มทิศการดำเนินงานในเรื่องธุรกิจกับเรื่องสังคมและสิ่งแวดล้อม ชี้ไปในทิศทางเดียวกัน การพิจารณาดำเนินงานด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมขององค์กรเหล่านี้ จึงผสมผสานกลมกลืนกับการดำเนินธุรกิจได้อย่างเป็นเนื้อเดียวกัน โดยมิได้ถูกปฏิเสธจากผู้ถือหุ้นด้วย
เจ้าของกิจการในวิถียั่งยืนเท่านั้น ที่จะเข้าใจว่า “ธุรกิจต้องเป็นส่วนหนึ่งของสังคม มิใช่แยกส่วนจากสังคม” (Business must be a part of society, not apart from society)...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
การใช้กลยุทธ์มุ่งการเติบโต (Growth) ไม่สามารถรับประกันได้ว่า เพียงพอต่อการนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จ เพราะในความเป็นจริง องค์กรไม่สามารถจะรักษาอัตราการเติบโตหรือการขยายตัวของกิจการได้ตลอด โดยเป็นไปตามวัฏจักรชีวิตที่มีรูปร่างเป็น S-Curve (ก่อตั้ง-เติบโต-อิ่มตัว-เสื่อมถอย) แม้กิจการจะพยายามสร้าง S-Curve ใหม่ขึ้นทดแทน แต่ก็ไม่จีรังอยู่ได้ตลอดรอดฝั่ง ในโลกธุรกิจ จึงเห็นการแปรเปลี่ยนทั้งการควบรวมกิจการ การขายกิจการ และการยุบหรือเลิกกิจการ
การบริหารกิจการให้ยั่งยืน หรือการทำให้กิจการมีความยั่งยืน ไม่ให้ล้มหายไปจากตลาด จึงเป็นทักษะที่ผู้ประกอบการสมัยใหม่ต่างแสวงหาและต้องการได้มาใช้ขับเคลื่อนธุรกิจ กลยุทธ์มุ่งความยั่งยืน (Sustainability) จึงกลายเป็นทางเลือกที่ได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ด้วยแนวคิดที่ไม่ได้เน้นการสร้าง S-Curve ใหม่ แต่ใช้วิธีการที่ทำให้ S-Curve ที่มีอยู่ขยายยืดออกไปให้ยาวที่สุด โดยเฉพาะในช่วงท้ายของการเติบโตและในช่วงอิ่มตัว โดยเป็นคนละเรื่องกับความพยายามในการจับเอาความยั่งยืนมาใส่ในกลยุทธ์การเติบโต กลายเป็น กลยุทธ์การเติบโตอย่างยั่งยืน หรือ Sustainable Growth ซึ่งฟังแล้วดูดี แต่อยู่เหนือวิสัยในทางปฏิบัติ
สิ่งที่ธุรกิจต้องทำความเข้าใจให้ถ่องแท้ คือ ปัจจัยแห่งการเติบโต ซึ่งหมายถึง ทรัพยากรที่ใส่เข้ามาเพื่อสนับสนุนกลยุทธ์มุ่งการเติบโตนั้น มีความแตกต่างจาก ทรัพยากรที่ใช้เพื่อสนับสนุนกลยุทธ์มุ่งความยั่งยืน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า ปัจจัยแห่งความยั่งยืน อาจไม่ใช่ทรัพยากรประเภทเดียวกันกับที่ใช้ในการสร้างกิจการให้เติบโต
มีหลายองค์กรธุรกิจที่ได้นำปัจจัยแห่งความยั่งยืน ซึ่งเกี่ยวข้องกับการคำนึงถึงประเด็นทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ที่มีความเกี่ยวโยงกันและส่งผลต่อความเป็นไปของกิจการ มาออกแบบและปรับแต่งโมเดลทางธุรกิจ วางกลยุทธ์มุ่งความยั่งยืน พร้อมกับพัฒนาแนวทางในการสื่อสารเรื่องความยั่งยืน เพื่อให้ผู้มีส่วนได้เสียทั้งภายในและภายนอกองค์กรได้รับทราบถึงทิศทางขององค์กร และตอบสนองต่อความจำกัดของกลยุทธ์มุ่งการเติบโตที่ไม่อาจใช้เป็นกลยุทธ์หลักเดียวของธุรกิจได้อีกต่อไป
การกำกับดูแลกิจการที่คณะกรรมการบริษัทคุ้นเคยกับการให้ความเห็นชอบในกลยุทธ์มุ่งการเติบโตของหลายกิจการ ในห้วงเวลาที่ผ่านมา กำลังเปลี่ยนจุดโฟกัสมาสู่การให้ความเห็นชอบในกลยุทธ์มุ่งความยั่งยืน ทั้งนี้ เพื่อรักษาเสถียรภาพของกิจการและความมั่งคั่งให้แก่ผู้ถือหุ้น โดยคำนึงถึงความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่างๆ ที่มีส่วนสร้างทั้งแรงหนุนและแรงต้านแก่องค์กร
กิจการที่เข้าใจบริบทของความยั่งยืนอย่างรอบด้าน สามารถพิสูจน์ให้เห็นว่า การวางกลยุทธ์มุ่งความยั่งยืนที่มักอ้างอิงด้วยคำว่า ESG (Environmental, Social and Governance) เป็นการดำเนินงานที่ตอบสนองต่อมิติทางธุรกิจ มิใช่เรื่องที่แปลกแยกไปจากการดำเนินธุรกิจ และมิได้เป็นภาระหรือค่าใช้จ่ายขององค์กร แต่กลับเป็นปัจจัยที่เสริมหนุนขีดความสามารถทางการแข่งขัน และการได้มาซึ่งกำไรที่มั่นคง
กิจการที่ก้าวมาสู่ขั้นนี้ได้ มักจะมีเข็มทิศการดำเนินงานในเรื่องธุรกิจกับเรื่องสังคมและสิ่งแวดล้อม ชี้ไปในทิศทางเดียวกัน การพิจารณาดำเนินงานด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมขององค์กรเหล่านี้ จึงผสมผสานกลมกลืนกับการดำเนินธุรกิจได้อย่างเป็นเนื้อเดียวกัน โดยมิได้ถูกปฏิเสธจากผู้ถือหุ้นด้วย
เจ้าของกิจการในวิถียั่งยืนเท่านั้น ที่จะเข้าใจว่า “ธุรกิจต้องเป็นส่วนหนึ่งของสังคม มิใช่แยกส่วนจากสังคม” (Business must be a part of society, not apart from society)...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
Subscribe to:
Posts (Atom)