ความต้องการ เป็นมูลฐานสำคัญที่ทำให้เกิดวิชาเศรษฐศาสตร์ เมื่อความต้องการของมนุษย์มีไม่จำกัด ไม่มีที่สิ้นสุด ในขณะที่สิ่งของและบริการที่มนุษย์ต้องการมีจำนวนจำกัด เศรษฐศาสตร์จึงเข้ามามีส่วนในการจัดการ จัดแบ่งให้มีการบริโภคที่จะสนองความต้องการของมนุษย์ให้มากที่สุด ความต้องการนี้เองเป็นตัวบังคับให้มนุษย์ทำงาน ให้มนุษย์ผลิตคิดค้นจนเกิดมีความมั่งคั่งและมีสวัสดิการ
ในเศรษฐศาสตร์กระแสหลักที่พัฒนามาจากอารยธรรมตะวันตก ถือว่าความต้องการของมนุษย์ไม่มีที่สิ้นสุด เป็นสัญชาตญาณตามปกติของมนุษย์ กิจกรรมทางเศรษฐกิจตามสายการพัฒนานี้ จึงมุ่งตอบสนองความต้องการเพื่อให้มนุษย์ได้รับความพึงพอใจมากที่สุด โดยเชื่อว่ายิ่งได้บริโภคมากยิ่งมีความพึงพอใจมาก
ค่านิยมการดำเนินชีวิตในกระแสนี้ ได้ให้ความสำคัญกับความอุดมสมบูรณ์และความหลากหลายของสินค้าและบริการว่าเป็นตัวชี้วัดที่สำคัญของความกินดีอยู่ดีของคนในสังคม ยิ่งมีสินค้าและบริการที่สามารถรองรับการบริโภคมากก็ยิ่งแสดงถึงความกินอยู่ที่บริบูรณ์มาก จึงไม่น่าแปลกใจว่าเครื่องชี้สภาวะทางเศรษฐกิจหลักในทุกวันนี้ ได้แก่ ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ที่เป็นการวัดมูลค่าของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายทั้งหมดที่ผลิตได้ภายในอาณาเขตประเทศในช่วงระยะเวลาหนึ่ง... (อ่านรายละเอียดในคอลัมน์ พอเพียงภิวัตน์) [Archived]
Tuesday, September 18, 2007
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment