ตอนนี้ได้พูดถึง พลังที่ทำให้เกิดโลการะนาบต่อจากครั้งที่แล้ว โดยเน้นที่พลัง Insourcing ดังตัวอย่างของบริษัทขนส่งพัสดุภัณฑ์อย่าง UPS (United Parcel Service) ที่เสนอบริการไม่เฉพาะเพียงเรื่องพัสดุภัณฑ์ แต่ยังรวมถึงการเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการทางธุรกิจของลูกค้าทั้งในฝั่ง Upstream (เช่น จัดหาวัตถุดิบให้) และ Downstream (เช่น หาตลาดใหม่ให้) ทั้งนี้ UPS ได้มองเห็นโอกาสที่ตนเองมีเครือข่ายอยู่ทั่วโลกและรู้ว่าลูกค้าแต่ละคนทำธุรกิจอะไรบ้าง จึงสามารถแปลง "สารสนเทศ" ที่มีอยู่ให้กลายเป็น "บริการ" ใหม่ๆ ได้ วิธีคิดแบบนี้ เปรียบเหมือนกับการพัฒนาจากยุค HTML (รู้ Data แต่ไม่รู้วิธีใช้) มาเป็น XML (รู้ Context ของ Data แล้วนำไปใช้ประโยชน์ได้)
ภาคพิเศษที่ไม่มีในหนังสือ ก็คือ การวิเคราะห์แนวโน้มของพลังโลการะนาบที่จะเกิดขึ้นกับเมืองไทยในปี 2007 ที่สร้างให้เกิดทั้งโอกาสและภัยคุกคามต่อหลายธุรกิจ รวมทั้งกระแสของธุรกิจและบริการใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นจากพลังโลการะนาบในตลาดเมืองไทย
สำหรับหนังสือโลการะนาบในภาค Updated and Expanded Edition นี้ Friedman ได้เพิ่มเนื้อหาที่เกี่ยวกับ สาเหตุที่เราจะได้เห็นผลกระทบของพลังโลการะนาบอย่างถนัดตาในช่วงอายุขัยนี้ เช่นเดียวกับการปฏิวัติทางอุตสาหกรรม, การกำเนิดของพ่อค้าคนกลางในรูปแบบใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน ที่ล้มล้างความเชื่อเดิมว่าพลังแห่งโลการะนาบจะทำให้พ่อค้าคนกลางหายไป, หนทางในการปรับตัวของพ่อแม่และครูในการบ่มเพาะคนรุ่นใหม่ให้สามารถใช้ชีวิตในโลกระนาบนี้ รวมทั้ง "โลกาภิวัตน์แห่งท้องถิ่น" (globalization of the local) ที่พลังแห่งโลการะนาบจะขับเน้นอัตลักษณ์ของท้องถิ่นและภูมิภาคให้โดดเด่นยิ่งขึ้นกว่าเดิม แทนความเชื่อที่ผิดๆ ว่าจะทำให้วัฒนธรรมต่างๆ หลอมรวมเป็นหนึ่งเดียว
Monday, December 18, 2006
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment