ในปี 2550 ที่เพิ่งผ่านพ้นไปนี้ เราได้เห็นกระแสความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ (Corporate Social Responsibility) หรือ CSR ที่เกิดขึ้นในเมืองไทยด้วยความร้อนแรงที่สุดในรอบ 15 ปี นับตั้งแต่มีการประชุมระดับโลกครั้งแรก ณ กรุงริโอเดอจาเนโร ที่มีการกล่าวถึงทิศทางใหม่ของการพัฒนาที่เรียกว่า “การพัฒนาที่ยั่งยืน” (Sustainable Development) ซึ่งเป็นการพัฒนาที่ตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม นอกเหนือจากการมุ่งเน้นที่การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจแต่เพียงด้านเดียว
เหตุการณ์สำคัญๆ ที่เป็นเครื่องชี้ถึงกระแสซีเอสอาร์ในปี 2550 ไม่ได้มีแต่เฉพาะในภาคเอกชน แต่ยังรวมถึงภาครัฐและหน่วยราชการต่างๆ ที่เข้าร่วมปลุกกระแสความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่การจัดตั้งสถาบันธุรกิจเพื่อสังคม (CSRI) โดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มาถึงการตั้งคณะทำงานส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมของบริษัทจดทะเบียน โดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ที่ประกอบด้วยผู้แทนจาก 7 กระทรวง 5 สมาคม และ 12 ผู้เชี่ยวชาญ ไปจนถึงการตั้งศูนย์ส่งเสริมธุรกิจเพื่อสังคม (CSR) ในกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รวมทั้งการเป็นแม่งานของสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยและสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยในการจัดสัมมนาเรื่องซีเอสอาร์ในเวทีสำคัญต่างๆ
ยิ่งไปกว่านั้น กระแสนี้ยังได้รับการยืนยันจากนักวิจัยด้านซีเอสอาร์ในต่างประเทศ โดยเมื่อไม่นานนี้ ผมได้มีโอกาสพบปะกับผู้ดูแลโครงการ Responsabilite Sociale des Entreprises (RSE) ในฝรั่งเศส และอาจารย์จาก Nottingham University Business School ในอังกฤษ ได้พูดถึงว่า กระแสซีเอสอาร์ของไทยในปีที่ผ่านมา ยังคึกคักกว่าที่ยุโรปซึ่งเป็นแหล่งนวัตกรรมซีเอสอาร์ด้วยซ้ำไป ... (อ่านรายละเอียดในคอลัมน์ พอเพียงภิวัตน์) [Archived]
Tuesday, January 08, 2008
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment