ตัวอย่างที่เกิดขึ้นในห้วงเวลานี้ ได้แก่ การที่หอการค้าร่วมต่างประเทศในประเทศไทย (JFCCT) สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) หอการค้าไทย และศูนย์พัฒนาวิสาหกิจเอกชนระหว่างประเทศ (CIPE) ร่วมกันผลักดันความริเริ่มการทำงานวิถีกลุ่มในประเทศไทย (Collective Action Initiative in Thailand) ในการต่อต้านคอร์รัปชัน เริ่มจากการประมูลงานภาครัฐ โดยมีแผนจะประกาศเปิดตัวในเวทีการประชุมเรื่องการต่อต้านคอร์รัปชันระดับโลกในราวกลางเดือน พ.ย. นี้
สำหรับกรอบแนวทางการทำงานวิถีกลุ่มที่ได้จากเวทีประชุมกลุ่ม Dealing with Moral for Competitiveness: Ethical and Moral Guideline for Thailand เมื่อเร็วๆ นี้ มีข้อตกลงว่าการทำงานวิถีกลุ่มนั้น จะตั้งอยู่บนวิถีเชิงบวก ที่เปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมในการแสวงหาความร่วมมือตามความถนัดและประสบการณ์ของแต่ละองค์กร
การทำงานวิถีกลุ่ม เน้นการพัฒนาเชิงสร้างสรรค์ และไม่ผลักภาระรับผิดชอบให้เป็นของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง สนับสนุนให้องค์กรประเภทภาคีเครือข่าย โดยเฉพาะสมาคมธุรกิจการค้า และอุตสาหกรรมต่างๆ ดำรงบทบาทนำในการพัฒนาทักษะกระบวนการทำงานวิถีกลุ่ม
ความก้าวหน้าในการทำงานวิถีกลุ่มจะวัดจากการชักนำสมาชิกในภาคีเครือข่ายให้มาร่วมกันทำงาน เพื่อให้เกิด Economy of Scale และขยายพลังจากการสะสม Collect Action ของหน่วยงานที่เข้าร่วม โดยจัดให้มีคณะทำงานรับผิดชอบ จัดการ กำกับดูแล ติดตามและพัฒนาให้ก้าวหน้าอย่างเป็นขั้นตอน
คณะทำงานรับผิดชอบ อาจจัดตั้งในลักษณะ Joint Group ระหว่างหน่วยงานต่างๆ เพื่อให้การขับเคลื่อนเป็นไปในลักษณะ Action-Oriented โดยการนำของผู้นำภาคีเครือข่ายต่างๆ ในการทำหน้าที่ส่งเสริมการทำงานวิถีกลุ่มให้เติบโตและเข้มแข็ง ด้วยหลัก 4 ประการ
• | ยึดคุณค่าและวัฒนธรรมที่ดีงามของสังคม |
• | ปรับทัศนคติที่เห็นว่าการทำธุรกิจด้วยคุณธรรมจริยธรรมจะทำให้สูญเสียความได้เปรียบทางการแข่งขัน |
• | มุ่งขจัดค่านิยมในทางที่ส่งเสริมการทุจริตคอร์รัปชันในหมู่ธุรกิจ |
• | ใช้มาตรการทางสังคม (Social Sanction) ในการปกป้องการกระทำที่ชอบ และประณามการกระทำที่ไม่ดี (ในเชิงพฤติกรรม) มากกว่าที่ตัวบุคคล (ในเชิงปัจเจก) |
การสำรวจความคิดเห็นต่อเรื่องคุณธรรม จริยธรรม และการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชัน ในเวที “Thailand Competitiveness Conference 2010” ผู้ตอบแบบสำรวจทั้งหมด 100% คิดว่าการปฏิบัติทางจริยธรรม (Ethical Practices) มีส่วนสำคัญกับขีดความสามารถทางการแข่งขัน
ปัญหาเรื่องทุจริตคอร์รัปชัน มีความรุนแรงที่สุดในภาครัฐ คิดเป็นร้อยละ 87 ขณะที่ในภาคธุรกิจเอกชน ตัวเลขอยู่ที่ร้อยละ 13 โดยผู้ตอบแบบสำรวจเห็นว่าการแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน ด้วยการริเริ่มจากภาคเอกชนในแบบ Collective Effort ที่จะไม่ส่งเสริมเรื่องการให้สินบน หรือว่าจูงใจที่ผิดกฎหมาย มีความเป็นไปได้มาก คิดเป็นร้อยละ 30 อยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 40 เป็นไปได้น้อย คิดเป็นร้อยละ 40 และไม่มีผู้ใดเห็นว่าเป็นไปไม่ได้เลย (ร้อยละ 0)
สำหรับตัวบ่งชี้ด้านคุณธรรมที่มีความสำคัญต่อสังคมไทยในปัจจุบันเรียงลำดับจากมากสุด ได้แก่ ความซื่อสัตย์สุจริต อยู่ที่ร้อยละ 60.7 ความรับผิดชอบต่อสังคม อยู่ที่ร้อยละ 32.1 และความพอเพียง อยู่ที่ร้อยละ 7.1
ทั้งนี้ ผู้ตอบแบบสำรวจทั้งหมดต่างแสดงความเห็นว่าสมควรจะนำประเด็นการปฏิบัติทางจริยธรรม (Ethical Practices) มาพิจารณาอย่างต่อเนื่องในการจัดกิจกรรมเพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศในอนาคต
ขอเชิญท่านร่วมสำรวจความคิดเห็นของผู้นำธุรกิจเอกชน เกี่ยวกับ "การสร้างแนวร่วม (Collective Action) ในการต่อต้านคอร์รัปชัน" (Opinion Survey of Private Sector Leaders on Anti-Corruption Collective Action in Thailand) โดยสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย หอการค้าไทย ร่วมกับหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ได้ที่ http://bit.ly/cqPqEG ภายในวันที่ 24 กันยายนนี้ครับ...(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) [Archived]
No comments:
Post a Comment