ตำราธุรกิจเป็นส่วนหนึ่ง ของการสร้างภูมิคุ้มกันให้กิจการ แต่ตำราเล่มเดียวกันอาจไม่สำเร็จทุกกรณี การกำหนดเป้าหมายธุรกิจว่าคือส่วนเติมเต็มของชีวิต ภายใต้เงื่อนไขความสมดุลของเถ้าแก่ต่างหาก ที่จะทำให้การเดินทางของกิจการย่างก้าวได้อย่างมั่นคง
หลักบริหารธุรกิจให้สมดุล คือการบริหารด้วยหลักธรรมะหรือธรรมชาติ โดยหลักพึงยึดถือปฏิบัติเพื่อรากฐานครอบครัวเริ่มต้นที่การครองตนของผู้ครอง เรือน ที่สามารถใช้เป็นรากฐานให้สามารถครองกิจการได้อย่างสมบูรณ์ ประกอบด้วย 4 ประการเหตุที่ทำให้ตระกูลมั่งคั่ง (Kula-ciratthiti-dhamma: reasons for lastingess of a wealthy family)ได้แก่ "กุลจิรัฏฐิติธรรม 4" นัฏฐคเวสนาชิณณปฏิสังขรณาปริมิตปานโภชนาและอธิปัจจสีลวันตสถาปนา ซึ่งได้รับการอธิบายจากผู้รู้คนสำคัญวิทยากรประจำรายการบริหารธุรกิจแนวพุทธ ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์ โดยเปรียบเทียบกับการบริหารธุรกิจครอบ ครัวสมัยใหม่ใน 3 ด้านคือ Asset Management, Cost Management และ Good Governance ไว้อย่างน่าสนใจที่จะนำมาถ่ายทอดกล่าว คือ
นัฏฐคเวสนา : ของหาย ของหมด รู้จักหามาไว้ (Natthagavesana: seeking for what is lost) เมื่อของในบ้านหายไปและยังอยู่ในวิสัยที่จะเสาะหากลับคืนมาหรือหาสิ่งอื่นมา ทดแทนการใช้งานได้เสมอประกอบกับชิณณปฏิสังขรณา :ของเก่า ของชำรุด รู้จักบูรณะซ่อมแซม (Jinnapatisankharana : epairing what is worn out) หรือการรู้จักบำรุงรักษาอุปกรณ์เครื่องไม้เครื่องมือให้อยู่ในสภาพดีพร้อม ใช้งานย่อมมีผลต่อค่าใช้จ่ายที่ต้องซ่อมแซมหรือแม้จะชำรุดไปบ้างก็สามรถปรับ ปรุงจนนำกลับมาใช้ได้อีกรวมถึงการนำของใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ (recycle) ทั้ง 2 ด้านเป็นการบริหารทรัพย์สินหรือทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า
ปริมิตปานโภชนา : รู้จักประมาณในการกินการใช้ ( Parimitapanabhojana: moderation in spending ) เมื่อครัวเรือนรู้จักใช้สมบัติ รู้จักที่จะประหยัดอดออม รู้จักใช้จ่ายให้เป็นไปตามฐานะของตนเอง หรือเหมาะสมกับฐานะ ไม่ต่างไปจากการบริหารธุรกิจสมัยใหม่ในเรื่อง Cost Management คือ สิ่งที่สถานประกอบการพึงรอบคอบและรัดกุมเพื่อให้เกิดความสมดุลในรายรับราย จ่าย ซึ่งปรากฏอยู่ในงบดุล (Balance Sheet) โดยอาศัยข้อมูลจาก Incomestaement และ Current Operation
เมื่อเป็นดังนี้แล้วการลงทุนให้เหมาะสมกับขนาดของกิจการจึงเป็นสิ่งที่สร้าง เสถียรภาพทางการเงิน ไม่แบกดอกเบี้ยให้เป็นภาระโดยไม่จำเป็นเพราะที่สุดแล้วก็จะกลายเป็นทำงาน หนักเหนื่อยกลับไม่กินไม่ได้ใช้ไม่ได้พักผ่อนเพื่อส่งดอกเบี้ย ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตและความราบรื่นในครอบครัวก็อาจได้รับผลกระทบตามมา
อธิปัจจสีลวันตสถาปนา : ตั้งผู้มีศีลธรรมเป็นพ่อบ้านแม่เรือน (Adhipaccasilavantathapana: putting in authority a virtuous woman or man )ที่หัวหน้าครอบครัวต้องตั้งในหลักของศีลธรรม ทำมาหาเลี้ยงชีพด้วยความสุจริต ละเว้นอบายมุข ไม่ลุ่มหลงมัวเมาในกาม ย่อมส่งผลต่อการครองเรือนที่เป็นสุขและยั่งยืน เช่นเดียวกับผู้นำธุรกิจที่ต้องอาศัยการขับเคลื่อนองค์กรด้วยคุณธรรม คือ นอกจากเป็นผู้นำที่เก่งมีความรู้ความสามารถแล้ว ยังต้องเป็นผู้นำที่ดีมีธรรมาภิบาล (Good Governance) ซึ่งเป็นความปรารถนาของคู่ค้าและ Steakholder ในการร่วมธุรกรรมด้วย
ในทางตรงกันข้ามกิจการที่ก่อสร้างสร้างขึ้นโดยครอบครัวจะไม่สามารถมั่งคั่ง อยู่ได้นานหรือไม่อาจสืบทอดส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่นได้ หากครอบครัวหรือกิจการนั้นๆ ปราศจากหลักธรรมที่กล่าวมาข้างต้น ด้วย 4 เหตุผลดังต่อไปนี้
1. | ไม่ แสวงหาวัสดุที่หายแล้ว หมายถึง เมื่อสิ่งของสูญหายและอยู่ในวิสัยที่จะหามาแทนแต่กลับไม่แสวงหา แม้มีทรัพย์สินมากมายเปรียบได้เท่าภูเขาเมื่อถูกหยิบออกทีละน้อยโดยไม่หามา ทดแทนไม่นานภูเขานั้นอาจหายไปทั้งลูก |
2. | ไม่บูรณะวัสดุที่ชำรุด คือ ไม่บำรุงรักษาและซ่อมแซม ไม่ดูแลใส่ใจกับสิ่งที่มีอยู่ ให้มีสภาพที่ใช้งานได้ ปล่อยให้เสียหายก่อนเวลาอันสมควร สุดท้ายก็ต้องดิ้นรนหาของใหม่มาใช้งานแทนสิ่งที่ใช้การไม่ได้ |
3. | ไม่รู้จักประมาณการบริโภคทรัพย์จับจ่ายใช้สอยสมบัติที่มีเกินจำเป็น หรือเกินฐานะของตนและยังก่อหนี้ยืมสินสร้างภาระผูกพัน แม้มีทรัพย์สมบัติมากเพียงใดทรัพย์นั้นก็หมดได้ในพริบตาเพราะไม่รู้จัก ประมาณตน |
4. | สตรีหรือบุรุษผู้ทุศีลตั้งเป็นพ่อเรือนแม่เรือน มักครองเรือนด้วยการประพฤติผิดศีลธรรม จริยธรรมเมื่อปกครองครอบครัวและครอบครองทรัพย์สมบัติมักผลาญทรัพย์ที่มีให้ หมดไป |
หลายท่านอาจมีข้อโต้แย้งว่าคุณธรรมโดยมีศีลเป็นพื้นฐานดูจะไม่สอดคล้องกับ การบริหารธุรกิจที่ต้องอาศัยการต่อสู้ช่วงชิงและหมิ่นเหม่ต่อการประพฤติธรรม แต่หากมองในทางกลับกันเมื่อท่านเองได้โอกาสในการร่วมธุรกิจกับผู้ที่มีศีล ท่านย่อมมีความสบายใจ ไว้เนื้อเชื่อใจและพร้อมให้อภัยหากการดำเนินธุรกิจอาจเกิดข้อผิดพลาดขึ้น เช่นเดียวกับผู้ทำการค้ากับท่านย่อมต้องการ ความสบายใจ ไว้เนื้อเชื่อใจและพร้อมให้อภัยหากการดำเนินธุรกิจอาจเกิดข้อผิดพลาดขึ้น เช่นกัน
หลักธรรมที่จะเป็นส่วนผสมให้องค์กรธุรกิจมั่นคงและสืบทอดได้นั้นยังมีองค์ ประกอบของวิถีปฏิบัติที่เกี่ยวข้องอีกหลายด้าน ซึ่งในครั้งหน้ามาติดตามกันต่อในเรื่อง จักร 4 ธรรมอุปการะสู่ธุรกิจที่ยั่งยืนกันต่อค่ะ...(จาก ผู้จัดการ 360°)
No comments:
Post a Comment