Tuesday, July 03, 2007

จุดตรวจตราความพอเพียงของเศรษฐกิจชุมชน

ชุมชนถือเป็นหน่วยเศรษฐกิจระดับพหุภาคีที่เล็กที่สุด อันประกอบด้วยหน่วยการผลิต หน่วยการบริโภค อาศัยอยู่รวมกันเป็นจำนวนหลายๆ หน่วย มีหน่วยงานรัฐ และประชาคมเข้ามามีบทบาทเกี่ยวข้อง จนเกิดเป็นชุมชนทางเศรษฐกิจที่มีขอบเขตนับตั้งแต่ระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด จนกระทั่งถึงระดับประเทศ

การจะสร้างความเข้มแข็งให้แก่เศรษฐกิจของประเทศ จึงต้องให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจชุมชนซึ่งเปรียบเสมือนฐานล่างของปิระมิด โดยหากไร้ซึ่งความเข้มแข็งในเศรษฐกิจฐานรากนี้ ก็เป็นเรื่องยากที่จะทำให้เศรษฐกิจของประเทศมีความเข้มแข็งและสามารถพัฒนาต่อไปได้อย่างมั่นคงยั่งยืน

ปัจจัยที่เป็นข้อพิจารณาสำคัญของเศรษฐกิจในระดับชุมชน ก็คือ สภาพภูมิสังคมหรือปัจจัยเชิงพื้นที่ (Area-based Factor) ที่มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับการไหลเวียนของเศรษฐกิจในชุมชน และมักจะเกี่ยวข้องกับ 3 ฐานปัจจัยหลัก ได้แก่ ฐานทรัพยากร เช่น ป่า หรือวัตถุดิบที่หาได้เฉพาะในท้องถิ่น ที่เป็นปัจจัยนำเข้าสู่กระบวนการ (เทียบได้กับทุนทางกายภาพ และทุนสิ่งแวดล้อม) ฐานความรู้ เช่น ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทักษะหรือความถนัดที่ใช้ในการประกอบการ (เทียบได้กับทุนมนุษย์) และฐานวัฒนธรรมหรือความเชื่อ เช่น ตำนานท้องถิ่นที่มีอิทธิพลต่อการประกอบการ (เทียบได้กับทุนทางสังคม) ปัจจัยดังกล่าวเหล่านี้ สามารถใช้เป็นเครื่องมือเสริมสร้างความพอเพียงของเศรษฐกิจชุมชนที่ถึงพร้อมด้วยคุณลักษณะของความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีของชุมชน

การสร้างจุดตรวจตรา (Checkpoint) ทางเศรษฐกิจขึ้นในชุมชน นับเป็นวิธีการหนึ่งในการบริหารจัดการเพื่อให้เกิดความพอเพียงทางเศรษฐกิจของชุมชน... (อ่านรายละเอียดในคอลัมน์ พอเพียงภิวัตน์) External Link [Archived]

No comments: