เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า หนึ่งในคุณลักษณะของการดำเนินงานตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ ความมีเหตุผล แต่คำถามที่ยังอยู่ในใจลึกๆ ของคนบางคน ก็คือ แล้วความมีเหตุผลในปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีความแตกต่างจากความมีเหตุผลในกรณีทั่วๆ ไปหรือไม่ อย่างไร เพราะเพียงแค่คำในภาษาอังกฤษที่เกี่ยวข้องกับเรื่องความมีเหตุผล หลักๆ ก็มีอยู่ถึง 3 คำ ได้แก่ Rationality, Reasonableness และ Cause and Effect
พื้นฐานการตัดสินใจบนความมีเหตุผลตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ การกระทำที่ปราศจากการเบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่น ทั้งในระดับความคิด ไปจนถึงคำพูดและความประพฤติ คนส่วนใหญ่มักจะใช้ความมีเหตุผลในแบบ Reasonableness อยู่แล้ว แต่อาจจะพิจารณาไม่ครบถ้วนรอบด้าน ความมีเหตุผลในแบบ Cause and Effect จึงต้องถูกคำนึงถึงให้มาก คือ ต้องคิดทุกกรณีทุกทางเลือกที่คาดว่าจะเกิดขึ้น หลังจากนั้นจึงตัดสินใจเลือกดำเนินงานจากกรณีเหล่านั้นอย่างถี่ถ้วน การพิจารณาเช่นที่ว่านี้ได้ บุคคลจำเป็นต้องใช้ความพยายามสูง ด้วยเหตุนี้เอง ในนิยามของความมีเหตุผล นอกจากความถี่ถ้วนรอบคอบแล้ว จึงได้มีคำว่า ไม่ย่อท้อ อยู่ด้วย... (อ่านรายละเอียดในคอลัมน์ พอเพียงภิวัตน์) [Archived]
Tuesday, February 20, 2007
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment