Tuesday, February 13, 2007

เรื่องที่มักเข้าใจผิดเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง

เศรษฐกิจพอเพียงมีรากฐานมาจากแนวคิดในการสร้างความ “พอมี” “พอกิน-พอใช้” ให้เกิดขึ้นแก่ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ถ้าประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศยังยากไร้ขัดสน ยังมีชีวิตความเป็นอยู่อย่างแร้นแค้น การพัฒนาประเทศก็ยังถือว่าไม่ประสบความสำเร็จ

เศรษฐกิจพอเพียง สำหรับคนทุกกลุ่ม มิใช่แค่เกษตรกร
...ฉะนั้น ทัศนคติที่ว่า ฐานะหรือรายได้ตอนนี้ยังไม่พอเพียงเลย แล้วจะให้ใช้ชีวิตอย่างพอเพียงได้อย่างไร จึงไม่ถูกต้อง ตรงกันข้าม การดำเนินวิถีชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงนี้แหละ ก็คือ การพลิกจาก “ความไม่พอเพียง” ให้เกิดเป็น “ความพอเพียง” ในชีวิต... (อ่านรายละเอียดในคอลัมน์ พอเพียงภิวัตน์) External Link [Archived]

เศรษฐกิจพอเพียง มิใช่จุดหมาย (End) แต่เป็นวิถีทาง (Means)
...ฉะนั้น ทัศนคติที่ว่า เศรษฐกิจพอเพียงจะทำให้การพัฒนาตนเองหยุดชะงักหรือถอยหลัง และไม่คบค้าสมาคมกับผู้อื่นนั้น จึงไม่ถูกต้อง ตรงกันข้าม เศรษฐกิจพอเพียงมิได้สิ้นสุดที่ความพอเพียงในทางเศรษฐกิจแห่งตน แต่ยังเป็นวิถีทางที่จะทำให้เกิดการพัฒนาตนเองทั้งในเชิงลึกที่ก้าวสูงขึ้นและในเชิงราบที่แผ่กว้างออกไปสัมพันธ์กับผู้อื่น ด้วยเหตุนี้ เศรษฐกิจพอเพียงจึงมิใช่แค่เรื่องของเศรษฐกิจแต่เพียงอย่างเดียว และไม่สามารถนำไปเปรียบเทียบกับระบบเศรษฐกิจโดยทั่วไปได้... (อ่านรายละเอียดในคอลัมน์ พอเพียงภิวัตน์) External Link [Archived]

No comments: