หลังจากที่ได้สรุปเนื้อหาในหนังสือโลการะนาบ (The World is Flat) ไป 2 ตอน ในตอนนี้ เป็นภาคต่อขยายในมุมมองอื่น โดยนำเนื้อหาจากบทความที่ชื่อว่า "Will a New Theory Help Firms to Manage in a 'Flat' World?" จาก Knowledge@Wharton มาเล่าสู่กันฟัง ซึ่งคำหลัก (Keyword) ที่น่าสนใจในบทสนทนาระหว่าง Colin Crook, Jerry Wind และ Paul R. Kleindorfer ได้แก่ sustained innovation ที่ธุรกิจจะต้องสร้างให้เกิดขึ้นในองค์กรของตนเองเพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ (sustain ในบริบทนี้ สามารถวัดจากเกณฑ์ 2 ประการ คือ ความสามารถในการทอดเวลาทิ้งห่างจากคู่แข่ง และอรรถประโยชน์อันเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคซึ่งคู่แข่งไม่สามารถเลียนแบบได้ง่าย) ในขณะเดียวกัน ธุรกิจต้องมีการพัฒนา service delivery ที่สามารถตอบสนองถึงตัวผู้บริโภคได้ในเวลาและสถานที่ที่ต้องการ และคงไว้ซึ่งคุณลักษณะของ security และ confidentiality (คือ เงื่อนไขของคุณธรรม ที่ประกอบด้วย ความซื่อสัตย์สุจริต และความรอบคอบระมัดระวัง ในปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง) ที่สามารถส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือ (Credit) ขององค์กรอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ในส่วนที่เป็นทรัพยากรบุคคลขององค์กร จะต้องมีการพัฒนา professional skills ทั้งในแนวลึกและแนวกว้าง (ตรงกับเงื่อนไขของความรอบรู้ในปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง) โดย Kleindorfer ใชคำแทนว่า "node" vs. "nexus" นอกจากนี้ ธุรกิจในยุคโลการะนาบ จะให้คุณค่ากับเครื่องมือที่เรียกว่า scenario planning อย่างมาก เนื่องจากองค์กรจำเป็นต้องรับมือกับความเปลี่ยนแปลงทั้งจากภายนอกและภายในให้ได้อย่างทันท่วงที (คือ การสร้างระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี ในปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง)
ฟังเนื้อหาในรายละเอียด
แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม : "Will a New Theory Help Firms to Manage in a 'Flat' World?"
Monday, January 15, 2007
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment