Tuesday, January 30, 2007

บริโภคอย่างไรให้ชีวิตสมดุล

การบริโภคถือเป็นเป้าหมายของวิชาเศรษฐศาสตร์ กิจกรรมทางเศรษฐกิจของมนุษย์นั้นมีเป้าหมายสุดท้ายอยู่ที่การบริโภค การบริโภคเป็นการบำบัดหรือสนองความต้องการซึ่งถือเป็นจุดต้นกำเนิดของกิจกรรมทางเศรษฐกิจของมนุษย์ หากพิจารณาความหมายตามวิธีการของเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก การบริโภค คือการใช้สินค้าและบริการบำบัดความต้องการเพื่อให้เกิดความพึงพอใจหรือความสุข

ในระบบเศรษฐกิจโดยทั่วไป กิจกรรมทางการผลิตและการบริโภคมักจะถูกแยกออกจากกัน ด้วยเหตุผลที่ว่า ผู้ผลิตและผู้บริโภคไม่จำเป็นต้องเป็นบุคคลคนเดียวกัน ทำให้แต่ละคนต่างมีบทบาทหน้าที่แยกจากกันอย่างเด็ดขาด ในหลายกรณี ผู้ผลิตจะสร้างผลผลิตในส่วนที่ตัวเองไม่ได้บริโภค แต่ต้องการนำไปจำหน่ายเพื่อแลกเป็นเงินรายได้ ในขณะที่ผู้บริโภคเองก็บริโภคในสิ่งที่ตัวเองผลิตไม่ได้ และบ่อยครั้งก็มักจะบริโภคเกินกำลังใช้จ่ายของตัวเอง เรียกว่ารายได้จากกิจกรรมทางการผลิตไม่เพียงพอต่อการใช้จ่ายเพื่อการบริโภค จนกลายเป็นการก่อหนี้สินเพื่อการบริโภคตามค่านิยมโดยขาดความพอดี

พฤติกรรมการบริโภคของมนุษย์นั้น มี 2 ประเภท ได้แก่ การบริโภคเพื่อสนองความต้องการเสพสิ่งปรนเปรอตน ซึ่งเป็นการบริโภคแบบเสพรสให้เกิดความพึงพอใจเรื่อยไปไม่รู้จบไม่รู้อิ่ม กับการบริโภคเพื่อสนองการมีชีวิตที่ดี ซึ่งเป็นการบริโภคที่มีจุดหมายของการมีชีวิตที่ดี และเป็นฐานของการฝึกฝนศักยภาพของตนเองต่อไป... (อ่านรายละเอียดในคอลัมน์ พอเพียงภิวัตน์) External Link [Archived]

No comments: