คำว่า อิทัปปัจยตา มาจาก อิทะ แปลว่า นี้ และปัจจยตา แปลว่า ความเป็นปัจจัย รวมกันจึงแปลได้ความว่า ความที่มีนี้เป็นปัจจัย หรืออีกนัยหนึ่งคือ ความที่มีสิ่งซึ่งเป็นปัจจัย สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น ในทางกลับกัน ถ้าไม่มีสิ่งซึ่งเป็นปัจจัย สิ่งนี้ก็ไม่เกิดขึ้น ขอบข่ายของอิทัปปัจยตานั้น กินความกว้างครอบคลุมทั้งสิ่งที่เป็น “เหตุ” สิ่งที่เป็น “ผล” และลักษณะอาการที่เกี่ยวเนื่องกันระหว่างเหตุและผล เป็นการแสดงถึงกระแสแห่งปัจจัยที่ส่งผลซึ่งกันและกันไม่สิ้นสุด
อิทัปปัจยตา สามารถใช้อธิบายเพื่อแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมทางธุรกิจที่มีความเกี่ยวข้องกับปัจจัยต่างๆ และก่อให้เกิดผลลัพธ์ส่งต่อกันไปเป็นทอดๆ ในแต่ละมิติขององค์กร เช่น การที่ธุรกิจมีเป้าหมายในการแสวงหากำไร โดยที่กำไรจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อองค์กรมีรายได้ที่สูงกว่ารายจ่าย (มิติด้านการเงิน) และการที่องค์กรจะมีรายได้เพิ่มขึ้น ก็ต่อเมื่อองค์กรสามารถเพิ่มส่วนแบ่งตลาดหรือทำให้ลูกค้าพอใจโดยการนำเสนอสินค้าและบริการที่ลูกค้าต้องการ (มิติด้านลูกค้า) และการที่องค์กรจะสามารถนำเสนอสินค้าและบริการตามที่ลูกค้าต้องการได้ องค์กรจะต้องมีกระบวนการในการดำเนินงานที่เหมาะสมในการนำเสนอสิ่งที่ลูกค้าต้องการ (มิติด้านกระบวนการดำเนินงานภายใน) จากพนักงานที่มีทักษะและความสามารถ มีขวัญและกำลังใจในการทำงานที่ดี และมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยสนับสนุนให้องค์กรมีกระบวนการสร้างคุณค่าให้แก่ลูกค้าได้ (มิติด้านการเรียนรู้และการเติบโต)... (อ่านรายละเอียดในคอลัมน์ พอเพียงภิวัตน์) [Archived]
Tuesday, June 05, 2007
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment