Thursday, November 26, 2009

CSR: งานหลังบ้านที่ร่วมมือกันได้

ธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ อาจทำเรื่อง CSR ล้มเหลวได้ เพราะกรอบความคิดในการทำธุรกิจ มีความแตกต่างจากกรอบความคิดในการทำ CSR การตั้งต้นจากกรอบความคิดที่ผิด ทำให้ธุรกิจพัฒนากลยุทธ์การดำเนินงาน CSR ที่ผิดพลาด การแปลงกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติจึงเป็นการทำงานที่สูญเปล่าหรือได้ผลน้อย

การทำ CSR นั้น มีความแตกต่างกับการทำธุรกิจ ในเรื่องของการมองตลาดเป้าหมาย ธุรกิจอาจประสบกับความจำกัดของตลาด ในการที่จะเสนอขายสินค้าและบริการ จึงต้องแข่งขันแย่งชิงลูกค้าที่มีอยู่จำกัด ด้วยทรัพยากรที่ต่างฝ่ายต่างระดมมาได้ ผู้ที่เป็นฝ่ายชนะ ก็จะได้ส่วนล้ำ (Gain) ที่เรียกว่า กำไร และผู้ที่สูญเสียส่วนแบ่งตลาด ก็อาจตกอยู่ในสภาพที่ขาดทุน (Loss) จากสนามการแข่งขัน

แต่สำหรับตลาดเป้าหมายในการทำ CSR นั้น ไม่ได้มีความจำกัดเช่นในธุรกิจ ตรงกันข้าม ประเด็นปัญหาสังคมที่รอคอยการแก้ไขทั้งในระดับใกล้ (Community) และในระดับไกล (Society) ในทุกวันนี้มีอยู่มากมายนับไม่ถ้วน ดังนั้น การนำกรอบคิดทางธุรกิจเรื่องการแข่งขันในตลาด มาใช้ในการทำ CSR ด้วยการแข่งขัน จึงไม่มีความสมเหตุสมผล

ในเมื่อการแข่งขัน มิใช่กรอบความคิดในการทำ CSR ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้น จึงทำให้ไม่มีธุรกิจใดที่ต้องประสบกับสภาพกำไร-ขาดทุน จากการทำ CSR ในขณะที่ ตลาดเองก็ได้รับประโยชน์จากทรัพยากรที่ธุรกิจส่งมอบได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย โดยไม่สูญเสียไปกับการแข่งขัน

สิ่งที่ท้าทายสำหรับการทำ CSR ในทศวรรษ 2010 ที่จะมาถึง คือ การบูรณาการทรัพยากรในการทำ CSR เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่เป็นเนื้อเป็นหนัง แทนที่จะได้ผลเพียงแค่ลูบหน้าปะจมูกเช่นที่ผ่านมา อย่าลืมว่า ตลาดของ CSR นั้นไม่มีขีดจำกัด จึงมีศักยภาพที่จะดูดซับทรัพยากร (ที่มีจำกัด) ขององค์กรธุรกิจได้ราวกับน้ำที่ถูกหยดลงบนทะเลทราย แม้แต่กับองค์กรที่อุดมไปด้วยทรัพยากรขนาดมหึมา ก็ยังอาจไม่เพียงพอที่จะก่อให้เกิดความชุ่มชื้นได้โดยลำพัง

เมื่อธุรกิจตระหนักว่า ทรัพยากรที่มีอยู่อาจเทียบได้เพียงหยดน้ำ ทางเลือกในการรวมหยดน้ำทรัพยากรข้ามองค์กร เพื่อให้เกิดเป็นโอเอซีสกลางทะเลทรายจึงเป็นสิ่งที่สมเหตุสมผล และสมการแห่งการรวมพลังขับเคลื่อน CSR ระหว่างองค์กร มิใช่เพียงหนึ่งรวมหนึ่งเป็นสอง เพราะเมื่อความชุ่มชื้นเกิดขึ้นถึงขีดระดับ ต้นไม้และพืชพรรณก็จะติดตามมา จนกลายเป็นระบบนิเวศที่อยู่ได้ด้วยตัวเอง เป็นตัวจริงของความยั่งยืน ที่ก้าวพ้นภาพแห่งการเสกสรรปั้นแต่งเช่นที่เป็นมา

ธุรกิจลองตั้งคำถามง่ายๆ (แต่ตอบได้ยาก) เหล่านี้ เพื่อเป็นการทบทวนผลการดำเนินงาน CSR ขององค์กรดูก็ได้

ต้นไม้ที่เราไปปลูกในกิจกรรมลดโลกร้อนเมื่อสามปีที่แล้ว ตอนนี้เหลือรอดอยู่กี่ต้น (แล้วจะทำให้รอดมากกว่านี้ได้อย่างไร)
ถุงผ้าที่เราเคยแจกให้ลูกค้าและพนักงานเพื่อลดการใช้ถุงพลาสติก วันนี้มีลูกค้าและพนักงานใช้อยู่กี่คน (แล้วจะทำให้เกิดการใช้จริงๆ ได้มากขึ้นอย่างไร)
ฝายที่เราเคยไปสร้างร่วมกับอาสาสมัครและชาวบ้าน ทุกวันนี้ยังใช้การได้ดีอยู่หรือไม่ (แล้วจะดูแลให้ใช้การได้ดีต่อไปอย่างไร)
ห้องสมุดที่มอบให้กับชุมชนปีที่แล้ว มีหนังสือและผู้ใช้บริการตามที่เราคาดหวังไว้มากน้อยเพียงใด (แล้วจะไม่กลายเป็นห้องสมุดร้างได้อย่างไร)
เงินที่เราบริจาคเข้ากองทุนพัฒนาชุมชนและสิ่งแวดล้อม ได้ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ชาวบ้านได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยขนาดไหน (แล้วจะมีวิธีที่ดีกว่านี้หรือไม่)

การริเริ่มกิจกรรมเพื่อสังคมที่ไม่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทางธุรกิจในลักษณะที่เป็น CSR-after-process เหล่านี้ ดูยังห่างไกลกับบริบทของการพัฒนาอย่างยั่งยืน (sustainable development) อยู่ไม่น้อย แม้จะมีการอ้างถึงคำนี้กันอย่างแพร่หลายแล้วก็ตาม

จริงอยู่ที่การริเริ่มที่จะให้ เป็น “จุดตั้งต้น” สำคัญของความยั่งยืน แต่เราก็เห็นแล้วว่าการให้แบบหว่านหยดน้ำลงทะเลทราย ไม่สามารถนำไปสู่ “ปลายทาง” ของความยั่งยืนได้ องค์กรธุรกิจจึงต้องเดินทางมาสู่ “จุดเลี้ยว” สำคัญในการเสาะหาวิธีรวมหยดน้ำทรัพยากรข้ามองค์กร และการบริหารจัดการเพื่อสร้างโอเอซีสให้เป็นจริงขึ้นมา

ความท้าทายขององค์กรธุรกิจที่จะบรรลุทางสายนี้ คือ การถอดตัวตน และความยึดติดที่จะต้องสร้างความแตกต่างอย่างพร่ำเพรื่อ โดยปราศจากการทบทวนถึงบริบทและความเหมาะสมของสถานการณ์ ตัวอย่างของการรวมพลังที่เกิดขึ้นในทางธุรกิจ ที่วางทั้งอัตลักษณ์และเอกลักษณ์ไว้ข้างสนาม ก็คือ การลงทุนและการใช้สอยทรัพยากรร่วมกันในสายอุปทาน เช่น ระบบโลจิสติกส์ ระบบไอที แม้ว่าองค์กรเหล่านั้นจะอยู่ในสาขาธุรกิจเดียวกันก็ตาม

เหตุที่ธุรกิจตกลงร่วมมือกันหลังบ้านได้ ก็เพราะเห็นประโยชน์จากการประหยัดจากขนาดชัด โดยแทนที่จะต้องลงทุนคนเดียวแล้วใช้ไม่คุ้ม ก็มาร่วมกันลงทุนและร่วมกันใช้ได้อย่างคุ้มค่า ส่วนหน้าบ้านก็ยังคงไว้ซึ่งอัตลักษณ์และเอกลักษณ์เหมือนปกติ

คำถามจึงมีอยู่ว่า ธุรกิจเห็นคุณค่าจากการร่วมมือกันทำ CSR ในทำนองเดียวกับการร่วมมือกันทางธุรกิจที่เป็นส่วนงานหลังบ้านหรือไม่ คำตอบที่พบ คือ ธุรกิจส่วนใหญ่ยังมองไม่เห็น องค์กรเหล่านี้ จึงเลือกที่จะทำ CSR ในแบบฉบับที่เป็นของตนเองและพยายามสร้างให้เกิดการจดจำได้ของสังคม ด้วยความแตกต่างหรือความโดดเด่นของกิจกรรมอย่างเป็นเอกเทศ เนื่องจากต้องการใช้ CSR เป็นเพียงเครื่องมือในการประชาสัมพันธ์ จึงทำให้คุณค่าแท้ของ CSR ถูกลดทอนลงไปอย่างน่าเสียดาย เมื่อเป็นเช่นนี้ สภาพกำไร-ขาดทุน จากการทำ CSR ก็เกิดขึ้น อันเป็นผลมาจากการพัฒนาขีดความสามารถทางการแข่งขันด้วยกิจกรรม CSR ของแต่ละองค์กรนั่นเอง

สำหรับธุรกิจที่มองเห็นคุณค่าของการร่วมมือกันดำเนินงาน CSR จะพบว่า งาน CSR สามารถมองให้เป็นเสมือนงานหลังบ้านในทางธุรกิจที่ร่วมกันระดมทรัพยากรและร่วมกันทำได้ โดยไม่สูญเสียอัตลักษณ์และเอกลักษณ์ในส่วนหน้าบ้านแต่อย่างใด ตรงกันข้าม หากธุรกิจที่อยู่ในสายอุปทานเหล่านั้น สามารถขับเคลื่อนงาน CSR ร่วมกันอย่างเป็นปึกแผ่นและส่งผลกระทบสูงต่อผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น ลูกค้า ผู้บริโภค ชุมชน ฯลฯ กลับจะไปเสริมสร้างอัตลักษณ์และเอกลักษณ์ให้เด่นชัดขึ้นอีกเป็นทวีคูณ และสะท้อนกลับมายกระดับความสามารถทางการแข่งขันในธุรกิจด้วยความร่วมมือกันทาง CSR นี้

ในสายอุปทานของหลายอุตสาหกรรมในขณะนี้ เช่น ยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ต่างมีความริเริ่มในการผลักดันให้ธุรกิจที่อยู่ในสายอุปทานเดียวกัน ทั้งผู้ผลิตชิ้นส่วน ผู้ส่งมอบ ตัวแทนจำหน่าย ศูนย์บริการ มีแนวปฏิบัติทาง CSR ร่วมกันและที่ดีขึ้นไปอีก คือ ทำให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ฉะนั้น การถือกำเนิดขึ้นของความริเริ่มรายสาขา (sectoral initiatives) จึงไม่ใช่เป็นเพียงกระแสหรือเป็นแฟชั่น หากเป็นพัฒนาการในแวดวง CSR ที่ได้รับการออกแบบให้สามารถส่งมอบคุณค่าสู่ธุรกิจอย่างเป็นรูปธรรม นอกเหนือจากคุณค่าที่สังคมจะได้รับ และยังเป็นการตอกย้ำถึงบทบาทของการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมในกระบวนการธุรกิจ หรือ CSR-in-process ที่นับวันจะยิ่งทวีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ

ความร่วมมือที่ว่านี้ ยังสามารถประยุกต์ใช้ได้กับธุรกิจที่อยู่ข้ามสาขา (cross-sectoral) แต่อยู่ร่วมกันในทางกายภาพ มีการใช้สาธารณูปโภคร่วมกัน หรือมีสิ่งที่ร่วมกันในรูปแบบอื่นๆ เช่น มีกลุ่มลูกค้าเดียวกัน หรือมีประเด็นทางสังคมที่องค์กรสนใจเข้าไปช่วยเหลือและพัฒนาในเรื่องเดียวกัน

และโปรดอย่าลืมว่า การรวมพลังทำ CSR ซึ่งมีผลกระทบสูงเช่นนี้ ยังต้องคำนึงถึงผลที่ติดตามมา (consequence) อันไม่พึงปรารถนา และไม่ได้คาดการณ์ไว้ล่วงหน้า ซึ่งอาจไปสร้างผลกระทบเสียหายต่อชุมชนและสังคม โดยเฉพาะการทำให้ชุมชนอ่อนแอลง พึ่งตนเองไม่ได้ หรือทะเลาะกันในสิ่งที่ธุรกิจหยิบยื่นให้ จนนำไปสู่ความแตกแยกของสังคมนั้นๆ....(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) External Link [Archived]

รวมบทความ หน้าต่าง CSR

1. แม้ธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ ก็อาจทำ CSR ล้มเหลวได้
2. คันฉ่องส่อง CSR ไทย
3. CSR ไทย ไต่ระดับ
4. ทิศทาง CSR ไทย ปีเสือ
5. เมื่อผู้ถือหุ้นถามหา CSR (นะเธอ)
6. ประเทศไทย สบายดี (แบบใหม่)
7. เขียวทั้งแผ่นดิน
8. ถึงคราวกราดเอ็ม 79 ในองค์กร
9. ธุรกิจต้องทำ CSR ฤๅรัฐ&เอ็นจีโอหมดน้ำยา
10. ถึงเวลา “พนักงาน” ต้องมาก่อน
11. ช้าๆ ไม่ได้พร้าเล่มงาม (เสียแล้ว)
12. หน้าที่ของ (องค์กร) พลเมือง
13. มุม (ที่ไม่ได้) มองใหม่ของ CSR
14. เคล็ด (ไม่) ลับกับการบริหาร CSR
15. โลกาภิวัตน์ความดีสู่เศรษฐกิจคุณธรรม
16. อย่าสับสน CSR กับ Social Enterprise
17. ล้อมองค์กรผูกพัน ร่วมใจใส่สติปัญญา
18. เมื่อองค์กรถูกขนาบด้วย CSR
19. ความต่างระหว่าง Social Enterprise กับ Social Business
20. Climate Change เพราะอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย
21. CSR กับ ถุงกล้วยแขก
22. ทำ CSR แบบตัวจริงเสียงจริง (เสียที)
23. 4 บทบาท CSR ภาครัฐ
24. เวทีนี้...นับหนึ่งแล้ว
25. ถึงเวลาทำคุณธรรมให้จับต้องได้
26. ปฏิรูปเรื่องใหญ่ คอร์รัปชันเรื่องใหญ่กว่า
27. ใช้ทวิตเตอร์ และเฟซบุ๊ค แบบ SMART
28. จากองค์กรธุรกิจ สู่องค์กรพลเมือง
29. การพัฒนา (จำเป็น) ต้องยั่งยืน
30. ทำรายงาน GRI ให้ได้งาน CSR
31. ทำรายงาน CSR ให้เป็นมากกว่ารายงาน
32. ต่อยอดเอสเอ็มอี ด้วย CSR Profile
33. จาก Blue สู่ Green
34. CSR Report ในสไตล์ ISO 26000
35. เปิดข้อมูล CSR ฉบับ ก.ล.ต.
36. ให้ข้อมูล CSR ให้ได้สาระ
37. ทำทุกวันให้เป็นวัน CSR
38. เทรนด์ CSR ปี 54 แรงได้ใจ!
39. รายงาน CSR ปี 54 แบบไหนดี
40. เลือกตัวชี้วัดดี มีชัยไปกว่าครึ่ง
41. 6 คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ CSR
42. อั่งเปา-คติถือ คือ CSR (ชิมิ)
43. จับทิศทาง CSR ประเทศไทย
44. วัดผลสำเร็จ CSR จริงใจหรือไก่กา
45. กิจกรรมเพื่อสังคม... เพื่อองค์กร
46. เดือนที่ต้องส่งรายงานการจัดการพลังงาน
47. รู้ทันผลิตภัณฑ์ (ฟอก) เขียว
48. มีจุดยืน (กลยุทธ์ CSR) เพื่อให้ยั่งยืน
49. 7 อุปนิสัย สร้างโลกเขียว
50. 7 วิชามาร (ฟอก) เขียว
51. ทำ CSR แบบ SMEs
52. ก่อนจะมีหน่วยงาน CSR
53. CSR ในประโยคบอกเล่า
54. Strategy ในประโยคบอกเล่า
55. Colourful Ocean ในประโยคบอกเล่า
56. เหตุใด Colourful Ocean เป็น Strategy มิใช่ Activity
57. องค์กรได้อะไรจากการทำ ISO 26000
58. ทำ CSR แบบมาตรฐานโลก ISO
59. อาเซียนไม่ได้มีแต่ AEC
60. ไทยกับบทบาท CSR ระดับอาเซียน
61. กลยุทธ์นัดเดียวได้นกสองตัว
62. จะได้เสียกับใครดี
63. เลือกกิจกรรม (ที่ใช่) เพื่อสังคม (ที่ชอบ)
64. ปรับ ครม. ในวันแม่กันเถอะ
65. ยกขีดแข่งขันด้วย CSR
66. CSR ในนโยบายรัฐบาล
67. เลียบเวที CSR Summit สิงคโปร์
68. รางวัล Golden Green Award อาเซียน
69. แนวร่วม ISO 26000
70. มาเพิ่มอุปนิสัยสีเขียวกันเถอะ
71. ธุรกิจทำอะไรได้บ้าง นอกจากการบริจาค
72. อะไรควร-ไม่ควร ในการช่วยเหลือผู้ประสบภัย
73. แผนอาสา CSR ในช่วงประสบภัย
74. แนวการฟื้นฟูในช่วงต้นหลังน้ำลด
75. 10 คำถามสำหรับผู้นำองค์กรต่อการรับมือภัยพิบัติ
76. กลยุทธ์การรับมือภัยพิบัติภาคธุรกิจ
77. CSR ปี 55 การตลาดทางสังคมมาแรง
78. ภัยพิบัติกับการพัฒนาที่ยั่งยืน
79. คอตเลอร์ กับ Social Marketing
80. ปีแห่งการเติมพลัง CSR
81. 6 ทิศทาง CSR ปี 2555
82. รายงาน CSR แบบไม่... เออเร่อ
83. คุณค่าผสม กับการตลาดทางสังคม
84. บริหารความต่อเนื่อง เพื่อความยั่งยืน
85. Benefit Corp องค์กรธุรกิจยุคใหม่
86. ดูยังไง CSR เวิร์กไม่เวิร์ก
87. ธุรกิจยุค CSR-as-business
88. มรดกทาง CSR ของ อ.ไพบูลย์
89. ความยั่งยืนที่ต้องรายงาน
90. สื่อสาร CSR ดีหรือไม่ดี
91. ตั้งไข่ให้ CSR
92. CSR ที่แลกไม่ได้
93. เศรษฐกิจพอเพียง 2.0
94. มีอะไรใน WEF ที่กรุงเทพฯ
95. CSR กับ SD เหมือนหรือต่างกัน
96. CG กับ CSR เหมือนหรือต่างกัน
97. Rio+20 กับอนาคตที่พึงปรารถนา
98. เวทีจริยธรรมโลกที่เจนีวา
99. วาระ 50+20 : การศึกษาเพื่อความยั่งยืน
100. คู่มือ CSR สำหรับองค์กรธุรกิจไทย
101. คุ้มครอง-เคารพ-เยียวยา คาถาสิทธิมนุษยชน
102. วุฒิภาวะทาง 'CSR'
103. ไม่เข้าใจ ไม่เข้าถึง จึงไม่พัฒนา
104. หลัก 7 มี ดี 7 เรื่อง
105. หลัก 7 มี ดี 7 เรื่อง (จบ)
106. สังคมสีเขียว ฉบับประเทศไทย
107. ยุทธศาสตร์ไทย ใน 2 ทศวรรษหน้า
108. ได้เวลาเจาะข่าว CSR
109. ไม่รู้ - เสียรู้ ร้ายพอกัน
110. CSR Thailand 2012
111. รายงานเพื่อความยั่งยืน
112. การประชุมนานาชาติ ว่าด้วย ISO 26000
113. ยลออฟฟิศ ISO
114. CSR ในบ้าน เพื่อคนนอกบ้าน
115. เทรนด์ธุรกิจ ปี 56 Think SD, Act CSR!
116. CSR @ heart
117. การบริหาร CSR เชิงกลยุทธ์
118. License แบบไหนดี
119. ความไม่ยั่งยืนของการพัฒนาที่ยั่งยืน
120. Sustainable Development 2.0
121. การเปิดเผยข้อมูล CSR ในรายงานประจำปี
122. CSR แห่งความรัก
123. ผู้ว่าฯ กทม. กับนโยบาย CSR
124. 'คอตเลอร์' กับการตลาดเพื่อโลกที่ดีขึ้น
125. รายงาน CSR แบบบ่องตง
126. ตอบโจทย์ความยั่งยืน
127. ความยั่งยืนในห่วงโซ่ธุรกิจ
128. ผูกเงื่อนตายให้ CSR
129. เปิดตัวกรอบการรายงานฉบับ G4
130. กิน อยู่ รู้คิด เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
131. ตามรอยการประชุมโลกว่าด้วยความยั่งยืน
132. เหตุผลที่องค์กรทำ CSR
133. สื่อสาร CSR ไปทำไม ใครอยากฟัง?
134. สื่อสารอะไรกันในเรื่อง CSR
135. สื่อสารอย่างไรในเรื่อง CSR
136. ESG นำความยั่งยืนสู่องค์กร
137. ล้วงลับ CSR Summit สิงคโปร์
138. CSR หรือ CSV ดี
139. ใช้ CSR สร้าง Shared Value
140. ต้นตำรับ CSV มาเอง
141. งาน CSR ที่เมืองลีล
142. เหลียวหลังแลหน้า CSR ปี 56
143. เทรนด์ ‘CSR’ ปี 57
144. จาก ’โครงการ’ สู่ ‘กระบวนการ’
145. สู้เข้าไป อย่าได้ถอย...
146. ‘พิมพ์เขียว’ การเข้าร่วมปฏิรูปของภาคธุรกิจ
147. วันแห่งความรักที่สูงส่งบริสุทธิ์
148. CSV: กลยุทธ์ธุรกิจคู่สังคม
149. เริ่มทำ CSR อย่างไรดี
150. ต่อยอด CSR เป็น CSV
151. ส่องรายงาน CSR
152. เทรนด์ธุรกิจต้านทุจริต
153. มาเป็นหุ้นส่วนเพื่อสังคมกัน
154. CSR ระหว่างได้ทำกับได้ผล
155. สร้างตัวช่วยความยั่งยืน
156. เลียบเวที Shared Value Summit
157. เก็บตก SRI Forum ใน ดี.ซี.
158. คิดเพื่อโลก ทำเพื่อโลก
159. ไต่บันไดต้านทุจริต
160. เลียบเวที CG นานาชาติ
161. โตเกียวขายาว
162. เริ่มจากเสียใจ..ตามด้วยแก้ไข
163. เปิดมุมมองการลงทุนแบบ SRI
164. รางวัลรายงานความยั่งยืน ปีที่ 2
165. โลกสวยด้วยมือคนอื่น
166. จะทำทุกเรื่อง หรือทำให้ถูกเรื่อง
167. CSV ดีจริงหรือ
168. CSV กับ Social Enterprise
169. ป้ายหน้า CSV
170. รายงานแบบ G4
171. ตัวอย่าง CSV ในธุรกิจไทย
172. การลงทุนเป็นโอกาส ผู้ลงทุนควร...
173. กลยุทธ์ธนาคารคู่สังคม
174. เผยดัชนีต้านทุจริตบริษัทไทย
175. วงจรข้อมูลความยั่งยืน
176. โอกาสธุรกิจ คุณค่าสังคม
177. CSV ในธุรกิจด้านสุขภาพ
178. CSV ในธุรกิจพึ่งพิงธรรมชาติ
179. เหลียวหลังแลหน้า CSR ปี 57
180. ทิศทาง CSR ในตลาดทุน
181. ท็อป 10 ประเด็น CSR
182. คลอด G4 ฉบับ How-to
183. หุ้นติดเรต ESG100 ธุรกิจวิถียั่งยืน
184. ความเคลื่อนไหว CSR ปี 58
185. การขับเคลื่อน CSV ระดับองค์กร
186. สู่ Sustainable Enterprise
187. กิจการวิถียั่งยืน
188. หุ้นส่วนต้านทุจริตเพื่อประเทศไทย
189. การต่อต้านทุจริต เฟส 2
190. ESG กับการลงทุนที่ยั่งยืน
191. ESG กับการประกันภัยที่ยั่งยืน
192. ต้านทุจริตด้วยการเปิดเผยข้อมูล
193. ต้านทุจริตด้วยการประเมินความเสี่ยง
194. คลอดยุทธศาสตร์ CSR ชาติ
195. เลียบเลาะเวที Shared Value Summit
196. จับตาเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
197. ต้านโกงภาคปฏิบัติ
198. การลงทุนสุนทาน
199. การให้ไม่รู้จบ
200. เศรษฐกิจพอเพียง-สังคมพอประมาณ
201. เข้าสู่ยุค Slow Business
202. กำเนิดกองทุนสุนทาน
203. รู้จักรูปแบบการลงทุนที่ยั่งยืน
204. ธุรกิจที่เป็นมิตรกับเด็ก
205. เดินหน้าต้านทุจริตกับ 123 องค์กร
206. ตัวชี้วัด CSR 4 ระดับ
207. วาระการพัฒนาที่ยั่งยืน 2030
208. เป้าหมายโลกต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
209. บอร์ดยั่งยืน กับวาระ ‘สังคม 2020’
210. จาก B2B สู่ B4B
211. แผนธุรกิจคู่สังคม
212. ปัญหาทุจริตในภาคธุรกิจ ไม่ใช่เรื่องเล็ก
213. ย้อนรอยการพัฒนาที่ยั่งยืน
214. เปิดเวทีขับเคลื่อนสังคม 2020
215. UN เปิดตัว SDG ในไทย
216. รายงานเพิ่มพูนความยั่งยืน
217. สุดโค้งแรกการพัฒนาที่ยั่งยืน
218. โค้งตัดใหม่การพัฒนาที่ยั่งยืน
219. มาเป็นองค์กรปลอดสินบนกันเถอะ
220. รู้จัก Social Business
221. ธุรกิจของคุณ เพื่อสังคมขนาดไหน
222. การเปิดเผยข้อมูล CSR ตามแบบ 56-1
223. กระบวนทัศน์การพัฒนาที่ยั่งยืน
224. เรียกชื่อไหน ก็ยังเป็น CSR
225. รายงานความยั่งยืนในมิติ SDGs
226. ไขความเข้าใจ Social Business
227. แปรทุน เปลี่ยนสังคม
228. เปิดทิศทาง CSR ปี 59
229. นับหนึ่ง ธุรกิจเพื่อสังคม
230. ผันธุรกิจ จาก ‘ยิ่งใหญ่’ สู่ ‘ยั่งยืน’
231. ESG แต้มต่อการลงทุน
232. หุ้นเด่น ESG ปี 59
233. ลงทุนแบบ ESG ดูอะไรกัน
234. Global Child Forum: เวทีเด็ก ที่ไม่เด็ก
235. หุ้น ESG100 เลือกอย่างไร?
236. ได้เวลาของธุรกิจเพื่อสังคมสูงวัย
237. เข้าข่าย-เข้าใจ-เข้าถึง กับการพัฒนาที่ยั่งยืน
238. 5 ระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียง
 

Saturday, November 21, 2009

CSR - it's a joint effort

By Nophakhun Limsamarnphun

Dr.Pipat Yodprudtikan explains how stakeholders need to tackle the four main issues |of perception, incentives, factual and timely communications as well as pursuing sectoral initiatives to make the corporate social responsibility movement viable in Thailand.

To push forward the corporate social responsibility (CSR) movement in Thailand, Dr Pipat Yodprudtikan, director of the non-profit Thaipat Institute, says the government and other stakeholders should join forces and tackle at least four issues.

The first is perception. Some company executives and employees often see CSR activities as giving donations to communities.

"In reality, CSR is much more than that. It's about companies' compliance with laws relevant to human rights, labour, environment, consumer protection as well as other issues.

"In other words, CSR is not just about community involvement and social development," says Pipat, who recently presented a paper on "Responsible Business Conduct in Thailand" at a regional conference held in Bangkok by the OECD and the UN.

"Some employees think CSR is not directly related to them or that CSR practices are the responsibility of certain authorised persons or the CSR department.

"In fact, it's about everyone, and every employee should take part in CSR activities.

"Our latest survey shows that more than 60 per cent of Thai companies and their employees in provincial areas are still unfamiliar with the idea of CSR so we should help increase their awareness [which is comparatively lower than that of employees in Bangkok and its surrounding areas].

"In order to address this issue, the government should play the lead role in terms of education and training, especially for small and medium enterprises [SMEs] in provincial areas.

"In addition, the Federation of Thai Industries, Thai Chamber of Commerce and other organisations in the private sector should facilitate these educational and training activities.

"We should also ask academics and higher learning institutes to produce more textbooks and learning materials on CSR as well as conduct more research on this topic in collaboration with international partners," he said.

The second issue is that there are not enough incentives, financial or otherwise, for SMEs to integrate CSR into their enterprises.

"While large enterprises can easily integrate CSR policies or come up with a CSR plan, most SMEs do not have the resources or capability to do so.

"As a result, the government should introduce incentives to help SMEs embrace responsible business practices.

"Enterprises need to define appropriate CSR strategies that take into account their resources and competency while developing a management system that allows CSR to penetrate the entire operation."

The third point is that public relations can do little to amplify an enterprise's CSR activities because CSR communication should always be factual and timely.

In this context, enterprises need to find new ways to communicate their activities across their organisation and in the public sphere.

The fourth point is that it's necessary to pursue sectoral CSR initiatives because they will have a long-term impact on the international competitiveness of Thai industries and overall economy.

The latest data shows that more and more businesses, especially export-oriented enterprises, are collaborating their CSR practices throughout the supply chain due to growing international pressure.

As a result, the government should encourage exporters of machinery and parts, electrical equipment and computer, automobile and parts, gem and jewellery as well as plastic and rubber products to prepare for CSR initiatives.

The failure to do so could lead to declining international competitiveness as more and more foreign partners enforce their CSR measures across the supply chain.

For example, stringent labour and other standards could be imposed on certain export-oriented sectors....(From column Weekend Brunch) External Link [Archived]