Tuesday, September 15, 2009

ข้อแนะนำ CSR สำหรับ SMEs

มีหลายคนถามว่า การดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการที่เป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) นั้น มีความแตกต่างจากองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่หรือไม่ และถ้าเอสเอ็มอีจะลุกขึ้นมาทำ CSR จะมีข้อแนะนำและข้อควรพิจารณาอย่างไรบ้าง

เบื้องแรก อย่าเข้าใจผิดว่า องค์กรของท่านยังไม่มี CSR หรือยังไม่ได้ทำ CSR เพราะการที่องค์กรของท่านเติบโตและยืนหยัดอยู่ในทุกวันนี้ได้ แสดงว่า กิจการของท่านต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคมอยู่แล้วไม่มากก็น้อย มิฉะนั้น สังคมคงไม่อนุญาตให้ท่านได้ทำธุรกิจอย่างที่เป็นอยู่ หรือไม่ยอมรับท่านให้เป็นสมาชิกหนึ่งของสังคมเช่นนี้

แน่นอนว่า การดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการของเอสเอ็มอี ย่อมต้องมีความแตกต่างจากธุรกิจขนาดใหญ่ นั่นก็เป็นเพราะขนาดของทรัพยากรที่มีในกิจการ ขีดความสามารถในการดำเนินงาน รวมทั้งผลกระทบที่ส่งต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมนั้นมีความแตกต่างกัน การดำเนินงาน CSR ของเอสเอ็มอี จึงควรคำนึงถึงปัจจัยในเรื่องการปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม เรียบง่ายไม่ซับซ้อน ใช้ต้นทุนที่ได้ประสิทธิภาพ และไม่มุ่งเน้นเรื่องเม็ดเงินงบประมาณ

ด้วยความที่เป็นองค์กรขนาดเล็ก เอสเอ็มอีจึงมีศักยภาพในการใช้ความคล่องตัว และความคิดแปลกใหม่ตอบสนองต่อโอกาส หรือประเด็นปัญหาทางสังคมได้ดี อีกทั้งยังมีข้อได้เปรียบในการทำ CSR เมื่อเทียบกับองค์กรขนาดใหญ่ในแง่ของความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับชุมชนท้องถิ่นและการที่ผู้บริหารสามารถชี้นำกิจกรรมขององค์กรได้อย่างทันทีทันใด

ข้อแนะนำและข้อควรพิจารณา 5 ประการ สำหรับเอสเอ็มอีในเรื่อง CSR ได้แก่

1.เนื่องจากธรรมชาติในเรื่องการบริหารงานภายใน การรายงานต่อผู้มีส่วนได้เสีย และในกระบวนการอื่นๆ ของกิจการเอสเอ็มอี มักมีความยืดหยุ่นและลำลองกว่าองค์กรขนาดใหญ่ ความโปร่งใสในการดำเนินงานจึงควรได้รับความคาดหวังในระดับที่เหมาะสม และแตกต่างจากองค์กรขนาดใหญ่
2.การกำหนดขอบเขตของการดำเนิน CSR รวมถึงการตอบสนองต่อเรื่องหลัก (core subjects) และการระบุประเด็น (issues) ปัญหาทางสังคมที่เกี่ยวเนื่อง จะต้องคำนึงถึงบริบท เงื่อนไข และทรัพยากรขององค์กร ตลอดจนประโยชน์ต่อผู้มีส่วนได้เสีย โดยไม่จำเป็นว่า เอสเอ็มอี จะต้องสนองตอบในทุกๆ ประเด็น เพียงแต่ให้ครอบคลุมในทุกเรื่องหลัก และเฉพาะในประเด็นที่เกี่ยวข้องก็ถือว่าเพียงพอแล้ว
3.มุ่งเน้นในประเด็นที่มีความสำคัญเป็นอันดับแรกๆ โดยเฉพาะประเด็นที่ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน อย่างไรก็ดี เอสเอ็มอี ควรมีแผนการดำเนินงานเพื่อสนองต่อประเด็นอื่นๆ ที่ยังมิได้ดำเนินการ ในห้วงเวลาที่เหมาะสม
4.แสวงหาความช่วยเหลือจากหน่วยงานรัฐและองค์กรภาคีต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติด้าน CSR ที่เหมาะสมกับลักษณะธุรกิจ และตรงกับความต้องการของกิจการตลอดจนผู้มีส่วนได้เสีย รวมทั้งเป็นที่ยอมรับในระดับสากล
5.ดำเนินงานด้วยการร่วมมือกับองค์กรข้างเคียงและกับธุรกิจที่อยู่ในสาขาเดียวกัน แทนการดำเนินงานโดยลำพังเมื่อมีโอกาส ทั้งนี้ เพื่อการประหยัดทรัพยากรและการเพิ่มขีดความสามารถในการดำเนินงานด้าน CSR

ข้อแนะนำและข้อควรพิจารณาสำหรับเอสเอ็มอีข้างต้น เรียบเรียงจาก ร่างมาตรฐานว่าด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม (ISO 26000: version Draft DIS) โดยมุ่งหวังว่าจะเกิดประโยชน์ต่อกิจการเอสเอ็มอีที่สนใจในเรื่องการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมที่เหมาะสมกับองค์กรของตนเองบ้างไม่มากก็น้อย....(จากคอลัมน์ บริหารธุรกิจ-บริบาลสังคม) External Link [Archived]

Saturday, September 05, 2009

Be accountable to those around you

By Nophakhun Limsamarnphun

Dr Pipat Yodprudtikan is helping the government lead the |public and private sectors on the path of social responsibility

Dr Pipat Yodprudtikan, director of the Thaipat Institute, and his colleagues are helping the government formulate the country's first public policy on corporate social responsibility (CSR).

The institute recently submitted a four-point proposal to the Social Development and Human Security Ministry for consideration.

First, Pipat says, the country needs a comprehensive "mandate" on this crucial issue, which affects not only the private sector, but also the rights of communities, among other things.

"We could be one of the first countries in Southeast Asia to adopt this sort of public policy," he says.

In this context, the country already has Article 67 of the Constitution in place, which requires the private sector to take into account the rights of communities whenever they plan to set up large-scale industries in the vicinity of communities.

For example, investors will be required to get the consent of the community before they can go ahead with their projects because their schemes might end up affecting the quality of life of people in the area.

A public policy on CSR will cover more measures relevant to such compliance in greater detail.

In addition, there could be tax measures on air, water and other types of pollution as well as on the disposal of waste.

Secondly, the government needs to facilitate the private sector to do more work on social responsibility. For instance, there ought to be more state-sponsored public forums to be held on the CSR issue.

Thirdly, the country needs to form a social public/private sector partnership so that there are more resources and skills to carry out CSR and other related schemes.

For example, a partnership could be involved in projects to provide shelter to the homeless with the public sector providing land plots and the private sector seeking funds to build the shelter.

Another example is to invite the private sector to look after public parks and provide maintenance services as part of their social responsibility.

Fourthly, the government needs to support the endorsement of this corporate-cum-social movement by providing specific tax incentives on CSR projects and granting recognition in the form of annual prime minister's awards for outstanding work.

Apart from CSR, Pipat is also a champion of the sufficiency economic model based on His Majesty the King's philosophy.

"In my opinion, CSR is a key application of this sufficiency economy philosophy. Generally speaking, capitalism is about the accumulation of wealth.

"When it's applied, it also means maximisation of shareholders' wealth. However, one of CSR's objectives is different because it doesn't seek to maximise wealth, but rather to minimise conflicts among all the stakeholders [involved in the process of wealth creation].

"This means we need to take into consideration the interests of employees, communities etc.

"The new requirement for industries to seek consent from communities before expanding their industrial plants is a good example [as community welfare, rather than just profit maximisation, should also be a key factor in the process of wealth creation]," he said.

Earlier, residents of Rayong province on the eastern seaboard and other provinces fiercely fought against rapid industrialisation in their communities because of negative consequences on their health and lifestyles.

In this context, CSR can help minimise such conflicts, as it seeks to take the middle path as far as economic and social development is concerned....(From column Weekend Brunch) External Link [Archived]