Thursday, December 24, 2009

CSR ไทย ไต่ระดับ

เมื่อพูดถึงความเคลื่อนไหว CSR ในประเทศไทย ก็มักจะมีข้อคำถามว่า สถานะของการพัฒนา CSR ของไทยไปถึงขั้นไหนแล้ว และจะยกระดับการพัฒนาให้เข้มข้นขึ้นกว่านี้ได้อย่างไร

ในคำถามแรก สถาบันไทยพัฒน์ได้เคยทำการสำรวจระดับของพัฒนาการ CSR โดยแยกเป็นภาคธุรกิจในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล กับในส่วนภูมิภาค เมื่อต้นปี 2552 ผลการสำรวจ พบว่า ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ร้อยละ 27 เพิ่งเรียนรู้และทำความเข้าใจ ร้อยละ 53 ปฏิบัติได้ดีระดับหนึ่ง และร้อยละ 16 มีความก้าวหน้าดีมาก ขณะที่ในส่วนภูมิภาค ร้อยละ 45 เพิ่งเรียนรู้และทำความเข้าใจ ร้อยละ 40 ปฏิบัติได้ดีระดับหนึ่ง และร้อยละ 12 มีความก้าวหน้าดีมาก ที่เหลือตอบว่าไม่แน่ใจ

ส่วนในคำถามที่สอง สถาบันไทยพัฒน์ได้ประมวลข้อแนะนำ 4 ประการ สำหรับการขับเคลื่อน CSR ในประเทศไทย ไว้ในรายงานการศึกษาวิจัยเรื่อง “การดำเนินธุรกิจอย่างรับผิดชอบในประเทศไทย” (Responsible Business Conduct in Thailand) ที่เสนอต่อองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ใน 4 ด้านหลัก ได้แก่ ด้านการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ CSR ที่ถูกต้องและทั่วถึง ด้านการบูรณาการเรื่อง CSR ให้เกิดขึ้นทั่วทั้งองค์กร ด้านการสื่อสารเรื่อง CSR ที่สอดคล้องตรงตามความเป็นจริงและทันเวลา และด้านการส่งเสริมความริเริ่มรายสาขา (sectoral initiatives) ในกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยมีรายละเอียดของสิ่งที่ควรดำเนินการ ทั้งที่เป็นบทบาทของภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน ภาคการศึกษา และสื่อมวลชน แสดงไว้ในตาราง

1. การเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ CSR ที่ถูกต้องและทั่วถึง
 สิ่งที่ควรดำเนินการ:
รัฐควรส่งเสริมให้มีการเผยแพร่องค์ความรู้เรื่อง CSR ทางสื่อต่างๆ เพื่อให้เกิดการรับรู้อย่างทั่วถึง รวมทั้งสนับสนุนการจัดอบรมให้แก่ผู้ประกอบการโดนเฉพาะ SMEs
เอกชนควรจะมีการรวมตัวกันเป็นเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้าน CSR โดยมีองค์กรอย่างเช่น สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หอการค้าไทย เป็น facilitator เนื่องจากมีเครือข่ายสมาชิกกระจายอยู่ทั่วประเทศ
ส่งเสริมให้ภาคการศึกษาโดยเฉพาะสถาบันอุดมศึกษาผลิตตำราและสื่อการเรียนรู้ด้าน CSR อย่างเป็นระบบ และสร้างให้เกิดการแลกเปลี่ยนทางวิชาการ รวมทั้งการผลิตงานวิจัยด้าน CSR ร่วมกับนักวิชาการต่างประเทศ

2. การบูรณาการเรื่อง CSR ให้เกิดขึ้นทั่วทั้งองค์กร
 สิ่งที่ควรดำเนินการ:
รัฐควรสร้างให้เกิดบรรยากาศการดำเนินงาน CSR ด้วยการสร้างสิ่งจูงใจหรือมาตรการทางการเงินการคลังที่สนับสนุนให้องค์กรธุรกิจผนวกเรื่อง CSR ไว้ในกระบวนการทางธุรกิจ ทั้งนี้ เพื่อยกระดับให้เกิดเป็นขบวนการดำเนินธุรกิจอย่างรับผิดชอบอย่างกว้างขวาง
กิจการควรมีการกำหนดยุทธศาสตร์การดำเนินงานด้าน CSR ที่เหมาะสมกับองค์กร รวมทั้งการเสริมสร้างสมรรถภาพการดำเนินงาน CSR อย่างเป็นระบบ และสอดคล้องกับศักยภาพที่มีอยู่ขององค์กร
ควรมีการพัฒนาระบบจัดการและมาตรการทั้งในระดับองค์กร ระดับสายงาน และระดับบุคคลเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดการดำเนินงานด้าน CSR ให้เกิดขึ้นทั่วทั้งองค์กร

3. การสื่อสารเรื่อง CSR ที่สอดคล้องตรงตามความเป็นจริงและทันเวลา
 สิ่งที่ควรดำเนินการ:
รัฐควรสร้างเครื่องมือในการเฝ้าสังเกต (monitor) และควบคุมสื่อที่เข้าข่ายการเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่เกินจริง การนำเสนอกิจกรรมเพื่อสังคมที่สร้างให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน โดยเฉพาะกิจการที่ดำเนินธุรกิจอบายมุข และที่ก่อให้เกิดผลกระทบทางลบต่อสังคมอย่างร้ายแรง
ธุรกิจควรมีการประเมินผลการสื่อสารเรื่อง CSR ที่ไม่ก่อให้เกิดผลในทางลดทอนคุณค่าการดำเนินงาน CSR ที่แท้จริงลง และคำนึงถึงการสื่อสารที่ตอบสนองและครอบคลุมถึงความสนใจของผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง
สื่อมวลชนควรทำหน้าที่เป็นหน้าด่านในการเป็นผู้นำเสนอตัวอย่างที่ดีแก่สังคม และคัดกรองเนื้อหาที่ไม่ถูกต้อง โดยไม่วางเฉย รวมทั้งต้องไม่ให้อิทธิพลของธุรกิจอยู่เหนือสำนึกรับผิดชอบในทางที่รับใช้หรือให้บริการโดยคำนึงถึงเพียงเม็ดเงินโฆษณาประชาสัมพันธ์ที่จะได้รับ

4. การส่งเสริมความริเริ่มรายสาขาในกลุ่มอุตสาหกรรมที่สำคัญ
 สิ่งที่ควรดำเนินการ:
รัฐควรส่งเสริมให้ผู้ประกอบการในกลุ่มธุรกิจส่งออก โดยเฉพาะเครื่องจักร อุปกรณ์ไฟฟ้า และยานยนต์ ได้ศึกษาเตรียมความพร้อมหรือเข้าร่วมในความริเริ่มในรายสาขาดังกล่าว
SMEs ในกลุ่มธุรกิจส่งออกที่อาจได้รับผลกระทบจากมาตรการด้าน CSR ของคู่ค้าในต่างประเทศ ควรจะให้ความสำคัญกับมาตรฐานและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกลุ่มอัญมณี พลาสติก และยาง
หน่วยงานอย่างสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือหอการค้าไทย ควรทำงานเชิงรุกในการสร้างความรู้ความเข้าใจในบริบทการค้าโลกยุคใหม่ที่มีการนำเรื่อง CSR มาเป็นเงื่อนไขทางการค้าระหว่างประเทศให้แก่สมาชิกอย่างทั่วถึง

(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) External Link [Archived]

Monday, December 14, 2009

เมื่อพบว่า การให้ ≠ การได้รับ

องค์กรธุรกิจต้องยอมรับสภาพความเป็นจริงที่ว่า ปัญหาทางสังคมหรือความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องกับองค์กรนั้น มีการเปลี่ยนแปลงไปได้ตลอดเวลา ฉะนั้นโอกาสที่ทิศทางการดำเนินงาน CSR ตลอดจนแผนงานและกิจกรรมที่องค์กรได้กำหนดขึ้น จะไม่ตรงกับความต้องการหรือปัญหาที่เป็นอยู่ในปัจจุบันจึงเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาเช่นกัน

อุปสรรคในการดำเนินงาน CSR ที่ไม่เข้าตาของสังคมอีกประการหนึ่งก็คือ การมุ่งเน้น “ผลผลิต” (output) จากการดำเนินงาน CSR หรือผลที่องค์กรจะให้แก่สังคม มากกว่า “ผลลัพธ์” (outcome) จากการดำเนินงาน หรือผลที่สังคมจะได้รับจากองค์กร จึงทำให้การออกแบบกระบวนการดำเนินงานมิได้ตอบโจทย์ในสิ่งที่ควรจะเป็นอย่างแท้จริง

ตัวอย่างเช่น การไปให้ความรู้แก่ชาวบ้านในชุมชน บ่อยครั้งที่ เราได้ไปให้ความรู้แก่ชาวบ้านจริง แต่ชาวบ้านเข้าใจหรือนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้จริงหรือไม่ การตั้งคำถามลักษณะนี้ จะทำให้เกิดการพัฒนาตัววิทยากรและกระบวนการ (โดยไม่อ้างว่า ชาวบ้านไม่รู้หนังสือจึงไม่เข้าใจ แต่จะหันกลับมาทบทวนตัวเองว่า เหตุใดเราจึงถ่ายทอดให้ชาวบ้านเข้าใจไม่ได้) หรือการออกคลีนิกหรือหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ หากวัดที่ผลผลิตก็คือ ได้ไปตรวจรักษาให้ชาวบ้านครบตามจำนวน ตามเวลา แต่ชาวบ้านจะหายหรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งสิ่งนี้ก็คือ ผลลัพธ์ที่พึงจะได้ตามที่เรามุ่งหมายให้มีโครงการนี้เกิดขึ้นมาตั้งแต่ต้นนั่นเอง

การออกแบบการประเมินการดำเนินงาน CSR จึงควรสนับสนุนให้มีตัวชี้วัดการดำเนินงาน ที่มุ่งผลลัพธ์มากกว่าผลผลิต และพิจารณาใช้เครื่องมือในการจัดการและวัดผลการดำเนินงานเพื่อยกระดับการดำเนินงาน CSR โดยมีการตรวจสอบเกณฑ์ดำเนินงานให้สอดคล้องกับความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียอย่างต่อเนื่อง

การวัดผลเรื่อง CSR อย่างมีสัมฤทธิภาพ ซึ่งมุ่งวัดผลการดำเนินงานที่เป็นผลลัพธ์ มากกว่าผลผลิต อาจใช้วิธีตั้งคำถามง่ายๆ ว่า ในการดำเนินงาน CSR ขององค์กรนั้น สังคมที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย “เขาได้รับอะไรจากเรา” มากกว่าที่จะวัดว่า “เราได้ให้อะไรกับเขา” เนื่องจากในระหว่างทาง จะมีทั้งสิ่งรบกวน (noise) และการรั่วไหล (leak) ต่างๆ นอกเหนือจากคุณภาพของผู้ให้และผู้รับ ที่เป็นปัจจัยซึ่งต้องได้รับการควบคุมและจัดการอย่างเหมาะสม ทั้งนี้ หากองค์กรได้เข้าใจถึงความแตกต่างของคำถามทั้งสองนี้อย่างลึกซึ้ง จะทำให้กระบวนการในการดำเนินงาน CSR ที่จะเกิดขึ้น มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง....(จากคอลัมน์ บริหารธุรกิจ-บริบาลสังคม) External Link [Archived]

 ฟังบทสัมภาษณ์เรื่องเดียวกันในรายการลับคมธุรกิจ (14 ธ.ค. 52)

Thursday, December 10, 2009

คันฉ่องส่อง CSR ไทย

สถาบันไทยพัฒน์ มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในฐานะหน่วยงานที่ดำเนินการศึกษาวิจัยเรื่อง CSR ในเมืองไทยมาอย่างต่อเนื่อง ได้นำเสนอรายงานการศึกษาวิจัยเบื้องต้นในหัวข้อ "การดำเนินธุรกิจอย่างรับผิดชอบในประเทศไทย" (Responsible Business Conduct in Thailand)บนเวทีการประชุมระดับภูมิภาคเรื่องความรับผิดชอบของกิจการ (Corporate Responsibility) ในหัวข้อ "Why Responsible Business Conduct Matters" ในโอกาสที่องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) และคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียและแปซิฟิกแห่งสหประชาชาติ (UN ESCAP) ร่วมกับ ILO, UN Global Compact และ GRI ได้เข้ามาจัดงานสัปดาห์การค้าและการลงทุนภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ซึ่งมีสาระสำคัญๆ ที่สรุปได้ดังนี้

ในผลการศึกษาส่วนแรกได้ชี้ให้เห็นถึงสัดส่วนของวิสาหกิจขนาดใหญ่ (LEs) เทียบกับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่เป็นปัจจัยเบื้องต้นในการวางทิศทางการขับเคลื่อน RBC ในประเทศไทย เนื่องจากในทางปฏิบัติระดับของการทำ CSR ระหว่าง LEs และ SMEs จะมีความแตกต่างกันตัวเลขของวิสาหกิจทั้งหมดในประเทศไทยในปี 2551 มีจำนวน 2,836,377 แห่ง เป็น LEs 4,586 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 0.2 และ SMEs 2,827,633 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 99.7 (ที่เหลือร้อยละ 0.1 ไม่ได้ระบุ)

การกระจายตัวของวิสาหกิจตามภูมิศาสตร์ พบว่าร้อยละ 70 ของ LEs อยู่ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล ที่เหลือร้อยละ 30 อยู่ในภูมิภาค ขณะที่ร้อยละ 30 ของ SMEs อยู่ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล ที่เหลือร้อยละ 70 อยู่ในภูมิภาค

หากพิจารณาบทบาทของวิสาหกิจตามขนาดกิจการที่มีต่อมูลค่า GDP ในปี 2551 พบว่า LEs มีสัดส่วนอยู่ที่ร้อยละ 46.3 หรือ 4.21 ล้านล้านบาท ขณะที่ SMEs มีสัดส่วนอยู่ร้อยละ 37.9 หรือ 3.45 ล้านล้านบาท

เมื่อพิจารณาในส่วนของการจ้างงาน ในปี 2550 มีการจ้างงานในกิจการทุกขนาดรวมทั้งสิ้น 11.71 ล้านคน โดยเป็นการจ้างงานใน LEs จำนวน 2.81 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 24 และเป็นการจ้างงานในSMEs จำนวน 8.9 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 76 ของการจ้างงานรวมทั้งหมด

เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลสถิติในเชิงภูมิศาสตร์ มูลค่า GDP และสัดส่วนการจ้างงานของวิสาหกิจขนาดใหญ่ เทียบกับ SMEs เพื่อใช้ในการขับเคลื่อน CSR พบว่า
ทั้ง LEs และ SMEs มีบทบาทสำคัญในมูลค่า GDP ของประเทศ
SMEs ก่อให้เกิดการสร้างงานและนำไปสู่การกระจายรายได้ในสัดส่วนที่มากกว่า LEs 3 เท่า
ทิศทางการขับเคลื่อน CSR ใน LEs ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 70) จะเกิดขึ้นในเขตกรุงเทพและปริมณฑล ขณะที่สำหรับ SMEs ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 70) จะเกิดขึ้นในภูมิภาค

ในการสำรวจการรับรู้ในเรื่อง CSR ขององค์กรธุรกิจใน 76 จังหวัดทั่วประเทศ พบว่าในเขตกรุงเทพและปริมณฑล รู้จัก CSR ในสัดส่วนร้อยละ 69.54 และไม่รู้จัก CSR มาก่อน ร้อยละ 30.46 ขณะที่ในส่วนภูมิภาค รู้จัก CSR ในสัดส่วนร้อยละ 38.32 และไม่รู้จัก CSR มาก่อน ร้อยละ 61.68 ของจำนวนผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 4,350 คน

การที่ผู้ประกอบการตอบว่าไม่รู้จัก CSR มาก่อนนั้น มิได้หมายความว่า ในองค์กรมิได้มีการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคม เพียงแต่ไม่ทราบว่าสิ่งที่ตนเองหรือหน่วยงานดำเนินอยู่นั้นเรียกว่า CSR ซึ่งคำเรียกที่องค์กรเหล่านี้คุ้นเคยกว่า ได้แก่ ธรรมาภิบาล, จริยธรรมทางธุรกิจ, การดำเนินงานที่เป็นธรรม, ความรับผิดชอบในตัวผลิตภัณฑ์, การช่วยเหลือสังคม, การบริจาค, การอาสาสมัคร ซึ่งกิจกรรมหรือการดำเนินงานเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นส่วนหนึ่งของ CSR ทั้งสิ้น

คำกล่าวนี้ยืนยันได้ด้วยข้อพิสูจน์ จากการสำรวจความเข้าใจของผู้ประกอบการ หลังจากที่ได้อธิบายชี้แจงว่า สิ่งที่องค์กรได้ปฏิบัติอยู่นั้น จัดเป็นเรื่องของ CSR โดยผลสำรวจปรากฏว่า ร้อยละ 96 ของจำนวนผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 3,853 คนจากทั่วประเทศ มีความเข้าใจเพิ่มขึ้น

ข้อพิจารณาในการขับเคลื่อน CSR ของแต่ละภูมิภาคและในรายจังหวัด ควรจะมีจุดเน้นและกิจกรรมที่มีความแตกต่างกัน เนื่องจากระดับของการรับรู้และการพัฒนา CSR ที่ไม่เท่ากัน รวมทั้งการคำนึงถึงบริบทสังคมและวิถีของท้องถิ่นเป็นองค์ประกอบหลัก

ปัจจัยที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ ความเกี่ยวเนื่องกับลักษณะและประเภทของธุรกิจในแต่ละถิ่นที่ตั้ง รวมทั้งความเกี่ยวโยงกับสายอุปทาน (Supply Chain) ของกิจการนั้นๆ เพราะ CSR สำหรับกิจการที่ประกอบธุรกิจต่างสาขาหรือต่างอุตสาหกรรม จะส่งผลกระทบต่อสังคมหรือเกิดเป็นประเด็นทางสังคมที่แตกต่างกัน

สำหรับข้อแนะนำในการขับเคลื่อน CSR ประเทศไทย จะเสนอในโอกาสต่อไปทางหน้าต่าง CSR บานนี้ที่จะเริ่มเปิดให้บริการพยับแดดและสายลมแห่งความรับผิดชอบต่อสังคมจากนี้ไปครับ!....(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) External Link [Archived]

Thursday, November 26, 2009

CSR: งานหลังบ้านที่ร่วมมือกันได้

ธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ อาจทำเรื่อง CSR ล้มเหลวได้ เพราะกรอบความคิดในการทำธุรกิจ มีความแตกต่างจากกรอบความคิดในการทำ CSR การตั้งต้นจากกรอบความคิดที่ผิด ทำให้ธุรกิจพัฒนากลยุทธ์การดำเนินงาน CSR ที่ผิดพลาด การแปลงกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติจึงเป็นการทำงานที่สูญเปล่าหรือได้ผลน้อย

การทำ CSR นั้น มีความแตกต่างกับการทำธุรกิจ ในเรื่องของการมองตลาดเป้าหมาย ธุรกิจอาจประสบกับความจำกัดของตลาด ในการที่จะเสนอขายสินค้าและบริการ จึงต้องแข่งขันแย่งชิงลูกค้าที่มีอยู่จำกัด ด้วยทรัพยากรที่ต่างฝ่ายต่างระดมมาได้ ผู้ที่เป็นฝ่ายชนะ ก็จะได้ส่วนล้ำ (Gain) ที่เรียกว่า กำไร และผู้ที่สูญเสียส่วนแบ่งตลาด ก็อาจตกอยู่ในสภาพที่ขาดทุน (Loss) จากสนามการแข่งขัน

แต่สำหรับตลาดเป้าหมายในการทำ CSR นั้น ไม่ได้มีความจำกัดเช่นในธุรกิจ ตรงกันข้าม ประเด็นปัญหาสังคมที่รอคอยการแก้ไขทั้งในระดับใกล้ (Community) และในระดับไกล (Society) ในทุกวันนี้มีอยู่มากมายนับไม่ถ้วน ดังนั้น การนำกรอบคิดทางธุรกิจเรื่องการแข่งขันในตลาด มาใช้ในการทำ CSR ด้วยการแข่งขัน จึงไม่มีความสมเหตุสมผล

ในเมื่อการแข่งขัน มิใช่กรอบความคิดในการทำ CSR ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้น จึงทำให้ไม่มีธุรกิจใดที่ต้องประสบกับสภาพกำไร-ขาดทุน จากการทำ CSR ในขณะที่ ตลาดเองก็ได้รับประโยชน์จากทรัพยากรที่ธุรกิจส่งมอบได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย โดยไม่สูญเสียไปกับการแข่งขัน

สิ่งที่ท้าทายสำหรับการทำ CSR ในทศวรรษ 2010 ที่จะมาถึง คือ การบูรณาการทรัพยากรในการทำ CSR เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่เป็นเนื้อเป็นหนัง แทนที่จะได้ผลเพียงแค่ลูบหน้าปะจมูกเช่นที่ผ่านมา อย่าลืมว่า ตลาดของ CSR นั้นไม่มีขีดจำกัด จึงมีศักยภาพที่จะดูดซับทรัพยากร (ที่มีจำกัด) ขององค์กรธุรกิจได้ราวกับน้ำที่ถูกหยดลงบนทะเลทราย แม้แต่กับองค์กรที่อุดมไปด้วยทรัพยากรขนาดมหึมา ก็ยังอาจไม่เพียงพอที่จะก่อให้เกิดความชุ่มชื้นได้โดยลำพัง

เมื่อธุรกิจตระหนักว่า ทรัพยากรที่มีอยู่อาจเทียบได้เพียงหยดน้ำ ทางเลือกในการรวมหยดน้ำทรัพยากรข้ามองค์กร เพื่อให้เกิดเป็นโอเอซีสกลางทะเลทรายจึงเป็นสิ่งที่สมเหตุสมผล และสมการแห่งการรวมพลังขับเคลื่อน CSR ระหว่างองค์กร มิใช่เพียงหนึ่งรวมหนึ่งเป็นสอง เพราะเมื่อความชุ่มชื้นเกิดขึ้นถึงขีดระดับ ต้นไม้และพืชพรรณก็จะติดตามมา จนกลายเป็นระบบนิเวศที่อยู่ได้ด้วยตัวเอง เป็นตัวจริงของความยั่งยืน ที่ก้าวพ้นภาพแห่งการเสกสรรปั้นแต่งเช่นที่เป็นมา

ธุรกิจลองตั้งคำถามง่ายๆ (แต่ตอบได้ยาก) เหล่านี้ เพื่อเป็นการทบทวนผลการดำเนินงาน CSR ขององค์กรดูก็ได้

ต้นไม้ที่เราไปปลูกในกิจกรรมลดโลกร้อนเมื่อสามปีที่แล้ว ตอนนี้เหลือรอดอยู่กี่ต้น (แล้วจะทำให้รอดมากกว่านี้ได้อย่างไร)
ถุงผ้าที่เราเคยแจกให้ลูกค้าและพนักงานเพื่อลดการใช้ถุงพลาสติก วันนี้มีลูกค้าและพนักงานใช้อยู่กี่คน (แล้วจะทำให้เกิดการใช้จริงๆ ได้มากขึ้นอย่างไร)
ฝายที่เราเคยไปสร้างร่วมกับอาสาสมัครและชาวบ้าน ทุกวันนี้ยังใช้การได้ดีอยู่หรือไม่ (แล้วจะดูแลให้ใช้การได้ดีต่อไปอย่างไร)
ห้องสมุดที่มอบให้กับชุมชนปีที่แล้ว มีหนังสือและผู้ใช้บริการตามที่เราคาดหวังไว้มากน้อยเพียงใด (แล้วจะไม่กลายเป็นห้องสมุดร้างได้อย่างไร)
เงินที่เราบริจาคเข้ากองทุนพัฒนาชุมชนและสิ่งแวดล้อม ได้ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ชาวบ้านได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยขนาดไหน (แล้วจะมีวิธีที่ดีกว่านี้หรือไม่)

การริเริ่มกิจกรรมเพื่อสังคมที่ไม่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทางธุรกิจในลักษณะที่เป็น CSR-after-process เหล่านี้ ดูยังห่างไกลกับบริบทของการพัฒนาอย่างยั่งยืน (sustainable development) อยู่ไม่น้อย แม้จะมีการอ้างถึงคำนี้กันอย่างแพร่หลายแล้วก็ตาม

จริงอยู่ที่การริเริ่มที่จะให้ เป็น “จุดตั้งต้น” สำคัญของความยั่งยืน แต่เราก็เห็นแล้วว่าการให้แบบหว่านหยดน้ำลงทะเลทราย ไม่สามารถนำไปสู่ “ปลายทาง” ของความยั่งยืนได้ องค์กรธุรกิจจึงต้องเดินทางมาสู่ “จุดเลี้ยว” สำคัญในการเสาะหาวิธีรวมหยดน้ำทรัพยากรข้ามองค์กร และการบริหารจัดการเพื่อสร้างโอเอซีสให้เป็นจริงขึ้นมา

ความท้าทายขององค์กรธุรกิจที่จะบรรลุทางสายนี้ คือ การถอดตัวตน และความยึดติดที่จะต้องสร้างความแตกต่างอย่างพร่ำเพรื่อ โดยปราศจากการทบทวนถึงบริบทและความเหมาะสมของสถานการณ์ ตัวอย่างของการรวมพลังที่เกิดขึ้นในทางธุรกิจ ที่วางทั้งอัตลักษณ์และเอกลักษณ์ไว้ข้างสนาม ก็คือ การลงทุนและการใช้สอยทรัพยากรร่วมกันในสายอุปทาน เช่น ระบบโลจิสติกส์ ระบบไอที แม้ว่าองค์กรเหล่านั้นจะอยู่ในสาขาธุรกิจเดียวกันก็ตาม

เหตุที่ธุรกิจตกลงร่วมมือกันหลังบ้านได้ ก็เพราะเห็นประโยชน์จากการประหยัดจากขนาดชัด โดยแทนที่จะต้องลงทุนคนเดียวแล้วใช้ไม่คุ้ม ก็มาร่วมกันลงทุนและร่วมกันใช้ได้อย่างคุ้มค่า ส่วนหน้าบ้านก็ยังคงไว้ซึ่งอัตลักษณ์และเอกลักษณ์เหมือนปกติ

คำถามจึงมีอยู่ว่า ธุรกิจเห็นคุณค่าจากการร่วมมือกันทำ CSR ในทำนองเดียวกับการร่วมมือกันทางธุรกิจที่เป็นส่วนงานหลังบ้านหรือไม่ คำตอบที่พบ คือ ธุรกิจส่วนใหญ่ยังมองไม่เห็น องค์กรเหล่านี้ จึงเลือกที่จะทำ CSR ในแบบฉบับที่เป็นของตนเองและพยายามสร้างให้เกิดการจดจำได้ของสังคม ด้วยความแตกต่างหรือความโดดเด่นของกิจกรรมอย่างเป็นเอกเทศ เนื่องจากต้องการใช้ CSR เป็นเพียงเครื่องมือในการประชาสัมพันธ์ จึงทำให้คุณค่าแท้ของ CSR ถูกลดทอนลงไปอย่างน่าเสียดาย เมื่อเป็นเช่นนี้ สภาพกำไร-ขาดทุน จากการทำ CSR ก็เกิดขึ้น อันเป็นผลมาจากการพัฒนาขีดความสามารถทางการแข่งขันด้วยกิจกรรม CSR ของแต่ละองค์กรนั่นเอง

สำหรับธุรกิจที่มองเห็นคุณค่าของการร่วมมือกันดำเนินงาน CSR จะพบว่า งาน CSR สามารถมองให้เป็นเสมือนงานหลังบ้านในทางธุรกิจที่ร่วมกันระดมทรัพยากรและร่วมกันทำได้ โดยไม่สูญเสียอัตลักษณ์และเอกลักษณ์ในส่วนหน้าบ้านแต่อย่างใด ตรงกันข้าม หากธุรกิจที่อยู่ในสายอุปทานเหล่านั้น สามารถขับเคลื่อนงาน CSR ร่วมกันอย่างเป็นปึกแผ่นและส่งผลกระทบสูงต่อผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น ลูกค้า ผู้บริโภค ชุมชน ฯลฯ กลับจะไปเสริมสร้างอัตลักษณ์และเอกลักษณ์ให้เด่นชัดขึ้นอีกเป็นทวีคูณ และสะท้อนกลับมายกระดับความสามารถทางการแข่งขันในธุรกิจด้วยความร่วมมือกันทาง CSR นี้

ในสายอุปทานของหลายอุตสาหกรรมในขณะนี้ เช่น ยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ต่างมีความริเริ่มในการผลักดันให้ธุรกิจที่อยู่ในสายอุปทานเดียวกัน ทั้งผู้ผลิตชิ้นส่วน ผู้ส่งมอบ ตัวแทนจำหน่าย ศูนย์บริการ มีแนวปฏิบัติทาง CSR ร่วมกันและที่ดีขึ้นไปอีก คือ ทำให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ฉะนั้น การถือกำเนิดขึ้นของความริเริ่มรายสาขา (sectoral initiatives) จึงไม่ใช่เป็นเพียงกระแสหรือเป็นแฟชั่น หากเป็นพัฒนาการในแวดวง CSR ที่ได้รับการออกแบบให้สามารถส่งมอบคุณค่าสู่ธุรกิจอย่างเป็นรูปธรรม นอกเหนือจากคุณค่าที่สังคมจะได้รับ และยังเป็นการตอกย้ำถึงบทบาทของการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมในกระบวนการธุรกิจ หรือ CSR-in-process ที่นับวันจะยิ่งทวีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ

ความร่วมมือที่ว่านี้ ยังสามารถประยุกต์ใช้ได้กับธุรกิจที่อยู่ข้ามสาขา (cross-sectoral) แต่อยู่ร่วมกันในทางกายภาพ มีการใช้สาธารณูปโภคร่วมกัน หรือมีสิ่งที่ร่วมกันในรูปแบบอื่นๆ เช่น มีกลุ่มลูกค้าเดียวกัน หรือมีประเด็นทางสังคมที่องค์กรสนใจเข้าไปช่วยเหลือและพัฒนาในเรื่องเดียวกัน

และโปรดอย่าลืมว่า การรวมพลังทำ CSR ซึ่งมีผลกระทบสูงเช่นนี้ ยังต้องคำนึงถึงผลที่ติดตามมา (consequence) อันไม่พึงปรารถนา และไม่ได้คาดการณ์ไว้ล่วงหน้า ซึ่งอาจไปสร้างผลกระทบเสียหายต่อชุมชนและสังคม โดยเฉพาะการทำให้ชุมชนอ่อนแอลง พึ่งตนเองไม่ได้ หรือทะเลาะกันในสิ่งที่ธุรกิจหยิบยื่นให้ จนนำไปสู่ความแตกแยกของสังคมนั้นๆ....(จากคอลัมน์ หน้าต่าง CSR) External Link [Archived]

รวมบทความ หน้าต่าง CSR

1. แม้ธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ ก็อาจทำ CSR ล้มเหลวได้
2. คันฉ่องส่อง CSR ไทย
3. CSR ไทย ไต่ระดับ
4. ทิศทาง CSR ไทย ปีเสือ
5. เมื่อผู้ถือหุ้นถามหา CSR (นะเธอ)
6. ประเทศไทย สบายดี (แบบใหม่)
7. เขียวทั้งแผ่นดิน
8. ถึงคราวกราดเอ็ม 79 ในองค์กร
9. ธุรกิจต้องทำ CSR ฤๅรัฐ&เอ็นจีโอหมดน้ำยา
10. ถึงเวลา “พนักงาน” ต้องมาก่อน
11. ช้าๆ ไม่ได้พร้าเล่มงาม (เสียแล้ว)
12. หน้าที่ของ (องค์กร) พลเมือง
13. มุม (ที่ไม่ได้) มองใหม่ของ CSR
14. เคล็ด (ไม่) ลับกับการบริหาร CSR
15. โลกาภิวัตน์ความดีสู่เศรษฐกิจคุณธรรม
16. อย่าสับสน CSR กับ Social Enterprise
17. ล้อมองค์กรผูกพัน ร่วมใจใส่สติปัญญา
18. เมื่อองค์กรถูกขนาบด้วย CSR
19. ความต่างระหว่าง Social Enterprise กับ Social Business
20. Climate Change เพราะอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย
21. CSR กับ ถุงกล้วยแขก
22. ทำ CSR แบบตัวจริงเสียงจริง (เสียที)
23. 4 บทบาท CSR ภาครัฐ
24. เวทีนี้...นับหนึ่งแล้ว
25. ถึงเวลาทำคุณธรรมให้จับต้องได้
26. ปฏิรูปเรื่องใหญ่ คอร์รัปชันเรื่องใหญ่กว่า
27. ใช้ทวิตเตอร์ และเฟซบุ๊ค แบบ SMART
28. จากองค์กรธุรกิจ สู่องค์กรพลเมือง
29. การพัฒนา (จำเป็น) ต้องยั่งยืน
30. ทำรายงาน GRI ให้ได้งาน CSR
31. ทำรายงาน CSR ให้เป็นมากกว่ารายงาน
32. ต่อยอดเอสเอ็มอี ด้วย CSR Profile
33. จาก Blue สู่ Green
34. CSR Report ในสไตล์ ISO 26000
35. เปิดข้อมูล CSR ฉบับ ก.ล.ต.
36. ให้ข้อมูล CSR ให้ได้สาระ
37. ทำทุกวันให้เป็นวัน CSR
38. เทรนด์ CSR ปี 54 แรงได้ใจ!
39. รายงาน CSR ปี 54 แบบไหนดี
40. เลือกตัวชี้วัดดี มีชัยไปกว่าครึ่ง
41. 6 คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ CSR
42. อั่งเปา-คติถือ คือ CSR (ชิมิ)
43. จับทิศทาง CSR ประเทศไทย
44. วัดผลสำเร็จ CSR จริงใจหรือไก่กา
45. กิจกรรมเพื่อสังคม... เพื่อองค์กร
46. เดือนที่ต้องส่งรายงานการจัดการพลังงาน
47. รู้ทันผลิตภัณฑ์ (ฟอก) เขียว
48. มีจุดยืน (กลยุทธ์ CSR) เพื่อให้ยั่งยืน
49. 7 อุปนิสัย สร้างโลกเขียว
50. 7 วิชามาร (ฟอก) เขียว
51. ทำ CSR แบบ SMEs
52. ก่อนจะมีหน่วยงาน CSR
53. CSR ในประโยคบอกเล่า
54. Strategy ในประโยคบอกเล่า
55. Colourful Ocean ในประโยคบอกเล่า
56. เหตุใด Colourful Ocean เป็น Strategy มิใช่ Activity
57. องค์กรได้อะไรจากการทำ ISO 26000
58. ทำ CSR แบบมาตรฐานโลก ISO
59. อาเซียนไม่ได้มีแต่ AEC
60. ไทยกับบทบาท CSR ระดับอาเซียน
61. กลยุทธ์นัดเดียวได้นกสองตัว
62. จะได้เสียกับใครดี
63. เลือกกิจกรรม (ที่ใช่) เพื่อสังคม (ที่ชอบ)
64. ปรับ ครม. ในวันแม่กันเถอะ
65. ยกขีดแข่งขันด้วย CSR
66. CSR ในนโยบายรัฐบาล
67. เลียบเวที CSR Summit สิงคโปร์
68. รางวัล Golden Green Award อาเซียน
69. แนวร่วม ISO 26000
70. มาเพิ่มอุปนิสัยสีเขียวกันเถอะ
71. ธุรกิจทำอะไรได้บ้าง นอกจากการบริจาค
72. อะไรควร-ไม่ควร ในการช่วยเหลือผู้ประสบภัย
73. แผนอาสา CSR ในช่วงประสบภัย
74. แนวการฟื้นฟูในช่วงต้นหลังน้ำลด
75. 10 คำถามสำหรับผู้นำองค์กรต่อการรับมือภัยพิบัติ
76. กลยุทธ์การรับมือภัยพิบัติภาคธุรกิจ
77. CSR ปี 55 การตลาดทางสังคมมาแรง
78. ภัยพิบัติกับการพัฒนาที่ยั่งยืน
79. คอตเลอร์ กับ Social Marketing
80. ปีแห่งการเติมพลัง CSR
81. 6 ทิศทาง CSR ปี 2555
82. รายงาน CSR แบบไม่... เออเร่อ
83. คุณค่าผสม กับการตลาดทางสังคม
84. บริหารความต่อเนื่อง เพื่อความยั่งยืน
85. Benefit Corp องค์กรธุรกิจยุคใหม่
86. ดูยังไง CSR เวิร์กไม่เวิร์ก
87. ธุรกิจยุค CSR-as-business
88. มรดกทาง CSR ของ อ.ไพบูลย์
89. ความยั่งยืนที่ต้องรายงาน
90. สื่อสาร CSR ดีหรือไม่ดี
91. ตั้งไข่ให้ CSR
92. CSR ที่แลกไม่ได้
93. เศรษฐกิจพอเพียง 2.0
94. มีอะไรใน WEF ที่กรุงเทพฯ
95. CSR กับ SD เหมือนหรือต่างกัน
96. CG กับ CSR เหมือนหรือต่างกัน
97. Rio+20 กับอนาคตที่พึงปรารถนา
98. เวทีจริยธรรมโลกที่เจนีวา
99. วาระ 50+20 : การศึกษาเพื่อความยั่งยืน
100. คู่มือ CSR สำหรับองค์กรธุรกิจไทย
101. คุ้มครอง-เคารพ-เยียวยา คาถาสิทธิมนุษยชน
102. วุฒิภาวะทาง 'CSR'
103. ไม่เข้าใจ ไม่เข้าถึง จึงไม่พัฒนา
104. หลัก 7 มี ดี 7 เรื่อง
105. หลัก 7 มี ดี 7 เรื่อง (จบ)
106. สังคมสีเขียว ฉบับประเทศไทย
107. ยุทธศาสตร์ไทย ใน 2 ทศวรรษหน้า
108. ได้เวลาเจาะข่าว CSR
109. ไม่รู้ - เสียรู้ ร้ายพอกัน
110. CSR Thailand 2012
111. รายงานเพื่อความยั่งยืน
112. การประชุมนานาชาติ ว่าด้วย ISO 26000
113. ยลออฟฟิศ ISO
114. CSR ในบ้าน เพื่อคนนอกบ้าน
115. เทรนด์ธุรกิจ ปี 56 Think SD, Act CSR!
116. CSR @ heart
117. การบริหาร CSR เชิงกลยุทธ์
118. License แบบไหนดี
119. ความไม่ยั่งยืนของการพัฒนาที่ยั่งยืน
120. Sustainable Development 2.0
121. การเปิดเผยข้อมูล CSR ในรายงานประจำปี
122. CSR แห่งความรัก
123. ผู้ว่าฯ กทม. กับนโยบาย CSR
124. 'คอตเลอร์' กับการตลาดเพื่อโลกที่ดีขึ้น
125. รายงาน CSR แบบบ่องตง
126. ตอบโจทย์ความยั่งยืน
127. ความยั่งยืนในห่วงโซ่ธุรกิจ
128. ผูกเงื่อนตายให้ CSR
129. เปิดตัวกรอบการรายงานฉบับ G4
130. กิน อยู่ รู้คิด เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
131. ตามรอยการประชุมโลกว่าด้วยความยั่งยืน
132. เหตุผลที่องค์กรทำ CSR
133. สื่อสาร CSR ไปทำไม ใครอยากฟัง?
134. สื่อสารอะไรกันในเรื่อง CSR
135. สื่อสารอย่างไรในเรื่อง CSR
136. ESG นำความยั่งยืนสู่องค์กร
137. ล้วงลับ CSR Summit สิงคโปร์
138. CSR หรือ CSV ดี
139. ใช้ CSR สร้าง Shared Value
140. ต้นตำรับ CSV มาเอง
141. งาน CSR ที่เมืองลีล
142. เหลียวหลังแลหน้า CSR ปี 56
143. เทรนด์ ‘CSR’ ปี 57
144. จาก ’โครงการ’ สู่ ‘กระบวนการ’
145. สู้เข้าไป อย่าได้ถอย...
146. ‘พิมพ์เขียว’ การเข้าร่วมปฏิรูปของภาคธุรกิจ
147. วันแห่งความรักที่สูงส่งบริสุทธิ์
148. CSV: กลยุทธ์ธุรกิจคู่สังคม
149. เริ่มทำ CSR อย่างไรดี
150. ต่อยอด CSR เป็น CSV
151. ส่องรายงาน CSR
152. เทรนด์ธุรกิจต้านทุจริต
153. มาเป็นหุ้นส่วนเพื่อสังคมกัน
154. CSR ระหว่างได้ทำกับได้ผล
155. สร้างตัวช่วยความยั่งยืน
156. เลียบเวที Shared Value Summit
157. เก็บตก SRI Forum ใน ดี.ซี.
158. คิดเพื่อโลก ทำเพื่อโลก
159. ไต่บันไดต้านทุจริต
160. เลียบเวที CG นานาชาติ
161. โตเกียวขายาว
162. เริ่มจากเสียใจ..ตามด้วยแก้ไข
163. เปิดมุมมองการลงทุนแบบ SRI
164. รางวัลรายงานความยั่งยืน ปีที่ 2
165. โลกสวยด้วยมือคนอื่น
166. จะทำทุกเรื่อง หรือทำให้ถูกเรื่อง
167. CSV ดีจริงหรือ
168. CSV กับ Social Enterprise
169. ป้ายหน้า CSV
170. รายงานแบบ G4
171. ตัวอย่าง CSV ในธุรกิจไทย
172. การลงทุนเป็นโอกาส ผู้ลงทุนควร...
173. กลยุทธ์ธนาคารคู่สังคม
174. เผยดัชนีต้านทุจริตบริษัทไทย
175. วงจรข้อมูลความยั่งยืน
176. โอกาสธุรกิจ คุณค่าสังคม
177. CSV ในธุรกิจด้านสุขภาพ
178. CSV ในธุรกิจพึ่งพิงธรรมชาติ
179. เหลียวหลังแลหน้า CSR ปี 57
180. ทิศทาง CSR ในตลาดทุน
181. ท็อป 10 ประเด็น CSR
182. คลอด G4 ฉบับ How-to
183. หุ้นติดเรต ESG100 ธุรกิจวิถียั่งยืน
184. ความเคลื่อนไหว CSR ปี 58
185. การขับเคลื่อน CSV ระดับองค์กร
186. สู่ Sustainable Enterprise
187. กิจการวิถียั่งยืน
188. หุ้นส่วนต้านทุจริตเพื่อประเทศไทย
189. การต่อต้านทุจริต เฟส 2
190. ESG กับการลงทุนที่ยั่งยืน
191. ESG กับการประกันภัยที่ยั่งยืน
192. ต้านทุจริตด้วยการเปิดเผยข้อมูล
193. ต้านทุจริตด้วยการประเมินความเสี่ยง
194. คลอดยุทธศาสตร์ CSR ชาติ
195. เลียบเลาะเวที Shared Value Summit
196. จับตาเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
197. ต้านโกงภาคปฏิบัติ
198. การลงทุนสุนทาน
199. การให้ไม่รู้จบ
200. เศรษฐกิจพอเพียง-สังคมพอประมาณ
201. เข้าสู่ยุค Slow Business
202. กำเนิดกองทุนสุนทาน
203. รู้จักรูปแบบการลงทุนที่ยั่งยืน
204. ธุรกิจที่เป็นมิตรกับเด็ก
205. เดินหน้าต้านทุจริตกับ 123 องค์กร
206. ตัวชี้วัด CSR 4 ระดับ
207. วาระการพัฒนาที่ยั่งยืน 2030
208. เป้าหมายโลกต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
209. บอร์ดยั่งยืน กับวาระ ‘สังคม 2020’
210. จาก B2B สู่ B4B
211. แผนธุรกิจคู่สังคม
212. ปัญหาทุจริตในภาคธุรกิจ ไม่ใช่เรื่องเล็ก
213. ย้อนรอยการพัฒนาที่ยั่งยืน
214. เปิดเวทีขับเคลื่อนสังคม 2020
215. UN เปิดตัว SDG ในไทย
216. รายงานเพิ่มพูนความยั่งยืน
217. สุดโค้งแรกการพัฒนาที่ยั่งยืน
218. โค้งตัดใหม่การพัฒนาที่ยั่งยืน
219. มาเป็นองค์กรปลอดสินบนกันเถอะ
220. รู้จัก Social Business
221. ธุรกิจของคุณ เพื่อสังคมขนาดไหน
222. การเปิดเผยข้อมูล CSR ตามแบบ 56-1
223. กระบวนทัศน์การพัฒนาที่ยั่งยืน
224. เรียกชื่อไหน ก็ยังเป็น CSR
225. รายงานความยั่งยืนในมิติ SDGs
226. ไขความเข้าใจ Social Business
227. แปรทุน เปลี่ยนสังคม
228. เปิดทิศทาง CSR ปี 59
229. นับหนึ่ง ธุรกิจเพื่อสังคม
230. ผันธุรกิจ จาก ‘ยิ่งใหญ่’ สู่ ‘ยั่งยืน’
231. ESG แต้มต่อการลงทุน
232. หุ้นเด่น ESG ปี 59
233. ลงทุนแบบ ESG ดูอะไรกัน
234. Global Child Forum: เวทีเด็ก ที่ไม่เด็ก
235. หุ้น ESG100 เลือกอย่างไร?
236. ได้เวลาของธุรกิจเพื่อสังคมสูงวัย
237. เข้าข่าย-เข้าใจ-เข้าถึง กับการพัฒนาที่ยั่งยืน
238. 5 ระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียง
 

Saturday, November 21, 2009

CSR - it's a joint effort

By Nophakhun Limsamarnphun

Dr.Pipat Yodprudtikan explains how stakeholders need to tackle the four main issues |of perception, incentives, factual and timely communications as well as pursuing sectoral initiatives to make the corporate social responsibility movement viable in Thailand.

To push forward the corporate social responsibility (CSR) movement in Thailand, Dr Pipat Yodprudtikan, director of the non-profit Thaipat Institute, says the government and other stakeholders should join forces and tackle at least four issues.

The first is perception. Some company executives and employees often see CSR activities as giving donations to communities.

"In reality, CSR is much more than that. It's about companies' compliance with laws relevant to human rights, labour, environment, consumer protection as well as other issues.

"In other words, CSR is not just about community involvement and social development," says Pipat, who recently presented a paper on "Responsible Business Conduct in Thailand" at a regional conference held in Bangkok by the OECD and the UN.

"Some employees think CSR is not directly related to them or that CSR practices are the responsibility of certain authorised persons or the CSR department.

"In fact, it's about everyone, and every employee should take part in CSR activities.

"Our latest survey shows that more than 60 per cent of Thai companies and their employees in provincial areas are still unfamiliar with the idea of CSR so we should help increase their awareness [which is comparatively lower than that of employees in Bangkok and its surrounding areas].

"In order to address this issue, the government should play the lead role in terms of education and training, especially for small and medium enterprises [SMEs] in provincial areas.

"In addition, the Federation of Thai Industries, Thai Chamber of Commerce and other organisations in the private sector should facilitate these educational and training activities.

"We should also ask academics and higher learning institutes to produce more textbooks and learning materials on CSR as well as conduct more research on this topic in collaboration with international partners," he said.

The second issue is that there are not enough incentives, financial or otherwise, for SMEs to integrate CSR into their enterprises.

"While large enterprises can easily integrate CSR policies or come up with a CSR plan, most SMEs do not have the resources or capability to do so.

"As a result, the government should introduce incentives to help SMEs embrace responsible business practices.

"Enterprises need to define appropriate CSR strategies that take into account their resources and competency while developing a management system that allows CSR to penetrate the entire operation."

The third point is that public relations can do little to amplify an enterprise's CSR activities because CSR communication should always be factual and timely.

In this context, enterprises need to find new ways to communicate their activities across their organisation and in the public sphere.

The fourth point is that it's necessary to pursue sectoral CSR initiatives because they will have a long-term impact on the international competitiveness of Thai industries and overall economy.

The latest data shows that more and more businesses, especially export-oriented enterprises, are collaborating their CSR practices throughout the supply chain due to growing international pressure.

As a result, the government should encourage exporters of machinery and parts, electrical equipment and computer, automobile and parts, gem and jewellery as well as plastic and rubber products to prepare for CSR initiatives.

The failure to do so could lead to declining international competitiveness as more and more foreign partners enforce their CSR measures across the supply chain.

For example, stringent labour and other standards could be imposed on certain export-oriented sectors....(From column Weekend Brunch) External Link [Archived]

Wednesday, October 14, 2009

รางวัลโนเบลว่าด้วยธรรมาภิบาลทางเศรษฐกิจ

เศรษฐศาสตร์ควรได้รับการพิจารณาในมุมมองที่เป็นสหวิทยาการทางสังคมศาสตร์มากกว่าเป็นเพียงศาสตร์ที่ถูกกำกับด้วยตัวเลขทางคณิตศาสตร์โดยลำพัง

เรามักถูกครอบงำด้วยความคิดที่เป็นเศรษฐศาสตร์ในกรอบทฤษฎีของตลาด ที่เปี่ยมไปด้วยประสิทธิภาพและสามารถดูแลตัวเองได้ งานของออสตรอมและวิลเลียมสัน ผู้ซึ่งได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ ปี 2009 ได้ขยายความคิดจากทฤษฎีตลาด (Market theory) ไปสู่พฤติกรรมที่เป็นจริง (Actual behavior)

ที่ผ่านมา แนวคิดในการสงวนรักษาทรัพย์สินสาธารณะให้คงสภาพดี มีประสิทธิภาพ มี 2 แนวทางหลักคือ การออกกฎหมายควบคุมโดยรัฐ (Regulation) เช่น การกำหนดบทลงโทษ มาตรการทางภาษี หรือการให้สัมปทาน ฯลฯ กับการโอนกรรมสิทธิ์ให้เป็นของเอกชน (Privatization) ด้วยสมมติฐานว่า ผู้ครอบครองกรรมสิทธิ์จะมีแนวโน้มในการดูแลรักษาทรัพย์สินนั้นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากตนเองเป็นเจ้าของ แต่ในความเป็นจริง กลับส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อการดำรงชีพของผู้คนจำนวนมาก

งานของออสตรอมเกี่ยวข้องกับแนวคิด "ของสาธารณะ" (Commons) ที่มีเจ้าของร่วม ใช้ประโยชน์ร่วมกัน จึงต้องมีการร่วมกันรักษา เช่น กรณีของป่าชุมชน ที่ไม่มีใครได้รับเอกสิทธิ์ แต่เป็นกรรมสิทธิ์ร่วมของชุมชน เมื่อชุมชนตระหนักถึงความอยู่รอดร่วมกันในระยะยาว ชุมชนจะมีการใช้สอยประโยชน์จากป่าร่วมกัน มีการพัฒนากฎเกณฑ์สำหรับกำกับพฤติกรรมกันเอง (Self-organization) และเป็นส่วนที่ทฤษฎีตลาดมาตรฐานเข้าไปไม่ถึง สิ่งที่ออสตรอมได้แสดงให้เห็นในงานของเธอ คือการใช้กลไกควบคุมทางสังคมที่กำกับการใช้ประโยชน์สิ่งสาธารณะโดยปราศจากการแปลงสิทธิในทรัพย์สินสาธารณะนั้น

งานของวิลเลียมสันเกี่ยวข้องกับการศึกษา "แนวเขตของกิจการ" (Boundaries of the firm) ที่พบว่า การที่กิจการขนาดใหญ่ดำรงอยู่ก็เพราะมันเป็นเครื่องมือประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจบนเงื่อนไขที่เหมาะสม อย่างไรก็ดี กิจการเหล่านี้อาจมีการใช้พลังอำนาจไปในทางที่ผิด เช่น การวิ่งเต้นทางการเมืองเพื่อผลประโยชน์ รวมถึงพฤติกรรมที่เป็นปฏิปักษ์ต่อการแข่งขัน

หากกิจการโรงผลิตไฟฟ้าใช้เชื้อเพลิงถ่านหินตั้งอยู่ใกล้กับกิจการเหมืองถ่านหินซึ่งมีแหล่งเดียวในพื้นที่ การผนวกกิจการทั้งสองย่อมมีความสมเหตุสมผล แต่หากมีเหมืองถ่านหินหลายแห่งในละแวกนั้น การผนวกกับหนึ่งในกิจการเหมืองถ่านหินสามารถกัดกร่อนความได้เปรียบจากการปล่อยให้กิจการเหล่านั้นแข่งขันกันป้อนวัตถุดิบให้แก่ธุรกิจโรงไฟฟ้า นั่นแสดงว่า หากเราเลือกที่จะรวมกิจกรรมซึ่งตอบสนองโดยตลาดได้ดีอยู่แล้ว เราอาจกำลังสูญเสียความได้เปรียบบางอย่างไป

สาเหตุของการรวมกิจกรรมต่างๆ ไว้ภายในองค์การ ก็เพราะการทำธุรกรรมในตลาดเพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพยากรที่ต้องการนั้น มีต้นทุนหรือภาระภาษี ซึ่งหลีกเลี่ยงได้ด้วยการย้ายธุรกรรมนั้นๆ เข้ามาไว้ในกิจการ เป็นเรื่องของการตัดสินใจที่จะ "ทำเองหรือซื้อ" (make-or-buy)

ที่ผ่านมา องค์กรที่มีลำดับชั้นบังคับบัญชา (Hierarchical organization) ถูกเลือกเพื่อแก้ข้อขัดแย้ง เพราะในองค์การ เมื่อพนักงานเกิดเห็นไม่ลงรอยกันในการใช้ทรัพยากรของกิจการ ผู้บังคับบัญชาจะเป็นผู้ตัดสินว่าควรจะใช้ไปในทางใด แต่ในตลาด คู่กรณีจะต้องเจรจาต่อรองกันจนกว่าจะได้ข้อยุติ ซึ่งเป็นการสูญเสียทั้งเวลาและเม็ดเงิน แต่หากตลาดมีทางเลือกของสัญญาที่ใช้บังคับได้ระหว่างกันเอง หรือเกิดมีคู่ค้ารายใหม่ๆ กิจการแบบมีลำดับชั้นที่ซับซ้อนก็มีความจำเป็นน้อยลง

ทั้งนี้ กฎที่มาจากภายนอกหรือกำหนดลงมาจากผู้มีอำนาจทางเดียวจะขาดความชอบ และมีความเป็นไปได้สูงต่อการถูกละเมิด เช่นเดียวกับการสังเกตติดตามและการบังคับการปฏิบัติงานที่ควรจะดำเนินโดยคนในองค์กรมากกว่าบุคคลภายนอก ซึ่งเป็นหลักการที่สวนทางกับสามัญสำนึกว่าการเฝ้าสังเกต และการแทรกแซงต้องเป็นบทบาทของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ

ไม่ใช่ว่าออสตรอมหรือวิลเลียมสันจะต่อต้านเรื่องกฎระเบียบ ตรงกันข้าม งานของทั้งสอง ชี้ให้เห็นว่าคนในองค์กรได้มีการนำเอากติกาและกฎเกณฑ์หลากหลายรูปแบบมาใช้ในการกำกับพฤติกรรม เพียงแต่เป็นไปโดยอิสระจากข้อกำหนดกฎหมายของรัฐหรือจากผู้บังคับบัญชาในองค์กรนั่นเอง....(จากคอลัมน์ บริหารธุรกิจ-บริบาลสังคม) External Link

Tuesday, September 15, 2009

ข้อแนะนำ CSR สำหรับ SMEs

มีหลายคนถามว่า การดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการที่เป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) นั้น มีความแตกต่างจากองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่หรือไม่ และถ้าเอสเอ็มอีจะลุกขึ้นมาทำ CSR จะมีข้อแนะนำและข้อควรพิจารณาอย่างไรบ้าง

เบื้องแรก อย่าเข้าใจผิดว่า องค์กรของท่านยังไม่มี CSR หรือยังไม่ได้ทำ CSR เพราะการที่องค์กรของท่านเติบโตและยืนหยัดอยู่ในทุกวันนี้ได้ แสดงว่า กิจการของท่านต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคมอยู่แล้วไม่มากก็น้อย มิฉะนั้น สังคมคงไม่อนุญาตให้ท่านได้ทำธุรกิจอย่างที่เป็นอยู่ หรือไม่ยอมรับท่านให้เป็นสมาชิกหนึ่งของสังคมเช่นนี้

แน่นอนว่า การดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการของเอสเอ็มอี ย่อมต้องมีความแตกต่างจากธุรกิจขนาดใหญ่ นั่นก็เป็นเพราะขนาดของทรัพยากรที่มีในกิจการ ขีดความสามารถในการดำเนินงาน รวมทั้งผลกระทบที่ส่งต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมนั้นมีความแตกต่างกัน การดำเนินงาน CSR ของเอสเอ็มอี จึงควรคำนึงถึงปัจจัยในเรื่องการปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม เรียบง่ายไม่ซับซ้อน ใช้ต้นทุนที่ได้ประสิทธิภาพ และไม่มุ่งเน้นเรื่องเม็ดเงินงบประมาณ

ด้วยความที่เป็นองค์กรขนาดเล็ก เอสเอ็มอีจึงมีศักยภาพในการใช้ความคล่องตัว และความคิดแปลกใหม่ตอบสนองต่อโอกาส หรือประเด็นปัญหาทางสังคมได้ดี อีกทั้งยังมีข้อได้เปรียบในการทำ CSR เมื่อเทียบกับองค์กรขนาดใหญ่ในแง่ของความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับชุมชนท้องถิ่นและการที่ผู้บริหารสามารถชี้นำกิจกรรมขององค์กรได้อย่างทันทีทันใด

ข้อแนะนำและข้อควรพิจารณา 5 ประการ สำหรับเอสเอ็มอีในเรื่อง CSR ได้แก่

1.เนื่องจากธรรมชาติในเรื่องการบริหารงานภายใน การรายงานต่อผู้มีส่วนได้เสีย และในกระบวนการอื่นๆ ของกิจการเอสเอ็มอี มักมีความยืดหยุ่นและลำลองกว่าองค์กรขนาดใหญ่ ความโปร่งใสในการดำเนินงานจึงควรได้รับความคาดหวังในระดับที่เหมาะสม และแตกต่างจากองค์กรขนาดใหญ่
2.การกำหนดขอบเขตของการดำเนิน CSR รวมถึงการตอบสนองต่อเรื่องหลัก (core subjects) และการระบุประเด็น (issues) ปัญหาทางสังคมที่เกี่ยวเนื่อง จะต้องคำนึงถึงบริบท เงื่อนไข และทรัพยากรขององค์กร ตลอดจนประโยชน์ต่อผู้มีส่วนได้เสีย โดยไม่จำเป็นว่า เอสเอ็มอี จะต้องสนองตอบในทุกๆ ประเด็น เพียงแต่ให้ครอบคลุมในทุกเรื่องหลัก และเฉพาะในประเด็นที่เกี่ยวข้องก็ถือว่าเพียงพอแล้ว
3.มุ่งเน้นในประเด็นที่มีความสำคัญเป็นอันดับแรกๆ โดยเฉพาะประเด็นที่ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน อย่างไรก็ดี เอสเอ็มอี ควรมีแผนการดำเนินงานเพื่อสนองต่อประเด็นอื่นๆ ที่ยังมิได้ดำเนินการ ในห้วงเวลาที่เหมาะสม
4.แสวงหาความช่วยเหลือจากหน่วยงานรัฐและองค์กรภาคีต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติด้าน CSR ที่เหมาะสมกับลักษณะธุรกิจ และตรงกับความต้องการของกิจการตลอดจนผู้มีส่วนได้เสีย รวมทั้งเป็นที่ยอมรับในระดับสากล
5.ดำเนินงานด้วยการร่วมมือกับองค์กรข้างเคียงและกับธุรกิจที่อยู่ในสาขาเดียวกัน แทนการดำเนินงานโดยลำพังเมื่อมีโอกาส ทั้งนี้ เพื่อการประหยัดทรัพยากรและการเพิ่มขีดความสามารถในการดำเนินงานด้าน CSR

ข้อแนะนำและข้อควรพิจารณาสำหรับเอสเอ็มอีข้างต้น เรียบเรียงจาก ร่างมาตรฐานว่าด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม (ISO 26000: version Draft DIS) โดยมุ่งหวังว่าจะเกิดประโยชน์ต่อกิจการเอสเอ็มอีที่สนใจในเรื่องการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมที่เหมาะสมกับองค์กรของตนเองบ้างไม่มากก็น้อย....(จากคอลัมน์ บริหารธุรกิจ-บริบาลสังคม) External Link [Archived]

Saturday, September 05, 2009

Be accountable to those around you

By Nophakhun Limsamarnphun

Dr Pipat Yodprudtikan is helping the government lead the |public and private sectors on the path of social responsibility

Dr Pipat Yodprudtikan, director of the Thaipat Institute, and his colleagues are helping the government formulate the country's first public policy on corporate social responsibility (CSR).

The institute recently submitted a four-point proposal to the Social Development and Human Security Ministry for consideration.

First, Pipat says, the country needs a comprehensive "mandate" on this crucial issue, which affects not only the private sector, but also the rights of communities, among other things.

"We could be one of the first countries in Southeast Asia to adopt this sort of public policy," he says.

In this context, the country already has Article 67 of the Constitution in place, which requires the private sector to take into account the rights of communities whenever they plan to set up large-scale industries in the vicinity of communities.

For example, investors will be required to get the consent of the community before they can go ahead with their projects because their schemes might end up affecting the quality of life of people in the area.

A public policy on CSR will cover more measures relevant to such compliance in greater detail.

In addition, there could be tax measures on air, water and other types of pollution as well as on the disposal of waste.

Secondly, the government needs to facilitate the private sector to do more work on social responsibility. For instance, there ought to be more state-sponsored public forums to be held on the CSR issue.

Thirdly, the country needs to form a social public/private sector partnership so that there are more resources and skills to carry out CSR and other related schemes.

For example, a partnership could be involved in projects to provide shelter to the homeless with the public sector providing land plots and the private sector seeking funds to build the shelter.

Another example is to invite the private sector to look after public parks and provide maintenance services as part of their social responsibility.

Fourthly, the government needs to support the endorsement of this corporate-cum-social movement by providing specific tax incentives on CSR projects and granting recognition in the form of annual prime minister's awards for outstanding work.

Apart from CSR, Pipat is also a champion of the sufficiency economic model based on His Majesty the King's philosophy.

"In my opinion, CSR is a key application of this sufficiency economy philosophy. Generally speaking, capitalism is about the accumulation of wealth.

"When it's applied, it also means maximisation of shareholders' wealth. However, one of CSR's objectives is different because it doesn't seek to maximise wealth, but rather to minimise conflicts among all the stakeholders [involved in the process of wealth creation].

"This means we need to take into consideration the interests of employees, communities etc.

"The new requirement for industries to seek consent from communities before expanding their industrial plants is a good example [as community welfare, rather than just profit maximisation, should also be a key factor in the process of wealth creation]," he said.

Earlier, residents of Rayong province on the eastern seaboard and other provinces fiercely fought against rapid industrialisation in their communities because of negative consequences on their health and lifestyles.

In this context, CSR can help minimise such conflicts, as it seeks to take the middle path as far as economic and social development is concerned....(From column Weekend Brunch) External Link [Archived]

Thursday, July 30, 2009

วิสัยทัศน์ CSR ระดับองค์กร

ด้วยข้อเท็จจริงที่ซีเอสอาร์จะต้องดำเนินไปในทิศทางที่สะท้อนให้เห็นถึงวิสัยทัศน์ (What we want to be) และพันธกิจ (Why we exist) ขององค์กร ดังนั้นเป้าประสงค์ (Goals) และนโยบาย (Policies) การดำเนินซีเอสอาร์ขององค์กรจึงต้องถูกวางให้มีความเชื่อมโยงและสอดคล้องกับวิสัยทัศน์และพันธกิจขององค์กรนั้นๆ

องค์กรไม่มีความจำเป็นต้องกำหนดวิสัยทัศน์เฉพาะด้านซีเอสอาร์ขึ้นใหม่ เพราะธรรมชาติของการดำเนินซีเอสอาร์จะต้องถูกผนวกเข้ากับการดำเนินธุรกิจ วิสัยทัศน์ขององค์กรจึงควรสะท้อนสิ่งสำคัญๆ ที่องค์กรต้องการมุ่งไปสู่ในอนาคต ซึ่งรวมถึงเรื่องซีเอสอาร์สำหรับองค์กรที่ได้กำหนดให้เป็นวาระสำคัญในลำดับต้นๆ

ทั้งนี้ แต่ละองค์กรอาจมีการเลือกประเด็นทางสังคม (Social Issues) และพื้นที่การดำเนินงานซีเอสอาร์ที่แตกต่างกัน อันเนื่องมาจากวิสัยทัศน์และพันธกิจของแต่ละองค์กรมีความแตกต่างกันนั่นเอง

โดยทั่วไปการพัฒนาซีเอสอาร์ขององค์กรธุรกิจจะต้องครอบคลุมใน 3 ด้านหลัก ที่มุ่งไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ได้แก่ การพัฒนาทั้งด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม และด้านสิ่งแวดล้อม ให้มีความสมดุล ภายใต้ชื่อที่เรียกต่างๆ กัน เช่น ESG ซึ่งมาจาก Environment-Social-Governance หรือ PPP ซึ่งมาจาก Planet-People-Profit หรือ TBL ซึ่งย่อมาจาก Triple Bottom Line ที่ขยายการให้ความสำคัญของบรรทัดสุดท้ายในทางธุรกิจ ที่เป็นกำไรสุทธิจากการดำเนินงาน ไปสู่การคำนึงถึงผลประกอบการด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมด้วย

ในแง่ขององค์กร ซึ่งมีความเข้าใจดีถึงภารกิจหลักว่าการดำเนินงานขององค์กรได้คำนึงถึงผลกระทบด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมอยู่แล้ว แม้จะมิได้ปรากฏอยู่ในข้อความ (statement) ของวิสัยทัศน์และพันธกิจ แต่พึงระลึกว่า สำหรับบุคคลหรือหน่วยงานภายนอก อาจมิได้ล่วงรู้เจตนารมณ์ขององค์กรดีเท่ากับผู้ที่อยู่ในองค์กร การที่บุคคลหรือหน่วยงานภายนอกจะพิจารณาว่า องค์กรได้ให้ความสำคัญในเรื่องซีเอสอาร์มากน้อยเพียงใด จำต้องอาศัยจากข้อมูลเอกสารที่ปรากฏเผยแพร่ ฉะนั้นการแสดงให้เห็นถึงเจตนารมณ์อย่างเป็นรูปธรรมทางหนึ่ง ก็คือ การระบุในข้อความที่เป็นวิสัยทัศน์และพันธกิจขององค์กร

แนวปฏิบัติสำหรับการวิเคราะห์วิสัยทัศน์และพันธกิจสำหรับการพัฒนาซีเอสอาร์ ได้แก่

การจัดทำวิสัยทัศน์และพันธกิจขององค์กร (ถ้ายังไม่มี)
พิจารณาความครอบคลุมของวิสัยทัศน์ที่มีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
ปรับปรุงวิสัยทัศน์ให้สะท้อนถึงเจตนารมณ์ด้านซีเอสอาร์ตามความเหมาะสม
ตรวจสอบและปรับปรุงขอบข่ายการดำเนินงานในพันธกิจให้มีความสอดคล้องกับวิสัยทัศน์
วางเป้าประสงค์การดำเนินซีเอสอาร์ขององค์กรที่นำไปสู่การบรรลุวิสัยทัศน์
กำหนดนโยบายการดำเนินซีเอสอาร์ให้เชื่อมโยงสู่เป้าประสงค์ที่วางไว้


ตัวอย่างวลีในวิสัยทัศน์และพันธกิจที่บ่งชี้ถึงเจตนารมณ์ที่เกี่ยวเนื่องกับซีเอสอาร์ อาทิ “...อย่างยั่งยืน” “...ชั้นนำและเป็นที่ยอมรับของสังคม” “...และมีความรับผิดชอบต่อสังคม” “.....ควบคู่กับการ.....สังคมและสิ่งแวดล้อม” “...เป็นบรรษัทพลเมืองที่ดี”

สำหรับข้อความที่ระบุถึงเป้าประสงค์การดำเนินซีเอสอาร์ขององค์กร เช่น “การส่งเสริมสมรรถนะความรับผิดชอบต่อสังคม ที่สอดคล้องกับความสามารถและทรัพยากรของกิจการ เพื่อยกระดับสู่การเป็นองค์กรที่มีขีดสมรรถนะสูง (High Performance Organization) ในการดำเนินงานด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม” หรือ “มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพการแข่งขัน ใช้ทรัพย์สินที่มีให้เกิดประโยชน์สูงสุด พัฒนาองค์กรสู่ความเป็นผู้นำของภูมิภาค และมีความรับผิดชอบต่อสังคม”...(จากคอลัมน์ บริหารธุรกิจ-บริบาลสังคม) External Link [Archived]

Monday, June 29, 2009

การทำซีเอสอาร์เชิงระบบ

ปัจจุบันการทำซีเอสอาร์ขององค์กรธุรกิจ มิได้จำกัดอยู่เพียงกิจกรรมเพื่อสังคม ที่มักเป็นการช่วยเหลือชุมชนหรือการตอบแทนสังคมในรูปแบบต่างๆ เช่น การบริจาคเงิน สิ่งของ หรือการอาสาร่วมพัฒนาชุมชน ที่แยกต่างหากจากกระบวนการทางธุรกิจ หลายองค์กรได้มีการผนวกเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมเข้าไว้ในกิจกรรมหลักขององค์กร (Integrating CSR into an organization) ซึ่งถือเป็นแนวปฏิบัติที่ได้กลายเป็นมาตรฐานสากลในเรื่อง CSR ไปแล้ว

แนวการดำเนินงาน CSR เชิงระบบ แบ่งออกเป็น 7 ส่วนหลัก ได้แก่ ความสัมพันธ์ของคุณลักษณะองค์กรกับเรื่อง CSR ความเข้าใจในเรื่องCSRขององค์กร การบูรณาการเรื่อง CSRทั่วทั้งองค์กร การสื่อสารเรื่อง CSR การเพิ่มความเชื่อถือได้ในการดำเนิน CSR ขององค์กร การทบทวนและปรับปรุงการปฏิบัติดำเนินงานขององค์กรที่เกี่ยวกับ CSR และการริเริ่มกิจกรรม CSR โดยสมัครใจ

การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของคุณลักษณะองค์กรกับเรื่อง CSR จะทำให้องค์กรเข้าถึงหัวใจสำคัญของความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งปัจจัยในการวิเคราะห์ ควรประกอบด้วย สถานที่ตั้ง สังคม สิ่งแวดล้อม กิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับองค์กร ความห่วงใยต่อผู้มีส่วนได้เสีย และผู้ที่เกี่ยวข้องกับสายอุปทาน เป็นต้น เพื่อการตัดสินใจและนำไปสู่การปฏิบัติ

ประเด็นที่ต้องทำความเข้าใจในเรื่อง CSR ขององค์กรที่ไม่ควรมองข้าม ได้แก่ ความเข้าใจที่ตรงกันและนัยสำคัญของเรื่องหลักต่างๆ ต่อองค์กร ความสามารถในการโน้มน้าวเชิงบวก และการเรียงลำดับความสำคัญของปัญหาตามเรื่องหลักและประเด็นความรับผิดชอบต่อสังคม

หัวข้อหลักสำหรับการบูรณาการเรื่องCSRสู่องค์กร ประกอบด้วยเนื้อหาในส่วนที่เป็นการสร้างเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมเข้าสู่องค์กร การกำหนดทิศทางขององค์กรที่คำนึงความรับผิดชอบต่อสังคม ตลอดจนการสร้างการรับรู้และขีดความสามารถในด้านความรับผิดชอบต่อสังคม

ในเรื่องการสื่อสารเรื่องCSR นอกเหนือจากบทบาทของการสื่อสารในเรื่องของความรับผิดชอบต่อสังคมแล้ว องค์กรควรคำนึงถึงคุณลักษณะของข้อมูลที่เกี่ยวเนื่องกับความรับผิดชอบต่อสังคมที่ใช้ในการสื่อสาร ซึ่งควรจะสามารถเข้าใจได้ (Understandable) มีการตอบสนองที่ดี (Responsive) มีความแม่นยำ (Accurate) มีความสมดุลรอบด้าน (Balanced) ทันต่อเหตุการณ์ (Timely) และนำมาใช้ได้ (Available) ตลอดจนการสื่อสารเกี่ยวกับการทำงานขององค์กร รวมทั้งการพูดคุยกับผู้มีส่วนได้เสียอย่างสม่ำเสมอ

การเพิ่มความเชื่อถือได้ในการดำเนินCSRขององค์กร จะเริ่มตั้งแต่การพิจารณาวิธีการเพิ่มความน่าเชื่อถือ การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งหรือความไม่ลงรอยกันระหว่างองค์กรกับผู้มีส่วนได้เสีย และการส่งเสริมความน่าเชื่อถือของการสื่อสารเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคม อาทิ การจัดทำรายงานความรับผิดชอบต่อสังคม หรือการอ้างอิงผลการดำเนินงานซึ่งเกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบต่อสังคม

นอกจากนี้ องค์กรควรมีการทบทวนและปรับปรุงการปฏิบัติดำเนินงานที่เกี่ยวกับ CSR เป็นระยะๆ ซึ่งรวมถึงการสอดส่องดูแลกิจกรรมCSR การทบทวนความคืบหน้าและผลการปฏิบัติงานด้านCSRขององค์กร การเพิ่มความเชื่อถือได้ของการเก็บรวบรวมและการจัดการข้อมูลและรายละเอียด เพื่อนำมาสู่การปรับปรุงผลการดำเนินงานที่เกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างต่อเนื่อง

ส่วนการริเริ่มกิจกรรมCSRโดยสมัครใจ องค์กรอาจมีการพิจารณาดำเนินงานCSRร่วมกับองค์กรอื่นๆ หรือเป็นผู้ริเริ่มชักนำให้องค์กรข้างเคียงดำเนินกิจกรรมCSRร่วมกับองค์กรตนเอง หรือมีความพร้อมถึงขั้นที่จะพัฒนาโครงการสาธารณะเพื่อยกระดับความรับผิดชอบต่อสังคมในวงกว้าง

แนวการดำเนินงานCSRเชิงระบบที่กล่าวมาข้างต้นนี้ เป็นข้อแนะนำที่อ้างอิงมาจาก “Integrating social responsibility into an organization” ที่ระบุอยู่ในร่างมาตรฐานว่าด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม (ISO 26000) ซึ่งในปัจจุบัน สถานะของมาตรฐานฉบับนี้อยู่ในขั้น Draft International Standard (DIS) แล้วครับ...(จากคอลัมน์ บริหารธุรกิจ-บริบาลสังคม) External Link [Archived]

Sunday, May 31, 2009

'อย่าไว้ใจความคิดตัวเอง'

ถอดสูตร ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ

แม้บุคลิกจะเป็นคนชอบทำงานอยู่เบื้องหลัง แต่ชื่อ ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์ มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ก็ได้รับการยอมรับ เป็นหนึ่งในผู้รอบรู้และมีประสบการณ์โดดเด่นด้านบรรษัทบริบาล(CSR) และการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง ที่นำมาใช้กับภาคธุรกิจ เป็นภูมิคุ้มกันภัยให้กับองค์กรฝ่าวิกฤติได้ในทุกสภาวะ

และทำให้วันนี้สถาบันไทยพัฒน์ไม่เพียงกลายเป็นองค์กรที่เชี่ยวชาญด้านกิจกรรมและโครงการซีเอสอาร์ แต่ยังมีรูปแบบการทำงานที่สะท้อนความเป็นตัวตนอย่างชัดเจน

"วิธีการดูแลพนักงานผมเน้นลักษณะเปิดโอกาสให้พนักงานทุกคนได้มีส่วนร่วมในการคิดแผน แสดงความคิดเห็นอย่างเท่าเทียมกัน ไม่ใช่เป็นการสั่ง ถ้าภาษาของเถ้าแก่สมัยก่อนก็จะบอกว่าเป็นรูปแบบครอบครัว แต่ของเราเป็นแบบครอบครัวที่ไม่ได้มีการนับญาติเป็นใหญ่ เพราะว่าจะเป็นการทำงานในเชิง Professional"

ขณะที่รูปแบบการทำงานภายนอกองค์กร จะเปิดโอกาสในการทำงานแบบ ร่วมมือกันหรือมีส่วนร่วมด้วยนวัตกรรม (Contribution by Innovation)

"ตั้งแต่เด็ก เพื่อนๆ จะพูดเหมือนกัน คือ ผมจะไม่ค่อยพูดหรือ เล่าเรื่องราวตัวเองก่อน แต่จะคอยฟัง ถ้าคิดว่าจะสามารถเพิ่มเติมหรือเสริมอะไรได้ก็จะทำ ซึ่งกลายเป็นอุปนิสัยทั้งของตัวผมเองและองค์กรที่จะคอยรับฟังแล้วดูว่าอะไรที่เราช่วยได้ก็จะเข้าไปเสริม"

ส่วนหนึ่งที่เป็นสิ่งกำหนดตัวตน ดร.พิพัฒน์ บอกว่า พื้นเพครอบครัวเป็นคนหัวหิน เรียนเก่ง และชอบอ่านหนังสือท่านพุทธทาสมาตั้งแต่เด็ก พ่อแม่ไม่ค่อยให้ไปเที่ยวเล่นไกลต้องอยู่ในสายตาตลอด พอสอบเข้าเตรียมอุดมฯได้ ครอบครัวก็ย้ายมาอยู่กรุงเทพฯ หลังจากนั้นก็ต่อวิศวกรรมไฟฟ้าที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

วิถีชีวิตที่ผ่านมาค่อนข้างเรียบง่ายเหมือนบุคลิกส่วนตัว โดยเริ่มต้นทำงานเป็นวิศวกรไฟฟ้าอยู่พักใหญ่พร้อมกับเรียนต่อปริญญาโทด้านไอทีที่จุฬาฯ หลังจากนั้นชีวิตจึงหักเหมาทำงานด้านไอทีกับ เอคเซนเจอร์ บริษัทที่ปรึกษาระดับโลกพักหนึ่งจนกระทั่ง ปี 2543 ได้ไปเรียนต่อปริญญาเอกด้านพระพุทธศาสนา(Buddhist Studies) ที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

ดร.พิพัฒน์เผยว่าจุดเปลี่ยนเริ่มขึ้น ตอนเรียนปริญญาเอกได้เจอกับ อ.อภิชัย พันธเสน ซึ่งเชี่ยวชาญเรื่องเศรษฐศาสตร์และกำลังเขียนหนังสือ "พุทธเศรษฐศาสตร์" รู้สึกประทับใจจึงขอเข้าไปช่วยงานเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงด้านฐานข้อมูลวิจัย หลังๆ ได้รับความไว้วางใจให้ทำวิจัยและเป็นหัวหน้าทีมเอง

ตอนนั้นทำงานเป็นลูกจ้างเอคเซนเจอร์ เงินเดือนก็โอเค แต่ความรู้สึกแต่ละวันที่ตื่นมาทำงานมันเหมือนแห้งแล้งไม่ชุ่มชื่นหัวใจ แม้กระทั่งเพื่อนยังต้องแข่งกัน ก็รู้สึกว่าน่าจะมีแนวทางทำงานแบบที่ไม่ต้องสุดโต่ง คือทำงานเป็นครอบครัวและมีผลงานได้ด้วย จึงร่วมกับเพื่อนก่อตั้ง "ชมรมไทยพัฒน์" ภายหลังเปลี่ยนสถานภาพเป็น "สถาบันไทยพัฒน์" และอยู่ภายใต้มูลนิธิ ตั้งแต่นั้นมา

"แม้กลุ่มผู้ริเริ่มจะเป็นพุทธเศรษฐศาสตร์แต่เราไม่ได้ยึดติด หลักการทำงานเราจะเรียกรวมๆ ว่า แนวการดำเนินธุรกิจแบบกระแสรอง คล้ายๆ เศรษฐศาสตร์ทางเลือกไม่ใช่กระแสหลักที่เป็นทุนนิยม"

ดร.พิพัฒน์ อธิบายว่า ตอนเรียนพุทธศาสนาไม่ได้ตั้งใจเอามาใช้ในการงาน แต่เป็นความสนใจส่วนตัว เพียงแต่มีหลายสิ่งนำมาใช้ประโยชน์กับองค์กรได้ "ตอนแรกไม่ได้คิดว่าจะเอาตรงนี้มาเป็นอาชีพให้คำปรึกษา แต่มุ่งเรื่องการทำงานอย่างมีความสุข ไม่ต้องแข่งขันมาก พอได้รู้จักอาจารย์อภิชัย ซึ่งสอนเรื่องพุทธเศรษฐศาสตร์ เศรษฐกิจพอเพียง และ ซีเอสอาร์ ที่เกี่ยวข้องกันก็เลยได้มาทำจริงจัง"

ซึ่งดร.พิพัฒน์เชื่อว่าเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง และซีเอสอาร์ องค์กรในเมืองใหญ่มีทำกันอยู่เพียงแต่ไม่รู้ว่าสิ่งนี้เรียกว่าอะไร จึงไปชี้ให้เห็นว่าที่ทำอยู่นั้นจัดอยู่หมวดหมู่ไหน "การทำซีเอสอาร์จริงๆ แล้ว สอดคล้องกับหลักธรรม เช่น การให้ทาน ซึ่งการให้ที่มีอานิสงค์ต้องดูทั้งผู้ให้ ของที่ให้และทั้งผู้รับด้วย"

จึงไม่ต่างจากหลักการทำงาน ที่ดร.พิพัฒน์ บอกว่า "ต้องเปิดด้วยความจริงใจ ซึ่งใช้เวลา และไม่มีสูตรสำเร็จ" อธิบายว่าวิถีการทำธุรกิจ ระหว่างแนวทางทุนนิยมและแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง หรือ พุทธเศรษฐศาสตร์ ล้วนมีความเชื่อที่ต่างกัน "ธุรกิจที่ทำวันนี้เหมือนมีความเชื่อว่าทำงาน ผลิตของเพื่อแลกกับเงิน แล้วเอาเงินไปแลกกับความสุข เป็นรูปแบบที่คนทำงานหาเงินไปซื้อความสุข แต่ความสุขที่ซื้อมาแต่ละวันเป็นความสุขจากที่ต้องทนทำงานแบบสุดโต่ง"

ขณะที่ทางพุทธเศรษฐศาสตร์ หรือ เศรษฐกิจพอเพียง จะให้ความสำคัญกับทุนที่เป็นคน มีจิตวิญญาณ ไม่ต้องสุดโต่งเพื่อแลกกับเงินมาซื้อความสุข แต่สามารถทำงานแล้วมีความสุขสบายใจไปด้วย

ซึ่งสอดรับกับหลักปรัชญาในการทำงาน ที่ ดร.พิพัฒน์ ยึดคติที่ได้รับการปลูกฝังมาตั้งแต่เด็ก คือ "ทำแต่ความดี" และ "อย่าไว้ใจความคิดตัวเอง" เพราะว่ายิ่งเราประสบความสำเร็จ ยิ่งไม่ปลอดภัยจากการปรุงแต่งของจิตที่อคติ "การได้ทบทวนความคิดของเราบางทีช่วยให้ทำอะไรได้มากกว่าที่เป็นอยู่"

ผ่านประสบการณ์ทำงานมาพอสมควร ดร.พิพัฒน์ ยังมีข้อคิดเสริมการทำงานคนรุ่นใหม่ที่กำลังจะก้าวสู่การเป็นนักบริหารที่ดีว่า นอกเหนือจากการเปิดใจรับฟังเพื่อนร่วมงานแล้ว องค์ประกอบที่สำคัญอีกส่วนคือ ต้องมีความอดทน มีความเพียร อย่าเอาแต่โทษปัจจัยภายนอกโดยไม่มองตัวเอง

พร้อมกับอ้างถึงพระราชดำรัสในหลวงพระราชทานกับข้าราชการที่มักบ่นให้พระองค์ท่านฟังอ้างถึงการทำงานไม่ได้เพราะขาดงบประมาณ ขาดทรัพยากร ขาดการประสาน สิ่งที่พระองค์ท่านตรัสคำเดียวว่า "เราต้องทำงานบนความขาดแคลน คือถ้าไปรอให้ทุกอย่างพร้อม รับรองไม่ได้ทำ แต่ท่านเริ่มทำในสิ่งที่ท่านมีอยู่ตรงหน้าในปัจจุบันให้ดีที่สุด ทำไปแล้วมีคนมาเติมทรัพยากรให้ก็ถือว่าเป็นเรื่องดี แต่ถ้าไม่มีคนมาเติมให้ก็ต้องทำงานบนความขาดแคลน"

น่าจะเป็นคติที่เหมาะกับการบริหารธุรกิจที่วันนี้ต้องทำงานบนปัจจัยที่มีอยู่ตรงหน้า ถ้าจะรอให้เศรษฐกิจกระเตื้องก่อน ก็ไม่รู้ว่าจะต้องรอไปถึงกี่ปี

(จาก Section CEO Focus ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 29 ฉบับที่ 2,431 วันที่ 31 พ.ค.-3 มิ.ย. 2552)

Wednesday, May 27, 2009

การปลูกฝัง CSR ในองค์กร

ในวันนี้เรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ หรือ Corporate Social Responsibility - CSR ได้แผ่ขยายเข้าไปในหลายธุรกิจ จนทำให้ผู้บริหารองค์กรต่างต้องทำการศึกษารับมือ เพื่อค้นหาแนวทางในการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคม ที่เหมาะสมสำหรับองค์กรของตนเองกันอย่างขนานใหญ่

ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า การที่ท่านเพิ่งศึกษาหรือรับทราบเรื่องราว CSR จากภายนอก มิได้หมายความว่า ที่ผ่านมาองค์กรของท่านมิได้มีเรื่อง CSR อยู่ในองค์กร หากแต่สิ่งที่ท่านทำอยู่ ยังไม่ได้เรียกหรือสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจในภาษา CSR เท่านั้นเอง

แท้ที่จริงแล้ว ในทุกองค์กรธุรกิจ ล้วนแล้วแต่มีการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมอยู่แล้วทั้งสิ้น จะต่างกันก็ตรงความเข้มข้นของการดำเนินงานที่มีมากน้อยไม่เหมือนกัน องค์กรหนึ่งอาจมีความสำนึกรับผิดชอบสูงกว่า ขณะที่อีกองค์กรหนึ่งอาจมีการใช้ทรัพยากรในการดำเนิน CSR ได้อย่างมีประสิทธิภาพดีกว่า หรือองค์กรหนึ่งอาจสร้างให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมได้อย่างกว้างขวางกว่า หรือองค์กรอีกแห่งหนึ่งอาจส่งมอบผลลัพธ์จากการดำเนิน CSR ให้แก่สังคมได้ประสิทธิผลมากกว่า ฉะนั้น การพิจารณาเรื่อง CSR ในองค์กรหนึ่งๆ จึงต้องคำนึงถึงทั้ง ‘กระบวนการ-ผลลัพธ์’ ควบคู่กันไป

เป็นเรื่องจริงที่องค์กรธุรกิจหนึ่งๆ แม้จะดำเนินกิจกรรม CSR สู่ภายนอกจนได้รับรางวัลต่างๆ นานา แต่กลับพบว่า พนักงานในองค์กรมิได้มีความรู้สึกภาคภูมิใจหรือมีส่วนในความสำเร็จร่วมกับองค์กรนั้นๆ ด้วยเลย แสดงว่าองค์กรธุรกิจนี้ อาจต้องไปปรับปรุง “กระบวนการ” ดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมภายในองค์กรเอง

การส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมของพนักงาน เป็นเงื่อนไขสำคัญในการขับเคลื่อนกิจกรรม CSR ขององค์กร ยังมีหลายองค์กรที่เข้าใจผิดคิดว่า การให้พนักงานเข้ามามีส่วนร่วมดำเนินกิจกรรม CSR จะทำให้เสียเวลางานหรือมีผลกระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่ จึงใช้วิธีว่าจ้างหน่วยงานภายนอกดำเนินงานให้ โดยมีการตั้งผู้รับผิดชอบหรือมอบหมายให้ฝ่ายงานใดฝ่ายงานหนึ่งมาคอยกำกับดูแลกิจกรรม CSR ดังกล่าว

การให้บริการลูกค้าอย่างซื่อสัตย์และเต็มใจ การปฏิบัติต่อคู่ค้าอย่างซื่อตรงและเป็นธรรม การดูแลสวัสดิภาพ ความปลอดภัย อาชีวอนามัยในการทำงาน หรือการไม่ใช้ตำแหน่งหน้าที่ในการแสวงหาผลประโยชน์ในทางที่มิชอบ กิจกรรมที่ยกมาเป็นตัวอย่างเหล่านี้ ล้วนเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบต่อสังคมทั้งสิ้น และไม่สามารถมอบหมายให้บุคคลภายนอกมาดำเนินการแทนได้ แต่เป็นเรื่องที่ต้องปลูกฝังให้แก่พนักงานในองค์กรโดยตรง...(อ่านรายละเอียดในคอลัมน์ บริหารธุรกิจ-บริบาลสังคม) External Link [Archived]

Monday, May 04, 2009

การเตรียมข้อมูลสำหรับรางวัล CSR

ถือเป็นเรื่องปกติสำหรับองค์กรธุรกิจและรัฐวิสาหกิจต่างๆ ที่ดำเนินงานด้านบรรษัทบริบาล (Corporate Social Responsibility : CSR) มาอย่างต่อเนื่อง จะคำนึงถึงการเสนอชื่อหน่วยงานหรือโครงการเข้าประกวด เพื่อให้ได้ชื่อว่าเป็นวิสาหกิจดีเด่นในการดำเนินงานด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมจากหน่วยงานผู้มอบรางวัล CSR Award ต่างๆ

คำถามที่เกิดขึ้นในองค์กรธุรกิจและรัฐวิสาหกิจที่มีความสนใจเข้าร่วมประกวดส่วนใหญ่คือ จะมีเกณฑ์อะไรในการคัดเลือกโครงการที่สมควรได้รับรางวัล หรือเรียกว่าเข้าตากรรมการผู้พิจารณามอบรางวัล CSR Award และมีความโดดเด่นกว่าโครงการขององค์กรอื่นๆ

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจกันทั้งฝั่งของผู้เสนอตัวเข้าประกวดและกรรมการผู้ตัดสินรางวัลว่า CSR เป็นความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ ซึ่งหมายถึงการดำเนินงานขององค์กรที่คำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ที่รวมทั้งงานหรือภาระหน้าที่ในกระบวนการ (CSR in process) และที่ทำเพิ่มเติมโดยสมัครใจ เพื่อช่วยเหลือสังคมและสิ่งแวดล้อมนอกกระบวนการ (CSR after process) นับ ตั้งแต่การเยียวยาฟื้นฟูจากที่ติดลบให้กลับเป็นปกติ และจากปกติให้น่าอยู่หรือเป็นบวกมากขึ้น การดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ จึงต้องถูกผนวกอยู่ในทุกกระบวนการงานขององค์กร มิใช่เป็นกิจกรรม/โครงการเพื่อสังคม เพียงกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง หรือโครงการใดโครงการหนึ่งเท่านั้น

ฉะนั้นหากองค์กรใดกำลังพิจารณาที่ตัวโครงการเพื่อส่งเข้าประกวดเป็นหลัก หรือในฝั่งกลับกัน หากหน่วยงานผู้มอบรางวัลพิจารณาตัดสินที่ตัวโครงการเป็นหลัก ก็ แสดงว่ายังไม่มีความเข้าใจในเรื่องนี้อย่างดีพอที่จะส่งเข้าประกวด หรือที่จะมาพิจารณามอบรางวัลกันทั้งสองฝ่าย ยกเว้นว่าเวทีการประกวดนั้น มีข้อกำหนดที่เฉพาะเจาะจงว่า เป็นการประกวดกิจกรรมเพื่อสังคมหรือโครงการเพื่อสังคม ซึ่งก็ถือเป็นอีกเรื่องหนึ่ง

นอกจากปัจจัยในเรื่องเนื้อหาการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการที่ต้องมีความเข้มข้น สามารถตอบโจทย์หรือปัญหาของสังคมได้ตรงตามต้องการ และก่อให้เกิดผลกระทบอย่างจริงจังแล้ว การให้ข้อมูลหรือการตอบแบบสอบถามเพื่อเข้ารับการพิจารณาคัดเลือกรับรางวัล ก็ถือเป็นปัจจัยสำคัญหนึ่งที่มองข้ามไม่ได้ เพราะหลายครั้งที่องค์กรซึ่งดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมได้อย่างน่ายกย่อง แต่กลับไม่ได้รับรางวัล เนื่องจากขาดการเตรียมข้อมูลที่ดีพอ และมิได้หมายความว่า วิสาหกิจอื่นซึ่งได้รับรางวัลจะดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมได้ดีไปกว่าองค์กรเหล่านี้แต่อย่างใด

การตอบแบบสอบถามเพื่อเข้ารับการพิจารณาคัดเลือกรับรางวัลจะต้องประกอบด้วยความแม่นยำ (accuracy) ความครอบคลุม (coverage) ความมีนัยสำคัญ (materiality) และความชัดเจน (clarity) โดยประเด็นที่อยากจะกล่าวถึงในที่นี้คือ เรื่องความครอบคลุมและความมีนัยสำคัญของเนื้อหาการดำเนินงานด้านสังคมและ สิ่งแวดล้อม...(จากคอลัมน์ CEO Talk) External Link [Archived]

Wednesday, April 08, 2009

รายงาน CSR ประเทศไทย

สถาบันไทยพัฒน์ มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดเวที “รายงาน CSR ประเทศไทย” ขึ้น เมื่อเร็วๆ นี้ โดยได้รับความร่วมมือจาก บมจ.กสท โทรคมนาคม บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) และ บจ.โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย โดยนอกจากได้มีการเผยผลสำรวจแนวโน้มการดำเนินกิจกรรม CSR ในปี 2552 จากผู้ประกอบการทั้งในส่วนกลางและท้องถิ่นแล้ว ยังได้มีการนำข้อมูลที่สังเคราะห์ จากผลการระดมสมองที่ตกผลึกเป็นแนวทาง CSR โมเดลภูมิปัญญาท้องถิ่น 75 จังหวัดทั่วประเทศ จากการเดินทางสายเสริมสร้างความรู้ CSR สู่ภูมิภาค ในโครงการ CSR Campus มานำเสนอในงานครั้งนี้ด้วย

ข้อมูล CSR ในแต่ละภูมิภาค ที่เป็นการระดมสมองจากผู้เข้าร่วมโครงการ CSR Campus จำนวน 4,000 คนในทุกจังหวัดทั่วประเทศ พบว่า ในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือ 17 จังหวัด ได้เลือก “ธรรมชาติ-ศิลปวัฒนธรรม” เป็นประเด็นหลัก มีแนวทางการพัฒนา CSR ใน 4 กลุ่ม ได้แก่ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การฟื้นฟูคุณภาพชีวิตและศิลปวัฒนธรรม การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และเกษตรปลอดภัย

กลุ่มจังหวัดภาคอีสาน 19 จังหวัด จะเน้น “อาชีพ-แหล่งผลิต” เป็นประเด็นหลัก มีแนวทางการพัฒนา CSR ใน 5 กลุ่ม ได้แก่ เรื่องข้าวและเกษตรอินทรีย์ การฟื้นฟูแหล่งผลิตและอารยธรรมดั้งเดิม การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และวัฒนธรรมท้องถิ่น การพัฒนาเมืองและชุมชนน่าอยู่ รวมทั้งการแก้ไขภาวะโลกร้อน

ส่วนในกลุ่มจังหวัดภาคกลาง 25 จังหวัด จะมุ่งลดผลกระทบ “สังคม-สิ่งแวดล้อม” เป็นประเด็นหลัก มีแนวทางการพัฒนา CSR ใน 4 กลุ่ม ได้แก่ สิ่งแวดล้อมและสุขภาวะ ความเป็นอยู่และความปลอดภัยในการบริโภค การฟื้นฟูธรรมชาติการเกษตรและแหล่งท่องเที่ยว ตลอดจนประเด็นเชิงนิเวศน์ ประวัติศาสตร์ และชุมชน

ขณะที่ในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ 14 จังหวัด ชูสังคม “สะอาด-น่าอยู่” เป็นประเด็นหลัก มีแนวทางการพัฒนา CSR ใน 2 กลุ่ม ได้แก่ ปัญหามลภาวะจากขยะน้ำเสีย และการปรับปรุงคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่

สำหรับรายละเอียดแนวทางการพัฒนา CSR ในแต่ละจังหวัด ทางโครงการฯ ได้จัดทำเป็นหนังสือ CSR 4 ภาค บทสรุปแห่งการเดินทางของโครงการ CSR Campus องค์กรธุรกิจใดที่สนใจจะนำไปใช้ประโยชน์ในการวางกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมในพื้นที่ และใช้ศึกษาเพื่อทำความเข้าใจสภาพแวดล้อมตลอดจนบริบทของสังคมท้องถิ่นที่มีผลต่อการดำเนินกิจกรรม CSR ขององค์กร สามารถติดต่อขอรับได้ที่ บมจ.กสท โทรคมนาคม ฝ่ายส่งเสริมภาพลักษณ์องค์กร โทร.02-104- 3508 หรือ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) สำนักงานสำนึกรักบ้านเกิด (CSR Office) โทร.02-202-8000 และ บจ.โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย สำนักงานวางแผนส่งเสริมสังคม โทร. 02-386-1393-5 ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป...(จากคอลัมน์ บริหารธุรกิจ-บริบาลสังคม) External Link [Archived]

Friday, March 13, 2009

เมื่อ CSR ขยับเป็นวาระนานาชาติ

เรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ (CSR) บัดนี้ได้กลายเป็นวาระในทุกๆ เวทีการประชุมระดับภูมิภาค นับตั้งแต่การประชุมเอเชีย-ยุโรป หรือ อาเซ็ม ครั้งที่ 7 ซึ่งจัดขึ้นที่ประเทศจีน เมื่อเดือนตุลาคม 2551 การประชุมกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างเขตเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก หรือ เอเปค ที่สาธารณรัฐเปรู เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2551 และล่าสุดที่เพิ่งสิ้นสุดไปสดๆ ร้อนๆ ได้แก่ การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 เมื่อช่วงต้นเดือนมีนาคม 2552 ที่ผ่านมา ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ โดยในการประชุมทั้ง 3 เวที ถือได้ว่าเป็นการประชุมระดับนานาชาติ ซึ่งล้วนมีการหารือเพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างกันในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ CSR จนทำให้เรื่อง CSR มิได้เป็นเพียงวาระขององค์กร หรือวาระในอุตสาหกรรม หรือวาระแห่งชาติ แต่มันได้กลายเป็นวาระนานาชาติไปเรียบร้อยแล้ว

CSR กับ ASEAN
ใน การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 ระหว่างวันที่ 26 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2552 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ได้มีการหารือและรับรองในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ (CSR) โดยมีวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์เพื่อผลักดันให้ภาคธุรกิจผนวกเอาเรื่อง CSR ไว้ในวาระการดำเนินงานขององค์กร และสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาเชิงเศรษฐกิจ-สังคมที่ยั่งยืนในหมู่ประเทศสมาชิกอาเซียน โดยมีแนวทางการดำเนินงาน ดังนี้
-พัฒนานโยบายสาธารณะต้นแบบด้าน CSR หรือกลไกทางกฎหมายที่ใช้อ้างอิงในหมู่ประเทศสมาชิกอาเซียนภายในปี 2553 โดยตัวบทที่อ้างอิงอาจมีการอ้างถึงมาตรฐานและแนวปฏิบัติสากลที่เกี่ยวข้อง อาทิ ISO 26000 เรื่อง "แนวปฏิบัติด้านความรับผิดชอบต่อสังคม"
-ผสานภาคเอกชนให้ร่วมสนับสนุนในกิจกรรมขององค์กรรายสาขาและมูลนิธิอาเซียนในส่วนที่เกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ
-สนับสนุนให้เกิดการรับและนำมาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคมที่เป็นสากลมาใช้ และ
-เพิ่มการรับรู้ในเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการในอาเซียนไปจนถึงความสัมพันธ์ที่ยั่งยืนระหว่างกิจกรรมเชิงพาณิชย์กับชุมชนในถิ่นที่ตั้ง โดยเฉพาะการสนับสนุนการพัฒนาที่มีชุมชนเป็นฐาน

ทั้งนี้ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือ อาเซียน จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 มีประเทศสมาชิก 10 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ บรูไน ดารุสซาลาม เวียดนาม ลาว พม่า กัมพูชา และ ไทย โดยภูมิภาคอาเซียน ประกอบด้วยประชากรประมาณ 567 ล้านคน มีพื้นที่โดยรวม 4.5 ล้านตารางกิโลเมตร และผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติราว 1.1 ล้านล้านดอลลาร์

CSR กับ APEC
ขณะที่การประชุมกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างเขตเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก หรือ เอเปค ที่สาธารณรัฐเปรู เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2551 ได้มีการหารือถึงประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ CSR เช่นกัน โดยระบุว่าเนื่องจากสมาชิกเอเปคต่างมีระดับการพัฒนาและการใช้ CSR ที่แตกต่างกัน แต่ CSR มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและการสร้างบรรยากาศการลงทุนที่ดีในภูมิภาค ดังนั้น การมีนโยบาย CSR ที่ดีขององค์กรเอกชน จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จของการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ

ความสำเร็จของการมี CSR ที่ดี จะต้องมาจากข้อริเริ่มของภาคเอกชนเอง แต่เนื่องจากเศรษฐกิจสมาชิกมีระดับการพัฒนาที่แตกต่างกัน อาจพิจารณานำเอาแนวปฏิบัติด้าน CSR ขององค์กรระดับโลกมาปรับใช้ โดยเอเปคควรมีบทบาทในการส่งเสริมให้ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนตระหนักถึงความสำคัญของ CSR และมอบหมายให้องค์กรภายในเอเปคที่เกี่ยวข้องร่วมกับ ABAC (The APEC Business Advisory Council) พัฒนาเป้าหมายการดำเนินงานของเอเปคด้าน CSR เพื่อเสนอต่อที่ประชุมผู้นำเศรษฐกิจเอเปค ประจำปี พ.ศ. 2552 ต่อไป

ทั้งนี้ เอเปค (Asia-Pacific Economic Cooperation - APEC) เป็นกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างเขตเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2532 ประกอบด้วย 21 เขตเศรษฐกิจ คือ ออสเตรเลีย บรูไน แคนาดา อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ มาเลเซีย นิวซีแลนด์ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย สหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐประชาชนจีน เขตบริหารพิเศษฮ่องกง จีนไทเป เม็กซิโก ปาปัวนิวกินี ชิลี เปรู เวียดนาม และ รัสเซีย กลุ่มสมาชิกเอเปคมีผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP) รวมกันกว่า 19 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือร้อยละ 50 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP) ของโลก มีสัดส่วนการค้ากว่าร้อยละ 41 ของมูลค่าการค้าโลก และสัดส่วนการค้าระหว่างไทยกับสมาชิกเอเปคสูงถึงร้อยละ 70 ของมูลค่าการค้าระหว่างประเทศของไทยทั้งหมด

CSR กับ ASEM
ส่วนในการประชุมเอเชีย-ยุโรป หรือ ASEM ครั้งที่ 7 ซึ่งจัดขึ้นที่ประเทศจีน เมื่อเดือนตุลาคม 2551 ก็ได้มีการประกาศปฏิญญาปักกิ่ง ว่าด้วยการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งได้แสดงถึงความตระหนักในเรื่อง CSR ที่มีความเกี่ยวโยงระหว่างกันกับการพิทักษ์สิ่งแวดล้อม แรงงานและสิทธิมนุษยชน การประเมินความเสี่ยง การกำกับดูแลกิจการ และ การพัฒนาชุมชน ที่ประชุมฯ จึงผลักดันให้สมาชิกอาเซ็มส่งเสริมเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการทั้งในระดับประเทศและระหว่างประเทศ ตลอดจนผลักดันให้ภาคธุรกิจแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างสมัครใจ ปฏิบัติตามข้อบังคับท้องถิ่นรวมถึงบรรทัดฐานและกฎหมายสากลที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนมีส่วนสนับสนุนในการจรรโลงสภาพแวดล้อมทางธุรกิจให้ประกอบทั้งความสำเร็จรุ่งเรือง ความบรรสานสอดคล้อง และความรับผิดชอบต่อสังคม

สำหรับเวทีการประชุมเอเชีย-ยุโรป ประกอบด้วยผู้นำประมุขและหัวหน้ารัฐบาลจากยุโรปและเอเชียรวม 43 ประเทศ รวมทั้งผู้แทนจากสํานักเลขาธิการอาเซียนและคณะกรรมาธิการยุโรป จัดขึ้นครั้งแรก ที่กรุงเทพฯ ประเทศไทย ในปี 2539 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหารือถึงแนวทางการส่งเสริมความเชื่อมโยงทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และ วัฒนธรรม ระหว่างภูมิภาคเอเชีย-ยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างความสมดุลในความสัมพันธ์ระหว่างศูนย์กลางกิจกรรมทางเศรษฐกิจระหว่างเอเชีย ยุโรป และ อเมริกาเหนือ ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของโลก...จากคอลัมน์ บริหารธุรกิจ-บริบาลสังคม External Link

Thursday, February 19, 2009

เอกชนชูแนวทาง CSR เร่งด่วน กลไกฝ่าวิกฤติระยะสั้น

ในช่วงที่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจเช่นนี้ หลายบริษัทพยายามงัดกลยุทธ์ต่างๆ ในการฟันฝ่าอุปสรรค เพื่อสร้างความอยู่รอดให้กับองค์กร มีบริษัทหลายแห่งที่วางแนวทางหรือมาตรการระยะสั้น โดยเฉพาะการใช้ CSR (Corporate Social Responsibility) หรือ ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจ (บรรษัทบริบาล) ช่วยเยียวยาปัญหาที่เกิดขึ้น

นินนาท ไชยธีรภิญโญ รองประธานกรรมการ โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย บอกว่า สิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงนี้คือ ปัญหาแรงงานด้วยการเลย์ออฟพนักงานขององค์กรต่างๆ แต่สำหรับโตโยต้าแม้จะมีการลดพนักงานในส่วนของซับคอนแทรคบ้าง แต่ในส่วนพนักงานประจำก็ต้องรักษาไว้ ด้วยการเปิดโครงการเร่งด่วน ภายใต้ชื่อ speacial program คือ ความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาในการจัดโครงการฝึกอบรมให้กับบัณฑิตที่กำลังจะจบการศึกษา โดยโตโยต้าได้ส่งช่างและเทรนเนอร์เข้าไปฝึกอบรมให้

สำหรับวิชาที่เข้าไปช่วยในการฝึกอบรมนี้มีทั้งหมด 4 ส่วน คือ

1. Bussiness Management by Toyota Way เป็นการให้ความรู้และอบรมเกี่ยวกับการบริหาร ซึ่งโตโยต้าไม่ได้มีความแข็งแกร่งเฉพาะด้านการผลิตเท่านั้น แต่ในด้านของบริหารจัดการ ไฟแนนซ์ และบริหารบุคคล ก็แข็งแกร่งเช่นกัน ซึ่งบริษัทจะนำสิ่งเหล่านี้ไปถ่ายทอดให้กับ

2. Productivity ให้ความรู้เกี่ยวกับการปรับระบบการผลิต โดยเฉพาะในช่วงที่เกิดวิกฤติเช่นนี้ โดยใช้หลักการของ Toyota System

3. Practical Problem Solving เป็นการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ในการแก้ปัญหาเรื่องของการบริหาร ซึ่งโตโยต้าอยู่เมืองไทยมาถึง 40 ปีฝ่าวิกฤติและแก้ไขปัญหามามาก จึงต้องการถ่ายประสบการณ์นี้

4. QC Cycle อบรมในเรื่องของคุณภาพในโรงงานต่างๆ ว่ากว่าจะออกมาเป็นผลิตภัณฑ์หนึ่งชิ้นจะต้องมีระบบคุณภาพอย่างไรบ้าง

"เราทำเป็นไพล็อตโปรแกรมโดยจะเริ่มที่ธรรมศาสตร์เป็นแห่งแรกในวันที่ 11 มีนาคมนี้ ตามด้วยจุฬาและมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ถือเป็นหนึ่งในแนวทางซีเอสอาร์แบบเร่งด่วน ที่เราต้องการรักษาทรัพยากรบุคคล พร้อมๆ กับการช่วยเหลือสังคมนั่นคือบัณฑิตที่กำลังจะจบใหม่"

บางจากเปิดพื้นที่ขายของในปั๊มฟรี

วัฒนา โอภานนท์อมตะ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บางจากปิโตรเลียม บอกว่า บางจากยึดหลักดำเนินธุรกิจว่า สังคมอยู่ได้บริษัทก็อยู่ได้ โครงการเร่งด่วนที่กำลังทำอยู่คือ สำรวจว่าขณะนี้มีแรงงานที่ตกงานแล้วกลับบ้านมากหรือไม่ และมีที่พักอาศัยอยู่ใกล้สถานีบริการน้ำมันบางจาก เพื่อดึงให้คนเหล่านี้เข้ามาทำงานในปั๊ม หรือเปิดพื้นที่ให้เข้ามาค้าขายโดยไม่คิดค่าเช่าที่ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างสำรวจและเจรจากับเจ้าของปั๊ม

"เรามีเน็ตเวิร์คอยู่ทั่วประเทศ ซึ่งอยู่ใกล้ชุมชน จะทำอย่างไรให้เกิดประโยชน์ พร้อมๆ กับการช่วยเหลือคนเหล่านี้ อย่างน้อยให้เขาพอมีรายได้ประทังชีวิตไปได้ ถึงเวลาเมื่อเศรษฐกิจดีค่อยขยับขยายหรือว่ากันใหม่ ตอนนี้เรากำลังดูว่าจุดไหนทำได้เราก็จะเร่งทำไปก่อน นอกจากนี้ก็กำลังดูว่าชุมชนที่อยู่รอบข้างโรงกลั่นมีคนตกงานเยอะหรือไม่ และจะมีแผนกไหนที่พอจะให้คนเหล่านี้ได้เข้ามาทำงานในโรงกลั่น"

ไมเนอร์ เปิดสอนเตรียมตัวก่อนสมัครงาน

สุกิจ อุทินทุ รองประธานฝ่ายพัฒนาสังคม ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล บอกว่า ที่ผ่านมาก็ได้มีหลายโครงการเกี่ยวกับซีเอสอาร์ โดยใช้ธุรกิจของไมเนอร์ที่มีอยู่ เช่น โรงแรม ด้วยการจัดอีเวนท์ต่างๆ ล่าสุดที่จัดโครงการโปโลช้างโดยร่วมกับ ททท.ก็ได้มีการนำช้างเร่ร่อนเข้ามาร่วมโครงการนี้ และล่าสุดตนมีแนวคิดที่จะทำโครงการฝึกอบรมบัณฑิตในเรื่องของการสมัครงาน

"โครงการนี้เราเคยทำมาบ้างแล้ว และพอถึงในช่วงที่สถานการณ์ไม่ปกติ เรามองว่าช่วงนี้เหมาะสมที่จะนำโครงการนี้มาใช้ ที่ผ่านมามีบัณฑิตจบใหม่จำนวนมากที่ไม่รู้ว่าสมัครงานจะต้องทำตัวอย่างไร ทั้งบุคลิกภาพ การดำเนินการ ซึ่งเรามีโปรเจคแนะแนวนี้อยู่ ในแต่ละปีเรามีการสัมภาษณ์นักศึกษาจบใหม่เหล่านี้ที่มาสมัครงานเป็นหมื่นๆ คน เราจะนำเอาประสบการณ์เหล่านี้มาถ่ายทอด ช่วงเวลานี้น่าจะเหมาะสมอย่างยิ่ง"...จากรายงานพิเศษเรื่อง CSR ฝ่าวิกฤติเศรษฐกิจ External Link


ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจ หรือ CSR (Corporate Social Responsibility) พิสูจน์แล้วว่ามีผลต่อการเยียวยาสังคมและสิ่งแวดล้อม เพราะเรื่องความรับผิดชอบต่อส่วนรวมนั้นหากแวดวงธุรกิจ ซึ่งมีความพร้อมทั้งในด้านกำลังคน กำลังทรัพย์ และช่วยกันขับเคลื่อนสิ่งที่เรียกว่า "ความรับผิดชอบต่อสาธารณะ" ก็เชื่อแน่ว่าสังคมไทยจะได้รับการเยียวยา ปัญหาทุเลาลง โดยเฉพาะในห้วงเวลาแห่งวิกฤติเศรษฐกิจ ที่เต็มไปด้วยปัญหารุมเร้ารอบด้าน " กรุงเทพธุรกิจ" นำเสนอรายงานพิเศษเกี่ยวกับเรื่องนี้ ติดต่อกัน 4 ตอน โดยคุณศรัญยู ตันติเสรี