Tuesday, November 20, 2007

CEO ในแบบ NGO

เรื่อง Corporate Social Responsibility (CSR) หรือที่ทางสถาบันไทยพัฒน์เรียกว่า "บรรษัทบริบาล" นั้น มีความสำคัญกับองค์กรไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าเรื่อง Corporate Governance (CG) หรือบรรษัทภิบาล โดยปรากฏเป็นรูปธรรมผ่านทางกิจกรรมต่างๆ อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการที่ผู้ประกอบการหรือผู้นำองค์กร ยึดถือเรื่องคุณธรรมและจริยธรรมเป็นเงื่อนไขสำคัญในการดำเนินกิจการ อีกทั้งไม่จำกัดอยู่เพียงบรรษัทขนาดใหญ่ รูปธรรมของบรรษัทบริบาลนั้น ปรากฏได้ทั้งในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่เจ้าของกิจการหรือผู้บริหาร ใช้แนวทางการประกอบธุรกิจอย่างมีคุณธรรม

ยิ่งไปกว่านั้น การดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ ก็มิได้จำกัดว่ากิจการที่กล่าวถึงจะต้องเป็นองค์กรหรือหน่วยงานที่อยู่ในภาคธุรกิจเท่านั้น ในอดีตที่ผ่านมา ภาครัฐเองก็ได้เคยตราพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์ และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ซึ่งทำให้ส่วนราชการต่างๆ ต้องพัฒนาการปฏิบัติราชการโดยใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี เพื่อให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชน ดังนั้น ต้องถือว่าส่วนราชการต่างๆ ก็ดี มีพันธกิจหลักในการบริหารกิจการบ้านเมืองด้วยความรับผิดชอบเป็นที่ตั้งอยู่แล้ว ทั้งยังเป็นหน่วยงานที่ตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้บริการสาธารณะแก่ประชาชนโดยไม่แสวงหาผลกำไร

ซีเอสอาร์ในภาครัฐจึงมิใช่เรื่องใหม่ หรือหลักการบริหารบ้านเมืองแนวใหม่แต่ประการใด แต่เป็นเรื่องที่ข้าราชการทุกคนต้องตระหนักและสำนึกได้เองว่า ตนเองมีบทบาทและความรับผิดชอบต่อสังคมในการปฏิบัติหน้าที่อยู่ตลอดเวลา ฉะนั้น หากหน่วยราชการใดออกมาประกาศว่าจะนำหลักการซีเอสอาร์มาใช้ในการปฏิบัติงาน นั่นก็แสดงว่า หน่วยงานนั้นไม่เพียงแต่ไม่เข้าใจเรื่องของซีเอสอาร์ แต่ยังไม่ตระหนักถึงบทบาทขั้นพื้นฐานของตนเองในเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมที่พึงมี นับตั้งแต่วันแรกของการก่อตั้งหน่วยงานอีกด้วย... (อ่านรายละเอียดในคอลัมน์ 20CEOs 20IDEAs) External Link [Archived]

No comments: