Tuesday, October 31, 2006

ดัชนีความสุขแบบไหนถึงจะดี

การหยิบยกประเด็นเรื่องดัชนีความสุขมาเป็นเครื่องชี้วัดสภาวะทางเศรษฐกิจและสังคมนั้น กำลังเป็นที่สนใจต่อประชาชนผู้ติดตามสถานการณ์บ้านเมืองและอยากจะเห็นประเทศพัฒนาไปในทิศทางที่ถูกต้องดีงาม

สาเหตุที่มีการพูดถึงดัชนีวัดความสุข ซึ่งขณะนี้มีอยู่ด้วยกันหลายคำ อาทิ ความสุขมวลรวมประชาชาติ (Gross National Happiness: GNH) ความสุขมวลรวมภายในประเทศ (Gross Domestic Happiness: GDH) ดัชนีความสุขมวลรวม (Gross Happiness Index: GHI) และล่าสุดกำลังมีการพัฒนาเป็น ความสุขมวลรวมนานาชาติ (Gross International Happiness: GHI) ก็เนื่องจากดัชนีผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (Gross Domestic Product: GDP) ซึ่งเป็นเครื่องชี้สภาวะทางเศรษฐกิจหลักในเศรษฐศาสตร์มหภาค ยังมีข้อจำกัดอยู่หลายประการสำหรับใช้วัดระดับของการพัฒนาทางเศรษฐกิจ... (อ่านรายละเอียดในคอลัมน์ พอเพียงภิวัตน์) External Link [Archived]

Tuesday, October 24, 2006

สร้างทุนนิยมให้พอเพียงได้อย่างไร

มีหลายท่านถามว่า การใช้นโยบายเศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนาและบริหารประเทศจะทำให้ประเทศไทยต้องอยู่โดดเดี่ยวจากประชาคมโลกที่ใช้ระบบการค้าเสรีตามวิถีของทุนนิยมหรือไม่ ก่อนอื่นต้องขอเรียนว่า การนำนโยบายเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ ไม่ได้หมายความว่า เราต้องยกเลิกนโยบายการค้าเสรี หรือระบบเศรษฐกิจในแบบทุนนิยมแต่ประการใด

เศรษฐกิจพอเพียง มิได้ปฏิเสธการค้า มิได้ปฏิเสธทุนในฐานะที่เป็นปัจจัยหลักในระบบเศรษฐกิจปัจจุบัน เราสามารถดำเนินนโยบายเศรษฐกิจพอเพียงท่ามกลางกระแสของทุนนิยมได้อย่างไม่แปลกแยก โดยไม่จำเป็นต้องเลือกทางใดทางหนึ่งระหว่างสองแนวทางนี้... (อ่านรายละเอียดในคอลัมน์ พอเพียงภิวัตน์) External Link [Archived]

Tuesday, October 17, 2006

เมกะโปรเจคเป็นเศรษฐกิจพอเพียงหรือไม่

การที่รัฐบาลประกาศเดินหน้าการพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ หรือ เมกะโปรเจค ทั้งโครงการขนส่งมวลชน โดยเฉพาะเส้นทางรถไฟฟ้าที่เชื่อมระหว่างกรุงเทพฯ กับชานเมือง โครงการเพิ่มการขนส่งสินค้าทางรถไฟ และโครงการจัดการระบบน้ำตั้งแต่ต้นน้ำเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมในช่วงหน้าฝนและการขาดแคลนน้ำในช่วงหน้าแล้ง นับเป็นรูปธรรมของการดำเนินงานที่แสดงให้เห็นว่า การดำเนินนโยบายการพัฒนาและบริหารประเทศตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มิได้ปฏิเสธการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ ตามที่นักธุรกิจหลายคนเข้าใจว่าการลงทุนต่างๆ จะหยุดชะงักหรือชะลอตัวลง

สิ่งหนึ่งที่มีความแตกต่างกันระหว่างการใช้นโยบายประชานิยมตามวิถีของทุนนิยม กับการใช้นโยบายเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ คือ การพิจารณาประโยชน์ในการลงทุนตามนโยบายเศรษฐกิจพอเพียง จะเน้นที่ประโยชน์ของคนส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ของคนส่วนน้อย มิใช่การสร้างโครงการโดยเริ่มพิจารณาที่ตนเองหรือพวกพ้องว่าจะได้อะไรก่อนเป็นอันดับแรก แล้วจึงค่อยพิจารณาประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับเป็นอันดับรอง และประการสำคัญการลงทุนตามนโยบายเศรษฐกิจพอเพียงจะยึดหลักของความ “คุ้มค่า” มากกว่าความ “คุ้มทุน” ซึ่งหากพิจารณาตามหลักเศรษฐศาสตร์ทั่วไป อาจะถือว่าเป็นการลงทุนที่ขาดทุนหรือไม่คุ้มทุนของรัฐ แต่ได้ผลเป็นความอยู่ดีมีสุขของประชาชนส่วนใหญ่ที่ตีเป็นมูลค่าไม่ได้... (อ่านรายละเอียดในคอลัมน์ พอเพียงภิวัตน์) External Link [Archived]

Monday, October 16, 2006

Red Herring Asia 100 Hottest Startups

ทุกปี นิตยสาร Red Herring จะมีการสำรวจ 100 บริษัทใหม่ที่น่าลงทุนในเอเชีย โดยในปีนี้ มีบริษัทที่ได้รับการคัดเลือกจากทั้งหมด 10 ประเทศ ประกอบด้วย จีน 33 แห่ง อินเดีย 24 แห่ง และเกาหลีใต้ 20 แห่ง ส่วนที่เหลืออีก 23 แห่งมาจาก ญี่ปุ่น ไต้หวัน สิงคโปร์ ออสเตรเลีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และแม้แต่ประเทศศรีลังกา ซึ่งก่อนหน้ามิได้อยู่ในแผนที่ของนักลงทุน ก็ติดโผอยู่กับเขาด้วย (แต่ไม่มีประเทศไทย!) หลายบริษัทมีไอเดียธุรกิจที่น่าสนใจ และสามารถนำมาต่อยอดเข้ากับธุรกิจคนไทยได้ดี (เช่น บริการ Voice SMS ของบริษัท BubbleTALK) ใครที่อยากสร้างผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ๆ จากแนวคิดของบริษัทเหล่านี้ ก็เชิญได้ตามอัธยาศัยครับ

Audio File ฟังการย่อยเนื้อหาในนิตยสารฉบับ "Red Herring Asia 100" External Link


แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม : "Red Herring Asia 100 By Sector" External Link

Tuesday, October 10, 2006

เศรษฐกิจพอเพียงกับกระแสโลกาภิวัตน์ : ไปด้วยกันได้หรือไม่

การประกาศนโยบายเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับใช้เป็นแนวทางในการบริหารประเทศภายใต้คณะรัฐบาลชุดปัจจุบัน ได้สร้างความกังขาให้แก่นักธุรกิจ ข้าราชการ และประชาชนกลุ่มหนึ่งซึ่งมีอยู่จำนวนไม่น้อยด้วย ความกังขานี้ มิได้หมายถึงความกังขาว่ารัฐบาลชุดนี้จะดำเนินนโยบายตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงได้จริงหรือไม่ แต่เป็นความกังขาที่เกิดจากความไม่เข้าใจในปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของคนกลุ่มนี้เอง ที่คาดไปในทำนองว่า ประเทศไทยจะหยุดการเจริญเติบโตแล้วหรือไร การลงทุนต่างๆ จะหยุดชะงักหรือชะลอตัวลงหรือไม่ คนไทยจะต้องไปประกอบอาชีพการเกษตรเช่นนั้นหรือ

ความไม่เข้าใจประกอบกับการละเลยไม่พยายามที่จะศึกษาปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกันอย่างถ่องแท้ ก่อให้เกิดการตีความโดยอาศัยความรู้เท่าที่มีของตัวเองเป็นบรรทัดฐาน ล้วนแต่ทำให้เกิดการสื่อความที่คลาดเคลื่อนไปจากความจริง ความจริงที่ว่านี้ ก็คือ เศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวในการพัฒนาและบริหารประเทศที่ส่งเสริมให้โลกาภิวัตน์มีความเจริญก้าวหน้าอย่างมั่นคงและยั่งยืน... (อ่านรายละเอียดในคอลัมน์ พอเพียงภิวัตน์) External Link [Archived]

Monday, October 09, 2006

ซีเอสอาร์ : คือ "หน้าที่" หรือ "การอาสา"

การดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility – CSR) ถือเป็นหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติ หรือเกิดจากการอาสาที่จะปฏิบัติ เป็นคำถามที่วนเวียนอยู่ในใจของผู้ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องซีเอสอาร์อยู่ไม่น้อย บ้างก็ยืนยันว่าซีเอสอาร์เป็นเรื่องที่ต้องมีกรอบกฎหมายบังคับ บ้างก็เห็นต่างว่าซีเอสอาร์นั้นเป็นเรื่องที่ต้องเกิดจากจิตสำนึกโดยไม่มีการบังคับ ในบทความนี้ จะได้พยายามชี้ให้เห็นข้อแตกต่างระหว่างซีเอสอาร์ที่เกิดจากการบังคับกับซีเอสอาร์ที่เกิดจากการอาสา... (อ่านรายละเอียดในคอลัมน์ CSR Knowledge) External Link [Archived]